สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 26 เมษายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday April 26, 2022 17:18 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (26 เมษายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                      เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
                    1.           เรื่อง          ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. ?.
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัล                                                       เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์เสียง วีดิทัศน์บริภัณฑ์                                        เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการ                                        บริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)]
                    6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุน

การนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้าน COVID-19 สำหรับบริจาค

เป็นสาธารณกุศล)

                    7.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาค

ด้านสาธารณสุข)

                    8.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา
                                        ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  พิบูลสงคราม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    10.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้น                                                  รัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่าย                                        ค่าซื้อชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits)]

เศรษฐกิจ สังคม

                    11.           เรื่อง           ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟ

แห่งประเทศไทย

                    12.           เรื่อง           รายงานประจำปี 2564 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
                    13.           เรื่อง           การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ

ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

ต่างประเทศ

                    14.            เรื่อง           สารบาหลี (Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
                    15.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC)                                         ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    16.           เรื่อง           การจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักร                                                  ไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ระหว่างปี 2565 ? 2569

แต่งตั้ง

                    17.           เรื่อง           ขอเพิ่มเติมองค์ประกอบในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี
                    18.           เรื่อง           แต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงานและรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการ                                                  ประจำ)
                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์

แห่งชาติ

                    20.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                    21.           เรื่อง           แต่งตั้งผู้ว่าการการประปานครหลวง
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
                    23.           เรื่อง           แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหาร                                                  กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                    24.           เรื่อง           การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนัก                                        นายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ

และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนัก

นายกรัฐมนตรี

                    25.           เรื่อง           การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี


สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396























กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  (ดศ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ดศ. เสนอว่า โดยที่กฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่นตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด พ.ศ. 2549 มีผลใช้บังคับมาเป็นระยะเวลานานแล้ว บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) ไม่ได้ขอปรับอัตราราคาค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศ ในขณะที่ต้นทุนเพิ่มขึ้นตามอัตราเงินเฟ้อ และจากผลการศึกษาโครงการปรับปรุงอัตราค่าบริการไปรษณียากรของจดหมายและไปรษณียบัตรในประเทศของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เมื่ออิงกับดัชนีราคาผู้บริโภค และอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจากข้อมูลธนาคารแห่งประเทศไทย ที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ณ ปัจจุบันปรับสูงขึ้นร้อยละ 38.46 จากปี 2547 พบว่าในปี 2562 อัตราค่าบริการจดหมายในประเทศที่ควรจะเป็นคือ 4.13 บาทต่อฉบับ ในขณะที่ ปณท ได้พยายามบริหารจัดการต้นทุนให้อยู่ในกรอบอัตราเงินเฟ้อมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถบริการไปรษณีย์พื้นฐานในประเทศโดยทั่วถึงแก่ประชาชนในอัตราเริ่มต้นที่ 3 บาท มีผลให้ ปณท มีภาระเชิงสังคมต้นทุนของบริการพื้นฐานในประเทศเพิ่มสูงขึ้น จากข้อมูลปี 2554 ? 2563 เป็นจำนวนสูงถึง 18,380 ล้านบาท (เฉลี่ยปีละ 1,838 ล้านบาทและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยในปี 2563 มีภาระการให้บริการเชิงสังคม 3,072 ล้านบาท) ประกอบกับ ปณท ต้องปรับมาตรฐานการฝากส่งให้เป็นไปตามสหภาพสากลไปรษณีย์ (The Universal Postal Union : UPU) จากมาตรฐานการฝากส่งรูปแบบเดียว เป็นมาตรฐานการฝากส่ง 2 รูปแบบ คือ ประเภทหีบห่อ (กล่อง) และประเภทซอง
                     ดศ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ปณท ได้ใช้อัตราค่าบริการไปรษณีย์พื้นฐานเดิมมาเป็นเวลานาน กิจการไปรษณีย์ในปัจจุบันมีแนวโน้มประสบปัญหาขาดทุน เห็นควรปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ประชาชนเดือดร้อน ดศ. จึงได้ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. ?. ขึ้น ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    การปรับอัตราไปรษณียากร จะทำให้กิจการไปรษณีย์ของ ปณท มีเงินทุนหมุนเวียนเพียงพอสำหรับการให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชนทั่วไปได้ เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาบริการได้บรรลุเป้าหมาย รวมทั้งเป็นการลดต้นทุนในการดำเนินกิจการของผู้ใช้บริการและเป็นการส่งเสริมให้มีการใช้บริการไปรษณีย์ อันช่วยยกระดับมาตรฐานให้อยู่ระดับสากลตามมาตรฐานของ UPU อีกทั้งในระยะยาวภาครัฐสามารถนำเงินมาพัฒนาบริการการส่งไปรษณียภัณฑ์รูปแบบดั้งเดิมเป็นดิจิทัลด้วยการเป็นผู้ให้บริการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์แบบครบวงจร (Total Document Handling : TDH) เพิ่มขีดความสามารถในการให้บริการด้วยการพัฒนาระบบงานเพื่อให้บริการ Data Address Cleansing Tool (DAC) บริการไปรษณีย์ตอบรับในประเทศทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Acknowledgement of Receipt : eAR) รวมทั้งพัฒนาระบบบริหารจัดการฐานข้อมูล เพื่อให้ ปณท สามารถเป็น THP Digital Centre รองรับความต้องการใช้งานข้อมูลในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากขึ้น
                    นอกจากนี้ ปณท ยืนยันว่า การปรับอัตราไปรษณียากรในระยะ 3 ปีแรก จะไม่ส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนแต่ประการใด เนื่องจากเป็นการปรับอัตราไปรษณียากรเฉพาะบริการประเภทจดหมายซึ่งภาคประชาชนส่วนใหญ่มาใช้บริการฝากส่งอยู่ในช่วงพิกัดน้ำหนัก 0 ? 10 กรัม ซึ่งมีอัตราไปรษณียากร 3 บาท (เท่าเดิม) และแม้ว่าจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจสำหรับกลุ่มการเงิน กลุ่ม e-Commerce และกลุ่มขนส่งและสื่อสารก็ตาม แต่เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญจนอาจเกิดการผลักภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปยังผู้ใช้บริการแต่อย่างใด
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่นตามพระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 พ.ศ. 2547 และกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด พ.ศ. 2549 และปรับปรุงใหม่เป็น ?ร่างกฎกระทรวงกำหนดอัตราไปรษณียากรและค่าธรรมเนียมอื่น พ.ศ. ?.? โดยปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ดังนี้
                     1. จดหมาย จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) จดหมาย ประเภทซอง และ 2) จดหมาย ประเภทหีบห่อ (กำหนดเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับ UPU) โดยมีอัตราค่าบริการให้แยกประเภทซอง/หีบห่อ เป็น 2 ระยะ
                               1.1 ระยะแรก (พ.ศ. 2565 ? 2567)
                                         (1) จดหมาย ประเภทซอง ยังคงอัตราค่าบริการพิกัดน้ำหนักแรกไว้ที่ 3 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 10 กรัม
                                         (2) จดหมาย ประเภทหีบห่อ มีอัตราค่าบริการในพิกัดน้ำหนักแรก 30 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 55 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม
                               1.2 ระยะที่สอง ตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
                                         (1) จดหมายประเภทซอง จะปรับอัตโนมัติโดยมีอัตราค่าบริการในพิกัดน้ำหนักแรก 4 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 10 กรัม และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 62 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม
                                         (2) จดหมายประเภทหีบห่อ จะปรับอัตโนมัติโดยมีอัตราค่าบริการในพิกัดน้ำหนักแรก 34 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักไม่เกิน 500 กรัม และมีอัตราค่าบริการสูงสุด 62 บาท สำหรับพิกัดน้ำหนักเกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม
                     2. ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ และพัสดุไปรษณีย์ ไม่เปลี่ยนแปลงอัตราค่าบริการในระยะแรก (พ.ศ. 2565 ? 2567) เป็นระยะเวลา 3 ปี และระยะที่สองจะปรับอัตโนมัติตั้งแต่ปี 2568 เป็นต้นไป
                     3. กำหนดอัตราไปรษณียากรพิเศษสำหรับไปรษณียภัณฑ์ภายในประเทศที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด โดยมีส่วนลดสูงสุดไม่เกินร้อยละ 44 จากอัตราที่ขอปรับขึ้นใหม่ โดยกำหนดเงื่อนไขในการใช้บริการ เช่น ฝากส่งเป็นประจำต่อเนื่อง ฝากส่งต่อเดือนตั้งแต่ 500,000 ฉบับต่อเดือนขึ้นไป มีการคัดแยกเพื่ออำนวยความสะดวกในการส่งต่อในระบบงานไปรษณีย์ ฝากส่งและนำจ่ายในเขตพื้นที่เดียวกัน เป็นต้น
รายละเอียดดังนี้
                    ปรับอัตราไปรษณียากรสำหรับบริการไปรษณียภัณฑ์ในประเทศใหม่ ดังนี้
                     1) อัตราไปรษณียากรสำหรับจดหมาย ประเภทซอง จดหมาย ประเภทหีบห่อ ไปรษณียบัตร ของตีพิมพ์ เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ และพัสดุไปรษณีย์



ประเภท


พิกัดน้ำหนัก          อัตราปัจจุบัน    (กฎกระทรวงฯ ปี 47)
(บาท/ฉบับ)          อัตราที่ปรับใหม่
                              พ.ศ. 2565 ? 2567 อัตรา
(บาท/ฉบับ)          อัตราร้อยละ
(%)          พ.ศ. 2568 เป็นต้นไป อัตรา
(บาท/ฉบับ)          อัตราร้อยละ (%)
จดหมายประเภทซอง           ไม่เกิน 10 กรัม

เกิน 10 กรัม แต่ไม่เกิน 20 กรัม

เกิน 20 กรัม แต่ไม่เกิน 100 กรัม
เกิน 100 กรัม แต่ไม่เกิน 250 กรัม
เกิน 250 กรัม แต่ไม่เกิน 500 กรัม
เกิน 500 กรัม แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม
เกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม          ไม่เกิน 20 กรัมมีอัตรา 3 บาท
ไม่เกิน 20 กรัมมีอัตรา 3 บาท
5
9
15
25

45
                                               3

5

10
15
20
35

55          -

67.00

100
67.00
33.00
40.00

22.00          4

6

11
17
23
40

62          33.33

20.00

10.00
13.33
15.00
14.29

12.73
จดหมาย
ประเภทหีบห่อ           ไม่เกิน 500 กรัม
เกิน 500 กรัม แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม
เกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม           -          30
40

55                    34
45

62          13.33
12.50

12.73
ไปรษณีย บัตร          -          2          คงเดิม                    3
ของตีพิมพ์           ไม่เกิน 50 กรัม
เกิน 50 กรัม แต่ไม่เกิน 100 กรัม
เกิน 100 กรัม แต่ไม่เกิน 250 กรัม
เกิน 250 กรัม แต่ไม่เกิน 500 กรัม
เกิน 500 กรัม แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม
เกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม
ส่วนที่เกิน 2,000 กรัม คิด 1,000 กรัมละ (เศษของ 1,000 กรัม ให้นับเป็น 1,000 กรัม)           3
4
6
8
13

25

12          คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม

คงเดิม

คงเดิม                    4
5
8
11
17

33

16          33.33
25.00
33.33
37.50
30.77

32.00

33.33
เครื่องอ่านสำหรับคนเสียจักษุ           ไม่เกิน 7,000 กรัม           ไม่ต้องชำระ          ไม่ต้องชำระ                    ไม่ต้องชำระ
พัสดุไปรษณีย์           ไม่เกิน 1,000 กรัม
ส่วนที่เกิน 1,000 กรัม คิด 1,000 กรัมละ
(เศษของ 1,000 กรัม ให้นับ 1,000 กรัม)           20
15          คงเดิม                    25
20          25.00
33.33
                     2) อัตราไปรษณียากรต่ำกว่าอัตราไปรษณียากรทั่วไป สำหรับ (1) ลูกค้าฝากส่งอย่างเป็นประจำต่อเนื่อง (2) เป็นจดหมาย ประเภทซอง ที่มีปริมาณงานฝากส่งต่อเดือนตั้งแต่ 500,000 ฉบับขึ้นไป (3) มีการดำเนินการคัดแยกตามรหัสไปรษณีย์ หรือดำเนินการอื่นใดเพื่ออำนวยความสะดวก ในการคัดแยกและส่งต่อในระบบงานไปรษณีย์ (4) ฝากส่ง ณ ศูนย์รับฝากไปรษณีย์จำนวนมาก หรือที่ทำการไปรษณีย์รับจ่ายเท่านั้น (5) ฝากส่งและนำจ่ายในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล หรือฝากส่งและนำจ่ายในพื้นที่จังหวัดเดียวกันสำหรับภูมิภาค และ (6) ฝากส่งภายในเวลา 15.00 น. ของวันจันทร์ - ศุกร์ หรือภายใน 10.00 น. ของวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการประจำปี



ประเภท

พิกัดน้ำหนัก

อัตราปัจจุบัน
(กฎกระทรวงฯ ปี 49)          อัตราส่วนลดจากอัตราไปรษณียากรทั่วไป (ปรับใหม่)
                              พ.ศ. 2565 ? 2567
ไม่เกิน
(บาท/ฉบับ)          พ.ศ. 2568    เป็นต้นไป
ไม่เกิน (บาท/ฉบับ)
จดหมายประเภทซอง           ไม่เกิน 20 กรัม
เกิน 20 กรัม แต่ไม่เกิน 100 กรัม
เกิน 100 กรัม แต่ไม่เกิน 250 กรัม
เกิน 250 กรัม แต่ไม่เกิน 500 กรัม
เกิน 500 กรัม แต่ไม่เกิน 1,000 กรัม
เกิน 1,000 กรัม แต่ไม่เกิน 2,000 กรัม          จดหมายและของตีพิมพ์ที่ได้รับส่วนลดสำหรับผู้ใช้บริการที่มีปริมาณการฝากส่งจดหมายหรือของตีพิมพ์อื่น จำนวน 1,000,000 ฉบับขึ้นไป เงื่อนไขการชำระเงินสด/เงินเชื่อ โดยมีอัตราต่อฉบับขึ้นอยู่กับจำนวนฉบับกับพิกัดน้ำหนักต่อฉบับ           2.20
1.50
1.50

1.50

5.00

20.00          2.50
2.25
3.75

4.25

9.75

26.75

                     3) อัตราค่าธรรมเนียมสำหรับบริการการเงินในประเทศให้กำหนด ดังนี้
ประเภท          วงเงิน          อัตราปัจจุบัน
(กฎกระทรวงฯ ปี 47)
(บาท)          อัตราตามร่างฯ ที่เสนอ
                              พ.ศ. 2565 ? 2567 อัตรา (บาท)          พ.ศ. 2568    เป็นต้นไป
อัตรา (บาท)
ธนาณัติในประเทศ           1,000 บาทแรก
ส่วนที่เกิน 1,000 บาท คิด 1,000 บาทละ (เศษของ 1,000 บาท ให้นับเป็น 1,000 บาท)           10
2          คงเดิม
คงเดิม          คงเดิม
คงเดิม

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?.
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                     2. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ
                    ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                    1. ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ พ.ศ. 2559 โดยประกอบด้วย (1) สำนักงานราชวิทยาลัย (2) สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ (3) สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และ                      (4) วิทยาลัยวิทยาศาสตร์การแพทย์เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ เพื่อให้เป็นสถาบันการวิจัยและวิชาการ การจัดการศึกษาชั้นสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม การแพทย์และการสาธารณสุขชั้นนำของภูมิภาค ทำการวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่และผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ เผยแพร่ และให้บริการทางการแพทย์แก่ประชาชน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีเป้าหมายสูงสุด คือ การนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และต่อมาได้มีการตราพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงส่วนงานและการดำเนินงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เฉพาะในส่วนของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยแยกภารกิจออกมาและให้มีสถานะเป็นหน่วยงานภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์และอยู่ในกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เนื่องจากสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ประสบปัญหาในการดำเนินงานอันเกิดจากการขาดความอิสระและความคล่องตัว
                     2. โดยที่การจัดการเรียนการสอนของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ที่ผ่านมามีอุปสรรคในการใช้บุคลากร สถานที่ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงขาดแคลนบุคลากรระดับสูง ซึ่งการที่สถาบันบัณฑิตศึกษาดำเนินการให้ประสบความสำเร็จได้นั้น เป็นเพราะได้ทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ในลักษณะที่สนับสนุน ส่งเสริมซึ่งกันและกันอย่างแยกไม่ได้ตลอดมานับตั้งแต่ได้เริ่มก่อตั้ง โดยนักวิจัยที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญของสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์เป็นผู้พัฒนาหลักสูตร ดำเนินการจัดการเรียนการสอน และควบคุมงานวิจัยเพื่อวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ตลอดจนการให้ใช้ห้องปฏิบัติการซึ่งมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ทันสมัยที่หลากหลายรองรับการวิจัยให้กับสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการที่สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์จะพัฒนาบุคลากรซึ่งขาดแคลนและขยายโครงสร้างพื้นฐานนั้น ต้องใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาลและใช้ระยะเวลานานหลายปี จึงสมควรแยกสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ออกจากการเป็นส่วนงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อไปรวมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ เพื่อให้การบริหารงานของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์มีประสิทธิภาพ คล่องตัว มีอิสระทางวิชาการ การบริหารงาน และการบริหารงบประมาณ อันจะส่งผลให้สถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์สามารถบูรณาการการบริหาร การจัดการเรียนการสอน การวิจัยและนวัตกรรมได้อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุด และสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของชาติด้วยการใช้บุคลากร สถานที่ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ร่วมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ อว. จึงได้ยกร่างพระราชบัญญัติราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ?. เพื่อแยกสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ออกจากการเป็นส่วนงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และไปรวมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์
                     3. อว. ได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยได้รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ของสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และได้รับฟังความคิดเห็นจากบุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย ซึ่งในคราวประชุมสภาราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ครั้งที่ 12/2564 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกับรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายดังกล่าวแล้ว ตลอดจนได้เปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ดังกล่าว และได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2562 (เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562)
                     สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. กำหนดให้แยกสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ออกจากการเป็นส่วนงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพื่อไปรวมกับสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ภายใต้มูลนิธิจุฬาภรณ์ ดังนี้
                               1.1 ให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ ภาระผูกพันงบประมาณ และรายได้ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ และบรรดาทรัพย์สินของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ที่ได้รับมาจากสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ไปเป็นของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
                               1.2 ให้พนักงานหรือลูกจ้างของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับกิจการของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์สามารถมีหนังสือแสดงเจตนาเพื่อไปปฏิบัติงานในสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ โดยให้นับระยะเวลาทำงานต่อเนื่องจากที่ทำงานในราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ และให้ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นไม่น้อยกว่าที่เคยได้รับอยู่
                               1.3 ให้นักศึกษาซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นนักศึกษาของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
                               1.4 ในระหว่างที่ยังมิได้ออกข้อบังคับ ระเบียบ หรือประกาศของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ให้นำข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของมูลนิธิจุฬาภรณ์และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ และข้อบังคับ ระเบียบ และประกาศของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ที่ใช้อยู่ในวันก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับมาใช้บังคับโดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัด หรือแย้งกับกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
                    2. กำหนดให้เพื่อประโยชน์ในการดำเนินการของสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนให้สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่อง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง จำนวนไม่เกินห้าคน ประกอบด้วยรองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายบริหาร รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิจัยและวิชาการ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อทำหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อ 1.
                    3. ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเกี่ยวกับส่วนงานและการดำเนินงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ให้สอดคล้องกับการแยกสถาบันบัณฑิตศึกษาจุฬาภรณ์ออกจากการเป็นส่วนงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ตามข้อ 1. เช่น แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับส่วนงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์โดยตัดสถาบันบัณฑิตจุฬาภรณ์ออกจากการเป็นส่วนงานของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ แก้ไขบทบัญญัติเกี่ยวกับองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของสภาราชวิทยาลัย โดยตัดองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับสถาบันบัณฑิตจุฬาภรณ์ออก เป็นต้น

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายในสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
                    1. การแบ่งส่วนราชการภายใน สป. ดศ. โดยปรับปรุงหน้าที่และอำนาจและเปลี่ยนชื่อ จาก ?สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์? เป็น ?กองการสื่อสารโทรคมนาคม? และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ศท.) ดังนี้
การแบ่งส่วนราชการ          การแบ่งส่วนราชการที่ขอปรับปรุง          หมายเหตุ
(1) กลุ่มตรวจสอบภายใน          (1) กลุ่มตรวจสอบภายใน          คงเดิม
(2) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร          (2) กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร          คงเดิม
(3) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต          (3) ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต          คงเดิม
(4) กองกลาง          (4) กองกลาง          คงเดิม
(5) กองกฎหมาย          (5) กองกฎหมาย          คงเดิม
(6) กองการต่างประเทศ          (6) กองการต่างประเทศ          คงเดิม
(7) กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ          (7) กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ          คงเดิม
(8) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          (8) กองยุทธศาสตร์และแผนงาน          คงเดิม
(9) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร (ศท.)          (9) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ
และการสื่อสาร (ศท.)          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของ ศท. เกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารในภาวะปกติและภาวะวิกฤติออก โดยนำไปกำหนดเป็นหน้าที่และอำนาจของ กส. ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ และเพิ่มภารกิจให้ ศท. มีหน้าที่พัฒนาบริหารจัดการระบบสารสนเทศกลางของประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย
(10) สำนักงานคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์          (10) กองสื่อสารโทรคมนาคม (กส.)          - เนื่องจากปัจจุบันเป็นหน้าที่ สพธอ. ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พศ.2562 จึงได้จัดตั้ง กส. ขึ้นใหม่เพื่อรองรับภารกิจเกี่ยวกับด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
                    2. หน้าที่และอำนาจของส่วนราชการภายในที่ขอปรับปรุง สรุปได้ดังนี้
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ. 2560          ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
สำนักงานปลัดกระทรวง
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....          หมายเหตุ
สป. ดศ.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
(1) ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำข้อมูลเพื่อใช้ในการกำหนดนโยบาย เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ของกระทรวง
(2) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารกระทรวงและแปลงนโยบายเป็นแนวทางและแผนการปฏิบัติงาน
(3) จัดสรรและบริหารทรัพยากรของกระทรวงเพื่อให้เกิดการประหยัดคุ้มค่าและสมประโยชน์
(4) ประสานงาน กำกับ ติดตาม เร่งรัด และประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
(5) ดูแลงานประชาสัมพันธ์ และต่างประเทศ
(6) พัฒนาปรับปรุงกฎหมายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
(7) ประสานเครือข่ายสารสนเทศระดับประเทศและเป็นศูนย์กลางเครือข่ายสารสนเทศระดับกระทรวง รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อใช้ในการบริหารงานและการบริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง
(8) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจและอุตสาหกรรม ตลอดจนให้ความรู้ ความเข้าใจให้ทั่วถึงทุกส่วนของสังคม
(9) ศึกษา วิเคราะห์ เสนอแผน มาตรการจัดทำหลักเกณฑ์ กำกับดูแล สนับสนุนและประสานงานด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และปฏิบัติการป้องกันปราบปราม รวมทั้งเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ
(10) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะ นโยบายด้านการสื่อ สาร รวมทั้งสนับสนุนงานด้านความมั่นคงและการจัดการวิกฤติระดับชาติ


(11) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของ สป. หรือตามที่
รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย          สป. ดศ.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
คงเดิม



คงเดิม



คงเดิม



คงเดิม



คงเดิม

คงเดิม




คงเดิม








(8) ส่งเสริมการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจให้ทั่วถึงทุกส่วนของสังคม



คงเดิม










(10) ศึกษา วิเคราะห์ และเสนอนโยบายและแผนด้านการสื่อสารด้านโทรคมนาคมและด้านไปรษณีย์ รวมทั้งสนับสนุนงานด้านความมั่นคงและการจัดการวิกฤติระดับชาติคงเดิม

คงเดิม


































- ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจด้านธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้ สอดคล้องตามพระราชบัญญัติธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562














- ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจด้าน โทรคมนาคมและด้านไปรษณีย์ให้ สอดคล้องกับที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากภารกิจด้านนโยบายและแผนการสื่อสารด้านโทรคมนาคมด้านไปรษณีย์ และภารกิจด้านการสื่อสารในภาวะวิกฤติ เป็นภารกิจที่ สป.ดศ. ได้ดำเนินการมาโดยตลอด
ธอ.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1. เสนอแนะนโยบายและจัดทำแผนเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์







2. ศึกษา วิเคราะห์ เพื่อปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์





3. จัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือมาตรฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้การทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีความมั่นคงปลอดภัยเชื่อถือได้และสอดคล้องกับมาตรฐาน สากล
4. จัดทำหลักเกณฑ์ และวิธีการเกี่ยวกับการขึ้นทะเบียน การขออนุญาตธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกำกับดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับ
ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ได้รับมอบหมาย
5. เสนอแนะมาตรการ วิธีการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการทำธุรกรรมทางอิเล็ก ทรอนิกส์
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่จำเป็นต่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอ นิกส์ให้มีความมั่นคงปลอดภัยและน่าเชื่อถือก่อนปรับปรุง
7. สนับสนุนให้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
8. ให้คำปรึกษา แนะนำ และเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

9. ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์รวมตลอดถึงคณะอนุกรรมการและคณะทำงานของคณะกรรมการดังกล่าว
10. ประสานขอความร่วมมือในการดำเนินการต่าง ๆ กับหน่วยงานหรือองค์การระหว่างประเทศในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
11. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย           กส.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1. เสนอนโยบาย วางแผน ประสานงานและดำเนินการเกี่ยวกับการจัดทำแผนการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศแผนปฏิบัติการด้านการสื่อสาร และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ รวมทั้งกำหนดแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมให้มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
2. บริหารจัดการระบบการสื่อสารโทรคมนาคมของชาติ และบูรณาการการดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติตลอดจนส่งเสริมให้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการสื่อสารโทรคมนาคม และสร้างเครือข่ายด้านการสื่อสารโทร คมนาคม
3. จัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลด้านการสื่อสารโทรคมนาคมของประเทศทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ




4. กำหนดแนวทางการดำเนินงานเสนอแนะแนวทาง มาตรการ และกำกับดูแลการดำเนินงานด้านกิจการโทรคมนาคมและด้านกิจการไปรษณีย์ของประเทศ


5. กำกับการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจด้านการสื่อสารในสังกัด ดศ.


6. จัดทำแผนพัฒนาด้านไปรษณีย์รวมทั้งจัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือมาตรฐานในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกิจการไปรษณีย์ให้มีปลอดภัย เชื่อถือได้และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
7. ดำเนินการเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยไปรษณีย์และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง

8. ประสานการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีและการสื่อสารโทร คมนาคมตามที่ได้รับมอบหมาย
9. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย



-




-

ตัดภารกิจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ออก และกำหนดให้ กส. มีหน้าที่รับผิดชอบภารกิจด้านการสื่อสารด้านกิจการไปรษณีย์ และด้านกิจการโทรคมนาคม เพื่อรองรับภารกิจด้านการสื่อสารโทรคมนาคม
ศท.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
1. จัดทำแผนปฏิบัติการดิจิทัลของ สป. และกระทรวงให้สอดคล้องกับเผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
2. จัดทำแผนแม่บทด้านความมั่นคงปลอดภัยทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของประเทศ
3. เสนอแนะแนวนโยบาย การบริหารจัดการระบบการสื่อสารในภาวะปกติและในภาวะวิกฤติ

4. บริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รวมทั้งระบบคลังข้อมูลและระบบศูนย์ปฏิบัติการ สป. และศูนย์ปฏิบัติการกระทรวงในการสนับสนุนและเชื่อมโยงข้อมูลสู่ระบบศูนย์ปฏิบัติการนายก รัฐมนตรี
5. พัฒนาและบำรุงรักษาระบบงานคอมพิวเตอร์และเครือข่าย รวมทั้งให้คำปรึกษาแนะนำหรือฝึกอบรมการใช้คอมพิวเตอร์และการใช้โปรแกรม
6. ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐสนับสนุนและประสานงานในการพิจารณาบูรณาการ งบประมาณประจำปีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของหน่วยงานภาครัฐ สนับสนุน จัดทำและเผยแพร่เกณฑ์ราคากลางและคุณลักษณะพื้นฐานของครุ ภัณฑ์คอมพิวเตอร์
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย          ศท.
มีหน้าที่และอำนาจ ดังนี้
คงเดิม



คงเดิม



3. พัฒนาบริหารจัดการระบบสารสนเทศกลางของประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย

คงเดิม







คงเดิม






คงเดิม











คงเดิม











- ตัดหน้าที่และอำนาจของ ศท . เกี่ยวกับเรื่องการสื่อสารในภาวะปกติและภาวะวิกฤติออก โดยนำไปกำหนดเป็นหน้าที่และอำนาจของ กส. ที่จัดตั้งขึ้นใหม่ และเพิ่มภารกิจให้ ศท. มีหน้าที่พัฒนาบริหารจัดการระบบสารสนเทศกลางของประเทศตามที่ได้รับมอบหมาย

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์เสียง วีดิทัศน์บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์เสียง วีดิทัศน์บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์เสียง วีดิทัศน์ บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารจำนวน 20 ผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เช่น ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องรับวิทยุ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องรับโทรทัศน์และผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องขยายสัญญาณ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวมีคุณภาพ มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์เสียง วีดิทัศน์ บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก.62368 เล่ม 1-2563 จำนวน 20ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (1) เครื่องรับวิทยุ (2) เครื่องรับโทรทัศน์ (3) เครื่องขยายสัญญาณ (4) เครื่องเล่นแผ่นดิสก์ (5) เครื่องเล่นวีดิโอเกมส์ (6) เครื่องรับสัญญาณไมโครโฟนไร้สาย (7) เครื่องรับสัญญาณวิทยุ (8) เครื่องรับสัญญาณโทรทัศน์ (9) เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม (10) ลำโพงพร้อมขยายสัญญาณ (11) เครื่องแปลงสัญญาณ (12) เครื่องปรับแต่งสัญญาณ (13) เครื่องผสมสัญญาณเสียง (14) เครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์ (15) เครื่องเล่นเสียงและภาพ (16) เครื่องรับสัญญาณภาพและเสียงผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (17) เครื่องรับสัญญาณเคเบิลทีวี (18) เครื่องแปลงสัญญาณเสียงและภาพ (19) เครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ และ (20) เครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป เว้นแต่ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องจ่ายไฟฟ้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่และแท็บเล็ต ลำดับที่ (20) ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสี่ร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

5. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 723) พ.ศ. 2564 ได้สิ้นสุดการบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2565 แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงมีอยู่ ดังนั้น เพื่อให้การสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ กค. พิจารณาแล้วจึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)] เพื่อขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคตามข้อ 2 ออกไปอีกเป็นเวลา 1 ปี 10 เดือน จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยมีหลักการ ดังนี้
                              1.1 ให้บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนเงินที่บริจาคให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคตามมาตรา 47 (7) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว
                              1.2 ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหักรายจ่ายเงินหรือทรัพย์สินที่บริจาคให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกันระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVD-19) โดยยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่าจำนวนที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์ ตามมาตรา 65 ตรี (3) (ข) แห่งประมวลรัษฎากรแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
                              1.3 การบริจาคตามข้อ 1.1 และข้อ 1.2 ต้องบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์              (e-Donation) ของกรมสรรพากร ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
                              1.4 ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการสำหรับการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจเกี่ยวกับการป้องกัน ระงับ ยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566
                    2. กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่ามาตรการทางภาษีดังกล่าวจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีประมาณปีละ 5 ล้านบาท รวมขยายระยะเวลา 1 ปี 10 เดือน จะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีประมาณ 9 ล้านบาท แต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
                              2.1 ช่วยสนับสนุนการป้องกัน การระงับ และการยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะเป็นผลดีแก่สุขภาพของประชาชน ตลอดจนเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ
                              2.2 ช่วยจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้อย่างทั่วถึง
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์                          (e-Donation) ของกรมสรรพากร ให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 ดังนี้
ผู้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี          สาระสำคัญ
1. บุคคลธรรมดา          ? ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนเท่าจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล          ? ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับเงินได้เท่าจำนวนเงินหรือราคาทรัพย์สินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ ต้องไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
                    2. กำหนดให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ประกอบการเฉพาะการบริจาคสินค้าให้แก่ สปน. เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้าน COVID-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากการยกเว้นภาษีเงินได้และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการนำเข้าสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อบริจาคเป็นสาธารณกุศล ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 720) พ.ศ. 2564 สำหรับการบริจาคที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 ได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 แต่โดยที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ยังคงเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กค. พิจารณาแล้วเห็นควรขยายระยะเวลาการยกเว้นยกเว้นภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่การนำเข้าสินค้าสำหรับการบริจาคสินค้าดังกล่าวออกไปอีกจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2566 เพื่อสนับสนุนการนำเข้ายา เวชภัณฑ์ และเครื่องมือแพทย์ต้านโรค COVID-19 สำหรับบริจาคเป็นสาธารณกุศล เพื่อจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐประหยัดค่าใช้จ่ายและสามารถนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดดังกล่าวได้อย่างทั่วถึงและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
                    2. กค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่ามาตรการนี้จะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
                              2.1 ประมาณการการสูญเสียรายได้ การกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีนี้ คาดว่าภาครัฐจะสูญเสียรายได้ภาษี ประมาณปีละ 25 ล้านบาท
                              2.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 1) ช่วยสนับสนุนการรักษา การวินิจฉัย และการป้องกัน COVID-19 ซึ่งจะเป็นผลดีแก่สุขภาพของประชาชน ตลอดจนเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมของประเทศ               2) ช่วยจูงใจให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมกับภาครัฐในการแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งจะส่งผลให้ภาครัฐสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายนำไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ได้อย่างทั่วถึง
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการนำเข้าสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อบริจาคเป็นสาธารณกุศล ดังนี้


ประเด็น          รายละเอียด
1. ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการนำเข้าสินค้าเพื่อบริจาค          ? ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับการนำเข้าสินค้าที่ใช้รักษา วินิจฉัย หรือป้องกันโรค COVID-19 ที่บริจาคให้แก่
   (1) สถานพยาบาล ได้แก่ สถานพยาบาลของทางราชการ/สถานพยาบาลของสถาบันการศึกษาของรัฐ/สถานพยาบาลขององค์การมหาชน/สถานพยาบาลของรัฐวิสาหกิจที่เป็นองค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานธุรกิจที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ สถานพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานพยาบาลของหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือสถานพยาบาลของสภากาชาดไทย
   (2) หน่วยงานของรัฐอื่น ๆ
   (3) องค์การหรือสถานสาธารณกุศลหรือสถานพยาบาลที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประกาศกำหนด ตาม ม. 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากรที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการบริจาค          ? ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้โอนทรัพย์สิน (การโอนทรัพย์สินหมายถึงการบริจาคทรัพย์สินให้กับสถานพยาบาล หน่วยงานของรัฐ และองค์การหรือสถานสาธารณกุศล ตามข้อ 1)
3. ระยะเวลาใช้บังคับ          ? สำหรับการนำเข้าและการบริจาคที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 - 31 ธันวาคม 2566

7. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการคลังรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. ประมวลรัษฎากร มาตรา 47 (7) บัญญัติให้บุคคลธรรมดาที่บริจาคเพื่อสาธารณประโยชน์แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล สามารถนำเงินบริจาคมาหักเป็นค่าลดหย่อนได้เท่าที่บริจาคแต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนอื่น ๆ แล้ว และมาตรา 65 ตรี (3) (ข) บัญญัติให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ สามารถหักเป็นรายจ่ายในส่วนที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
                    2. ประกาศกระทรวงการคลัง ว่าด้วยภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 2) เรื่อง กำหนดองค์การ สถานสาธารณกุศล สถานพยาบาลและสถานศึกษา ตามมาตรา 47 (7) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร และมาตรา 3 (4) (ข) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 239) พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 254) พ.ศ. 2535 ข้อ 3 (11) (184) (198) (220) (340) และ (701) ได้กำหนดให้ (1) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (2) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี (3) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า (4) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (5) มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ (6) มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ เป็นองค์การหรือสถานสาธารณกุศล
                    3. ทั้งนี้ มูลนิธิทั้ง 6 แห่ง ตามข้อ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการรักษาพยาบาลผู้ป่วยของสถานพยาบาลของทางราชการหรือองค์การของรัฐบาล และมีผู้บริหารสูงสุดของโรงพยาบาล ได้แก่ โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน และโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ เป็นกรรมการมูลนิธิ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคด้านสาธารณสุข
                    4. กค. พิจารณาแล้วจึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการบริจาคด้านสาธารณสุข) เพื่อกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับการบริจาคให้แก่มูลนิธิรวม 6 แห่ง ตามข้อ 2 โดยกำหนดให้บุคคลธรรมดาที่บริจาคเงินให้แก่มูลนิธิดังกล่าว ได้รับยกเว้นสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่าของเงินที่บริจาค และกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่บริจาคเงินหรือทรัพย์สินให้แก่มูลนิธิดังกล่าว ให้หักรายจ่ายได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่บริจาค โดยต้องบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ของกรมสรรพากร
                    5. กค. ได้รายงานประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่าจะมีผลทำให้จัดเก็บภาษีลดลงปีละ 70 ล้านบาท แต่มีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
                              5.1 เป็นการส่งเสริมให้ภาคประชาชนและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการบริจาคให้แก่มูลนิธิทั้ง 6 แห่ง ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                              5.2 มีส่วนช่วยในการป้องกันและช่วยเหลือประชาชนในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                              5.3 มีส่วนช่วยในการลดงบประมาณของภาครัฐด้านสาธารณสุขได้อีกทางหนึ่ง
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการบริจาคผ่านระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Donation) ให้แก่มูลนิธิ รวม 6 แห่ง ได้แก่ (1) มูลนิธิโรคมะเร็ง โรงพยาบาลศิริราช (2) มูลนิธิโรงพยาบาลราชวิถี (3) มูลนิธิสมเด็จพระปิ่นเกล้า (4) มูลนิธิโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (5) มูลนิธิโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ (6) มูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กองทัพเรือ ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ดังนี้
                              1) บุคคลธรรมดา ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนเป็นจำนวนสองเท่าของจำนวนเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมคำนวณกับเงินได้ที่กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของเงินที่ได้จ่ายตามกรณีที่กำหนดไว้แล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของเงินได้พึงประเมินหลังจากหักค่าใช้จ่ายและหักลดหย่อนนั้น
                              2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ให้ยกเว้นสำหรับเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายที่บริจาค ไม่ว่าจะได้จ่ายเป็นเงินหรือทรัพย์สิน แต่เมื่อรวมคำนวณกับรายจ่ายที่กำหนดให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้เป็นจำนวนสองเท่าของรายจ่ายแล้ว ต้องไม่เกินร้อยละสิบของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณประโยชน์ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬา
                    2. กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ให้แก่บุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้ที่ได้รับจากการโอนทรัพย์สิน หรือการขายสินค้า หรือสำหรับการกระทำตราสารอันเนื่องมาจากการบริจาคให้แก่มูลนิธิทั้ง 6 แห่งดังกล่าว ที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยผู้โอนจะต้องไม่นำต้นทุนของทรัพย์สินหรือสินค้า ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีดังกล่าวมาหักเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ของบุคคลธรรมดาหรือบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

8. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2559 เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาวิชาอุตสาหกรรมศาสตร์ สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ ซึ่งสภามหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงครามได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

9. เรื่อง ข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณเสนอดังนี้
                    1. รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    2. เห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อสำนักงบประมาณจะได้ดำเนินการ จัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และเอกสารประกอบงบประมาณ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 และนำเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565 ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง ประกอบกับแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2564 ซึ่งกำหนดให้คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็น และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ในวันที่ 26 เมษายน 2565 นั้น
                    เพื่อดำเนินการตามนัยมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว สำนักงบประมาณได้ดำเนินการ ดังนี้
                    1. การรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                              สำนักงบประมาณได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามมาตรา 77 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 โดยการรับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์สำนักงบประมาณ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม - 13 เมษายน 2565 และการรับฟังความคิดเห็นโดยทำหนังสือสอบถามไปยังหน่วยรับงบประมาณ
                              ทั้งนี้ สำนักงบประมาณได้นำผลการรับฟังความคิดเห็นไปประกอบการวิเคราะห์ผลกระทบและการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และได้จัดทำรายงานสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    2. การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                              สำนักงบประมาณได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้นตามแบบการร่างกฎหมาย ตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว
                              การจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีโครงสร้างแตกต่างจากพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยยกเลิกหมวดหมู่กฎหมาย จำนวน 2 หมวด ได้แก่ หมวด 8 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังและหมวด 9 งบประมาณรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย เนื่องจากไม่มีรายการที่ต้องเสนอตั้งงบประมาณ
                              ทั้งนี้ การปรับปรุงแก้ไขร่างพระราชบัญญัติตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว ไม่มีผลทำให้รายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เปลี่ยนแปลงไปจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2565

10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... [การขยายเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits)]
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen test self-test kits) เพื่อใช้สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างของตนเองตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 733) พ.ศ. 2564 ได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 แต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศยังมีแนวโน้มจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องและกระจายทั่วประเทศ ดังนั้น เพื่อให้การแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ กค. พิจารณาแล้วเห็นควรขยายระยะเวลาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับรายจ่ายที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน เพื่อใช้สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างของตนเองออกไปอีก 9 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
                    2. ทั้งนี้ การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีดังกล่าวยังไม่ถึงกำหนดเวลาการยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด. 50) สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2564 (กำหนดยื่น ภ.ง.ด. 50 ภายในเดือนพฤษภาคม) จึงยังไม่มีข้อมูลในการประเมินผลการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีข้างต้น
                    3. กค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยคาดว่ามาตรการนี้จะก่อให้เกิดการสูญเสียรายได้ของรัฐและประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
                              3.1 ประมาณการการสูญเสียรายได้ การขยายระยะเวลามาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนรายจ่ายค่าซื้อชุดตรวจหาแอนติเจนด้วยตนเอง (COVID-19 Antigen test self-test kits) คาดว่าจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 1,715 ล้านบาท
                              3.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้ 1) ในส่วนของผู้ประกอบการ จะเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการได้มีส่วนร่วมกับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 ช่วยบรรเทาภาระภาษีและลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 2) ในส่วนของประชาชน จะช่วยป้องกันและลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อันจะช่วยลดผลกระทบของโรคโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจและสังคม
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้เป็นจำนวนร้อยละ 50 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าซื้อชุดตรวจโควิด-19 แบบเร่งด่วน (Antigen test self-test kits) เพื่อใช้สำหรับพนักงานหรือลูกจ้างของตนเอง ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565

เศรษฐกิจ สังคม

11. เรื่อง ขออนุมัติดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมในกรอบวงเงิน 1,548.77 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7)
                    2. เห็นชอบให้ รฟท. กู้ยืมเงินตามนัยมาตรา 39 (4) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ภายในกรอบวงเงิน 1,548.77 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7) เพื่อดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงคมนาคม (คค.) รายงานว่า
                    โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมที่ รฟท. ขออนุมัติในครั้งนี้จะเลือกใช้อุปกรณ์โครงข่ายรุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพและมีความทันสมัยตามเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงไปภายใต้กรอบวงเงินที่ได้รับการอนุมัติ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของเนื้องานตามที่ รฟท. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดการดำเนินงานและออกแบบระบบไว้ในปี พ.ศ. 2555 ซึ่งสามารถรองรับกับภารกิจของ รฟท. ในปัจจุบันและอนาคต ประกอบกับ รฟท. ได้พิจารณาทบทวนโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโครงข่ายโทรคมนาคมร่วมกับโครงการอื่น ๆ ของ รฟท. เช่น โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 และระยะที่ 2 เพื่อไม่ให้เกิดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน โดยโครงการดังกล่าวมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    1. ขอบเขตของงาน
ขอบเขตของงาน          รายละเอียด
(1) งานจ้างติดตั้งระบบโครงข่าย          เช่น ติดตั้งอุปกรณ์โครงข่ายและระบบโทรศัพท์ควบคุมการเดินรถและระบบโทรศัพท์พื้นฐาน
(2) งานจ้างติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง          ติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (48 แกน) แขวนบนเสาโทรเลขตามแนวรางทั่วประเทศ
(3) งานจ้างที่ปรึกษา          จ้างที่ปรึกษาควบคุมงาน
                    2. แผนการดำเนินงาน
                    การดำเนินงานติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมจะดำเนินการติดตั้งสถานีโทรคมนาคมให้ครอบคลุมสถานีรถไฟทั่วประเทศ จำนวน 443 สถานี และศูนย์โทรคมนาคม จำนวน 2 แห่ง โดยทำหน้าที่ควบคุมและเฝ้าระวังระบบสื่อสารโทรคมนาคมทั่วประเทศ ซึ่งทั้ง 2 แห่ง สามารถทำงานทดแทนกันได้และติดตั้งโครงข่ายเคเบิลสายใยแก้วนำแสงเพื่อเชื่อมโยงสัญญาณการสื่อสารระหว่างสถานีทั้งหมดตลอดแนวเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ โดยแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้
แผนการดำเนินการ          รายละเอียด
ระยะที่ 1
(โครงการระยะเร่งด่วน)
(วงเงิน 1,548.77 ล้านบาท)
[เสนอดำเนินการในครั้งนี้]          เป็นการก่อสร้างระบบโทรคมนาคมแกนหลักสำหรับติดต่อสื่อสารข้อมูลและเสียงให้ได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเน้นภารกิจในการเดินรถและการติดต่อสื่อสารระหว่างภาคพื้นดินทุกพื้นที่เป็นหลัก ซึ่งจะดำเนินการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมในด้านต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่
- การติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงเพื่อเชื่อมสถานีรถไฟทั่วประเทศ
- ระบบโทรศัพท์ควบคุมการเดินรถ โทรศัพท์พื้นฐาน
- ระบบการรับส่งข้อมูล
ระยะที่ 2
(โครงการระยะกลาง)
(วงเงิน 5,500 ล้านบาท)          เป็นการขยายโครงข่ายระบบโทรคมนาคมให้สามารถรับ ? ส่งข้อมูลด้วยความเร็วที่สูงขึ้น โดยจะดำเนินการติดตั้งระบบโครงข่ายสื่อสัญญาณ DWDM (Dense Wavelength Division Multiplexing) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการส่งข้อมูลผ่าน Fiber Optic ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และติดตั้งส่วนขยายของโครงข่าย IP Backbone ซึ่งจะขยายพื้นที่ติดตั้งระบบให้เชื่อมต่อกับหน่วยงานต่าง ๆ ทุกอาคาร และหน่วยงาน เพื่อรองรับการใช้งานที่หลากหลาย และจำนวนอุปกรณ์ปลายทางที่มากขึ้น รวมถึงการทำโครงข่ายสำรองเพื่อให้ระบบโครงข่ายโทรคมนาคมมีเสถียรภาพในการทำงานสูง
ระยะที่ 3
(วงเงิน 7,400 ล้านบาท)          เป็นการติดตั้งระบบสื่อสารไร้สาย GSM - R (Global System for Mobile Communications - Railway) โดยเชื่อมต่อเข้ากับระบบโครงข่ายโทรคมนาคมที่ติดตั้งเสร็จในระยะที่ 2 เพื่อการติดต่อระหว่างภาคพื้นดินกับขบวนรถไฟได้ทุกขบวน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับงานการเดินรถทั้งหมด ทั้งนี้ ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่สามารถรองรับการทำงานของระบบรถไฟความเร็วสูงและระบบการควบคุมการเดินรถมาตรฐานสากลได้
                    3. ความเหมาะสมด้านเทคนิค
                    โครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. จะใช้สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) ขนาด 48 แกน ซึ่งปัจจุบันนิยมนำสายใยแก้วนำแสงมาเป็นสายหลักของระบบต่าง ๆ เช่น ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและระบบโครงข่ายโทรศัพท์ มาเป็นสายสัญญาณหลัก โดยจะติดตั้งแบบแขวนตามแนวเส้นทางรถไฟตลอดเส้นทางทั่วประเทศ ทั้งนี้ โครงข่ายดังกล่าวจะใช้เทคโนโลยี Metro Ethernet ในการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟทั่วประเทศเข้ากับศูนย์โทรคมนาคมซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่และสามารถรองรับการใช้งานอื่น ๆ เช่น ระบบสื่อสารด้วยเสียง VoIP (Voice over Internet Protocol) ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ระบบบัญชีและระบบ e-Document รวมถึงรองรับการเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบควบคุมการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้ารางคู่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และโครงการอื่น ๆ ในอนาคต นอกจากนี้โครงการดังกล่าวยังได้รับการออกแบบเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงโครงข่ายร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อทำหน้าที่เป็นโครงข่ายสำรองในอนาคตได้อีกด้วย โดยจะใช้เป็นการเชื่อมต่อสายใยแก้วนำแสงจากโครงข่ายระบบโทรคมนาคมของ รฟท. ไปยังโครงข่ายของผู้ให้บริการอื่นเพื่อทำหน้าที่สำรองระบบเพื่อให้ระบบโทรคมนาคมยังคงทำงานได้ต่อเนื่องในกรณีที่เกิดปัญหาสายใยแก้วนำแสงขาดเนื่องจากอุบัติเหตุ
                    4. ความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และการเงิน
                    รฟท. ได้วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในกรณีที่ปรับลดกรอบวงเงินโครงการฯ จากเดิม 2,055.198 ล้านบาท คงเหลือ 1,548.77 ล้านบาท ซึ่งพบว่า ผลตอบแทนจากการลงทุนติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมเพิ่มขึ้น รายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                              4.1 ผลตอบแทนทางการเงิน
ผลตอบแทนทางการเงิน          กรณีการใช้/ร่วมพัฒนาโครงข่ายเดิม1          กรณีร่วมมือกับผู้ประกอบการ
ที่เป็นเจ้าของโครง
ข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคม2
          วงเงิน (เดิม)
2,055.198
ล้านบาท          วงเงิน (ใหม่)
1,548.770
ล้านบาท          วงเงิน (เดิม)
2,055.198
ล้านบาท          วงเงิน (ใหม่)
1,548.770
ล้านบาท
(1) อัตราผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR)3          ร้อยละ 3.4          ร้อยละ 4.21          ร้อยละ 24.4          ร้อยละ 31.66
(2) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ อัตราคิดลด ร้อยละ 10          - 661.050
ล้านบาท          - 461.346
ล้านบาท          1,628.559
ล้านบาท          1,828.722
ล้านบาท
                              4.2 ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ
ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ          กรณีการใช้/ร่วมพัฒนาโครงข่ายเดิม          กรณีร่วมมือกับผู้ประกอบการ
ที่เป็นเจ้าของโครง
ข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคม
          วงเงิน (เดิม)
2,055.198
ล้านบาท          วงเงิน (ใหม่)
1,548.770
ล้านบาท          วงเงิน (เดิม)
2,055.198
ล้านบาท           วงเงิน (ใหม่)
1,548.770
ล้านบาท
(1) อัตราผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR)3          ร้อยละ 127          ร้อยละ 160.55          ร้อยละ 244.7          ร้อยละ 308.59
(2) มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ณ อัตราคิดลด ร้อยละ 10          28,864.672
ล้านบาท          29,427.293
ล้านบาท          31,326.573
ล้านบาท          34,713.101 ล้านบาท
คค. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า (1) รฟท. จำเป็นต้องเป็นเจ้าของสินทรัพย์ดังกล่าว เนื่องจากเป็นโครงข่ายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมของ รฟท. เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ เพื่อความคล่องตัวในการปรับปรุงและขยายโครงข่ายการดำเนินกิจการขนส่งทางรถไฟ และยังมีความเสี่ยงสูงหากนำโครงข่ายที่ใช้งานร่วมกับเอกชนที่ถูกนำไปหาผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ไปบูรณาการโครงข่ายร่วมกับหน่วยงานภาครัฐในด้านการใช้ประโยชน์สาธารณะและภารกิจของหน่วยงานของรัฐ เช่น ด้านความมั่นคงและด้านภัยพิบัติในฐานะโครงสร้างพื้นฐานของชาติตามมติคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ครั้งที่ 5/2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 และ (2) เนื่องจากข้อเท็จจริงปรากฏว่า รฟท. ไม่สามารถดำเนินธุรกิจกิจการโทรคมนาคมได้ เนื่องจากไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักขององค์กรตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 ซึ่งหน่วยงานราชการ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้เคยยื่นเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยตามเรื่องเสร็จที่ 340/2549 เรื่องการดำเนินธุรกรรมของ กฟผ. สรุปได้ว่าหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐที่ไม่ได้มีบทบาทเกี่ยวกับกิจการโทรคมนาคม ไม่สามารถดำเนินกิจการโทรคมนาคมได้ ดังนั้น รฟท. จึงไม่มีสิทธิในการให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ได้
                    5. ระยะเวลาดำเนินการ กรอบวงเงิน และแหล่งที่มา
                    โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. มีระยะเวลาการดำเนินโครงการ 2 ปี ภายในกรอบวงเงินลงทุน 1,548.77 ล้านบาท แต่เนื่องจากไม่ใช่การดำเนินการในส่วนโครงสร้างพื้นฐานที่รัฐสนับสนุนตามหลักการการอุดหนุนโครงการของ รฟท. และเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2563 รฟท. จึงจะกู้เงินตามนัยมาตรา 39 (4) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 เพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว โดย รฟท. จะเป็นผู้รับภาระเงินต้น ดอกเบี้ย และค่าใช้จ่ายในการกู้เงิน และให้ กค. เป็นผู้ค้ำประกันเงินกู้ กำหนดวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ในการกู้เงินต่อไป
                    6. ประโยชน์จากการดำเนินการ
                              6.1 ด้านการเดินรถ สามารถรองรับระบบงานที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการเดินรถ เช่น ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟสี ระบบควบคุมการเดินรถ ระบบวิทยุสื่อสาร ระบบติดตามการเดินรถ ระบบเครื่องกั้น ระบบกล้องวงจรปิด รวมถึงเทคโนโลยีการเดินรถสมัยใหม่และระบบรถไฟความเร็วสูง
                              6.2 ด้านการให้บริการ สามารถรองรับเทคโนโลยีไร้สายที่สนับสนุนการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและความบันเทิงบนขบวนรถแก่ผู้โดยสาร นอกจากนี้ยังรองรับโครงข่ายในลักษณะ VPN (Virtual Private Networks) และระบบข้อมูลข่าวสารที่ฉับไว ถูกต้อง ไม่คลาดเคลื่อน รวมถึงระบบการขายตั๋วโดยสารออนไลน์และทางอินเทอร์เน็ต
                              6.3 ด้านการสื่อสารภายใน จะช่วยสนับสนุนให้การสื่อสารข้อมูลในทุกรูปแบบระหว่างหน่วยงานภายในของ รฟท. ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพทั้งในส่วนของระบบโทรศัพท์พื้นฐานและระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เช่น ระบบจัดเก็บข้อมูล (Data Center) ระบบการประชุมทางไกล รวมถึงระบบงานที่ใช้วางแผนทรัพยากรขององค์กร หรือ ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
                              6.4 ด้านการพัฒนาโครงข่ายในอนาคต สามารถรองรับการปรับปรุงและ/หรือขยายโครงข่ายตามเส้นทางรถไฟที่เพิ่มขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงได้ อีกทั้งยังรองรับการเชื่อมโยงกับโครงข่ายผู้ให้บริการด้านรถไฟในประเทศเพื่อนบ้าน
                              6.5 ด้านสังคม สนับสนุนกิจกรรมทางสังคมทั้งในด้านการศึกษา การแพทย์ ภูมิศาสตร์และการเตือนภัยพิบัติต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีต่อการคมนาคมระบบรางของประเทศ และส่งเสริมกระจายความเจริญจากศูนย์กลางไปสู่ภูมิภาค
                    7. ผลกระทบด้านต่าง ๆ
                              7.1 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
                              โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. ไม่เข้าข่ายที่จะต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment : EIA) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการซึ่งต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ ระเบียบปฏิบัติ และแนวทางในการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 24 เมษายน 2555 และไม่จัดอยู่ในประเภทโครงการ หรือกิจการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเพื่อขอผ่อนผันการใช้พื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรี
                              7.2 ผลกระทบจากการเวนคืนที่ดิน
                              โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคมของ รฟท. ไม่มีผลกระทบต่อประชาชนเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดินเพื่อก่อสร้างโครงการ เนื่องจากดำเนินการอยู่ในเขตที่ดินของ รฟท. ทั้งหมด
                    คค. แจ้งเพิ่มเติมว่า
                    1. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง (กค.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พิจารณาแล้วเห็นชอบให้ รฟท. ดำเนินโครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม โดยมีความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติม
                    2. รฟท. มีความพร้อมในการดำเนินโครงการ โดยได้จัดทำข้อกำหนดของผู้ว่าจ้าง (Term of Reference: TOR) โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม และจัดจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการ แผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ขอรับจัดสรรเป็นรายเดือนไว้แล้ว สามารถดำเนินการได้ทันที นอกจากนี้ยังได้พิจารณาทบทวนการลงทุนในส่วนของการปรับปรุงระบบโทรคมนาคมภายใต้โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าทางคู่อีกครั้ง และกำหนดขอบเขตงานไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับงานเดินสายเคเบิลใยแก้วนำแสงในงานแต่ละโครงการ เพื่อลดความซ้ำซ้อนและภาระการลงทุนของภาครัฐโดยรวมเรียบร้อยแล้ว
                    3. คค. ได้พิจารณาแนวทางการใช้ประโยชน์โครงข่ายนอกเหนือจากกิจการเดินรถระบบขนส่งทางราง เพื่อใช้ในประโยชน์ของสาธารณะและภารกิจของหน่วยงานของรัฐตามความเห็นของคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว โดยเห็นควรให้ใช้ในภารกิจของ คค. เพื่อใช้ประโยชน์ในการรับส่งข้อมูลสารสนเทศของระบบงานอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการให้บริการประชาชนและสนับสนุนการปฏิบัติราชการกับหน่วยงานในสังกัดส่วนกลาง รวมถึงเชื่อมโยงการรับส่งข้อมูลสารสนเทศระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์และใช้งานระบบอินเทอร์เน็ตผ่าน Internet Gateway ของ คค.
??________________________
1 กรณีการใช้/ร่วมพัฒนาโครงข่ายเดิม หมายถึง การพัฒนาโครงข่ายของ รฟท. พร้อมกับการใช้/พัฒนาคู่ขนานร่วมกับโครงข่ายเดิมที่มีอยู่ (ผลการศึกษารายละเอียดแนวทางการดำเนินการภายหลังโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสงตามเส้นทางรถไฟหมดสัญญาสัมปทานในปี พ.ศ. 2554 ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อปี พ.ศ. 2552)
2 กรณีร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคม หมายถึง การพัฒนาโครงข่ายของ รฟท. พร้อมร่วมมือกับผู้ประกอบการที่เป็นเจ้าของโครงข่ายในตลาดค้าส่งโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์ในการเป็นโครงข่ายสำรอง หรือพัฒนาร่วมกับโครงข่ายโทรคมนาคมของหน่วยงานอื่นที่มีโครงข่ายอยู่แล้วเพื่อใช้เป็นโครงข่ายสำรอง เช่น โครงข่ายทางถนนของ คค.
3 คู่มือแนวทางและหลักเกณฑ์การวิเคราะห์โครงการ พ.ศ. 2555 (ฉบับปรับปรุง) ของ สศช. แนะนำว่า สำหรับการวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ อัตราผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการ (Financial Internal Rate of Return: FIRR) ควรมากกว่าอัตราเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักต้นทุนเงินลงทุนของโครงการ (Weighted Cost of Capital: WACC) ในขณะที่การวิเคราะห์ผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ ที่ผ่านมา สศช. ได้กำหนดเกณฑ์อัตราผลตอบแทนด้านเศรษฐศาสตร์ของโครงการ (Economic Internal Rate of Return: EIRR) ที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง ร้อยละ 9 - 12 แล้วแต่ลักษณะของโครงการ

12. เรื่อง รายงานประจำปี 2564 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เสนอรายงานประจำปี 2564 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์* (เป็นการดำเนินการตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ที่บัญญัติให้กองทุนฯ ทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี) ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 เห็นชอบรายงานประจำปี 2564 ของกองทุนฯ แล้ว สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประจำปี 2564
                              1.1 การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2564 กองทุนฯ มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 588.86 ล้านบาท (แบ่งเป็นเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 2.01 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายสำหรับดำเนินการ จำนวน 586.86 ล้านบาท) มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณแล้ว จำนวน 554.17 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.11 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด
                              1.2 ภาพรวมการดำเนินงานของกองทุนฯ กองทุนฯ ได้ดำเนินงานตามพันธกิจของกองทุน** รวมทั้งให้ความสำคัญกับการสนับสนุนทุนแก่ภาคีเครือข่ายเพื่อดำเนินโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ ที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้
ยุทธศาสตร์          ผลการดำเนินงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 1
การส่งเสริมและพัฒนา
การผลิตและเผยแพร่
สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์          สนับสนุนการผลิตและเผยแพร่สื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาผู้ผลิตสื่อให้มีคุณภาพ รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้เกิดเป็นอุตสาหกรรมสื่อและสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยมีการดำเนินโครงการในกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนรวมทั้งกลุ่มคนพิการและกลุ่มผู้สูงวัย เช่น (1) โครงการพัฒนาแหล่งการเรียนรู้เสมือนจริงพิพิธภัณฑ์ไทยในมุมมอง 360 องศา และสร้างสื่อมัลติมีเดียของพิพิธภัณฑ์สำหรับเด็กและเยาวชน (2) หนังสั้นเพื่อรณรงค์การหยุด Bully ในโลกออนไลน์ ?หยุดระรานผ่านออนไลน์? (3) โครงการหัวใจเราเท่ากัน ผลิตสารคดีออนไลน์เกี่ยวกับมุมมองของผู้พิการหรือผู้ที่ทำงานร่วมกับผู้พิการเพื่อสร้างความเข้าใจและเปลี่ยนภาพจำในใจของคนในสังคมที่จะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียม และ (4) โครงการการศึกษาและพัฒนาสื่อสำหรับเด็กปฐมวัย (อายุ 3-6 ปี) ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 2
การส่งเสริมและพัฒนา
องค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่อที่ปลอดภัย
และสร้างสรรค์          ส่งเสริมให้เกิดการศึกษาวิจัย อบรม พัฒนาองค์ความรู้ และการสร้างนวัตกรรมด้านสื่อรวมถึงการพัฒนาต้นแบบสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีการดำเนินโครงการ เช่น (1) โครงการวัคซีนรับมือปัญหา : การศึกษาภูมิคุ้มกันในโลกดิจิทัลและการรังแกในพื้นที่ออนไลน์ของกลุ่มนักเรียนมัธยมศึกษาใน 5 ภูมิภาคของประเทศไทย (2) โครงการ ?ทำอะไรก็ธรรม? เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันชีวิตด้วยธรรมะและความเข้าใจในการอยู่ร่วมกันในสังคม และ (3) โครงการพัฒนาเกมสืบสวนและเกมโชว์ออนไลน์เพื่อการรับมือกับข่าวปลอมสำหรับประชาชนทั่วไป
ยุทธศาสตร์ที่ 3
การส่งเสริมและพัฒนา
ให้เกิดกลไกและกระบวนการ
คัดกรอง เฝ้าระวัง
และรู้เท่าทันสื่อ          ขับเคลื่อนและพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ในระดับจังหวัดและแนวทางการปฏิบัติร่วมกันในการสร้างพื้นที่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดยมีการดำเนินโครงการ เช่น (1) โครงการพัฒนาสื่อโฆษณาดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์เพื่อเป็นกลไกส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อด้านการผลิตสื่อโฆษณาสำหรับนักศึกษาที่เป็นเจ้าของร้านค้าออนไลน์ (2) โครงการพัฒนาอาสาสมัครเฝ้าระวังภัยไซเบอร์ และ (3) โครงการจ้างผลิตสื่อเพื่อเผยแพร่ผ่านรายการชัวร์ก่อนแชร์
ยุทธศาสตร์ที่ 4
การส่งเสริมและพัฒนา
ช่องทางการสื่อสารเพื่อสังคม
ให้เกิดการรับรู้และมีส่วนร่วม
ของประชาชนและภาคี          ขยายผลและต่อยอดผลงานสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ การหนุนเสริม กระบวนการและภาคีสัมพันธ์ ตลอดจนการเพิ่มประสิทธิภาพช่องทางการสื่อสารเพื่อสนับสนุนการดำเนินการของกองทุนฯ เช่น (1) แผนพัฒนาและส่งเสริมภาคีเครือข่ายสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ได้จัดโครงการผลิตและเผยแพร่สื่อเพื่อยกย่องเสริมสร้างกำลังใจบุคคลต้นแบบในสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (2) แผนสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อการรับรู้และมีส่วนร่วม ได้จัดโครงการสื่อสร้างสรรค์คุณธรรม อวอร์ด เพื่อประกาศยกย่องให้รางวัลบุคคล หน่วยงานที่ผลิตสื่อสร้างสรรค์ทุกประเภท และ (3) แผนภารกิจพิเศษและสนับสนุนสนุนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ได้จัดโครงการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจต่อข่าวลวง ข่าวปลอม
                    2. รายงานของคณะกรรมการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนฯ พบว่า ผลการประเมินการดำเนินงานกองทุนฯ ในปีงบประมาณ 2564 ผ่านเกณฑ์และตัวชี้วัดของกองทุนฯ โดยได้คะแนน 4.7985 (คะแนนเต็ม 5 คะแนน) โดยสูงกว่าปีงบประมาณ 2563 ที่ได้ 4.7758 คะแนน และผลการประเมินการบริหารจัดการองค์กรเพื่อคุณธรรมและความโปร่งใสในทุกมิติกองทุนฯ ได้รับผลการประเมินระดับ ?A? โดยได้รับคะแนนสูงขึ้นกว่าปีงบประมาณ 2563 ซึ่งอยู่ในระดับ ?B? ทั้งนี้ คณะกรรมการประเมินผลฯ ได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม เช่น ให้กองทุนฯ วิเคราะห์และบริหารจัดการผลผลิตจากโครงการที่ได้รับการจัดสรรทุนที่ผ่านมาและคัดเลือกผลผลิตจากโครงการที่มีคุณภาพสูงเพียงพอที่จะนำไปขยายผลหรือผลิตสื่อที่ต่อยอดต่อไป
                    3. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 โดยผู้สอบบัญชี (จากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก) เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด
* กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรณรงค์ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์และดำเนินการส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง
13. เรื่อง การเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอดังนี้

1. อนุมัติในหลักการให้จ่ายเงินช่วยเหลือพิเศษผู้สูงอายุ เพื่อบรรเทาผลกระทบด้านเศรษฐกิจในปัจจุบัน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน ? กันยายน 2565 ในอัตรา ดังนี้ (1) กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ? 69 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 100 บาทต่อคนต่อเดือน (2) กลุ่มผู้สูงอายุ 70 ? 79 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 150 บาทต่อคนต่อเดือน (3) กลุ่มผู้สูงอายุ 80 ? 89 ปี ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 200 บาทต่อคนต่อเดือน และ (4) กลุ่มผู้สูงอายุ 90 ปีขึ้นไป ให้ได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษ จำนวน 250 บาทต่อคนต่อเดือน

2. มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา ดำเนินการขอรับการจัดสรรงบประมาณ รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อจ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุตามอัตรา ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ต่อไป

3. ในกรณีผู้สูงอายุที่ถูกระงับสิทธิเนื่องจากได้รับสวัสดิการอื่นซ้ำซ้อนจากรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น1 (อปท.) ให้ได้รับสิทธิตามข้อ 1 ด้วย โดยจะได้รับเมื่อมีการออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นใหม่ ตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)2

สาระสำคัญของเรื่อง

พม. รายงานว่า

1. ประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงวัย (Ageing Society) มาตั้งแต่ปี 2548 โดยมีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศ และคาดว่าในปี 2565 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (Complete Aged Society) คือ มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ อีกทั้งในปี 2576 คาดว่าจะเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) คือ มีผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) มากกว่าร้อยละ 28 ของประชากรทั้งประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยมีประชากรทั้งหมด 66,171,440 คน เป็นผู้สูงอายุ จำนวน 11,906,511 คน3 (คิดเป็นร้อยละ 17.90 ของประชากรทั้งประเทศ) โดยปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 10,896,444 ราย

2. จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ที่ยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุและครอบครัวอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่า ผู้สูงอายุได้รับผลกระทบทางรายได้คิดเป็นร้อยละ 50.7 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และรายได้ของผู้สูงอายุที่มาจากการทำงานมีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ 40 เหลือเพียงร้อยละ 22 นอกจากนี้ผู้สูงอายุยังได้รับเงินจากบุตรหลานน้อยลง เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจึงกลายเป็นแหล่งรายได้หลักของผู้สูงอายุ ดังนั้น เพื่อบรรเทาความทุกข์ยากของกลุ่มผู้สูงอายุซึ่งเป็นกลุ่มเปราะบางและต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และยังเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมและพึ่งพาตนเองได้ต่อไป พม. จึงเสนอมาตรการการเพิ่มสวัสดิการเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุฯ (เพิ่มตามช่วงอายุ) เป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนเมษายน - กันยายน 2565 โดยคาดว่าจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพจำนวน 10,896,444 คน (ตามจำนวนผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนไว้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565) เป็นเงินจำนวน 8,348,160,000 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ช่วงอายุ (ปี)          จำนวนผู้สูงอายุ
(คน)
(1)          อัตราเดิม
(บาท)
(2)          อัตราเพิ่ม
(บาท)
(3)          อัตราใหม่
6 เดือน (บาท)
(4) = (2) + (3)          งบประมาณที่คาดว่า
จะเพิ่มขึ้น 6 เดือน (บาท)
(1) x (3) x 6 เดือน
60 - 69          6,471,205          600          100          700          3,882,723,000
70 - 79          3,012,407          700          150          850          2,711,166,300
80 - 89          1,216,591          800          200          1,000          1,459,909,200
90 ปีขึ้นไป          196,241          1,000          250          1,250          294,361,500
รวม          10,896,444          -          -          -          8,348,160,000
ซึ่งมีหน่วยงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จำนวน 4 หน่วยงาน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การกำหนดหน่วยงานผู้มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบดำเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองการส่งเสริม การสนับสนุนผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ดังนี้

1) มท. โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีหน่วยงานอยู่ในความรับผิดชอบรวมจำนวนทั้งสิ้น 7,772 แห่ง โดยรับการจัดสรรงบประมาณเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 7,547 แห่ง และเป็นหน่วยงานรับงบประมาณตรงจากสำนักงบประมาณ (สงป.) จำนวน 225 แห่ง

2) กรุงเทพมหานคร 50 เขต

3) เมืองพัทยา

4) กระทรวงการคลัง (กค.) โดยกรมบัญชีกลาง อำนวยความสะดวกด้านการจ่ายตรงเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตามโครงการบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Payment)

1 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 ข้อ 6 (4) กำหนดให้ผู้มีสิทธิจะได้รับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ จะต้องไม่เป็นผู้ได้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. เช่น บำนาญ บำนาญพิเศษ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ ในลักษณะเดียวกัน หรือได้รับเป็นประจำ
2 บันทึกความเห็นสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การจ่ายเงินเบี้ยสูงอายุตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 (เรื่องเสร็จที่ 611/2564) คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) มีคำวินิจฉัยว่า เงื่อนไขที่กำหนดว่าผู้สูงอายุที่จะได้รับเงินเบี้ยยังชีพต้องไม่เป็นผู้รับสวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์อื่นใดจากหน่วยงานรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือ อปท. เป็นเงื่อนไขที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 เงื่อนไขนั้นจึงใช้บังคับไม่ได้ และมีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบควรรีบดำเนินการแก้ไขระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2552 โดยเงื่อนไขในการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพ จะต้องจ่ายให้แก่ผู้สูงอายุที่ไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ เพื่อให้การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุสอดคล้องกับมาตรา 48 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 11 (11) และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3 ข้อมูลกรมการปกครอง ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2564

ต่างประเทศ

14.  เรื่อง สารบาหลี (Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อสารบาหลี (Bali Message) ว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัล* ?ถอดหน้ากากการทูตดิจิทัลในยุค New Normal? (Bali Message on International Cooperation in Digital Diplomacy ?Unmasking Digital Diplomacy in the New Normal?) (สารบาหลีฯ) เพื่อที่จะได้นำผลการพิจารณาแจ้งฝ่ายอินโดนีเซียทราบในโอกาสแรกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กต. รายงานว่า
                    1. กระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินโดนีเซียได้จัดการประชุม International Conference on Digital Diplomacy (ICDD) ภายใต้หัวข้อ ?Digital Diplomacy for Crisis Management? เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2564 ในรูปแบบกึ่งออนไลน์ส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ และแสวงหาโอกาสสำหรับความร่วมมือด้านการทูตดิจิทัล (Digital Diplomacy) ระหว่างประเทศในอนาคต โดยในส่วนของไทย               มีรองอธิบดีกรมสารนิเทศ (นายณัฐภาณุ นพคุณ) เป็นผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ร่วมกับผู้แทนประเทศต่าง ๆ
2. สาระสำคัญของการประชุม ICDD แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
                              1) การกล่าวถ้อยแถลงของผู้แทนไทย
                              รองอธิบดีกรมสารนิเทศ (นายณัฐภาณุ นพคุณ) ได้กล่าวถ้อยแถลงร่วมกับผู้แทนประเทศต่าง ๆ ในหัวข้อ ?Digital Diplomacy for Crisis Management? โดยถ้อยแถลงของผู้แทนประเทศส่วนใหญ่ได้สะท้อนมุมมองเกี่ยวกับการทูตดิจิทัลที่จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการตอบสนองและบริหารจัดการวิกฤตต่าง ๆ ซึ่งภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) โลกสามารถเชื่อมโยงกันได้มากขึ้นด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างไรก็ดี ผู้แทนหลายประเทศเห็นว่า แม้การทูตดิจิทัลจะช่วยอำนวยความสะดวกในการดำเนินงานการทูตในสภาวะที่ไม่ปกติได้ แต่การทูตดิจิทัลไม่สามารถแทนที่การทูตแบบดั้งเดิม            ที่เป็นการพบปะกันชึ่งหน้าได้
                              2) การรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม ICDD
                              สารบาหลีฯ เป็นสารที่แสดงถึงความร่วมมือระหว่างประเทศด้านการทูตดิจิทัลในยุคหลัง             โควิด 19 โดยเป็นการแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันของ 21 ประเทศ ที่เข้าร่วมการประชุม อาทิ เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐสิงคโปร์ สหรัฐอเมริกา และไทย ซึ่งมีความตระหนักร่วมกันถึงความสำคัญของการทูตดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนแปลงและมีส่วนช่วยปกป้องผลประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในกระบวนการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ และกาส่งเสริความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอยางยิ่งความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจท่ามกลางวิกฤตโควิด 19 ที่นานาประเทศต้องเผชิญร่วมกันนอกจากนี้ ยังมุ่งหวังให้ประเทศต่าง ๆ ขยายความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการทูตดิจิทัลเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมด้านดิจิทัลของทุกภาคส่วนรวมถึงสตรี เด็ก คนชรา ผู้พิการ และผู้ที่อยู่ชายขอบ ตลอดจนส่งเสริมการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยจะมีการขับเคลื่อนผ่าน 5 ประเด็นหลัก ดังนี้
                              ประเด็นหลักที่ 1 : การพัฒนากรอบนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนการทูตดิจิทัล เพื่อส่งเสริมแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างครอบคลุมผ่านแนวคิดในเชิงบูรณาการและการเชื่อมโยงระหว่างหลาย                ภาคส่วน
                              ประเด็นหลักที่ 2 : การจัดการวิกฤตผ่านการทูตดิจิทัล เพื่อเพิ่มพูนความสามารถในการจัดการกับวิกฤตต่าง ๆ (ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เหตุการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและภัยอันตรายจากมนุษย์) ผ่านการทูตดิจิทัล
                              ประเด็นหลักที่ 3 : การจัดการข้อมูลเพื่อสนับสนุนการทูตดิจิทัล เพื่อให้การจัดการข้อมูลทางการทูตดิจิทัลสามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าข้อมูลที่ใช้จะส่งผลกระทบและมีอิทธิพลอย่าง
                              ประเด็นหลักที่ 4 : นวัตกรรมเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ส่งเสริมนโยบายเพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมมีความคิดสร้างสรรค์ เพิ่มผลิตภาพ พัฒนา                 ขีดความสามารถในการแข่งขัน รับมือกับความท้าทายในการเข้าถึงตลาดใหม่ ๆ และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้มากที่สุด
                              ประเด็นหลักที่ 5 : การเสริมสร้างขีดความสามารถและการมีส่วนร่วมทางดิจิทัล เพื่อให้สตรี เด็ก คนชรา ผู้พิการ และผู้ที่อยู่ชายขอบของทุกประเทศได้รับโอกาสในการเสริมสร้างขีดความสามารถ               ด้านเทคโนโลยีข้อมูลข่าวสารและการเข้าถึงธุรกิจดิจิทัลได้
* การทูตดิจิทัล (Digital Diplomacy) คือ การดำเนินการทางการทูตในรูปแบบใหม่ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและ Social Media ต่าง ๆ มาใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารกับสาธารณชนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินนโยบายและกิจกรรมต่าง ๆ

15. เรื่อง ขอความเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) ไทย - ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ตามข้อ 3) เพื่อให้ผู้แทนไทย ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนเป็นประธานฝ่ายไทยใช้หารือกับฝ่ายภูฏาน ทั้งนี้หากในการประชุมดังกล่าว มีผลให้มีการตกลงเรื่องความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการค้าในประเด็นอื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 3 อันจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับภูฏาน ให้ผู้แทนไทยสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. การประชุม JTC ไทย - ภูฏาน เป็นกลไกหารือสำคัญในการหารือและกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทยกับภูฏาน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการภูฏานเป็นประธานร่วม
                    2. การประชุม JTC ไทย - ภูฏาน ครั้งที่ 4 เป็นเวทีการประชุมหารือระดับรัฐมนตรีการค้าเกี่ยวข้องกับการกำหนดทิศทางความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับภูฏาน และแนวทางจัดทำความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกันหรือเอื้อประโยชน์ต่อกัน ได้แก่ การอำนวยความสะดวกทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจด้านต่าง ๆ ซึ่งไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมดังกล่าวและกิจกรรมอื่น ๆ                  ที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 26 - 29 เมษายน 2565 ณ จังหวัดภูเก็ต จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ              ต่อท่าทีไทยเพื่อให้ พณ. สามารถใช้ในการประชุมดังกล่าว
                    3. เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2565 พณ. ได้จัดประชุมเตรียมการฝ่ายไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานภายใน พณ. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) (สศท.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมศุลกากร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทสไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เพื่อพิจารณาประเด็นที่ฝ่ายไทยประสงค์จะผลักดันในการประชุมดังกล่าว โดยเห็นควรเสนอท่าทีไทย ดังนี้ 1) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน 2) ความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงสิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Agreement: PTA)* ระหว่างไทยกับภูฏาน 3) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย ความร่วมมือด้านการเกษตร ความร่วมมือด้านหัตถกรรม ความร่วมมือด้านท่องเที่ยว และ 4) ประเด็นอื่น ๆ ได้แก่ การให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการเชื่อมโยงข้อมูลหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสำหรับการนำเข้า ส่งออก และโลจิสติกส์ (National Single Window : NSW) การให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) การให้ความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนาและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในด้านการขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications: GI) ให้กับภูฏาน การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ เช่น การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อการบริหารนิคมอุตสาหกรรมและการบริหารจัดการท่าเรือบก (Dry Port)
                    นอกจากนี้ พณ. จะใช้โอกาสการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมฯ เพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศไทยกับประเทศภูฏาน เช่น การจัดกิจกรรมศึกษาดูงานแหล่งผลิตสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ให้กับคณะผู้แทนจากภูฏาน
                    4. การประชุม JTC ไทย - ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะช่วยเสริมสร้างและกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับภูฏานให้เพิ่มมากขึ้น โดยไทยและภูฏานมี ความสัมพันธ์อันดีต่อกันในหลายด้าน เช่น เศรษฐกิจ พุทธศาสนา วัฒนธรรม และประชาชน ตลอดจนความสัมพันธ์พิเศษในระดับพระราชวงศ์ซึ่งความใกล้ชิดระหว่างสองประเทศจะเป็นรากฐานสำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนแม้ว่าภูฏานจะเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 2.6 แต่ด้วยการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของภูฏาน ทำให้องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ภูฏานหลุดพ้นจากการเป็นประเทศพัฒนาน้อยที่สุด และอยู่ระหว่างเตรียมตัวเพื่อเข้าสู่การเป็นประเทศกำลังพัฒนาในปี 2566 ดังนั้น การประชุม JTC ไทย - ภูฏาน ครั้งที่ 4 จะเป็นการช่วยพัฒนาความสัมพันธ์และขยายโอกาสในการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างไทยกับภูฏานอย่างเป็นรูปธรรม

หมายเหตุ * PTA หมายถึง การให้สิทธิพิเศษทางการค้าหรือความร่วมมือเฉพาะในสินค้าที่มีความสนใจร่วมกันบางส่วนเท่านั้น ซึ่งจะต่างจากเขตเสรีทางการค้า (FTA) ที่จะมีการพิจารณาให้สิทธิทางการค้าในภาพรวมทั้งหมด เช่น สินค้า บริการ การลงทุน และการเงิน

16. เรื่อง การจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาล                   แห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ระหว่างปี 2565 ? 2569
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อการจัดทำโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ระหว่างปี 2565 ? 2569
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรฮัชไมต์จอร์แดน ระหว่างปี 2565 ? 2569
                    ทั้งนี้หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของโครงการฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    สาระสำคัญ
                    ฝ่ายไทยและฝ่ายจอร์แดนได้เห็นชอบเนื้อหาในร่างโครงการฯ ที่ได้จัดทำร่วมกันแล้ว โดยทำเป็นภาษาไทย ภาษาอาหรับ และภาษาอังกฤษ สาระสำคัญของร่างโครงการฯ มุ่งเน้นความร่วมมือทางวัฒนธรรมในทุกระดับผ่านความร่วมมือระหว่างกันในสาขาทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย อาทิ วรรณกรรม ศิลปะการแสดง ภาพยนตร์ การละครและคนตรี ทัศนศิลป์ อุตสาหกรรมวัฒนธรรม และมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระหว่างทั้งสองประเทศ บนพื้นฐานของหลักต่างตอบแทนและความเท่าเทียมกัน รวมทั้งสนับสนุนการจัดการเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 55 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จอร์แดน ในแต่ละประเทศในปี 2564 ตลอดปี 2564 - 2565 และในโอกาสครบรอบ 60 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จอร์แดน ในแต่ละประเทศในปี 2569 ร่างโครงการฯ จะเป็นกรอบการดำเนินงานในการกระชับความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมระดับทวิภาคีไทย-จอร์แดน ซึ่งจะเป็นแนทางสำคัญในการผลักดันให้เกิดการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม ก่อให้เกิดการเสริมสร้างและพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรของประชาชนทั้งสองประเทศ นำไปสู่ความรู้ความเข้าใจซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น ตลอดจนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่เอื้อต่อการดำเนินความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยและจอร์แดนในด้านอื่น ๆ ต่อไป
                    ทั้งนี้ การจัดพิธีลงนามโครงการฯ และพิธีเปิดนิทรรศการภาพถ่ายฯ ของกระทรวงวัฒนธธรรมและกระทรวงวัฒนธรรมจอร์แดน ซึ่งคาคว่าจะจัดขึ้นในวันที่ 27 เมษายน 2565 ผ่านระบบเสมือนจริงและ                              ณ ห้องปฏิบัติการ 2 หอศิลปัร่วมสมัยราชดำเนิน

แต่งตั้ง

17. เรื่อง ขอเพิ่มเติมองค์ประกอบในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 (เรื่อง การแต่งตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี) โดยเพิ่มตำแหน่ง ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นกรรมการในคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

18. เรื่อง แต่งตั้งโฆษกกระทรวงแรงงานและรองโฆษกกระทรวงแรงงาน (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอการแต่งตั้งโฆษก รง.  และรองโฆษก รง. (ฝ่ายข้าราชการประจำ) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่กำหนดให้ทุกส่วนราชการแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวง/หน่วยงานอย่างเป็นทางการ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ประชาสัมพันธ์ของทางราชการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบและเผยแพร่รายชื่อดังกล่าวให้สาธารณชนทราบด้วย] เนื่องจาก รง. มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งผู้บริหารของกระทรวง ดังนั้น เพื่อให้งานด้านการสื่อสารองค์กร การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์บทบาท ภารกิจ และการดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย จึงได้ดำเนินการ ดังนี้
                    1. ยกเลิกคำสั่ง รง. ที่ 21/2564 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก รง. (ฝ่ายข้าราชการประจำ) ลงวันที่ 8 มกราคม 2564 ที่แต่งตั้งนายประทีป ทรงลำยอง ผู้ตรวจราชการ รง. เป็นโฆษก รง. (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
                     2. แต่งตั้งนายวรรณรัตน์ ศรีสุขใส รองปลัด รง. เป็น โฆษก รง. (ฝ่ายข้าราชการประจำ) และนางบุปผา พันธุ์เพ็ง รองปลัด รง. เป็น รองโฆษก รง. (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
ซึ่ง รง. ได้มีคำสั่ง รง. ที่ 184/2565 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก รง. และรองโฆษก รง. (ฝ่ายข้าราชการประจำ) ลงวันที่ 4 เมษายน 2565 ด้วยแล้ว

19. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จำนวน 3 คน เพื่อแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ จำนวน 2 คน และแต่งตั้งเพิ่มเติมในตำแหน่งที่ว่าง จำนวน 1 คน ดังนี้
                     1. นายจักรชัย บุญยะวัตร           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    2. นายวิทยา อมรกิจบำรุง           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     3. นายสรนิต ศิลธรรม                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างและเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพิ่มขึ้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

20. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย) เสนอแต่งตั้ง นายสัญญา มิตรเอม เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล) ในคณะกรรมการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากได้ถึงแก่กรรม เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2564 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

21. เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าการการประปานครหลวง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายมานิต                  ปานเอม ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการประปานครหลวง โดยให้ได้รับค่าตอบแทนคงที่ในอัตราเดือนละ 380,000 บาท และสิทธิประโยชน์อื่นตามที่กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ลงนามในสัญญาจ้างเป็นต้นไป และให้นายมานิต ปานเอม ลาออกจากการเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจก่อนลงนามในสัญญาจ้างด้วย

22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายอนุทิน ชาญวีรกูล) เสนอแต่งตั้ง                      นางสาวประชุม ตันติประเสริฐสุข เป็นกรรมการผู้แทนสมาคมส่งเสริมการประชุมนานาชาติ (ไทย) ในคณะกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระเนื่องจากมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนั้นอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

23. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา รวม 5 คน เนื่องจากประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมจะครบวาระการดำรงตำแหน่งสี่ปี ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2565 ดังนี้
                     1. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล                        ประธานกรรมการ
                    2. นางสาววลัยรัตน์ ศรีอรุณ                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                    3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปารีณา ศรีวนิชย์           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย ภาควิชาการ
                    4. นายชาลี จันทนยิ่งยง                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน
                    5. รองศาสตราจารย์ดารณี อุทัยรัตนกิจ           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาสังคม
                    ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป

24. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 78/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ตามที่ได้มีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น
                    โดยที่ได้มีระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2564 กำหนดให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยิ่งมงกุฎไทย พ.ศ. 2536 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณาเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธานกรรมการ ดังนั้น เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดิน ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยเหมาะสมอาศัยอำนาจความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2563 ดังนี้
                    1. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ)
                              - การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ยกเลิกความในข้อ 1.3.4 แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                        ?1.3.4 คณะกรรมการพิจารณาการเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประจำปี?
                    2. รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอนุชา นาคาศัย)
                              - การมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ที่จัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี โดยให้ยกเลิกข้อ 7.3.3 แห่งคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2565 เป็นต้นไป

25. เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 86/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 239/2563 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น
                    เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 239/2563 เรื่อง มอบหมายและมอบอำนาจให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ดังนี้
                    1. ให้ยกเลิกความในข้อ 4.1.4
                    2. ให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อ 2.1.7
                    ?2.1.7 คณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ?
          ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 87/2565 เรื่อง แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการ ในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 นั้น
                    เพื่อให้การบริหารราชการแผ่นดินดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบข้อ 6 (1) ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ พ.ศ. 2551 จึงให้แก้ไขเพิ่มเติมคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 240/2563 เรื่อง มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการในคณะกรรมการต่างๆ ตามกฎหมาย และระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2563 ดังนี้
          1. ให้ยกเลิกความในข้อ 4.3.1
          2. ให้เพิ่มเติมข้อความต่อไปนี้ เป็นข้อ 2.3.11
                    ?2.3.11 คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถานภาพสตรีแห่งชาติ?
                    ทั้งนี้  ตั้งแต่ วันที่ 26 เมษายน  พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ