สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 มีนาคม 2565

ข่าวการเมือง Tuesday March 8, 2022 17:38 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (8 มีนาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยาน                                                  แห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. ?.
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎหมายตามมาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจ

เริ่มต้น (Startup)]

                    4.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลย                                        ในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า                                                   และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท

และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ....

                    7.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติที่ดีสำหรับ                                                  ปางช้างเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 63/12 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ                                                  ราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติ                                                  ราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562

เศรษฐกิจ สังคม

                    9.           เรื่อง           การใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
                    10.           เรื่อง           การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ในปี 2565 ? 2567 ของการไฟฟ้า

ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

                    11.           เรื่อง           ขอขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง                                                  และขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ

(Greening Industry Through Low Carbon Technology Application

for SMEs)

                    12.           เรื่อง           โครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้
                    13.           เรื่อง           การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
                    14.           เรื่อง           ขออนุมัติวงเงินงบประมาณเงินอุดหนุนศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตร                                                  ศิลป์ ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแผนพัฒนา

ระยะ 5 ปี ฉบับที่ 8 (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา 2565/2566

ถึง 2569/2570)

                    15.           เรื่อง           เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหาร                                                  ท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
                    16.           เรื่อง           สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
                    17.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณี

ถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

                    18.           เรื่อง           รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ

ครั้งที่ 1/2565

                    19.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2565
                    20.           เรื่อง           การปรับปรุงบทบาทภารกิจของภาครัฐ : แนวทางการขับเคลื่อนการนำร่อง

ถ่ายโอนงานภาครัฐ (Sandbox)

                    21.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

                    22.           เรื่อง           หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วย                                                  ฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus                                         Disease 2019 (COVID-19))
                    23.           เรื่อง           ขออนุมัติขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้างและค่าจ้าง                                        ที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามมติคณะรัฐมนตรี                                                  เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ออกไปจนถึงสิ้นปี 2572
                    24.           เรื่อง           การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กร                                                  ของผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)

ต่างประเทศ

                    25.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุม                                                            ระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the

Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation)

                    26.           เรื่อง           การเข้าร่วมเป็นภาคีของไทยในสถาบันวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine                                         Institute:IVI)

แต่งตั้ง

                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ                                                            ระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคาร                                                  เพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปานครหลวง
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว

สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396









กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562                พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. รับความเห็นของสำนักงบประมาณและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่ ทส. เสนอ เป็นการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในอุทยานแห่งชาติ              วนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติ ซึ่งเป็นการกำหนดที่ไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ตามกฎหมายที่ปรับปรุงขึ้นมาใหม่ เพื่อให้การจัดเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตเป็นไปตามกรอบของกฎหมายและมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ โดยที่ผ่านมากรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ให้อำนาจอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งพิจารณาจัดเก็บค่าธรรมเนียมตามระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้เข้าไปดำเนินกิจการท่องเที่ยวและพักอาศัยในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ระเบียบกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการอนุญาตให้ผู้ได้รับอนุญาตเก็บรังนกอีแอ่นเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ                  พ.ศ. 2549 และระเบียบอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ว่าด้วยการเข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามความในพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 และคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวด้วยแล้ว ทั้งนี้ การดำเนินการเสนอร่างกฎกระทรวงฉบับนี้เป็นไปตามเงื่อนไขระยะเวลาการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ประกอบพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 ดังนี้
ประเภทใบอนุญาต          อัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติฯ          อัตราค่าธรรมเนียมปัจจุบัน          อัตราค่าธรรมเนียมปรับปรุงใหม่
1. ใบอนุญาตนำสัตว์เลี้ยงเพื่อใช้ในการแสดงเข้าไปในอุทยานแห่งชาติ          10,000 บาท/ฉบับ          -          500 ? 5,000 บาท (ตามประเภท จำนวน และระยะเวลา)
2. ใบอนุญาตเพื่อดำเนินกิจกรรมในอุทยาน
- เพื่อการศึกษาธรรมชาติในพื้นที่นอกเขตบริการ
- เข้าไปดำเนินการบำรุงรักษาโครงสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานหรือเพื่อความมั่นคงทางพลังงาน
- กิจการจำหน่ายอาหาร เครื่องดื่ม ของที่ระลึก
- กิจการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยว เช่น กิจการแพ ท่าเทียบเรือ รถกอล์ฟ เรือ จักรยาน ติดตั้งเสาสัญญาณสื่อสาร เป็นต้น           100,000 บาท/ฉบับ

-

-



100,000 บาท/ฉบับ

100,000 บาท/ฉบับ

1,000 บาท/ฉบับ

50,0000 บาท/ฉบับ



200 ? 3,500 บาท/ฉบับ
(ตามประเภท/พื้นที่)
2,000 ? 50,000
บาท/ฉบับ
(ตามพื้นที่/ความสูง/จำนวน)
3. ใบอนุญาตเพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์วีดิทัศน์ หรือสารคดี การถ่ายภาพ           100,000 บาท/ฉบับ          -          500 ? 20,000
บาท/ฉบับ (ตามประเภทโครงการ/ระยะเวลา)
4. ใบอนุญาตเพื่อการถ่ายทำภาพยนตร์ วีดิทัศน์ หรือสารคดี การถ่ายภาพ           100,000
บาท/ฉบับ/วัน          10,000 ? 50,000
บาท/วัน/เรื่อง          1,000 ? 4,000
บาท/ฉบับ/วัน
(ตามประเภทและสัญชาติ)
5. ใบอนุญาตการบริการนำเที่ยวแก่นักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ           500,000 บาท/ฉบับ          200,000 บาท/ฉบับ          500 ? 100,000 บาท/ฉบับ (ตามประเภท/ขนาดยานพาหนะในการนำเที่ยว)
6. ใบอนุญาตให้เข้าไปเก็บรังนกอีแอ่น           500,000 บาท/สัมปทาน          500,000
บาท/สัมปทาน          500,000
บาท/สัมปทาน
7. การต่ออายุใบอนุญาต          เท่ากับค่าธรรมเนียมใบอนุญาต          -          เท่ากับค่าธรรมเนียม
ใบอนุญาต
8. ใบแทนใบอนุญาต           10,000 บาท/ฉบับ          5,000 ? 10,000
บาท/ฉบับ
(ตามประเภทใบอนุญาต)          200 บาท/ฉบับ
                    2. กำหนดให้การกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต การลด ยกเว้นค่าธรรมเนียมในอุทยานแห่งชาติ ให้นำมาใช้บังคับในวนอุทยาน สวนพฤกษศาสตร์ และสวนรุกขชาติด้วย

2. เรื่อง ร่างกฎหมายตามมาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ และร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นมาตรการเพื่อบรรเทาภาระภาษีให้กับประชาชนในการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล โดยเป็นการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการโอนสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทยตามโครงการพัฒนาและทดสอบการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย สำหรับการใช้งานภาคประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 รวมถึงยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน เป็นจำนวนเท่ากับผลขาดทุนจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกัน (โดยคำนวณจากกำไรแล้วลบด้วยขาดทุนเหลือจำนวนเงินเท่าใดจึงนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ การคำนวณภาษีดังกล่าวจะทำให้เม็ดเงินภาษีที่ต้องจ่ายลดลง) ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป ซึ่งมาตรการภาษีดังกล่าวเป็นการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้สอดรับกับการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลในปัจจุบันและที่จะมีขึ้นในอนาคต เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี เนื่องจากมูลค่าการซื้อขายสินทรัพย์ดังกล่าวมีความผันผวนตลอดเวลา
                    กระทรวงการคลังได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่จะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการขายสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล และการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการแลกเปลี่ยนตามโครงการพัฒนาและทดสอบการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารแห่งประเทศไทย หากไม่มีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม จะสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้จำนวนหนึ่ง แต่ไม่อาจประมาณการได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับรายรับของผู้ขายและรายรับของผู้แลกเปลี่ยนแต่ละรายว่าถึงเกณฑ์ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่และขึ้นอยู่กับมูลค่าและปริมาณการใช้สกุลเงินดิจิทัลซึ่งมีความผันผวนมาก และการอนุญาตให้หักผลขาดทุนจากการขายสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ออกจากกำไรจากการขายสินทรัพย์ดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล จะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจำนวนหนึ่ง แต่ไม่อาจประมาณการได้ เนื่องจากกำไรขาดทุนของผู้ขายแต่ละรายมีความไม่แน่นอน แต่อย่างไรก็ตามจะทำให้ผู้ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัลได้รับความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายภาษีและได้รับความเป็นธรรมในการเสียภาษีมากขึ้น และทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการใช้เงินดิจิทัลในอนาคตที่มีความน่าเชื่อถือและความปลอดภัย
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวง
                    1. ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม               (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดย ธปท. ตามโครงการพัฒนาและทดสอบการใช้งานสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดย ธปท. สำหรับการใช้งานภาคประชาชน ตั้งแต่วันที่ 1 ของเดือนถัดจากเดือนที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566
                    2. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร มีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน เป็นจำนวนเท่ากับผลขาดทุนจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลที่เกิดขึ้นในปีภาษีเดียวกัน ทั้งนี้ เฉพาะผลประโยชน์และผลขาดทุนจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัลในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลที่ได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup)]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 1 ที่กระทรวงการคลังเสนอ เป็นการปรับปรุงมาตรการการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมการระดมทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 597) พ.ศ. 2559 และพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 636) พ.ศ. 2560 โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรจากการโอนหุ้นและหน่วยทรัสต์ของการลงทุนในวิสาหกิจ เริ่มต้นโดยตรงและการลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นผ่านกิจการเงินร่วมลงทุน โดยให้ได้รับยกเว้นตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2575 ทั้งนี้ เพื่อให้ Startup ไทยสามารถระดมทุนจากนักลงทุนได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น
                    กระทรวงการคลังได้รายงานการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยจะทำให้สูญเสียรายได้ภาษีเงินได้จำนวนหนึ่ง แต่ไม่อาจประมาณการได้ เนื่องจากการโอนหุ้นหรือหน่วยทรัสต์ของผู้ลงทุนขึ้นอยู่กับการพิจารณาของผู้ลงทุนแต่ละรายและมาตรการภาษีตามร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้จะทำให้ภายในปี 2569 ประเทศไทยมีเงินลงทุนเพิ่มขึ้น 3.2 แสนล้านบาท GDP เพิ่มขึ้น 7.9 แสนล้านบาท จำนวน Startup เพิ่มขึ้น 5,000 ? 10,000 แห่ง และการจ้างงานเพิ่มขึ้น 200,000 ? 400,000 ตำแหน่ง
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีโดยแบ่งตามรูปแบบการลงทุน ดังนี้
รูปแบบการลงทุน          ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี
1. การลงทุนโดยตรง ของบุคคลธรรมดาหรือบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทย และบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ (เดิมไม่มี)          ? บุคคลธรรมดาหรือบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในไทยและบริษัทห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จดทะเบียนในต่างประเทศ ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการโอนหุ้นของ Startup ทั้งนี้ เฉพาะการโอนหุ้นที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน (กำไร) โดย Startup ต้องประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่รัฐสนับสนุน
2. การลงทุนผ่าน VC          ? Corporate Venture Capital (CVC) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการโอนหุ้นของ Startup ทั้งนี้ เฉพาะการโอนหุ้นที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน โดย Startup ต้องประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมายตามที่รัฐสนับสนุน
? Private Equity Trust (PE Trust) ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีเงินได้
นิติบุคคล
? ผู้ลงทุนใน CVC ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการโอนหุ้นของ CVC ทั้งนี้ เฉพาะการโอนหุ้นที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน
? ผู้ลงทุนใน PE Trust ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรายได้จากการโอนหน่วยทรัสต์ของ PE Trust ทั้งนี้ เฉพาะการโอนหน่วยทรัสต์ที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน

4. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาในประเด็นการแก้ไขชื่อกฎหมายและความสอดคล้องกันของกฎหมายทั้งฉบับตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                    2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
                    3. ให้กระทรวงยุติธรรมรับความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติ ที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 โดยเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เป็น ?พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา พ.ศ. ?.? และเพิ่มเติมการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกควบคุมในชั้นสอบสวน (เดิมคุ้มครองเพียงผู้เสียหายและจำเลยที่ถูกคุมขังในชั้นพิจารณาของศาลเท่านั้น) ขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่าย รวมทั้งกำหนดให้สามารถยื่นคำขอดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ตกเป็นเหยื่อในคดีอาญาให้ครอบคลุมทั้งผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลยที่ถูกควบคุมตั้งแต่ในชั้นสอบสวน และจำเลยที่ถูกคุมขังในชั้นพิจารณาของศาล ให้ได้รับการอำนวยความยุติธรรมอย่างสะดวก รวดเร็ว เท่าเทียมและเป็นธรรม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 โดยเปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติมเป็น ?พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหาย ผู้ต้องหาและจำเลยในคดีอาญา พ.ศ ....? และเพิ่มเติมการคุ้มครองผู้ต้องหาและจำเลยที่ถูกควบคุมในชั้นสอบสวน (เดิมคุ้มครองเพียงผู้เสียหายและจำเลยที่ถูกคุมขังในชั้นพิจารณาของศาลเท่านั้น) ขยายระยะเวลาในการยื่นคำขอรับเงิน ค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่าย รวมทั้งกำหนดให้สามารถยื่นคำขอดังกล่าวผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ดังนี้
                    1. เพิ่มบทนิยาม ?ผู้ต้องหา? หมายความว่า บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพิ่มการคุ้มครองผู้ต้องหา
                    2. แก้ไขบทนิยาม ?ค่าทดแทน หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับเนื่องจากตกเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาและถูกควบคุมหรือขังในระหว่างการสอบสวนหรือการพิจารณาคดี? เนื่องจากร่างพระราชบัญญัติฯ เพิ่มการคุ้มครองผู้ต้องหาและขยายให้จำเลยที่ถูกควบคุมหรือขังในชั้นสอบสวนมีสิทธิได้รับค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายด้วย
                    3. แก้ไขเพิ่มเติมให้เมื่อมีการแจ้งสิทธิผู้ต้องหาหรือจำเลยในคดีอาญาในการได้รับค่าตอบแทน               ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายแล้ว ให้พนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนหรือเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ปล่อยตัวแจ้งเป็นหนังสือหรือผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ แล้วบันทึกรายละเอียดการแจ้งนั้นไว้ในสำนวนคดีหรือทะเบียนประวัติซึ่งตนรับผิดชอบด้วย แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ หลักเกณฑ์และวิธีการให้เป็นไปตามระเบียบที่คณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญากำหนด
                    4. ขยายการยื่นคำขอรับเงินค่าตอบแทน ค่าทดแทน และค่าใช้จ่ายจาก 1 ปี เป็น 2 ปี และให้สามารถยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ โดยให้ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลยหรือทายาทซึ่งได้รับความเสียหายที่มีสิทธิขอรับค่าตอบแทน ค่าทดแทน หรือค่าใช้จ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ยื่นคำขอต่อคณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหายและค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา และให้มีระยะเวลาการยื่นคำขอ ดังนี้
                              4.1 ผู้เสียหายต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ผู้เสียหายได้รู้ถึงการกระทำความผิด
                              4.2 ผู้ต้องหาต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ผู้ต้องหาทราบคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีของพนักงานอัยการ
                              4.3 จำเลยต้องยื่นคำขอภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง หรือวันที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้อง
เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีสิทธิ์ยื่นคำขอให้มากกว่าเดิมและนำระบบ e-Service มาสนับสนุนการบริการประชาชนเพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการอย่างสะดวก รวดเร็ว

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า เนื่องจากพื้นที่โครงการจัดรูปที่ดินหลายพื้นที่มีประกาศกำหนดเขตท้องที่ที่จะสำรวจเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ยังไม่ได้ประกาศให้เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ต่อมาเมื่อมีการประกาศใช้บังคับพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558               ซึ่งในบทเฉพาะกาลมาตรา 69 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ท้องที่ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัตินี้ และวรรคสองบัญญัติให้บรรดาการดำเนินการใดเกี่ยวกับการจัดรูปที่ดินซึ่งได้กระทำไปแล้วในขั้นตอนใดในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้เป็นอันใช้ได้ แต่การดำเนินการในขั้นตอนต่อไปให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในกรณีที่มีปัญหาไม่อาจดำเนินการตามพระราชบัญญัตินี้ในเรื่องใด ให้การดำเนินการต่อไปในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางกำหนด
                     คณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลาง ในการประชุม ครั้งที่ 2/2559 วันที่ 8 ธันวาคม 2559 ได้มีมติเห็นสมควรกำหนดให้ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดิน และเห็นชอบให้ดำเนินการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตสำรวจการจัดรูปที่ดินในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ พ.ศ. .... เพื่อกำหนดพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรม หรือพื้นที่ในเขตการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ และเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าไปทำการสำรวจพื้นที่ที่จะจัดทำเป็นโครงการจัดรูปที่ดิน รวมทั้งประกาศเป็นเขตโครงการจัดรูปที่ดินต่อไปตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดเขตโครงการจัดรูปที่ดิน ในท้องที่ตำบลเจ้าท่า และตำบลดงลิง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ให้เป็นเขตสำรวจการจัดรูปที่ดิน

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                     1. เนื่องจากจังหวัดลำปางมีโครงข่ายการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงกับจังหวัดต่าง ๆ ในภาคเหนือที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจและการท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำพูน จังหวัดแพร่ ซึ่งในปัจจุบันทางหลวงหลายสายของจังหวัดลำปางมีปริมาณการจราจรที่หนาแน่นคับคั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางหลวงหมายเลข 1 และทางหลวงหมายเลข 11 ซึ่งเป็นทางสายหลักที่ผ่านตัวเมืองลำปาง ทำให้เกิดปัญหามีการจราจรติดขัดมากและเกิดอุบัติเหตุ
                     2. เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด คค. จึงมีโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127 สายทางเลี่ยงเมืองลำปาง ตอนทางเลี่ยงเมืองลำปางด้านทิศตะวันออก จังหวัดลำปาง ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง โดยมีจุดเริ่มต้นโครงการบริเวณสามแยกดอยพระบาท และสิ้นสุดโครงการที่บริเวณใกล้สำนักงานเทศบาลเมืองพิชัย รวมระยะทาง 9.875 กิโลเมตร
                     3. การดำเนินโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127 ฯ กรมทางหลวงได้ดำเนินการสำรวจในการจ่ายเงินค่าทดแทนที่ต้องใช้ในการเวนคืน โดยประกอบด้วยที่ดินประมาณ 271 แปลง สิ่งปลูกสร้างประมาณ 77 ราย พืชผลไม้ประมาณ 127 ราย ค่าทดแทนและค่าเสียหายอื่น ๆ ค่าเผื่อเหลือเผื่อขาด รวมค่าทดแทนในการเวนคืนเป็นเงินประมาณ 323,590,800 บาท
                      4. กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127 สายทางเลี่ยงเมืองลำปาง ตอนทางเลี่ยงเมืองลำปางด้านทิศตะวันออก จังหวัดลำปาง ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรบนทางหลวงหมายเลข 1 และทางหลวงหมายเลข 11 ลดอุบัติเหตุ อำนวยความสะดวกในการเดินทางของจังหวัดลำปาง และเป็นการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งของประเทศ รวมทั้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
                     5. กรมทางหลวงได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในเขตพื้นที่โครงการ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 แล้ว ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยกับโครงการดังกล่าว
                     6. สำนักงบประมาณแจ้งว่า จะจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้กรมทางหลวง เมื่อร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127 สายทางเลี่ยงเมืองลำปาง ตอนทางเลี่ยงเมืองลำปางด้านทิศตะวันออก จังหวัดลำปาง มีกำหนดใช้บังคับ 5 ปี โดยให้เริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

7. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้างเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                     1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้างเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลใช้บังคับพร้อมกับร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     2. ให้ กษ. เร่งเสนอร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตเป็นผู้ผลิต ผู้ส่งออก หรือผู้นำเข้าสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อให้มีผลใช้บังคับพร้อมกับร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้างเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... ต่อไป
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวง ที่ กษ. เสนอ เป็นการกำหนดให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 6413 ? 2564 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้างตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 เป็นมาตรฐานบังคับ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้างในการจัดการควบคุมดูแลและเลี้ยงช้างให้ถูกต้องและเหมาะสมเป็นไปตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์การประกอบกิจการปางช้างเพื่อการแสดงหรือการท่องเที่ยวที่แสวงหาประโยชน์จากช้างที่เกิดขึ้น  และตอบสนองความต้องการของผู้มาใช้บริการที่ต้องการความปลอดภัยจากการท่องเที่ยวในปางช้าง อีกทั้งเพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากมูลช้างและขยะมูลฝอย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 แล้ว โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้เสียกับร่างกฎกระทรวงนี้แล้ว และคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 6413 ? 2564 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง มาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้างตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 เป็นมาตรฐานบังคับ เช่น สถานที่ตั้งของปางช้างจะต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพ เคมี และชีวภาพที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและสวัสดิภาพของสัตว์ มีคู่มือการจัดการปางช้างที่แสดงให้เห็นรายละเอียดการปฏิบัติงานที่สำคัญภายในปางช้าง (เช่น การแยกและฝึกลูกช้าง การจัดการด้านการผสมพันธุ์) มีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมปางช้างกำกับดูแลด้านสุขภาพช้าง มีการตรวจสุขภาพของช้างประจำปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เป็นต้น โดยกฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 2 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

8. ร่างกฎกระทรวงออกตามความในมาตรา 63/12 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน และกำหนดอำนาจของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. .... ที่ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และรับทราบรายงานเหตุผลความจำเป็นที่ไม่อาจดำเนินการออกกฎกระทรวง รวม 3 ฉบับ ได้ทันเวลาตามที่กฎหมายกำหนด ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด อายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สินของมาตรการบังคับทางปกครองหรือคำสั่งทางปกครองกำหนดให้ชำระเงิน และกำหนดอำนาจของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ดังนี้
                    1. กำหนดหลักเกณฑ์ทั่วไปเกี่ยวกับการใช้มาตรการบังคับทางปกครอง
                              1.1 กำหนดให้ในกรณีที่กฎกระทรวงนี้ไม่ได้กำหนดเรื่องใดไว้ในส่วนที่เกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาด ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม
                              1.2 กำหนดให้คำสั่ง ประกาศ และเอกสารอื่นที่จำเป็นตามกฎกระทรวงนี้ เป็นไปตามแบบที่หน่วยงานของรัฐกำหนดตามคำแนะนำของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
                              1.3 กำหนดให้บรรดาประกาศ คำสั่ง คำขอ คำร้อง คำร้องคัดค้าน คำเสนอราคา และเอกสารอื่น รวมทั้งการแจ้งและการอื่นที่ต้องทำตามกฎกระทรวงนี้ ให้กระทำโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ตามที่หน่วยงานตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายประกาศกำหนด
                              1.4 กำหนดประเภทของทรัพย์สินที่ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับทางปกครอง เช่น เครื่องใช้สอยส่วนตัวโดยประมาณรวมกันราคาไม่เกินประเภท 20,000 บาท สัตว์ สิ่งของ เครื่องมือ เครื่องใช้ ในการประกอบอาชีพหรือประกอบวิชาชีพเท่าที่จำเป็นในการเลี้ยงชีพของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองราคารวมกันโดยประมาณไม่เกิน 100,000 บาท ทรัพย์สินอันมีลักษณะเป็นของส่วนตัวโดยแท้ เช่น หนังสือสำหรับวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ
                    2. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการยึดทรัพย์สิน ดังนี้
                              2.1 กำหนดประเภททรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองที่สามารถใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยวิธียึด
                              2.2 กำหนดขอบเขตของการยึด โดยให้ยึดได้แต่เพียงประมาณราคาที่ควรจะขายทอดตลาดได้พอชำระหนี้ รวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นในการบังคับทางปกครอง
                              2.3 กำหนดหลักเกณฑ์ให้เจ้าพนักงานบังคับทางปกครองต้องประเมินความคุ้มค่าในการยึดทรัพย์สิน หากพิจารณาแล้วเห็นว่าคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายและภาระในการยึดให้เจ้าพนักงานบังคับทางปกครองยึดทรัพย์สินนั้น
                              2.4 กำหนดหลักเกณฑ์ในการยึด กล่าวคือ ต้องยึดทรัพย์สินในเวลาระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก ถ้ามีผู้ขัดขวางการยึด ให้เจ้าพนักงานบังคับทางปกครองมีอำนาจแจ้งขอความช่วยเหลือจากเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจ
                              2.5 กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการยึดทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ ผลของการยึดทรัพย์สิน การจัดทำบันทึกรายงานการยึดทรัพย์สินและบัญชีทรัพย์สินที่ยึดและการประเมินราคาทรัพย์สิน
                              2.6 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์สินที่ยึดและการพิจารณาคำร้องดังกล่าว
                    3. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการอายัดทรัพย์สิน ดังนี้
                              3.1 กำหนดขอบเขตของการอายัด โดยให้อายัดได้เพียงไม่เกินกว่าที่พอจะชำระหนี้ รวมทั้งค่าธรรมเนียม ค่าตอบแทน หรือค่าใช้จ่ายอื่นในการบังคับทางปกครองเว้นแต่ทรัพย์สินที่อายัดนั้นไม่อาจแบ่งแยกได้
                              3.2 กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการอายัดทรัพย์สิน ผลของการอายัดทรัพย์สิน และวิธีการดำเนินการกับทรัพย์สินที่อายัดแล้ว
                              3.3 กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินการกับบุคคลภายนอกหรือสถาบันการเงินที่ไม่ปฏิบัติตามหนังสือแจ้งให้ชำระเงินหรือส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินตามคำสั่งอายัดทรัพย์สิน
                              3.4 กำหนดหลักเกณฑ์การคัดค้านคำสั่งอายัดทรัพย์สินและการพิจารณาคำร้องคัดค้าน
                    4. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยกำหนดขั้นตอนขายทอดตลาดทรัพย์สิน เช่น การออกประกาศขายทอดตลาดทรัพย์สิน การแสดงความจำนงเข้าเสนอราคา การวางหลักประกัน ฯลฯ กำหนดวิธีการขายทอดตลาดทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ กำหนดกระบวนการขายทอดตลาดทรัพย์สิน กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดทรัพย์สินและการพิจารณาสั่งคำร้อง และกำหนดขั้นตอนการดำเนินการภายหลังการขายทอดตลาดทรัพย์สิน เช่น การชำระราคาและส่งมอบทรัพย์สิน ฯลฯ
                    5. กำหนดหลักเกณฑ์รองรับกรณีที่หน่วยงานของรัฐแห่งใดประสงค์จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองที่หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นได้ยึดหรืออายัดไว้แล้ว ให้แจ้งต่อหน่วยงานของรัฐที่ได้ยึดหรืออายัดทรัพย์นั้นไว้ เพื่อขอรับชำระเงินส่วนที่เหลือภายหลังจากหน่วยงานของรัฐที่ขายทอดตลาดทรัพย์สินได้รับชำระเงินครบถ้วนแล้ว โดยมิให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการขอเฉลี่ยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ
                    6. กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการถอนการบังคับทางปกครอง โดยกำหนดให้มีการถอนการบังคับทางปกครองในกรณีที่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองชำระเงินครบถ้วนหรือวางประกันเป็นจำนวนพอชำระหนี้ และกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินด้วยเหตุที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและคดีถึงที่สุดแล้ว
                    7. กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน โดยในกรณีที่เรื่องใดมิได้มีการกำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ถือว่าอำนาจของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับคดีเป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ เว้นแต่อำนาจของศาลตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งในเรื่องดังต่อไปนี้ ให้เป็นอำนาจของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐโดยการอนุมัติของผู้บังคับบัญชา ผู้กำกับดูแล หรือผู้ควบคุมการปฏิบัติงานชั้นเหนือขึ้นไปของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ ได้แก่ (1) การมีหนังสือเรียกบุคคลอื่นซึ่งมิได้เป็นผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองมาเพื่อการไต่สวนและการสั่งให้ส่งเอกสารหรือวัตถุพยานเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครอง (2) การเข้าไปในสถานที่ที่บุคคลอื่นครอบครองอยู่ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีทรัพย์สินของผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองหรือวัตถุอื่นใดที่เกี่ยวข้องอยู่ในสถานที่นั้น และ (3) การออกคำสั่งให้ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองหรือบริวารออกไปจากอสังหาริมทรัพย์ที่ได้ขายและโอนให้แก่ผู้ซื้อ
                    8. กำหนดบทเฉพาะกาลให้บรรดาการใดเกี่ยวกับการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ดำเนินการอยู่ในวันก่อนวันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม จนกว่าการขายทอดตลาดทรัพย์สินจะแล้วเสร็จ ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์เดิมต่อไปได้จนกว่ากระบวนการบังคับทางปกครองจะเสร็จสิ้น

เศรษฐกิจ สังคม

9. เรื่อง การใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบประกาศพระบรมราชโองการ การใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ซึ่งได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 139 ตอนพิเศษ 53 ง วันที่ 4 มีนาคม 2565
                    2. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2525 เรื่อง การใช้คำนำนามสตรี ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร. 0204/ว. 75 ลงวันที่ 12 พฤษภาคม 2525
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช 2484 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 6 บัญญัติให้เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า สำหรับพระราชทานฝ่ายใน แบ่งเป็นชั้นและนาม ดังต่อไปนี้
                              ชั้นที่ 1          ปฐมจุลจอมเกล้า อักษรย่อ ป.จ.
                              ชั้นที่ 2          ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ อักษรย่อ ท.จ.ว.
                                        ทุติยจุลจอมเกล้า อักษรย่อ ท.จ.
                              ชั้นที่ 3           ตติยจุลจอมเกล้า อักษรย่อ ต.จ.
                              ชั้นที่ 4           จตุตถจุลจอมเกล้า อักษรย่อ จ.จ.
                    2. สำนักพระราชวังได้มีหนังสือ ที่ พว 0202.2/3828 ลงวันที่ 3 มีนาคม 2565 เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมการใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า แจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ใช้คำนำหน้านามสตรีผู้ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า โดยให้สตรีทุกคนที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นปฐมจุลจอมเกล้า และชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำหน้านามว่า ?ท่านผู้หญิง? และให้สตรีทุกที่ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้า ชั้นตติยจุลจอมเกล้า และชั้นจตุตถจุลจอมเกล้า ใช้คำนำหน้านามว่า ?คุณหญิง? ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2565 และ สลค. ได้นำประกาศพระบรมราชโองการดังกล่าว ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไป เล่ม 139 ตอนพิเศษ 53 ง วันที่ 4 มีนาคม 2565

10. เรื่อง การกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ในปี 2565 ? 2567 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน ในปี 2565 ? 2567 ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 25,000 ล้านบาท โดยวิธีการจัดหาเงินกู้ในรูปแบบ Term Loan อายุไม่เกิน 3 ปี ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ในคราวประชุมครั้งที่ 27/2564 เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2564 และครั้งที่ 29/2564 เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่า Ft) ขายปลีก1 สำหรับเรียกเก็บจากผู้ใช้ไฟฟ้าในใบเรียกเก็บเงินค่าไฟฟ้า งวดเดือนกันยายน ? ธันวาคม 2564 เท่ากับ -15.32 สตางค์ต่อหน่วย ตามแนวทางการพิจารณาเกลี่ยค่า Ft ให้คงที่ตลอดปี 2564 เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ใช้ไฟฟ้าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
                    2. กกพ. ในคราวประชุมครั้งที่ 44/2564 เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564 พิจารณาแล้วเห็นว่า ประเทศมีความจำเป็นต้องจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas: LNG) เพิ่มเติม ในช่วงเดือนกันยายน - ธันวาคม 2564 แบบ Spot LNG2 เพื่อให้มีปริมาณก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าเพียงพอต่อความต้องการ อย่างไรก็ดี ในขณะนั้นราคาก๊าซธรรมชาติได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้ราคา Spot LNG (ราคาประมาณ 800 - 1,200 บาทต่อล้านบีทียู) สูงกว่าราคา Pool Gas3 (ราคาประมาณ 200 ? 300 บาทต่อล้านบีทียู) จึงส่งผลให้ต้นทุนการผลิตไฟฟ้า4 เพิ่มสูงกว่าค่า Ft ที่ กกพ. ประกาศเรียกเก็บ (ตามข้อ 1) และทำให้ กฟผ. ต้องรับภาระแทนผู้ใช้ไฟฟ้าไปก่อน กกพ. จึงมีคำสั่งมอบหมายให้ กฟผ. และ ปตท. ดำเนินการเพื่อแก้ไขสถานการณ์ขาดแคลนเชื้อเพลิงในประเทศ ดังนี้
คำสั่ง กกพ.          การดำเนินการของ กฟผ./ปตท.
? ให้มีการจัดหา Spot LNG จำนวน 7 ลำเรือ (ปริมาณ LNG 4.8 แสนตัน) ภายในปี 2564 โดยให้ ปตท. จัดหา Spot LNG ดังนี้
   (1) ภายในเดือนตุลาคม 2564 จำนวน 2 ลำเรือ
   (2) ภายในเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม 2564จำนวน 5 ลำเรือ โดยให้ ปตท. หารือกับ กฟผ. หากต้องการจัดหา Spot LNG เพื่อใช้เดินเครื่องโรงไฟฟ้าบางปะกงเพิ่มเติม ให้จัดหาได้ 2 ลำเรือ แต่หาก กฟผ. ไม่ต้องการนำเข้า ให้ ปตท. สามารถจัดหา Spot LNG ได้ทั้ง 5 ลำเรือ
? ให้ ปตท. รายงานแผนการจัดหา Spot LNG ต่อ กกพ. รวมทั้งรายงานผลการนำเข้า Spot LNG แต่ละลำให้ กกพ. ทราบด้วย          กฟผ. ได้ดำเนินการจัดหา Spot LNG ตามคำสั่งของ กกพ. จำนวนทั้งสิ้น 6 ลำเรือ (รวมที่จัดหาสำหรับโรงไฟฟ้าบางปะกงแล้ว) คิดเป็นปริมาณLNG 4.05 แสนตัน โดยบางส่วนเป็นการนำเข้าแทน ปตท. ที่ไม่สามารถนำเข้าได้เนื่องจากหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) กำหนด5

ให้ ปตท. บริหารจัดการระดับ LNG Inventory ของประเทศให้อยู่ในระดับไม่ต่ำกว่า 1 ถัง (ปริมาตร 1.6 แสนลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นประมาณ 72,727 ตัน โดยให้รายงานสำนักงาน กกพ. ทราบทุก 15 วัน และเร่งดำเนินการเตรียมแผนการจัดหา LNG สำหรับปี 2565 - 2567 เสนอ กกพ.          ปตท. ได้เสนอทบทวนแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในปี 2565 - 2567 ต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2564 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564
โดยสรุปปริมาณการจัดหาก๊าซธรรมชาติปี 2565 - 2567 อยู่ที่ประมาณ 3,810 3,942 และ 4,067 พันล้านบีทียูต่อวันตามลำดับ และความสามารถในการนำเข้า LNG สำหรับปีดังกล่าว ที่ 4.5 5.2 และ 5.0 ล้านตันต่อปีตามลำดับ โดย กบง. ได้มีมติเห็นชอบความสามารถในการนำเข้า LNG ดังกล่าว และมอบหมายให้ กกพ. เป็นผู้บริหารจัดการปริมาณการนำเข้า LNG ปี 2565 ? 2567 และกำกับดูแลต่อไป
ให้ ปตท. และ กฟผ. พิจารณกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการนำราคา LNG ที่นำเข้าเพื่อเป็นเชื้อพลิงในการผลิตไฟฟ้าไปคำนวณเป็นราคารวมในราคา Pool Gas เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม          อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อนำต้นทุนการนำเข้า Spot LNG ของ กฟผ. ในเดือนกันยายน - ธันวาคม 2564 ไปคำนวณรวมกับราคา Pool Gas ของ ปตท. โดยแบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
(1) กรณีที่สามารถนำ Spot LNG ของ กฟผ. ไปคำนวณต้นทุนรวมกับ Pool Gas จะส่งผลให้ กฟผ. ต้องรับภาระแทนผู้ใช้ไฟฟ้าไปก่อนประมาณ 29,000 ล้านบาท
(2) กรณีไม่สามารถนำ Spot LNG ของ กฟผ. ไปคำนวณต้นทุนรวมกับ Pool Gas จะส่งผลให้ กฟผ. ต้องรับภาระแทนผู้ใช้ไฟฟ้าไปก่อนประมาณ 35,000 ล้านบาท (ณ เดือนพฤศจิกายน 2564) โดย กกพ. อยู่ระหว่างการพิจารณาตามข้อกฎหมาย ระเบียบ และมติ กพช. ที่เกี่ยวข้อง
                    3. ปัจจุบัน กฟผ. ต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานสูงมาก โดยมีรายจ่ายที่ต้องชำระเป็นค่าเชื้อเพลิง ค่าซื้อกระแสไฟฟ้า งบลงทุน และอื่น ๆ ซึ่งมีกำหนดเวลาการชำระเงินที่แน่นอน และจากการตรึงค่า Ft รวมทั้งสถานการณ์ราคาเชื้อเพลิงข้างต้น ส่งผลให้ กฟผ. ขาดสภาพคล่องในปี 2565 แม้จะมีการกู้เงินระยะสั้นแบบ Credit Line ระยะเวลา 3 ปี กรอบวงเงินปีละ 10,000 ล้านบาท (ตามข้อ 1) แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรองรับการดำเนินการของ กฟผ. ดังนั้น กฟผ. จึงต้องกู้เงินเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงิน (กู้เงินฯ) ในปี 2565 ? 2567 ภายใต้กรอบวงเงินไม่เกิน 25,000 ล้านบาท6 โดยวิธีการจัดหาเงินกู้ในรูปแบบ Term Loan7 อายุไม่เกิน 3 ปี เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่สามารถดำเนินภารกิจรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศและเป็นกลไกของภาครัฐในการดำเนินมาตรการลดค่าครองชีพของประชาชน ซึ่งคณะกรรมการ กฟผ. ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2564 เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    4. กฟผ. จะดำเนินการเสนอแผนการกู้เงินฯ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐนตรีแล้วต่อคณะกรรมการหนี้สาธารณะฯ เพื่อพิจารณาและจัดทำแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (ปรับปรุงครั้งที่ 2) ในช่วงเดือนมีนาคม 2565 ต่อไป
1Ft ย่อมาจากคำว่า Fuel Adjustment Charge (at the given time) หมายถึง ค่าไฟฟ้าที่ปรับเปลี่ยนเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. และค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า
2Spot LNG คือ การซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่มีการส่งมอบเป็นรายเที่ยวเรือ โดยราคาซื้อขายจะอ้างอิงกับราคา LNG ในตลาดโลกตามช่วงเวลานั้น ๆ
3Pool Gas หมายถึง ราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) รายเดิม [บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)] ที่จำหน่ายก๊าซธรรมชาติให้แก่ โรงไฟฟ้าของ กฟผ. ผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ใช้ก๊าซอื่น ๆ เพื่อส่งเข้าระบบส่งก๊าชธรรมชาติบนบก ซึ่งประกอบด้วย (1) ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย (2) ก๊าซธรรมชาติจากเมียนมา และ (3) ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ตามสัญญาซื้อขายระยะยาวระหว่าง ปตท. และคู่สัญญา
4ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าที่ใช้ Spot LNG ของ กฟผ. จะถูกส่งผ่านไปเฉลี่ยในโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้าของประเทศ
5กพช. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 (ครั้งที่ 153) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 มีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ซึ่งกำหนดให้ ปตท. สามารถนำเข้า Spot LNG ได้ ก็ต่อเมื่อราคาต่ำกว่า Pool Gas เท่านั้น
6กฟผ. ชี้แจงว่า วงเงินกู้ดังกล่าวไม่ครอบคลุมจำนวนเงินที่ กฟผ. รับภาระแทนผู้ใช้ไฟฟ้าทั้งหมด เนื่องจาก กฟผ. ยังมีกระแสเงินสดคงเหลือจำนวนหนึ่ง จึงไม่จำเป็นต้องกู้เงินฯ เต็มจำนวนที่ กฟผ. รับภาระแทนผู้ใช้ไฟฟ้า
7Term Loan คือ เงินกู้ที่มีระยะเวลาการชำระคืนตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป สามารถชำระคืนเงินต้นเป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี โดยจำนวนเงินที่ผ่อนชำระมักเท่ากันทุกงวด และมีอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้แบบ Credit Line

11. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Greening Industry Through Low Carbon Technology Application for SMEs)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาดำเนินโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Greening Industry Through Low Carbon Technology Application for SMEs) ออกไปถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (6 กุมภาพันธ์ 2561) เห็นชอบให้กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) และองค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) ดำเนินโครงการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียวโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ (Greening Industry through Low Carbon Technology Application for SMEs) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพในอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทยในการปรับปรุงความสามารถในการแข่งขันและมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมสีเขียว ส่งเสริมธุรกิจอุตสาหกรรมให้ดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ลดการใช้พลังงาน ตลอดจนการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในระยะยาว โดย อก. และกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) ตกลงที่จะสนับสนุนเงินเพื่อดำเนินโครงการฯ และ ธพว. เป็นหน่วยงานร่วมดำเนินการจ่ายเงินกู้ สำหรับ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการฯ ซึ่งในส่วนของ GEF มีกำหนดระยะเวลาสนับสนุนเงิน 3 ปี 6 เดือน (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564) แต่โดยที่โครงการฯ ยังมีกิจกรรมที่ยังไม่สามารถดำเนินการได้ (เช่น การปรับปรุงเครื่องจักรอุปกรณ์ของ SMEs) เนื่องจากมีข้อจำกัดในการดำเนินโครงการฯ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่ง UNIDO ในฐานะหน่วยดำเนินโครงการฯ ได้ใช้เงินที่ได้รับสนับสนุนจาก GEF ไป จำนวน 0.78 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (คงเหลือ 1.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยในส่วนของงบดำเนินการที่อยู่ในรูปแบบเงินสด (In - Cash) และที่ไม่อยู่ในรูปของเงินสด (In - Kind) จาก อก. จำนวน 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และวงเงินสินเชื่อสำหรับ SMEs จาก ธพว. จำนวน 7.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อก. แจ้งว่า ยังไม่ได้มีการเบิกจ่าย และโดยที่ระยะเวลาที่ GEFให้การสนับสนุนงบประมาณได้สิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ดังนั้น เพื่อให้สามารถดำเนินโครงการฯ ได้สำเร็จและบรรลุวัตถุประสงค์ อก. และ UNIDO จึงเห็นควรให้มีการขยายระยะเวลาโครงการฯ ออกไป จากเดิมสิ้นสุดโครงการฯ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2566 (18 เดือน)

12. เรื่อง โครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการการดำเนินโครงการอาชีวะ ฝีมือชน พัฒนากำลังคนชายแดนใต้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ? 2568 สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการดังกล่าว เห็นสมควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรรแล้วแต่กรณี ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อมาดำเนินการเป็นลำดับแรก ส่วนค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - พ.ศ. 2568 เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ เพื่อเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็นและเหมาะสม สอดคล้องกับข้อเท็จจริง โดยคำนึงถึงความซ้ำซ้อน ความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินที่จะนำมาใช้จ่าย ศักยภาพของสถานศึกษาในการรองรับการจัดการเรียนการสอน ความเป็นธรรมและเท่าเทียมในการจัดสรรทุน และเห็นควรจัดให้มีระบบการติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการในทุก ๆ ปีการศึกษา เพื่อนำผลการประเมินโครงการมาใช้เป็นแนวทางในการขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ศธ. รายงานว่า
                    1. ในปีการศึกษา 2561 สอศ. ได้จัดทำโครงการอาชีวะฯ ในลักษณะการจัดตั้งโรงเรียนประจำที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์การเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือนักเรียนยากจนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษามากขึ้น โดยนักเรียน/นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
                              1.1 ครอบครัวมีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อปี (ใช้ข้อมูลจากผู้ที่ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเพื่อรับสวัสดิการของรัฐ)
                              1.2 เป็นนักเรียนที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัด
ชายแดนภาคใต้
                              1.3 มีภูมิลำเนาใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย)
                    2. สอศ. ได้ดำเนินโครงการอาชีวะฯ มาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ? 2563 ในสถานศึกษาสังกัด สอศ. 4 แห่ง ได้แก่ (1) วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี (2) วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา (3) วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก และ (4) วิทยาลัยเทคนิคจะนะ โดยใช้งบประมาณของส่วนราชการในการดำเนินโครงการอาชีวะฯ จำนวน 68,936,000 บาท ซึ่งผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีนักเรียน/นักศึกษาเข้าร่วมโครงการอาชีวะฯ จำนวน 858 คน ประกอบด้วย ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) จำนวน 318 คน และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 540 คน และได้รับความสนใจจากประชาชนในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
                    3. คณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 เห็นชอบในหลักการของโครงการอาชีวศึกษาประชารัฐจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ซึ่งต่อมา คปต. ได้มีมติเห็นชอบให้ สอศ. เปลี่ยนชื่อโครงการเป็นโครงการอาชีวะฯ) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2568 กรอบวงเงินงบประมาณ 107,604,000 บาท เพื่อจัดหาหอพักและสนับสนุนทุนการศึกษาให้นักเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยให้ สอศ. สำรวจกลุ่มเป้าหมายและจัดทำรายละเอียดโครงการฯ เสนอต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป ในครั้งนี้ ศธ. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการอาชีวะฯ โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
วัตถุประสงค์          1. เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือนักเรียนผู้ด้อยโอกาสและครอบครัวผู้มีรายได้น้อย
2. เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนไทยในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เรียนรู้วิชาชีพอย่างมีคุณภาพและตลอดชีวิต
3. เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางด้านการศึกษาและสร้างแรงจูงใจให้เยาวชนได้มีโอกาสสร้างทักษะในการประกอบอาชีพที่มั่นคง
เป้าหมาย          จัดตั้งโรงเรียนในลักษณะโรงเรียนประจำในสถานศึกษาสังกัด สอศ. ในพื้นที่จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาส และจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย) สำหรับนักเรียน/นักศึกษาในระดับ ปวช. และ ปวส. ที่ยากจน ถูกทอดทิ้งไม่มีผู้อุปการะ และได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
สถานที่ดำเนินการ          สถานศึกษาสังกัด สอศ. 4 แห่ง ได้แก่ (1) วิทยาลัยเทคนิคกาญจนาภิเษกปัตตานี (2) วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา (3) วิทยาลัยการอาชีพสุไหงโก-ลก และ (4) วิทยาลัยเทคนิคจะนะ
จำนวนนักเรียน          ระดับ ปวช. จำนวน 135 คน/ชั้นเรียน และระดับ ปวส. จำนวน 247 คน/ชั้นเรียน
ระยะเวลาดำเนินการ          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2568
กรอบวงเงินงบประมาณ          จำนวน 107,604,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ประกอบด้วย (1) งบดำเนินงาน1 5,799,000 บาท และ (2) งบอุดหนุน2 101,805,000 บาท
หน่วยงานที่รับผิดชอบ          สอศ. และศูนย์พัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ          1. มีสถานศึกษาที่ให้บริการนักเรียน/นักศึกษาที่ครอบครัวยากจน ถูกทอดทิ้งไม่มีผู้อุปการะและได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
2. ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของนักเรียน/นักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
3. สร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ในการศึกษาต่อด้านวิชาชีพอย่างทั่วถึง
1ค่าใช้จ่ายในการปฐมนิเทศและปัจฉิมนิเทศนักเรียน/นักศึกษา คนละ 1,000 บาท
2ทุนการศึกษาคนละ 30,000 บาท/ปีการศึกษา (ระดับ ปวช.) หรือ 40,000 บาท/ปีการศึกษา (ระดับ ปวส.)

13. เรื่อง การปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่ของกรมศุลกากร กระทรวงการคลัง (กค.) โดยให้ยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 เกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานราชการส่วนกลางในภูมิภาค ต้องไม่มีหน่วยงานของกรมที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนกลางในภูมิภาค ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ก.พ.ร. รายงานว่า
                    1. กรมศุลกากร กค. จำเป็นต้องปรับบทบาท ภารกิจ และจัดโครงสร้างให้รองรับการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 ในการปรับปรุงการดำเนินพิธีการศุลกากรและการดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากลอันจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและตอบสนองต่อนโยบายรัฐบาลในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้าและสินค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กค. จึงขอปรับหน้าที่และอำนาจ และจัดตั้งส่วนราชการใหม่ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ สำนักงานศุลกากรมาบตาพุด และสำนักงานศุลกากรภาคที่ 5
                    2. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 ได้พิจารณาการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากร กค. แล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                              2.1 ความเห็นของ ก.พ.ร.
                                        2.1.1 กรมศุลกากรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนบทบาทและโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการภายในเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางของพิธีการศุลกากรโลกที่ปรับเปลี่ยนจากการจัดเก็บภาษีการนำเข้าและส่งออกสินค้าเป็นการมุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกทางการค้า รองรับการค้าโลกที่มีการแข่งขันสูงและทิศทางการจัดเก็บภาษีการค้าระหว่างประเทศของโลกที่ลดลงเป็นศูนย์ และรองรับการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่จะผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ของภูมิภาค การพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกและระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ รวมถึงเพื่อพัฒนาการให้บริการและเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของด่านศุลกากร                  ณ หน้าด่าน ให้รวดเร็วและถูกต้อง โดยมุ่งเน้นการให้บริการและอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการในการนำเข้าและส่งออก การสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินการเกี่ยวกับพิธีการศุลกากรได้อย่างถูกต้องและแก้ไขปัญหาการกระทำผิดหรือผิดพลาด รวมทั้งการนำระบบปัญญาประดิษฐ์มาพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสินค้าในการนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศ
                                        2.1.2 การจัดตั้งส่วนราชการใหม่ 2 ส่วนราชการ ดังนี้
                                                  (1) จัดตั้งสำนักงานศุลกากรมาบตาพุดโดยปรับเปลี่ยนมาจากด่านศุลกากรมาบตาพุด ซึ่งเป็นการเพิ่มขอบเขตอำนาจในการอนุมัติ อนุญาต ให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ เพื่อการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็ว
                                                  (2) จัดตั้งสำนักงานศุลกากรภาคที่ 51 เพื่อรองรับการปรับบทบาทที่มุ่งเน้นการอำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออก และการขยายตัวของระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ทั้งนี้ ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562 (เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ) ที่กำหนดให้การจัดตั้งหน่วยงานเพิ่มใหม่ต้องมีข้อเสนอให้ยุบเลิกหรือยุบรวมหน่วยที่มีอยู่เดิม (One-In, X-Out) ดังนั้น กรมศุลกากรจึงได้เสนอควบรวมด่านศุลกากรบูเก๊ะตาไว้กับด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก โดยรวมภารกิจและอัตรากำลังของด่านศุลกากรบูเก๊ะตาไปไว้ที่ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก และให้ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก รับผิดชอบในการบริหารจัดการทรัพยากรทั้งงบประมาณและอัตรากำลังให้มีความคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ กรมศุลกากรยืนยันว่า ณ ที่ทำการหน้าด่านศุลกากรบูเก๊ะตายังคงมีการดำเนินการเช่นเดิม เช่น การให้บริการทางพิธีการศุลกากรในการนำเข้าและส่งออกสินค้า และการอำนวยความสะดวกในการผ่านแดนและการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี ซึ่งไม่กระทบต่อการนำเข้าและส่งออกสินค้าของผู้ประกอบการและภาคเอกชน2
                                        2.1.3 การปรับโครงสร้างของกรมศุลกากรโดยจัดตั้งสำนักงานศุลกากรมาบตาพุดและสำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 เป็นราชการส่วนกลางในภูมิภาคเพิ่มใหม่ ไม่สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 เนื่องจากกรมศุลกากรมีหน่วยงานราชการส่วนกลางในภูมิภาคอยู่แล้ว ได้แก่ สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 ? 4 จึงต้องขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 ที่กำหนดว่า ?ต้องไม่มีหน่วยงานของกรมที่เป็นราชการส่วนภูมิภาคหรือราชการส่วนกลางในภูมิภาค?
                                        2.1.4 การปรับหน้าที่และอำนาจของสำนักงานศุลกากร 6 แห่งได้แก่ สำนักงานศุลกากรกรุงเทพ สำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ สำนักงานศุลกากรตรวจสินค้าลาดกระบังสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ และสำนักงานศุลกากรท่าอากาศยานดอนเมือง โดยเพิ่มหน้าที่และอำนาจ ?ตรวจสอบบันทึก บัญชีและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้า หรือส่งของออก ณ ที่ทำการของผู้นำของเข้าผู้ส่งของออก หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปราบปรามการฉ้อฉลทางการค้าภายในขอบเขตหน้าที่และอำนาจ? เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 มาตรา 157 และมาตรา 159 เรื่องการเข้าไปในสถานประกอบการเพื่อตรวจสอบเอกสาร หลักฐาน และข้อมูลอื่นใดที่เกี่ยวกับของที่กำลังผ่านหรือได้ผ่านพิธีการศุลกากร
                              2.2 มติ ก.พ.ร.
                                        2.2.1 เห็นชอบการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากรโดยจัดตั้งสำนักงานศุลกากรมาบตาพุด (ซึ่งปรับเปลี่ยนมาจากด่านศุลกากรมาบตาพุด) และสำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 (โดยควบรวมด่านศุลกากรบูเก๊ะตากับด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก) เป็นราชการส่วนภูมิภาค และการปรับปรุงหน้าที่และอำนาจสำนักงานศุลกากร จำนวน 6 แห่ง
                                        2.2.2 เห็นควรขอยกเว้นการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2560 (เรื่อง การปรับปรุงแนวทางการจัดส่วนราชการในภูมิภาค) กรณีการจัดตั้งหน่วยงานส่วนกลางในภูมิภาคเพิ่มใหม่
                                        2.2.3 เห็นชอบกับการกำหนดตัวชี้วัดสำคัญ3 เพื่อวัดความสำเร็จจากการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใหม่ และให้กรมศุลกากรรายงานผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดสำคัญดังกล่าวให้สำนักงาน ก.พ.ร. ทราบ เมื่อครบกำหนด 1 ปี นับแต่กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมศุลกากรมีผลบังคับใช้
1สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า สำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 ตั้งอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต ประกอบด้วย 1) ด่านศุลกากรเกาะสมุย 2) ด่านศุลกากรบ้านดอน (เดิมอยู่ภายใต้สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1) 3) ด่านศุลกากรกระบี่ 4) ด่านศุลกากรกันตัง 5) ด่านศุลกากรท่าอากาศยานภูเก็ต 6) ด่านศุลกากรนครศรีธรรมราช 7) ด่านศุลกากรภูเก็ต และ 8) ด่านศุลกากรสิชล (เดิมอยู่ภายใต้สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4)
2การควบรวมด่านศุลกากรบูเก๊ะตาไว้กับด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก โดยด่านศุลกากรบูเก๊ะตายังมีการดำเนินการเช่นเดิมแต่เปลี่ยนจากด่านเป็นศูนย์บริการบูเก๊ะตาซึ่งอยู่ภายใต้ด่านศุลกากรสุไหงโก-ลก สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4
3สำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า ตัวชี้วัดสำคัญเพื่อวัดความสำเร็จของการปรับปรุงโครงสร้างการแบ่งส่วนราชการของกรมศุลกากร กค. ประกอบด้วย 6 ตัวชี้วัด เช่น จำนวนภาษีที่จัดเก็บจากการนำเข้า - ส่งออก เป็นตัวชี้วัดผลลัพธ์ของการปรับโครงสร้างในภาพรวมของกรมศุลกากร และงานพิจารณาอนุมัติ อนุญาต คำร้อง คำขอ ของสำนักงานศุลกากรมาบตาพุดเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดเป็นการสะท้อนการปรับโครงสร้างของสำนักงานศุลกากรมาบตาพุด

14. เรื่อง ขออนุมัติวงเงินงบประมาณเงินอุดหนุนศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับที่ 8 (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา 2565/2566 ถึง 2569/2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบผลการดำเนินงานศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศูนย์ซีมีโอ สปาฟา) (SEAMEO Regional Centre for Archaeology and Fine Arts : SEAMEO SPAFA) ตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับที่ 7 (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา 2560/2561 ถึง 2563/2564) (4 ปี)*
                    2. อนุมัติวงเงินงบประมาณเงินอุดหนุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ซีมีโอ สปาฟา ตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับที่ 8 (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา 2565/2566 ถึง 2569/2570) จำนวน 125.55 ล้านบาท ตามกรอบงบประมาณของสำนักงบประมาณ (สงป.)
หมายเหตุ : *ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา เริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ถึง 30 มิถุนายนของปีถัดไป โดยผลการดำเนินงานของศูนย์ซีมีโอ สปาฟา ฉบับที่ 7 ในปีที่ 5 ยังไม่สิ้นสุดปีงบประมาณ (ปี 2564/2565)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงศึกษาธิการ เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานศูนย์ภูมิภาคว่าด้วยโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ในองค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ศูนย์ซีมีโอ สปาฟา) ตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับที่ 7 (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา 2560/2561 ถึง 2563/2564) (4 ปี) โดยใช้งบประมาณรวมทั้งสิ้น 97.56 ล้านบาท (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2564) ซึ่งการดำเนินงานที่ผ่านมาศูนย์ซีมีโอ สปาฟา ได้ดำเนินกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ โดยเน้นการสร้างความสมานฉันท์ความเข้าใจซึ่งกันและกันและการพัฒนางานโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ เพื่อปลูกฝังความตระหนักและชื่นชมในมรดกทางวัฒนธรรม ผ่านความร่วมมือต่าง ๆ โดยมีการจัดโครงการ/กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 22 โครงการ/กิจกรรม เช่น (1) การประชุมวิชาการนานาชาติทางด้านโบราณคดีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการ งานสัมมนา การบรรยาย และการประชุมที่เกี่ยวกับงานโบราณคดีเมือง การศึกษาด้านโบราณคดีในระดับอุดมศึกษา การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน กิจกรรมด้านศิลปะการแสดง เป็นต้น ซึ่งมีผู้เข้าร่วมโครงการ/กิจกรรมต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้นประมาณ 2,402 คน (2) ผลิตวารสารทางวิชาการด้านโบราณคดีและวิจิตรศิลป์อย่างต่อเนื่อง (3) การเผยแพร่ความรู้ด้านโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ โดยได้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อดิจิตอลสำหรับเผยแพร่ในสื่อออนไลน์ผ่านช่องยูทูปของศูนย์ซีมีโอ สปาฟา โดยมีผู้เข้าชมจากทั่งโลกจำนวน 48,211 ครั้ง โครงการด้านการจัดการมรดกศิลปะและวัฒนธรรม โครงการด้านวิจิตรศิลป์ เป็นต้น และขออนุมัติวงเงินงบประมาณเงินอุดหนุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของศูนย์ซีมีโอ สปาฟา ตามแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ฉบับที่ 8 (ปีงบประมาณศูนย์ซีมีโอ สปาฟา 2565/2566 ถึง 2569/2570) จำนวน 125.55 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าว อยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ ?เสริมความเข้มแข็งในบทบาทการพัฒนาทุนมนุษย์ สายงานโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของซีมีโอ สปาฟา เพื่อให้เหมาะสมกับคริสต์ศตวรรษที่ 21? โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ได้แก่ 1) ส่งเสริมความก้าวหน้าของการดำเนินงานโบราณคดีปละวิจิตรศิลป์ในภูมิภาค และการนำประสบการณ์ความรู้และทรัพยากรมาใช้ร่วมกัน (2) จัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการศึกษา และพัฒนาความรู้ด้านโบราณคดี วิจิตรศิลป์ และวัฒนธรรมของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (3) สนับสนุนให้เกิดความสนใจและชื่นชมในมรดกวัฒนธรรมของประเทศสมาชิกและของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี ภายในกรอบวงเงิน 125.55 ล้านบาท โดยจะมีการดำเนินโครงการ/กิจกรรม รวมทั้งสิ้น 31 โครงการ เช่น โครงการพัฒนาทรัพยากรสารนิเทศเพื่อพัฒนาการจัดการความรู้สู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โครงการพัฒนาศักยภาพความเป็นเลิศให้กับศูนย์ฝึกอบรมหลักด้านโบราณคดีและวิจิตรศิลป์ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการด้านโบราณคดี โครงการด้านการจัดการมรดกศิลปะและวัฒนธรรม โครงการด้านวิจิตรศิลป์ เป็นต้น

15. เรื่อง เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    ทั้งนี้ มท.เสนอว่า
                    1. ปัจจุบันสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา ได้ครบวาระการดำรงตำแหน่งแล้ว โดยที่สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ยังคงอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ตามประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 86/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและสมาชิกสภาเขตเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 1/2557 เรื่อง การได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นการชั่วคราว ลงวันที่ 25 ธันวาคม พุทธศักราช 2557 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 18 ตุลาคม พุทธศักราช 2559 คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 6/2560 เรื่อง การแต่งตั้งนายกเมืองพัทยา ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2560 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 15/2561 เรื่อง การแก้ไขปัญหาการบริหารราชการเมืองพัทยา ลงวันที่ 25 กันยายน พุทธศักราช 2561
                    2. ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 6 ตุลาคม 2563 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัดก่อน ซึ่ง กกต. ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้วเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2563 การดำเนินการเลือกตั้งเสร็จสิ้น และได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแล้ว
                    3. คณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 12 มกราคม 2564 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นของเทศบาล ซึ่ง กกต. ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 การดำเนินการเลือกตั้งเสร็จสิ้น และได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรีแล้ว
                    4. คณะรัฐมนตรีได้มีมติวันที่ 7 กันยายน 2564 ให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบล ซึ่ง กกต. ได้จัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแล้วเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 การดำเนินการเลือกตั้งเสร็จสิ้น และได้มีการประกาศผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลแล้ว
                    5. คณะกรรมการประสานงานและสนับสนุนการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มท. ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ที่ 2181/2563 ลงวันที่ 8 กันยายน 2563 โดยมีรองปลัดกระทรวงมหาดไทย หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านพัฒนาชุมชนและส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เป็นประธานกรรมการ ได้มีการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันพุธที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 เพื่อเตรียมความพร้อมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
1) การดำเนินการของ มท.
1.1) ข้อมูลจำนวนราษฎรที่ใช้ในการแบ่งเขตเลือกตั้ง สำนักเบียนกลาง กรมการปกครองได้ประกาศจำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 18 มกราคม 2565
1.2) การเตรียมความพร้อมด้านงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มท. โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นได้แจ้งกรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรี จัดทำข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2565 ของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยกำหนดรายการค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นไว้ในข้อบัญญัติ รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มเติมสำหรับกรณีการจัดการเลือกตั้งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้พร้อมแล้ว
2) การดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง
          2.1) ออกระเบียบและประกาศ กกต. ดำเนินการเสร็จสิ้นแล้ว
          2.2) การดำเนินการสรรหา กกต. ประจำกรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรี และ กกต. สามารถประกาศแต่งตั้งได้ทันทีที่มีการประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา
          2.3) ดำเนินการอบรมผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานครและจังหวัดชลบุรี ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำเมืองพัทยา และผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา เสร็จสิ้นแล้ว สำหรับการอบรมกรรมการประจำหน่วยเลือกตั้งจะดำเนินการเมื่อมีการประกาศให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยานั้น
          2.4) ดำเนินการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยาเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2565
          2.5) ดำเนินการจัดทำแผนงานการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา สำนักงาน กกต. เสนอ กกต. ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ภายในกรอบเวลา 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา โดยกำหนดวันเลือกตั้งในเดือนพฤษภาคม 2565
3) การดำเนินการของ สลค.
          ได้ประกาศราชกิจจานุเบกษาการแบ่งเขตเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยา เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2565 เสร็จสิ้นแล้ว
                    ทั้งนี้ ความพร้อมของ มท. และสำนักงาน กกต. โดยทั้งสองฝ่ายมีความพร้อมในการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครและเมืองพัทยาแล้ว ประกอบกับสำนักงาน กกต. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ไว้แล้ว
                    ประกอบกับพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. 2562 มาตรา 142 บัญญัติในการเลือกตั้งครั้งแรกภายหลังจากที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใด ให้แจ้งให้ กกต. ทราบ และเมื่อ กกต. ประกาศกำหนดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นแล้ว ให้ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติและคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการงดการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและกำหนดวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นสิ้นผลบังคับสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น
                    ดังนั้น จึงได้ตกลงร่วมกันเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นสมควรกำหนดให้มีการเลือกสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นของกรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

16. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.)  เสนอ สรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 [ซึ่งเป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ข้อ 7 (1) ที่กำหนดให้ กนป. มีอำนาจและหน้าที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณาเพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ] โดยมีสรุปผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
                    1. สถานการณ์การผลิต การตลาดปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2565 ที่ประชุม ฯ รับทราบมติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 ที่ได้เห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบจากราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่ปรับตัวสูงขึ้นในระยะสั้น ตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2565 โดยกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันให้เป็นไปตามสัดส่วนการผสม
ของกลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ดังนี้
ชนิดของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว          สัดส่วนการผสม
          ไม่ต่ำกว่า
(ร้อยละโดยปริมาตร)          ไม่สูงกว่า
(ร้อยละโดยปริมาตร)
บี 7          5          7
ธรรมดา          5          10
บี 20          5          20

                    2. โครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2564-2565  ที่ประชุมฯ เห็นชอบการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีระยะเวลาการจ่ายเงิน เดือนกันยายน 2564-สิงหาคม 2565 กรอบวงเงินดำเนินการ 7,660  ล้านบาท ซึ่งคงหลักการเช่นเดียวกับโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ปี 2562-2563 และปี 2564 (มกราคม-สิงหาคม 2564) และกำหนดให้เริ่มจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้งวดแรกให้แก่เกษตรกรตั้งแต่เดือนกันยายน 2564  เป็นต้นไป และมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอโครงการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    3. โครงการผลักดันการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อลดผลผลิตส่วนเกิน ปี 2565  ที่ประชุมฯ เห็นชอบการดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีเป้าหมายการส่งออกน้ำมันปาล์ม 150,000 ตัน ภายในเดือนกันยายน 2565 กรอบวงเงินดำเนินการ 309 ล้านบาท เพื่อลดปริมาณสต็อกน้ำมันปาล์มดิบส่วนเกินและรักษาเสถียรภาพราคาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มในประเทศและมอบหมายให้ พณ. หารือร่วมกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับรายละเอียดและกรอบวงเงินงบประมาณก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ทั้งนี้ จะพิจารณาสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการสำหรับการส่งออกเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ ในอัตราไม่เกิน 2 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อระดับสต็อกน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่า 300,000 ตัน และราคาน้ำมันปาล์มดิบในประเทศสูงกว่าราคาตลาดโลก
                    4. การขับเคลื่อนมาตรการและแนวทางการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ที่ประชุมฯ เห็นชอบผลิตภัณฑ์เป้าหมายและมาตรการและแนวทางขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มเพิ่มเติมจากเป้าหมายเดิม จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์1 เป็น 8 ผลิตภัณฑ์ โดยเพิ่มน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ กรีนดีเซล และน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ ไบโอเจ็ต ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมเพื่อรองรับการแก้ปัญหาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ
                    5. การทบทวนมาตรการนำผ่านสินค้าน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์ พิกัดอัตราศุลกากร 1511.90 ตามคำขอของรัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) ที่ประชุมเห็นชอบหลักการทบทวนมาตรการดังกล่าว โดยให้ พณ. ออกหนังสือรับรองประกอบการนำผ่านน้ำมันปาล์มบริสุทธิ์  พิกัดอัตราศุลกากร 1511.90 จากมาเลเซียผ่านด่านศุลกากรสะเดา จังหวัดสงขลาและด่านศุลกากรหนองคาย จังหวัดหนองคายไปยัง สปป. ลาว เพื่อจำหน่ายภายในประเทศ ในปริมาณไม่เกิน 5,000 ตันต่อปี โดยผู้ขอนำผ่านต้องแจ้งให้ พณ. ทราบก่อนการนำผ่านอย่างน้อย 1 เดือน และมอบหมาย พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ หากพบว่ามีสินค้ารั่วไหลหรือตกหล่นภายในประเทศให้ดำเนินการทบทวนมาตรการดังกล่าวโดยเร็ว รวมทั้งให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับ ดูแล และตรวจสอบการนำผ่านเพื่อกำกับ ดูแล  และตรวจสอบสินค้าไม่ให้เกิดการรั่วไหลหรือตกหล่นภายในประเทศด้วย
1คณะรัฐมนตรีมีมติ (8 มิถุนายน 2564) รับทราบมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ซึ่งได้เห็นชอบผลิตภัณฑ์เป้าหมายและมาตรการและแนวทางขับเคลื่อนการเพิ่มมูลค่าปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม จำนวน 6 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ (1) ผลิตภัณฑ์สารหล่อลื่นพื้นฐาน (2) น้ำมันหม้อแปลงไฟฟ้าชีวภาพ (3) สารซักล้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (4) น้ำมันหล่อลื่นและจาระบีชีวภาพ (5) การผลิตพาราฟิน และ (6) สารกำจัดศัตรูพืช/แมลง

17. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ประจำปีงบประมาณ              พ.ศ. 2564 (เป็นการดำเนินการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 338/2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์กรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2562 ข้อ 2.5 ที่กำหนดให้คณะกรรมการฯ มีหน้าที่จัดทำรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ เสนอคณะรัฐมนตรีเป็นประจำทุกปี) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
เรื่อง          ผลการดำเนินงาน
1. การดำเนินงานของคณะกรรมการฯ
1.1 ปรับปรุงแก้ไขคำสั่งคณะอนุกรรมการคัดกรองกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ จำนวน 11 ชุด          - ขยายขอบเขตหน้าที่และอำนาจของคณะอนุกรรมการคัดกรองฯ จาก ?รับเรื่องราวร้องทุกข์ พิจารณาคัดกรองคำร้องกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยอาศัยหลักเกณฑ์ตามกฎหมายอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคน จากการบังคับให้หายสาบสูญ? เป็น ?รับเรื่องราวร้องทุกข์ ตรวจสอบข้อมูล แสวงหาข้อเท็จจริง และพยานหลักฐานเพื่อประกอบคำร้อง และพิจารณาคัดกรอง...?
1.2 การพิจารณาแนวทางดำเนินการ
กรณีบุคคลไทยสูญหายในต่างประเทศ          - ปัจจุบันมีบุคคลไทยที่สูญหายในต่างประเทศ 9 ราย โดยแบ่งเป็นใน สปป. ลาว 5 ราย ในเวียดนาม 3 ราย และในกัมพูชา 1 ราย ซึ่งคณะกรรมการฯ มีมติว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการฯ มีเขตอำนาจดำเนินงานภายในประเทศเท่านั้น ดังนั้น หากได้รับเรื่องร้องเรียนกรณีบุคคลไทยสูญหายในต่างประเทศ ให้คณะอนุกรรมการคัดกรองฯ รับเรื่องร้องทุกข์ตรวจสอบข้อมูล แสวงหาข้อเท็จจริง พยานหลักฐานจากญาติของบุคคลสูญหายแล้วประสานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ และสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินการต่อไป
1.3 การติดตามและผลักดันร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคล  สูญหาย พ.ศ. ....          - กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ ได้ร่วมกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยกร่างพระราชบัญญัติฯ และเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2564 สภาผู้แทนราษฎรได้มีมติเห็นชอบรับหลักการร่างพระราชบัญญัติฯ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯ
1.4 การเยือนอย่างไม่เป็นทางการของผู้แทนจากคณะทำงานสหประชาชาติว่าด้วยการหายสาบสูญ
โดยถูกบังคับหรือไม่สมัครใจ          -คณะกรรมการฯ ได้มีมติเห็นชอบให้คณะทำงานสหประชาชาติฯ เยือนอย่างไม่เป็นทางการฯ เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง โดยในระหว่างนี้ให้จัดประชุมหารือกับคณะทำงานสหประชาชาติ ฯ ในรูปแบบออนไลน์
1.5 การเสนอชื่อบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะกรรมการสหประชาชาติประจำอนุสัญญาต่อต้านการทรมาน และการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรมหรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรี          - คณะกรรมการสหประชาชาติฯ 5 คน ได้หมดวาระ
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2564 กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และ ยธ. ได้เสนอชื่อ ดร. ศรีประภา เพชรมีศรี อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นอดีตผู้แทนประเทศไทยในคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชนระหว่างปี 2552-2555
2. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการติดตามและตรวจสอบกรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
2.1 การติดตามและตรวจสอบกรณีถูกบังคับให้หายสาบสูญ จำนวน 90 ราย
          - แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1) กรณีบุคคลสูญหายตามบัญชีรายชื่อของคณะทำงานสหประชาชาติฯ 87 ราย โดยแยกเป็น กรณีที่ถอนรายชื่อออกจากบัญชีฯ แล้ว 12 ราย อยู่ระหว่าง กต. ส่งให้คณะทำงานสหประชาชาติฯ พิจารณา 67 ราย อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรมสอบสวนคดีพิเศษ 3 ราย และอยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 5 ราย          2) กรณีบุคคลสูญหายที่ส่งต่อมาจากคณะอนุกรรมการคัดกรองฯ 3 ราย ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรมสอบสวนคดีพิเศษ 2 ราย และอยู่ระหว่างการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ 1 ราย
2.2 การดำเนินการเพื่อลดข้อห่วงกังวลของคณะทำงานสหประชาชาติฯ
          - เนื่องจากคณะทำงานสหประชาชาติฯ แจ้งว่ามีข้อร้องเรียนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ที่ไปพบครอบครัวบุคคลผู้สูญหายเพื่อโน้มน้าวใจให้ถอนเรื่องหรือยุติการติดตามผู้สูญหายโดยคณะอนุกรรมการติดตามฯ ได้ดำเนินการ เช่น ลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้เห็นวิธีการดำเนินงานจริงและสร้างความเชื่อมั่นว่าญาติผู้เสียหายไม่ได้ถูกโน้มน้าวให้ถอนเรื่อง นอกจากนี้คณะทำงานสหประชาชาติฯ ได้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการติดตามตรวจสอบกรณีบุคคลถูกบังคับให้หายสาบสูญในประเทศไทย ผ่าน กต. โดยมีสาระสำคัญ ได้แก่                      1) ภาครัฐควรใช้วิธีการติดตามตรวจสอบกรณีบุคคลถูกบังคับให้หายสาบสูญที่แสดงถึงความเคารพไม่กดดันญาติผู้เสียหาย เปิดโอกาสให้บุคคลเหล่านั้นพูดได้อย่างอิสระ และรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนในครอบครัวของผู้เสียหาย และ 2) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหารือกับผู้แทนองค์กรภาคประชาสังคม เพื่อพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการประสานกับญาติผู้เสียหาย
3. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการเยียวยากรณีถูกกระทำทรมานและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
- การพิจารณาเยียวยากรณีคณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ขอให้ภาครัฐจ่ายค่าชดใช้ในอัตราก้าวหน้าตามหลักสากลตามข้อเสนอของคณะกรรมการอิสระเพื่อติดตามผู้เสียหายและช่วยเหลือผู้เสียหายจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 เพื่อช่วยเหลือญาติวีรชนที่เสียชีวิตและสูญหาย          - คณะอนุกรรมการเยียวยาฯ ได้มีมติให้ญาติผู้สูญหายได้รับค่าทดแทนจากรัฐ รายละ 413,368 บาทซึ่งถือว่าเป็นการได้รับการเยียวยาจากรัฐพอสมควรแล้ว

4. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการป้องกันการกระทำทรมานและการบังคับให้หายสายสูญ เช่น
4.1 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับกฎหมาย
และมาตรฐานระหว่างประเทศ การสืบสวนสอบสวนกรณีที่สงสัยว่าเป็นการเสียชีวิตโดยมิชอบด้วยกฎหมายและการบังคับให้สูญหาย
          - สำนักงานข้าหลวงใหญ่สิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติและคณะกรรมการนักนิติศาสตร์สากล จัดประชุมฯ เมื่อวันที่ 21-22 ธันวาคม 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออบรมให้ความรู้ในการสืบสวนสอบสวน เก็บข้อมูล และพยานหลักฐานต่าง ๆ ในกรณีเสียชีวิตโดยมิชอบโดยกฎหมาย
4.2 การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของผู้บังคับใช้กฎหมาย
          - โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ จัดประชุมฯ เมื่อวันที่ 22-23 มีนาคม 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในประเด็นสิทธิมนุษยชน รวมทั้งฝึกปฏิบัติในการประยุกต์ใช้สิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติหน้าที่กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
4.3 การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติงานของผู้บังคับใช้กฎหมาย ครั้งที่ 2 ผ่านแอปพลิเคชัน Cisco Webex          - ผู้เข้าร่วมประชุมฯ ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 40 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายในประเด็นสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะอนุสัญญาต่อต้านการทรมานและการประติบัติหรือการลงโทษอื่นที่โหดร้ายไร้มนุษยธรรม หรือที่ย่ำยีศักดิ์ศรีรวมทั้งฝึกปฏิบัติในการประยุกต์ใช้สิทธิมนุษยชนในการปฏิบัติหน้าที่กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
4.4 การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์          - ผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่สรุปความรู้เกี่ยวกับอนุสัญญาต่อต้านการทรมานฯ และอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการบังคับให้หายสาบสูญ แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน
5. การดำเนินงานของคณะอนุกรรมการคัดกรองกรณีถูกกระทำทรมารและถูกบังคับให้หายสาบสูญ
- สถิติการรับเรื่องราวร้องทุกข์ของคณะอนุกรรมการคัดกรองฯ เขตพื้นที่ 1-11 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564          5. คณะอนุกรรมการคัดกรองฯ ได้รับเรื่องราวร้องทุกข์ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรณีถูกกระทำทรมาน 7 เรื่อง   โดยคณะอนุกรรมการคัดกรองฯ ในเขตพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้  เป็นเขตพื้นที่ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมากที่สุด ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ ทั้งนี้ เมื่อเทียบกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 พบว่า มีสัดส่วนลดลง คิดเป็นร้อยละ 80.6


18. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2565
          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (สำนักงาน ป.ป.ท) ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ เสนอรายงานผลการดำเนินการของศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) ครั้งที่ 1/2565 (ศอตช. จัดตั้งขึ้นตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 358/2562 เรื่อง จัดตั้ง ศอตช. ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2562 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 213/2563 เรื่อง เพิ่มเติมองค์ประกอบคณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ลงวันที่ 15 กรกฎาคม 2563) สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
          1. คณะกรรมการอำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 5 คณะ เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศอตช. ดังนี้
คณะอนุกรรมการ          ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) คณะอนุกรรมการป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ          ได้เผยแพร่ผลการดำเนินงานด้านการป้องกันของ ศอตช. ทางหนังสือพิมพ์ วิทยุและสื่อสำนักข่าวออนไลน์ ทั้งในภาคภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวม 30 ครั้ง โดยทำการเผยแพร่ภาคภาษาอังกฤษไปยังหอการค้าไทย-ต่างประเทศ จำนวน 32 แห่งทั่วโลก และรายงานผลการดำเนินงานด้านป้องกันเชิงรุกในโครงการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 จำนวน 12 โครงการ งบประมาณ 38,740 ล้านบาท ใน 67 จังหวัด
2) คณะอนุกรรมการสนับสนุนและติดตามการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ


          ได้ร่วมพิจารณาและกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนการยกระดับคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต (Corruption Perceptions Index: CPI) เป็น 2 ส่วน คือ การดำเนินการระยะสั้น ซึ่งกำหนดเป็นข้อเสนอเพื่อขับเคลื่อนการยกระดับคะแนน CPI ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และการดำเนินการระยะยาว กำหนดเป็นแผนการดำเนินการขับเคลื่อนฯ ในระยะ 3 หรือ 5 ปี โดยสำนักงาน ป.ป.ท. จะหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการร่วมกันต่อไป และขับเคลื่อนการดำเนินการกิจกรรมปฏิรูปที่ 5 โดยกำหนดให้หน่วยงานจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงโครงการขนาดใหญ่ 500 ล้านบาทขึ้นไป*
3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ


          ได้ดำเนินการติดตาม เร่งรัดและตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องและบูรณาการการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและไม่เป็นธรรมให้ประชาชนโดยเร็ว ได้แก่
   (1) ติดตามเร่งรัดการดำเนินงานในเรื่องร้องเรียน ศอตช. และติดตามคดีสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของประชาชนหรือสร้างความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง จำนวน 6 คดี
   (2) ติดตามการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2563 เรื่อง กลไกเฝ้าระวังการใช้จ่ายงบประมาณตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาฯ พ.ศ. 2563
   (3) ติดตามการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 เรื่อง ข้อเสนอแนะเพื่อป้องกันการทุจริตเกี่ยวกับงบประมาณเงินอุดหนุนวัดของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
   (4) ติดตามการดำเนินมาตรการทางวินัย ปกครองและอาญาของหน่วยงานของรัฐในกรณีข้อร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง การรับรายงานผลดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการทุจริตและประพฤติมิชอบของศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต (ศปท.)โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 สำนักงาน ป.ป.ท. รับรายงานจาก ศปท. ทุกหน่วยงาน ตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557-30 กันยายน 2564 รวมทั้งสิ้น 2,423 เรื่อง
   (5) ติดตามการดำเนินงานติดตามโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ภายใต้กลุ่มแผนงาน/โครงการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่น และชุมชนบนพื้นฐานของโอกาสและศักยภาพของท้องถิ่น : ระดับพื้นที่ วงเงิน 45,000 ล้านบาท
   (6) สนับสนุน ติดตามการดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องเงินขาดบัญชีหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทุจริต ตามแนวทางการดำเนินงานของสำนักงาน ป.ป.ท. ในการประสานขอความอนุเคราะห์ข้อมูลกับกรมบัญชีกลาง เพื่อนำข้อมูลจากระบบความรับผิดทางละเมิดและแพ่งของกรมบัญชีกลาง มาเชื่อมโยงกับข้อมูลจากระบบรายงานข้อร้องเรียนฯ ของสำนักงาน ป.ป.ท. (ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง การรับรายงานฯ)
4) คณะอนุกรรมการเสริมสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วม
          ได้ดำเนินโครงการ "มีดีต้องแชร์" เพื่อรวบรวมเครื่องมือหรือกลไกในการตรวจสอบและป้องกันการทุจริตจากหน่วยงานรัฐเพื่อเป็นฐานข้อมูลเชื่อมโยงทั้งระบบ ภายใต้ทรัพยากรเดิมที่มีอยู่ จากหน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรอิสระ และองค์การมหาชน จำนวน 312 หน่วยงาน รวมทั้งสิ้น 2,375 เครื่องมือ
5) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินงานของ ศปท.
          ได้ดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนการปฏิบัติราชการของ ศปท. ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมและขับเคลื่อนการดำเนินงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น
   (1) ร่วมกันติดตาม เร่งรัดการดำเนินการทางวินัย ปกครอง อาญา ของหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับในกรณีมีเรื่องร้องเรียนเจ้าหน้าที่ของรัฐในสังกัดกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2563 เรื่อง การรับรายงานฯ
   (2) ขับเคลื่อนเรื่องการประเมินความเสี่ยงการทุจริตของ ศปท. ทุกหน่วยงาน และหน่วยงานในสังกัดหรือกำกับ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีกลุ่มเป้าหมายรวม 406 หน่วยงาน
   (3) ติดตามและสนับสนุนมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านการทุจริตของ ศปท. ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2562 และแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการขับเคลื่อนงานด้านการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และการต่อต้านการทุจริต
          2. ศอตช. ได้จัดทำระบบรับเรื่องร้องเรียน ศอตช. ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนที่เกี่ยวกับการทุจริตประพฤติมิชอบเป็นการเฉพาะ ซึ่งดำเนินงานได้ทันทีและตลอดเวลา ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2563-31 ธันวาคม 2564 รับเรื่องร้องเรียน จำนวน 1,050 เรื่อง (ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 426 เรื่อง อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 624 เรื่อง)
          3. การดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รวม 8 คำสั่ง จำนวน 400 ราย (ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 357 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน 43 ราย ซึ่งอยู่ระหว่างการนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณามีคำสั่ง จำนวน 13 ราย)
* สำนักงาน ป.ป.ท. ได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (8 กุมภาพันธ์  2565) 1)รับทราบรายงานผลการวิเคราะห์ CPI ประจำปี พ.ศ. 2564 2) รับทราบแนวทางการขับเคลื่อนมาตรการยกระดับคะแนน CPI และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป และ 3) ให้หน่วยงานที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณโครงการขนาดใหญ่ (รายการในงบลงทุน วงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ที่มีการจัดซื้อจัดจ้าง) จัดทำการประเมินตามเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงเชิงนโยบาย ส่งพร้อมคำขอไปยังสำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อให้ สงป. ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตรวจสอบ ติดตาม และประเมินผล ตามคู่มือแนวทางการประเมินความเสี่ยงการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ต่อไป

19. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) ครั้งที่ 1/2565
          คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (กพย.) เสนอ ผลการประชุม กพย. ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธาน [เป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พ.ศ. 2556 ข้อ 9 (10) ที่กำหนดให้ กพย. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน
          1.1 การดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย (Thailand's SDG Roadmap) ที่ประชุมได้มีมติรับทราบผลการดำเนินงานตามแผนการขับเคลื่อนฯ ซึ่งประกอบด้วย (1) การสร้างความตระหนักรู้ (2) ความเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) กับแผน 3 ระดับของประเทศ (3) กลไกการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (4) การดำเนินงานเพื่อบรรลุ SDGs (5) ภาคีการพัฒนา และ (6) การติดตามประเมินผลการขับเคลื่อน SDGs โดยมีการดำเนินการ เช่น การจัดให้มีระบบสาธารณสุขถ้วนหน้าและอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) ซึ่งทำให้ไทยมีความคืบหน้าสำคัญตาม SDGs เป้าหมายที่ 3 และการจัดทำระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ร่วมกับกลไกคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) ที่สนับสนุนการลดความเหลื่อมล้ำตาม SDGs เป้าหมายที่ 10 ทั้งนี้ ที่ประชุมฯ ได้มอบหมายให้ สศช. ในการประสานภาคีการพัฒนาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
          1.2 การรายงานการทบทวนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 โดยสมัครใจของไทย (Voluntary National Review: VNR) ประจำปี 2564 ที่ประชุมรับทราบรายงาน VNR ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยกล่าวรายงานต่อที่ประชุมหารือทางการเมืองระดับสูงว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน ประจำปี ค.ศ. 2021 โดยได้เน้นย้ำถึงปัญหาความเหลื่อมล้ำที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการเปลี่ยนผ่านไปสู่โลกดิจิทัล รวมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการเปลี่ยนผ่านไปสู่ความสมดุล ทั้งนี้ ไทยได้  น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้และพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทในปัจจุบันในรูปแบบของโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model: BCG Model) เพื่อนำไปสู่การบรรลุ SDGs นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เน้นย้ำการสร้างความตระหนักรู้และการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นในการขับเคลื่อน SDGs รวมทั้งการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในรูปแบบที่เข้าใจง่ายเพื่อสื่อสารกับประชาชนทั่วไปและเผยแพร่ไปสู่สถาบันการศึกษาในระดับพื้นที่อย่างทั่วถึง
          1.3 การปรับปรุงคณะอนุกรรมการและคณะทำงานภายใต้ กพย. ที่ประชุมเห็นชอบการยกเลิกคณะอนุกรรมการภายใต้ กพย. จำนวน 2 คณะ ได้แก่ (1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและ (2) คณะอนุกรรมการติดตามและประเมินผลการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อลดความซ้ำซ้อนในภารกิจและงบประมาณ และได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ 2 คณะ และคณะทำงาน 1 คณะ ดังนี้ (1) คณะอนุกรรมการภาคเอกชนเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) คณะอนุกรรมการพลังเยาวชนขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (3) คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินการตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของไทยในกรอบสหประชาชาติ
2. แนวทางการขับเคลื่อน SDGs ของไทยในระยะต่อไป ที่ประชุมเห็นชอบให้การขับเคลื่อน ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานเป้าหมาย SDGs สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติโดยยึดหลักวงจรบริหารคุณภาพ (Plan-Do-Check-Act: PDCA) ประกอบด้วย
          2.1 วางแผน (Plan) โดยเชื่อมโยง SDGs กับยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 โดยเฉพาะแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและห่วงโซ่คุณค่าของประเทศ เพื่อเป็นกรอบในการวางแผนการดำเนินงานตามภารกิจหน้าที่ของหน่วยงาน โดยยึดเป้าหมายการพัฒนาประเทศเป็นเป้าหมายการทำงานร่วมกันของหน่วยงาน
          2.2 ลงมือดำเนินการ (Do) การจัดทำโครงการ/การดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายประกอบการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและเป้าหมายย่อยของ SDGs ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ การจัดทำแผน การจัดทำโครงการ/การดำเนินงาน และการปฏิบัติในระดับพื้นที่
          2.3 ติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลการดำเนินการ (Check) โดยติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลความก้าวหน้าของการขับเคลื่อน SDGs รวมถึงการจัดการข้อมูล และการรายงานผลสัมฤทธิ์การดำเนินงานในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) รวมทั้งจัดทำสรุปผลการดำเนินการประจำปีเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์และความก้าวหน้าของการขับเคลื่อนเพื่อบรรลุ SDGs และเสนอ กพย. รวมทั้งเผยแพร่ต่อสาธารณชน
          2.4 ปรับปรุงการดำเนินการ (Act) วิเคราะห์และประมวลข้อมูลจากการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงาน เพื่อนำไปปรับปรุงและยกระดับการดำเนินการเพื่อบรรลุ SDGs รวมถึงพัฒนากระบวนการดำเนินงานและยกระดับมาตรฐานการจัดทำโครงการให้มีประสิทธิภาพเพื่อนำไปสู่การบรรลุ SDGs ในทุกมิติอย่างเป็นรูปธรรม

20. เรื่อง การปรับปรุงบทบาทภารกิจของภาครัฐ : แนวทางการขับเคลื่อนการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐ (Sandbox)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการขับเคลื่อนการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทน (Sandbox) ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ก.พ.ร. รายงานว่า
                    1. การปรับบทบาทภารกิจภาครัฐเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องดำเนินการเพื่อให้ภาครัฐสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนและการพัฒนาประเทศ โดยจะต้องมุ่งเน้นการขับเคลื่อนให้หน่วยงานภาครัฐเร่งปรับระบบหรือวิธีการทำงานหรือยุบเลิกภารกิจที่ไม่จำเป็นหรือถ่ายโอนภารกิจให้ภาคสวนอื่นรับไปดำเนินการ ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 6/2564 เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 จึงมีมติเห็นชอบข้อเสนอแนวทางการขับเคลื่อนการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐ1 (Sandbox) และให้นำเรื่องนี้เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบแนวทางการขับเคลื่อน
การถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นเข้ามาร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทน สรุปได้ ดังนี้

กลุ่มที่ 1 : งานที่มีโอกาสนำไปสู่การปฏิบัติได้สำเร็จ (รวม 6 งาน)
รายชื่องาน          แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
1. งานตรวจสถานประกอบการ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในอาคารควบคุม
(กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและ
อนุรักษ์พลังงาน)          เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาบทบาทของส่วนราชการให้เป็น Smart Regulator ได้แก่ พัฒนาระบบการจัดส่งรายงานของเจ้าของอาคารควบคุมและการแจ้งผลของส่วนราชการในรูปแบบ e-license (Fully Digital) และพัฒนาระบบการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานอาคารของเอกชนผู้รับถ่ายโอนงานให้มีประสิทธิภาพและน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการอาคารควบคุมด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์
2. งานรับรองมาตรฐานสินค้า (กรมการค้าต่างประเทศ)           เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข้อมูลการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้าเพิ่มเติม และแสดงผลแบบ real time รวมถึงลดขั้นตอนกระบวนงาน ได้แก่ ขยายขอบเขตการเชื่อมโยงข้อมูลเพิ่มเติมและพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับงานรับรองมาตรฐานสินค้าให้แสดงผลแบบ real time และลดขั้นตอนกระบวนงานตรวจและรับรองมาตรฐาน
3. งานตรวจเรือเพื่อออกใบสำคัญรับรองการตรวจเรือ                (กรมเจ้าท่า)          ? ปรับปรุงหรือแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยผลักดันการร่างกฎหมาย ข้อกำหนด หรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายโอนงานตรวจเรือลำเลียงที่ใช้งานในน่านน้ำประเทศไทยให้สามารถบังคับใช้
? เพิ่มประสิทธิภาพการพัฒนาระบบการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์รองรับการจ่ายค่าธรรมเนียม (e-Payment) และออกใบเสร็จ (e-Receipt)
? ขยายเวลาการให้บริการ (ไม่เว้นวันหยุดราชการ)
4. งานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน
ด้านท่องเที่ยวและบริการ (กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)          ? กำหนดมาตรการส่งเสริมในการพัฒนาและสร้างมาตรการในการจูงใจภาคเอกชน โดยกำหนดมาตรการให้เงินอุดหนุนค่าธรรมเนียมการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานฯ ของประชาชนในการเข้ารับการทดสอบจากภาคเอกชน
? เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบการกำกับ ติดตาม และควบคุมคุณภาพการทดสอบของศูนย์ทดสอบฯ เอกชนให้เป็นระบบดิจิทัล
5. งานขึ้นทะเบียนรายชื่อผู้ประกอบการและขอรับรองรายการสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย
(กรมบัญชีกลาง)           เพิ่มประสิทธิภาพในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลผู้ประกอบการในระบบการรับรองสินค้าที่ผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand: MIT) กับฐานข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และฐานข้อมูลมาตรฐานสินค้าอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างกรมบัญชีกลาง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การเชื่อมโยงการส่งต่อ/ตรวจสอบข้อมูลผู้ประกอบการที่ได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม/มาตรฐานสินค้าต่าง ๆ ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
6. งานรับรองหลักสูตรและสถานศึกษา (นวด/สปา)
(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)           เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาระบบการยื่นคำขอการส่งเอกสารและแจ้งผลให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์

กลุ่มที่ 2 : งานที่มีความท้าทายในการขับเคลื่อน (รวม 2 งาน)
รายชื่องาน          แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน
1. งานรับรองมาตรฐานฝีมือแรงงาน
ภาคอุตสาหกรรม
(กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน)          ? ปรับกฎหมายให้เอื้อกับการมอบเอกชนดำเนินการโดยกำหนดมาตรการส่งเสริม เช่น ทบทวนและกำหนดอัตราค่าทดสอบในแต่ละด้านให้เหมาะสม/สะท้อนต้นทุนของภาคเอกชนให้เงินอุดหนุนค่าธรรมเนียมการทดสอบฯ มาตรการลดหย่อนภาษี
? เพิ่มประสิทธิภาพพัฒนาแนวทางเพื่อยกระดับการประกันคุณภาพศูนย์ทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานภาคเอกชน
2. งานขออนุญาตประกอบกิจการ
สถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
(กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ)
          ? ผลักดันการปรับปรุงพระราชบัญญัติสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ พ.ศ. 2559 รองรับการมอบให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมตรวจประเมินสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
? ส่งเสริมการสร้างความรู้เรื่องเกณฑ์/มาตรฐานสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ
? เพิ่มประสิทธิภาพ โดยเชื่อมต่อข้อมูลสถานประกอบการฯ สาขาการดูแลผู้สูงอายุกับระบบ Biz Portal (เป็นระบบกลางในการขอเริ่มต้นการประกอบธุรกิจในประเทศไทย) และจัดทำข้อมูล (Big Data) ภาคบริการด้าน Wellness

                    ทั้งนี้ ก.พ.ร. มีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า ในการดำเนินงานจำเป็นต้องมีนโยบายที่ชัดเจน และต้องสร้างความเข้าใจกับส่วนราชการให้ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ที่จะได้รับจากการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นมาร่วมดำเนินการแทน  รวมทั้งกำหนดให้มีการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ไว้ในแผนการดำเนินงาน เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นการสร้างการเปลี่ยนแปลงในระบบราชการให้บรรลุได้อย่างเป็นรูปธรรม
                    2. นอกจากนี้ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนได้สมัครใจขอเข้าร่วมเป็นหน่วยงานนำร่องการถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทน (Sandbox) เพิ่มเติม ในงานเกี่ยวกับกิจการสถานศึกษา สถานฝึกอบรมหรือสถานที่แนะนำทางจิตให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นดำเนินการหรือร่วมดำเนินการแทนตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553
                    3. ในระยะต่อไป สำนักงาน ก.พ.ร. จะสรุปบทเรียนการดำเนินงานการนำร่องถ่ายโอนงานภาครัฐ (Sandbox) และศึกษากรณีศึกษาที่ดี (Best Practices) ของต่างประเทศ รวมทั้งจะจัดทำแนวทางการถ่ายโอนงานภาครัฐให้ภาคเอกชนหรือภาคส่วนอื่นร่วมดำเนินการหรือดำเนินการแทน เพื่อขยายผลการถ่ายโอนงานในส่วนราชการไปสู่การบรรลุเป้าหมายความสำเร็จในการปรับลดบทบาท ภารกิจภาครัฐที่ทำเท่าที่จำเป็น ใช้งบประมาณภาครัฐอย่างคุ้มค่าและประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก และทั่วถึงยิ่งขึ้นต่อไป
1 สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ศึกษาเรื่อง ?ทำไมการถ่ายโอนภารกิจภาครัฐในประเทศไทยจึงไม่ประสบความสำเร็จ (Why Outsourcing fails in Thailand ?) เพื่อวิเคราะห์และคัดเลือกงานที่เหมาะสมสำหรับนำไปทดลองนำร่อง (Sandbox) ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการให้บริการ โดยได้ข้อสรุปเบื้องต้นเกี่ยวกับปัญหาและปัจจัยสำคัญที่ทำให้การถ่ายโอนภารกิจภาครัฐในประเทศไทยไม่ประสบความสำเร็จ เช่น กฎหมาย กฎ ระเบียบซับช้อน ยุ่งยาก ไม่เอื้อต่อการถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชน การขาดมาตรการจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการ ส่วนราชการไม่ประสงค์ถ่ายโอนงานให้ภาคเอกชนและการลงทุนของภาคเอกชนไม่คุ้มค่า ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้การถ่ายโอนงานประสบความสำเร็จ เช่น การมีกฎหมายรองรับการดำเนินการของภาคเอกชน และการให้ความสำคัญหรือให้การสนับสนุนจากผู้บริหารภาครัฐ

21. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอดังนี้
                    1. รับทราบสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น
                    2. พิจารณามอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน การบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ และการประสานความร่วมมือเป็นเครือข่ายระหว่างส่วนราชการในระยะต่อไป ดังนี้
                              2.1 ด้านการให้บริการ
                                        (1) ขอให้ปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนตามมาตรฐานศูนย์ราชการสะดวก โดยเฉพาะการให้บริการผ่านระบบ Online หรือทางโทรศัพท์ที่สามารถให้ข้อมูลได้อย่างถูกต้องชัดเจน ไม่รอสายเป็นเวลานาน และผู้ให้บริการมีจิตบริการ
                                        (2) ขอให้ปรับปรุงและพัฒนาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ให้มีความรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ ด้วยช่องทางและสื่อที่มีความหลากหลายให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย
                                        (3) ขอให้ลดขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ไม่จำเป็นหรือเป็นปัญหาอุปสรรคต่อการให้บริการประชาชน ซึ่งอาจนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับภารกิจ โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประชาชนเป็นสำคัญ
                              2.2 ด้านโครงสร้าง/อัตรากำลัง
                                        ขอให้ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการจัดตั้งส่วนงานรับและบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ โดยกำหนดให้เป็นโครงสร้างขององค์กร มีกรอบอัตรากำลังที่ชัดเจน เพื่อให้ภารกิจการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์มีเจ้าภาพผู้รับผิดชอบ เกิดการรวมศูนย์ข้อมูล ง่ายต่อการประสานเร่งรัดติดตามเรื่องและเกิดความร่วมมือเป็นเครือข่ายในการแก้ไขปัญหา
                              2.3 ด้านการเฝ้าระวัง/เตือนภัย
                                        (1) ขอให้มีการจัดตั้งทีมตรวจสอบและตอบโต้ข่าวปลอมที่รวดเร็วและควรเป็นข้อมูลชุดเดียวกันจากผู้รับผิดชอบโดยตรง
                                        (2) ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรวางแนวทางในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเตือนภัย ระบบป้องกันภัยพิบัติที่มีความถูกต้องแม่นยำ รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการวางแผนรองรับภาวะวิกฤติหรือแผนเผชิญเหตุต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่น กรณีปัญหาน้ำท่วม ปัญหาไฟไหม้/ไฟป่า หรือปัญหาฝุ่นและหมอกควัน รวมถึงปัญหาสุขภาพอนามัยและโรคระบาดฉุกเฉิน
                              2.4 ด้านการเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์
                                        ขอความร่วมมือให้เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลการจัดการเรื่องร้องทุกข์ของ สปน. ในฐานะศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล เพื่อให้เกิดระบบฐานข้อมูลเรื่องร้องทุกข์เดียวกันในภาพรวมของประเทศ สอดคล้องกับการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนแบบเบ็ดเสร็จตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2564 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงช่องทางการรับเรื่องร้องทุกข์ได้อย่างสะดวก รับรู้ขั้นตอน ความคืบหน้า และรับทราบผลการดำเนินการได้อย่างรวดเร็วในจุดเดียว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สปน. ได้จัดทำสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนที่มีมาถึงนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 พร้อมผลการวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                              1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชนที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมจำนวน 101,691 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 95,024 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 93.44 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 6,667 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 6.56
                              1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
                                        (1) ส่วนราชการ ได้แก่ กระทรวงการคลัง 8,017 เรื่อง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 4,901 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 4,812 เรื่อง กระทรวงแรงงาน 4,655 เรื่อง และกระทรวงคมนาคม 1,258 เรื่อง
                                        (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ ธนาคารออมสิน 566 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 457 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 425 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 416 เรื่อง และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) 407 เรื่อง
                                        (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 7,301 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 1,403 เรื่อง จังหวัดสมุทรปราการ 1,216 เรื่อง จังหวัดปทุมธานี 1,044 เรื่อง และจังหวัดชลบุรี 939 เรื่อง
                    2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีเรื่องร้องทุกข์ 101,691 เรื่อง มากกว่าปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 2,100 เรื่อง (มีเรื่องราวร้องทุกข์ 99,591 เรื่อง)
                              2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
                                        (1) การรักษาพยาบาล เช่น มาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การเร่งจัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับประชาชนโดยเร็ว และการจัดสถานที่เพื่อรองรับผู้ป่วยติดเชื้ออย่างเพียงพอ (19,631 เรื่อง)
                                        (2) การเสนอข้อคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายและโครงการของรัฐ เช่น หลักเกณฑ์ คุณสมบัติ การลงทะเบียน และวิธีการจ่ายเงินในโครงการช่วยเหลือเยียวยาต่าง ๆ ของรัฐ และการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 (7,404 เรื่อง)
                                        (3) ค่าครองชีพ เช่น หลักเกณฑ์การรับเงินเยียวยาของโครงการเราชนะ และ             ?ม.33 เรารักกัน? และมาตรการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบางและผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (5,512 เรื่อง)
                                        (4) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น การแก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงจากสถานบันเทิง สถานประกอบการ ร้านอาหาร บ้านเรือน และวัยรุ่นมั่วสุมดื่มสุราและรวมกลุ่มแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังรบกวน (4,533 เรื่อง)
                                        (5) โทรศัพท์ เช่น การปรับปรุงระบบการให้บริการทางโทรศัพท์ของหน่วยงานที่รับผิดชอบ Line Official Account (?หมอพร้อม? กรมควบคุมโรค กรมสรรพากร ฯลฯ) และการปรับปรุงการให้บริการทางโทรศัพท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (3,567 เรื่อง)
                                        (6) ไฟฟ้า เช่น การแก้ไขปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้องและการขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า (3,488 เรื่อง)
                                        (7) การเมือง เช่น การชุมนุมทางการเมือง และการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ (2,785 เรื่อง)
                                        (8) น้ำประปา เช่น การแก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหลและไม่มีคุณภาพ และมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายค่าน้ำประปาสำหรับประชาชนทั่วไป เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 (2,714 เรื่อง)
                                        (9) บ่อนการพนัน เช่น การแจ้งเบาะแสการลักลอบเปิดบ่อนและเล่นการพนัน (2,447 เรื่อง)
                                        (10) ถนน เช่น การปรับปรุงซ่อมแซม/ก่อสร้างถนนและการปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต (1,864 เรื่อง)
                              2.3 รายงานสรุปการสอบถามข้อมูล แจ้งเหตุ ร้องขอความช่วยเหลือและเสนอข้อคิดเห็น ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563-30 กันยายน 2564) สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : เรื่อง
ลำดับที่          ประเภทเรื่อง          เรื่องร้องทุกข์          ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ          รอผล
การพิจารณา
1          การสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น          425,573          425,573          -
2          ขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ          33,585          31,910          1,675
รวมทั้งสิ้น          459,158          457,843          1,675
                              2.4 การแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายและการร้องเรียนซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านช่องทาง 1111 (ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม-30 กันยายน 2564) สรุปได้ดังนี้
หน่วย : เรื่อง
ลำดับที่          ประเด็นเรื่อง          แจ้งเบาะแส/
ร้องเรียน          ดำเนินการ
จนได้ข้อยุติ          รอผล
การพิจารณา
1          แจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกรณีบ่อนการพนัน          880          840          40
2          แจ้งเบาะแสการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548          569          385          184
3          แจ้งเบาะแสแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย          55          45          10
รวมทั้งสิ้น          1,504          1,270          234
                    3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์ ดังนี้
                              1) ประชาชนต้องการให้มีการแก้ไขปัญหาที่รวดเร็ว มีระยะเวลาที่ชัดเจน แต่การประสานติดตามเรื่องมีความล่าช้า หน่วยงานรับเรื่องให้ประชาชนรอสายนาน
                              2) เมื่อประสานส่งเรื่องไปให้หน่วยงานดำเนินการพบว่า ไม่มีการมอบหมายหรือจัดให้มีกลุ่มงานรับผิดชอบดำเนินการเรื่องร้องทุกข์เป็นการเฉพาะ ทำให้ขาดการรวมศูนย์ข้อมูลเรื่องร้องทุกข์ของหน่วยงาน การแก้ปัญหาจึงเกิดความล่าช้าและติดตามเรื่องได้ยาก
                              3) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องชัดเจนไปยังประชาชนมีความล่าช้า การจัดทำสื่อไม่มีความหลากหลาย หรือยังไม่สามารถครอบคลุมไปยังทุกกลุ่มเป้าหมาย
                              4) การตอบโต้ข่าวปลอม หน่วยงานควรมีทีมตรวจสอบข่าวและให้ข้อมูลที่ถูกต้องรวดเร็วแก่ประชาชน เพื่อลดการเผยแพร่ข่าวปลอมและสร้างความสับสนแก่ประชาชน
                              ทั้งนี้ เพื่อให้ภารกิจการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์มีเจ้าภาพผู้รับผิดชอบและเกิดการรวมศูนย์ข้อมูล จึงควรมีการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการทั้งด้านข้อมูลข่าวสาร การประชาสัมพันธ์/เผยแพร่ให้มีความรวดเร็ว มีการจัดทำและผลิตสื่อที่มีความหลากหลายและเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ข้อมูลที่หลากหลายให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการจัดตั้งทีมตรวจสอบและตอบโต้ข่าวปลอมที่รวดเร็ว

22. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
                    2. ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยก่อนวันที่ 16 มีนาคม 2565 เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และที่แก้ไขเพิ่มเติม จนกว่าผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายตามเกณฑ์การพิจารณาจำหน่ายผู้ป่วยของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
                    ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลใช้บังคับให้เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                    3. ให้กระทรวงการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) และดำเนินการค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ทั้งนี้ ในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน และกรณีค่าใช้จ่ายโดยไม่ปรากฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้าย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ให้ใช้บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2560 โดยอนุโลม
                    4. ให้กองทุนของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
                    5. ให้สถานพยาบาลซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ สภากาชาดไทย ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID - 19))
                    สาระสำคัญ
                    1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 กำหนดบทนิยามในหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ดังต่อไปนี้
                                        (1) คำว่า ?ค่าใช้จ่าย? หมายความว่า ค่าใช้จ่ายจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการการรักษาพยาบาล หรือการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ที่ปรากฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                                        (2) คำว่า ?ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต? หมายความว่า ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามกฎหมายว่าด้วยการแพทย์ฉุกเฉิน เฉพาะกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))
                                        (3) คำว่า ?สถานพยาบาล? หมายความว่า สถานพยาบาลประเภทที่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
                              1.2 กำหนดให้สถานพยาบาลต้องจัดให้มีการรักษาพยาบาลโดยฉุกเฉินเพื่อให้พ้นจากอันตรายตามมาตรฐานวิชาชีพและขีดความสามารถของสถานพยาบาลโดยไม่มีเงื่อนไขในการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการดูแลรักษา และให้สถานพยาบาลแจ้งต่อกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐทราบโดยเร็ว
                              1.3 กำหนดให้กรณีที่มีปัญหาการวินิจฉัยในการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้ปรึกษาศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติได้ตลอดเวลายี่สิบสี่ชั่วโมง เพื่อดำเนินการวินิจฉัยโดยคำวินิจฉัยของศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยวิกฤตฉุกเฉิน ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติให้ถือเป็นที่สุด
                                        แนวทางการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต และแบบแจ้งผลการคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตให้เป็นไปตามที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติกำหนด
                              1.4 กำหนดให้สถานพยาบาลต้องให้การดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
                              1.5 กำหนดให้กรณีมีความจำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปรับการรักษายังสถานพยาบาลอื่น สถานพยาบาลต้องจัดการให้มีการส่งต่อตามความเหมาะสม ตามมาตรฐานวิชาชีพ ตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องและตามมาตรฐานการส่งต่อผู้ป่วยตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนด โดยให้ส่งต่อได้เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
                                        (1) สถานพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปรักษาตัวในเครือข่ายสถานพยาบาลที่จัดไว้สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
                                        (2) สถานพยาบาลมีศักยภาพไม่เพียงพอในการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต
                                        (3) ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือญาติมีความประสงค์จะไปรับการรักษาพยาบาลที่สถานพยาบาลอื่น
                              1.6 กำหนดให้สถานพยาบาลจะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานับตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด หรือส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปยังสถานพยาบาลอื่นในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                                        กรณีสถานพยาบาลส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตไปรับการดูแลรักษายังสถานพยาบาลอื่นตามข้อ 5 (1) หากผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือญาติปฏิเสธไม่ขอให้ส่งต่อ หรือกรณีผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตหรือญาติประสงค์จะไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลอื่นตามข้อ 5 (3) ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเอง
                              1.7 กำหนดให้สถานพยาบาลเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นไปที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตามแนวทางการเรียกเก็บที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนด
                              1.8 กำหนดให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตรวจสอบความถูกต้อง สรุปค่าใช้จ่ายและแจ้งให้กองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทราบภายในสามสิบวัน นับตั้งแต่เวลาที่ได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว
                              1.9 กำหนดให้กองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ จ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้แก่สถานพยาบาลภายในสิบห้าวัน นับจากวันที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแจ้งกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ
                              1.10 กำหนดให้ในกรณีที่มีการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจากสถานพยาบาลแห่งที่หนึ่งไปยังสถานพยาบาลที่รับส่งต่อสถานพยาบาลนั้น จะได้รับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาตั้งแต่รับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตตามแนวทางที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ในอัตราตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                              1.11 กำหนดให้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป
                              1.12 กำหนดหมายเหตุท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ดังต่อไปนี้
                                        (1) ในกรณีที่ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตมีสิทธิได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต กฎหมายว่าด้วยประกันวินาศภัย ให้ใช้สิทธิดังกล่าวก่อน
                                        (2) กรณีค่าใช้จ่ายใดไม่ปราฏตามบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ให้ใช้บัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวัน 28 มีนาคม 2560 โดยอนุโลม
                    2. การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                    ในขั้นตอนต่อไป สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะกำหนดแนวทางและเกณฑ์การประเมินคัดแยกระดับความฉุกเฉิน (PA) Emergency Pre-Authorization ของผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัยและคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต (กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19)
                    ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 รายละเอียด ดังนี้
                              2.1 ประชุมหารือการจัดการ HI/CI ร่วมกับกรุงเทพมหานคร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และภาคประชาสังคม
                              2.2 ประชุมการชี้แจงสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) สำหรับโรงพยาบาลเอกชน
                              2.3 ปิดรับสมัครงานตำแหน่ง พนักงานให้บริการ Contact Center เฉพาะกิจ COVID-19 (สายด่วน สปสช. 1330)
                              2.4 แจ้งขอถอนเรื่องและส่งคืนประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) และประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) การระดมทรัพยากรและมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือเยียวยาและการจัดให้มีการส่งต่อผู้ปวยไปยังสถานพยาบาลอื่น จำนวน 2 ฉบับ ที่ส่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา

23. เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2559 ออกไปจนถึงสิ้นปี 2572
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระชำระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้าง และค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (โครงการฯ) สายเฉลิมรัชมงคล ต่อไป ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2572 ทั้งนี้ หากประมาณการรายได้แตกต่างไปจากที่คาดการณ์ไว้มาก ทั้งกรณีสูงและต่ำกว่าประมาณการ คค. จะพิจารณานำเสนอการรับภาระหนี้ของรัฐบาลให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามความเหมาะสม
                    2. ให้สำนักงบประมาณ (สงป.) พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้แก่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เป็นรายปี จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2572
                    ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2538 เห็นชอบให้รัฐบาลรับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ค่าออกแบบ ค่าก่อสร้างและค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการรถไฟฟ้ามหานคร (โครงการฯ) สายเฉลิมรัชมงคล ในระยะเวลา 10 ปีแรก และหลังจากโครงการแล้วเสร็จเปิดใช้บริการ หากปรากฏว่า ฐานะทางการเงินของโครงการดังกล่าวดีขึ้น เห็นควรให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) รับภาระทยอยจ่ายคืนเงินต้นและดอกเบี้ยของเงินกู้ดังกล่าวต่อไป ซึ่งที่ผ่านมา รฟม. ได้มีการขออนุมัติขยายระยะเวลาชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าวออกไปแล้ว 4 ครั้ง โดยรัฐบาลรับภาระทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ โดยในครั้งนี้ รฟม. ขออนุมัติขยายระยะเวลาให้รัฐบาลรับภาระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเงินกู้ต่อตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จนถึงปีงบประมาณ พ.ศ. 2572 เนื่องจากตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จนสิ้นสุดสัญญาสัมปทานใน พ.ศ. 2572 จากการประมาณการรายได้ที่ รฟม. ได้รับจากสัญญาสัมปทานเดินรถโครงการฯ สายเฉลิมรัชมงคลจากบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BEM) และรายได้ที่ รฟม. ดำเนินการเองในส่วนของการพัฒนาเชิงพาณิชย์ในธุรกิจเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้ายังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ รฟม. และการชำระคืนภาระหนี้ที่ รฟม. ได้กู้มาดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ซึ่งมีการทยอยจ่ายคืนชำระหนี้เป็นรายปี ประกอบกับ รฟม. ต้องนำรายได้ของโครงการฯ สายเฉลิมรัชมงคลไปใช้จ่ายในโครงการรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ที่ รฟม. รับผิดชอบด้วย

24. เรื่อง การขอรับการจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค (งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 395.15 ล้านบาท ตามนัยพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มาตรา 16 ทั้งนี้ เพื่อให้ สปน. นำไปจัดทำคำของบประมาณเพื่อจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของ สปน. ต่อไป

                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภค งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวนทั้งสิ้น 395.15 ล้านบาท สำหรับ 5 แผนงาน ประกอบด้วย 1. แผนสนับสนุนและดำเนินการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 2. แผนพัฒนานโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค 3. แผนสนับสนุนหน่วยงานประจำจังหวัดและองค์กรผู้บริโภค มาตรา 12 (4) 4. แผนสื่อสารเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มาตรา 14 (2) และ (8) 5. แผนบริหารจัดการสำนักงานและพัฒนาศักยภาพสภาองค์กรของผู้บริโภค มาตรา 12 (4) ตามนัยพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มาตรา 16 เพื่อให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีนำไปจัดทำคำของบประมาณเพื่อจัดสรรเงินอุดหนุนเป็นรายปีเป็นการจ่ายขาดให้แก่สภาองค์กรของผู้บริโภคในคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีต่อไป

ต่างประเทศ

25. เรื่อง ขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation)
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation) (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงาน (รง.) ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงแรงงานได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาร่วมของการประชุมระดับรัฐมนตรี Abu Dhabi Dialogue (ADD) ครั้งที่ 6 (The Joint Declaration of the Abu Dhabi Dialogue Sixth Consultation) (ร่างปฏิญญาร่วมฯ) ซึ่งสำนักเลขาธิการ ADD ได้นำเสนอระหว่างการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 25 - 29 ตุลาคม 2564 ณ นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผ่านระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ (โปรแกรม Zoom) ซึ่งการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD เป็นการประชุมหารือระหว่างประเทศสมาชิกกระบวนการโคลัมโบ (ประเทศผู้ส่งแรงงาน) 12 ประเทศ กับกลุ่มประเทศรอบอ่าวอาหรับ (ประเทศผู้รับแรงงาน) รวม 7 ประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลพัฒนาขีดความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการ รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของแรงงาน ณ ประเทศปลายทาง เพื่อให้การเคลื่อนย้ายแรงงานที่ไปทำงานตามสัญญาจ้างชั่วคราวเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประเทศต้นทางที่ส่งออกและประเทศปลายทางที่รับแรงงาน โดยภายหลังจากการประชุมระดับรัฐมนตรี ADD ครั้งที่ 6 เสร็จสิ้น สำนักงานเลขาธิการ ADD ได้นำส่งร่างปฏิญญาร่วมฯ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เพื่อขอให้ประเทศสมาชิก ADD พิจารณาให้ความเห็นเพิ่มเติมและรับรองร่างปฏิญญาร่วมฯ ก่อนนำไปใช้ปฏิบัติเป็นแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศต้นทางผู้ส่งแรงงานและประเทศปลายทางผู้รับแรงงานต่อไป (ไม่มีการลงนามและไม่ได้กำหนดเวลาในการรับรอง) โดยร่างปฏิญญาร่วมฯ                         มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นความร่วมมือที่ ADD จะให้ความสำคัญต่อไปในอนาคต สรุปได้ ดังนี้
          1. ความร่วมมือที่สำคัญ ได้แก่ (1) การพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว (2) การอำนวยความสะดวกและยกระดับการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานและการเทียบคุณวุฒิแรงงานระหว่างประเทศผู้รับและประเทศผู้ส่งแรงงาน เพื่อตอบสนองต่อภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน (3) การแก้ไขปัญหาข้อท้าทายที่เกิดจากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) (โรคโควิด 19) (4) การบูรณาการเพศภาวะในนโยบายด้านการส่งเสริมการจ้างงาน และ (5) การส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาค ระหว่างภูมิภาค และระหว่างประเทศ
          2. การแสดงความชื่นชม/ยินดี (1) ความสำเร็จในการเป็นประธาน ADD ของรัฐบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตลอดระยะเวลา 2 ปีที่ผ่านมารวมถึงการบริหารจัดการอย่างดียิ่งในการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี (2) ยินดีต้อนรับและขอบคุณรัฐบาลปากีสถานที่เข้ารับตำแหน่งประธาน ADD วาระถัดไปเป็นเวลา 2 ปี                       (3) ความสำเร็จของประเทศสมาชิกที่พยายามลดผลกระทบจากโรคโควิด 19 ที่มีต่อแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว ผ่านการให้ความช่วยเหลือเชิงสังคมและเศรษฐกิจ การมีโครงการให้เข้าถึงสวัสดิการด้านสุขภาพและวัคซีนป้องกันโรคโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และการให้ความช่วยเหลือด้านการย้ายคืนถิ่นและการบูรณาการกลับสู่สังคม
          3. ความตระหนัก/เน้นย้ำ/รำลึก (1) บทบาทที่สำคัญของสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาที่ได้มีการศึกษาและให้คำจำกัดความเพิ่มเติมในหัวข้อและประเด็นสำคัญของผลลัพธ์จากการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (2) บทบาทที่สำคัญของนักวิจัยและผู้ช่วยวิจัย ในการพิจารณาและจัดทำร่างงานวิจัยรายสาขารวมถึงอำนวยความสะดวกในการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้อง (3) บทบาทที่สำคัญของผู้แทนจากประเทศผู้สังเกตุการณ์ หน่วยงานในเครือรัฐบาล สหภาพระหว่างประเทศ ประชาสังคมระหว่างรัฐบาล หน่วยงานความร่วมมือระดับภูมิภาคที่นำโดยรัฐ องค์กรบริหารจัดการส่วนท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน เยาวชน ตลอดจนองค์การระหว่างประเทศ ที่มีส่วนร่วมในการประชุมระดับรัฐมนตรีในครั้งนี้ (4) บทบาทที่สำคัญของหน้าที่ของความร่วมมือ ADD ในการพัฒนาผลลัพธ์ชั่วคราวของนโยบายการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาค และการสร้างผลกระทบทางบวกในเชิงเศรษฐกิจให้กับแรงงาน และครอบครัวของแรงงาน (5) การนำความริเริ่มร่วมกันใด ๆ ที่ผ่านการรับรองโดยเอกฉันท์แล้วไปปฏิบัตินั้น ให้อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจ และการตัดสินใจใด ๆ จะกระทำโดยเคารพอำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิก  (6) คุณค่าที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือ ADD ในการเป็นเวทีเจรจาประเด็นผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างประเทศต้นทางผู้ส่งแรงงานและประเทศปลายทางผู้รับแรงงาน อีกทั้ง อำนวยความสะดวกเพื่อให้เกิดการเจรจาระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมการแบ่งปันความรู้และแนวการปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน
          4. ข้อเสนอแนะ
                    1) เห็นควรให้มีการศึกษาและการประเมินผลการดำเนินงานตามความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้ (1) การพัฒนาการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของแรงงานที่มีสัญญาจ้างชั่วคราว (2) การอำนวยความสะดวกและยกระดับการเคลื่อนย้ายฝีมือแรงงานและการเทียบคุณวุฒิแรงงานระหว่างประเทศผู้รับและประเทศผู้ส่งแรงงาน เพื่อตอบสนองต่อภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปของงาน (3) การแก้ไขปัญหาข้อท้าทายที่เกิดจากการระบาดของโรคโควิด 19 (4) การบูรณาการเพศภาวะในนโยบายด้านการส่งเสริมการจ้างงาน (5) การส่งเสริมความร่วมมือภายในภูมิภาค ระหว่างภูมิภาค และระหว่างประเทศ
                    2) ขอให้คณะกรรมการที่ปรึกษาเข้ามาให้ความช่วยเหลือเพื่อสร้างความเข้าใจในข้อเสนอแนะเหล่านี้
                    3) การแบ่งปันข้อมูล หลักฐาน แนวปฏิบัติที่ดี นวัตกรรม และข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการนำข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานที่ปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติไปปฏิบัติ

26. เรื่อง การเข้าร่วมเป็นภาคีของไทยในสถาบันวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Institute:IVI)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสถาบันวัคซีนนานาชาติ (International Vaccine Institute: IVI) อย่างสมบูรณ์ และอนุมัติให้ประเทศไทยสนับสนุนงบประมาณแก่ IVI ปีละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ โดยใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินอุดหนุนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) จัดทำสัตยาบันสาร (Instrument of Ratification) เพื่อการเข้าร่วมเป็นภาคี IVI อย่างสมบูรณ์ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. IVI จัดตั้งขึ้นโดยข้อริเริ่มของสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความมั่นคงในการเข้าถึงวัคซีนที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย การวิจัย พัฒนา และปรับปรุงวัคซีนชนิดใหม่ รวมถึงการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศกำลังพัฒนาในด้านการพัฒนา การผลิต และการนำเข้าวัคซีน ซึ่งเรื่องนี้เป็นการเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการเข้าเป็นภาคีสถาบันวัคซีนนานาชาติของประเทศไทยโดยสมบูรณ์ ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามในข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งสถาบันวัคซีนนานาชาติ เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2539 แต่ยังมิได้ให้สัตยาบันจึงยังไม่ได้เป็นภาคีโดยสมบูรณ์ ซึ่งการเข้าเป็นภาคีดังกล่าวจะส่งผลให้ประเทศไทยได้รับโอกาสในการพัฒนาและขยายความร่วมมือด้านวัคซีนทั้งในและนอกประเทศเป็นการส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนของไทย รวมถึงเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระดับทวิภาคีกับสาธารณรัฐเกาหลีอีกด้วย โดยเมื่อประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีสถาบันวัคซีนนานาชาติแล้ว จะต้องสนับสนุนงบประมาณให้แก่สถาบันวัคซีนนานาชาติปีละ 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3,250,000 บาท ตามอัตราแลกเปลี่ยน ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565) โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี หมวดเงินอุดหนุนของกระทรวงสาธารณสุข เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้เมื่อคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้จัดทำสัตยาบันสารเพื่อเข้าร่วมเป็นภาคีต่อไป
          2. การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคี IVI อย่างสมบูรณ์จะช่วยเสริมสร้างโอกาสในการศึกษา พัฒนาความรู้และศักยภาพในด้านการวิจัยและพัฒนาวัคซีนทั้งภายในและภายนอกประเทศจากโครงการความร่วมมือต่าง ๆ เช่น โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนสำหรับการทดลองในมนุษย์ โครงการทดลองในห้องปฏิบัติการ ศูนย์เฝ้าระวังโรครวมถึงได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านวัคซีน การพัฒนาบุคลากรด้านวัคซีนผ่านการศึกษาระบบการทำงานและการบริหารจัดการภายใต้ IVI และการฝึกอบรมในโครงการระยะสั้น ซึ่งจะเป็นการสร้างเครือข่ายด้านวัคซีน รวมถึงยกระดับความสัมพันธ์กับ IVI ประเทศสมาชิกให้มากขึ้น โดยที่ IVI มีความร่วมมือกับหลายองค์กรในการพัฒนาวัคซีนและ               แนวทางการรักษาโรค จึงสอดคล้องกับนโยบายวัคซีนแห่งชาติของประเทศไทยซึ่งสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่หลากหลายในด้านการวิจัย พัฒนาและผลิตวัคซีน เพื่อพัฒนาศักยภาพด้านวัคซีนของประเทศไทย         มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ของโลก

แต่งตั้ง

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งนายพุ่งพงษ์ สุวรรณเลิศ ผู้อำนวยการสถาบัน (ผู้อำนวยการระดับสูง) สถาบันการข่าวกรอง สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายสมัย ลี้สกุล และ นายนิรุตติ สุทธินนท์ เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง

29. เรื่อง การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอให้คณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร มีจำนวนเกินสิบเอ็ดคนแต่ไม่เกินสิบห้าคน ตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการ ธ.ก.ส. ดังนี้
                     1. นายทองเปลว กองจันทร์            รองประธานกรรมการ
                     2. นายจำเริญ โพธิยอด                     กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)
                    3. นางภัทรพร วรทรัพย์                      กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงการคลัง)
                    4. นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง            กรรมการ (ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    5. นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์                       กรรมการ (ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์)
                    6. นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข             กรรมการ (ผู้แทนสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม)
                    7. นายอัมพร แสงมณี                     กรรมการ (ผู้แทนธนาคารแห่งประเทศไทย)
                    8. นายสุนทร ตาละลักษณ์           กรรมการ (ผู้แทนสหกรณ์การเกษตรผู้ถือหุ้น)
                     9. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล           กรรมการ
                    10. นายวิจารย์ สิมาฉายา           กรรมการ
                    11. นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์           กรรมการ
                    12. นายจรูญเดช เจนจรัสสกุล            กรรมการ
                    13. นายธนาวัฒน์ สังข์ทอง          กรรมการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปานครหลวง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้แทนกระทรวงการคลัง (บุคคลในบัญชีรายชื่อ) เป็นกรรมการอื่นในคณะกรรมการการประปานครหลวงแทนนายจำเริญ โพธิยอด ที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก

31. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายพิศิษฐ์              ศรีประเสริฐ เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว แทนประธานกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ