สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 สิงหาคม 2564

ข่าวการเมือง Tuesday August 24, 2021 17:08 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

		วันนี้ (24 สิงหาคม 2564)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีผ่านระบบ Video Conference ณ ห้อง PMOC ชั้น 2 ตึกไทยคู่ฟ้า                     ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

1. 	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรา					ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการขยายเวลาการลดอัตรา						ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
2.  	เรื่อง  	ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยนกเค้าเป็นทางน้ำ					ชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. ....
3.  	เรื่อง  	ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทาน เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียก					เก็บค่าชลประทาน  พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
4.  	เรื่อง  	ร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอก					ราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2516 พ.ศ. .... (สินค้ากากถั่ว)
5.  	เรื่อง 	ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทาง				ละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
6. 	เรื่อง 	ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับ					ยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ สังคม

7. 	เรื่อง 	การอุดหนุนค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษา
8. 	เรื่อง 	การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงบประมาณ
สำนักนายกรัฐมนตรี
9. 	เรื่อง 	รายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน 				ชุดที่ 3 ปีที่ 1
10. 	เรื่อง 	รายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม 					ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 รวม 2 ฉบับ
11. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระ				หนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษา				แนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา
สภาผู้แทนราษฎร
12. 	เรื่อง 	รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออก				และนำเข้าแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
13.  	เรื่อง 	ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง COVID-19 : ผลกระทบต่อความ				มั่นคง ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา
14. 	เรื่อง 	ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษา โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร 				ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์
15. 	เรื่อง 	การใช้เงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อการเพิ่มทุน					ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
16. 	เรื่อง 	ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือ				จำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและ					เสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ				วันที่ 17 สิงหาคม 2564
17. 	เรื่อง 	ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
ครั้งที่ 30/2564
18. 	เรื่อง 	รายงานผลการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ
โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและ					ความมั่นคงของมนุษย์

ต่างประเทศ

19. 	เรื่อง 	การขอแก้ไขสัญญาเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเลขที่ 				TXXXV-1 สำหรับโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีและ					นวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมใน					ประเทศและภูมิภาค
20.  	เรื่อง 	ผลการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมาย					โลกปี ค.ศ. 2030 (Partnering for Green Growth and Global Goals 2030: 				P4G) ครั้งที่ 2
21. 	เรื่อง 	ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (APEC 				Business Advisory Council: ABAC) และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค 					ประจำปี 2021 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2021)
22.  	เรื่อง  	รายงานความคืบหน้าการพัฒนาความร่วมมือด้านกฎระเบียบระหว่างประเทศ 					(International Regulatory Cooperation) ของสำนักงานคณะกรรมการ					กฤษฎีกา
23.  	เรื่อง  	ร่างแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็น					ทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
(เกาหลีใต้)
24.  	เรื่อง  	ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับองค์กรต่อต้าน
การใช้สารต้องห้ามโลก
แต่งตั้ง

25. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง 						กระทรวงมหาดไทย
26. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงยุติธรรม)
27. 	เรื่อง  	การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง 					(กระทรวงแรงงาน)
28. 	เรื่อง  	แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และ					เทคโนโลยี
29. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ง				ประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่างลง (นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย)
30. 	เรื่อง  	การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
31. 	เรื่อง 	การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396



















?
กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม)
		คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการ             ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		กำหนดให้มีการขยายระยะเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มโดยยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3              (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566
		ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงการคลังเสนอเป็นการขยายระยะเวลาการอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินค้า การให้บริการ หรือการนำเข้าทุกกรณีตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 715) พ.ศ. 2563 ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยยังคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 6.3 (ไม่รวมภาษีท้องถิ่น) หรือร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566 ทั้งนี้ เพื่อเป็นการช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้กับภาคเอกชน อันจะทำให้ระบบเศรษฐกิจมีการฟื้นตัวหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) คลี่คลาย
		กระทรวงการคลังรายงานว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการประมาณการรายได้ในปีงบประมาณ               พ.ศ. 2565 และ 2566 เนื่องจากในการจัดทำงบประมาณได้มีการคำนวณประมาณการรายได้โดยใช้ข้อมูลพื้นฐาน    การคำนวณของอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในอัตราร้อยละ 7 (รวมภาษีท้องถิ่น) และจะเป็นการช่วยลดผลกระทบจาก             ค่าครองชีพ ช่วยกระตุ้นการบริโภคของประชาชน รวมทั้งจะทำให้เกิดความชัดเจนในเรื่องของอัตราภาษี ซึ่งจะมี           ส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจให้แก่ภาคเอกชนและสามารถวางแผนการบริหารธุรกิจได้ต่อไป

2.  เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยนกเค้าเป็นทางน้ำชลประทานที่จะ              เรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยนกเค้าเป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ กษ. ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองท้องที่ ตลอดจนตรวจสอบพื้นที่และจุดยึดโยงต่าง ๆ ให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขชื่อผู้มีอำนาจลงนามให้เป็นปัจจุบันก่อนประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยนกเค้าเป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... ที่ กษ. เสนอซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยนกเค้า ในท้องที่ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส และตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทานจากผู้ใช้น้ำที่นำน้ำไปใช้เพื่อกิจการโรงงาน การประปา หรือกิจการอื่นนอกจาก                        ภาคเกษตรกรรม เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลปริมาณน้ำ และให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		กำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยนกเค้า ในท้องที่ตำบลธาตุ อำเภอวานรนิวาส และตำบลเจริญศิลป์ อำเภอเจริญศิลป์ จังหวัดสกลนคร เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน

3.  เรื่อง  ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทาน เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน    พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำหนองสำโรง เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทางน้ำชลประทาน              อ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ กษ. ตรวจสอบความถูกต้องของชื่อท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองท้องที่ ตลอดจนตรวจสอบพื้นที่และจุดยึดโยงต่าง ๆ ให้ถูกต้อง รวมทั้งแก้ไขชื่อผู้มีอำนาจลงนามให้เป็นปัจจุบันก่อนประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
		ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ รวม 2 ฉบับ ดังกล่าวที่ กษ. เสนอซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว เป็นการกำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำหนองสำโรง และทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด ในท้องที่จังหวัดอุดรธานี เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทานจากผู้ใช้น้ำที่นำน้ำไปใช้เพื่อกิจการโรงงาน การประปา หรือกิจการอื่นนอกจาก                       ภาคเกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลปริมาณน้ำ และให้การใช้น้ำเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		1. กำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำหนองสำโรง ในท้องที่ตำบลหมูม่น และตำบลบ้านเลื่อม อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน
		2. กำหนดให้ทางน้ำชลประทานอ่างเก็บน้ำห้วยสามพาด ในท้องที่ตำบลบ้านตาด อำเภอเมืองอุดรธานี และตำบลทับกุง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี เป็นทางน้ำชลประทานที่จะเรียกเก็บค่าชลประทาน

4.  เรื่อง  ร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2516 พ.ศ. .... (สินค้ากากถั่ว)
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกายกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไป             นอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2516 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ                    ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
		ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการยกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2516 ซึ่งกำหนดห้ามมิให้ส่งออกสินค้า 3 รายการได้แก่ กากถั่ว ปลาป่น และอาหารสัตว์ที่ผสมสำเร็จรูป เนื่องจากได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง  การส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 28) พ.ศ. 2517 ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร        (ฉบับที่ 61) พ.ศ. 2522 และประกาศกระทรวงพาณิชย์ว่าด้วย การส่งสินค้าออกไปนอกราชอาณาจักร (ฉบับที่ 26)               พ.ศ. 2526 กำหนดให้สินค้าปลาป่นและอาหารสัตว์ที่ผสมสำเร็จรูป ไม่เป็นสินค้าควบคุมที่ต้องมีหนังสืออนุญาตให้ส่งออกอีกต่อไป และปัจจุบันมีการนำกากถั่วชนิดอื่นนอกจากกากถั่วเหลืองมาใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ในปริมาณเล็กน้อย จึงไม่มีความจำเป็นต้องควบคุมการส่งออกอีกต่อไป
		สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		ยกเลิกพระราชกฤษฎีกาควบคุมการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรซึ่งสินค้าบางอย่าง (ฉบับที่ 32) พ.ศ. 2516 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

5.  เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (สคก.) กำหนดหน่วยงานของรัฐ                             ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงการคลัง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
1.	เรื่องเดิม
1.1   กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐ              ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  (ฉบับที่  ..)  พ.ศ. ....
1.2 กระทรวงกลาโหม (กห.)  ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐ               ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  (ฉบับที่  ..)  พ.ศ. ....
1.3 กระทรวงการคลัง (กค.) ได้เสนอร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐ                  ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  (ฉบับที่  ..)  พ.ศ. ....
รวม 3 ฉบับ มาเพื่อดำเนินการ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้ ?สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ?  ?สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ? และ ?กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน?  เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539  เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานดังกล่าวซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
2 สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
		2.1 กำหนดให้ ?กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน? เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและ             พัฒนาระบบสถาบันการเงินซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริตได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว
		2.2 กำหนดให้ ?สถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการและที่ไม่เป็นส่วนราชการ แต่อยู่ในกำกับของรัฐหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น? เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (เดิม ?มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการอยู่ในกำกับของรัฐ?)
		2.3 กำหนดเพิ่มเติมให้ ?หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะที่เป็นองค์การมหาชน              ตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน? เป็นหน่วยงานของรัฐ               ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
		3 ข้อเท็จจริง
		สคก. ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาเสร็จแล้ว โดยได้พิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาฯ จำนวน 3 ฉบับ เป็นฉบับเดียวกันเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี โดยได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ดังนี้
		3.1 แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3/1 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐ                         ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 โดยกำหนดเป็นการทั่วไปให้หน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้ครอบคลุมถึงสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นส่วนราชการแต่ไม่มีฐานะเป็นกรม และที่ไม่เป็นส่วนราชการแต่อยู่ในกำกับขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เนื่องจากบทนิยามคำว่า ?หน่วยงานของรัฐ? ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ และบทบัญญัติมาตรา 3/1 (2) แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่  พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติตามความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 10)ฯ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ กำหนดให้เฉพาะสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่มีฐานะเป็นกรม และสถาบันอุดมศึกษาของรัฐซึ่งไม่เป็นส่วนราชการและอยู่ในกำกับของรัฐเท่านั้น เป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัตินี้
		3.2 แก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฤษฎีกาฯ จากการกำหนดเป็นการเฉพาะให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 เป็นการเพิ่มความใน (3) ของมาตรา 3/1 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 โดยกำหนดเป็นการทั่วไปให้หน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะที่เป็นองค์การมหาชนตามมติคณะรัฐมนตรีตามข้อเสนอของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจ หน้าที่และอำนาจเช่นเดียวกับองค์การมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน ซึ่งรวมถึงสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศและสำนักงานลูกเสือแห่งชาติได้รับความคุ้มครอง              ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่ขององค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน โดยในอนาคตไม่ต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาฯ เป็นรายฉบับ เพื่อกำหนดให้หน่วยงานซึ่งมีลักษณะดังกล่าวเป็นหน่วยงานของรัฐ ตามพระราชบัญญัตินี้อีก
		คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนได้มีมติเห็นชอบให้สำนักงานลูกเสือแห่งชาติเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ประเภทองค์การมหาชนที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติเฉพาะ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2552 (เรื่อง หลักการจำแนกประเภทหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร)           ซึ่งได้แจ้งให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการดำเนินการเสนอข้อเสนอแนะของคณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชนเกี่ยวกับสถานะของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชกฤษฎีกานี้แล้ว กรณีจึงไม่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานะของสำนักงานลูกเสือแห่งชาติแต่อย่างใด

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือ                    การถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วนแล้วดำเนินการต่อไปได้
		สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
		กำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยมีสาระสำคัญดังนี้
		1. กำหนดให้กรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จนเป็นเหตุให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำไม่สามารถส่งของที่นำเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำออกไปนอกราชอาณาจักรได้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดน หรือการถ่ายลำได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 102 วรรคสองและมาตรา 103 ทั้งนี้ สำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำหรือของที่ตกเป็นของแผ่นดินตามมาตรา 103 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม                 พ.ศ. 2563 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564
		2. กำหนดให้ผู้นำของเข้าเพื่อการผ่านแดนหรือการถ่ายลำแสดงหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้อง              ที่เป็นเหตุให้ไม่อาจปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในมาตรา 102 วรรคสองและมาตรา 103 ต่ออธิบดี เพื่อพิจารณาขยายระยะเวลาการดำเนินการดังกล่าวได้ตามความจำเป็นแก่กรณี

เศรษฐกิจ สังคม

7. เรื่อง การอุดหนุนค่าอุปกรณ์การเรียนของนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษา
		คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและอนุมัติอัตราค่าเครื่องมือประจำตัวผู้เรียนเฉพาะอาชีพของนักเรียนสายอาชีพ อาชีวศึกษาต่อคน ตามประเภทวิชาในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) พุทธศักราช 2562 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จำนวน 10 ประเภทวิชา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2564 เป็นต้นไป ดังนี้
ลำดับที่	ประเภทวิชา	อัตราค่าเครื่องมือประจำตัวผู้เรียนเฉพาะอาชีพ
(บาท/คน/ปีการศึกษา)
1	อุตสาหกรรม	2,000
2	พาณิชยกรรม	1,000
3	ศิลปกรรม	1,000
4	คหกรรม	1,200
5	เกษตรกรรม	1,600
6	ประมง	1,200
7	อุตสาหกรรมสิ่งทอ	1,200
8	เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร	1,800
9	อุตสาหกรรมท่องเที่ยว	1,200
10	อุตสาหกรรมบันเทิงและดนตรี	1,000

		ทั้งนี้ เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาทักษะฝีมือให้เต็มศักยภาพ ฝึกประสบการณ์อาชีพได้อย่างเต็มที่ต่อเนื่องตลอดหลักสูตร เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาตลอดจนช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง สร้างแรงจูงใจให้มีการเรียนต่อสายอาชีวศึกษาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นพลังสำคัญต่อการขับเคลื่อนประเทศอย่างยั่งยืน

8. เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี
		คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่ คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
1.	เห็นชอบจัดโครงสร้างแบ่งส่วนราชการใหม่ของสำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) โดยให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางในภูมิภาคต้องไม่มีหน่วยงานของกรมที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนกลางในภูมิภาค และ               มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ต้องมีข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม เพื่อมิให้เกิดความช้ำซ้อนทั้งในด้านภารกิจและงบประมาณ และรับทราบการกำหนดตัวชี้วัดสำคัญเพื่อวัดความสำเร็จการแบ่งส่วนราชการใหม่ โดยให้ สงป. รายงานผลประเมินตามตัวชี้วัดดังกล่าวเสนอ ก.พ.ร. พิจารณาเพื่อทบทวนและปรับบทบาทภารกิจของ สงป. ให้สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป
2.	เห็นชอบให้มีการทบทวนและปรับบทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจ และโครงสร้างของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) เพื่อให้สอดรับกับบทบาทภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไป ภายใน 1 ปี นับแต่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สงป. มีผลบังคับใช้
3.	เห็นชอบให้เพิ่มหลักการการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ของส่วนราชการให้มีข้อเสนอยุบเลิกภารกิจหรือยุบรวมหน่วยงานของส่วนราชการอื่น (X-in, Y-out) สำหรับกรณีภารกิจที่มี Value Chain เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงหลายส่วนราชการ ซึ่งไม่อาจพิจารณาเฉพาะส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งได้
สาระสำคัญ
ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2564 พิจารณาคำขอการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของ สงป. แล้ว มีมติ ดังนี้
		1. เห็นชอบการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของ สงป. โดยจัดตั้ง ?สำนักงานงบประมาณเขต? เพิ่มจำนวน 7 เขต ได้แก่ สำนักงานงบประมาณ เขตที่ 12-18 เป็นราชการส่วนกลางในภูมิภาค และการปรับชื่อ ปรับหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายใน สงป. รวมทั้งร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ?. โดยให้ สงป. ดำเนินการตามเงื่อนไขสำคัญเพื่อการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการดำเนินงาน (Transformation Plan) ในปี 2567 ใน 5 แนวทาง ดังนี้
			(1) พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดทำงบประมาณของ อปท. (BBL) ให้รองรับการเป็นหน่วยรับงบประมาณตรง
			(2) เร่งรัดการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และจัดอบรมสัมมนาให้กับ อปท. ใน 3 หลักสูตร ได้แก่ การปูพื้นฐานล่วงหน้าให้ อปท. ทุกแห่ง การเตรียมความพร้อมให้แก่ อปท. ที่จะเป็นหน่วยรับงบประมาณ และการซ่อมเสริมความเข้มแข็ง ซึ่งจะใช้ระบบ e-Learning, BBL train, Call center, Chatbot และวีดิทัศน์การใช้งาน Online
			(3) ปรับวิธีการทำงาน โดยมุ่งพิจารณาจัดสรรงบประมาณแบบ Block Grant มากกว่าพิจารณารายละเอียด และนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) มาช่วยสนับสนุนการปฏิบัติงาน
			(4) เกลี่ยอัตรากำลังใน สงป.ให้แก่สำนักงานงบประมาณเขต และพัฒนาความรู้ความสามารถของเจ้าหน้าที่ สงป.
			(5) มอบอำนาจเรื่อง การพิจารณาและจัดสรรงบประมาณ รวมทั้งการโอนการเปลี่ยนแปลงงบประมาณของหน่วยงานที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคและ อปท. ที่เบ็ดเสร็จในระดับพื้นที่ ให้กับสำนักงานงบประมาณเขตที่ 1-18 ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
		2. เห็นชอบให้ สงป. กำหนดตัวชี้วัดสำคัญ เพื่อวัดความสำเร็จการจัดโครงสร้างแบ่งส่วนราชการภายในใหม่ และให้รายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสำคัญดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. เมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สงป. มีผลบังคับใช้ และประเมินต่อเนื่องทุกปีจนถึงสิ้นปี 2567 ทั้งนี้ ให้รายงานผลตามตัวชี้วัดดังกล่าวต่อ ก.พ.ร. พิจารณาเพื่อทบทวนและปรับบทบาทภารกิจของ สงป. ให้สอดคล้องกับการบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ต่อไป
		3. เห็นชอบให้มีการทบทวนและปรับบทบาท ภารกิจ หน้าที่และอำนาจ และโครงสร้างของ สถ. เพื่อให้สอดรับกับบทบาทภารกิจที่เปลี่ยนแปลงไปภายใน 1 ปี นับแต่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ สงป. มีผลบังคับใช้
		4. เห็นชอบให้ขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี 2 เรื่อง ได้แก่ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่               4 เมษายน 2560 เรื่อง การปรับปรุงแนวทางการจัดส่วนราชการในภูมิภาค ที่กำหนดให้การขอจัดตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางในภูมิภาคต้องไม่มีหน่วยงานของกรมที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนกลางในภูมิภาคและมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ ที่กำหนดให้การจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ต้องมีข้อเสนอยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยงานที่มีอยู่เดิม                     (One-in, X-out) รวมทั้งเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอเพิ่มหลักการการจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ของ                  ส่วนราชการ ให้มีข้อเสนอยุบเลิกภารกิจหรือยุบรวมหน่วยงานของส่วนราชการอื่น (X-in, Y-out) สำหรับกรณีภารกิจที่มี Value Chain เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงหลายส่วนราชการ ซึ่งไม่อาจพิจารณาเฉพาะส่วนราชการใดส่วนราชการหนึ่งได้

9. เรื่อง รายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ชุดที่ 3 ปีที่ 1
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ชุดที่ 3 ปีที่ 1 (4 ตุลาคม 2562-3 ตุลาคม 2563) [ซึ่งเป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553 มาตรา 28 (5) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำงานที่บ้านมีอำนาจหน้าที่ในการติดตามตรวจสอบการดำเนินการที่เกี่ยวกับงานที่รับไปทำที่บ้านจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องและเสนอรายงานเกี่ยวกับผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ สรุปสาระสำคัญดังนี้
เรื่อง	ผลการดำเนินงาน
1. การประชุมคณะกรรมการคุ้มครองการรับงานไปทำที่บ้าน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
	- กำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ประสบความสำเร็จ
- ปรับโครงสร้างคณะอนุกรรมการในคณะกรรมการคุ้มครองฯ เพื่อจัดทำรายงานประจำปีผลการดำเนินงานคณะกรรมการคุ้มครองฯ ชุดที่ 3 ปีที่ 1 และพิจารณาปรับปรุงพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน พ.ศ. 2553
2. พัฒนากลไกในการพัฒนาการคุ้มครองงานที่รับไปทำที่บ้าน	แต่งตั้งคณะอนุกรรมการจำนวน 2 คณะ เพื่อศึกษา วิเคราะห์ แก้ไข ปรับปรุงและยกร่างกฎหมาย รวมทั้งแนวทางการคุ้มครอง ส่งเสริม พัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้แก่ (1) คณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายคุ้มครองผู้รับงานไปทำที่บ้าน และ            (2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและส่งเสริมงานที่รับไปทำที่บ้าน
3. การส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน	- ส่งเสริมและพัฒนาผู้รับงานไปทำที่บ้าน โดยดำเนินกิจกรรม/โครงการ เช่น                  (1) โครงการส่งเสริมให้ความรู้แก่แรงงานนอกระบบเพื่อก้าวสู่สังคมสูงวัย (Aging Society) เป้าหมาย 300 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 4 รุ่น รวม 322 คน คิดเป็น                           ร้อยละ 107 ของเป้าหมาย  (2) โครงการขับเคลื่อนแรงงานนอกระบบสู่ท้องถิ่น ?Informal Labour Fair 2020? เป้าหมาย 1,000 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 1,165 คน คิดเป็นร้อยละ 116 ของเป้าหมาย และ (3) โครงการสร้างและพัฒนาเครือข่ายแรงงานนอกระบบ โดยดำเนินการในส่วนภูมิภาครวม 55 จังหวัด เป้าหมาย 3,065 คน มีผู้เข้าร่วมโครงการ 3,170 คน คิดเป็นร้อยละ 103 ของเป้าหมาย
4. ผลการดำเนินงานเด่นที่เกี่ยวข้องกับผู้รับงานไปทำที่บ้าน การรับคำร้อง/วินิจฉัย  คำร้อง	- ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีการรับคำร้องและวินิจฉัยคำร้องจำนวน 7 ราย สามารถเรียกร้องให้ผู้รับงานไปทำที่บ้านได้รับเงินตามสิทธิจำนวน 145,393.25 บาท



5. การดำเนินการกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน	- ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 กองทุนฯ ได้รับอนุมัติวงเงินกู้ยืม จำนวน               7 ล้านบาท และดำเนินการช่วยเหลือผู้รับงานไปทำที่บ้าน/กลุ่มผู้รับงานไป               ทำที่บ้าน เช่น (1) โครงการสร้างสุขแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้านและชุมชนเพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการพัฒนาสร้างความเข้มแข็งจากฐานราก และสนับสนุนให้เกิดการดูแลสภาพแวดล้อม กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากร้อยละ 3 ต่อปี ลดเหลือร้อยละ 0 ต่อปี โดยสามารถปล่อยกู้ได้ 24 ราย เป็นเงิน 3 ล้านบาท  (2) การลดอัตราดอกเบี้ย เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้รับงานไปทำที่บ้าน/กลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้าน ซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจากร้อยละ 3 ต่อปี ลดเหลือร้อยละ 0 ต่อปี โดยสามารถปล่อยกู้ได้ 33 ราย เป็นเงิน 4 ล้านบาท และ                (3) ผลการดำเนินกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้านในปี 2563 ก่อให้เกิดรายได้ที่เพิ่มขึ้นของผู้รับงานไปทำที่บ้านที่กู้ยืม และนำเงินไปใช้ตามวัตถุประสงค์ 53 ราย มีรายได้เพิ่มขึ้น 861,210 บาท คิดเป็น 4,044 บาท/คน/เดือน

10. เรื่อง รายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 รวม 2 ฉบับ
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งได้ปรับปรุงรูปเล่ม ปรับเพิ่มเนื้อหาข้อมูลผลสัมฤทธิ์ และประสิทธิภาพการใช้จ่ายของกองทุนฯ ตามความเห็นของที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรและรายงานประจำปีกองทุนฯ พ.ศ. 2563 รวม 2 ฉบับ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม เสนอ
		สาระสำคัญของรายงานฯ
		1. รายงานประจำปีกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
		    1.1 ผลต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการ
			1) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 14.6 ล้านคน ทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณในการจัดสรรสวัสดิการเมื่อเปรียบเทียบกับการจัดสรรสวัสดิการให้แก่ผู้ลงทะเบียนทุกคนที่เข้ามาลงทะเบียนตามโครงการฯ
			2) รัฐบาลได้ดำเนินการจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อย่างรัดกุม โปร่งใส และตรวจสอบได้ เนื่องจากเป็นการเติมวงเงินในบัตรฯ โดยไม่ใช้เงินสด ไม่ผ่านคนกลาง มีวงเงินสม่ำเสมอ และเข้าตรงเวลาทุกเดือน ซึ่งผู้มีบัตรดังกล่าวจะต้องไปใช้จ่ายยังร้านค้าที่กำหนด เช่น ร้านธงฟ้าราคาประหยัดพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ทำให้เงินที่ภาครัฐใช้จัดสรรสวัสดิการรวม 93,147 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2562 ไม่รั่วไหล ถึงมือประชาชนทั้งหมดและการใช้จ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์
		   1.2 ผลต่อความยากจน
			1) การจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตร ฯ ช่วยลดความยากจน ความเหลื่อมล้ำในสังคม       ข้อมูลจาก สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เส่นความยากจนของประเทศไทย ในปี 2561  อยู่ที่ 2,710 บาทต่อคนต่อเดือน ในขณะที่มูลค่าเฉลี่ยของสวัสดิการพื้นฐานที่จัดสรรให้ผ่านบัตร ฯ อยู่ที่ 2,927.50 บาทต่อคนต่อเดือน และหากผู้มีบัตร ฯ เข้าร่วมมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ผู้มีบัตรฯ จะได้รับวงเงินสวัสดิการ โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3,090 บาทต่อคนต่อเดือนซึ่งพ้นเส้นความยากจน
			 2) ผลจากการดำเนินมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิต ทำให้ผู้มีบัตร ฯ พ้นจากเส้นความยากจน (ประมาณ 30,000 บาทต่อคนต่อปี) รวม 1,252,922 ราย
			1.3 ผลต่อผู้มีรายได้น้อย
			     ภาครัฐพิจารณาจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้มีบัตรฯ เพื่อให้ตรงกับความต้องการและจำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน ได้แก่ มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและน้ำประปา ค่าเดินทางไปตรวจสุขภาพของผู้สูงอายุ และมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในช่วงเปิดปีการศึกษา
			1.4 ผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย
			     ผลของการใช้จ่ายผ่านบัตรฯ รวม 136,380.9 ล้านบาท ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2562 (ร้อยละ 0.8 ของ GDP) มีส่วนสำคัญที่ทำให้การบริโภคภาคเอกชนในไตรมาสที่ 3 และ 4 ของปี 2561 ไตรมาสที่ 1 2 และ 3 ของปี 2562 ขยายตัวถึงร้อยละ 5.2 5.4 4.9 4.6 และ 4.2 ตามลำดับ สะท้อนให้เห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนได้รับผลประโยชน์ส่วนหนึ่งจากบัตรฯ รวมทั้งช่วยให้เศรษฐกิจในภาพรวมไม่ชะลอตัวลงมาก และเป็นไปตามนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
			1.5 ผลด้านอื่น ๆ
			     โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น รัฐบาลสามารถนำมาสร้างโครงการบูรณาการข้อมูลมหัต (Big Data) และแผนภาพสรุปข้อมูล (Visualization Dashboard) เพื่อใช้วิเคราะห์เชิงลึก ไปปรับปรุงนโยบายบรรเทาความยากจนและความเหลื่อมล้ำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นประชาชนผู้มีบัตรฯ ก้าวข้ามกำแพงของโลกดิจิทัลไปสู่สังคมดิจิทัล (Digital Society) และสังคมเศรษฐกิจที่ปราศจากเงินสด (Cashless Society) ภาครัฐก้าวข้ามกำแพงโลกดิจิทัลโดยการนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินนโยบายและบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งหน่วยงานรับลงทะเบียนและหน่วยงานตรวจสอบและ Big Data สามาถใช้เป็นเครื่องมือในการชี้เป้ากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลือได้เป็นรายพื้นที่
		2. รายงานประจำปีกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
		    2.1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
			กองทุนฯ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม พ.ศ. 2562 มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชน             ผู้มีรายได้น้อยหรือเพื่อสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่เป็นการช่วยเหลือประชาชนในภาวะลำบาก                                   ทุกประเภท
		   2.2  ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
			ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประกอบด้วยสวัสดิการให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐใน             2 รูปแบบ ได้แก่ (1) สวัสดิการที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลา ซึ่งเป็นสวัสดิการเพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน และค่าใช้จ่ายเดินทาง และ (2) สวัสดิการที่กำหนดระยะเวลา ซึ่งเป็นสวัสดิการตามมาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลได้จัดให้แก่ผู้มีบัตรฯ สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละช่วงเวลา เช่น มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา มาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรฯ โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้มีรายได้น้อยได้ชำระ
		    2.3 ส่วนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพในการใช้จ่ายของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม
			2.3.1 ผลต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการ
				1) โครงการฯ มีเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่ควรจะได้รับสิทธิ ได้แก่ มีรายได้ มีทรัพย์สินทางการเงิน และมีอสังหาริมทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด จึงทำให้ผู้ที่ผ่านเกณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้มีรายได้น้อยตัวจริงและสมควรได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษจากภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนรวม 14.6 ล้านคน (13.8 ล้านคน ณ เดือนกันยายน 2563) ทำให้ภาครัฐประหยัดงบประมาณในการจัดสรรสวัสดิการ
				2) รัฐบาลได้ดำเนินการจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตรฯ อย่างรัดกุม โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยไม่ใช้เงินสด ไม่ผ่านคนกลาง ซึ่งผู้มีบัตรฯ จะต้องนำไปใช้จ่ายยังร้านค้าที่กำหนด ทำให้เงินที่ภาครัฐใช้จัดสรรสวัสดิการกว่า 46,760.32 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ไม่รั่วไหลถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ด                 เต็มหน่วยและใช้จ่ายเป็นไปตามวัตถุประสงค์
				2.3.2 ผลต่อความยากจน
					การจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตรฯ ช่วยลดความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้มีรายได้น้อยได้ชำระอยู่ที่ 2,553.33 บาทต่อคนต่อเดือน โดยถือเป็นการช่วยค่าใช้จ่ายของบุคคลในการได้มาซึ่งอาหารและสินค้าอุปโภคที่จำเป็นพื้นฐานขึ้นต่ำของการดำรงชีพของประชาชน
				2.3.3 ผลต่อระบบเศรษฐกิจไทย
 					การเบิกจ่ายงบประมาณของกองทุนฯ ผ่านมาตรการต่าง ๆ ในบัตรฯ ที่ทำให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจมหภาคของประเทศไทย เกิดการไหลเวียนของเงินเข้าไปในระบบเศรษฐกิจ กระจายรายได้สู่ประชาชนและเศรษฐกิจฐานราก และช่วยพยุงเศรษฐกิจ
				2.3.4 ผลด้านอื่น ๆ
				       ข้อมูลของผู้มีบัตรฯ รวม 14.6 ล้านคน ทำให้รัฐบาลสามารถนำมาพัฒนาโครงการบูรณาการข้อมูลมหัต (Big Data) และแผนภาพสรุปข้อมูล (Visualization Dashboard) ผ่านการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของหน่วยงานต่าง ๆ ประชาชนผู้มีบัตรฯ ก้าวข้ามกำแพงของโลกดิจิทัลไปสู่สังคมดิจิทัล                     (Digital Society) และสังคมเศรษฐกิจที่ปราศจากเงินสด (Cashless Society) ภาครัฐก้าวข้ามกำแพงของโลกดิจิทัล และ Big Data สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการชี้เป้ากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการช่วยเหลือได้เป็นรายพื้นที่
			2.4 ส่วนที่ 4 รายงานของผู้สอบบัญชี และรายงานการเงินของกองทุนประชารัฐเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ณ วันที่ 30 กันยายน 2563 กองทุนฯ มีสินทรัพย์สุทธิรวม 7,244.69 ล้านบาท มีรายได้รวม 40,000 ล้านบาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 46,713.20 ล้านบาท

11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการ          การชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรทราบต่อไป
		ข้อเท็จจริง
		 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา โดยคณะกรรมาธิการ ฯ เห็นว่าการผิดนัดชำระหนี้ เกิดจากปัจจัยหลายประการ  เช่นความยากจน การขาดวินัยทางการเงิน  ปัญหาทางเศรษฐกิจ  การตกงาน การขาดความรู้ความเข้าใจในการชำระเงินกองทุน  จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรกำหนดแนวทางการบริหารจัดการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา 4 แนวทาง ได้แก่ 1) แนวทางในการบริหารจัดการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในกรณีเร่งด่วน 2) แนวทางการการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 3) แนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต  และ 4) แนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างในการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตาม พ.ร.บ.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560
ทั้งนี้ กค. ได้พิจารณารายงานพร้อมทั้งข้อสังเกตและข้อเสนอแนะร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นด้วยกับรายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้

ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ	ผลการพิจารณาตามข้อเสนอแนะฯ
1. แนวทางในการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในกรณีเร่งด่วน โดยจัดกลุ่มของลูกหนี้แยกประเภทของลูกหนี้เพื่อให้เกิดความชัดเจนและเหมาะสมในการชำระหนี้ ซึ่งปัจจุบันมีผู้กู้ยืมประมาณ 6.22 แสนล้านบาท และสามารถให้เงินกู้ยืมฯ โดยรัฐไม่ต้องอุดหนุนงบประมาณแผ่นดินตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 แต่ กยศ. ก็ยังคงประสบปัญหาการผิดนัดชำระหนี้สูงถึงร้อยละ 60 ของจำนวนผู้กู้ที่อยู่ระหว่างการชำระหนี้	1. กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ปัจจุบันได้กำหนดมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้กู้ยืมเงินในกรณีเร่งด่วน ดังนี้
	1. กลุ่มที่ 1 คณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาให้อำนาจ กยศ. ผ่อนผันระยะเวลาการชำระหนี้ ระงับการเรียกให้ชำระหนี้ และลดหย่อนหนี้ได้
	2. กลุ่มที่ 2 กองทุนฯ ได้จัดให้มีการเจรจาหรือไกล่เกลี่ยการผ่อนชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลา 10 ปี นับแต่ศาลพิพากษา ทั้งนี้ อาจมีเงื่อนไขการพิจารณาลดเบี้ยปรับหากสามารถผ่อนชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด
	3. กลุ่มที่ 3 ผู้กู้ยืมเงินที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามคำพิพากษาได้ สามารถทำบันทึกข้อตกลงไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี เพื่อผ่อนชำระหนี้ได้อีก 1 - 6 ปี
อย่างไรก็ดี เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายที่ให้อำนาจ กยศ. สามารถแปลงหนี้หรือปรับโครงสร้างหนี้ตามคำพิพากษาได้ ดังนั้น กยศ. จึงจำเป็นต้องดำเนินการติดตามหนี้และบังคับชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด (10 ปี นับแต่ศาลมี             คำพิพากษา) ทั้งนี้ ลูกหนี้สามารถขอไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดี โดยขอผ่อนชำระหนี้ได้อีก 1 - 6 ปี หรือชำระหนี้ปิดบัญชี โดย กยศ. สามารถลดหย่อนหนี้ให้ได้ และอาจขอความร่วมมือจากสถาบันการเงินเพื่อปล่อยสินเชื่อให้ผู้กู้ยืมเงินและผู้ค้ำประกันที่มีทรัพย์เป็นหลักประกันและขอให้คิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำกว่าปกติ เพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินปลดภาระหนี้สินกับกองทุนฯ โดยมีระยะเวลาในการผ่อนชำระหนี้มากขึ้น และลดการบังคับคดีโดยการขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน
2. ศย. เห็นควรให้ กยศ. นำระบบไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 20 ตรี เพื่อเจรจาข้อพิพาทระหว่าง               ผู้กู้ยืมเงินกับ กยศ. ให้สามารถยุติข้อพิพาทได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และไม่มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
2. แนวทางการบริหารจัดการการชำระหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เช่น ควรพิจารณาปรับแก้ไขหลักเกณฑ์ เงื่อนไขรวมถึงวิธีการกู้ยืมเงินและการชำระเงินคืนที่ผู้ได้รับผลกระทบต้องใช้ระยะเวลาในการฟื้นฟูสถานะของตนเองและครอบครัว และกำหนดมาตรการเพื่อให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียน นักศึกษา และผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19	1. อว. ได้ออกประกาศขอให้สถาบันอุดมศึกษาพิจารณาให้ความช่วยเหลือแก่นิสิตและนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เช่น จัดให้มีหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่ประสานงานรับคำร้องให้ความช่วยเหลือแก่นิสิตและนักศึกษา จัดหางบประมาณสนับสนุนมาตรการเยียวยา จัดตั้งกองทุนเยียวยาเพื่อให้นิสิตและนักศึกษากู้ยืมเงินโดยไม่มีดอกเบี้ย ประสานงานการกู้ยืมเงินจาก กยศ. เป็นต้น
2. กยศ. ได้กำหนดมาตรการชั่วคราวเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว เช่น 1) เพิ่มส่วนลดเงินต้นจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 สำหรับ  ผู้กู้ยืมเงินที่ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ที่มาปิดบัญชีในคราวเดียว 2) เพิ่มส่วนลดเบี้ยปรับจากร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 80 สำหรับผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดีที่ชำระหนี้คงค้างให้เป็นปกติ 3) เพิ่มส่วนลดเบี้ยปรับจากร้อยละ 80 เป็นร้อยละ 100 สำหรับผู้กู้ยืมเงินทุกกลุ่มที่ผิดนัดชำระหนี้ (รวมผู้กู้ยืมเงินที่มีคำพิพากษาแล้วที่ชำระหนี้ปิดบัญชีในคราวเดียว)
3. แนวทางการบริหารจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในอนาคต เช่น การทบทวนและปรับปรุงระบบและกลไกการให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา	1. กยศ. อยู่ระหว่างพิจารณาทบทวนและกำหนดเพิ่มเติมให้บุคคลที่มิใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่งอาจเป็นผู้นำชุมชนที่มีความน่าเชื่อถือ สามารถรับรองรายได้ครอบครัวให้แก่นักเรียนและนักศึกษาที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาให้มากขึ้น และได้มีการทบทวนและปรับเกณฑ์คุณสมบัติเฉพาะเกี่ยวกับรายได้ต่อครอบครัวของผู้กู้ยืมเงินจากเดิมที่กำหนดไว้ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี เป็น 360,000 บาทต่อปี โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีการศึกษา 2563  เป็นต้นไป
2. อว. เห็นควรพิจารณาทบทวนระบบการรับรองรายได้ครอบครัว ในกรณีบุคคลซึ่งมิได้ประกอบอาชีพเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือประกอบอาชีพที่สามารถตรวจสอบรายได้ที่แน่นอน เช่น ค้าขาย รับจ้าง อาชีพอิสระ เป็นต้น และเห็นควรให้สถานศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการคัดกรองนักศึกษามีส่วนร่วมในกระบวนการคัดกรองนักศึกษาที่จะกู้ยืมเงิน
4. แนวทางและข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปรับปรุงโครงสร้างในการบริการจัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาตามพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 โดยแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การบริหารจัดการกองทุนมีประสิทธิภาพ	1. อว. เห็นควรให้ อว. และ กค. ในฐานะผู้กำกับดูแล กยศ. หารือร่วมกัน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องนี้ต่อไป และ กยศ. ควรพิจารณาขยายระยะเวลาการชำระหนี้คืนภายหลังจากสำเร็จการศึกษาจากเดิม 2 ปี เป็น 5 ปี เพื่อให้ผู้กู้ยืมเงินมีเวลาหางานทำและมีรายได้เพื่อนำมาชำระเงินคืน
2. กค. เห็นควรให้ กยศ. หารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการ กยศ. ให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ในปัจจุบัน
3. สคก. เห็นว่า หาก กค. เห็นชอบในหลักการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2560 แล้ว สคก. จะร่วมพิจารณาเพื่อปรับแก้ไขพระราชบัญญัติดังกล่าวต่อไป
		นอกจากนี้ กค. เห็นว่า การดำเนินงานในเรื่องนี้ จำเป็นต้องพิจารณาในรายละเอียดอย่างถี่ถ้วนและรอบครอบ โดยเฉพาะสภาพคล่องและรายได้ที่เพียงพอต่อการดำเนินงานของ กยศ. รวมทั้งต้องไม่เป็นภาระต่องบประมาณของภาครัฐในอนาคต

12. เรื่อง รายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า             แห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานกิจการประจำปี งบดุล บัญชีกำไรและขาดทุนของธนาคาร           เพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2563 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบและรับรองแล้ว
		สาระสำคัญ
1.	รายงานผลการดำเนินงานปีบัญชี 2563 เปรียบเทียบกับปีบัญชี 2562
รายการ	ปีบัญชี
2563	ปีบัญชี
2562	เพิ่ม (ลด)
จากปีบัญชี 2562
			จำนวน	ร้อยละ
สินทรัพย์รวม	139,788.93	118,846.80	20,942.13	17.62
- เงินลงทุนสุทธิ	5,098.75	2,493.16	2,605.59	104.51
- เงินให้สินเชื่อ	133,700.53	121,868.47	11,832.06	9.71
หนี้สินรวม	119,876.09	97,422.07	22,454.02	23.05
ส่วนของเจ้าของ	19,912.84	21,424.74	(1,511.90)	(7.06)
กำไรสะสม	7,114.40	8,625.62	(1,511.22)	(17.52)
รายได้รวม	5,544.70	6,353.93	(809.23)	(12.74)
ค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมหนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า)	3,648.51	4,031.99	(383.48)	(9.51)
หนี้สูญ หนี้สงสัยจะสูญ และขาดทุนจากการด้อยค่า	-	1,815.14	(1,815.14)	-
ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น	3,235.93	-	3,235.93	-
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ	(1,339.74)	506.79	(1,846.53)	-
สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้	5,153.00	5,605.96	(452.96)	(8.08)
อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (ร้อยละ)	13.50	15.42	(1.92)	(12.45)

		1.1 ผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน
		      ธสน. มีสินทรัพย์ จำนวน 139,788.93 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.942.13 ล้านบาท หรือร้อยละ 17.62 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยเงินให้สินเชื่อมีการขยายตัว จำนวน 11,832.06 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.71 และเงินลงทุนสุทธิเพิ่มขึ้น จำนวน 2,605.59 ล้านบาท หรือร้อยละ 104.51 มีหนี้สิน จำนวน 119,876.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 22,454.02 ล้านบาท หรือร้อยละ 23.05
		ธสน. ขาดทุนสุทธิ จำนวน 1,339.74 ล้านบาท และมีรายได้รวม จำนวน 5,544.70 ล้านบาท ลดลง 809.23 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.74 เมื่อเทียบกับปี 2562 มีค่าใช้จ่ายรวม จำนวน 3,648.51 ล้านบาท ลดลง 383.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.51 เมื่อเทียบกับปี 2562 และปี 2563 มีผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจำนวน 3,235.93 ล้านบาท
		ธสน. มีสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ จำนวน 5,153.00 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 3.85 ของเงินให้สินเชื่อรวม ลดลง 452.96 ล้านบาท หรือร้อยละ 8.08 เมื่อเทียบกับปี 2562
		ธสน. มีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง ร้อยละ 13.50 โดยลดลงจากปี 2562 ซึ่งอยู่ที่             ร้อยละ 15.42 อย่างไรก็ดี อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงของ ธสน. ยังคงสูงกว่าเกณฑ์ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ สกส. 15/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลเงินกองทุนของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่กำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 8.5
2.	ผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อและรับประกัน
2.1 ผลการดำเนินงานด้านสินเชื่อ ในปี 2563 ธสน. อนุมัติวงเงินสินเชื่อใหม่ให้แก่ผู้ประกอบการและนักธุรกิจไทยในต่างประเทศรวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 54,518 ล้านบาท ลดลง 4,490 ล้านบาท หรือร้อยละ 7.61 เมื่อเทียบกับปี 2562 ส่งผลให้มีวงเงินสินเชื่อสะสมที่อนุมัติจนถึงสิ้นปี 2563 จำนวน 313,950              ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,379 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.15 เมื่อเทียบกับปี 2562 สำหรับปริมาณธุรกิจสะสมที่ ธสน. สนับสนุนผู้ส่งออกและนักธุรกิจไทยในปี 2563 มีจำนวน 168,035 ล้านบาท ลดลงจำนวน 29,071 ล้านบาท หรือ             ร้อยละ 14.75 เมื่อเทียบกับปี 2562
		  2.2 การดำเนินงานด้านรับประกัน ในปี 2563 ธสน. ได้พัฒนาบริการประกันหลายรูปแบบ                เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันตามลักษณะการทำธุรกิจทั้งบริการประกันการส่งออกระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว และบริการประกันความเสี่ยงการลงทุน
		       2.2.1  บริการประกันการส่งออกระยะสั้น ในปี 2563 มูลค่าการส่งออกภายใต้การรับประกันการส่งออกระยะสั้นของ ธสน. เป็นจำนวน 131,399 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 13,256 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.22 เมื่อเทียบกับปี 2562 โดยมีรายได้เบี้ยประกันรับจำนวน 168 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.80 ทั้งนี้ ในปี 2563 สินค้าที่มีมูลค่าการรับประกันการส่งออกสูงสุด คือ อาหาร (ไม่รวมอาหารสด) คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 56.26 ของมูลค่ารับประกันทั้งหมด
		       2.2.2 บริการประกันการส่งออกระยะกลางและระยะยาว ปัจจุบันผู้ส่งออกในภาคการผลิตและภาคบริการสนใจบริการประกันการส่งออกระยะกลางและระยะยาวเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการทำการค้ากับผู้ซื้อที่อยู่ในต่างประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโต เช่น กลุ่มประเทศ CLMV กลุ่มประเทศแถบเอเชียกลาง และยุโรป โดยในปี 2563 ธสน. ไม่มีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ประกอบการไทยภายใต้บริการดังกล่าว
		       2.2.3 บริการประกันความเสี่ยงการลงทุน ในปี 2563 ธสน. มีวงเงินรับประกันความเสี่ยงการลงทุนที่ได้รับอนุมัติรวมจำนวน 140 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีรายได้เบี้ยประกันรับภายใต้บริการประกันความเสี่ยงการลงทุนจำนวน 38 ล้านบาท
		3. ทิศทางและแผนงานปี 2564 ? 2568 ของ ธสน.
		    	3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 เชื่อมไทย เชื่อมโลก ด้วยการสนับสนุนการส่งออกสินค้าและบริการและการลงทุนไทยในประเทศตลาดใหม่ (New Frontiers) ผ่านการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการไทยและผู้ซื้อในต่างประเทศ และขยายภารกิจของ ธสน. ในกลุ่มประเทศดังกล่าว ผ่านสำนักงานผู้แทนและความร่วมมือกับพันธมิตรภาครัฐและเอกชน
			3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและภาคอุตสาหกรรมของประเทศ (National Development) ด้วยการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเศรษฐกิจสีเขียว รวมไปถึงโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และเขตเศรษฐกิจพิเศษ
			3.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 ป้องกันความเสี่ยงด้านการค้าและการลงทุนไทยในต่างประเทศ (Risk Protection) เพื่อสร้างความมั่นใจในการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศให้แก่ผู้ประกอบการไทยด้วยบริการประกันการส่งออกและการลงทุน โดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันในรูปแบบใหม่
			3.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 เป็นกลไกสำคัญในระบบนิเวศสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการ (Ecosystem) เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศ
			3.5 ยุทธศาสตร์ที่ 5 ก้าวเข้าสู่ธนาคารดิจิทัล (Digitalization) เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลในกระบวนการทำงานและการให้บริการลูกค้าด้วยการพัฒนาระบบงานที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง
			3.6 ยุทธศาสตร์ที่ 6 พัฒนาธนาคารเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Banking) เพื่อบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ บริหารจัดการการเงินอย่างมีความรับผิดชอบด้วยการบริหารคุณภาพสินทรัพย์และความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล เพื่อสร้างการเติบโต อย่างยั่งยืนและสมดุล

13.  เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง COVID-19 : ผลกระทบต่อความมั่นคง ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง COVID-19 : ผลกระทบต่อความมั่นคง ของคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
		คณะกรรมาธิการ ฯ ได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับ COVID-19 กับผลกระทบต่อความมั่นคง  ดังนี้               1) ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก  และ 2) ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์ภายในประเทศ  ทั้งนี้  กระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการ ฯ ไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการพิจารณาได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะ	ผลการพิจารณา
1. ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลก ประเทศควรเตรียมความพร้อม
ด้านความมั่นคงในมิติอื่น ๆ
	- มท. เห็นว่าหน่วยงานที่รับผิดชอบแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ ซึ่งเป็นแผนฯ ที่รองรับสถานการณ์ด้านความมั่นคง ควรทบทวนแผนฯ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์หรือบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง และแนวโน้มสถานการณ์ในระยะต่อไป รวมทั้งควรประสานความร่วมมือกับนานาชาติและองค์กรระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้รองรับการดำเนินการตามแผนฯ
2. ข้อเสนอแนะต่อแนวโน้มสถานการณ์ภายในประเทศ
     2.1 การพัฒนาระบบฐานข้อมูล
ขนาดใหญ่ (Big Data)	- มท. เห็นว่า ควรเพิ่มการใช้เครื่องมือของภาครัฐประเภทอื่นที่มีอยู่มาสนับสนุนการดำเนินการ อาทิ ระบบบริหารจัดการข้อมูล การพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform : TPMAP)
- ดศ. ได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้เป็นเครื่องมือในการจำกัดติดตามและเฝ้าระวังบุคคล เพื่อบรรเทาสถานการณ์             การแพร่ระบาดของโรคฯ และดำเนินการผ่านทางศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti - Fake News) เสนอข้อเท็จจริงของข่าวสารต่าง ๆ เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ
     2.2 การเพิ่มบทบาทของหน่วยงานด้านความมั่นคงในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านดิจิทัลและสาธารณสุข	- มท. ได้กำหนดมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย เช่น การควบคุมการเดินทางเข้าออกทางบกของผู้ที่มีสัญชาติไทยที่กลับเข้าประเทศผ่านจุดผ่านแดนถาวรในพื้นที่จังหวัดชายแดน การยับยั้งการแพร่ระบาดภายในประเทศ โดยจัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับจากกรุงเทพฯ ปริมณฑล และพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเดินทางกลับภูมิลำเนาเข้ามาในพื้นที่ระดับหมู่บ้าน/ชุมชน การจัดตั้งสถานที่กักกันตัว (Local Quarantine) ในส่วนภูมิภาค การปิดสถานที่หรืองดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
     มาตรการช่วยเหลือประชาชน เช่น การช่วยเหลือผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การช่วยเหลือประชาชนโดยลดค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
     มาตรการป้องกันและสกัดกั้นผู้ลักลอบเข้าเมือง เพื่อป้องกันการลักลอบเข้าเมือง ที่อาจเป็นปัจจัยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส                        โคโรนา 2019 และมาตรการกระจายหน้ากากและเวชภัณฑ์สำหรับประชาชน โดยจัดและแจกจ่ายหน้ากากอนามัยต่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค จัดทำและแจกจ่ายหน้ากากอนามัยชนิดผ้าต่อกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่กรุงเทพฯ และส่วนภูมิภาค
- กห. ได้สนับสนุนการบริหารจัดการสถานที่กักกันตัวในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน (Emergency Operation Center : EOC)สนับสนุนการจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม ณ พื้นที่ต่าง ๆ
- พณ. ได้ประสานการปฏิบัติกับ สธ. เพื่อจัดหาและเพิ่มกำลังการผลิตหน้ากากอนามัยให้เหมาะสมกับสถานการณ์ และกำกับดูแลสินค้าเจลล้างมือและแอลกอฮอล์ให้เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน มีราคาจำหน่ายที่เหมาะสม และไม่เกิดภาวการณ์กักตุนสินค้า
- สธ. เห็นว่าควรให้หน่วยงานด้านความมั่นคงมีบทบาทเพิ่มเติมในด้านการป้องกันการลักลอบเข้าเมืองและด้านการจัดส่งเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ป้องกัน/ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

14. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษา โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษาโครงการ 1 หมู่บ้าน                 1 กิโลเมตร ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ และมอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย รับข้อเสนอแนะของคณะกรรมการป้อกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยให้รับข้อเสนอแนะ ความเห็น/ข้อสังเกตของส่วนราชการไปประกอบการพิจารณาดำเนินการด้วย
		ข้อเสนอ
		คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริต กรณีศึกษา โครงการ 1 หมู่บ้าน 1 กิโลเมตร ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ (โครงการฯ) ดังนี้
		1. ข้อเสนอแนะ รัฐบาลควรทบทวนนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางโดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดสร้างถนนที่นำน้ำยางพารามาเป็นวัสดุส่วนผสมในการก่อสร้าง (ถนนพาราซอยล์ซีเมนต์) เพื่อทำการศึกษาในด้านต่าง ๆ อย่างรอบครอบ เช่น การกำหนดราคากลาง การกำหนดสารเคมีที่นำมาผสมกับ                 น้ำยางพาราต้องมีใช้อย่างแพร่หลาย ไม่เป็นการผูกขาดหรือเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ผลิตเพียงไม่กี่ราย รวมถึงการถอดรูปแบบรายการงานก่อสร้างความมั่นคงถาวร และความคุ้มค่าของถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ที่ชัดเจนและเป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของเกษตรกรอย่างสูงสุด ทั้งนี้ การทบทวนเพื่อทำการศึกษาในข้างต้นให้พิจารณาขยายผลครอบคลุมถึงการดำเนินการก่อสร้างถนนพาราซอยล์ซีเมนต์ที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยงานอื่นด้วย
		2. ข้อสังเกตเพิ่มเติมของคณะกรรมการ ป.ป.ช.
		    2.1 รัฐบาลควรพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางในส่วนราคายางให้เกิดเสถียรภาพในระยะยาวไม่ให้ราคาตกต่ำมากเกินไป โดยหากรัฐบาลจำเป็นต้องแทรกแซงกลไกตลาด ควรดำเนินการเท่าที่จำเป็นโดยคำนึงถึงหลักการภายใต้เงื่อนไขขององค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ทั้งนี้ รัฐบาลอาจขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ยางพาราระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 - 2579) ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบและเป็นไปตามแผนที่วางไว้
		  หากรัฐบาลจำเป็นต้องนำเสนอนโยบายหรือโครงการเกี่ยวกับการพยุงราคายางพารา ควรส่งเสริมการใช้ยางพาราในแนวทางที่มีหลักเกณฑ์ ขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน โปร่งใส สามารถทำให้ประโยชน์จากการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินตกแก่เกษตรกรชาวสวนยางพาราได้อย่างเต็มที่ โดยเพิ่มช่องทางให้กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางพาราสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประโยชน์จากการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐตอบสนองต่อความต้องการของเกษตรกรได้อย่างแท้จริง
		  2.2 รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีสถาบันที่รับผิดชอบในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเกี่ยวกับยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากยางพาราและสามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาราคายางตกต่ำได้อย่างยั่งยืน

15. เรื่อง การใช้เงินของกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อการเพิ่มทุนธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
	คณะรัฐมนตรีมีมติตามที่กระทรวงการคลัง เสนอ  ดังนี้
1.	กำหนดให้ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (ธสน.) ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นแต่มิได้เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2558 สามารถใช้เงินจากกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (กองทุนฯ) เพื่อการเพิ่มทุนได้
2.	อนุมัติกรอบวงเงินที่จะจัดสรรจากกองทุนฯ เพื่อการเพิ่มทุนเพื่อขยายการดำเนินงานให้แก่ ธสน. จำนวนไม่เกิน 4,198 ล้านบาท ตามที่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (คณะกรรมการกองทุนฯ) เสนอ และหากในอนาคต ธสน. ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพิ่มทุนสามารถนำเสนอ กค. และคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เห็นควรให้กองทุนฯ มีการกำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเพิ่มทุน ธสน. อย่างน้อยให้ครอบคลุมตัวชี้วัด เช่น ด้านการขยายสินเชื่อ ด้านฐานะทางการเงิน ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น
สาระสำคัญ
		 คณะกรรมการกองทุนฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2564 ได้มีมติ ดังนี้
1.	เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีกำหนดให้ ธสน. ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่มีกฎหมายเฉพาะจัดตั้งขึ้นแต่มิได้เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ สามารถใช้เงินจากกองทุนฯ เพื่อการเพิ่มทุนได้
2.	เห็นชอบจำนวนเงินที่จะจัดสรรจากกองทุนฯ เพื่อการเพิ่มทุนเพื่อขยายการดำเนินงานให้แก่ ธสน. จำนวนไม่เกิน 4,198 ล้านบาท เพื่อใช้ในการเพิ่มทุน และขยายการดำเนินงานในกลุ่มตลาด 3 กลุ่ม ได้แก่ ตลาดในประเทศ ตลาด CLMV และตลาด New Frontiers โดยมุ่งช่วยเหลือและสนับสนุน SMEs เป็นหลัก ทั้งนี้ หากในอนาคต ธสน. ยังคงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพิ่มทุนสามารถนำเสนอ กค. และคณะกรรมการกองทุนฯ พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
3.	เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติกรอบวงเงินที่จะจัดสรรจากกองทุนฯ ให้แก่ ธสน. แล้ว คณะกรรมการกองทุนฯ จะได้พิจารณาจัดสรรจำนวนเงินดังกล่าวเป็นรายงวดโดยคำนึงถึงสภาพคล่องของกองทุนฯ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ พ.ศ. 2558 (สภาพคล่องของกองทุนฯ ณ วันที่ 4 มิถุนายน 2564 จำนวน 24,571.348 ล้านบาท)
4.	เพื่อให้การสนับสนุนเงินจากกองทุนฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพเห็นควรเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีเพิ่มเติม โดยให้กองทุนฯ กำหนดตัวชี้วัดเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์จากการเพิ่มทุน ธสน. อย่างน้อยให้ครอบคลุมตัวชี้วัด เช่น ด้านการขยายสินเชื่อ ด้านฐานะทางการเงิน ด้านผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคม เป็นต้น

16. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 รวม 23 จังหวัด จำนวน 2,117 โครงกร งเงินรวม 6,170,647,915 บาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนและผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในระลอกเดือนเมษายน 2564

17. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2564
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 30/2564 ตามข้อ 3.1.4 3.2.4 3.3.4 และ 3.4.5 ที่ได้มีมติที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ และการพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ดังนี้
		1. อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการกำลังใจ จากเดิมสิ้นสุดระยะเวลาเบิกจ่ายในเดือนสิงหาคม 2564 เป็นเดือนธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้เห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เพื่อให้สามารถเบิกจ่ายเงินให้แก่ผู้ที่อยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อมูลการเดินทางภายใต้โครงการฯ และเห็นควรให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเร่งดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในระบบ MENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดดังกล่าวโดยเร็ว
		2. มอบหมายให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยรับไปพิจารณาความเหมาะสมของช่วงระยะเวลาที่จะเริ่มดำเนินโครงการเราเที่ยวด้วยกันและโครงการทัวร์เที่ยวไทย พร้อมทั้งพิจารณากำหนดเงื่อนไขและรายละเอียดของการเข้าร่วมโครงการทั้ง 2 โครงการให้มีความรัดกุมโดยเฉพาะประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุด เพื่อป้องกันมีให้เกิดการแพร่ระบาดโควิด ? 19 อันเนื่องจากการดำเนินโครงการฯ ทั้งนี้ ในกรณีที่พิจารณาแล้วเห็นว่าไม่สามารถเริ่มต้นดำเนินโครงการได้ภายในเดือนตุลาคม 2564 อาจจะพิจารณาเสนอขอยุติโครงการฯ และคืนกรอบวงเงินกู้เหลือจ่ายตามขั้นตอนของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ต่อไป
		3. อนุมัติให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการยกระดับหน่วยบริการกรมอนามัยรองรับการระบาดของโรค COVID-19 จากเดิม เดือนมิถุนายน ? กันยายน 2564 เป็น เดือนมิถุนายน - ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เพื่อให้การดำเนินการยกระดับหน่วยบริการกรมอนามัยให้รองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส               โคโรนา 2019 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เห็นควรให้กรมอนามัย เร่งดำเนินโครงการให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่ขอขยายให้แล้วเสร็จ และดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการดังกล่าวโดยเร็ว
		4. อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการ Gastronomy Tourism : LANNA Gastronomy ?คิดถึงเชียงใหม่? จากเดิม 1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564 เป็น 1 ตุลาคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการฯ ได้ ตามเป้าหมายที่กำหนด และเห็นควรให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เร่งดำเนินการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดดังกล่าวโดยเร็ว
		5. อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 2 รวม12 จังหวัด จำนวน 2,186 โครงการ กรอบวงเงินรวม 3,587,218,514 บาท และมอบหมายให้สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย รวบรวมโครงการที่ผ่านการพิจารณาแล้วดำเนินการให้เป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 รวมทั้งมอบหมายให้จังหวัดรับความเห็นและข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ ตามผลการพิจารณาของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2564 ไปประกอบการดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป พร้อมทั้งกำชับให้รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับและติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคเร่งพิจารณาและจัดส่งข้อเสนอโครงการที่เห็นควรให้ความเห็นชอบต่อกระทรวงมหาดไทย เพื่อพิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

18. เรื่อง รายงานผลการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
		คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ
		สาระสำคัญข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย
		1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้จัดทำ ?ถุงกำลังใจสู้โควิด 19? จำนวน 6,796 ชุด เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ครอบครัวผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 50 เขต ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ประชาชนได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส              โคโรนา 2019 (COVID-19) และประสบปัญหาความเดือดร้อนและความยากลำบาก จำนวน 6,796 ครัวเรือน
		2. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กรุงเทพมหานคร และอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ลงพื้นที่มอบ ?ถุงกำลังใจสู้โควิด 19? จำนวน 3,565 ชุดให้แก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ครอบครัวผู้ป่วยติดเตียง ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 24 เขต ระหว่างวันที่ 6 - 8 สิงหาคม 2564 ดังนี้ วันที่ 6 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนในเขตคลองเตย ธนบุรี บางกอกน้อย ภาษีเจริญ ดินแดง ลาดพร้าว สะพานสูง และหนองจอก จำนวน 1,897 ชุด วันที่ 7 สิงหาคม 2564               ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่เขตพระโขนง คลองสาน ตลิ่งชัน บางแค ห้วยขวาง หลักสี่ คันนายาว และคลองสามวา จำนวน 929 ชุด และวันที่ 8 สิงหาคม 2564 ลงพื้นที่มอบถุงยังชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่เขต            สวนหลวง บางกอกใหญ่ ทวีวัฒนา บางบอน พญาไท ดอนเมือง ประเวศ และมีนบุรี จำนวน 745 ชุด รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,565 ชุด
		3. สำหรับถุงยังชีพที่เหลือ จำนวน 3,231 ชุด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะดำเนินการส่งมมอบถุงยังชีพดังกล่าวแก่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ภายใต้สังกัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในวันที่ 9 สิงหาคม 2564 เพื่อส่งต่อความช่วยเหลือให้กับประชาชน กลุ่มเปราะบาง ครอบครัวผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่กรุงเทพมหานคร 26 เขต อย่างทั่วถึงและรวดเร็วที่สุด ภายในเดือนสิงหาคม 2564 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงสิทธิและบริการภาครัฐ และเพื่อสานพลังการให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนแก่ประชาชนกลุ่มเปราะบาง ครอบครัวผู้ป่วยติดเตียงที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-9) และเป็นการลดความเหลื่อมล้ำ รวมถึงไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
		4. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จะจัดทำถุงยังชีพเพิ่มเติมให้กับผู้ป่วย                ติดเตียงที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนและความยากลำบากในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ต่อไป

ต่างประเทศ

19. เรื่อง การขอแก้ไขสัญญาเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นเลขที่ TXXXV-1 สำหรับโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลัง ดังนี้
		1. เห็นชอบการขอแก้ไขสัญญาเงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency: JICA) เลขที่ TXXXV-1 สำหรับโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม สนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศและภูมิภาค (โครงการพัฒนากำลังคนฯ) เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนากำลังคนฯ จาก กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็น กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ดังนี้
			1.1 เปลี่ยนชื่อหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนากำลังคนฯ (Executing Agency) ใน Article III Section 4 Administration of Loan และใน Schedule 1 Section 1 Outline of the Project
			1.2 เปลี่ยนชื่อบัญชีหน่วยงานเพื่อรองรับเงินกู้ (Designated Account) ใน Schedule 2 Section 1 Allocation และใน Schedule 7 Advance Procedure
			1.3 ประเด็นอื่น ๆ (ถ้ามี)
			โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดอื่น ๆ ตามสัญญาเงินกู้เดิม
		2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย             ลงนามในร่างหนังสือถึง JICA เพื่อแจ้งขอเปลี่ยนแปลงหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนากำลังคนฯ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		คณะรัฐมนตรีมีมติ (2 มีนาคม 2564) เห็นชอบในหลักการให้ อว. โดย สป.อว. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนากำลังคนฯ ร่วมกับ สพฐ. และ สสวท. ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป จึงมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนากำลังคนฯ ภายใต้สัญญาเงินกู้ เลขที่ TXXXV-1 จาก ศธ. โดย สพฐ. เป็น อว. โดย สป.อว. เพื่อเป็นหน่วยรับเงินกู้ต่อไป เนื่องจากในสัญญาเงินกู้ดังกล่าวไม่ได้ระบุอำนาจหน้าที่และบทบาทของ สป.อว. ไว้ JICA ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สป.อว. สพฐ. สสวท. และ กค. [สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.] ได้ดำเนินการวิเคราะห์ และประเมินความพร้อมการดำเนินโครงการพัฒนากำลังคนฯ (Appraisal Mission) ของ สป.อว. ในการบริหารจัดการ และการบริหารสัญญาและธุรกรรมทางการเงิน สรุปได้ว่า สป.อว. มีความพร้อมและศักยภาพในการเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนากำลังคนฯ โดยได้เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่มีความรู้และประสบการณ์ในโครงการให้ทุนการศึกษาและวิจัย ซึ่งได้ผ่านการปฏิบัติงานร่วมกับองค์กรระดับนานาชาติ และยังได้จัดทำแผนจัดหาบุคลากรเพิ่มเติม รวมทั้งแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อรองรับการดำเนินโครงการพัฒนากำลังคนฯ ตามความจำเป็นและเหมาะสม นอกจากนี้ สป.อว. ได้เตรียมความพร้อมในการเปิดบัญชีหน่วยงานเพื่อรองรับเงินกู้ (Designated Account) และบริหารสัญญาแทน สพฐ. โดยมีเงื่อนไขและรายละเอียดที่สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติเดิมของ สพฐ. ภายใต้สัญญาเงินกู้แล้ว ทั้งนี้ ในส่วนของเงินงบประมาณ สป.อว. ได้ขอรับจัดสรรเงินงบประมาณประจำปีเพื่อดำเนินโครงการพัฒนากำลังคนฯ ตั้งแต่ปีงบประมาณพ.ศ.2565 เป็นต้นไปด้วยแล้ว

20.  เรื่อง ผลการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 (Partnering for Green Growth and Global Goals 2030: P4G) ครั้งที่ 2
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมระดับผู้นำกรอบหุ้นส่วนเพื่อการเจริญเติบโตสีเขียวและเป้าหมายโลกปี ค.ศ. 2030 (Partnering for Green Growth and Global Goals 2030: P4G) ครั้งที่ 2 และมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานเจ้าภาพในการติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของกลุ่ม P4G และการส่งเสริมบทบาทของประเทศไทยในกลุ่มดังกล่าวต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		นายกรัฐมนตรีได้เข้าร่วมการประชุม P4G ครั้งที่ 2  ระหว่างวันที่ 30-31 พฤษภาคม 2564 ผ่านการบันทึกเทปวีดิทัศน์ล่วงหน้าและระบบวีดิทัศน์แบบถ่ายทอดสด เพื่อหารือใน 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) การฟื้นฟูสีเขียวจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (2) ความพยายามของประชาคมระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 (ค.ศ. 2050) และ (3) การเสริมสร้างหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อดำเนินการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		 ผลการประชุมฯ
		  1. แต่ละประเทศได้นำเสนอ/ประกาศนโยบายที่สำคัญในการรับมือกับประเด็นสิ่งแวดล้อม เช่น การลดการใช้พลังงานจากถ่านหิน การปลูกต้นไม้ยืนต้น การเจริญเติบโตที่สมดุลและยั่งยืน การให้ความช่วยเหลือด้านเงินสนับสนุนเพื่อการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนผ่านสีเขียวที่เป็นธรรม การแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกัน การเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการค้าเสรีในการพัฒนาสีเขียวและการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการให้ประเทศมหาอำนาจเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านสิ่งแวดล้อม
		 2. นายกรัฐมนตรีได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในการประชุมฯ โดยเน้นย้ำ 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) การฟื้นฟูจากวิกฤตโควิด-19 ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตที่สมดุลและยั่งยืนและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) (2) การนำเสนอหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (3) การส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินการตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (4) การชื่นชมนโยบายมุ่งใต้ใหม่พลัส (New Southern Policy Plus) และการส่งเสริมความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เทคโนโลยี และนวัตกรรมภายใต้นโยบายสีเขียวใหม่ของสาธารณรัฐเกาหลีและแนวทางการฟื้นฟูสีเขียวของประเทศอื่น ๆ
		3. ที่ประชุมฯ ได้ร่วมกันรับรองปฏิญญากรุงโซล ซึ่งเป็นการย้ำเจตนารมณ์ในการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การฟื้นฟูเศรษฐกิจสีเขียว การส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วน 5 ด้าน (น้ำสะอาด พลังงานสะอาดอาหารและเกษตรกรรม เมืองสีเขียว และเศรษฐกิจหมุนเวียน) และการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านการสนับสนุนทางการเงินจากภาครัฐและภาคเอกชน

21. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค (APEC Business Advisory Council: ABAC) และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2021 (Ministers Responsible for Trade Meeting 2021)
		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2021และมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำผลการประชุมฯ ไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
		สาระสำคัญของเรื่อง
		นิวซีแลนด์ได้จัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค เมื่อวันที่                 5 มิถุนายน 2564 และการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2021 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2564 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมกล่าวถ้อยแถลงในนามประเทศไทย สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
		1. การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคกับสภาที่ปรึกษาทางธุรกิจของเอเปค สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐอินโดนีเขีย นิวซีแลนด์และไทย ได้เน้นย้ำเรื่องการกระจายการฉีดวัดซีนสำหรับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่มีคุณภาพให้แก่ประชาชนในเอเปคอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เนื่องจากเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเปิดพรมแดนและการบริหารห่วงโซ่อุปทาน โดยไทยได้กล่าวถ้อยแถลง ดังนี้ 1) ใช้โมเดลการค้าใหม่เพื่อปรับให้เข้ากับยุค New Normal ผ่านการเจรจาซื้อขายออนไลน์ 2) มีแผนงานภูเก็ต แซนด์บ๊อกข์ เพื่อเปิดรับชาวต่างชาติที่ฉีดวัคซีนโควิด-19  3) เร่งให้ประชาชนสามารถเข้าถึงวัดซีนและยกเวันอากรศุลกากรการนำเข้าวัคซีน ยา และเครื่องมือแพทย์ และ 2 ใช้หลักเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 นอกจากนี้ ภาคเอกชนไทยได้ผลักดันการออกหนังสือเดินทางที่มีการรับรองการฉีดวัคซีนและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Micro, Small and Medium Enterprises: NSMES ในการควบรวมและการซื้อกิจการระหว่างประเทศเพื่อให้มีผลกำไรเพิ่มขึ้นด้วย
		2. การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2021 ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นที่สำคัญ ดังนี้
			2.1 สนับสนุนความร่วมมือในการรับมือกับโควิด-19 ระดับภูมิภาคโดยการฉีดวัคซีนและการใช้มาตรการที่ส่งเสริมการไหลเวียนวัคซีนโควิด-19 รวมถึงสินค้าและบริการที่จำเป็น โดยไทยได้กล่าวถ้อยแถลง ดังนี้ 1) สนับสนุนปฏิญญาเอเปคว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้าจำเป็น ปี 2563 โดยย้ำว่าการออกมาตรการของรัฐจะต้องไม่ก่อให้เกิดอุปสรรคทางการค้าและมาตรการจำกัดการส่งออกต้องสอดคล้องกับองค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) 2) เร่งฉีดวัคซีนให้ประชาชนและสนับสนุนแถลงการณ์เอเปค เรื่องห่วงโซ่อุปทานวัคซีนเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีนโควิด-19 3) ให้ความสำคัญกับแถลงการณ์เอเปคเรื่องการบริหารจัดการขนส่งและโลจิสติกส์เพื่อส่งเสริมการไหลเวียนของสินค้าจำเป็นในช่วงโควิด-19 และ 4) สนับสนุนการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตรยากับวัคซีน
			2.2 ระบบการค้าพหุภาคี ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นสำคัญที่ผลักดันให้เป็นผลลัพธ์ในการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญครั้งที่ 12 (the Twelfth Ministerial Conference: MC12) โดยเขตเศรษฐกิจเอเปคส่วนใหญ่รวมถึงไทยได้ให้ความสำคัญกับการผลักดันความร่วมมือและบทบาทของ WTO เพื่อรับมือกับการระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะการส่งเสริมการเข้าถึงวัคซีน การสรุปผลการเจรจาความตกลงเรื่องการอุดหนุนประมง  การขับเคลื่อนการหารือหลายฝ่ายภายใต้ข้อริเริ่มร่วมเกี่ยวกับการจัดทำกฎเกณฑ์ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และการจัดทำวินัยเพื่อกำกับดูแลการใช้กฎระเบียบภายในประเทศด้านการค้าบริการให้มีความคืบหน้า เป็นต้น โดยเห็นว่าเอเปคมีบทบาทในการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีและการเจรจาภายใต้ WTO และเป็นแหล่งบ่มเพาะแนวคิดและเสริมสร้างการหารือประเด็นการค้าใหม่ ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนการเจรจาภายใต้ WTO ให้มีความคืบหน้า
		3. รัฐมนตรีการค้าเอเปคได้ร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปคประจำปี 2564 แถลงการณ์เอเปคเรื่องห่วงโซ่อุปทานวัคซีนโควิด-19 และแถลงการณ์เอเปค เรื่องการบริการเพื่อสนับสนุนการเคลื่อนย้ายสินค้าที่มีความจำเป็น โดยมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำแต่ไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีมีมติ (1 มิถุนายน 2564) เห็นชอบ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อไทยในการรักษาช่องว่างทางนโยบายมากขึ้น รวมถึงเป็นประเด็นที่ส่งผลดีต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเปคต่อไป ทั้งนี้ ประเด็นที่มีการปรับเปลี่ยนหรือเพิ่มเติมในแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ประจำปี 2564 ที่สำคัญ เช่น การทบทวนรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงรายการสินค้าสิ่งแวดล้อมพิกัดศุลกากรระบบอาร์โมไนซ์ ซึ่งทำให้ไทยยังสามารถรักษาพื้นที่ทางนโยบายได้ การจัดทำทางเลือกสำหรับสมาชิกเอเปคที่สามารถดำเนินงานได้ ในการคงสถานะการอุดหนุนเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ที่ไม่มีประสิทธิภาพโดยสมัครใจ ซึ่งจะไม่เป็นการผูกมัด
		4. แถลงการณ์ทั้ง 3 ฉบับ ได้กำหนดการรายงานความคืบหน้าในประเด็นสำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงาน จึงมีประเด็นมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป

22.  เรื่อง  รายงานความคืบหน้าการพัฒนาความร่วมมือด้านกฎระเบียบระหว่างประเทศ (International Regulatory Cooperation) ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
  		คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานความคืบหน้าการพัฒนาความร่วมมือด้านกฎระเบียบระหว่างประเทศ (International Regulatory Cooperation) ของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
  		สาระสำคัญของเรื่อง
  		OECD ได้เชิญให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนโยบายกฎระเบียบ (Regulatory Policy Committee) ของ OECD เพื่อที่จะได้มีส่วนร่วมกันในการวางแนวทางในการพัฒนากฎระเบียบที่ดีร่วมกันต่อไป ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยด้วย หากในโอกาสต่อไป ไทยจะสมัครเป็นสมาชิกของ OECD ที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างของกฎหมายและกฎระเบียบให้สอดคล้องกับมาตรฐานของ OECD ซึ่งนายกรัฐมนตรีอนุมัติให้ดำเนินการได้เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2564  ทั้งนี้ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกของคณะกรรมการนโยบายกฎระเบียบของประเทศไทยนั้นจะมีผลเมื่อที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปีของสมาชิกคณะกรรมการนโยบายกฎระเบียบได้ให้การรับรองตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ในเดือนพฤศจิกายน 2564 และเมื่อประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกอย่างเป็นทางการแล้ว OECD จะจัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าร่วมสนับสนุนการดำเนินการการพัฒนาระบบกฎหมายของประเทศไทยต่อไป

23.  เรื่อง  ร่างแถลงข่าวร่วม (Joint Press Statement) สำหรับการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้)
  		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงข่าวร่วมการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ เพื่อให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมรับรองเอกสารในการหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ในวันที่ 27 สิงหาคม 2564 และกระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่เอกสารต่อสาธารณชนภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างแถลงข่าวร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
  		สาระสำคัญ
  		กต. และกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ได้ร่วมกันจัดทำร่างแถลงข่าวร่วมการเยือนไทย                   อย่างเป็นทางการของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ โดยสาระสำคัญของร่างแถลงข่าวร่วมฯ                มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ในการทบทวนและกำหนดทิศทางความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ในอนาคต โดยจะมอบหมายให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายหารือกันในการประชุม Policy Consultation ครั้งที่ 4 เพื่อร่วมกันจัดทำร่างแผนปฏิบัติการในการส่งเสริมความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกันต่อไป
  		ทั้งนี้ ร่างแถลงข่าวร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงผลลัพธ์ของการเยือนที่แสดงวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างทั้งสองฝ่ายในการส่งเสริมและยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ทั้งในกรอบความสัมพันธ์ทวิภาคีและในกรอบระหว่างประเทศในสาขาความร่วมมือด้านต่าง ๆ อาทิ ความมั่นคง การค้าการลงทุน พลังงาน สุขภาพ การศึกษา และวัฒนธรรม และการต่อสู้กับโควิด-19 เป็นต้น

24. เรื่อง  ขอความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก
  คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกรมพลศึกษาเสนอ ดังนี้
  1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างอาเซียนกับองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก
2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้ความเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามข้อ 1
  3. เห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามข้อ 1 ในนามอาเซียน
  ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ ขอให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกรมพลศึกษา ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ
1. วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างอาเซียนและ WADA ในการร่วมมือเพื่อป้องกันการใช้สารต้องห้ามในกีฬาภูมิภาคอาเซียน
		2. ขอบเขตความร่วมมือ
	2.1 ฝ่ายอาเซียน โดยร่วมมือกับองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก (World Anti-Doping Agency: WADA) จะสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกดำเนินการ ดังนี้
			- ปฏิบัติตามอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในการกีฬา ขององค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ซึ่งตระหนักถึงประมวลกฎการต่อต้านการใช้              สารต้องห้ามโลก และบทบาทของ WADA ในการป้องกันการใช้สารต้องห้ามในระดับนานาชาติ
			- ทบทวนและประสานนโยบายการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในระดับประเทศให้เป็นไปในแนวทางเดียวกับแผนงานการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามโลก ซึ่งรวมถึงประมวลกฎ มาตรฐานสากล และแบบอย่างของแนวปฏิบัติที่ดีตามที่เห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้เข้าร่วม
			- เห็นชอบมาตรการที่เหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับประมวลกฎ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อนุสัญญาระหว่างประเทศ โดยมาตรการดังกล่าวอาจรวมถึงนิติบัญญัติ นโยบาย กฎระเบียบ และแนวปฏิบัติด้านการจัดการ
			- สนับสนุนความอิสระในการปฏิบัติงานขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งชาติของตน ซึ่งดูแลกฎระเบียบและนโยบายการต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในประเทศ ตลอดจนรับรองให้มีเงินทุนและทรัพยากรเพียงพอเพื่อความยั่งยืนขององค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งชาติ
			- จัดแผนงานด้านการศึกษาและเผยแพร่ความรู้การป้องกันการใช้สารต้องห้ามในการกีฬาและการป้องกันสุขภาพของนักกีฬา การศึกษาแบบเน้นคุณค่าภายในโรงเรียน และแผนงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักกีฬาและบุคลากรผู้ให้การสนับสนุน ตามที่กำหนดในประมวลกฎและมาตรฐานสากลเพื่อการศึกษาของ WADA
			- รับรองให้การจัดกิจกรรมและแผนงานเกี่ยวกับการต่อต้านการใช้สารต้องห้าม ดำเนินการโดยให้สอดคล้องกับหลักประมวลกฎ ในกรณีการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดกิจกรรมกีฬาในระดับนานาชาติหรือการแข่งขันในระดับภูมิภาค อาทิ การแข่งขันซ๊เกมส์ ยกเว้นกรณีการจัดกิจกรรมโดยสหพันธ์กีฬาโรงเรียนและโรงเรียนกีฬาในรัฐสมาชิกอาเซียน
			- สนับสนุนการปฏิบัติงานและโครงการของ WADA สำนักงานประจำภูมิภาคเอเชียโอเชียเนีย และองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
			- ส่งเสริมให้มีการจัดฝึกอบรมที่จำเป็นสำหรับบุคลากรเพื่อป้องกันการใช้สารต้องห้ามในอาเซียน
			- ร่วมมือกับสหพันธ์กีฬานานาชาติ สหพันธ์กีฬาแห่งภูมิภาค องค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งชาติ และองค์กรต่อต้านการใช้สารต้องห้ามแห่งภูมิภาค เพื่อป้องกันการใช้สารต้องห้ามในรัฐสมาชิกอาเซียน
			- ส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการบังคับใช้กฎหมายหน่วยงานด้านสาธารณสุขและการศึกษาที่มีอำนาจนโยบายและแผนงานเพื่อป้องกันการใช้สารต้องห้าม
			- ร่วมมือกับ WADA และปฏิบัติตามความเหมาะสม เพื่อส่งเสริมการดำเนินการและตรวจสอบให้ปฏิบัติตามประมวลกฎตามที่ได้ลงนาม
			- เชิญ WADA เข้าร่วมกิจกรรมและการประชุมที่เกี่ยวข้องของอาเซียนและคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ โดย WADA รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง
	2.2 ฝ่าย WADA จะดำเนินการ ดังนี้
			- ร่วมมือกับอาเซียนในการฝึกอบรมบุคลากรในรัฐสมาชิกอาเซียน เพื่อให้สามารถดำเนินการตามข้อกำหนดของประมวลกฎ โดยการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคจากผู้เชี่ยวชาญของ WADA
			- สนับสนุนโครงการพื้นฐานในรัฐสมาชิกของอาเซียน ด้วยการแบ่งปันข้อมูล การศึกษา การฝึกอบรม และการศึกษาวิจัย
			- ให้อาเซียนมีส่วนร่วมในนโยบายต่อต้านการใช้สารต้องห้ามในภูมิภาคและแผนงานที่ส่งเสริมโดย WADA
			- เชิญอาเซียนเข้าร่วมกิจกรรมและการประชุมที่สำคัญในหัวข้อสารต้องห้ามในกีฬา โดยอาเซียนรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง หรือได้รับการสนับสนุนจาก WADA



แต่งตั้ง

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย					คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย จำนวน 3 ราย ดังนี้
		1. ให้นายณรงค์ รักร้อย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง)                  จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด  (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดสมุทรสาคร
		2. ให้นายวีระศักดิ์  วิจิตร์แสงศรี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครองระดับสูง) จังหวัดอ่างทอง
		3. ให้นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุทัยธานี
		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงยุติธรรม)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง ข้าราชการพลเรือนสามัญให้               ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ดังนี้
		1. นายไตรยฤทธิ์ เตมหิวงศ์ ตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง                   ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ
		2. นางอรัญญา ทองน้ำตะโก  อธิบดีกรมบังคับคดี ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง                   สำนักงานปลัดกระทรวง
		3. พันตำรวจโท  ประวุธ วงศ์สีนิล  ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง                  ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
		ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป

27. เรื่อง  การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ                 สังกัดกระทรวงแรงงาน ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ดังนี้
		1. นางสาวบุปผา เรืองสุด ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง               รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
		2. นายประทีป ทรงลำยอง  ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมการพัฒนาฝีมือแรงงาน
		3. นายนิยม สองแก้ว  รองปลัดกระทรวง  สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                  อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
		4. นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม
		ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป



28. เรื่อง  แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2563 ดังนี้
   		1. นางสุพิชชา จันทรโยธา
    		2. นางสุภา หารหนองบัว
   		3. นายทศพร นุชอนงค์
  		4. นางบุษบา ฤกษ์อำนวยโชค
   		ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยแทนตำแหน่งที่ว่างลง (นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย)
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้ง นายอภิรัฐ ไชยวงศ์น้อย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยแทนผู้ที่ลาออก โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป

30. เรื่อง  การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
		คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 8 คน ตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562                 (มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2562)  ดังนี้
1.	นายชาตรี สุวรรณิน ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ
2.	นายไชยา ยิ้มวิไล ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ
3.	นายพรเทพ ศิริวนารังสรรค์ ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ
4.	พลอากาศตรี อิทธพร คณะเจริญ ผู้ทรงคุณวุฒิภาควิชาการ
5.	นางชูเนตร ศรีเสาวชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน
6.	ว่าที่ร้อยตรี ถวัลย์ รุยาพร ผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาชน
7.	นายประวิทย์ จิตนราพงศ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคผู้ประกอบธุรกิจ
8.	นายมนรัฐ ผดุงสิทธิ์ ผู้ทรงคุณวุฒิภาคผู้ประกอบธุรกิจ
		ทั้งนี้  ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง
		คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง จำนวน 3 ราย ดังนี้
1.	นายบรรสาน บุนนาค  ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
2.	นายอนุชา บูรพชัยศรี  ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
3.	นายธนกร วังบุญคงชนะ ตำแหน่งโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเป็นต้นไป

ที่มา: ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 24 สิงหาคม 2564


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ