สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 มิถุนายน 2565

ข่าวการเมือง Wednesday June 22, 2022 09:25 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (21 มิถุนายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ                                         พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค                                         พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติ                                        หน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการ                                        โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง                                         พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ-สังคม
                    5.           เรื่อง           ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ครั้งที่ 2 วงเงิน 2,039.21
                                        ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยภิบัติ                                         (จำนวน 23 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
                    6.           เรื่อง           มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
                    7.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะ                                                  แพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ

พ.ศ. 2566 ? 2569

                    8.           เรื่อง           ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2565
                    9.           เรื่อง            รายงานผลการดำเนินงานโครงการอาคารแสดงประเทศไทย งาน World Expo                                         2020 Dubai
                    10.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
                                        ครั้งที่ 10/2565 และครั้งที่ 11/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการ                                                  กลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราว                                        ประชุมครั้งที่ 12/2565 ครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565
                    11.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราช                                                  กำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2565 และ

ครั้งที่ 16/2565

                    12.           เรื่อง           วันน้ำบาดาลแห่งชาติ
                    13.           เรื่อง           สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565
                    14.           เรื่อง           มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564
                    15.           เรื่อง           ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จาก                                        โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (มาตรการห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐ และ                                                  รัฐวิสาหกิจเดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นสำคัญและเตือนประชาชน                                        ให้งดการเดินทางไปในประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง)
                    16.           เรื่อง           ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง                                                   รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)

ต่างประเทศ
                    17.           เรื่อง            ผลการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 4
                    18.            เรื่อง           (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิง                                        เทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความ

ตกลงปารีส

                    19.           เรื่อง           การเสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO                                         Global Geoparks)
                     20.           เรื่อง           ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
                    21.          เรื่อง            ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC)                                         ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    22.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และ                                                  กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    23.           เรื่อง           ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าด้วย                                                  เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 และ

ฉายวีดิทัศน์

                    24.           เรื่อง            ร่างแถลงการณ์ร่วมของการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย ? สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 4
                    25.           เรื่อง           ท่าทีไทยในการประชุม 2022 United Nations Ocean Conference

แต่งตั้ง

                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาโดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ สปน. เสนอว่า
                    1. โดยที่แผนการปฏิรูปประเทศด้านการบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับปรับปรุง) กิจกรรมปฏิรูปที่ 2 จัดโครงสร้างองค์กร และระบบงานภาครัฐให้มีความยืดหยุ่น คล่องตัวและเปลี่ยนแปลงได้ตามสถานการณ์ได้กำหนดกรอบระยะเวลาการกำหนดให้มีแนวทางการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Anywhere) ที่รองรับชีวิตวิถีใหม่ (New Normal) เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและลักษณะขององค์กร โดยให้มีการปรับปรุง/แก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานนอกสถานที่ตั้ง (Work From Anywhere) ไว้ในปี พ.ศ. 2565
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้สั่งการให้ สปน. พิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการให้เกิดความชัดเจนในการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ และรองรับสถานการณ์วิกฤตการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ทำให้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกส่วนราชการ
                    3. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แผนการปฏิรูปประเทศ มติคณะรัฐมนตรี และคำสั่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สปน. จึงได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ พ.ศ. .... ขึ้น  โดยได้พิจารณาร่างระเบียบฯ ดังกล่าวร่วมกับผู้แทนสำนักงาน ก.พ. ผู้แทนสำนักงาน ก.พ.ร. ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์) และได้ปรับปรุงแก้ไขร่างระเบียบฯ ดังกล่าวตามความเห็นหน่วยงานที่เข้าร่วมประชุมแล้ว ต่อมาได้เสนอร่างระเบียบฯ ดังกล่าวต่อคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาศึกษา วิเคราะห์ และเสนอแนะการยกเลิกหรือการปรับปรุงแก้ไขระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่อยู่ในความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับสภาพการทำงานในปัจจุบัน และสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ สภาวะเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป
                    4. คณะกรรมการฯ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 ได้พิจารณา                  ร่างระเบียบฯ ดังกล่าวข้างต้นแล้วมีมติเห็นชอบร่างระเบียบฯ และให้ดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                    กำหนดแนวทางปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ เพื่อให้การดำเนินการของส่วนราชการเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และเกิดความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่วนราชการ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. บทนิยาม          ? ?ส่วนราชการ? หมายความว่า ส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม แต่ไม่รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชน เนื่องจากรัฐธรรมนูญได้กำหนดหลักความเป็นอิสระของ อปท. ไว้ โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมและความจำเป็นของแต่ละท้องถิ่น ส่วนรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนมีกฎหมายกำหนดให้มีคณะกรรมการควบคุมดูแลอยู่
? ?การปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ? หมายความว่า การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการนอกที่ตั้งของส่วนราชการ หรือในพื้นที่ที่ส่วนราชการจัดไว้เป็นที่ทำงานร่วม (Co-Working Space) หรือที่พักของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ หรือสถานที่อื่นใดที่ส่วนราชการกำหนด
2. ข้อยกเว้น          กำหนดให้การปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการไม่รวมถึงการได้รับอนุมัติให้เดินทางไปราชการ และการจัดการประชุมของส่วนราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุมัติให้เดินทางไปราชการ และการจัดการประชุมของทางราชการ
3. การปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ          ? กำหนดให้หัวหน้าส่วนราชการอาจสั่งการให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการหรือกลับมาปฏิบัติงาน ณ ที่ตั้งของส่วนราชการได้ตามที่เห็นสมควร โดยมอบหมายงานที่สามารถปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ กำหนดรูปแบบ จำนวนวันในการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ รวมถึงวิธีสับเปลี่ยนหมุนเวียนไปปฏิบัติราชการ ณ ที่ตั้งของส่วนราชการ
? กำหนดให้ส่วนราชการกำหนดวิธีบริหารจัดการและกำกับติดตามงานในช่วงเวลาที่มอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัดปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ โดยคำนึงถึงลักษณะงานและภารกิจของส่วนราชการ ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ของส่วนราชการมีหน้าที่ที่ต้องพร้อมให้ผู้บังคับบัญชาสามารถติดต่อสื่อสารได้ตลอดช่วงเวลาที่ปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ
4. การควบคุมเวลาในการปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการ          ? การลาของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในระหว่างช่วงระยะเวลาที่ปฏิบัติงานนอกที่ตั้งของส่วนราชการให้ปฏิบัติตามระเบียบว่าด้วยการลาของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการแต่ละประเภท
? ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีลงเวลาการปฏิบัติราชการของเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการในสังกัด ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ หรือจะใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการยืนยันตัวตนเพื่อใช้ลงเวลาการปฏิบัติราชการก็ได้

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ ยธ. เสนอ เป็นการยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการจัดให้มีกฎหมายเพียงเท่าที่จำเป็น และยกเลิกหรือปรับปรุงกฎหมายที่หมดความจำเป็นหรือไม่สอดคล้องกับสภาพการณ์ หรือที่เป็นอุปสรรคต่อการดำรงชีวิต หรือการประกอบอาชีพโดย    ไม่ชักช้าเพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ประชาชน และพึงกำหนดโทษอาญาเฉพาะความผิดร้ายแรง ตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และเพื่อให้สอดคล้องกับข้อ 11 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ที่กำหนดให้บุคคลจะถูกจำคุกเพียงเพราะเหตุว่าไม่สามารถปฏิบัติการชำระหนี้ตามสัญญามิได้ ทั้งนี้ การยกเลิกพระราชบัญญัติดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อธนาคารพาณิชย์ให้สามารถใช้มาตรการทางธนาคารสร้างความน่าเชื่อถือให้กับเช็คโดยกำหนดมาตรการกลั่นกรองลูกค้าขอใช้เช็ค โดยไม่จำเป็นต้องกำหนดบทลงโทษทางอาญา ลดปัญหาเกี่ยวกับการใช้โทษทางอาญาบีบคั้นกับลูกหนี้ทางแพ่งให้ชำระหนี้ และสามารถประหยัดงบประมาณในการดำเนินการกระบวนการยุติธรรมทางอาญา รวมทั้งทำให้มีหลักกฎหมายที่สอดคล้องกับหลักสากลและพันธกรณีระหว่างประเทศ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                     1. ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534
                     2. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 120 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา             เป็นต้นไป



3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับ                การเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (สำนักงาน กสทช.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกา ที่สำนักงาน กสทช. เสนอ เป็นการปรับปรุงพระราชกฤษฎีกาค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ พ.ศ. 2556 โดยปรับอัตราค่าตอบแทนเหมาจ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายบัญญัติ รวมทั้งกำหนดเพิ่มค่าเสียโอกาสเพื่อสำหรับการดำรงชีพในช่วงระยะเวลาต้องห้ามมิให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ หรือไปประกอบอาชีพหรือดำเนินกิจการที่มีลักษณะที่มีส่วนได้เสียหรือมีผลประโยชน์ขัดหรือแย้งไม่ว่าโดยตรงหรือโดยอ้อมกับการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ ตลอดจนกำหนดให้มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับ            การเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ โดยให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังมาใช้บังคับโดยอนุโลม โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับรัฐมนตรี
                    การปรับเพิ่มค่าตอบแทนในครั้งนี้มิได้ขอรับการสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดิน โดยแหล่งเงินค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ดังกล่าวมาจากรายได้จากการปฏิบัติหน้าที่ในการกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ได้แก่ ค่าธรรมเนียมใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่และค่าธรรมเนียมใบอนุญาตการประกอบกิจการ ซึ่งที่ผ่านมามีรายได้เพียงพอกับรายจ่าย และมีเงินเหลือจ่ายนำส่งเป็นรายได้แผ่นดินมาตลอดทุกปี จึงไม่กระทบและเป็นภาระต่อการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินแต่อย่างใด
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    1. ปรังปรุงค่าตอบแทนของประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ และกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยปรับอัตราค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือน และเพิ่มค่าเสียโอกาส ดังนี้
ตำแหน่ง          ค่าตอบแทนเหมาจ่ายรายเดือน
(บาท/เดือน)          ค่าเสียโอกาส
(บาท/เดือน)          เงินเดือน
(1)
(บาท/เดือน)          ผลประโยชน์อื่น        (2)
(บาท/เดือน)          ค่ารักษาพยาบาล
(3)
(บาท/เดือน)          บำเหน็จตอบแทน
(4)
(บาท/เดือน)          ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปปฏิบัติงาน (5)
ประธาน กสทช.          361,167
(ประกอบด้วย (1) (2) (3) และ (4)          89,667 (เงินเดือนคูณระยะเวลาหลังดำรงตำแหน่ง 2 ปี หารระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 6 ปี กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนในอัตรา
269,000x24/72 = 89,667 บาท)          269,000          67,250 (25% ของเงินเดือน)          2,500 (ลักษณะการประกันสุขภาพ 30,000 บาท ต่อปี/12 = 2,500 บาท)          22,417
(เงินเดือนคูณระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง (คำนวณเป็นเงินเดือน 269,000/12 = 22,417 บาท          ให้ได้รับตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับรัฐมนตรี
กรรมการ กสทช.          289,167 (ประกอบด้วย (1) (2) (3) และ (4)          71,667 (เงินเดือนคูณระยะเวลาหลังดำรงตำแหน่ง 2 ปี หารระยะเวลาดำรงตำแหน่ง 6 ปี กำหนดจ่ายเป็นรายเดือนในอัตรา
215,000x24/72 = 71,667 บาท)          215,000          53,750 (25% ของเงินเดือน)          2,500 (ลักษณะการประกันสุขภาพ 30,000 บาทต่อปี/12 = 2,500 บาท          17,917
(เงินเดือนคูณระยะเวลาในการดำรงตำแหน่ง (คำนวณเป็นเงินเดือน 215,000/12 = 17,917 บาท)          ให้ได้รับตาม พ.ร.ฎ.ว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและระเบียบกระทรวงการคลังที่เกี่ยวข้อง โดยให้ได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับรัฐมนตรี
ทั้งนี้ สำหรับค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ ให้ประธานกรรมการและกรรมการมีสิทธิได้รับ โดยให้นำพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ และระเบียบกระทรวงการคลังซึ่งออกตามความในพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมาใช้บังคับแก่ค่าใช้จ่าย อันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ต่างท้องที่ของประธานกรรมการและกรรมการตามพระราชกฤษฎีกานี้โดยอนุโลม โดยให้ประธานกรรมการและกรรมการได้รับสิทธิในอัตราเดียวกับรัฐมนตรี (คงเดิม)
                     2. ให้ประธานกรรมการและกรรมการที่ได้รับพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนและค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวกับการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่               ต่างท้องที่ตามพระราชกฤษฎีกานี้นับแต่วันที่มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง (คงเดิม)

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง พ.ศ. .... ของกระทรวงการคลัง ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้                        สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ เป็นการปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โดยเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานจากสำนัก เป็นกอง และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจให้สอดคล้องกับภารกิจของสำนักงานเศรษฐกิจการคลังที่เพิ่มมากขึ้น เช่น ให้กองนโยบายและการคลังมีหน้าที่เสนอแนะนโยบาย แผน และมาตรการเกี่ยวกับการคลังภาครัฐโดยพิจารณาข้อมูลที่จะต้องดำเนินการของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน และหน่วยงานอื่นของรัฐ และปรับปรุงหน้าที่และอำนาจของกองนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในการจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาค เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การบริหารจัดการข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด ในการเสนอนโยบายเศรษฐกิจต่อกระทรวงการคลัง


                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     ปรับปรุงการแบ่งส่วนราชการและหน้าที่และอำนาจของสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง (กค.) ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กค. พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กค. พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังฯ

หมายเหตุ
(1) สำนักงานเลขานุการกรม          (1) สำนักงานเลขานุการกรม           -
(2) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ          (11) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ          -
(3) สำนักกฎหมาย           (2) กองกฎหมาย           - เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองกฎหมาย?
(4) สำนักนโยบายการคลัง          (3) กองนโยบายการคลัง          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ                            การเสนอแนะนโยบาย แผน และมาตรการเกี่ยวกับการคลังภาครัฐ โดยเพิ่มการพิจารณาข้อมูลที่ต้องดำเนินการของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ทุนหมุนเวียน และหน่วยงานอื่นของรัฐ
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายการคลัง?
(5) สำนักนโยบายการออมและการลงทุน           (4) กองนโยบายการออมและการลงทุน           - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมในตลาดทุน การพัฒนาเครื่องมือการลงทุนเพื่อส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสนอแนะนโยบาย แผน และมาตรการ              ในการพัฒนาระบบบำเหน็จบำนาญของประเทศ เพื่อสร้างวินัยการออมเพื่อการเกษียณอายุและ      การรองรับสังคมผู้สูงอายุ
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายการออมและ             การลงทุน?
     (5.1) สำนักนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน           (5) กองนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน          - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการส่งเสริม ช่วยเหลือ แนะนำ กำกับดูแล และตรวจสอบ รวมถึงการออกระเบียบหรือคำสั่งเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสถาบันการเงินประชาชน การกำกับดูแลการประกอบธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับ
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายพัฒนาระบบการเงินภาคประชาชน?
(6) สำนักนโยบายภาษี           (6) กองนโยบายภาษี           - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำความเห็นเพื่อประกอบการวินิจฉัย ให้คำปรึกษาและคำแนะนำของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงดำเนินการเกี่ยวกับงานเลขานุการของคณะกรรมการวินิจฉัยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายภาษี?
(7) สำนักนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน           (7) กองนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน           - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ                        การเสนอแนะนโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันภัยพืชผล และเครื่องมือใน                การบริหารความเสี่ยงภัยให้แก่ประชาชน
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายระบบการคุ้มครองผลประโยชน์ทางการเงิน?
(8) สำนักนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน           (8) กองนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน           - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับ                           การเสนอแนะนโยบายในการกำกับดูแล                        การให้บริการทางการเงิน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่มีการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้ในการประกอบธุรกิจ การบริหารจัดการเกี่ยวกับกองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมถึงจัดทำระบบฐานข้อมูลของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ รวมทั้งสถาบันการเงินเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการเสนอแนะนโยบายและมาตรการ                 ด้านการเงิน
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายระบบการเงินและสถาบันการเงิน?
(9) สำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค          (9) กองนโยบายเศรษฐกิจ           มหภาค           - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลด้านเศรษฐกิจมหภาค เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและใช้ในการติดตาม วิเคราะห์ และประมวลผล รวมถึงการบริหารจัดการข้อมูลให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเสนอแนะนโยบายเศรษฐกิจต่อ กค.
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายเศรษฐกิจมหภาค?
(10) สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ           (10) กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ           - ปรับปรุงหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการจัดทำนโยบายและกลยุทธ์เพื่อกำหนดแนวทางและมาตรการด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และกำหนดแนวทางที่เกี่ยวข้องกับ กค. ในฐานะภาคีสมาชิกในสถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ
- เปลี่ยนชื่อ เป็น ?กองนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ?

เศรษฐกิจ-สังคม
5. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ครั้งที่ 2 วงเงิน 2,039.21 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและภัยภิบัติ (จำนวน 23 จังหวัด) ของกรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบท
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ)      ครั้งที่ 2 วงเงิน 2,039.21 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง (ทล.) จำนวน 1,536.30 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) จำนวน 502.91 ล้านบาท เพื่อฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐานที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยและ                  ภัยพิบัติ จำนวน 23 จังหวัด

                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงคมนาคมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ครั้งที่ 2 วงเงินรวมทั้งสิ้น 2,039.21 ล้านบาท ประกอบด้วย กรมทางหลวง 73 รายการ วงเงิน 1,536.30 ล้านบาท และกรมทางหลวงชนบท จำนวน 25 รายการ วงเงิน 502.91 ล้านบาท เพื่อซ่อมแซม/บูรณะทางหลวงแผ่นดิน ทางหลวงชนบท และโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่ได้รับความเสียหาย จากอุทกภัยเนื่องจากพายุไซโคลนยาอาสและพายุโซนร้อน ในพื้นที่              23 จังหวัด ซึ่งถูกประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติของกระทรวงมหาดไทย โดยมีขอบเขตงานซ่อมแซม/บูรณะ อาทิ งานซ่อมแซมสะพานและก่อสร้างสะพานใหม่ งานช่อมแซมโครงสร้างทางจากอุทกภัยงานซ่อมแซมดินสไลด์ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นตามกรอบวงเงินข้างต้นแล้ว
                    ทั้งนี้ งานบูรณะทางหลวงแผ่นดินและโครงสร้างพื้นฐานของ ทล. ภายใต้งบกลางฯ ที่เสนอใน       ครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 20 จังหวัด ดังนี้ (1) พื้นที่ภาคเหนือ จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงรายและจังหวัดแพร่ (2) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดเลย และจังหวัดศรีษะเกษ (3) พื้นที่ภาคกลาง จำนวน              7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดลพบุรี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดอุทัยธานี (4) พื้นที่ภาคตะวันตก จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก (5) พื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปราจีนบุรี และ (6) พื้นที่ภาคใต้ จำนวน 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพรและจังหวัด สุราษฎร์ธานี โดยมีขอบเขตงานซ่อมแซม/บูรณะ อาทิ งานซ่อมแซมสะพาน และก่อสร้างสะพานใหม่ งานซ่อมแซมดินสไลด์ รวม 73 รายการ วงเงิน 1,536.30 ล้านบาท
                    ขณะที่งานบูรณะทางหลวงชนบทและโครงสร้างพื้นฐานของ ทช. ภายใต้งบกลางฯ ที่เสนอใน                 ครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่ 15 จังหวัด ดังนี้ (1) พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดเลย และจังหวัดศรีษะเกษ (2) พื้นที่ภาคกลาง จำนวน                6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดลพบุรี จังหวัดสุโขทัย จังหวัดอ่างทอง และจังหวัดอุทัยธานี (3) พื้นที่ภาคตะวันตก จำนวน 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตาก และ (5) พื้นที่ภาคใต้ จำนวน                2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพรและจังหวัดระนอง โดยมีขอบเขตงานซ่อมแซม/บูรณะ อาทิ งานซ่อมแซมโครงสร้างทางจากอุทกภัย งานซ่อมแซมระบบระบายน้ำที่ชำรุดเสียหาย รวม 25 รายการ วงเงิน 502.91 ล้านบาท

6. เรื่อง มาตรการภาษีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติ1 เป็นระยะเวลา 5 ปี ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กก. รายงานว่า
                    1. ช่วงปี 2554 ? 2558 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติ ส่งผลให้มีรายได้จากธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยในปี 2558 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของการใช้มาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติ ประเทศไทยมีรายได้จากธุรกิจดังกล่าว 3,164.3 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2554 คิดเป็นร้อยละ 158.01 และหลังจากเริ่มดำเนินมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประทศในประเทศไทยในปี 2560 รายได้จากธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2564 ธุรกิจดังกล่าวได้สร้างรายได้เข้าประเทศ 5,007 ล้านบาท นอกจากนี้ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2560 - 2564) มีค่าเฉลี่ยรายได้จากการลงทุนของกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเฉลี่ยประมาณ 3,500 ล้านบาทต่อปี ซึ่งได้กระจายไปยังภาคส่วนต่าง ๆ ในระบบเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศของประเทศไทยในปัจจุบันที่ดำเนินการในรูปแบบการคืนเงิน (Cash Rebate) สูงสุดร้อยละ 15 - 20 ของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในประเทศไทย และจำกัดเพดานการคืนเงินไม่เกิน              75 ล้านบาทแล้ว ถือว่าน้อยกว่าประเทศอื่นมาก
                    2. ปัจจุบันอุตสาหกรรมภาพยนตร์โลกมีการแข่งขันสูงมาก ประกอบกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการถ่ายทำที่ทันสมัย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์มีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้นรวมทั้งหลายประเทศมีมาตรการทางการเงินและมาตรการทางภาษีเพื่อดึงดูดให้เกิดการลงทุนสร้างภาพยนตร์ในประเทศตน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงได้หารือร่วมกันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่ส่งผลต่อการดำเนินธุรกิจการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย โดยเห็นว่า การกำหนดให้นักแสดงชาวต่างชาติที่เข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยมีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทย2 อาจส่งผลต่อการตัดสินใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย เนื่องจากนักแสดงชาวต่างชาติได้เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้กับประเทศต้นทางที่เป็นแหล่งรายได้อยู่แล้ว ประกอบกับภาครัฐสามารถจัดเก็บเงินภาษีนักแสดงชาวต่างชาติได้น้อยมาก โดยในช่วงระหว่าง            ปี 2562 - 2563 นักแสดงชาวต่างชาติจากภาพยนตร์ต่างประเทศ จำนวน 4 เรื่อง ได้ยื่นเสียภาษีนักแสดงชาวต่างชาติเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 6.765 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.90 ของวงเงินลงทุนถ่ายทำรวมเท่านั้น จึงให้มีการทบทวนการดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติให้มีผลบังคับใช้อีกครั้ง เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาด้านกฎระเบียบบางประการที่เป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจและไม่เอื้อต่อการอำนวยความสะดวกแก่คณะถ่ายทำภาพยนตร์จากต่างประเทศ และ คบศ. ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการของมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย รวมทั้งคณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน] มีมติเห็นชอบในหลักการเรื่อง มาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติ โดยให้กำหนดระยะเวลา 5 ปี และมอบหมายให้ กก. (กรมการท่องเที่ยว) นำเสนอเรื่อง การยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติ           ต่อคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว
                    3.  ทั้งนี้ การดำเนินมาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติจะเป็นการช่วยสนับสนุนมาตรการส่งเสริมการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยให้น่าสนใจมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเปิดโอกาสที่จะได้รับประโยชน์ ดังนี้
                              3.1 สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศ เกิดการจ้างงานในอุตสาหกรรมภาพยนตร์และภาคการท่องเที่ยว กระจายรายได้สู่ธุรกิจและบริการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงชุมชนท้องถิ่นที่เป็นสถานที่ถ่ายทำ
                              3.2 ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศผ่านภาพยนตร์ต่างประเทศ              ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักกว้างขวางยิ่งขึ้นและได้รับการยอมรับในการเป็นจุดหมายปลายทางของคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศจากทั่วโลก สร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศรายเดิม และสร้างแรงจูงใจแก่ผู้สร้างภาพยนตร์ต่างประเทศรายใหม่
                              3.3 พัฒนาศักยภาพบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย นักแสดงชาวไทยมีโอกาสร่วมแสดงในภาพยนตร์ต่างประเทศ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ของบุคลากรชาวไทยจากการร่วมงานกับคณะถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ
                    4. กก. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว โดยหากสามารถรักษาฐานรายได้จากการลงทุนถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยเท่ากับค่าเฉลี่ยรายได้ดังกล่าวย้อนหลัง 5 ปี (ปี 2560 - 2564) ประมาณ 3,500 ล้านบาทต่อปี ประเทศไทยจะมีรายได้จากการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ประมาณ 17,500 ล้านบาท ในช่วง 5 ปี และสูญเสียรายได้ประมาณ 71.75 ล้านบาท

1กก. ชี้แจงเพิ่มเติมว่า มาตรการยกเว้นภาษีนักแสดงชาวต่างชาติตามข้อเสนอของ กก. นั้น หมายถึง การขอยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับบุคคลธรรมดาสำหรับนักแสดงสาธารณะที่เป็นนักแสดงภาพยนตร์ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในต่างประเทศที่แสดงภาพยนตร์ต่างประเทศซึ่งดำเนินการสร้างโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและได้รับอนุญาตการสร้างตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ เหมือนกรณีกฎกระทรวง ฉบับที่ 289 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร
2ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 120/2545 เรื่อง การเก็บภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีการถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สั่ง ณ วันที่ 19 พฤษภาคม 2545



7. เรื่อง ขอความเห็นชอบแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2569
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการแผนอัตรากำลังโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) (รพ. กัลยาณิวัฒนาการุณย์ฯ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ? 2569 จำนวน 467 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 152.78 ล้านบาท ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ โดยในส่วนของการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายเพื่อรองรับการขอเพิ่มกรอบอัตรากำลังตามแผนอัตรากำลัง รพ. กัลยาณิวัฒนาการุณย์ฯ ให้พิจารณาแหล่งเงินให้ครอบคลุมทุกแหล่งเงินโดยใช้เงินของมหาวิทยาลัยเป็นลำดับแรก
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนอัตรากำลังของโรงพยาบาลกัลยาณิวัฒนาการุณย์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ (มนร.) (รพ. กัลยาณิวัฒนาการุณย์ฯ) ประจำปีงบประมาณ พศ. 2566 - 2569 จำนวน 467 อัตรา งบประมาณรวมทั้งสิ้น 152.78 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์              (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพการตรวจรักษาให้มีความสะดวกรวดเร็ว และสามารถตรวจรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเฉพาะทาง เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงระบบสาธารณสุขที่มีมาตรฐานสากล รองรับการบริการผู้ป่วยทุกสิทธิการรักษาให้แก่ประชาชนทั้งในส่วนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน และรองรับผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีเป้าหมายในการขยายบริการจากโรงพยาบาลทุติยภูมิ (ขนาด F3) จำนวน 30 เตียง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นโรงพยาบาลทุติยภูมิ (ขนาด M2) จำนวน 200 เตียง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2569               (2) เพื่อรองรับการจัดการเรียนการสอนของคณะแพทย์ศาสตร์ ตามหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตหลักสูตรปรับปรุงในปีการศึกษา 2568 ที่ให้นักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้กับผู้ป่วยจริงตั้งแต่ชั้นปรีคลินิกและรองรับการผลิตแพทย์ให้เต็มศักยภาพ โดยกำหนดเป้าหมายในการรับนักศึกษาเพิ่มเป็นจำนวนทั้งสิ้น 48 คน (จากเดิมปีการศึกษา 2562               รับนักศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 36 คน)

8. เรื่อง ภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง ปี 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอภาวะสังคมไทยไตรมาสหนึ่ง (เดือนมกราคม-มีนาคม) ปี 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2561 มาตรา 20 (5) ที่บัญญัติให้ สศช. รายงานภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความเคลื่อนไหวทางสังคมไตรมาสหนึ่ง (เดือนมกราคม-มีนาคม) ปี 2565 สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 สถานการณ์แรงงาน
                                        1.1.1 ภาพรวมการจ้างงาน มีจำนวนทั้งสิ้น 38.7 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้นทั้งในและนอกภาคเกษตรกรรม โดยสาขาที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ได้แก่                  สาขาการผลิต สาขาการขายส่ง/ขายปลีก และสาขาการขนส่ง/เก็บสินค้า ขณะที่สาขาก่อสร้างและสาขาโรงแรม/ภัตตาคารมีการจ้างงานลดลงเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ที่รุนแรงขึ้นในไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 ประกอบกับมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติไม่มาก และในส่วนชั่วโมงการทำงานปรับตัวดีขึ้นทั้งในภาพรวมและภาคเอกชนแต่ยังต่ำกว่าช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19
                                        1.1.2 การว่างงานปรับตัวดีขึ้น โดยผู้ว่างงานมีจำนวนทั้งสิ้น 6.1 แสนคน ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่มีจำนวน 6.3 แสนคน  คิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 1.53 ซึ่งต่ำที่สุดตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งนี้ มีประเด็นที่น่สนใจ เช่น (1) ผู้ว่างงานที่ไม่เคยทำงานมาก่อนยังคงเพิ่มขึ้น (2) ผู้ว่างงานระยะยาวยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และ (3) กลุ่มแรงงานที่จบการศึกษาสูงยังมีอัตราการว่างงานอยู่ในระดับสูง
                                        1.1.3 ประเด็นที่ต้องติดตามในระยะต่อไป ได้แก่ (1) การฟื้นตัวของการจ้างงานภาคท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังมีจำนวนไม่มากเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่นักท่องเที่ยวไทยแม้จะมีแนวโน้มดีขึ้นจากโครงการกระตุ้นการท่องเที่ยวของภาครัฐแต่ยังไม่สามารถชดเชยรายได้ที่มาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ (2) ผลกระทบของการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าต่อค่าครองชีพของแรงงานและการจ้างงาน เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2564 จากราคาน้ำมันและปัจจัยการผลิตในสินค้าบางชนิดที่เพิ่มขึ้นส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของแรงงาน รวมทั้งอาจกระทบต่อการจ้างงานในภาคเกษตรกรรมเนื่องจากราคาปุ๋ยสูงขึ้นและการจ้างงานในสาขาขนส่งเนื่องจากต้นทุนราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น และ (3) การหามาตรการแก้ไขปัญหาการว่างงานระยะยาวและการว่างงานของผู้จบการศึกษาใหม่ที่ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
                              1.2 หนี้สินครัวเรือนในไตรมาสสี่ ปี 2564 (เดือนตุลาคม-ธันวาคม) ขยายตัวชะลอลง ส่วนคุณภาพสินเชื่อยังอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ยังต้องติดตามผลกระทบจากรายได้ครัวเรือนที่ยังไม่ฟื้นตัว                       ความเปราะบางของฐานะการเงินของครัวเรือน และค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งอาจกระทบต่อความสามารถในการชำระหนี้ โดยไตรมาสสี่ ปี 2564 หนี้สินครัวเรือนมีมูลค่า 14.58  ล้านล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 3.9 แต่ชะลอลงจากไตรมาสก่อน (เดือนกรกฎาคม-กันยายน)  ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 4.2 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90.1 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross, Domestic Product: GDP) ส่วนด้านความสามารถในการชำระหนี้ปรับตัวดีขึ้น โดยหนี้เพื่อการอุปโภคบริโภคที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPLs) ลดลงจากไตรมาสก่อนร้อยละ 4.0                   คิดเป็นสัดส่วนต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ร้อยละ 2.73 ทั้งนี้ ต้องติดตามความสามารถในการชำระหนี้อย่างใกล้ชิด เนื่องจาก (1) ครัวเรือนมีฐานะการเงินเปราะบางมากขึ้นจากการเผชิญภาวะเศรษฐกิจที่หดตัวเป็นเวลานาน ทำให้ครัวเรือนโดยเฉพาะกลุ่มรายได้น้อยมีสภาพคล่องต่ำ (2) รายได้ครัวเรือนยังไม่ฟื้นตัวแม้การจ้างงานจะเพิ่มขึ้นแต่ชั่วโมง               การทำงานยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ และผู้เสมือนว่างงานยังมีจำนวนมาก และ (3) ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจทำให้ครัวเรือนมีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับการชำระหนี้
                              1.3 การเจ็บป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังลดลง ภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตดีขึ้นแต่ยังต้องติดตามการได้รับวัคซีนของประชาชนและการสร้างการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะติดเชื้อ โดยจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเฝ้าระวังโดยรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจาก 70,287 ราย เหลือเพียง 43,670 ราย ขณะที่ภาวะความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตดีขึ้นในทุกด้าน อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามการได้รับวัคซีนของประชาชน              ซึ่งปัจจุบันมีผู้ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพียงร้อยละ 39.1 และยังไม่เคยได้รับวัคซีนร้อยละ 18.7 รวมทั้งควรสร้าง              การรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องในการจัดการขยะติดเชื้อ ซึ่งในปี 2564 ประเทศไทยมีขยะติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก                  ปี 2563 ถึงร้อยละ 87
                              1.4 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่เพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.6 โดยการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 ขณะที่การบริโภคบุหรี่ลดลงร้อยละ 1.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และ              ในระยะถัดไปควรให้ความสำคัญกับ (1) การควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ในร้านอาหารภายหลังจากการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ซึ่งอาจทำให้มีการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นและมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของ             โควิด-19  (2) การรณรงค์ให้เลิกสูบบุหรี่ในบ้าน เนื่องจากผลสำรวจข้อมูลพบว่า ประชากรอายุ  15 ปีขึ้นไป                ร้อยละ 23.7 มีการสูบบุหรี่ในบ้าน ซึ่งส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสาม                       (3) การปราบปรามการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ซึ่งปัจจุบันมีการโฆษณา และจำหน่ายบนแพลตฟอร์มออนไลน์อย่างแพร่หลายทำให้เยาวชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
                              1.5 คดีอาญาโดยรวมลดลงแต่คดียาเสพติดยังอยู่ในระดับสูง ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องติดตามและเฝ้าระวัง ได้แก่ (1) การให้ความสำคัญกับการนำผู้เสพยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาและฟื้นฟู รวมทั้งป้องกันการกลับมาเป็นผู้เสพซ้ำและ (2) การกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงต้องให้ความสำคัญกับครอบครัวในการร่วมขจัดปัญหาและสร้างความเข้าใจกับสังคม โดยรณรงค์ให้ประชาชนไม่เป็นผู้กระทำความรุนแรง ไม่ยอมรับความรุนแรงที่เกิดขึ้นและไม่นิ่งเฉยต่อการกระทำดังกล่าว
                              1.6 การเกิดอุบัติเหตุการจราจรทางบกมีจำนวนผู้บาดเจ็บและผู้เสียชีวิตลดลง เนื่องจากประชาชนลดการเดินทางในช่วงไตรมาสหนึ่ง ปี 2565 เนื่องจากเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ขณะที่ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2565 มีการเกิดอุบัติเหตุลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนแต่มีผู้เสียชีวิดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ มีประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรบูรณาการความร่วมมือเพื่อสร้างความปลอดภัยในการเดินทาง โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลเพื่อลดอุบัติเหตุและอำนวยความสะดวกแก่ผู้สัญจรทางถนน
                              1.7 การรับเรื่องร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) ลดลงโดยด้านที่ได้รับเรื่องร้องเรียนมากที่สุด คือ ด้านฉลากสินค้า ด้านโฆษณา และด้านขายตรงและตลาดแบบตรงขณะที่การร้องเรียนผ่านสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่เป็นการร้องเรียนเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่มากที่สุด ทั้งนี้ มีประเด็นติดตามและเฝ้าระวัง ได้แก่ (1) การหลอกลวงผ่าน Call Center และข้อความ SMS โดยในปี 2564 มีการหลอกลวงเพิ่มขึ้นร้อยละ 270 และ 57 ตามลำดับ และ (2) ปัญหาการปนเปื้อนในอาหารที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและ             การแสดงฉลากสินค้าที่ทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิด โดยอาจพิจารณาบทลงโทษให้มากขึ้นและสร้างระบบตรวจสอบห่วงโซ่การผลิต เพื่อให้สามารถหาสาเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
                    2. สถานการณ์ทางสังคมที่สำคัญ
                              2.1 ภาวะการเรียนรู้ถดถอย : โอกาสการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ภาวะการเรียนรู้ถดถอยหรือการสูญเสียการเรียนรู้มีสาเหตุส่วนใหญ่จากความไม่ต่อเนื่องในการศึกษาและการสอนที่ไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้มีการปิดเรียนเป็นระยะเวลานานส่งผลให้เด็กสูญเสียการเรียนรู้ และจากผลสำรวจสถานการณ์การศึกษาจากครูและบุคลากรทางการศึกษาพบว่า ปัญหาการเรียนรู้ถดถอยของนักเรียน ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนประถมศึกษาตอนต้นเป็นระดับที่มีปัญหาภาวะถดถอย           มากที่สุด ซึ่งมีสาเหตุมาจากการขาดแคลนอุปกรณ์ ไม่มีสมาธิในการเรียนออนไลน์ ผู้ปกครองไม่มีเวลาติดตาม             การเรียน ไม่สามารถสอนการบ้านให้ได้ และมีฐานะยากจน
                              ปัจจุบันไทยมีเครื่องมือในการลดช่องว่างการเรียนรู้ คือ นวัตกรรม Learning Box1 หรือชุดกล่องการเรียนรู้ เพื่อช่วยสร้างการเรียนรู้นอกห้องเรียน ลดข้อจำกัดด้านอุปกรณ์และสัญญาณอินเทอร์เน็ต ส่งเสริมให้ครูสามารถออกแบบการเรียนรู้ได้ตามพื้นที่และบริบท ซึ่งสามารถรองรับการเปิดเรียนเมื่อสถานการณ์คลี่คลาย นอกจากนี้ การเรียนรู้ถดถอยส่งผลให้เกิดการปรับตัวของผู้เกี่ยวข้อง โดยเกิดการผลักดันการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยี การสร้างรูปแบบทางการศึกษาใหม่ ๆ และแอปพลิเคชันที่ช่วยเสริมสร้างความรู้และพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ส่งผลให้ฐานการเรียนรู้จากโรงเรียนมีความสำคัญลดลง และอาจจำเป็นต่อการปรับกระบวนทัศน์การจัดการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเป็นฐานการเรียน ดังนั้น ภาครัฐและคนในสังคมจำเป็นต้องเร่งสร้างระบบนิเวศน์การเรียนรู้และปรับปรุงโครงสร้างการศึกษาที่สนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต
                              2.2  ความท้าทายของตลาดคาร์บอนไทยและประเด็นที่ต้องคำนึงถึง จากการที่ไทยประกาศเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2608  ทำให้ต้องมีมาตรการในการลดก๊าซเรือนกระจก ซึ่งตลาดคาร์บอน2 เป็นกลไกหนึ่งที่มีต้นทุนในการดำเนินการน้อยที่สุดและเป็นเครื่องมือในการลดการปล่อย                               ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่คุ้มค่าที่สุด ทั้งนี้ ตลาดคาร์บอนของไทยในปัจจุบันมีประเด็นท้าทาย ได้แก่ (1) การซื้อขายคาร์บอนเครดิตในไทยยังมีปริมาณน้อยเมื่อเทียบกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของประเทศ (2) การขาดแพลตฟอร์มการซื้อขายและแลกเปลี่ยนคาร์บอนเครดิต (3) ต้นทุนการตรวจวัด รายงาน และทวนสอบในการรับรองคาร์บอนเครดิตอยู่ในระดับสูง และ (4) ตลาดคาร์บอนยังไม่มีการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ                 ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายของประเทศ  ดังนั้น การที่ไทยจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ ตามการประกาศเจตนารมณ์โดยใช้ตลาดคาร์บอนเป็นเครื่องมือ จึงต้องให้ความสำคัญ ดังนี้ (1) การจูงใจให้ภาคเอกชนเข้าร่วมตลาดคาร์บอนมากขึ้น(2) การกำหนดเกณฑ์การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ เช่น กำหนดระดับการปล่อยก๊าซในกรณีฐานของแต่ละอุตสาหกรรม (3) การจัดทำระบบฐานข้อมูลการซื้อขายคาร์บอนเครดิต (4) การส่งเสริมให้มีการลงทุนในเทคโนโลยีที่สามารถลดการปล่อย                       ก๊าซคาร์บอนฯ หรือการลงทุนเพื่อผลิตคาร์บอนเครดิต เช่น การจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ และ (5) การสร้างการรับรู้และส่งเสริมให้ท้องถิ่นและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างรายได้แก่ชุมชน
                    3. บทความเรื่อง ?สภาพปัญหาการหลอกลวงยุคดิจิทัลและแนวทางแก้ไข?  การหลอกลวงผ่านเครื่องมือสื่อสารเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถพบได้ในชีวิตประจำวันและสร้างความเสียหายเป็นมูลค่าสูง ซึ่งในปี 2564ไทยมีการใช้โทรศัพท์เพื่อหลอกลวงมากกว่า 6.4 ล้านครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 270 และมีข้อความ SMS หลอกลวงเพิ่มขึ้นร้อยละ 57  มูลค่าความเสียหายรวมมากกว่า 1,000 ล้านบาท และจากการศึกษาของ สศช. พบประเด็นที่น่าสนใจดังนี้ (1) คนไทยประมาณครึ่งหนึ่งมีประสบการณ์ถูกหลอกลวงในช่วง 1 ปี และประมาณ 2 ใน 5  ถูกตกเป็นเหยื่อและ (2) ผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่าครึ่งหนึ่งไม่มีการดำเนินการใด ๆ และเห็นว่า การป้องกันและจัดการปัญหาของภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร นอกจากนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อการถูกหลอกและการเอาตัวรอด พบว่า                 (1) พฤติกรรมเสี่ยงในการใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่และบุคลิกภาพส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่เปิดโอกาสให้ตกเป็นเหยื่อ (2) การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการหลอกลวง ทำให้โอกาสการตกเป็นเหยื่อลดลงได้ (3) เทคโนโลยีและทักษะ/กลยุทธ์ของมิจฉาชีพเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายและการตกเป็นเหยื่อ นอกจากนี้ ยังมีข้อจำกัดในการรับมือกับปัญหา ได้แก่ มีการพัฒนารูปแบบการหลอกลวงใหม่ ๆ ตลอดเวลา ข้อมูลเกี่ยวกับ                     การหลอกลวงมีความกระจัดกระจายและการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลยังไม่เป็นระบบ รวมทั้งการจัดการปัญหา                   การหลอกลวงของหน่วยงานภาครัฐยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
                    ข้อเสนอต่อการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย (1) สร้างภูมิคุ้มกันในการใช้ชีวิตยุคดิจิทัลโดยรณรงค์/ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน และรณรงค์ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลเบาะแสเพื่อให้                การป้องปรามเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ (2) สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น การให้อำนาจผู้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มีอถือสามารถระงับสัญญาณเลขหมายที่ต้องสงสัยได้ (3) พิจารณาตั้งหน่วยงานเฉพาะที่มีหน้าที่กำกับดูแล ป้องกันและป้องปรามการหลอกลวงผ่านอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารสมัยใหม่ และ (4) สร้างความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติทางไซเบอร์โดยการประสานข้อมูล ข่าวสารและการอำนวยความสะดวกในการสืบสวนสอบสวน

1Leaning Box หรือชุดกล่องการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จะประกอบด้วยหนังสือเล่มเล็ก แผนภูมิขั้นตอนทำกิจกรรม วัสดุและอุปกรณ์การเรียน แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน  และแบบบันทึกและแบบประเมินสำหรับผู้ปกครองและครูประจำชั้น
2ตลาดคาร์บอน คือแนวคิดเพื่อลดการปล่อยและควบคุมปริมาณก๊าซคาร์บอนฯ ให้อยู่ในระดับมาตรฐานตามที่ภาครัฐกำหนด โดยใช้กลไกตลาดในการจัดสรรปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโดยผู้ประกอบการรายใดสามารถปล่อยก๊าซได้ต่ำกว่าค่ามาตรฐานจะสามารถเสนอขายเป็นคาร์บอนเครดิตให้แก่ผู้ประกอบการที่ปล่อยก๊าซเกินค่ามาตรฐานได้ ซึ่งเป็นการจูงใจให้ผู้ประกอบการทุกรายปรับเปลี่ยนวิธีการผลิตที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ สู่อากาศน้อยลง

9. เรื่อง  รายงานผลการดำเนินงานโครงการอาคารแสดงประเทศไทย งาน World Expo 2020 Dubai
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ   รายงานผลการดำเนินงานโครงการอาคารแสดงประเทศไทย งาน World Expo 2020 Dubai โดยงานดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่                1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี                   (17 กรกฎาคม 2561) ที่เห็นชอบในหลักการแผนการดำเนินงานและกรอบงบประมาณเพื่อใช้จัดงานนิทรรศการ World Expo 2020 Dubai วงเงิน 950.53 ล้านบาท และมติคณะรัฐมนตรี (23 มิถุนายน 2563) รับทราบ                       การลงคะแนนรับรองข้อเสนอเลื่อนกำหนดจัดงาน World Expo 2020 Dubai จากเดิมวันที่ 20 ตุลาคม 2563-                 16 เมษายน 2564 เป็นวันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 มีนาคม 2565] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ/ผลการดำเนินการ
1. ภาพรวมโครงการ          1.1 ตลอดระยะเวลาจัดแสดงงาน มีผู้เข้าชมแล้วกว่า 2.35 ล้านคน เฉลี่ยวันละ 13,000 คน โดยได้รับคะแนนความนิยมจากสาธารณชนสูงที่สุดในโชน Mobility และเป็นลำดับที่ 41 จากอาคารจัดแสดงระดับประเทศทั้งหมดในงาน World Expo 2020 Dubai นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้รับรางวัล Honorable Mention2 ในกลุ่ม Editor's Choice Award จากนิตยสาร EXHIBITOR Magazine รวมทั้งจากผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าชมอาคารแสดงประเทศไทย พบว่าผู้ชมอาคารแสดงประเทศไทยตัดสินใจเลือกชมอาคารแสดงประเทศไทยจากกระแสความนิยมและการบอกต่อในฐานะที่อาคารแสดงประเทศไทยเป็นหนึ่งในอาคารที่น่าสนใจอันดับต้น ๆ ของงานและตัดสินใจเลือกชมอาคารแสดงประเทศไทยจากความสนใจในศิลปวัฒนธรรม นอกจากนี้ ในแง่ความประทับใจของผู้เข้าชมพบว่า ร้อยละ 97 ของผู้ชมมีความชื่นชอบในระดับ ?มาก? ถึง ?มากที่สุด?
1.2 ปัจจัยความสำเร็จของอาคารแสดงประเทศไทย นอกเหนือจากความน่าสนใจของเนื้อหานิทรรศการภายในอาคารทั้ง 4 ห้อง ที่นำเสนอความงดงามของศิลปวัฒนธรรมไทยการเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงภูมิภาคและพัฒนาการของประเทศไทย พระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยจากอดีตจนปัจจุบัน โดยเป็นการผนึกกำลังร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ คณะกรรมการบริหารประจำสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และภาคเอกชน เพื่อร่วมนำเสนอศักยภาพของประเทศไทยในทุกมิติผ่านการจัดกิจกรรมพิเศษต่าง ๆ เช่น                  1) เทศกาลอาหารไทยและสุขภาพ 2) เทศกาลลอยกระทง 3) นิทรรศการนวัตกรรมเพื่อคุณภาพชีวิตและอนาคตที่ยั่งยืน 4) เทศกาลดิจิทัลและนวัตกรรมโดยนำเสนอผลงานโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของไทยและโครงการเน็ตประชารัฐ และ 5) เทศกาลสงกรานต์โดยนำเสนอศิลปวัฒนธรรมและความสนุกสนานแบบไทยพร้อมกิจกรรมกระชับความสัมพันธ์ร่วมกับอาคารแสดงประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนร่วมแสดงศักยภาพของประเทศไทย เช่น 1) บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) 2) บริษัท ดั๊บเบิ้ล เอ (1991) จำกัด (มหาชน) และ 3) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
2. การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์โครงการฯ           2.1 การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้กับประเทศไทย
          (1) เปิดโอกาสให้กับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมในการเผยแพร่สินค้าไทยในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นศูนย์กระจายสินค้าไปยังภูมิภาคใกล้เคียงโดยได้คัดเลือกสินค้าไทยที่มีศักยภาพในการจำหน่ายและมีโอกาสเติบโตในภูมิภาคตะวันออกกลางใน 5  กลุ่ม ได้แก่ 1) งานฝีมือ 2) สุขภาพ สปาและเครื่องสำอาง 3) ของที่ระลึก              4) เครื่องประดับ และ 5) อาหารพร้อมรับประทาน รวมกว่า 150 รายการ เพื่อจัดจำหน่ายและทดสอบตลาดในร้านขายของที่ระลึกของอาคารแสดงประเทศไทย รวมทั้งส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น (ดิจิทัลสตาร์ทอัพ) 9 ราย และส่งเสริมโอกาสในการทำความเข้าใจตลาดภูมิภาคตะวันออกกลาง และสร้างโอกาสเจรจาธุรกิจทั้งภายในและภายนอกงาน นอกจากนี้ ยังได้ส่งเสริมบทบาทของผู้สนับสนุนโครงการซึ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ผ่านการประชาสัมพันธ์สินค้าและบริการผ่านหน้าจออาคารแสดงประเทศไทย เช่น การใช้วัสดุก่อสร้างอาคารและสุขภัณฑ์จากบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) และ                การประชาสัมพันธ์เครื่องดื่มของ บริษัท ที.ซี.ฟาร์มาซูติคอล อุตสาหกรรม จำกัด (กลุ่มธุรกิจ TCP) สำหรับการรับรองบุคคลสำคัญที่เยี่ยมชมอาคารแสดงประเทศไทยในโอกาสต่าง ๆ ทั้งนี้ ในช่วงของการจัดงานมียอดการเจรจาธุรกิจโดยบริษัทขนาดใหญ่มูลค่ากว่า                  50 ล้านบาท
          (2) โอกาสด้านการท่องเที่ยว โดยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวและการใช้ชีวิตในประเทศไทยผ่านเนื้อหาในห้องนิทรรศการที่ 4 ซึ่งบอกเล่าเสน่ห์ของประเทศไทย              ด้านศิลปวัฒนธรรม อาหารไทย และการบริการ ผ่านสายตาของชาวต่างชาติรวมถึงความพร้อมและศักยภาพของประเทศไทยด้านการแพทย์และการทำธุรกิจ ซึ่งจะเป็นปัจจัยดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปประเทศไทย ทั้งนี้ จากการสำรวจข้อมูลความพึงพอใจของผู้เข้าชมอาคารแสดงประเทศไทย พบว่าผู้ชมกว่าร้อยละ 95 ต้องการเดินทางท่องเที่ยวประเทศไทยหลังมีโอกาสได้รับชมนิทรรศการภายในอาคารฯ
2.2  การประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ของประเทศ
          (1) ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ทางวัฒนธรรมและ Soft Power เช่น 1) แสดงศิลปวัฒนธรรมไทยผ่านการแสดงประจำวัน รวมกว่า 900 รอบ สามารถดึงดูดให้ผู้สนใจได้ทำความรู้จักประเทศไทยผ่านศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิมที่ประยุกต์เข้ากับการแสดงร่วมสมัยที่มีความสนุกสนาน 2) นำเสนออาหารไทยโดยคัดเลือกผู้ประกอบการร้านอาหารไทยที่มีประสบการณ์ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์โดยตลอดระยะเวลาจัดงาน ร้านอาหารไทยได้ให้บริการอาหารกว่า 220,000 จาน นอกจากนี้ อาหารไทยยังได้ถูกสอดแทรกในเนื้อหาในห้องนิทรรศการผ่านการบอกเล่าเรื่องราวของชาวต่างชาติ รวมไปถึงจัดกิจกรรมพิเศษที่นำเสนออาหารไทยในโอกาสต่าง ๆ เช่น เทศกาลอาหารไทยและสุขภาพ สาธิตการทำอาหารไทยและน้ำสมุนไพรไทยเพื่อสุขภาพ ภายใต้แนวคิด ?อาหารคือยารักษาโรค? และเทศกาล Thai SELECT ซึ่งเป็นตราที่กระทรวงพาณิชย์มอบให้ร้านอาหารไทยในต่างประเทศที่ผ่านมาตรฐานตามที่กำหนดไว้ โดยมีร้านอาหารที่ได้รับตรา Thai SELECT ในเมืองดูไบ 8 ร้าน และร่วมสาธิตการทำอาหารไทยสู่สายตาของนักท่องเที่ยวกว่าวันละ 10,000 คน และ 3) จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับมวยไทยผ่านการนำเสนอในห้องนิทรรศการที่ 4 รวมถึงจัดการแสดงประจำชุด Thai Fighting Spirit ซึ่งผสมผสานศิลปะการป้องกันตัวและแม่ไม้มวยไทยเข้ากับแอนิเมชันในรูปแบบเกมและอีสปอร์ต และ                     การจัดการแสดงชุดพิเศษเกี่ยวกับแม่ไม้มวยไทย ตลอดจนการจัดแข่งขันชกมวยไทย นอกจากนี้ ประเทศเจ้าภาพ (สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์) ยังได้บรรจุการแข่งขันมวยไทยเป็นหนึ่งในกิจกรรมพิเศษของ Expo บริเวณพื้นที่ Expo Sport Arena ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างสูงเช่นเดียวกัน
          (2) ประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์ในด้านศักยภาพของคนไทย ผ่านเวทีต่าง ๆ ของ Expo สู่เวทีระดับโลก เช่น 1) ให้การสนับสนุนทางด้านการเงินแก่โครงการที่มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คนและทรัพยากรของโลกให้มีความยั่งยืนโดยผลิตภัณฑ์ของบริษัท สยามออร์แกนิค จำกัด ได้รับการยอมรับในแง่ความคิดริเริ่มในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับกลุ่มเกษตรกรรมไทยและวิสาหกิจชุมชนให้สามารถหลุดพ้นกับดักความยากจน ด้วยการทำงานร่วมกับเกษตรกรเพื่อให้เข้าใจถึงต้นตอของปัญหาราคาสินค้าเกษตรที่มีราคาต่ำ 2) ผลงานแพลตฟอร์มดิจิทัล Hydrogence โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลได้รับรางวัลชนะเลิศและรางวัลขวัญใจมหาชน ในการแข่งขันในรายการ MindSphere Future World Series ภายใต้หัวข้อ ?อนาคตของการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ? (Future Water Hack) โดยผสมผสานระหว่างเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) และ Machine Learning เชื่อมต่อข้อมูลแบบเรียลไทม์บนเส้นทางการไหลของน้ำในคลองและเส้นทางการระบายน้ำ เพื่อทำการประมวลผลคาดการณ์ปริมาณน้ำเพื่อการควบคุมการไหลของน้ำแบบอัตโนมัติ หรือทำการควบคุมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำอย่างเหมาะสม และ 3) บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 43 ผู้บริหารจาก         ทั่วโลก ร่วมเป็นวิทยากรในงาน Global Business Forum ASEAN ในงาน Expo 2020 Dubai ภายใต้หัวข้อ ?Drive: Attracting Investors of the Future? เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางธุรกิจกับภูมิภาคอาเซียน
2.3 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
          (1) ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผ่านการจัดกิจกรรมนิทรรศการฉลองครบรอบ 45 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทย-สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อบอกเล่าประวัติความเป็นมา และพัฒนาการความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในด้านต่าง ๆ ซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชนและประชาชนของทั้งสองประเทศให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก
          (2) จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมร่วมกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐบอตสวานา สาธารณรัฐอินโดนีเชีย สาธารณรัฐอิสลามอิหร่านสหพันธรัฐมาเลเชีย สาธารณรัฐมัลดีฟส์ สหรัฐเม็กชิโก สาธารณรัฐเกาหลี สมาพันธรัฐสวิส
และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อกระขับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมร่วมกัน
          (3) กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนผ่านกิจกรรมวันอาเซียน กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและทำการแสดงของประเทศต่าง ๆ ณ อาคารอาเซียน รวมถึงจัดกิจกรรม ASEAN Trail เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าชมงานชมอาคารแสดงประเทศสมาชิกอาเซียนให้ครบเพื่อแลกรับของรางวัล
          (4) ส่งเสริมความสัมพันธ์กับราชอาณาจักรชาอุดีอาระเบีย (ซาอุดีอาระเบีย)นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางเยือนราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 ตามคำเชิญของ                       His Royal Highness Prince Mohammad bin Salman bin Abdulaziz Al Saud โดยอาคารแสดงประเทศไทยและอาคารแสดงซาอุดีอาระเบียได้ริเริ่มจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประเทศผ่าน 2 กิจกรรมสำคัญ ได้แก่ 1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมซึ่งอาคารแสดงประเทศไทยได้ทำการแสดงชุด Thai Rhythm (การแสดงวัฒนธรรมสี่ภาคของไทย) และซาอุดีอาระเบียได้ทำการแสดงพื้นบ้าน Khubaiti และ                  2) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน โดยยุวทูตของอาคารแสดงประเทศไทย (Thailand Pavilion Youth Ambassador) 2 คน ได้มีโอกาสร่วมปฏิบัติงานในฐานะเจ้าหน้าที่ประจำอาคารซาอุดีอาระเบีย นอกจากนี้ ยังได้มีโอกาสรับรองบุคคลสำคัญระดับราชวงศ์ ระดับรัฐบาล และองค์การระหว่างประเทศ เช่น 1) Princess Sora bint Saud A!-Saud ซาอุดีอาระเบีย และ 2) รัฐมนตรีกระทรวงเทศบาลกิจการชนบท และการเคหะ ซาอุดีอาระเบีย
2.4 เสริมสร้างและต่อยอดบทบาทที่เข้มแข็งของไทยในเวที World Expo เช่น 1) ให้การต้อนรับและแสดงศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยในการต้อนรับ Mr.Tim Briercliffe เลขาธิการ International Association of Horticultural Producers ในการเยี่ยมชมอาคารแสดงประเทศไทย 2) ร่วมสนับสนุนการดำเนินงานรับมอบการเป็นเจ้าภาพงานพืชสวนโลก ปี 2569 ณ จังหวัดอุดรธานี และจัดกิจกรรมพิเศษแก่คณะผู้บริหารสมาคม International Association of Horticultural Producers ในโอกาสเยี่ยมชมอาคารแสดงประเทศไทยอย่างเป็นทางการและ 3) ร่วมจัดกิจกรรมต้อนรับเพื่อเสนอตัวยื่นประมูลสิทธิเป็นเจ้าภาพงาน Specialized Expo 2028 ณ จังหวัดภูเก็ต
3. ข้อเสนอแนะสำหรับอาคารแสดงประเทศไทยครั้งต่อไป           3.1 เห็นควรเสนอให้จัดสรรพื้นที่เพิ่มเติม 2 ส่วนในอาคารแสดงประเทศไทย ได้แก่                1) พื้นที่เชิงธุรกิจ เช่น ห้องรับรองและเจราจาทางธุรกิจ หรือห้องจัดกิจกรรมหรือประชุมสัมมนาขนาดกลาง และ 2) พื้นที่อเนกประสงค์สำหรับจัดนิทรรศการหมุนเวียน เพื่อเปิดโอกาสในเชิงธุรกิจและส่งเสริมให้หน่วยงานภาคีเครือข่ายของการจัดงานสามารถมีส่วนร่วมในการแสดงศักยภาพของประเทศไทยได้ในทุกมิติ
3.2 ควรเสนอให้มีการจัดทำคลังข้อมูลการเข้าร่วมจัดแสดงงาน World Expo ของประเทศไทย โดย ดศ. ได้จัดทำหนังสือที่ระลึกสรุปโครงการอาคารแสดงประเทศไทยฯ รวมทั้งอยู่ระหว่างดำเนินการจัดเตรียมพื้นที่ ชิ้นงาน และเนื้อหาเพื่อจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อาคารแสดงประเทศไทย World Expo 2020 Dubai โดยจะใช้พื้นที่ Thailand Digital Valley (TDV) 2- Digital Startup Knowledge Exchange Center เป็นพื้นที่จัดแสดง โดยจะจัดแสดงนิทรรศการจำลองของอาคารแสดงประเทศไทย 360 องศา ในรูปแบบ Virtual Reality และนิทรรศการเกี่ยวกับเบื้องหลังการเตรียมงานตลอดระยะเวลา 4 ปีของโครงการ ตลอดจนจัดแสดงชิ้นงานบางส่วนที่เคยใช้งานจริง
3.3 ควรมีการพิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการมอบหมายหน่วยงานกลางเพื่อดูแลความต่อเนื่องในเชิงปฏิบัติการสำหรับการร่วมจัดแสดงอาคารแสดงประเทศไทยในทุกครั้ง เนื่องจากเนื้องานในการเข้าร่วมจัดแสดงแต่ละครั้งมีขั้นตอนและรายละเอียดจำนวนมากที่ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจในเชิงลึกและจำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์ ในขณะเดียวกัน จากข้อสังเกตในการเข้าร่วมงานของอาคารจัดแสดงประเทศอื่นพบว่า กรณีประเทศที่มีหน่วยงานที่ดูแลโดยเฉพาะจะมีข้อได้เปรียบในแง่ความต่อเนื่องในการประสานงาน และสามารถสร้างเครือข่ายของผู้ปฏิบัติงานในระยะยาว

110 อันดับแรก ประกอบด้วย (1) ซาอุดีอาระเบีย (2) ปากีสถาน (3) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (4) ไทย  (5) สโลวีเนีย                  (6) ซีเรีย (7) เยอรมนี (8) รัสเซีย (9) ออสเตรเลีย และ (10) ญี่ปุ่น
2คือรางวัลขวัญใจมหาชนประเภท EDITOR'S CHOICE AWARD 2022 จากนิตยสาร Exhibitor Magazine ซึ่งเป็นนิตยสารชั้นนำด้านการจัดแสดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา

10. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 10/2565 และ     ครั้งที่ 11/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 ครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 และครั้งที่ 11/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม                พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ครั้งที่ 13/2565 เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 และครั้งที่ 14/2565 เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 ดังนี้
                    1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 10/2565 และครั้งที่ 11/2565
                              1.1 อนุมัติให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเรียนรู้ด้านสัตว์ป่า โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนมีนาคม 2565 เป็นเดือนกันยายน 2565 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) สภาพอากาศ ความพร้อมของพื้นที่ และกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเข้าดำเนินการในพื้นที่ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              1.2 อนุมัติให้จังหวัดกาฬสินธุ์เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนของโรงเรียนผู้สูงอายุ OTOP และการส่งเสริมการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์ของสภาเด็กและเยาวชนกาฬสินธุ์ (Start Up Aged and Teens Kalasin) (โครงการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนฯ) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนมีนาคม 2565 เป็นเดือนมิถุนายน 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบแล้ว
                              1.3 อนุมัติให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่าย จากเดิมสิ้นสุดเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และมอบหมายให้ ททท. เร่งดำเนินการตรวจสอบหลักฐานให้ถูกต้อง ครบถ้วน และรัดกุมตามเงื่อนไขของโครงการเพื่อให้สามารถเบิกจ่ายโครงการได้ภายใต้กรอบระยะเวลาที่เสนอในครั้งนี้
                              1.4 อนุมัติให้ ททท. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการทัวร์เที่ยวไทย โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นเดือนตุลาคม 2565 และขยายระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่าย จากเดิมเดือนมิถุนายน 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว และมอบหมายให้ ททท. ปฏิบัติตามข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                              1.5 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 - 1.4 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563)
                              1.6 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและการใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) ราย 3 เดือน ครั้งที่ 8 (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2565) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ตามขั้นตอนของข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 12/2565 ครั้งที่ 13/2565 และครั้งที่ 14/2565
                              2.1 อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (2)1 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (1)2 เพิ่มเติม (ครั้งที่ 5) จำนวน 8,700 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายในการแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19
                              2.2 อนุมัติโครงการค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (โครงการค่าบริการฯ) ปี 2565 รอบที่ 3 ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ในส่วนของค่าบริการสาธารณสุขสำหรับโรคโควิด 19 และบริการอื่นที่เกี่ยวข้องค้างจ่ายในระยะที่ผ่านมาที่ได้มีการดำเนินการไปแล้ว เพื่อจ่ายค่าบริการที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนธันวาคม 2564 จนถึงเดือนมีนาคม 2565 กรอบวงเงิน 8,708.78 ล้านบาท ตามที่ สปสช. ได้ประมวลผลและปรับทบทวนยอดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้เป็นปัจจุบัน พร้อมจำแนกค่าบริการในลักษณะดังกล่าวข้างต้นในแต่ละรายการที่ขอรับการสนับสนุนแล้ว รวมทั้งเห็นควรมอบหมายให้ สปสช. เร่งพิจารณากำกับและตรวจสอบเอกสารการเบิกจ่ายค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติของหน่วยบริการระหว่างเดือนเมษายน - พฤษภาคม 2565 ให้สอดคล้องกับการรักษาพยาบาลผู้ติดเชื้อโรคโควิด 19 ที่เกิดขึ้นจริงให้แล้วเสร็จ (Post audit) ก่อนเสนอ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พิจารณาตามขั้นตอนต่อไป
                              2.3 เห็นควรมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) พิจารณากำหนดกรอบวงเงินค่าบริการสาธารณสุขภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพของเดือนมิถุนายน 2565 จำนวนไม่เกิน 4,000 ล้านบาท พร้อมทั้งมอบหมายให้ สปสช. พิจารณาทบทวนอัตราค่าบริการในแต่ละรายการตามความจำเป็นและสอดคล้องกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์และทำความเข้าใจกับหน่วยบริการและประชาชนโดยทั่วถึง
                              2.4 มอบหมายให้ สธ. สร้างความชัดเจนของการกำหนดให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่นโดยเร็ว เพื่อให้ สปสช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเตรียมความพร้อมในการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของภาครัฐในภาพรวม รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่ากรณีที่มีการกำหนดให้โรคโควิด 19 เป็นโรคประจำถิ่น ประชาชนยังคงได้รับการดูแลรักษาพยาบาลตามสิทธิที่ประชาชนมีอยู่ผ่านระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแต่ละระบบ
                              2.5 อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 จำนวน 919 โครงการ กรอบวงเงินรวม 2,300.122 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 33 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการรับข้อสังเกตและความเห็นของคณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่พิจารณากลั่นกรองความเหมาะสมของโครงการภายใต้แผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และแผนงานหรือโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19 (คณะอนุกรรมการเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองฯ) และเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใต้กรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้ และปฏิบัติตามข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด พร้อมทั้งรวบรวมและจัดเก็บเอกสารดำเนินโครงการในขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อรองรับการตรวจสอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้
                              2.6 มอบหมายให้ สปสช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ตามข้อ 2.2 และจังหวัด จำนวน 29 จังหวัด เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.5 และดำเนินการจัดทำแผนความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัดต่อไป
                              2.7 อนุมัติให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนโควิด 19 ChulaCov19 mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่สาม และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉิน (โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีน ChulaCov19) ในส่วนของวัตถุประสงค์และผลผลิตของโครงการ พร้อมทั้งขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนกันยายน 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                              2.8 มอบหมายให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการพัฒนาและผลิตวัคซีนโควิด 19 (ChulaCov19 mRNA) ที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสที่ก่อโรคโควิด 19 สายพันธุ์ใหม่ให้สำเร็จตามเป้าหมาย เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 และช่วยยกระดับห่วงโซ่การผลิตวัคซีนภายในประเทศ และลดความเสี่ยงในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคอุบัติใหม่ของประเทศ
                              2.9 อนุมัติให้ ททท. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 4 ดังนี้ (1) ขยายจำนวนสิทธิเพิ่มอีก 1.5 ล้านสิทธิ (รวมเป็น 3.5 ล้านสิทธิ) โดยใช้จ่ายจากกรอบวงเงินของโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 จำนวน 9,000 ล้านบาท (2) ขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดิมเดือนพฤษภาคม 2565 เป็นเดือนตุลาคม 2565 และ (3) ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการเบิกจ่าย จากเดิมเดือนกรกฎาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว โดยมอบหมายให้ ททท. ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด เพื่อให้การดำเนินโครงการเป็นไปอย่างโปร่งใสและตรวจสอบได้ รวมทั้งเร่งประชาสัมพันธ์ข้อมูลโครงการให้ประชาชนได้รับทราบอย่างทั่วถึง และเน้นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดท่องเที่ยวเมืองรองให้มากขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยวภายในประเทศ
                              2.10 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.7 และข้อ 2.9 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว พร้อมทั้งเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จ และปฏิบัติตามข้อ 19 และข้อ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รวมทั้งให้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดต่อไป
                              2.11 รับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานและใช้จ่ายเงินกู้ของแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ราย 3 เดือน ครั้งที่ 3 (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2565) พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ข้อ 3.2.5.3 (2) ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
1 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19
2 เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของโรคโควิด 19
3 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19

11. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม                พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 15/2565 และครั้งที่ 16/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของ              โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุม             ครั้งที่ 15/2565 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 และครั้งที่ 16/2565 เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2565 ดังนี้
                    1. อนุมัติโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 (ครั้งที่ 2) รวม 18 จังหวัด จำนวน 397 โครงการ กรอบวงเงินรวม 970.912 ล้านบาท โดยให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 31 ตามบัญชีท้ายพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการดำเนินการตามความเห็นของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ข้อ 3.1.3 โดยเคร่งครัด
                    2. มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบ จำนวน 18 จังหวัด (ตามข้อ 1) เป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการและดำเนินการจัดทำแผนความต้องการใช้จ่ายเป็นรายเดือน เพื่อให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะสามารถจัดหาเงินกู้เพื่อใช้จ่ายโครงการตามแผนการใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อ 15 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564                 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) โดยเคร่งครัด
                    3. อนุมัติให้กรมควบคุมโรคเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับบริการประชากรในประเทศไทย จำนวน 60 ล้านโดส (AstraZeneca) ปี 2565 (โครงการจัดหาวัคซีน AstraZeneca ปี 2565) ดังนี้ (1) ปรับลดการจัดซื้อวัคซีน AstraZeneca จากเดิมจำนวน 60 ล้านโดส กรอบวงเงินรวม 18,762.5160 ล้านบาท เป็นการจัดซื้อวัคซีน AstraZeneca จำนวน 35.4 ล้านโดส กรอบวงเงิน 11,069.8845 ล้านบาท และเพิ่มการจัดซื้อภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว (Long-acting antibody : LAAB)2 จำนวน 257,500 โดส กรอบวงเงิน 7,569.2228 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินรวมของโครงการ ปรับลดจาก 18,762.5160 ล้านบาท เป็น 18,639.1073 ล้านบาท (ลดลง 123.4087 ล้านบาท) และ (2) ขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการ จากเดือนกันยายน 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 พร้อมทั้งมอบหมายให้กรมควบคุมโรคดำเนินการตามความเห็นของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ข้อ 3.2 (1) (2) (3) และ (4) โดยเคร่งครัด
1 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19)
2 สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ภูมิคุ้มกันต่ำและร่างกายไม่สามารถสร้างภูมิคุ้นกันได้ด้วยวัคซีน

12. เรื่อง วันน้ำบาดาลแห่งชาติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ ?วันที่ 3 เมษายน ของทุกปี เป็น วันน้ำบาดาลแห่งชาติ? ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยมีการนำน้ำบาดาลมาใช้ประโยชน์อย่างต่อเนื่อง ดังนี้
                              1.1 เริ่มต้นตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 มีการเจาะบ่อน้ำบาดาลบ่อแรกของประเทศไทย ณ โรงพยาบาลเทียนหัวย่านเยาวราช กรุงเทพมหานคร
                              1.2 ต่อมาในปี 2551 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำดื่มสะอาดให้กับโรงเรียนทั่วประเทศ กว่า 6,900 แห่ง
                              1.3 ปี 2556 ได้จัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรเพื่อนำน้ำบาดาลมาให้ประชาชนทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อยและเลือกพืชที่มีราคาผลผลิตสูง
                              1.4 ปี 2562 ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาน้ำบาดาลและส่งน้ำระยะไกล โครงการพัฒนาน้ำบาดาลขนาดใหญ่ด้วยระบบ River Bank Filtration (RBF) นอกจากนี้ยังมีจุดบริการน้ำดื่มสะอาดฟรีเพื่อประชาชน จำนวน 577 แห่งทั่วประเทศสามารถบริการฟรีกว่า 11.5 ล้านลิตร สามารถลดค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนได้ปีละ 57 ล้านบาท
                    2. ในส่วนของภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเนื่องจากเป็นภาคส่วนที่มีรายได้เป็นของตัวเอง แต่จำเป็นต้องพึ่งพาน้ำต้นทุนที่มีความมั่นคงจากน้ำบาดาลทางกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลที่เกี่ยวกับการขออนุญาตเจาะและขออนุญาตใช้น้ำบาดาลให้กับภาคส่วนต่าง ๆ เพื่อกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากน้ำบาดาลให้เป็นไปอย่างสมดุล ยั่งยืน และยุติธรรม โดยภาคเอกชนต้องจ่ายค่าใช้น้ำและค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลให้กับภาครัฐ เพื่อนำไปใช้ในการศึกษา สำรวจ วิจัย พัฒนา อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาลของประเทศให้อยู่ในสภาพที่สมดุลและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเพื่อเป็นการรักษาสภาพแวดล้อมทางน้ำบาดาลเชิงพื้นที่ให้มีปริมาณที่เหมาะสมและคุณภาพที่ดี
                    3. กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดแบ่งพื้นที่น้ำบาดาลเพื่อการบริหารจัดการออกเป็น 27 แอ่งน้ำบาดาล ตามลักษณะสภาพอุทกธรณีวิทยาของประเทศไทย เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำบาดาลเชิงพื้นที่มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยได้มีการส่งเสริมให้ใช้น้ำบาดาลอย่างประหยัดและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เฝ้าระวังคุณภาพของน้ำบาดาลไม่ให้เสื่อมโทรม เสียหาย หรือเกิดมลพิษ และมีการใช้ประโยชน์อย่างสมดุล กล่าวคือไม่ใช้เกินอัตราที่มีการเติมลงไปทดแทน รวมทั้งการสร้างจิตสำนึกหรือปลูกฝังให้ประชาชนเห็นความสำคัญ รู้จักคุณค่าและประโยชน์ของน้ำบาดาล
                    4. เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2564 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมรับ ?โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง? ของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ทส. จำนวน 15 โครงการครอบคลุม 11 จังหวัด ไว้เป็น ?โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ? เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ราษฎรจากภาวะวิกฤตภัยแล้ง นำมาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนสร้างประโยชน์สุขให้อาณาราษฎร ซึ่งเป็น              พระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้ดั่งเป็นที่ประจักษ์
                    5. เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2565 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาณจนบุรี
                    6. เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ในการเสด็จ  พระราชดำเนินไปทรงเปิดงานดังกล่าวข้างต้น จึงเห็นควรให้กำหนด ?วันน้ำบาดาลแห่งชาติ? ขึ้น โดยที่ประชุมกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2565 เห็นชอบให้วันที่ 3 เมษายน ของทุกปี เป็น วันน้ำบาดาลแห่งชาติ
                    7. การประกาศให้มี ?วันน้ำบาดาลแห่งชาติ? เป็นการกำหนดวันในเชิงสัญลักษณ์ เพื่อใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนได้น้อมรำลึกและซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำบาดาล และร่วมกันสืบสานพระราชปณิธานในการร่วมกันดูแล รักษา ปกป้องทรัพยากรน้ำบาดาลให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป ซึ่ง ทส. ได้พิจารณาวันที่เหมาะสมเป็นวันที่ 3 เมษายน ของทุกปี เนื่องจากเมื่อวันที่ 3  เมษายน 2565 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 และ               สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี

13. เรื่อง สรุปมติการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ครั้งที่ 2/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) เสนอสรุปมติการประชุม กนป. ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2565 [ซึ่งเป็นการดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ พ.ศ. 2551 ข้อ 7 (1) ที่กำหนดให้ กนป. มีอำนาจและหน้าที่กำหนดนโยบายเกี่ยวกับปาล์มน้ำมัน และเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบหรือพิจารณาเพื่อให้ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติ] โดยมีสรุปผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
                    1. สถานการณ์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม
                              1.1 ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) และกระทรวงพลังงาน (พน.) ติดตามสถานการณ์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งภายในและภายนอกประเทศอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลกระทบโดยใช้มาตรการที่ กนป. กำหนดภายใต้อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานและให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                              1.2 ให้ พณ. ร่วมกับ พน. สำรวจและรายงานสต็อกน้ำมันปาล์มดิบ ปริมาณการผลิต ความต้องการใช้ในประเทศ และปริมาณการส่งออกให้ทันต่อสถานการณ์
                    2. การสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป. ที่ประชุมฯ เห็นชอบให้ใช้หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป. พ.ศ. 2563 เพื่อสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป. ชุดใหม่แทนชุดเดิมที่กำลังจะหมดวาระ และเห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิใน กนป. ปี 2565 ทั้งนี้ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิต้องได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านต่าง ๆ ตามที่คณะอนุกรรมการสรรหาฯ กำหนด จำนวนไม่เกิน 10 คน และต้องเป็นผู้ประกอบการสวนปาล์มน้ำมันอย่างน้อย 3 คน
                    3. แนวทางบริหารจัดการสมดุลน้ำมันปาล์ม ที่ประชุมฯ เห็นชอบในหลักการที่ควรมีกลไกในการบริหารจัดการอุปทานน้ำมันปาล์มเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ในประเทศ โดยแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสมดุลน้ำมันปาล์ม ภายใต้ กนป. โดยมีอธิบดีกรมการค้าภายในเป็นประธาน และมีองค์ประกอบจากผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย ประกอบด้วย
                              3.1 หน่วยงานรัฐ : กรมการค้าภายใน กรมการค้าต่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กรมศุลกากร และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
                              3.2 ภาคเกษตรกร : ผู้แทนเกษตรกร จำนวน 2 ท่าน
                              3.3 ภาคเอกชน : สมาคมโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์ม สมาคมผู้ผลิต   ไบโอดีเซล และผู้แทนคลังรับฝากน้ำมันปาล์ม
โดยมีหน้าที่และอำนาจในการวิเคราะห์สถานการณ์ด้านการผลิต การตลาด กำหนดมาตรการ แนวทางการดำเนินการ หลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการ และรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการจัดสมดุลน้ำมันปาล์มให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์
                    4. ข้อร้องเรียนของเกษตรกร
                              4.1 ให้ พณ. กำกับดูแลและเร่งหาแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องปุ๋ยราคาแพงซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้น
                              4.2 ให้ กษ. ติดตาม กำกับ ตรวจสอบเรื่องเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันและต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันปลอมอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในช่วงที่เมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันและต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของเกษตร รวมทั้งสนับสนุนการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน การผลิตต้นกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่มีคุณภาพให้สามารถรองรับกับความต้องการใช้ของเกษตรกรได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง

14. เรื่อง มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามมติฯ ที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติเสนอ ทั้งนี้ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับข้อเสนอแนะของกระทรวงศึกษาธิการ ข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และความเห็นของสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติได้เสนอมติสมัชชาสุขภาพ ครั้งที่ 14 พ.ศ. 2564 มาเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบและให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาดำเนินการตามมติฯ ที่เกี่ยวข้องต่อไป ซึ่งประกอบด้วย 3 มติ ได้แก่ (1) การสร้างเสริมสุขภาวะสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (เช่น การจัดการสิ่งแวดล้อมจากปัญหาขยะอย่างยั่งยืน และการจัดการสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว) (2) การคุ้มครองการเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะในภาวะวิกฤตอย่างเป็นธรรม (เช่น ให้มีหลักประกันสุขภาพสำหรับผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทย ผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิซึ่งไม่มีหลักประกันสุขภาพ และพัฒนาระบบบริการสุขภาพที่ทำให้เกิดการเข้าถึงบริการสุขภาพของกลุ่มประชากรเฉพาะ) และ (3) การจัดการการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วมในวิกฤตสุขภาพ (เช่น เตรียมความพร้อมด้านการสื่อสารในวิกฤตสุขภาพทั้งระดับชาติ ระดับจังหวัด และอื่น ๆ ตามความเหมาะสม) โดยทั้ง 3 มติดังกล่าวเป็นการมุ่งเน้นให้ทุกภาคส่วนของสังคมมีการจัดการร่วมกันและขับเคลื่อนให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

15. เรื่อง ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัส            โคโรนา 2019 (มาตรการห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นสำคัญและเตือนประชาชนให้งดการเดินทางไปในประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้มีการยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563                       เรื่อง มาตรการเร่งด่วนในการป้องกันวิกฤตการณ์จากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในส่วนของมาตรการป้องกันและสกัดกั้นการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย กิจกรรมสำคัญ ข้อ 1.4 ห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นสำคัญ และเตือนประชาชนให้งดการเดินทางไปในประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ในคราวการประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (ศบค.) ครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ได้เสนอการปรับมาตรการป้องกันโรคสำหรับการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร โดยได้มีการเสนอให้มีการผ่อนคลายการเดินทางระหว่างประเทศในกลุ่มข้าราชการและบุคลากรของรัฐ เนื่องจากสถานการณ์กรณีโรคโควิด 19 ทั่วโลกและประเทศไทยเริ่มมีจำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง หลายประเทศมีการผ่อนคลายมาตรการและการเดินทางมากขึ้น ประกอบกับส่วนราชการมีการประกาศมาตรการเรื่องการเดินทางไปต่างประเทศแตกต่างกัน จึงเสนอให้มีการพิจารณายกเลิกการห้ามเดินทางไปต่างประเทศของข้าราชการและบุคลากรของรัฐ โดยขอให้ที่ประชุมให้ความเห็นชอบก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2563 ในส่วนของมาตรการห้ามข้าราชการ พนักงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเดินทางไปต่างประเทศ ยกเว้นมีเหตุจำเป็นสำคัญ และเตือนประชาชนให้งดการเดินทางไปในประเทศซึ่งเป็นพื้นที่ระบาดต่อเนื่อง ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 เสนอ

16. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 220,000,000 บาท ให้กรมธุรกิจพลังงาน โดยให้กรมบัญชีกลางเป็นผู้อนุมัติและดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกัน และให้กระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
                    ทั้งนี้ กระทรวงพลังงานเสนอว่า เนื่องจากราคา LPG ยังอยู่ในระดับสูง ขณะที่โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 มิถุนายน 2565 จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนในการขยายระยะเวลาโครงการออกไปอีก 3 เดือน (เดือนกรกฎาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2565) เพื่อให้การบรรเทาผลกระทบแก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
                    สาระสำคัญ
                    มาตรการบรรเทาผลกระทบด้านราคา LPG โครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มแก่ผู้มีรายได้น้อย ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากราคา LPG ที่อยู่ในระดับสูงและลดภาระค่าครองชีพสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยจะเพิ่มการช่วยเหลือผู้ใช้ LPG ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. การกำหนดสิทธิและวงเงินงบประมาณ
                        ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำนวนประมาณ 13,500,000 ราย มีการใช้สิทธิส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 55 บาท/คน/3 เดือน จำนวน 3,366,341 ราย ระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2565 ถึงวันที่ 12 มิถุนายน 2565 คาดว่าการยกระดับความช่วยเหลือในช่วงที่ราคา LPG อยู่ในระดับสูง จะจูงใจให้มีผู้ใช้สิทธิเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 4,000,000 ราย ในช่วงเดือนกรกฎาคม 2565 ถึงเดือนกันยายน 2565 คิดเป็นเงินงบประมาณ 220,000,000 บาท
                    2. การดำเนินการภายหลังได้รับงบประมาณ
                        กรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ดำเนินการแทนกรมธุรกิจพลังงาน ผ่านวิธีการเบิกจ่ายงบประมาณแทนกัน โดยกรมบัญชีกลางจะดำเนินการเบิกจ่ายส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวน 100 บาท/คน/3 เดือน ให้กับร้านค้าก๊าซหุงต้มที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปใช้สิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยแบ่งเป็นส่วนลด 45 บาท เบิกจ่ายจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม และส่วนลดเพิ่ม 55 บาท เบิกจ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วให้กรมบัญชีกลางส่งเงินคืนกรมธุรกิจพลังงาน ทั้งนี้ กรณีโอนเงินไม่สำเร็จ ให้ดำเนินการติดตามเพื่อโอนเงินให้แก่ร้านค้าก๊าซหุงต้ม จนถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
                    3. การใช้ส่วนลดของผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
                        ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่                       30 กันยายน 2565 รวมระยะเวลา 3 เดือน
                    4. งบประมาณ
                        ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 220,000,000 บาท ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบแล้ว




ต่างประเทศ
17. เรื่อง  ผลการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 4
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สนทช.) เสนอผลการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 23-24 เมษายน 2565 ณ เมืองคุมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น [คณะรัฐมนตรีมีมติ (19 เมษายน 2565) เห็นชอบร่างปฏิญญาคุมาโมโตะซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับผู้นำด้านน้ำแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ครั้งที่ 4 และเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ ในการประชุม] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. นายกรัฐมนตรีได้ร่วมกล่าวถ้อยแถลงในช่วงพิธีเปิดการประชุมฯ ผ่านระบบวีดิทัศน์แบบถ่าย             ทอดสด โดยชื่นชมข้อริเริ่มและความมุ่งมั่นด้านน้ำของญี่ปุ่นในการสร้างสังคมคุณภาพที่มีภูมิคุ้มกัน ยั่งยืน ครอบคลุม และเน้นย้ำถึงความสำคัญของการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและบูรณาการในทุกมิติรวมถึงการพัฒนาอย่างเท่าเทียม สนับสนุนการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านน้ำภายในปี ค.ศ. 2030 และการบูรณาการโครงสร้างสีเขียวในโครงสร้างพื้นฐานและการจัดการน้ำ เพื่อเสริมสร้างความยืดหยุ่นในการปรับตัว  เพิ่มภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและลดความสูญเสียจากภัยพิบัติโดยสนับสนุนความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นกลไกในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งในระดับพื้นที่จนถึงระดับนโยบายเพื่อการบริหารจัดการที่มั่นคง และยั่งยืน
                    2. ที่ประชุมได้รับรองปฏิญญาคุมาโมโตะ ซึ่งเป็นร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ ที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพสำหรับการบริหารจัดการน้ำในบริบทการฟื้นฟูจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับภาคส่วนน้ำโดยอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อดำเนินการบูรณาการร่วมกันในการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับ               การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยมีการปรับแก้ถ้อยคำที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้มีความครอบคลุมและเฉพาะเจาะจงมากขึ้น ซึ่งไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ              (19 เมษายน 2565) ให้ความเห็นชอบไว้และยังคงประเด็นสำคัญของร่างปฏิญญาฯ จำนวน 4 ประการ คือ                        1) ความท้าทายด้านน้ำท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 และการฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เช่น ความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการให้บริการด้านน้ำ และการเข้าถึงน้ำที่สะอาดปลอดภัยและมีราคาที่สามารถซื้อหาได้ 2) การเปลี่ยนแปลงสู่สังคมที่มุ่งเน้นคุณภาพ ซึ่งจะบรรลุความสำเร็จได้โดยการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านน้ำ                อย่างยั่งยืนด้วยการมีส่วนร่วมและความร่วมมือของทุกภาคส่วน (เช่น การจัดการภัยพิบัติด้านน้ำ และการสนับสนุนมาตรการลดผลกระทบจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยการใช้พลังงานที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับต่ำ) 3) การเร่งรัดการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของภาคส่วนน้ำ โดยบูรณาการโครงสร้าง              ด้านกายภาพ  โครงสร้างด้านความรู้ และการบริหารจัดการข้อมูล (เช่น การส่งเสริมความร่วมมือขององค์กรด้านน้ำและองค์กรภาคประชาสังคมทุกภาคส่วน และการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อผลิตนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชนเพื่อแก้ปัญหาด้านน้ำ) และ 4) ผลลัพธ์การประชุมฯ โดยจะนำแนวปฏิบัติภายใต้บริบทของ            ปฏิญญาฯ ไปร่วมพิจารณาและหารือในเวทีด้านน้ำระดับโลกต่อไป เช่น การประชุมทบทวนการดำเนินการด้านน้ำในห้วงครึ่งแรกของทศวรรษฯ ของสหประชาชาติที่จะจัดขึ้นในเดือนมีนาคม 2566 การประชุมเวทีระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติและการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 27

18.  เรื่อง (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อ (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการ (Project Cooperation Agreement: PCA) โครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข (ร่าง) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ส่งผลกระทบผูกพันเชิงนโยบายให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งมอบหมายให้เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการฯ ร่วมกับผู้แทนโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) และหน่วยงานร่วมดำเนินการตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ข้อตัดสินใจที่ 1 วรรค 84 และวรรค 86 ของการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) สมัยที่ 21 (Decision 1/CP.21) ได้ตัดสินใจจัดตั้งโครงการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใส (The Capacity Building Initiative for Transparency: CBIT) เพื่อเป็นการสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาในการปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความโปร่งใสของความตกลงปารีส โดยร้องขอให้กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) จัดเตรียมกลไกลทางการเงินเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งและการดำเนินงานของโครงการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใส (CBIT)
                    2. โครงการเสริมสร้างศักยภาพเชิงสถาบันและเชิงเทคนิคเพื่อดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานด้านความโปร่งใสภายใต้ความตกลงปารีส เป็นการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้ประเทศไทยสามารถจัดเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ซึ่งจะช่วยติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามที่กำหนดไว้ในข้อกำหนดด้านความโปร่งใสของความตกลงปารีส โดยคราวนี้ มีเป้าหมายการดำเนินการเน้นที่ภาคการเกษตร ปศุสัตว์ การป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน เป็นหลัก โดยโครงการดังกล่าวได้รับการสนับสนุนบงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (Global Environment Facility: GEF) เป็นจำนวนเงิน 1.99 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหน่วยงานดำเนินโครงการ (Executing Agency) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง [สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร] จะต้องร่วมสมทบงบประมาณในรูปแบบที่ไม่ใช่ตัวเงิน (In-kind) (เช่น ทรัพยากรบุคลากร) มูลค่าทรัพยากรการดำเนินงาน เป็นจำนวนเงิน 2.03 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเป็นงบประมาณและทรัพยากรที่แต่ละหน่วยงานได้รับจัดสรรในทุกปีตามปกติ ไม่ใช่การขอรับจัดสรรเพิ่มเติม ส่วนข้อตกลงความร่วมมือ (Project Cooperation Agreement: PCA) ของโครงการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอคณะรัฐมนตรีขอความเห็นชอบการลงนามในครั้งนี้เป็นการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยผู้ลงนาม 3 ฝ่าย ได้แก่ (1) โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme: UNEP) เป็นผู้ประสานงานระหว่างหน่วยงานเจ้าของโครงการและสำนักเลขาธิการกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (2) สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะผู้ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ และ (3) ศูนย์สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการเกษตรและการจัดการทรัพยากร ในฐานะหน่วยงานร่วมดำเนินการ (Co-Executing Agency) โดยการลงนาม 3 ฝ่ายดังกล่าวจะทำให้มีความคล่องตัวในการบริหารจัดการ เนื่องจากศูนย์สารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการเกษตรและการจัดการทรัพยากรจะเป็นผู้ดำเนินโครงการตามแผนการดำเนินงาน รวมทั้งรับเงินโอนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) และจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานและรายงานการเงินให้แก่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) โดยตรง

19. เรื่อง การเสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก (UNESCO Global Geoparks)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้เสนออุทยานธรณีขอนแก่นสมัครเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกขององค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization: UNESCO) หรือ UNESCO Global  Geoparks โดยยื่นความจำนงต่อ UNESCO ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 และส่งใบสมัครในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม ถึง 30 พฤศจิกายน 2565 รวมทั้งมอบหมายให้คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดำเนินการเสนออุทยานธรณีขอนแก่นเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของ UNESCO ต่อสำนักเลขาธิการ UNESCO ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
[ประเทศที่สนใจเข้ารับการสมัครเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของ UNESCO ต้องส่งจดหมายแสดงความจำนง (Letter of intent) ต่อสำนักเลขาธิการ UNESCO ภายในวันที่ 1 กรกฎาคม และส่งเอกสารในการสมัครระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน ของทุกปี]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. อุทยานธรณีโลกของ UNESCO (UNESCO Global Geoparks) เป็นโครงการด้านการอนุรักษ์มรดกทางธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม โดยมีขอบเขตพื้นที่ที่ประกอบด้วยแหล่งที่มีคุณค่าด้านธรณีวิทยา โบราณคดี นิเวศวิทยา และวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการแบบองค์รวมระหว่างการอนุรักษ์ การให้ความรู้ การศึกษาวิจัย และการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ชุมชนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการตั้งแต่เริ่มต้นกระบวนการ เชื่อมโยงความสำคัญของมรดกทางธรณีวิทยาผ่านการท่องเที่ยวเชิงธรณีวิทยา ปัจจุบันทั่วโลกมีอุทยานธรณีโลกของ UNESCO มีจำนวนทั้งสิ้น 169 แห่ง ใน 44 ประเทศ (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2564) โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีอุทยานธรณีโลกของ UNESCO จำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย สหพันธรัฐมาเลเซีย 1 แห่ง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 3 แห่ง สาธารณรัฐอินโดนีเซีย 6 แห่ง และราชอาณาจักรไทย 1 แห่ง ได้แก่ อุทยานธรณีโลกสตูล รวมทั้งมีอุทยานธรณีประเทศไทย จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อุทยานธรณีโคราช อุทยานธรณีผาชันสามพันโบก อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ และอุทยานธรณีขอนแก่น รวมทั้งมีอุทยานธรณีท้องถิ่น จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ อุทยานธรณีไม้กลายเป็นหินตาก อุทยานธรณีชัยภูมิ และอุทยานธรณีพุหางนาค
                    2. ทส. (กรมทรัพยากรธรณี) ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้จังหวัดขอนแก่นจัดตั้งอุทยานธรณีโดยความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ศูนย์ศึกษาวิจัยและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูเวียง อุทยานไดโนเสาร์ศรีเวียง อุทยานแห่งชาติภูเวียง โรงเรียนพิพิธภัณฑ์ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ ซึ่งจังหวัดขอนแก่นได้ดำเนินการตามแนวทางของกรมทรัพยากรธรณีในการจัดตั้งอุทยานธรณีขอนแก่นตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา โดยกำหนดพื้นที่อุทยานธรณี จัดตั้งหน่วยงานบริหารจัดการจัดทำแผนบริหารจัดการ และดำเนินการตามแผนดังกล่าว เช่น การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยา และการส่งเสริมชุมชนในด้านเศรษฐกิจท้องถิ่น เป็นต้น มีการแต่งตั้งคณะทำงานในช่วงแรกเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 และได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจนเป็นรูปธรรม และจังหวัดขอนแก่นประกาศจัดตั้งอุทยานธรณีขอนแก่น (Khonkaen Geopark) เป็นอุทยานธรณีระดับจังหวัด เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 รวมทั้งได้ผ่านการประเมิน และได้รับการรับรองให้เป็นอุทยานธรณีประเทศไทย (National Geopark) จากคณะกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์แหล่งธรณีวิทยาและจัดตั้งอุทยานธรณี (ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม        เป็นประธาน) เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563
                    3. คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณี (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธาน) ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีขอนแก่นเสนอเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของ UNESCO และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป
                    4. การจัดตั้งอุทยานธรณีขอนแก่นเป็นการบริหารจัดการโดยการมีส่วนร่วมของประชาชนและ             ภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ ซึ่งการกำหนดขอบเขตพื้นที่ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายรองรับ ส่วนการกำกับดูแลพื้นที่ของหน่วยงานต่าง ๆ ยังคงเป็นไปตามกฎหมายระเบียบหรือข้อบังคับที่มีอยู่แล้ว เช่น พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ. 2551 เป็นต้น โดยอุทยานธรณีขอนแก่น มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
ข้อมูลทั่วไป          อุทยานธรณีขอนแก่นครอบคลุมพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อำเภอภูเวียงและอำเภอเวียงเก่า รวมเนื้อที่ทั้งสิ้นประมาณ 1,038 ตารางกิโลเมตร
ความเหมาะสมในการเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของ UNESCO          อุทยานธรณีขอนแก่นมีลักษณะทางธรณีวิทยาและธรรมชาติวิทยาที่โดดเด่น เป็นที่รู้จักในระดับประเทศและระดับนานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านแหล่งซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ โดยในพื้นที่หุบเขาภูเวียงมีการค้นพบไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่ของโลกถึง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ (1) สยามโมซอรัส สุธีธรนี (2) ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (3) สยามโมไท-รันนัสอีสานเอนซิส (4) กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส และ (5) ภูเวียงเวเนเตอร์ แย้มนิยมมิ ซึ่งมีความสมบูรณ์และความหลากหลายของไดโนเสาร์ที่อยู่ร่วมกันเป็นอาณาจักรของไดโนเสาร์ นอกจากนี้
ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์และสัตว์ร่วมยุคกับไดโนเสาร์ เช่น จระเข้ โกนิโอโฟรัส  ภูเวียงเอนซิส ปลากลุ่ม Semionotidel ชั้นหอยกาบคู่กลุ่ม Exogyra ที่มีความยาวเกือบ 3 กิโลเมตร อีกทั้งยังมีโบราณสถาน วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และความหลากหลายทางชีวภาพจำนวนมาก ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการเป็นอุทยานธรณีโลกของยูเนสโก
ความพร้อมของพื้นที่          อุทยานธรณีขอนแก่นมีศูนย์ประสานงานอุทยานธรณีขอนแก่นตั้งอยู่ที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นเป็นประธานกรรมการอำนวยการ อุทยานธรณีขอนแก่น และมีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น เป็นผู้อำนวยการอุทยานธรณีขอนแก่น ทำหน้าที่บริหารและประสานงานอุทยานธรณีขอนแก่น ภายใต้วิสัยทัศน์ของแผนพัฒนาจังหวัดขอนแก่น พ.ศ. 2561 - 2564 (ฉบับทบทวน ปี 2562) ในการผลักดันอุทยานธรณีขอนแก่นสู่อุทยานธรณีโลกของ UNESCO ขณะนี้อุทยานธรณีขอนแก่น
มีสถานะเป็นอุทยานธรณีประเทศไทย และคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอุทยานธรณีพิจารณาแล้วมีมติเห็นชอบให้อุทยานธรณีขอนแก่นเสนอเข้ารับการรับรองเป็นอุทยานธรณีโลกของ UNESCO เนื่องจากมีความพร้อมในการเสนอเพื่อรับรองให้เป็นอุทยานธรณีโลกจาก UNESCO ทั้งในด้านวิชาการธรณีวิทยา ด้านศักยภาพ และองค์ประกอบตามที่ UNESCO กำหนด
ประโยชน์ของการเป็นสมาชิกอุทยานธรณีโลกของ UNESCO          ทำให้ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติเพิ่มมากขึ้นทั้งในด้านคุณค่าของแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ และด้านการท่องเที่ยวซึ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยว นำรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น ประชากรในพื้นที่มีงานทำ มีรายได้และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ประชากรในพื้นที่เกิดจิตสำนึกในการอนุรักษ์และหวงแหน ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างยั่งยืน เกิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรณีวิทยาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังเป็นแหล่งศึกษา วิจัย ของนักวิชาการทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ
การเป็นสมาชิกของอุทยานธรณีโลกของ UNESCO          อุทยานธรณีขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น จะต้องรับผิดชอบในการชำระเงินค่าสมาชิกปีละ 1,500 ยูโร หรือประมาณ 56,000 บาท รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการประเมินอุทยานธรณีขอนแก่นในภาคสนาม ค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมการประชุมเครือข่ายอุทยานธรณีโลกและเครือข่ายอุทยานธรณีในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

20. เรื่อง ผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอผลการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในฐานะแขกของรัฐบาล ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2565 และมอบหมายส่วนราชการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องตามผลการเยือนไทยฯ ต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
          กต. รายงานว่า เมื่อวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2565 นายคิชิดะ ฟูมิโอะนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของรัฐบาลไทย ในโอกาสครบรอบ 135 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมถึงการที่ไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค และเป็นประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น (ปี 2564-2567) โดยเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 นายกรัฐมนตรีได้หารือข้อราชการกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ในประเด็นความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น ทั้งในระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค และภูมิภาค และแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สนใจร่วมกัน สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1.          ผลการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น สรุปได้ ดังนี้


ประเด็น          ผลการหารือฯ
(1) ประเด็นทวิภาคี          (1.1) ภาพรวม ได้แก่ 1) นายกรัฐมนตรีเสนอที่จะยกระดับสถานะความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น จาก "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์" เป็น "หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน" ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นยินดีกับการพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่นที่แน่นแฟ้นในทุกด้านและรับจะพิจารณาข้อเสนอของฝ่ายไทย และ                              2) นายกรัฐมนตรียินดีที่ทั้งสองฝ่ายได้เริ่มกลับมาแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงภายหลังจากเว้นว่างไปเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด19)
(1.2) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เช่น 1) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมกันหาข้อสรุปในการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ร่วมด้านเศรษฐกิจในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นระยะ 5 ปี โดยมุ่งมั่นที่จะประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ร่วมฯ ในห้วงการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 6 ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นจะเป็นเจ้าภาพในช่วงครึ่งหลังของปี 2565 2) รัฐบาลไทยมีความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจแก่นักลงทุนญี่ปุ่นในไทย และส่งเสริมให้นักลงทุนญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานการลงทุนในภูมิภาคเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (Electric Vehicle: EV) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์ ดิจิทัล เกษตรอัจฉริยะ Big Data และกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) โดยพิจารณาลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( Eastern Economic Corridor: EEC) เป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่โครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor of Innovation: EECi) และนายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้เอกชนญี่ปุ่นลงทุนในการผลิต EV รวมทั้งผลิตแบตเตอรี่ในไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแจ้งว่าบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นกำลังเร่งพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง และ 3) การขอรับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นในการพิจารณาขยายการจัดตั้งสถาบันโคเซ็นในไทยเพิ่มเติม 2 แห่ง และขยายหลักสูตรการเรียนการสอนแบบโคเซ็นไปยังสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ของไทย รวมถึงการจัดตั้ง KOSEN Education Center ในไทยเพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและภูมิภาคอาเชียน ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นรับจะพิจารณาด้วยดี
(1.3) ความร่วมมือด้านความมั่นคง กลาโหม และยุติธรรม ได้แก่ 1) ทั้งสองฝ่ายยินดีกับการลงนามความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นหวังให้ทั้งสองฝ่ายหารือกันเพื่อดำเนินโครงการที่เป็นรูปธรรม ขณะที่นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายเสริมสร้างความร่วมมือด้านการป้องกันอาชญากรรมข้ามชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย ความมั่นคงทางไซเบอร์ และความมั่นคงทางทะเล และ 2) ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการจัดทำสนธิสัญญาว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องทางอาญา
(2) ความร่วมมือในกรอบภูมิภาคและ               อนุภูมิภาค          (2.1) ความร่วมมือระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เพื่อการพัฒนาประเทศที่สาม นายกรัฐมนตรีแสดงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือฯ โดยเฉพาะ                อนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคอื่น ๆ และยินดีที่ฝ่ายญี่ปุ่นมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ในพื้นที่ต่าง ๆ ในไทย รวมทั้งชายแดนระหว่างไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน
(2.2) ความร่วมมือลุ่มน้ำโขง ทั้งสองฝ่ายย้ำความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงผ่านกรอบความร่วมมือญี่ปุ่น-ลุ่มน้ำโขง และกรอบยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) โดยนายกรัฐมนตรีขอบคุณญี่ปุ่นที่สมทบทุนในกองทุนเพื่อการพัฒนาของ ACMECSมูลค่า 1.38 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อสนับสนุนภาคธุรกิจและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
(2.3) ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น นายกรัฐมนตรียืนยันความมุ่งมั่นของไทยในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น                  (ปี 2564-2567) ในการร่วมมือกับญี่ปุ่นเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อาเชียน-ญี่ปุ่น และการสอดประสานความร่วมมือระหว่างมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก กับแนวคิดอินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้างของญี่ปุ่น รวมทั้งการผลักดันวาระการครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น (ปี 2566)   ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นได้เชิญนายกรัฐมนตรีเยือนญี่ปุ่นเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ ในเดือนธันวาคม 2566 นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ยืนยันความพร้อมของไทยในการเป็นที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ ซึ่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแสดงความหวังว่าอาเชียนจะสามารถหาข้อสรุปในประเด็นดังกล่าวโดยเร็ว
(2.4) ความร่วมมือภายใต้กรอบเอเปค นายกรัฐมนตรีขอรับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย ภายใต้หัวข้อ Open. Connect. Balance. และการรับรองเอกสาร Bangkok Goals on BCG Economy ซี่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นแสดงความพร้อมสนับสนุนไทยอย่างเต็มที่และจะเดินทางเยือนไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2565
(3) ประเด็นสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ          (3.1) สถานการณ์ในยูเครน ทั้งสองฝ่ายต่างให้ความสำคัญกับหลักการของการเคารพบูรณภาพแห่งดินแดน กฎหมายระหว่างประเทศ และกฎบัตรสหประชาชาติ และมีความห่วงกังวลเกี่ยวกับการทวีความตึงเครียดของสถานการณ์ โดยเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยุติการใช้ความรุนแรง และใช้ความยับยั้งชั่งใจอย่างถึงที่สุด นอกจากนี้ ได้หารือเกี่ยวกับผลกระทบของสถานการณ์ดังกล่าวและพร้อมร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศในการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ชาวยูเครนอย่างต่อเนื่อง
(3.2) สถานการณ์ในเมียนมา ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันเพื่อช่วยคลี่คลายสถานการณ์ในเมียนมาผ่านความร่วมมือในกรอบต่าง ๆ และสนับสนุนกลไกของอาเชียนโดยเฉพาะกัมพูชาในฐานะประธานอาเชียนในปีนี้ รวมถึงย้ำความสำคัญของการให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่ประชาชนเมียนมา
(3.3) อื่น ๆ ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีและประเด็นการลักพาตัว การปฏิรูปคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประซาชาติ การปลอดและไม่แพร่ขยายของอาวุธนิวเคลียร์ และกรอบความร่วมมือเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก
          2. พิธีลงนามความตกลงและหนังสือแลกเปลี่ยน นายกรัฐมนตรีทั้งสองฝ่ายได้เป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงและหนังสือแลกเปลี่ยน 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ความตกลงว่าด้วยการมอบโอนยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศระหว่างรัฐบาลประเทศญี่ปุ่นกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย (2) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความร่วมมือทางการเงินระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น และ (3) หนังสือแลกเปลี่ยนว่าด้วยความช่วยเหลือแบบให้เปล่าของรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้โครงการ The Programme for COVID-19 Crisis Response Emergency Support ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น



3. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการเยือนฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1)  การยกระดับสถานะความสัมพันธ์ไทย-ญี่ปุ่น เป็น ?หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน?          ติดตามผลการพิจารณาจากฝ่ายญี่ปุ่น และหารือเกี่ยวกับช่วงเวลาและแนวทางในการประกาศการยกระดับความสัมพันธ์          กต.
(2) การจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ร่วมด้านเศรษฐกิจในการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นระยะ 5 ปี          หารือกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องของไทยและฝ่ายญี่ปุ่นเพื่อรวบรวมข้อคิดเห็นในการจัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์ฯ ให้สมบูรณ์          กต. กค. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
(3) การส่งเสริมการลงทุนจากญี่ปุ่นในไทย          ดำเนินการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากญี่ปุ่นในอุตสาหกรรมเป้าหมายมายังไทย โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น EV อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เซมิคอนดักเตอร์ อุตสาหกรรมยาและเครื่องมือแพทย์ และ BCG โดยพิจารณาลงทุนใน EEC เป็นกรณีพิเศษ โดยเฉพาะพื้นที่ EECi          กต. กษ. อว. ดศ. พน. สธ. สกท. และ สกพอ.
(4) การพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า          ดำเนินการเพื่อดึงดูดการลงทุนจากญี่ปุ่น โดยสนับสนุนให้เอกชนญี่ปุ่นลงทุนในการผลิต EV รวมทั้งผลิตแบตเตอรี่ในไทย          กค. กต. พน. อก. สกท. และ    สกพอ.
(5) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์          ติดตามผลการพิจารณาของฝ่ายญี่ปุ่นเกี่ยวกับการขอรับการสนับสนุนจากญี่ปุ่นในการพิจารณาขยายการจัดตั้งสถาบันโคเซ็นในไทยเพิ่มเติมจาก 2 แห่งในปัจจุบันและขยายหลักสูตรการเรียนการสอนแบบโคเซ็นไปยังสถาบันการศึกษาอื่น ๆ ของไทย รวมทั้งการจัดตั้ง KOSEN Education Center ในไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการพัฒนาบุคลากรในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงและภูมิภาคอาเซียน          กค. กต. อว. ศธ. และ อก.
(6) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน          ดำเนินความร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในไทย เช่น เมืองอัจฉริยะ โครงการบางซื่อ ระบบราง โครงข่ายดิจิทัล และ 5G          กต. คค. และ ดศ.
(7) การบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19          ดำเนินความร่วมมือกับฝ่ายญี่ปุ่นให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขเพื่อรับมือกับโรคอุบัติใหม่ในอนาคต          กค. กต. และ สธ.
(8) ความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียน-ญี่ปุ่น          ดำเนินการหารือกับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องที่ตั้งของศูนย์อาเซียนด้านภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ในโอกาสแรก ซึ่งไทยมีความพร้อมในการเป็นประเทศที่ตั้งของศูนย์ฯ          กต. และ สธ.

21. เรื่อง  ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-เวียดนาม               ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และมอบหมายให้ส่วนราชการดำเนินการตามผลการประชุมฯ เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-เวียดนามเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม ตามที่ กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า การประชุม JTC ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565                               ณ กรุงเทพมหานคร โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและการค้าเวียดนาม เป็นประธานร่วม ซึ่งมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุมฯ และผลการดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ประเด็น          สาระสำคัญ
1.1 ความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการค้าทวิภาคี
(1) เป้าหมายการค้า          ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะบรรลุเป้าหมายการค้า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ               ในปี 2568
(2) ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า          (2.1) ทั้งสองฝ่ายจะร่วมมือกันเพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าข้ามแดนและการขนส่งสินค้าผ่านแดนไปยังประเทศที่สาม โดยเฉพาะการอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าผลไม้บริเวณด่านชายแดนเวียดนาม-จีนในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว รวมถึงสนับสนุนการแลกเปลี่ยนนโยบายและกฎระเบียบการนำเข้าสินค้าระหว่างกัน
(2.2) ปัญหาทางการค้าที่มีการแก้ไขปัญหาให้กันแล้ว ดังนี้
       (2.2.1) การส่งออกรถยนต์จากไทยไปสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (เวียดนาม) โดยฝ่ายเวียดนามได้ปรับปรุงกฎระเบียบการนำเข้ารถยนต์ซึ่งเป็นการลดขั้นตอนการตรวจสอบและได้ให้สัตยาบันข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียนแล้ว
        (2.2.2) การส่งออกผลิตภัณฑ์เหล็กจากเวียดนามมายังไทย โดยฝ่ายไทยได้เปิดให้ผู้ผลิตในต่างประเทศสามารถส่งเอกสารเพื่อตรวจประเมินระบบคุณภาพโรงงานแทนการเดินทางไปตรวจประเมินโรงงานที่ต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยให้                ผู้นำเข้าสามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กของเวียดนามโดยไม่ต้องมีการตรวจสอบสินค้าที่ท่าเรือในทุกการขนส่งสินค้า
(2.3) ประเด็นปัญหาทางการค้าที่ยังเป็นข้อกังวล ดังนี้
       (2.3.1) การส่งออกผลิตภัณฑ์ยาจากไทยไปยังเวียดนาม โดยฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายเวียดนามปรับปรุงกฎระเบียบในการขออนุญาตจำหน่ายยาของเวียดนามซึ่งมีการขอข้อมูลและเอกสารประกอบเกินกว่าที่อาเซียนได้ตกลงกันไว้ ทำให้ผู้ส่งออกมีภาระค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้น โดยฝ่ายเวียดนามรับทราบข้อกังวลและแจ้งว่าอยู่ระหว่างเวียนร่างกฎระเบียบฉบับใหม่
       (2.3.2) การส่งออกสินค้าเกษตรเวียดนามมายังไทย โดยฝ่ายเวียดนามขอให้ไทยยกเลิกการยื่นหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิในการยกเว้นภาษีทั้งหมดหรือบางส่วนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ในการนำเข้าสินค้านมและผลิตภัณฑ์นมมายังไทย ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันว่าหนังสือรับรองฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการนำเข้าและไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอุปสรรคทางการค้า ทั้งนี้ ปัจจุบันยังไม่มีผู้ประกอบการยื่นเรื่องขออนุญาตนำเข้าผลิตภัณฑ์นมจากประเทศเวียดนามภายใต้ AFTA
(3) ด้านการเกษตร          ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะรื้อฟื้นกลไกความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจด้านการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และใช้ประโยชน์จากกลไกดังกล่าวในการพิจารณาออกใบอนุญาตการนำเข้าให้กับสินค้าเกษตรที่แต่ละฝ่ายผลักดัน เช่น สินค้าเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์ ลูกไก่ และไข่ฟัก ผลไม้ (เช่น เงาะ เสาวรส และน้อยหน่า) ข้าว และยางพารา รวมถึงสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวปฏิบัติด้านการประมงระหว่างกัน
(4) ด้านมาตรการเยียวยาทางการค้า          ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะใช้มาตรการเยียวยาทางการค้าเมื่อจำเป็นโดยจะอำนวยความสะดวกในกระบวนการไต่สวนและแจ้งให้อีกฝ่ายทราบถึงความเป็นไปได้ในการเปิดไต่สวน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือในการจัดการมาตรการเยียวยาทางการค้า
(5) ด้านการส่งเสริมการค้า           ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันสนับสนุนการใช้เครือข่ายค้าปลีกของแต่ละฝ่ายในการนำสินค้าเข้าสู่ตลาด และส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าออนไลน์เพิ่มขึ้น รวมทั้งสนับสนุนกิจกรรมของหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม
(6) ด้านการเชื่อมโยงการขนส่ง           ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะผลักดันการปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการขนส่งข้ามพรมแดนในกรอบอนุภูมิภาคและอาเซียน รวมถึงการหาข้อสรุปในเรื่องรูปแบบการให้บริการเดินรถโดยสารในเส้นทางเชื่อมต่อ ฮาติงห์ (เวียดนาม)-ท่าแขก[สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (ลาว)]-นครพนม (ไทย) และการจัดทำความตกลงการเดินเรือร่วมสามฝ่ายระหว่างไทย-กัมพูชา-เวียดนาม
1.2 ความร่วมมือด้านการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจอื่น ๆ
(1) ด้านการลงทุน          ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะส่งเสริมการลงทุนในสาขาที่ได้รับประโยชน์ร่วมกัน เช่น อาหาร ยานยนต์ พลังงาน สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เคมีภัณฑ์ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ และไทยขอให้เวียดนามเร่งจัดตั้งกลไกการหารือเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนระหว่างกันเพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับกฎระเบียบด้านการลงทุนของทั้งสองฝ่าย
(2) ด้านการธนาคาร          ทั้งสองฝ่ายยินดีต่อผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กับธนาคารกลางเวียดนาม เช่น การเปิดตัวการเชื่อมโยงระบบการชำระเงินด้วยรหัสคิวอาร์ (QR Code) และการออกใบอนุญาตจัดตั้งสาขาธนาคารพาณิชย์ไทยในเวียดนาม
(3) ด้านพลังงาน          ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการจัดการประชุม Thailand-Vietnam Energy Forum ครั้งที่ 2 ในโอกาสแรก โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพ เพื่อหารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกัน และฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายเวียดนามอำนวยความสะดวกและเปิดโอกาสให้นักลงทุนไทยเข้าไปลงทุนในสาขาพลังงานสะอาด
(4) ด้านแรงงาน          ทั้งสองฝ่ายสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดกระบวนการพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงานฉบับปรับปรุงให้ได้ข้อสรุปและมีการลงนามโดยเร็ว
(5) ด้านทรัพย์สินทางปัญญา          ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้มีการสนับสนุนและส่งเสริมความร่วมมือภายใต้บันทึกความเข้าใจด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างไทยและเวียดนามอย่างต่อเนื่องและส่งเสริมการคุ้มครองสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ซึ่งกันและกัน
(6) ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ภูมิภาค และพหุภาคี          ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือและให้การสนับสนุนซึ่งกันและกันในเวทีระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และพหุภาคีที่ทั้งสองฝ่ายเป็นสมาชิก รวมถึงการดำเนินการตามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนการเป็นประธานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (Asia-Pacific Economic Cooperation: APEC) ของไทยในปี 2565
1.3 กิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กิจกรรมจับคู่เจรจาธุรกิจออนไลน์          พณ. ได้จัดกิจกรรมฯ คู่ขนานกับการประชุม JTC ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ ๔ โดยสามารถสร้างมูลค่าการสั่งซื้อ 71 ล้านบาท ในกลุ่มสินค้าเป้าหมาย เช่น อะไหล่ยานยนต์ อาหาร และสินค้าเพื่อสุขภาพและความงาม
                    2. พณ. มีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะ ดังนี้
                              2.1 การประชุม JTC ไทย-เวียดนาม ครั้งที่ 4 ประสบความสำเร็จอย่างดี โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือแนวทางส่งเสริมความร่วมมือเพื่อขยายโอกาสการค้าการลงทุนและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกัน ทั้งนี้ การค้ารวมไทย-เวียดนาม ในปี 2564 มีมูลค่า 19,477.77 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ร้อยละ 17.31 ซึ่งเป็นการขยายตัวของทั้งการนำเข้าและการส่งออก จึงคาดว่าจะสามารถบรรลุเป้าหมายการค้า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568
                              2.2 เวียดนามยังคงให้ความสำคัญกับการขาดดุลการค้ากับไทยและขอให้ไทยช่วยแก้ไขเรื่องการขาดดุลดังกล่าวโดยการอำนวยความสะดวกในการนำเข้าสินค้าจากเวียดนาม เช่น ลดขั้นตอนและเอกสารที่ใช้ประกอบการนำเข้าสินค้า ไม่ขยายระยะเวลาการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสินค้านำเข้าจากเวียดนาม อนุญาตให้มีการนำเข้าผลไม้ของเวียดนามเพิ่มเติม ตลอดจนสนับสนุนการจัดจำหน่ายสินค้าของเวียดนามในไทยซึ่งเป็นประเด็นที่เวียดนามต้องการผลักดันกับไทยมาอย่างต่อเนื่อง
          2.3 ปัญหาอุปสรรคในการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมของไทยไปยังเวียดนาม เช่น ผลิตภัณฑ์ยา และรถยนต์ โดยเวียดนามมีการประกาศใช้กฎระเบียบใหม่บ่อยครั้งและให้ความยืดหยุ่นกับผู้ผลิตภายในประเทศ ดังนั้น หน่วยงานภาครัฐและเอกชนไทยจึงควรติดตามการบังคับใช้กฎระเบียบทางการค้าของเวียดนามอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นและพิจารณาผลักดันกับฝ่ายเวียดนามในโอกาสต่าง ๆ นอกจากนี้ เวียดนามพยายามผลักดันให้ไทยอนุญาตให้มีการนำเข้าสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผลไม้จากเวียดนามเพิ่มขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่เวียดนามจะพิจารณายกเลิกการระงับใบอนุญาตนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทย จึงเห็นควรสนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของทั้งสองฝ่ายมีการหารืออย่างใกล้ชิดต่อไปเพื่อหาทางออกร่วมกัน
          3. พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ เช่น          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
(1) เป้าหมายการค้า          ประสานงานและอำนวยความสะดวกในการนำเข้าและส่งออกสินค้าระหว่างกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการค้า 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2568          กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)พณ.และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)


(2) การส่งออกรถยนต์ไทยไปเวียดนาม          - เร่งรัดการดำเนินการให้เป็นไปตามข้อตกลงยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์ยานยนต์ของอาเซียน ที่มีผลใช้บังคับเมื่อเดือนมกราคม ๒๕๖๕
- ติดตามความคืบหน้าการบังคับใช้มาตรฐานการปล่อยไอเสีย EURO 5 ของเวียดนาม ผลกระทบต่อผู้ผลิตและผู้ส่งออกยานยนต์ของไทย          กระทรวงคมนาคม (คค.) พณ.อก. และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


(3) การส่งออกยาและผลิตภัณฑ์ยา ไปเวียดนาม          ติดตามความคืบหน้าการออกร่างกฎระเบียบฉบับใหม่เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนยาของเวียดนาม
          กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) พณ. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) และสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม
(4) การเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเอกสารผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window: ASW)          - เร่งแก้ไขปัญหาทางเทคนิคในการแลกเปลี่ยนเอกสาร (ATIGA e-Form D) รวมถึงความคืบหน้าการเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนเอกสารทางการค้าอื่น ๆ ระหว่างไทยกับเวียดนามผ่านระบบ ASW
- ติดตามข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมและเอกสารหลักฐานจากภาคเอกชนเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ศุลกากร ณ ด่านชายแดนเวียดนาม ไม่มีอำนาจในการตรวจสอบและอนุมัติหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน          กระทรวงการคลัง พณ. สภาธุรกิจไทย-เวียดนาม และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

(5) การอำนวยความสะดวกการขนส่งผลไม้ไทยผ่านแดนเวียดนามไปยังจีน          ติดตามความคืบหน้าการใช้มาตรการ/การผ่อนปรนมาตรการควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) ณ ด่านชายแดนเวียดนาม-จีน และผลกระทบ/ปัญหาอุปสรรคต่อการขนส่งผลไม้และผลผลิตทางการเกษตรอื่น ๆ จากไทยผ่านเวียดนามไปยังจีน โดยเฉพาะในช่วงฤดูเก็บเกี่ยว          พณ.
(6) การนำเข้านมและผลิตภัณฑ์นม รวมถึงสินค้าเกษตรอื่น ๆ จากเวียดนามมายังไทย          ติดตามข้อร้องเรียนของเวียดนามเกี่ยวกับประเด็นปัญหาอุปสรรคและสถานการณ์การนำเข้าสินค้าเกษตรจากเวียดนามมาไทย          พณ.
(7) การออกหนังสือรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมให้แก่ผลิตภัณฑ์เหล็กจากเวียดนาม          - จัดส่งเอกสารภาษาอังกฤษเกี่ยวกับขั้นตอนในการขอใบอนุญาตนำเข้าสำหรับผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าทรงแบนรีดเย็นเคลือบสังกะสีแบบจุ่มร้อนให้ฝ่ายเวียดนาม
- ติดตามสถานการณ์การนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กที่เป็นข้อกังวลของเวียดนาม          อก.
(8) ความร่วมมือด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช          ติดตามความคืบหน้าการดำเนินความร่วมมือด้านการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช          กษ.
(9) การนำเข้า-ส่งออกสินค้าเกษตรระหว่างกัน          ติดตามความคืบหน้าการหารือระหว่าง กษ. ของทั้งสองฝ่ายและประเด็นที่เวียดนามแจ้งความประสงค์ที่จะให้ไทยอนุญาตให้มีการนำเข้าอะโวคาโด ส้ม สับปะรด มะพร้าว แตงโม และสตรอเบอร์รี่ จากเวียดนามเพิ่มเติม          กษ.
(10) การสนับสนุนช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าไทยและเวียดนาม          ส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าของอีกฝ่ายผ่านเครือข่ายการค้าปลีกของตน รวมถึงบนแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์
          พณ. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม
(11) การให้บริการรถโดยสารประจำทาง 3 ประเทศ (เวียดนาม ลาว และไทย)          ติดตามและผลักดันให้ลาวเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะทำงานสามฝ่าย ครั้งที่ 2 เพื่อให้ได้ข้อสรุปเรื่องรูปแบบการดำเนินธุรกิจบริการเดินรถโดยสารในเส้นทางฮาติงห์ (เวียดนาม)-คำม่วน (ลาว)-นครพนม (ไทย) โดยเร็ว          คค.
(12) ด้านพลังงาน          ประสานฝ่ายเวียดนามเพื่อกำหนดจัดประชุม Thailand-Vietnam Energy Forum ครั้งที่ 2 ภายในไตรมาสที่ 2 หรือ 3 ของปี 2565          กต. และกระทรวงพลังงาน
(13) ด้านแรงงาน          เร่งรัดกระบวนการพิจารณาร่างบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการจ้างงานฉบับปรับปรุงให้ได้ข้อสรุปและมีการลงนามโดยเร็ว และการขยายสาขาอาชีพที่ไทยจะอนุญาตให้แรงงานเวียดนามเข้ามาทำงานในไทยได้          กระทรวงแรงงาน
(14) ความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาคและภูมิภาค          ประสานงานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดภายใต้กรอบความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และพหุภาคี ที่ทั้งสองประเทศเป็นภาคีอยู่          พณ.

22. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee: JTC) ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 และกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2565 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมฯ เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับภูฏานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 27-29 เมษายน 2565                   ณ จังหวัดภูเก็ต โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐการภูฏาน เป็นประธานร่วม ซึ่งมีผลการประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้


                    1. ผลการประชุมฯ
ประเด็น          สาระสำคัญ
1. ภาพรวมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ          ภูฏานเป็นคู่ค้าอันดับ 6 ของไทยในภูมิภาคเอเชียใต้ โดยในปี 2564 การค้าระหว่างไทยกับภูฏานมีมูลค่ารวม 66.53 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไทยได้เปรียบดุลการค้ากับภูฏานมูลค่า 66.45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยขณะนี้ภูฏานได้ดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อยกระดับสู่ประเทศกำลังพัฒนาในปี 2566 ทำให้ภูฏาน ต้องเร่งแสวงหาตลาดการค้าใหม่ รวมทั้งเร่งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจและมีนโยบายดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ
2. การส่งเสริมการค้าและการลงทุนระหว่างกัน          2.1 เป้าหมายทางการค้า 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568
2.2 ความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงสิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade agreement: PTA) ไทย-ภูฏาน ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องให้ริเริ่มการหารือและศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับการจัดทำ PTA ไทย-ภูฏาน
2.3 การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้โครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ระยะที่ 2 ภูฏานยังสามารถใช้สิทธิภาษีภายใต้โครงการดังกล่าวได้จนกว่าองค์กรสหประชาชาติจะประกาศให้ภูฏานพ้นจากรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ทั้งนี้ โครงการฯ ของไทยจะสิ้นสุดในปี 2569
2.4 การเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้า ไทยเชิญชวนให้นักธุรกิจและผู้ประกอบการภูฏานเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ไทยจัดขึ้น เช่น งาน ThaiFEX-ANUGA Asia 2022 (งานแสดงสินค้าอาหารที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนของไทย) ระหว่างวันที่ 24-28 พฤษภาคม 2565 และการจัดกิจกรรมจับคู่เจรจาการค้าออนไลน์ระหว่างนักธุรกิจไทยกับภูฏานในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2565
3 ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ          3.1 ด้านการเกษตร ภูฏานจะส่งออกผลไม้ 3 รายการ ได้แก่ แอปเปิ้ล ส้ม และมันฝรั่ง มายังไทย ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) อยู่ระหว่างจัดทำผลการวิเคราะห์การปลอดศัตรูพืช ในขณะที่ไทยขอให้ภูฏานสนับสนุนการส่งออกสมุนไพรและยาแผนโบราณของไทย ซึ่งรวมถึงการขึ้นทะเบียน การเปิดตลาด และการอำนวยความสะดวกในการนำเข้า นอกจากนี้ไทยได้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(Geographical Indications: GI) ให้กับภูฏานด้วย
3.2 ด้านหัตถกรรม ไทยและภูฏานได้เห็นพ้องให้มีการต่ออายุบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านศิลปะหัตถกรรมระหว่างสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน) กับกรมอุตสาหกรรมครัวเรือนภูฏาน อีก 5 ปี นับจากวันที่หมดอายุ (ฉบับเดิมหมดอายุเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2564) โดยครอบคลุมความร่วมมือ 3 สาขา ได้แก่ งานไม้แกะสลัก งานไม้ไผ่ และอ้อย
3.3 ด้านการท่องเที่ยว ไทยและภูฏานได้เห็นพ้องให้มีการต่ออายุบันทึกความเข้าใจด้านการท่องเที่ยว อีก 5 ปี (ฉบับเดิมหมดอายุในเดือนมิถุนายน 2565) โดยไทยเสนอให้เพิ่มหน่วยงานของไทยอีก 1 หน่วยงาน คือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) ซึ่งจะเป็นการลงนามร่วมกันระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) และสภาการท่องเที่ยวภูฏาน โดยจะมุ่งเน้นการจัดทำรายการนำเที่ยวภายใต้แนวคิด ?2 ราชอาณาจักร 1 จุดหมายปลายทาง? เน้นการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมวิถีชีวิตเรื่องอาหารและการท่องเที่ยวชุมชนเพื่อเป็นการดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกมายัง 2 ประเทศ
4. ประเด็นอื่น ๆ           ไทยยินดีพิจารณาความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญาระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยกับภูฏาน
5. การจัดกิจกรรมอื่น ๆ           พณ. ได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานและถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับแหล่งผลิตสินค้า GI รวมถึงการคัดเลือกสินค้าที่มีคุณภาพและตรงตามมาตรฐานของสินค้า GI ในจังหวัดภูเก็ต เช่น สับปะรดภูเก็ต
                    2. พณ. มีข้อคิดเห็นว่า การประชุม JTC ไทย-ภูฏาน ครั้งที่ 4 เป็นการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้มากขึ้น รวมทั้งเป็นการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพร่วมกัน ได้แก่ การเกษตร หัตถกรรม และการท่องเที่ยว เพื่อผลักดันให้มูลค่าการค้าระหว่างกันให้บรรลุเป้าหมาย 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายใน 2568
                    3. พณ. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ เช่น          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. ด้านการส่งเสริมการค้าและการลงทุน
(1) เป้าหมายการค้า          ดำเนินการตามเป้าหมายทางการค้าที่ตั้งร่วมกัน คือ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568          พณ.
(2) การจัดทำ PTA ไทย-ภูฏาน          ศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบในการจัดทำ PTA          กระทรวงการคลัง (กค.) กษ. พณ. และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
(3) การยกเลิกภาษีนำเข้าและการกำจัดปริมาณนำเข้าสำหรับประเทศพัฒนา                   น้อยที่สุด          คงสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจนกว่าองค์การสหประชาชาติจะประกาศให้ภูฏานหลุดออกจากรายชื่อประเทศพัฒนาน้อยที่สุด          กค. และ พณ.
(4) การส่งเสริมการค้าและการลงทุน          ส่งเสริมการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างกันโดยส่งเสริมการส่งออกสินค้าสมุนไพรของไทยและยาไทยแผนโบราณไปยังภูฏาน รวมทั้งส่งเสริมการลงทุนในสาขาศักยภาพของไทยในภูฏาน เช่น การโรงแรม และการท่องเที่ยว          พณ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
2. ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
(1) ด้านการเกษตร          การส่งออกสินค้าของภูฏานมายังไทย เช่น ควินัว หน่อไม้ฝรั่ง และขิง ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช รวมทั้งจะพิจารณาการนำเข้าแอปเปิ้ล ส้ม มันฝรั่ง และน้ำผึ้งจากภูฏานซึ่งเป็นสินค้าควบคุมของไทย          กษ.
(2) ด้านหัตถกรรม          ต่ออายุบันทึกความเข้าใจด้วยการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านศิลปะหัตถกรรมฯ และส่งเสริมให้ภูฏานร่วมงานแสดงสินค้าหัตถกรรมของไทยใน 2565          สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน)
(3) ด้านการท่องเที่ยว          ต่ออายุบันทึกความเข้าใจฯ ด้านการท่องเที่ยวระหว่างกัน ภายใต้แนวคิด ?2 ราชอาณาจักร 1 จุดหมายปลายทาง?            ททท. และองค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
3. ประเด็นอื่น ๆ
ความร่วมมือสาขาอื่น ๆ           พิจารณาความร่วมมือระหว่างกรมทรัพย์สินทางปัญญาของไทยกับภูฏาน          พณ.

23. เรื่อง ผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนา               ที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 และฉายวีดิทัศน์
                    คณะรัฐมนตรีมีติรับทราบสรุปผลการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกว่าด้วยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 4 (การศึกษา 2030) ครั้งที่ 2 (2nd Asia-Pacific Regional Education Minister?s Conference on SDG4-Education 2030 (APREMC-II) และนำเสนอฉายวีดิทัศน์เรื่อง               งานประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาแห่งภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ภาพรวม การประชุม  APREMC-II ประสบความสำเร็จด้วยดีตามเจตนารมณ์ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานยู่เนสโก กรุงเทพฯ ในการจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านการศึกษาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อคิดเห็น วิสัยทัศน์ และแนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาเพื่อรับมือกับสถานการณ์และบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปของโลก รวมถึงการฟื้นฟูการศึกษาจากโรคโควิด-19 โคยมีรัฐมนตรีศึกษาจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกเดินทางมาเข้าร่วมการประชุม จำนวน 17 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมแบบทางไกล 3 ประเทศ ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ หน่วยงาน องค์กรพัฒนาเอกชนและภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมประมาณ 350 คน
                    2. สรุปสาระสำคัญ
                              2.1 การประชุมเชิงวิชาการ จัดขึ้นในวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ประกอบด้วย การนำเสนอและรายงานเกี่ยวกับดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย SDG4 ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก และการประชุมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับประเด็นด้านการศึกษา เพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ปัญหาท้าทาย และแนวทางส่งเสริมการพัฒนาด้านการศึกษาอย่างครอบคลุมในมิติต่าง ๆ จำนวน 10 หัวข้อ ดังนี้
                                        1) Learning Recovery and Addressing the Learning Crisis การฟื้นฟู                การเรียนรู้และการจัดการวิกฤตการเรียนรู้จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเรียนในโรงเรียน และต้องเรียนรู้ผ่านระบบทางไกล ซึ่งส่งผลต่อการเข้าถึงการศึกษาและคุณภาพที่ไม่เท่าเทียม ดังนั้นการฟื้นตัวจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลด้วยการใช้กลยุทธ์การฟื้นฟูที่เหมาะสม ซึ่งกลยุทธ์การฟื้นฟูการเรียนรู้จะแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละภูมิภาค
                                        2) Equity, Inclusion and Gender Equality ความเสมอภาค ความครอบคลุมและความเท่าเทียมระหว่างเพศในกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ เด็กจากครอบครัวและชุมชนชายขอบและด้อยโอกาส กลุ่มเปราะบาง เช่น เด็กผู้หญิง เด็กพิเศษ เด็กกลุ่ม LGBTI เด็กและเยาวชนที่ไม่เคยเข้าเรียนหรือออกจากโรงเรียนกลางคัน ดังนั้น จึงมีกรอบแนวคิด ?การกลับมาที่ดีกว่าเดิมและเท่าเทียมมากขึ้น? เพื่อพัฒนาการศึกษาหลังการแพร่ระบาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับกลุ่มเด็กชายขอบและเด็กเปราะบาง
                                        3) Digital Transformation การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลด้านการศึกษานำไปสู่การพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาที่ครอบคลุมได้มากยิ่งขึ้น เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลและความรู้ เสริมสร้างกระบวนการทางการศึกษา และพัฒนาผลการเรียนรู้ โดย ICT เป็นเครื่องมือที่ได้รับการยอมรับว่าสามารถช่วยให้เข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพในช่วงที่มีการหยุดชะงักทางการศึกษาและโรงเรียนปิด ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลในการศึกษาจะช่วยสนับสนุนการฟื้นฟูการเรียนรู้ และการปฏิรูประบบการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความครอบคลุม ความยืดหยุ่นและคุณภาพของการจัดการศึกษา
                                        4) Higher Education and Adult Learning การอุดมศึกษาและการศึกษาผู้ใหญ่ควรได้รับการฟื้นฟูจากการสูญเสียโอกาสทางการเรียนในช่วงการแพร่ระบาด การอุดมศึกษาจำเป็นต้องสร้างความแข็งแกร่งให้กับพลเมืองโลกและนักคิดที่สร้างสรรค์ ส่วนด้านการศึกษาผู้ใหญ่นั้น ภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีพัฒนาด้านการอ่านออกเขียนได้อย่างต่อเนื่อง แต่ในระดับอนุภูมิ อัตราการอ่านออกเขียนได้ของเยาวชนและผู้ใหญ่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในระดับโลก ดังนั้น จึงต้องเร่งดำเนินการเพื่อเพิ่มอัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ต่อไป
                                        5) Financing and Governance การเงินและการจัดการบริหาร มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ประเด็นปัญหาท้าทายที่เกิดขึ้นในภูมิภาค ได้แก่ การจัดสรรค่าใช้จ่ายในภาคสังคมและภาครัฐที่ไม่เพียงพอและล่าช้า ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของรัฐลดลงอยู่ในระดับต่ำสุดของเกณฑ์มาตรฐาน ตามกรอบการดำเนินงานวาระการศึกษา 2030 จึงได้เสนอแนะว่าควรกำหนดงบประมาณสำหรับการศึกษาร้อยละ 4 - 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product : GDP)
                                        6) Transformative Education (ESD, GCED, Health and Wellbeing) การศึกษาเพื่อการเปลี่ยนแปลงเน้นการส่งเสริมให้ทุกคนพัฒนาศักยภาพเพื่อสันติและการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development : ESD) พลเมืองโลกศึกษา (Global Citizenship Education : GCED) การศึกษาเพื่อสุขภาพและสุขภาวะที่ดี (Education for Health and Well-being : EHW) และสุขภาพและโภชนาการภายในโรงเรียน (School Health and Nutrition :SHN) อันเป็นปัจจัยสู่การมีวิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงชีวิต สังคม และโลก รวมถึงการสร้างสังคมที่สงบสุข ยุติธรรม และยั่งยืน
                                        7) Early Childhood Care and Education การดูแลและการศึกษาเด็กปฐมวัย โดยช่วงวัยแรกเกิดถึงอายุ 8 ปี เป็นช่วงสำคัญของการพัฒนาซึ่งสามารถส่งผลต่อช่วงวัยต่อไปในชีวิต ดังนั้น เด็กปฐมวัยจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนด้านสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาและปราศจากอุปสรรคต่าง ๆ เช่น ความยากจน ความหิวโหย ความรุนแรง และการถูกคุกคาม เพื่อให้เกิดพัฒนาการทางจิตใจอารมณ์ พฤติกรรม และการเรียนรู้ที่ดีต่อไป
                                        8) Adolescents and Youth Learning and Skills development การเรียนรู้และการพัฒนาทักษะของวัยรุ่นและเยาวชน เพื่อให้มีศักยภาพและทักษะที่เหมาะสม สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานและการมีส่วนร่วมในสังคมได้ โดยให้ความสำคัญทั้งการศึกษาในระบบและนอกระบบ
                                        9) Teachers การส่งเสริมศักยภาพและการเตรียมความพร้อมครูเพื่อรับมือกับผลกระทบของโรคโควิด-19 ทั้งด้านการเรียนการสอน ทักษะการใช้เทคโนโลยี ความเครียดทางกายและทางใจ ดังนั้น จึงควรปรับโครงสร้างในการจ้างและการฝึกอบรมครูเพื่อให้สามารถฟื้นฟูการเรียนรู้ใด้อย่างทันเหตุการณ์
                                        10) Data and Monitoring การจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้องและการประเมินอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้สามารถเก็บข้อมูลการศึกษาระดับชาติได้ดีมากยิ่งขึ้น ช่วยให้สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์สภาพจริง ปัญหา และความต้องการทางการศึกษาได้อย่างตรงประเด็นมากยิ่งขึ้น รวมทั้งนำไปสู่แนวทางการฟื้นฟูการเรียนรู้และการปฏิรูปการศึกษาต่อไป
                              2.2 การประชุมระดับรัฐมนตรี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 - 7 มิถุนายน 2565 โดยมีการประชุมโต๊ะกลมระดับรัฐมนตรี แบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ ได้แก่
                                        (1) The Learning Recovery and Addressing the Learning Crisis การฟื้นฟูการเรียนรู้และการแก้ไขวิกฤตการเรียนรู้ โดยรัฐมนตรีศึกษาประเทศต่าง ๆ แสดงวิสัยทัศน์เชิงนโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อสร้างความมั่นใจในการกลับไปเรียนในโรงเรียนอย่างปลอดภัย และการฟื้นฟูการเรียนรู้อย่างมีศักยภาพในอีก 2 ปีข้างหน้า อีกทั้งยังได้ระบุถึงขอบเขตในการฟื้นฟูการศึกษาจากโรคโควิด-19 ได้แก่ การเปิดโรงเรียนอย่างปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ การกลับเข้าไปเรียนใหม่อย่างมีศักยภาพและการรักษาสถานภาพของผู้เรียนอย่างเท่าเทียม ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูการเรียนรู้ รวมถึงการประเมินระดับการเรียนรู้และระบุถึงช่องว่าง การกำหนดมาตรการการเยียวยา เช่น โปรแกรมการเรียนที่มีความแตกต่างและโปรแกรมให้ผู้เรียนสามารถติดตามการสอนได้ทัน การประยุกต์หลักสูตร การปรับปฏิทินโรงเรียนและเวลาการสอน การบริหารจัดการด้านงบประมาณสำหรับฟื้นฟูการศึกษาโดยมีงบประมาณอย่างพอเพียง การจัดสรรงบประมาณอย่างเท่าเทียม และการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
                                        (2) Transforming Education and its Systems โดยคำนึงถึงความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเพื่อสร้างความเท่าเทียม ยืดหยุ่น และรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดได้มากขึ้น เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับปัจเจกบุคคล สังคม เศรษฐกิจ ส่งเสริมให้เกิดสันติภาพ การมีส่วนร่วม และความยั่งยืนในอนาคตเพื่อมนุษยชาติและโลก ทั้งนี้ ที่ประชุมได้กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเพื่อให้มีความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในอนาคตได้มากขึ้น การเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่า ผู้เรียนได้รับการพัฒนาให้มีศักยภาพในการใช้ชีวิตและอาชีพการงานที่เหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนอกจากนี้ ยังต้องคำนึงถึงการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอและมีประสิทธิภาพสำหรับดำเนินการเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา
                              ทั้งนี้ ประโยชน์ที่ไทยได้รับ คือ การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการพัฒนาด้านการศึกษาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกมุมมองใหม่และข้อคิดเห็นระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงทิศทางการดำเนินงานที่เข้มแข็งเพื่อเตรียมพร้อมเดินหน้าสำหรับการฟื้นฟูด้านการศึกษาหลังจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 และการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ความสำคัญ โดยเฉพาะการรับมือกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว สถานการณ์ที่คาดไม่ถึง รูปแบบการเรียนรู้ที่ต้องปรับเปลี่ยนตามบริบท รวมถึงบทบาทของเทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้ในการศึกษาให้มีคุณภาพและเท่าเทียม นอกจากนี้ ยังได้กระชับความร่วมมือทั้งด้านการศึกษาและภายใต้กรอบงานยูเนสโกระหว่างสำนักงานยูเนสโกระดับภูมิภาคและประเทศสมาชิกในการฟื้นฟูกิจกรรมที่หยุดชะงักไป โดยมีข้อริเริ่มโครงการและความร่วมมือจากประเทศสมาชิกที่ส่งเสริมพัฒนาด้านการศึกษา การพัฒนาครู ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมาย SDG4

24. เรื่อง  ร่างแถลงการณ์ร่วมของการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย ? สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 4
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างแถลงการณ์ร่วมของการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย ? สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 4 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาปรับปรุงร่างฯ ให้ถูกต้องเหมาะสมต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการหารือเชิงยุทธศาสตร์ไทย ? สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 4 มีสาระสำคัญคือการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง เพื่อส่งเสริมและขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างสองประเทศในสาขาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน อาทิ ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง สิ่งแวดล้อม ไซเบอร์ ดิจิทัล วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม วัฒนธรรม และการศึกษา เป็นต้น

25. เรื่อง ท่าทีไทยในการประชุม 2022 United Nations Ocean Conference
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบท่าทีไทยสำหรับการประชุม 2022 United Nations Ocean Conference                          ซึ่งประกอบด้วย (1) ร่างปฏิญญาทางการเมือง Our Ocean, Our Future, Our Responsibility และ (2) ร่างเนื้อหาคำมั่นโดยสมัครใจที่ประเทศไทยจะประกาศในประเด็นการสนับสนุนข้อมูลด้านการติดตามและวิจัยภาวะความเป็นกรดในมหาสมุทร
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างปฏิญญาทางการเมือง Our Ocean, Our Future, Our Responsibility และร่างเนื้อหาคำมั่นโดยสมัครใจที่ประเทศไทยจะประกาศ ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณาโดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. รับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม 2022 United Nations Ocean Conference มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน ? 1 กรกฎาคม 2565 ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส
                    สาระสำคัญ
                    1. การประชุม 2022 United Nations Ocean Conference ประกอบด้วยการประชุมย่อยต่าง ๆ ได้แก่
                              1.1 การประชุมเต็มคณะ (Plenary Session) ซึ่งจะมีการกล่าวถ้อยแถลงของประเทศสมาชิก (National statement) เกี่ยวกับความก้าวหน้าในการดำเนินการตามเป้าหมายที่ 14 และการประกาศคำมั่นโดยสมัครใจ (Voluntary Commitment) รวมถึงการร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมือง Our Ocean, Our Future, Our Responsibility
                              1.2 การประชุม Interactive Dialogues ใน 8 หัวข้อ ซึ่งครอบคลุมการแก้ไขปัญหามลพิษทางทะเลและผลกระทบที่เกิดจากสภาวะอุณหภูมิน้ำทะเลที่สูงขึ้น การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรประมง การส่งเสริมความเข้มแข็งด้านเศรษฐกิจภาคมหาสมุทร การพัฒนาศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเลและนวัตกรรม
                              1.3 กิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) และกิจกรรมพิเศษ (Special Event)
                    2. ผลลัพธ์ของการประชุมจะประกอบด้วย (1) ปฏิญญาทางการเมือง Our Ocean, Our Future, Our Responsibility (2) คำมั่นโดยสมัครใจ (Voluntary Commitment) ที่ประเทศต่าง ๆ อาจพิจารณาประกาศในการประชุมฯ เพื่อแสดงเจตจำนงในการอนุวัติ SDG14 (3) สรุปผลการประชุม Interactive Dialogues ซึ่งจัดทำโดยประธานร่วมในที่ประชุม
                    3. ท่าทีไทยสำหรับการประชุม เช่น ประเทศไทยจะร่วมรับรองปฏิญญาทางการเมือง Our Ocean, Our Future, Our Responsibility เพื่อร่วมแสดงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากมหาสมุทร ทะเล และทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนกับประชาคมโลก
                    4. การประชุมสหประชาชาติด้านมหาสมุทร ค.ศ. 2022 (2022 United Nations Ocean Conference) ระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน ? 1 กรกฎาคม 2565 ณ กรุงลิสบอน สาธารณรัฐโปรตุเกส มีองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมประชุม ดังนี้
                              1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หัวหน้าคณะ
                              2) ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              3) นายฤทัย วัฒนา เลขานุการหัวหน้าคณะผู้แทนไทย
                              4) คณะทำงานรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              5) ผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              6) ผู้แทนกรมป่าไม้
                              7) ผู้แทนกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                              8) อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                              9) ผู้แทนกรมเจ้าท่า
                              10) ผู้แทนกรมประมง
                              11) ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                              12) ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ
                              13) ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

แต่งตั้ง

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นายธีรลักษ์                 แสงสนิท รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 28 มีนาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเสนอแต่งตั้ง นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ให้ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรง      พระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ