สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 5 ตุลาคม 2565

ข่าวการเมือง Wednesday October 5, 2022 17:54 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

วันนี้ (5 ตุลาคม 2565) เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตร

ที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ....

                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติ                                        เครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบ                                        ของข้าราชการกรมราชทัณฑ์)
                    4.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วย                                        การเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์                                         วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง
                    6.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียม                                                  ใบอนุญาตใช้เรือ สำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    7.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3

(ปี 2560-2564) และการดำเนินการในระยะต่อไป

                    8.           เรื่อง           รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน                                                   ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    9.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่                                         3/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2565
                    10.           เรื่อง           การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบัน                                                  การเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    11.           เรื่อง           การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี                                         และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29                                         และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    12.           เรื่อง           ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย)                                                   วงเงิน 15,200 ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 1,500 ล้านบาท ของการ                                        รถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    13.           เรื่อง           การยุบเลิกกิจการบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด
                    14.           เรื่อง           ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนสิงหาคม                                         2565
                    15.           เรื่อง           รายงานผลการทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงาน                                        ของรัฐ
                    16.           เรื่อง           ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรี                                        เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้                                                   เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน
                    17.           เรื่อง           (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ

(พ.ศ. 2566 ? 2570)

                    18.            เรื่อง           รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม และ 8 เดือนแรกของปี 2565
                    19.           เรื่อง           แนวทางการดำเนินการสำหรับผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการ

แห่งรัฐ ปี 2565 ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้

                    20.           เรื่อง           ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉิน                                        หรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการ ?พาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย?

ต่างประเทศ
                    21.            เรื่อง            ขอความเห็นชอบการจัดทำและลงนามร่างความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศ                                        ที่ครอบคลุมระหว่างรัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับ                                        สหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกและร่างเอกสารบันทึกการหารือ
                    22.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิ                                                  ประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน
                    23.            เรื่อง            ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-                                        ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ                                                  สิ่งแวดล้อมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
                    24.            เรื่อง            การรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจ                                                  สร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy)
แต่งตั้ง
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฝ่าย                                        การเมือง) และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม                                                   (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
                    26.           เรื่อง          การอนุมัติให้ นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ไปรักษาราชการแทนหรือไปปฏิบัติ                                                  หน้าที่ในตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    28.           เรื่อง           การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ                                                  เกษตรกรรม (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    31.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย                                         และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
                    32.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม
                    33.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์


?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กษ. รับความเห็นของกระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากการเลี้ยงสุกรได้รับความนิยมจากเกษตรกรไทย โดยมีจำนวนผู้เลี้ยงสุกรมากกว่า 160,000 รายทั่วทุกภูมิภาค ทั้งที่เลี้ยงไว้เพื่อการบริโภคหรือเพื่อการพาณิชย์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จึงได้ประกาศมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานทั่วไป ขึ้นในปี 2552 เพื่อใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติของเกษตรกรและใช้ในการตรวจรับรองมาตรฐานฟาร์ม เพื่อให้ผู้บริโภคเกิดความมั่นใจใจความปลอดภัยของเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ ป้องกันปัญหาสุขภาพและการเกิดโรคระบาดที่สำคัญในสุกร และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
                     2. ปัจจุบันผู้ประกอบการที่เลี้ยงสุกรในเชิงพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความเข้าใจ และมีความพร้อมในการดำเนินการตามมาตรฐาน ดังนั้น เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตตั้งแต่ระดับฟาร์ม สร้างความมั่นใจถึงความปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่สำคัญในสุกรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเพิ่มศักยภาพในการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สุกรของประเทศไทย มกอช. จึงได้จัดทำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรขึ้น
                    3. คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร และเห็นชอบกำหนดให้มาตรฐานดังกล่าวเป็นมาตรฐานบังคับ
                     4. กษ. โดย มกอช. ได้นำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรตามข้อ 3. มาดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียก่อนออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับต่อไปตามมาตรา 15 วรรคสอง และมาตรา 18 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ซึ่งบัญญัติให้เมื่อคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเห็นด้วยกับรายละเอียดของร่างมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรใดและกำหนดให้เป็นมาตรฐานบังคับ ให้คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตรนั้นเป็นมาตรฐานบังคับ โดยก่อนออกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานบังคับ ให้ มกอช. จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหรือผู้มีประโยชน์เกี่ยวข้องและเมื่อได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นแล้ว ให้ มกอช. นำผลการแสดงความคิดเห็นนั้นเสนอคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อประกอบการพิจารณาเสนอแนะต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อออกกฎกระทรวงต่อไป ทั้งนี้ มกอช. ได้นำร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเผยแพร่ในเว็บไซต์ของ มกอช. ประกาศทางหนังสือพิมพ์เป็นเวลา 3 วัน และแจ้งเวียนประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) เป็นเวลา 60 วัน รวมทั้งจัดทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำนวน 3,266 หน่วยงาน ผลปรากฏว่า มีผู้เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรดังกล่าว รวมจำนวนทั้งสิ้น 119 ราย โดยเห็นด้วย 108 ราย ไม่เห็นด้วย 11 ราย และไม่แสดงความคิดเห็น จำนวน 3,147 ราย
                     5. คณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ในคราวประชุมครั้งที่ 5/2564 เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2564 ได้พิจารณาผลการรับฟังความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ และเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับ พ.ศ. .... โดยมอบ มกอช. จัดทำร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป ก่อนดำเนินการออกกฎกระทรวงกำหนดเป็นมาตรฐานบังคับ
                     6. ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป และลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2565
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดให้มาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 6403 ? 2565 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นมาตรฐานบังคับ โดยมีสาระสำคัญดังนี้
                    1. กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรให้แก่ผู้ประกอบการที่เลี้ยงสุกรขุนตั้งแต่ 500 ตัว            ขึ้นไป และเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95 ตัว ขึ้นไป เช่น สถานที่ตั้งของฟาร์มต้องตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีเส้นทางคมนาคมที่สามารถขนส่งสุกร อาหารสัตว์ เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้สะดวก ไม่อยู่ในบริเวณน้ำท่วมขังได้ มีแหล่งน้ำที่สะอาดและใช้เพียงพอ มีพื้นที่ขนาดเพียงพอและเหมาะสมในการเลี้ยงสุกร ไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสวัสดิภาพสัตว์ มีคู่มือการจัดการฟาร์มที่แสดงให้เห็นรายละเอียดการปฏิบัติงานที่สำคัญภายในฟาร์ม (เช่น การเตรียมโรงเรือนก่อนนำสุกรเข้าเลี้ยง การทำความสะอาดและบำรุงรักษาโรงเรือน และอุปกรณ์ การควบคุมสัตว์พาหะ) มีมาตรการป้องกันโรคที่อาจมากับสุกรรุ่นใหม่ที่นำเข้าฟาร์ม มีระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น โดยกำหนด            วันใช้บังคับตามขนาดและประเภทของฟาร์มสุกร ดังนี้ (ร่างข้อ 1 และร่างข้อ 2)
ขนาด/ประเภทของฟาร์ม          วันใช้บังคับ
1. เลี้ยงสุกรขุน จำนวนตั้งแต่ 500-1,499 ตัว     - ฟาร์มขนาดกลาง          ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
2. เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 95-119 ตัว            - ฟาร์มขนาดกลาง
3. เลี้ยงสุกรขุน จำนวนตั้งแต่ 1,500 ตัว ขึ้นไป   - ฟาร์มขนาดใหญ่          ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน
นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา
4. เลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่ 120 ตัว ขึ้นไป         - ฟาร์มขนาดใหญ่
กฎกระทรวงนี้ไม่ใช่บังคับแก่ฟาร์มสุกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเลี้ยงระบบปศุสัตว์อินทรีย์และหมูหลุมที่รับรองโดยกรมปศุสัตว์
                     2. กำหนดให้ผู้ประกอบการที่เลี้ยงสุกรขุน จำนวนตั้งแต่ 1 ? 499 ตัว และเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์ ตั้งแต่       1 ? 94 ตัว (ฟาร์มขนาดเล็ก) สามารถขอรับการตรวจสอบและขอใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ.                6403 ? 2565 จากผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานได้ (ร่างข้อ 3)
                    3. กำหนดให้ใบรับรองที่ผู้ประกอบการตรวจสอบมาตรฐานได้ออกไว้ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2558 ก่อนวันที่ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตรสำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกรเป็นมาตรฐานบังคับฯ ดังกล่าวนี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้ต่อไปจนกว่าใบรับรองนั้นจะสิ้นอายุ หรือถูกเพิกถอนหรือมีการขอยกเลิก (ร่างข้อ 4)

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน โดยให้พิจารณาประเด็นตามข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ กค. รับความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. ปัจจุบันกรมศุลกากรมีวิธีการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของกรมศุลกากร (การขนส่งสินค้าผ่านแดน การขนส่งสินค้าระหว่างท่าหรือที่ กับโรงพักสินค้าและการเคลื่อนย้ายของในลักษณะมัดลวดจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังไปยังสำนักงานตรวจสินค้าลาดกระบังก่อนชำระอากรขาเข้าสำเร็จ หรือไปยังหน่วยศุลกากรอื่น) โดยใช้การควบคุมการขนส่งด้วยอุปกรณ์เฉพาะ ได้แก่ การมัดลวดและการใช้เทคโนโลยีระบบกุญแจอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นทางเลือกและเป็นการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ กรมศุลกากรพิจารณาแล้วจึงเห็นสมควรกำหนดให้มีระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในการควบคุมทางศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Customs Tracking and Monitoring System: CTMS) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้ในการควบคุม ติดตาม และตรวจสอบการขนส่งแบบ Real time ด้วยอุปกรณ์ควบคุมทางศุลกากรดิจิทัลที่เชื่อมโยงข้อมูลกับระบบศุลกากรอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Customs Electronics System: TCES)
                    2. โดยที่มาตรา 5 วรรคหนึ่ง (6) แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 บัญญัติว่าการกำหนดกิจการอื่นเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ให้เป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โดยกำหนดเป็นกฎกระทรวง กค. โดยกรมศุลกากรจึงได้พิจารณายกร่างกฎกระทรวงการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร พ.ศ. .... มาเพื่อกำหนดวิธีการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรให้ชัดเจน ให้มีระบบติดตามการเคลื่อนย้ายของหรือสินค้าที่อยู่ภายใต้การควบคุมทางศุลกากรที่ทันสมัย โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารงาน การให้บริการภาครัฐเพื่อประโยชน์ทางด้านการควบคุมทางศุลกากร และเป็นทางเลือกในการอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ อันเป็นการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันทางการค้าของประเทศ
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในการควบคุมทางศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (Customs Tracking and Monitoring System: CTMS) ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. บทนิยาม (ร่างข้อ 3)          - กำหนดบทนิยาม เช่น
     - ?ผู้ใช้บริการ? หมายความว่า ?ผู้ใช้บริการที่เลือกใช้การควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยอุปกรณ์เฉพาะหรือระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ได้แก่ ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ผู้ขนส่ง ผู้ขอผ่านแดน หรือบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งของ รวมถึงตัวแทนของบุคคลดังกล่าว?
     - ?ผู้ให้บริการ? หมายความว่า ?ผู้ให้บริการระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่ได้ทำสัญญากับกรมศุลกากร?
2. บททั่วไป (ร่างข้อ 4 - ข้อ 6)
(เดิม มีแต่การควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยอุปกรณ์เฉพาะ)          - กำหนดให้การควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากร มี   2 วิธี ได้แก่ (1) การควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยอุปกรณ์เฉพาะ และ (2) ระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
- กำหนดให้ผู้ใช้บริการด้วยวิธีดังกล่าวต้องแสดงความจำนงและชำระค่าบริการก่อนปฏิบัติพิธีการศุลกากรในการขนส่งของตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนด
- กำหนดให้การควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรใช้กับการขนส่งของในรูปแบบ ดังนี้
     (1) การขนส่งสินค้าผ่านแดนหรือการขนส่งที่ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร ตลอดจนการขนส่งสินค้าระหว่างท่าหรือที่ กับโรงพักสินค้า
     (2) การเคลื่อนย้ายของในลักษณะมัดลวดจากสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังไปยังสำนักงานตรวจสินค้าลาดกระบังก่อนชำระอากรขาเข้าสำเร็จ หรือไปยังหน่วยศุลกากรอื่น
     (3) การขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ และ
     (4) การขนส่งของรูปแบบอื่น ๆ ตามที่อธิบดีประกาศกำหนด
3. การควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยอุปกรณ์เฉพาะ (ร่างข้อ 7 - ข้อ 8)          - กำหนดให้การควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยอุปกรณ์เฉพาะเป็นอุปกรณ์สำหรับกำกับไว้ที่หีบห่อสินค้าหรือที่ประตูตู้สินค้า ทั้งนี้ การมัด รัด ร้อย คล้อง ประทับตรา ปิดผนึก หรือกระทำการอย่างใด ขึ้นอยู่กับภาชนะบรรจุของและยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ได้แก่ (1) การขนส่งของด้วยระบบตู้คอนเทนเนอร์หรือรถบรรทุกชนิดตู้ทึบ (Closed Van) หรือรถบรรทุกหรือรถพ่วง และ (2) ของเป็นรถยนต์ที่ขนส่ง โดยรถบรรทุกรถยนต์หรือยานพาหนะที่สามารถใช้ขนส่งรถยนต์ได้หรือเป็นรถยนต์ขนาดใหญ่ไม่สามารถบรรทุกขึ้นยานพาหนะที่ใช้ขนส่งได้ หรือมีลักษณะเป็นหีบห่อและไม่สามารถบรรทุกหีบห่อทั้งหมดไว้ในรถบรรทุกชนิดตู้ทึบ (Closed Van) ในคราวเดียวกัน
4. ระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล (ร่างข้อ 9 - ข้อ 11)          - กำหนดให้ผู้ใช้บริการหรือบุคคลที่ได้รับอนุญาตจากผู้ใช้บริการมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งของตน เพื่อตรวจสอบติดตามสถานะการขนส่งของได้อย่างทันต่อเหตุการณ์ผ่านช่องทางที่กำหนด
- กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ ตรวจสอบข้อมูลของผู้ใช้บริการ และปลดอุปกรณ์ระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลภายใต้การกำกับดูแลของกรมศุลกากร
5. ผู้ให้บริการ (ร่างข้อ 12 - ข้อ 16)          - กำหนดให้ผู้บริการต้องจัดหาระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในการควบคุมทางศุลกากร อุปกรณ์ และบุคลากร เพื่อดำเนินการให้บริการอย่างเพียงพอ เหมาะสม และต่อเนื่อง ตามเงื่อนไขที่กรมศุลกากรกำหนด
- กำหนดวิธีการยื่นคำขอเข้าดำเนินงานเป็นผู้ให้บริการระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตลอดจนคุณสมบัติ และขอบเขตการดำเนินงานของผู้ให้บริการให้เป็นไปตามที่อธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนด
- กำหนดให้ผู้ให้บริการต้องจัดเก็บและรักษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการของระบบ โดยข้อมูลทั้งหมดถือเป็นสิทธิของกรมศุลกากร และห้ามมิให้ผู้ให้บริการนำข้อมูลไปใช้และ/หรือเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
6. คณะกรรมการ (ร่างข้อ 17 - ข้อ 18)          - กำหนดให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจแต่งตั้ง ?คณะกรรมการสรรหา? เพื่อประโยชน์ในการพิจารณาสรรหาเอกชนเข้าดำเนินงานเป็นผู้ให้บริการระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีอำนาจหน้าที่พิจารณาคำขอเข้าดำเนินงานเป็นผู้ให้บริการและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- กำหนดให้อธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจแต่งตั้ง ?คณะกรรมการกำกับดูแล? เพื่อประโยชน์ในการดำเนินงานของระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีอำนาจหน้าที่กำกับ ดูแล ติดตามผลการดำเนินงานที่เกี่ยวกับการดำเนินงานดังกล่าวที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
7. ค่าบริการ (ร่างข้อ 19 - ข้อ 20)          - กำหนดค่าบริการควบคุมการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาศุลกากรด้วยอุปกรณ์เฉพาะและระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล จำนวนไม่เกิน 200 บาท ต่อคันหรือตู้ หรือหน่วยการขนส่งอื่น แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ การยกเว้น งด หรือลดค่าบริการให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรประกาศกำหนด
8. บทเฉพาะกาล (ร่างข้อ 21)          - กำหนดให้ยกเว้นค่าบริการระบบติดตามการขนส่งของที่อยู่ในอารักขาของศุลกากรด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะต้องเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการตามกฎกระทรวงนี้เป็นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลบังคับใช้


3. เรื่อง ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 (แก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบของข้าราชการกรมราชทัณฑ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ยธ. เสนอว่า
                    1. โดยที่เครื่องแบบพิเศษของข้าราชการกรมราชทัณฑ์เป็นไปตามกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ซึ่งต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2559) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 ได้บังคับใช้มาระยะหนึ่งพบว่า ในปัจจุบันกรมราชทัณฑ์มีภารกิจที่จะต้องเข้าร่วมในงานรัฐพิธี พิธีการสำคัญต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ฉะนั้น เพื่อให้เครื่องแบบข้าราชการกรมราชทัณฑ์มีความเหมาะสมกับภารกิจและเป็นสากล สมควรแก้ไขเพิ่มเติมเครื่องแบบข้าราชการให้มีความเหมาะสมและเป็นสากล และกำหนดให้มีเครื่องแบบปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับภารกิจ กรมราชทัณฑ์จึงได้ยกร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมราชทัณฑ์ พ.ศ. .... และส่งให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณา
                    2. สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี แจ้งว่า ในการประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองการกำหนดเครื่องแบบพิเศษของส่วนราชการ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 ขอให้กรมราชทัณฑ์ แก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวง จากเดิม ?ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยเครื่องแบบพิเศษสำหรับข้าราชการกรมราชทัณฑ์              พ.ศ. ....? แก้ไขเป็น ?ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478? ให้เป็นไปตามวิธีการยกร่างกฎหมาย รวมทั้งปรับแก้ไขบทคลุมมาตราและถ้อยคำเล็กน้อย ก่อนนำเสนอรัฐมนตรีเจ้าสังกัดลงนามและส่งร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวไปยัง                  สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    สาระสำคัญของร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี
                    แก้ไขเพิ่มเติมกฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 83 (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติเครื่องแบบข้าราชการฝ่ายพลเรือน พุทธศักราช 2478 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมลักษณะเครื่องแบบ            พิธีการและกำหนดให้มีเครื่องแบบปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับภารกิจยิ่งขึ้น ดังนี้
                    1. กำหนดชนิดเครื่องแบบพิเศษข้าราชการกรมราชทัณฑ์ชายเพิ่มเติม จาก 6 ชนิด เป็น 7 ชนิด โดยเพิ่ม ?เครื่องแบบปฏิบัติงาน? และแก้ไขลักษณะเครื่องแบบพิธีการ ดังนี้
                              1.1 กำหนดให้เครื่องแบบพิเศษข้าราชการกรมราชทัณฑ์ชายมี 7 ชนิด ดังนี้
กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 83ฯ
และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี          หมายเหตุ
1. เครื่องแบบพิธีการ
2. เครื่องแบบปฏิบัติการสีกรมท่า
3. เครื่องแบบปฏิบัติการพิเศษ
4. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายในเรือนจำ
5. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายนอกเรือนจำ
6. เครื่องแบบกองเกียรติยศกรมราชทัณฑ์          1. เครื่องแบบปฏิบัติงาน
2. เครื่องแบบปฏิบัติการสีกรมท่า
3. เครื่องแบบปฏิบัติการพิเศษ
4. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายในเรือนจำ
5. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายนอกเรือนจำ
6. เครื่องแบบกองเกียรติยศกรมราชทัณฑ์
7. เครื่องแบบพิธีการ          - แก้ไขชื่อและปรับเป็นเครื่องแบบปฏิบัติงาน
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม

คงเดิม

คงเดิม

- แก้ไขลักษณะเครื่องแบบพิธีการ
                              1.2 แก้ไขลักษณะเครื่องแบบพิธีการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ชาย โดยให้ประกอบด้วย
                                        (1) หมวกทรงหม้อตาลสีกากี
                                        (2) เสื้อชั้นนอกคอแบะสีกากี
                                        (3) เสื้อชั้นในเป็นเสื้อคอพับสีขาวแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี
                                        (4) กางเกงขายาวสีกากี
                                        (5) รองเท้าหุ้มส้นหรือหุ้มข้อหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ
                    2. กำหนดชนิดเครื่องแบบพิเศษข้าราชการกรมราชทัณฑ์หญิงเพิ่มเติม จาก 6 ชนิด เป็น 7 ชนิด โดยเพิ่ม ?เครื่องแบบปฏิบัติงาน? และแก้ไขลักษณะเครื่องแบบพิธีการ ดังนี้
                              2.1. กำหนดให้เครื่องแบบพิเศษข้าราชการกรมราชทัณฑ์หญิงมี 7 ชนิด ดังนี้
กฎสำนักนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 83ฯ
และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างกฎสำนักนายกรัฐมนตรี          หมายเหตุ
1. เครื่องแบบพิธีการ
2. เครื่องแบบปฏิบัติการสีกรมท่า
3. เครื่องแบบปฏิบัติการพิเศษ
4. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายในเรือนจำ
5. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายนอกเรือนจำ
6. เครื่องแบบกองเกียรติยศกรมราชทัณฑ์          1. เครื่องแบบปฏิบัติงาน
2. เครื่องแบบปฏิบัติการสีกรมท่า
3. เครื่องแบบปฏิบัติการพิเศษ
4. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายในเรือนจำ
5. เครื่องแบบปฏิบัติงานภายนอกเรือนจำ
6. เครื่องแบบกองเกียรติยศกรมราชทัณฑ์
7. เครื่องแบบพิธีการ          - แก้ไขชื่อและปรับเป็นเครื่องแบบปฏิบัติงาน
คงเดิม
คงเดิม
คงเดิม

คงเดิม

คงเดิม

- แก้ไขลักษณะเครื่องแบบพิธีการ
                              2.2 แก้ไขลักษณะเครื่องแบบพิธีการของข้าราชการกรมราชทัณฑ์หญิง โดยให้ประกอบด้วย
                                        (1) หมวกพับปีกสีกากี
                                        (2) เสื้อชั้นนอกคอแบะสีกากี
                                        (3) เสื้อชั้นในเป็นเสื้อคอพับสีขาวแขนยาวผูกผ้าผูกคอสีดำเงื่อนกะลาสี
                                        (4) กระโปรงสีกากี
                                        (5) รองเท้าหุ้มส้นหนังหรือวัตถุเทียมหนังสีดำ

4. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกเลิกระเบียบ             สำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ที่ ยธ. เสนอ เป็นการยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งกำหนดให้มีคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติเพื่อทำหน้าที่เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง และไกล่เกลี่ยความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในระหว่างที่ยังไม่มีกลไกหรือหน่วยงานรองรับไปพลางก่อน เนื่องจากปัจจุบันได้มีการกำหนดกลไกในการเสริมสร้างความสมานฉันท์และลดความขัดแย้งและมีหน่วยงานรองรับการดำเนินงานในลักษณะเดียวกับอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติได้อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว เช่น สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง สำนักสันติวิธีและธรรมาภิบาล สถาบันพระปกเกล้า คณะกรรมการสมานฉันท์ตามประกาศรัฐสภา และกลไกตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท          พ.ศ. 2562 เป็นต้น ดังนั้น เพื่อมิให้เกิดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานของรัฐในการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด                 จึงจำเป็นต้องออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรียกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ พ.ศ. 2550


                    สาระสำคัญของร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
                    ให้ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท์แห่งชาติ                    พ.ศ. 2550 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

5. เรื่อง ร่างประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างประกาศคณะกรรมการพิจารณาคัดกรองผู้ได้รับการคุ้มครอง เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศฯ ที่ ตช. เสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาคัดกรองคนต่างด้าวที่เข้ามาในประเทศไทย และไม่สามารถเดินทางกลับประเทศอันเป็นภูมิลำเนาได้ เพื่อให้สถานะเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง โดยได้กำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้องจะต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักรหรือเป็นผู้ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักร และไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐแห่งสัญชาติของตน ไม่เป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่มีกลไกหรือกระบวนการดำเนินการรองรับเป็นการเฉพาะ รวมทั้งกำหนดคุณสมบัติของผู้ได้รับการคุ้มครองจะต้องมีมูลที่จะเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการคุกคามชีวิตหรือเสรีภาพ การทรมาน การกระทำให้สูญหาย หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบอื่นอย่างร้ายแรง และไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะได้รับการคุ้มครองจากหรือเดินทางกลับไปยังรัฐแห่งสัญชาติ หรือกรณีที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐที่เดิม มีถิ่นพำนักประจำ ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. กำหนดหลักเกณฑ์และกระบวนการพิจารณาคำร้องขอรับสิทธิเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง คำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง
                              1.1 คุณสมบัติของผู้ยื่นคำร้อง
                                        (1) เป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีสัญชาติไทย และไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
                                        (2) เป็นผู้ที่เข้ามาหรืออยู่ในราชอาณาจักร และไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐแห่งสัญชาติของตน หรือกรณีเป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐที่เดิมตนมีถิ่นพำนักประจำ เนื่องจากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการถูกประหัตประหาร
                                        (3) ไม่เป็นคนต่างด้าวหรือบุคคลในกลุ่มใดที่กระทรวงมหาดไทยมีกลไกหรือกระบวนการดำเนินการรองรับเป็นการเฉพาะ
                                        (4) ไม่เป็นแรงงานต่างด้าวสัญชาติเมียนมา ลาว และกัมพูชา ที่มีกลไกหรือกระบวนการดำเนินการรองรับเป็นการเฉพาะ
                                        (5) สมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลที่มีการพึ่งพาทางสังคม อารมณ์ หรือเศรษฐกิจของผู้ยื่นคำร้อง ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 1.1 ที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีเหตุเฉพาะตัวให้ได้รับสถานะผู้ได้รับการคุ้มครอง พึงมีสิทธิยื่นคำร้องร่วมหรือแยกกับผู้ยื่นคำร้อง และได้รับการพิจารณาสถานะสืบทอดเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองตามหลักเอกภาพของครอบครัว
                              1.2 ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ร่วมกับสำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติประจำประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานประจำประเทศไทย และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือให้ผู้ยื่นคำร้องสามารถเข้าใจ และเข้าถึงกระบวนการยื่นคำร้องได้ในภาษาต่าง ๆ รวมถึงการเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย
                              1.3 กรณีผู้ยื่นคำร้องเป็นผู้เยาว์ ให้ดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจเรื่องการกำหนดมาตรฐานและแนวทางแทนการกักตัวเด็กในสถานกักตัวคนต่างด้าวเพื่อรอการส่งกลับ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
                    2. หลักเกณฑ์และกระบวนการพิจารณาคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง
                              2.1 คุณสมบัติของผู้ได้รับการคุ้มครอง
                                        (1) เป็นคนต่างด้าวผู้มีคุณสมบัติตามข้อ 1.1
                                        (2) มีมูลที่จะเชื่อได้ว่าจะได้รับอันตรายจากการประหัตประหาร การคุกคามชีวิตหรือเสรีภาพ การทรมาน การกระทำให้สูญหาย หรือการละเมิดสิทธิมนุษยชนในรูปแบบอื่นอย่างร้ายแรง
                                        (3) ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะได้รับการคุ้มครองจากหรือเดินทางกลับไปยังรัฐแห่งสัญชาติ หรือกรณีที่เป็นบุคคลไร้สัญชาติ ไม่สามารถหรือไม่สมัครใจที่จะเดินทางกลับไปยังรัฐที่เดิมมีถิ่นพำนักประจำ
                                        (4) ไม่เป็นผู้ที่ถูกพิจารณาว่า ไม่จำเป็นต้องได้รับการคุ้มครองระหว่างประเทศ เนื่องจากมีสิทธิและหน้าที่ในประเทศอื่น และสามารถใช้ชีวิตอยู่ในประเทศนั้นได้อยู่แล้ว หรือไม่สมควรได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากมีส่วนร่วมในอาญากรรมสงคราม อาชญากรรมต่อสันติภาพ อาชญากรรมต่อมนุษย์
                              2.2 สมาชิกในครอบครัวหรือบุคคลที่มีการพึ่งพาทางสังคม อารมณ์ หรือเศรษฐกิจของผู้ยื่นคำร้อง ที่มีคุณสมบัติตามข้อ 2.1 ที่ไม่มีสัญชาติไทยและไม่มีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร และไม่มีเหตุเฉพาะตัวให้ได้รับสถานะผู้ได้รับการคุ้มครอง พึงมีสิทธิยื่นคำขอร่วมหรือแยกกับผู้ยื่นคำขอ และได้รับการพิจารณาสถานะสืบทอดเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองตามหลักเอกภาพของครอบครัว
                              2.3 ผู้ยื่นคำขอต้องได้รับการตรวจสอบ ดังนี้ (1) ประวัติอาชญากรรม (โดยพิมพ์ลายนิ้วมือส่งตรวจสอบ) จากกองทะเบียนประวัติอาชญากร ตช. (2) พฤติการณ์บุคคลและทางการเมืองจากกองบัญชาการตำรวจสันติบาล (3) พฤติการณ์เกี่ยวกับความมั่นคงของชาติจากสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติ และ (4) หมายจับจากกองการต่างประเทศ ตช.
                              2.4 ผู้ยื่นคำขอต้องมีใบรับรองแพทย์เพื่อแสดงว่าไม่มีโรคอย่างใดอย่างหนึ่งตามกฎกระทรวงกำหนดโรคต้องห้ามสำหรับคนต่างด้าวซึ่งเข้ามาในราชอาณาจักร หรือเข้ามามีถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร พ.ศ. 2563
                              2.5 ให้จัดทำ ?คู่มือปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาคำขอเป็นผู้ได้รับการคุ้มครอง? ซึ่งกำหนดรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือ คำแนะนำและคำปรึกษาแก่ผู้ยื่นคำร้อง การสัมภาษณ์ การเก็บและบันทึกข้อมูล การบริหารจัดการแฟ้มประวัติ และการเก็บรักษาข้อมูลเพื่อปกป้องและรักษาความลับของข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ยื่นคำร้อง และเพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต การจัดลำดับการพิจารณาคำขอ
                              อนึ่ง คนต่างด้าวรายใดแม้มีคุณสมบัติครบถ้วนตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ แต่เมื่อพิจารณาถึงความมั่นคงของชาติ คณะกรรมการอาจมีมติไม่ให้สถานะเป็นผู้ได้รับการคุ้มครองแก่ผู้อยู่ระหว่างคัดกรองสถานะ มติของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด และถือเป็นข้อมูลข่าวสารที่ไม่ต้องเปิดเผยตามมาตรา 15 (1) (2) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือ สำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า พ.ศ. ....ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ คค. รับความเห็นของกระทรวงพลังงาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ คค. เสนอว่า
                    1. เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบการขนส่งทางเรือให้เพิ่มมากขึ้น และมาตรา 143 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย พระพุทธศักราช 2456 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2510 บัญญัติให้การออกใบอนุญาตหรือการออกใบอนุญาตใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดอายุ สำหรับเรือที่บัญญัติไว้ในหมวดที่ 3 ว่าด้วยทำเลทอดจอดเรือ หมวดที่ 4 ว่าด้วยทางเดินเรือในลำแม่น้ำ และหมวดที่ 5 ว่าด้วยแพไม้ แพคนอยู่ ฯลฯ ในภาคที่ 2 ให้เรียกค่าธรรมเนียมตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่ไม่เกินฉบับละสองพันบาท โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจกำหนดเรือที่ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวไว้ในกฎกระทรวง และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 6) พุทธศักราช 2481 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการเดินเรือในน่านน้ำไทย (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2510 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีอำนาจออกกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมอันเกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยการเดินเรือในน่านน้ำไทย
                    2. ปัจจุบันปัญหามลพิษทางอากาศได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีในการใช้พลังงานทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดมลพิษทางอากาศและลดมลพิษทางเสียงจากเครื่องยนต์ขับเคลื่อนเรือ ตลอดจนรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการใช้พลังงานไฟฟ้าในระบบการขนส่งทางเรือให้เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับปัจจุบันการเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือสำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือ พ.ศ. 2550 ซึ่งบังคับใช้กับเรือทุกประเภท ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือ สำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าเป็นการเฉพาะ (เรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า คือ เรือที่ขับเคลื่อนตัวเรือให้เคลื่อนที่โดยใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ (Battery Electric Vessel) เท่านั้น)  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการลดปัญหามลพิษทางอากาศ และเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันให้ผู้ประกอบการและประชาชนปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าในระบบการขนส่งทางเรือมากขึ้น อันจะนำไปสู่ระบบการคมนาคมที่ยั่งยืนสอดคล้องกับพัฒนาการเทคโนโลยีในปัจจุบัน และได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จากผู้แทนหน่วยงานกรมเจ้าท่า ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องผ่านระบบการประชุมทางไกล (โปรแกรม Zoom) เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565
                    3. คค. ได้รายงานผลการดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยรายงานว่าประมาณการสูญเสียรายได้จากเรือขับเคลื่อนพลังงานไฟฟ้าที่มีใบอนุญาตใช้เรือในปัจจุบันมีจำนวน 51 ลำ และเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าที่คาดการณ์ว่าจะมาขอใบอนุญาตใช้เรือเพิ่มเติมในภายหลังออกกฎกระทรวง (โดยเฉลี่ยขนาดไม่เกิน 80 ตันกรอส) จำนวน 1,800 ลำ รวมจำนวน 1,851 ลำ โดยประมาณการสูญเสียรายได้ต่อปี จำนวน 614,740 บาท และประมาณการสูญเสียรายได้ 15 ปี จำนวน 9,221,100 บาท
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือ สำหรับเรือขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า ให้คิดปีละ ตามอัตราดังต่อไปนี้
ขนาดเรือ
(ตันกรอส)          อัตราค่าธรรมเนียม
ฉบับ/บาท
ไม่เกิน  10
เกิน     10      แต่ไม่เกิน     20
เกิน     20      แต่ไม่เกิน     30
เกิน     30      แต่ไม่เกิน     40
เกิน     40      แต่ไม่เกิน     60
เกิน     60      แต่ไม่เกิน     90
เกิน     80      แต่ไม่เกิน     100
เกิน     100    แต่ไม่เกิน     200
เกิน     200    แต่ไม่เกิน     400
เกิน     400    แต่ไม่เกิน     600
เกิน     600    แต่ไม่เกิน     800
เกิน     800    แต่ไม่เกิน     1,000
เกิน     1,000  แต่ไม่เกิน     2,000
เกิน     2,000  แต่ไม่เกิน     3,000
เกิน     3,000  แต่ไม่เกิน     4,000
เกิน     4,000  แต่ไม่เกิน     5,000
เกิน     5,000  ขึ้นไป          100
150
200
300
400
500
600
700
800
900
1,000
1,100
1,200
1,300
1,400
1,500
1,600
                    2. กำหนดยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือ สำหรับขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า เป็นระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่เจ้าของเรือแจ้งเปลี่ยนแปลงชนิดของเครื่องยนต์เรือหรือปรับปรุงเครื่องยนต์เรือ แล้วแต่กรณี
                              กรณีครบกำหนดระยะเวลาตามข้อ 2 ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใบอนุญาตใช้เรือในอัตรากึ่งหนึ่งตามข้อ 1 เป็นระยะเวลา 10 ปี

เศรษฐกิจ-สังคม
7. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (ปี 2560-2564) และ                 การดำเนินการในระยะต่อไป
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (ปี 2560-2564) และร่างหลักการการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 4            (ปี 2565-2570) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (12 กันยายน 2560) ที่ให้คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยรายงานผลการดำเนินการตามแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (ปี 2560-2564) ให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกปี และประเมินผลสัมฤทธิ์ของร่างแผนพัฒนาตลาดทุนดังกล่าวในระยะครึ่งแผนเพื่อให้สามารถพิจารณาปรับปรุงแผนงานและตัวชี้วัดให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการดำเนินการภายใต้แผนพัฒนาตลาดทุนฯ สรุปได้ ดังนี้
มาตรการ          ผลการดำเนินการ
(1) การเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และนวัตกรรม          ส่งเสริมให้ SMEs และ Startup เข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยการสนับสนุนนวัตกรรมใหม่ ๆ ซึ่งมีแผนงานสนับสนุนทั้งสิ้น 4 แผนงานโดยเป็นแผนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 2 แผนงาน ได้แก่ (1) การออกหลักเกณฑ์เพื่อพัฒนาเครื่องมือการระดมทุนของกิจการจากบุคคลจำนวนมากสำหรับตราสารหนี้และการให้กู้ยืมโดยใช้สัญญาเงินกู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์และธุรกรรมการกู้ยืมเงินระหว่างบุคคลทั่วไปผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ (Platform P2P Lending) และ (2) การเตรียมการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อรองรับการซื้อขายสำหรับนักลงทุนประเภทพิเศษครอบคลุมผู้ประกอบการทุกกลุ่ม และมีแผนงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 2 แผนงาน ได้แก่ (1) การจัดทำกลไกคะแนนเครดิตที่สถาบันการเงินใช้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ให้แก่ SMEs และ (2) การสนับสนุนให้ SMEs และ Startup เข้าถึงแหล่งเงินทุน
(2) การเป็นแหล่งระดมทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ          ส่งเสริมให้การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานสามารถเติบโตรองรับการลงทุนในระดับภูมิภาค ซึ่งมีแผนงานสนับสนุนทั้งสิ้น               3 แผนงาน โดยมีแผนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 แผนงาน คือ การแก้เกณฑ์เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (Thailand Future Fund: TFFIF) และมีแผนงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 2 แผนงาน ได้แก่ (1) การแก้ไขกฎหมายให้หน่วยงานที่ยังไม่สามารถนำส่วนแบ่งรายได้จากทรัพย์สินโครงสร้างพื้นฐานของตนมาเข้ากองทุนสามารถทำได้ และ (2) การปรับปรุงเกณฑ์ภาษีกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund)
(3) การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของตลาดทุนไทย          ส่งเสริมศักยภาพตลาดทุนไทย ปรับปรุงกฎระเบียบและส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม ยกระดับมาตรฐานและความน่าเชื่อถือและสร้างบุคลากรในตลาดทุน ซึ่งมีแผนงานสนับสนุนทั้งสิ้น 33 แผนงาน โดยมีแผนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 25 แผนงาน เช่น (1) การแก้ไขพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ แนวทางปฏิบัติเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายของการกระทำผิดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว พร้อมทั้งสร้างสภาพแวดล้อมที่ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องรักษาคุณภาพและประสิทธิภาพของการบริการให้แก่สมาชิกและนักลงทุน (2) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ภาคเอกชน (3) การพัฒนาระบบการชำระเงินสำหรับตลาดทุน (4) การพัฒนาระบบงานกลางสำหรับการซื้อขายกองทุนรวม (5) การส่งเสริมการแข่งขันและการเข้าถึงบริการทางการเงินด้วยเทคโนโลยี และ (6) การพัฒนาทักษะและความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านตลาดทุนของไทย และมีแผนที่อยู่ระหว่างดำเนินการ 7 แผนงาน เช่น การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กฎเกณฑ์เพื่อรองรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน นอกจากนี้ มีแผนงานที่ยกเลิก               1 แผนงาน คือ การเปิดให้บุคคลที่ไม่ใช่ผู้ออกหลักทรัพย์สามารถนำหลักทรัพย์มายื่นขอจดทะเบียนเพื่อทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเนื่องจากผู้ลงทุนสามารถลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้โดยตรง หรือลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศผ่านการลงทุนตราสารแสดงสิทธิในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้อยู่แล้ว
(4) การพัฒนาให้ตลาดทุนไทยเป็นจุดเชื่อมโยงของภูมิภาค          ส่งเสริมให้ไทยเป็นจุดเชื่อมโยงของภูมิภาคเพื่อเป็นแหล่งระดมทุนและการลงทุนจากต่างประเทศ รวมทั้งเตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้ไทยเป็นจุดเชื่อมโยงการให้บริการด้านการเงินของภูมิภาคซึ่งมีแผนงานสนับสนุนทั้งสิ้น 7 แผนงาน ทั้งนี้ ณ สิ้นปี 2564 แผนงานทั้งหมดได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว เช่น (1) การอำนวยความสะดวกให้แก่นักลงทุนต่างชาติที่ต้องการนำเงินไปลงทุนในราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (กลุ่มประเทศ CLMV) (2) การสร้างแพลตฟอร์มผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ              เพื่อผลักดันให้ตลาดทุนไทยเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ตลาดทุนในภูมิภาค (3) การเตรียมโครงสร้างพื้นฐานให้ไทยเป็นจุดเชื่อมโยงการให้บริการด้านการเงินของภูมิภาค และ (4) การขจัดอุปสรรคและส่งเสริมให้ผู้ให้บริการทางการเงินของไทยสามารถให้บริการธุรกรรมด้านตลาดทุนแก่กิจการและนักลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV
(5) การมีแผนรองรับสังคมผู้สูงอายุ          เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการออมระยะยาวของไทยให้ครอบคลุมกำลังแรงงานทั้งประเทศอย่างทั่วถึงและสร้างความเพียงพอด้านรายได้เพื่อดำรงชีพหลังการเกษียณอายุ ซึ่งมีแผนงานสนับสนุนทั้งสิ้น                8 แผนงาน โดยมีแผนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 4 แผนงาน ได้แก่ (1) การศึกษาเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  พ.ศ. 2530 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นแหล่งเงินออมสำคัญรองรับการเกษียณ (2) การจัดทำแพลตฟอร์มความรู้ทางการเงินสำหรับคนไทย (3) การส่งเสริมความรู้และทักษะทางการเงินสำหรับประชาชนไทย และ (4) การจัดให้มีกฎหมายเพื่อรองรับธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ และมีแผนงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 4 แผนงาน เช่น (1) การจัดให้มีผู้ทำหน้าที่กำหนดนโยบายระบบการออมเพื่อการเกษียณอายุทุกระบบของประเทศ (2) จัดตั้งระบบทะเบียนกลางด้านบำเหน็จบำนาญของประเทศ และ (3) การจัดให้มีระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพภาคบังคับ
(6) การพัฒนาตลาดทุนดิจิทัล          พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อเชื่อมโยงทุกภาคส่วนเข้าด้วยกันซึ่งมีแผนงานสนับสนุนทั้งสิ้น 3 แผนงาน โดยมีแผนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 1 แผนงาน คือ การพัฒนาการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ผ่านเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) และแผนงานที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 2 แผนงาน ได้แก่ (1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลเพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานกลางในตลาดทุนโดยใช้เทคโนโลยีจัดเก็บข้อมูลแบบกระจายศูนย์หรือเทคโนโลยีอื่นที่เหมาะสม และ              (2) การพัฒนากฎเกณฑ์รองรับการระดมทุนในรูปแบบดิจิทัลเพื่อตอบรับตลาดทุนดิจิทัลและคุ้มครองผู้ลงทุนอย่างเหมาะสม
(7) การส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน          ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาตลาดการระดมทุนที่ยั่งยืนด้วยการสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนทั้งระบบและสร้างผลกระทบเชิงบวกให้แก่สังคมโดยรวม รวมทั้งการส่งเสริมผู้ระดมทุนและกิจการให้ตระหนัก          ถึงประโยชน์และความเสี่ยงจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ    ธรรมาภิบาล ซึ่งมีแผนงานสนับสนุนทั้งสิ้น 7 แผนงาน โดยมีแผนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ 5 แผนงาน เช่น (1) การจัดทำแผนที่นำทาง (Roadmap) เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการไปสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน สำหรับตลาดทุนไทย (2) การพัฒนาศูนย์รวมข้อมูลสำหรับหลักทรัพย์ และ (3) การออกพันธบัตรสีเขียว พันธบัตรเพื่อสังคม และพันธบัตรเพื่อความยั่งยืนของสังคมและสิ่งแวดล้อม และมีแผนงาน     ที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 2 แผนงาน ได้แก่ (1) การพัฒนาและสนับสนุนเครื่องมือระดมทุนเพื่อส่งเสริมความยั่งยืน และ                 (2) การสนับสนุนบทบาทของผู้ลงทุนเพื่อให้คำนึงถึงความยั่งยืนในการลงทุน
                    2. การประเมินแผนพัฒนาตลาดทุนฯ สรุปได้ ดังนี้
                        แผนพัฒนาตลาดทุนฯ มีการกำหนดเป้าหมายการประเมินผลไว้ 2 ระดับ ได้แก่ (1) เป้าหมายของผลการดำเนินงานในระดับวิสัยทัศน์ โดยมีตัวชี้วัด เช่น ขนาดของมูลค่าตลาดตราสารทุนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ผลการจัดอันดับของสภาเศรษฐกิจโลก (2) เป้าหมายของผลการดำเนินงานในระดับยุทธศาสตร์ โดยมีตัวชี้วัด เช่น การเข้าถึง การแข่งขันได้ การเชื่อมโยง และความยั่งยืน ซึ่งผลการประเมินพบว่า ผลการดำเนินงานในระดับวิสัยทัศน์เป็นไปตามเป้าหมายหรือสูงกว่า 4 รายการ (กำหนดไว้ 5 รายการ) และผลการดำเนินงานในระดับยุทธศาสตร์เป็นไปตามเป้าหมายหรือสูงกว่า 7 รายการ (กำหนดไว้ 15 รายการ) ทั้งนี้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                    3. การดำเนินการในระยะต่อไป
                        คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยมีมติเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2564 ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) จัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 4 รวมทั้งแผนพัฒนาตลาดทุนในระยะต่อไป โดยให้รับฟังความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและนำเสนอร่างหลักการการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4 ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ โดยร่างหลักการการจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนฯ ฉบับที่ 4                      มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                        3.1 จัดตั้งคณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 4 (ปี 2565-2570) โดยมีเลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต. เป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งมีหน้าที่ในการเสนอแนะนโยบายและแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาตลาดทุนซึ่งรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัล ตลอดจนประสานงานและร่วมกำหนดนโยบายกับหน่วยงานเศรษฐกิจมหภาคอื่น ๆ เพื่อให้นโยบายด้านตลาดการเงิน ตลาดทุน และเศรษฐกิจมหภาคมีความสอดคล้องกัน
                        3.2 ศึกษาแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดทุนของต่างประเทศ เช่น สหภาพยุโรป เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสิงคโปร์ มาเลเซีย และสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) โดยมีทิศทางและเป้าหมายการพัฒนาตลาดทุนของแต่ละประเทศ เช่น การสนับสนุนการเติบโตด้วยนวัตกรรม การสนับสนุนการพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย รวมถึงคำนึงถึงประเด็นความท้าทาย แนวโน้มหลักที่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุน เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก สังคมสูงวัย และการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่ รวมทั้งศึกษาประเด็นที่อาจส่งผลต่อตลาดทุนไทย เช่น การขยายตลาดทุนในวงกว้าง บทบาทของผู้ประกอบธุรกิจภาคการเงิน และความปลอดภัยทางไซเบอร์
                        3.3 จัดทำร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 4 (ปี 2565-2570) เพื่อต่อยอดจากแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 3 (ปี 2560-2564) ทั้งนี้ คณะกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยได้มีมติเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 เห็นชอบหลักการของร่างแผนพัฒนาตลาดทุนไทย ฉบับที่ 4 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หัวข้อ          รายละเอียด
1) วิสัยทัศน์          เพื่อการพลิกฟื้นเศรษฐกิจให้เติบโตแข็งแรง ได้แก่
1.1) สานต่อตลาดทุนให้เป็นผู้นำระดับภูมิภาค
1.2) ส่งเสริมทุกภาคส่วนให้เติบโตอย่างยั่งยืน
1.3) สนับสนุนทุกภาคส่วนให้ปรับสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
1.4) เสริมสร้างความอยู่ดีมีสุขทางการเงินของประชาชน
2) พันธกิจ          2.1) ตลาดทุนเพื่อการแข่งขันได้
2.2) ตลาดทุนเพื่อความยั่งยืน
2.3) ตลาดทุนดิจิทัล
2.4) ตลาดทุนเพื่อความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน
2.5) ตลาดทุนที่ทุกฝ่ายได้ใช้ประโยชน์/เข้าถึงได้
3) ยุทธศาสตร์          3.1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของทุกภาคส่วนในตลาดทุนไทยและระบบเศรษฐกิจ
3.2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 ตลาดทุนไทยที่เอื้อให้ทุกภาคส่วนสามารถเข้ามาใช้ประโยชน์ได้
3.3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริม ประยุกต์ และใช้เทคโนโลยีและดิจิทัลในตลาดทุน
3.4) ยุทธศาสตร์ที่ 4 ตลาดทุนไทยส่งเสริมความยั่งยืนของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
3.5) ยุทธศาสตร์ที่ 5 ความอยู่ดีมีสุขทางการเงิน โดยสร้างผลลัพธ์ทางการเงินที่ดี รวมถึงการสร้างโอกาสในการลงทุนใหม่ โดยมีความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
4) เป้าหมาย          มีเป้าหมาย เช่น
4.1) ตลาดทุนไทยเป็นแหล่งทุนของเศรษฐกิจใหม่
4.2) ภูมิทัศน์ตลาดทุนไทยที่เอื้ออำนวยให้ผู้ประกอบธุรกิจสามารถประกอบธุรกิจได้
4.3) กฎหมายและกฎเกณฑ์สำหรับตลาดสินทรัพย์ดิจิทัลและการบังคับใช้กฎหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.4) โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล
4.5) ฐานข้อมูลที่ทุกภาคส่วนเข้าถึงได้
4.6) ความปลอดภัยทางไซเบอร์
4.7) ตลาดทุนไทยเติบโตอย่างยั่งยืน

8. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและเห็นชอบดังนี้
                    1. รับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                    2. เห็นชอบให้นำความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป
                    3. ให้สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินรับความเห็นของสำนักงาน ก.พ. สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รายงานผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นการรายงานเกี่ยวกับผลการปฏิบัติงานของสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายและการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง พ.ศ. 2559 เกี่ยวกับผลการปฏิบัติงาน ดังนี้ ผลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันการฟอกเงิน มีการดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบและวิเคราะห์ธุรกรรม จำนวนทั้งสิ้น 594 คดี และมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 5,833 ครั้ง ผลการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการฟอกเงิน มีการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น คำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สิน จำนวน 201 คำสั่ง มูลค่าทรัพย์สิน 2,998,087,212.25 บาท เรื่องที่เห็นชอบให้ส่งพนักงานอัยการพิจารณา จำนวน 158 เรื่อง มูลค่าทรัพย์สิน 2,393,992,723.45 บาท ผลการดำเนินงานด้านการกำกับและตรวจสอบผู้มีหน้าที่รายงาน โดยสำนักงาน ปปง. ได้รับรายงานการทำธุรกรรม จำนวนทั้งสิ้น 20,489,559 ธุรกรรม ผลการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมาใช้ในการดำเนินงานมีการตรวจพิสูจน์หลักฐานนอกพื้นที่ ได้ไฟล์หลักฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 14 เครื่อง และอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล จำนวน 5 เครื่อง และตรวจพิสูจน์หลักฐาน                       ณ ห้องปฏิบัติการ ได้ผลลัพธ์เป็นข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ จำนวน 976,801 ไฟล์ และข้อมูลจากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล จำนวน 893,312 ไฟล์ ผลการปฏิบัติงานด้านความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงาน ปปง. ได้รับการยอมรับจากกลุ่มองค์กรต่อต้านการฟอกเงินระหว่างประเทศ เช่น กลุ่ม The Asia-Pacific Group on Money Laundering (APG) และกลุ่ม Egmont Group ในเรื่องความมุ่งมั่นในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ได้ดำเนินการส่งเสริมและประสานความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินกับองค์กร           ต่าง ๆ ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ

9. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2565 และแนวโน้มไตรมาสที่ 3/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไตรมาสที่ 2/2565 และแนวโน้ม  ไตรมาสที่ 3/2565 และรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนกรกฎาคม 2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในไตรมาสที่ 2/2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) หดตัวเล็กน้อย ร้อยละ 0.7 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1/2565 ที่ขยายตัวร้อยละ 1.6 ซึ่งส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ส่งผลให้ราคาพลังงานและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบให้ต้นทุนของผู้ผลิตและภาระค่าครองชีพของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รวมไปถึงปัญหาข้อจำกัดในห่วงโซ่อุปทานโลกที่ยังคงไม่คลี่คลาย ทั้งนี้ อุตสาหกรรมสำคัญที่หดตัวในไตรมาสที่ 2/2565 อาทิ Hard Disk Drive เป็นผลจากการขาดแคลนวัตถุดิบ จากมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดของประเทศจีน เม็ดพลาสติก เนื่องจากผู้ผลิตมีการปรับแผนกลยุทธ์ใหม่หลังต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีการปิดซ่อมบำรุงของผู้ผลิตบางราย เหล็กและเหล็กกล้า จากความต้องการที่ปรับตัวลดลง หลังราคาสินค้าในหมวดวัสดุก่อสร้างปรับสูงขึ้น รวมถึงลูกค้าชะลอคำสั่งซื้อเพื่อรอดูทิศทางของราคาเหล็กในตลาดโลก สำหรับอุตสาหกรรมที่มีการขยายตัวดีในไตรมาสที่ 2/2565 อาทิ การกลั่นปิโตรเลียม ภาวะการผลิตเพิ่มขึ้น เนื่องจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ในประเทศ และการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทำให้ระดับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูปในประเทศเพิ่มขึ้น ผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ที่มิใช่ยางล้อ เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น และสถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลายในหลายประเทศ ทำให้ประเทศคู่ค้ามีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น รวมถึงปัญหาเรื่องการขนส่งที่ทยอยคลี่คลาย ส่งผลให้สามารถส่งสินค้าได้มากขึ้น
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 6.4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์ของฐานต่ำในปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรง รวมถึงในปีนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศยังคงทยอยปรับตัวดีขึ้น
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนกรกฎาคม 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 23.44 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก รวมถึงผลจากฐานต่ำในปีก่อนที่โควิดกลับมาระบาดรุนแรง
                    2. การกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 12.66 ผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ กิจกรรมการขนส่งเดินทางกลับสู่ภาวะปกติหลังผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด การเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงฐานต่ำในปีก่อนที่การระบาดรุนแรงจนภาครัฐต้องออกมาตรการล็อกดาวน์บางพื้นที่ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงลดลง
                    3. ผลิตภัณฑ์คอนกรีต ขยายตัวร้อยละ 23.19 จากความต้องการใช้ที่เติบโตขึ้นโรงงานสามารถทำการผลิตและส่งมอบได้ตามปกติ ในขณะที่ปีก่อนมีระบาดรุนแรงในประเทศ พบการระบาดในแคมป์คนงานก่อสร้างและในกลุ่มแรงงานในโรงงาน ทำให้การผลิตและการส่งสินค้าไม่สามารถดำเนินการได้เป็นปกติ
                    4. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 10.39 ตามความต้องการของตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลก
                    5. เครื่องปรับอากาศ และชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 23.4 ผลจากฐานต่ำในปีก่อนที่มีการระบาดใน วงกว้างส่งผลให้มีพนักงานติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ทำให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่ รวมถึงในปีนี้มีการเร่งผลิตรองรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ส่งผลให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นในหลายประเทศ
                    แนวโน้มอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ไตรมาสที่ 3/2565
                    อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า คาดการณ์ว่าการผลิตจะขยายตัวเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบมีแนวโน้มลดลง อย่างไรก็ตาม ราคาเหล็กในตลาดโลกมีแนวโน้มลดต่ำลง และมีการนำเข้าเหล็กจากรัสเซียเข้ามาในตลาดเอเชียมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อเนื่องของไทยเลือกนำเข้าผลิตภัณฑ์เหล็กมากกว่าการซื้อจากในประเทศ
                    อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คาดว่าดัชนีผลผลิตจะหดตัวประมาณร้อยละ 3.0 เนื่องจากสถานการณ์การเงินเฟ้อที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการขาดแคลนวัตถุดิบและชิ้นส่วนบางรายการ ในขณะที่มูลค่าการส่งออกจะยังขยายตัวได้ต่อเนื่องประมาณร้อยละ 6.0 เนื่องจากสถานการณ์ขาดแคลนซิปทั่วโลก และสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐอเมริกา จีน และไต้หวัน ที่อาจส่งผลต่อห่วงโซ่              การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาดโลก ส่งผลให้ราคาของชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ปรับตัวสูงขึ้น
                    อุตสาหกรรมยางและผลิตภัณฑ์ยาง คาดว่า ปริมาณการผลิตยางแปรรูปขั้นปฐมจะขยายตัวจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทางด้านปริมาณการผลิตยางรถยนต์ คาดการณ์ว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในส่วนของปริมาณการผลิตถุงมือยาง คาดการณ์ว่าจะขยายตัวจากความต้องการใช้ถุงมือยางเพื่อป้องกันโรคที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ และแนวโน้มการระบาดของโรคฝีดาษวานร
                    อุตสาหกรรมอาหาร คาดว่าดัชนีผลผลิตในภาพรวมขยายตัวจากนโยบายเปิดประเทศที่ทำให้มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ส่งผลให้อุปสงค์เพิ่มขึ้น รวมถึงเศรษฐกิจในประเทศค่อย ๆ ทยอยฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม การอ่อนค่าของเงินบาทอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตสินค้าในส่วนของการนำเข้าวัตถุดิบที่ต้องใช้เงินบาทต่อดอลลาร์เพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนภาคอุตสาหกรรมและส่งผลให้ราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้น สำหรับมูลค่าการส่งออกคาดว่าจะหดตัวลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจและการค้าโลกมีการชะลอตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ส่งผลให้คำสั่งซื้อจากประเทศคู่ค้าชะลอตัว


10. เรื่อง การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จำนวน 2,000 ล้านบาท โดยให้กองทุนฯ ทยอยโอนเงินดังกล่าวเข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ เนื่องจากจำนวนเงินดังกล่าวมีความเหมาะสมกับประมาณการกระแสเงินรับ ? จ่ายของกองทุนฯ ซึ่งจะทำให้กองทุนฯ มีเงินสดคงเหลือเพียงพอสำรองเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงานและภาระชดเชยที่ต้องดำเนินการ อย่างไรก็ดี หากกองทุนฯ ได้รับเงินที่มีนัยสำคัญให้พิจารณาทบทวนเพื่อขออนุมัตินำส่งเงินเข้าบัญชีสะสมฯ เพิ่มเติมต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า กองทุนฯ ได้ทบทวนประมาณการกระแสเงินรับ ? จ่ายของกองทุนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 แล้วเห็นว่ากองทุนฯ จะมีสภาพคล่องคงเหลือภายหลังสำรองค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องที่สามารถชำระหนี้ FIDF1 และ FIDF 3 ได้จำนวน 2,000 ล้านบาท คณะกรรมการจัดการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 จึงเห็นควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้กองทุนฯ นำส่งเงินดังกล่าวเพื่อชำระคืนเงินต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยทยอยโอนเงินเข้าบัญชีสะสมฯ ตามปริมาณสภาพคล่องของกองทุนฯ ข้อมูล ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565 ยอดหนี้ต้นเงินกู้ FIDF1 และ FIDF 3 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายงาน          จำนวนเงิน
ยอดรวมต้นเงินกู้ที่รับมาดำเนินการตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555          1,138,305.89
ยอดชำระหนี้สะสมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 ? สิงหาคม 2565
(เงินต้น จำนวน 451,345.39 ล้านบาท ดอกเบี้ย จำนวน 345,720.13 ล้านบาท)
และค่าบริหารจัดการ จำนวน 13.60 ล้านบาท          797,079.12
ยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2565 (รวมการลดภาระหนี้จากบัญชี Premium FIDF* จำนวน 14,347 ล้านบาท)          672,613.50
ที่มา : รายงานการบริหารหนี้ตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มดำเนินการถึง ณ วันที่ 31 สิงหาคม 2565
* Premium FIDF คือ บัญชีเงินฝากจากเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Premium FIDF 1) และบัญชีเงินฝากจากการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนฯ (Premium FIDF 3) ซึ่งเป็นบัญชีที่ใช้สะสมเงินส่วนเพิ่มที่เกิดจากราคาซื้อขายพันธบัตรสูงกว่าราคาที่ตราไว้เพื่อนำไปสมทบชำระหนี้ FIDF

11. เรื่อง การกำหนดวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษในเขตกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ ในช่วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ให้วันที่ 16 ? 18 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งเพื่อให้การอารักขาและการรักษาความปลอดภัยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ ในส่วนของรัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และภาคเอกชน ให้รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และกระทรวงแรงงานพิจารณาความเหมาะสมของการกำหนดเป็นวันหยุดให้สอดคล้องกับข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องในแต่ละกรณีไป นอกจากนี้ หน่วยงานที่มีภารกิจให้บริการประชาชนหรือมีความจำเป็นหรือราชการสำคัญในวันหยุดดังกล่าว โดยได้กำหนดหรือนัดหมายไว้ก่อนแล้ว ซึ่งหากยกเลิกหรือเลื่อนไปจะเกิดความเสียหาย หรือกระทบต่อการให้บริการประชาชน ให้หัวหน้าหน่วยงานนั้นพิจารณาดำเนินการตามที่เห็นสมควร โดยมิให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการและการให้บริการประชาชน
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคครั้งที่ 29 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีคณะผู้แทน (ผู้นำและคู่สมรส) จากเขตเศรษฐกิจสมาชิกเอเปค จำนวน 20 เขตเศรษฐกิจ (ไม่รวมไทย) ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี สาธารณรัฐประชาชนจีน เขตบริหารพิเศษฮ่องกง อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป สหรัฐอเมริกา และเวียดนามเข้าร่วม รวมถึงสำนักเลขาธิการเอเปค            ผู้สังเกตการณ์ 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) สภาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคพื้นแปซิฟิก (Pacific Economic Cooperation Council - PECC) และกรอบการประชุมหมู่เกาะแปซิฟิก (Pacific Islands Forum - PIF) รวมถึงเขตเศรษฐกิจและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมในฐานะแขกของเจ้าภาพ
                    2. ในการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่            9 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบให้ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์เป็นสถานที่จัดประชุมดังกล่าว โดยการประชุมมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 19 พฤศจิกายน 2565 และจะมีผู้เข้าร่วมประกอบด้วยผู้นำและคู่สมรสจาก 20 เขตเศรษฐกิจ (ไม่รวมไทย) ผู้สังเกตการณ์ และผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วม รวมทั้งแขกพิเศษของเจ้าภาพ โดยกำหนดการประชุมของผู้นำจะมีขึ้นในวันที่ 18 ? 19 พฤศจิกายน 2565 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ งานเลี้ยงอาหารค่ำ ณ หอประชุมกองทัพเรือ และกิจกรรมคู่สมรสผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ณ พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ กต. ได้จัดสรรโรงแรมจำนวน 16 แห่งในย่านกลางกรุงเทพมหานคร ได้แก่ พระรามที่ 4 สาทร ราชประสงค์ เพลินจิต สุขุมวิท และเจริญกรุง ให้เป็นโรงแรมที่พักของผู้นำแล้ว
                    3. ต่อมาคณะอนุกรรมการด้านพิธีการและอำนวยการฯ ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ                เครืองาม) เป็นประธาน ได้เสนอเรื่องการกำหนดให้วันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน 2565 เป็นวันหยุดราชการเป็นกรณีพิเศษ เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อบรรเทาปัญหาด้านการจราจร อำนวยความสะดวกในการเดินทางของผู้เข้าร่วมการประชุม รวมทั้งเพื่อให้การอารักขาและการรักษาความปลอดภัยผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการระดับชาติฯ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2565 นายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีมติเห็นชอบให้เสนอเรื่องดังกล่าวให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

12. เรื่อง ขออนุมัติกู้เงินเพื่อใช้ในการดำเนินงาน (กรณีรายได้ไม่เพียงพอสำหรับรายจ่าย) วงเงิน 15,200               ล้านบาท และวงเงินกู้ระยะสั้น จำนวน 1,500 ล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอการกู้เงินของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 มาตรา 39 (4) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้ค้ำประกัน รวมทั้งพิจารณาวิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดตามความเหมาะสม โดย รฟท. จะดำเนินการกู้เงินได้ภายหลังจากวงเงินกู้ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ผ่านความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว สำหรับการขอยกเว้นค่าธรรมเนียมการกู้เงิน ให้ รฟท. พิจารณาดำเนินการ                         ตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป สำหรับเงินกู้ ดังต่อไปนี้
                    1. เงินกู้เพื่อบรรเทาการขาดสภาพคล่องในปีงบประมาณ พ ศ. 2566 วงเงิน 15,200 ล้านบาท
                    2. เงินกู้ระยะสั้น วงเงิน 1,500 ล้านบาท โดยให้ดำเนินการคัดเลือกสถาบันการเงินด้วยวิธีการประมูลวงเงินกู้ระยะสั้น (วงเงินกู้เบิกเกินบัญชี) ตามความเห็นของ กค.

13. เรื่อง การยุบเลิกกิจการบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ยุบเลิกกิจการบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด (บริษัท เอ ซี ทีฯ) การจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) (ระเบียบ นร. จำหน่ายหุ้นรัฐวิสาหกิจฯ)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการ           ยุบเลิกบริษัท เอ ซี ที โมบาย จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามหลักการของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่                       4 กรกฎาคม 2543 โดยบริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจและได้ดำเนินธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์โครงข่ายแก่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย [แปลงสภาพเป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ในเวลาต่อมา] ตั้งแต่ปี 2543 โดยผู้เช่าบอกเลิกสัญญาเช่าในปี 2560 เนื่องจากไม่มีความจำเป็นต้องเช่าอุปกรณ์โครงข่ายของบริษัทฯ แล้ว ประกอบกับมิได้มีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานด้านโทรคมนาคมตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเดิม (การบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่) ทำให้บริษัทฯ ได้รับการพิจารณาโดยคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องให้ยุบเลิกกิจการไป โดย ดศ. แจ้งว่าเมื่อยุบเลิกกิจการและดำเนินการขายทรัพย์สินของบริษัทฯ ทอดตลาดแล้วเสร็จ ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของ บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) [ซึ่งเกิดจากการควบรวมกิจการของบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) (บริษัทแม่เดิม) และ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)] ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ (ร้อยละ 99.05 ของทุนจดทะเบียน 1,200 ล้านบาท) นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการยุบเลิกกิจการดังกล่าว ดศ. จึงเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติยกเว้นให้ไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจำหน่ายกิจการหรือหุ้นที่ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจเป็นเจ้าของ พ.ศ. 2504 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) ด้วย

14. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนสิงหาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนสิงหาคม 2565 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ความก้าวหน้ายุทธศาสตร์ชาติและการขับเคลื่อนแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
                              1.1 สศช. ได้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติผ่านการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 เห็นชอบโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติฯ จำนวน 1,026 โครงการ จากข้อเสนอโครงการฯ จำนวน 2,619 โครงการ และได้เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไป เช่น (1) หน่วยงานของรัฐทบทวนการมีส่วนร่วมของหน่วยงานในการขับเคลื่อนการดำเนินงานเพื่อจัดทำโครงการฯ และปรับปรุงรายละเอียดข้อเสนอโครงการ (2) หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ จัดให้มีการให้คำปรึกษา และ (3) สศช. สร้างการตระหนักรู้ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทฯ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้คะแนน พร้อมทั้งจัดทำคำอธิบายและคำนิยามให้มีความชัดเจนและครอบคลุม
                              1.2 สศช. ได้ทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 23 ประเด็น เสร็จเรียบร้อยแล้ว และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้เห็นชอบ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ จะเสนอคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป โดยหลักการของแผนแม่บทฯ ที่เป็นแผนระดับที่ 2 นั้น เป็นเป้าหมายร่วมของการพัฒนาประเทศในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนา ซึ่งต้องไม่มีสถานะเป็นในระดับหน่วยงานหรือกระบวนการทำงาน นอกจากนี้ คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้มีมติเห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ในระยะต่อไป โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการตามหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan Do Check Act: PDCA) เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
                              1.3 สศช. ได้เสนอ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13                    (พ.ศ. 2566 - 2570) ต่อวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรรับทราบแล้ว เมื่อวันที่ 16 และ 25 สิงหาคม 2565 ตามลำดับ รวมทั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (30 สิงหาคม 2565) รับทราบ (ร่าง) แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 โดยคาดว่าจะประกาศใช้ได้ภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2565 นอกจากนี้ สศช. ได้จัดทำแนวทางการขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ไปสู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย (1) คณะกรรมการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 จำนวน 5 คณะ มีอำนาจหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายและแนวทางในการขับเคลื่อนฯ ให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย (2) กลไกการดำเนินงานตามภารกิจเพื่อสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติเพื่อถ่ายระดับของเป้าหมายและกำหนดโครงการ/การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และยุทธศาสตร์ชาติ (3) กลไกการขับเคลื่อนในระดับพื้นที่ โดยจัดทำแผนพัฒนาในระดับพื้นที่และขับเคลื่อนแบบบูรณาการในระดับตำบล (4) กลไกการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ เช่น ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา และภาคประชาสังคม เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมให้ประชาชนมีบทบาทในการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมาย และ (5) การติดตามประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)
                              1.4 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้มีมติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 รับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีการลงพื้นที่ของ ศจพ. ในระดับจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาคนเป้าหมายของปี 2565 จำนวน 1,028,019 คน หรือ 625,919 ครัวเรือน และมีความก้าวหน้าการดำเนินการช่วยเหลือและพัฒนาในภาพรวมร้อยละ 98 รวมทั้งมีการแต่งตั้ง ?คณะทำงานกำหนดขั้นของการพัฒนาการแก้ไขปัญหาความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? เพื่อกำหนดค่ามาตรฐานของแต่ละขั้นการพัฒนาและใช้เป็นเกณฑ์กลางสำหรับการประเมินการหลุดพ้น นอกจากนี้ได้พัฒนาพื้นที่ต้นแบบเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลและการแสดงผลข้อมูล (Dashboard) ออกแบบแนวทางการบูรณาการการทำงานร่วมกันของภาคีต่าง ๆ และประเมินผลมาตรการความคุ้มครองทางสังคม เพื่อให้สามารถแก้ปัญหาและลดความยากจนได้อย่างตรงจุด ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี ประธานกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ได้เน้นย้ำให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องจัดทำโครงการและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาที่สามารถตอบสนองความต้องการในพื้นที่และภูมิสังคม และให้ความสำคัญกับความถูกต้อง แม่นยำ เป็นปัจจุบัน และความครบถ้วนของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการดำเนินการของ ศจพ. ในการแก้ปัญหาและพัฒนาคนทุกช่วงวัยให้สามารถ อยู่รอด พอเพียง ยั่งยืน
                    2. ความก้าวหน้าแผนการปฏิรูปประเทศ
                              2.1 การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ตั้งแต่ปี 2561 - 2564 พบว่า การปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ ได้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เช่น
ด้าน          ผลสัมฤทธิ์
(1) การเมือง           จัดทำแอปพลิเคชัน Civic Education เพื่อให้เข้าถึงข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้อมูลพรรคการเมือง และข้อมูลที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง
(2) การบริหารราชการแผ่นดิน          เชื่อมโยงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Government Procurement : e-GP) เพื่อตรวจสอบและป้องกันการทุจริต และการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหน่วยงานราชการมากขึ้นซึ่งช่วยลดการใช้กระดาษ
(3) กฎหมาย          จัดทำพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ. 2564 เพื่อเป็นกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมาย
(4) กระบวนการยุติธรรม          สำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดให้มีการถ่วงดุลอำนาจการสอบสวนระหว่างหน่วยงาน และได้มีการดำเนินการเกี่ยวกับการรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษความผิดอาญานอกเขตอำนาจการสอบสวน
(5) การศึกษา          อัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับก่อนประถมศึกษา อายุ 3 - 5 ปี เพิ่มขึ้น อยู่ที่ร้อยละ 75.15 แสดงให้เห็นว่ามีการดูแลและพัฒนาเด็กเล็กก่อนเข้ารับการศึกษาเพิ่มขึ้น
(6) เศรษฐกิจ          ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้มีความแข็งแกร่งและสามารถช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้มากขึ้น
นอกจากนี้ สศช. จะเสนอรายงานความคืบหน้าการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ ครั้งที่ 16 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2565) ต่อคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาต่อไป
                              2.2 แนวทางในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศและการดำเนินการภายหลังการสิ้นสุดของแผนปฏิรูปประเทศ (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565) คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 เห็นชอบแนวทางฯ และมอบหมายให้หน่วยงานดำเนินการ เช่น (1) ให้หน่วยงานของรัฐนำประเด็นการปฏิรูปประเทศที่ยังต้องดำเนินการต่อเนื่องไปดำเนินการผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินงาน     ต่าง ๆ ของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดผลอย่างยั่งยืนต่อไป (2) ให้ สศช. และสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกันพิจารณาทบทวนความจำเป็นและความเหมาะสมเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง และ (3) ให้หน่วยงานหรือผู้มีหน้าที่กำกับ ติดตามการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศพิจารณาทบทวนบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามความเหมาะสม นอกจากนี้ ให้มีการติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ซึ่ง สศช. จะเสนอแนวทางการดำเนินการดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    3. การติดตาม การตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ได้มีการเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 - 2570 กับแผนระดับที่ 2 และยุทธศาตร์ชาติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดนำเข้าข้อมูลแผนในระดับพื้นที่ทั้งแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด และแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัด/กลุ่มจังหวัด โดยจะเริ่มใช้งานตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นต้นไป และให้รายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนในระดับพื้นที่เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผนฯ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาคกำหนด เพื่อให้มีข้อมูลในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานในระดับพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ
                    4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ ข้อมูลมาตรการเร่งรัด               การเบิกจ่ายและการใช้จ่ายภาครัฐและข้อมูลรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณของกรมบัญชีกลาง มีรายละเอียด ดังนี้
รายการเบิกจ่าย          ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
          เป้าหมายตามมาตรการเร่งรัด
การเบิกจ่ายและการใช้จ่ายภาครัฐ          รายงานผลการเบิกจ่าย
งบประมาณของกรมบัญชีกลาง*
ภาพรวม          ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 93          ร้อยละ 87
รายจ่ายประจำ          ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 89          ร้อยละ 93
รายจ่ายลงทุน          ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 75          ร้อยละ 60
*ข้อมูล ณ 31 สิงหาคม 2565
ทั้งนี้ มีหน่วยรับงบประมาณที่มีผลเบิกจ่ายภาพรวมต่ำกว่าร้อยละ 70 จำนวน 36 หน่วยงาน จากทั้งหมด                      305 หน่วยงาน และเนื่องจากขณะนี้ใกล้สิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายของห้วงแรกของแผนแม่บทฯ ดังนั้น ทุกหน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องเร่งดำเนินโครงการ/การดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี 2565 และเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และให้นำเข้ารายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ/การดำเนินการและรายงานผลสัมฤทธิ์ของแผนปฏิบัติราชการของหน่วยงานในระบบ eMENSCR ภายใน 30 วัน นับจากสิ้นสุดปีงบประมาณ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปี 2565 ต่อไป

15. เรื่อง รายงานผลการทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานของรัฐ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอรายงานผลการทบทวนและปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงานของรัฐ [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 (เรื่อง การปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558) ให้ทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐรับแนวทางการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายฯ ไปพิจารณาทบทวนระยะเวลาและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกระบวนงานในความรับผิดชอบให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน และให้แจ้งผลการพิจารณาไปยังคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) โดยด่วน เพื่อให้ ก.พ.ร. พิจารณาดำเนินการในภาพรวม ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ภายใน 1 เดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการทบทวนระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและข้อเสนอการดำเนินการ หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง จำนวน 114 หน่วยงาน ได้รายงานผลการทบทวนระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามกระบวนงานในความรับผิดชอบและความก้าวหน้าในการดำเนินการปรับลดระยะเวลา                   การพิจารณาอนุญาตตามแนวทางการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายฯ พบว่า                  มีกระบวนงานที่เสนอปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตภายในปี 2565 จำนวน 100 กระบวนงาน โดยมีการปรับลดระยะเวลาลงเฉลี่ยร้อยละ 44 แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
                              1.1 กลุ่มกระบวนงานที่มีผลกระทบสูง1 เป็นการส่งเสริมการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตในกระบวนงานที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม จำนวน 31 กระบวนงาน พบว่า                    มีกระบวนงานที่สามารถปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตลงได้ จำนวน 17 กระบวนงาน เช่น (1) การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า (กรมทรัพย์สินทางปัญญา) (2) การขออนุญาตการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ (กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ) และ (3) การแจ้งขุดดิน/ถมดิน (กรมโยธาธิการและผังเมือง) ส่วนที่เหลือเป็นกระบวนงานที่เคยปรับลดระยะเวลาลงแล้วและไม่สามารถปรับลดระยะเวลาได้อีกหรือระยะเวลาปัจจุบันมีความเหมาะสม จำนวน 14 กระบวนงาน เช่น (1) การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน/ขยายโรงงาน เป็นกระบวนงานที่เคยปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตลงแล้วจาก 90 วันทำการ เป็น 37 วันทำการ และการพิจารณาออกใบอนุญาตจำเป็นต้องมีการตรวจสอบและพิจารณาทำเลที่ตั้งของโรงงาน รวมถึงรายละเอียดของเอกสารทางเทคนิคเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนโดยรอบ และ (2) การรังวัดสอบเขต แบ่งแยก รวมโฉนดที่ดินหรือตรวจสอบเนื้อที่แบ่งแยก รวมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (กรมที่ดิน) เป็นกระบวนงานที่เคยปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตลงแล้วจาก 107 - 1,092 วันทำการ เป็น 107 - 292 วันทำการ โดยระยะเวลาที่เหลืออยู่เป็นไปตามกฎหมายที่จะต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเพื่อประสิทธิภาพของการดำเนินการ ทั้งนี้ อยู่ระหว่างพัฒนาบริการผ่านระบบ e-Service เต็มรูปแบบ อย่างไรก็ดี หน่วยงานได้เสนอกระบวนงานสำคัญที่สนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพิ่มเติมอีกจำนวน 5 กระบวนงาน ที่สามารถปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตลงได้ ได้แก่ (1) การขอลงทะเบียนผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร (สำหรับผู้ลงทะเบียนที่มีสัญชาติไทย) (กรมศุลกากร) (2) การขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร (กรมโรงงานอุตสาหกรรม) (3) การจดแจ้งผลิตภัณฑ์สมุนไพร (สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา) (4) การขอหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (กรณีได้รับการส่งเสริมการลงทุน) (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า) และ (5) การจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ (กรณีไม่ต้องประกาศ) (กรมที่ดิน) ดังนั้น จึงมีกระบวนงานที่มีผลกระทบสูงที่สามารถปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตภายในปี 2565 รวมทั้งสิ้น 22 กระบวนงาน แบ่งเป็นกระบวนงานที่ปรับลดระยะเวลาลงตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป จำนวน 8 กระบวนงาน และปรับลดระยะเวลาลงน้อยกว่าร้อยละ 50 จำนวน 14 กระบวนงาน ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ2 จำนวน                         13 กระบวนงาน และอยู่ระหว่างดำเนินการ3 จำนวน 9 กระบวนงาน เช่น
หน่วยงาน          กระบวนงาน          ระยะเวลา
(ก่อนปรับปรุง)          ระยะเวลา
(หลังปรับปรุง)
1. กระบวนงานที่มีผลกระทบสูงที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 13 กระบวนงาน เช่น
กรมศุลกากร          การขอลงทะเบียนผู้ปฏิบัติพิธีการศุลกากร (สำหรับผู้ลงทะเบียนที่เป็นบุคคลสัญชาติไทย)*          30 นาที          อัตโนมัติ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา          การต่ออายุการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า          68 วันทำการ          30 นาที
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน          การขอผ่อนผันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550)          60 วันทำการ          15 วันทำการ
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ          การขออนุญาตการประกอบกิจการสถานประกอบการเพื่อสุขภาพ          71 วันทำการ          30 วันทำการ
          หมายเหตุ : * หมายถึง กระบวนงานที่มีผลกระทบสูงที่หน่วยงานเสนอเพิ่มเติม
หน่วยงาน          กระบวนงาน          ระยะเวลา
(ก่อนปรับปรุง)          ระยะเวลา
(หลังปรับปรุง)
2.กระบวนงานที่มีผลกระทบสูงที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 9 กระบวนงาน เช่น
กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน          การขอรับเงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนจากกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน          11 วันทำการ          6 วันทำการ
กรมวิชาการเกษตร          การขอรับรองแหล่งผลิตพืชอินทรีย์          65 วันทำการ          42 วันทำการ
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม           การขอรับใบอนุญาตเป็นผู้มีสิทธิจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม          77 วันทำการ          52 วันทำการ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม          การขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร*          21 วันทำการ          15 วันทำการ
          หมายเหตุ : * หมายถึง กระบวนงานที่มีผลกระทบสูงที่หน่วยงานเสนอเพิ่มเติม
                              1.2 กลุ่มกระบวนงานทั่วไป4 เป็นการส่งเสริมการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตในกระบวนงานที่เป็นภารกิจหลัก พบว่า หน่วยงานเสนอกระบวนงานเพื่อปรับลดระยะเวลาการดำเนินการ จำนวนทั้งสิ้น 78 กระบวนงาน แบ่งเป็นกระบวนงานที่สามารถปรับลดระยะเวลาลงมากกว่าร้อยละ 50 จำนวน 26 กระบวนงาน ปรับลดระยะเวลาลงร้อยละ 30 - 50 จำนวน 30 กระบวนงาน และปรับลดระยะเวลาลงน้อยกว่าร้อยละ 50 จำนวน 22 กระบวนงาน ซึ่งดำเนินการแล้วเสร็จ 39 กระบวนงาน และอยู่ระหว่างดำเนินการ 39 กระบวนงาน เช่น
หน่วยงาน          กระบวนงาน          ระยะเวลา
(ก่อนปรับปรุง)          ระยะเวลา
(หลังปรับปรุง)
1. กระบวนงานทั่วไปที่ดำเนินการแล้วเสร็จ จำนวน 39 กระบวนงาน เช่น
กรมการค้าภายใน          การขออนุญาตขนย้ายสินค้าเกษตรควบคุมทางอิเล็กทรอนิกส์          1 วันทำการ          30 นาที
กรมป่าไม้          การขอต่ออายุใบอนุญาตอุตสาหกรรมไม้ในเขตกรุงเทพมหานคร          3 วันทำการ          1 วันทำการ
สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม          การออกใบรับรองระบบงานสำหรับผู้ประกอบการตรวจสอบและรับรอง          46 วันทำการ          14 วันทำการ
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ          135 วันทำการ          90 วันทำการ
2. กระบวนงานทั่วไปที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ จำนวน 39 กระบวนงาน เช่น
สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย          การขอจดทะเบียนเป็นชาวไร่อ้อย          13 วันทำการ          1 วันทำการ
กรมเจ้าท่า          การขอรับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ ความชำนาญ          3 วันทำการ          2 วันทำการ
กรมพัฒนาที่ดิน          การวิเคราะห์ดินสำหรับเกษตรกร          60 วันทำการ          30 วันทำการ
กรมโรงงานอุตสาหกรรม          การขอรับใบแทนหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนเครื่องจักร          21 วันทำการ          15 วันทำการ
                    2. ประเด็นท้าทายของการดำเนินการ กรณีที่หน่วยงานของรัฐไม่สามารถปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตในกระบวนงานที่อยู่ในความรับผิดชอบได้ตามเป้าหมายที่กำหนด เนื่องจากในบางขั้นตอนยังคงมีความจำเป็นต้องดำเนินการในระยะเวลาที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพในการพิจารณาอนุญาตและความปลอดภัยของประชาชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เช่น กระบวนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค กระบวนการขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือขยายโรงงานของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และการขอรับใบอนุญาตขับรถ ของกรมการขนส่งทางบก
                    3. ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวกับวิธีการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตของหน่วยงาน จากกระบวนงานที่หน่วยงานเสนอปรับลดระยะเวลาดำเนินการ จำนวนทั้งสิ้น 100 กระบวนงาน (กระบวนงานกลุ่มผลกระทบสูง 22 กระบวนงาน และกระบวนงานกลุ่มทั่วไป 78 กระบวนงาน) ดังนี้
                              3.1 หน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการให้บริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนตามนโยบายรัฐบาลเพื่อปรับปรุงการให้บริการและการปฏิบัติงานเพื่อลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลดระยะเวลาในขั้นตอนการตรวจสอบเอกสารและการลงนาม คิดเป็นร้อยละ 58 รองลงมาเป็นการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการ คิดเป็นร้อยละ 40 และใช้วิธีการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ คิดเป็นร้อยละ 2
                              3.2 กระบวนงานที่สามารถปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตได้ตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นการนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการดำเนินการมากถึงร้อยละ 85 นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงขั้นตอนการดำเนินการโดยกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการขอรับบริการสำหรับคำขอที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเพื่อเพิ่มช่องทางการให้บริการแบบเร่งด่วน (Fast track) เช่น การขอต่ออายุเครื่องหมายการค้าแบบเร่งด่วน ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา สำหรับคำขอในรายการสินค้าที่ไม่เกิน 30 รายการ ไม่มีการแก้ไขรายการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าและชำระค่าธรรมเนียมครบถ้วน สามารถให้บริการได้แล้วเสร็จภายใน 30 นาที (จากเดิม 68 วันทำการ)
                    4. แนวทางการดำเนินการต่อไป สำนักงาน ก.พ.ร. จะส่งเสริมให้หน่วยงานของรัฐนำหลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติในการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 25655 เช่น การชำระค่าธรรมเนียมแทนการต่ออายุใบอนุญาต การจัดให้มีช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (Fast Tack) การตรวจสอบการประกอบกิจการหรือดำเนินกิจการตามความเสี่ยงของการประกอบกิจการ และการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอนุญาตไปใช้เป็นแนวทางในการขยายผลการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการให้ได้รับความสะดวกและรวดเร็วในการติดต่อขอรับบริการจากภาครัฐ
1 เป็นกระบวนงานที่สำคัญหรือมีผู้ใช้บริการเป็นจำนวนมาก รวมถึงกระบวนงานที่เป็นอุปสรรคในการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชนที่เป็นข้อร้องเรียนหรือข้อเสนอแนะของประชาชนและภาคเอกชน
2 กระบวนงานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบกระบวนงานนั้น ๆ ได้ดำเนินการปรับลดระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตในการให้บริการประชาชนแล้ว ซึ่งประชาชนจะได้รับบริการในระยะเวลาที่ปรับปรุงใหม่
3 อยู่ระหว่างดำเนินการ หมายถึง หน่วยงานที่รับผิดชอบกระบวนการนั้น ๆ ได้พิจารณาปรับลดระยะเวลาและขั้นตอนการพิจารณาอนุญาตเรียบร้อยแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการปรับปรุงขั้นตอนและจะนำระยะเวลาที่ปรับปรุงใหม่ไปให้บริการประชาชนต่อไป
4 กระบวนงานทั่วไปเป็นกระบวนงานที่เป็นภารกิจหลัก มีระยะเวลาในการดำเนินการมาก หรือเป็นกระบวนการที่มีคุณค่าหรือเกิดประโยชน์แก่ประชาชน
5 คณะรัฐมนตรีมีมติ (12 กรกฎาคม 2565) เห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 โดยให้ ก.พ.ร. พิจารณาให้สอดคล้องกับเรื่องการปรับปรุงระยะเวลาการพิจารณาอนุญาตและการทบทวนกฎหมายตามพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 และพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจน ก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป

16. เรื่อง ขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 (เรื่อง การปรับปรุงภารกิจและโครงสร้างของกรมป่าไม้และร่างพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. ....) เฉพาะในส่วนของการปลูกต้นไม้ในเขตป่าสงวนเสื่อมโทรมที่มีผู้ครอบครองอยู่แล้ว ที่ขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 เป็นการอนุมัติให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนให้ระงับการพิจารณา เว้นแต่เป็นกรณีที่เข้าเงื่อนไขครบทั้ง 5 ประการ (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 8 กันยายน 2535 รวมทั้งเห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 (เรื่อง การอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้) เฉพาะในส่วนของการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์พื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างส่วนป่าภาคเอกชน
                    2. เห็นชอบให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าตามกฎหมายและระเบียบทีเกี่ยวข้องต่อไปได้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (COP26) นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเป้าหมายสำคัญ คือ ประเทศไทยจะบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน1 ภายในปี ค.ศ. 2050 (พ.ศ. 2593) และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์2 ในปี ค.ศ. 2065 (พ.ศ. 2608) หรือก่อนหน้านั้น และขณะนี้ประเทศไทยอยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมปฏิญญากลาสโกว์ของผู้นำด้านป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน เพื่อแสดงความมุ่งมั่นในการหยุดยั้งการสูญเสียป่าไม้และความเสื่อมโทรมของที่ดิน ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ตลอดจนเปลี่ยนผ่านสู่การใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน
                    2. ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี กำหนดยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศในปัจจุบันที่มีปัญหาความเสื่อมโทรม ทั้งในส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง โดยการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว เพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อนุรักษ์ รักษา และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโตบนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล รวมทั้งลดก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดความสูญเสีย และเสียหายจากภัยธรรมชาติ และผลกระทบที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถาพภูมิอากาศ
                    3. ปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประเทศมีปัญหาเสื่อมโทรมอย่างต่อเนื่อง ทั้งในส่วนของพื้นที่ป่าไม้ที่ลดลง ทรัพยากรดินเสื่อมโทรม ทรัพยากรน้ำที่ไม่สามารถจัดสรรได้ตามความต้องการได้อย่างเต็มศักยภาพ รวมถึงความต้องการใช้ไม้ภายในประเทศและการส่งออก ดังนั้น เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมายของไทยในเวทีระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทส. จึงเสนอให้มีการส่งเสริมการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนเพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ และเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกป่าเศรษฐกิจโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน
                    4. ปัจจุบันการขออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนได้ถูกระงับไว้ชั่วคราวตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2533 ที่ให้ระงับการพิจารณาอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนไว้ชั่วคราว และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2535 ที่กำหนดเงื่อนไขที่จะอนุญาตให้ภาคเอกชนเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าในลักษณะที่เป็นข้อจำกัดที่ทำให้องค์กรหรือบุคคลทั่วไปไม่สามารถขออนุญาตทำการปลูกสร้างสวนป่าในเขตพื้นที่ป่าไม้ได้ จึง               มีความจำเป็นต้องยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                    5. ในการขอยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ ทส. โดยกรมป่าไม้ได้พิจารณาแก้ไขปัญหาและกำหนดมาตรการควบคุมการเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้ด้วยแล้ว ดังนี้
                              5.1 กฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำประโยชน์ในเขตป่า พ.ศ. 2558 และระเบียบคณะกรรมการพิจารณาการใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตให้ทำการปลูกสร้างสวนป่าหรือปลูกไม้ยืนต้นภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2565 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชน เพื่อป้องกันการบุกรุกและ              การตัดไม้ทำลายป่า เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และมีการปลูกป่าเพิ่มขึ้น มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุล โดยภาคเอกชนสามารถขอเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าไม้เพื่อการปลูกสร้างสวนป่าตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป และเมื่อได้รับอนุญาต ผู้ขอเข้าทำประโยชน์ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด
                              5.2 พระราชบัญญัติสวนป่า พ.ศ. 2535 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสวนป่า              (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 มีเจตนารมณ์ในการส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าในที่ดินของรัฐและที่ดินของเอกชนให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เป็นการรองรับและคุ้มครองสิทธิในการทำไม้ที่ได้จากการปลูกสร้างสวนป่า อีกทั้งเพื่อเป็นการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการใช้ที่ดินจากการปลูกพืชไร่มาเป็นการทำสวนป่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์ป่าไม้มากกว่า และผู้ที่จะทำการปลูกสร้างสวนป่ามีความมั่นใจในสิทธิและประโยชน์ที่จะได้รับจากการปลูกสร้างสวนป่า เช่น               การได้รับยกเว้นค่าภาคหลวงและไม่อยู่ภายใต้บังคับกฎเกณฑ์บางประการตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติป่าไม้               พ.ศ. 2484
                    6. คณะกรรมการนโยบายป่าไม้แห่งชาติที่มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานกรรมการ ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอของ ทส. ในครั้งนี้ด้วยแล้ว โดยมอบหมายให้ ทส. รับความเห็นของที่ประชุมไปพิจารณาด้วย เช่น
                              6.1 พื้นที่ที่จะอนุญาตเอกชนปลูกสร้างสวนป่าเป็นพื้นที่ป่าไม้ของรัฐซึ่งบางส่วนอยู่ใกล้เขตเปราะบางและใกล้เขตป่าอนุรักษ์ การอนุญาตให้ทำสวนป่าจะต้องมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำไม้ การเตรียมพื้นที่ การเปิดพื้นที่ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อระบบนิเวศ ดังนั้นขอให้คำนึงมาตรฐานการจัดการป่าไม้ในระดับชาติและระดับสากล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญในการส่งออกและการซื้อขายไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ในปัจจุบัน ซึ่งกรมป่าไม้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการป่าไม้อยู่แล้ว จึงเป็นการช่วยขับเคลื่อนให้การดำเนินการเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                              6.2 ข้อเสนอในครั้งนี้จะเป็นการช่วยให้ราษฎรสามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ป่าที่ได้รับ           การอนุญาตได้ แต่จะต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัดไม่ให้มีการใช้ประโยชน์รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ป่าที่ไม่ได้รับอนุญาต และจะต้องมีข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่เข้าหลักเกณฑ์การอนุญาตให้ทำการปลูกสร้าง            สวนป่า
                              6.3 ที่ผ่านมาการอนุญาตใช้ประโยชน์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยส่วนใหญ่จะเป็น           การอนุญาตให้ทำเหมืองแร่ และการสร้างอ่างเก็บน้ำ จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้โดยการอนุญาตให้เอกชนปลูกสร้างสวนป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
                              6.4 มติคณะรัฐมนตรีที่ ทส. เสนอขอยกเลิกในครั้งนี้สอดคล้องกับหลักการการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งเป็นป่าส่วนรวมที่ควรมีการจัดสรรอย่างเป็นธรรมกับประชาชน เนื่องจากประเทศไทยยังคงมีปัญหาการขาดแคลนที่ดินทำกิน การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวจะทำให้เอกชนรายใหญ่เข้ามาทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าได้มากขึ้น ทำให้มีการเพิ่มพื้นที่ป่าได้มากขึ้น เป็นการตอบสนองต่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มพื้นที่ป่าและการกักเก็บคาร์บอนและการลดปริมาณคาร์บอน แต่หากดำเนินการไม่รัดกุมก็อาจส่งผลกระทบต่อวัตถุประสงค์การพัฒนาในด้านอื่น ๆ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติได้เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเศรษฐกิจฐานราก              การกระจายรายได้ และเศรษฐกิจชุมชน จึงควรคำนึงถึงเรื่องดังกล่าวด้วย
1ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) หมายถึง ภาวะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) ที่ปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น
2การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emissions) หมายถึง ภาวะที่ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยเข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับกลับคืนมาผ่านป่าหรือวิธีการอื่น โดยก๊าซเรือนกระจก รวมถึงก๊าชอื่นนอกจากก๊าซคาร์บอนไดออกไชด์ (CO2) เช่น ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซไนตรัสออกไซด์ (N2O)

17. เรื่อง (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 ? 2570)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (นโยบายและแผนระดับชาติฯ) (พ.ศ. 2566 - 2570) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำแผนงานและแผนงบประมาณขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักงานสภาความมั่นแห่งชาติ (สมช.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (นโยบายและแผนระดับชาติฯ) (พ.ศ. 2566 - 2570) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบทิศทางในการจัดทำแผนงานและแผนงบประมาณขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าวโดย (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 - 2270) จัดทำขึ้นบนหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล1 (Causal Relationship: XYZ) ซึ่งมีความเชื่อมโยงและประสานสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง                  แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นความมั่นคง และประเด็นการต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง อันได้แก่ ?ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข?โดยจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความมั่นคงที่มีผลกระทบและความเสี่ยงสูงและให้ความสำคัญกับรากฐานความมั่นคงของประเทศที่เริ่มต้นจากสถาบันครอบครัวและสถาบันการศึกษา พร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพความมั่นคงของประเทศภายใต้แนวคิดความมั่นคงแบบองค์รวม โดย (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติดังกล่าวประกอบด้วยนโยบายและแผนความมั่นคง (นโยบายและแผนฯ) ทั้งสิ้น 17 นโยบายและแผนฯ และแบ่งออกเป็น 2 หมวด ได้แก่
                    1. หมวดประเด็นความมั่นคง (รวม 13 นโยบายและแผนฯ)
                    เป็นประเด็นภัยคุกคามที่มีผลกระทบและแนวโน้มความเสี่ยงสูงต่อความมั่นคง/ผลประโยชน์แห่งชาติ
                              1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักของชาติ (กอ.รมน.)
                              2) การปกป้องอธิปไตย และผลประโยชน์ของชาติ และการพัฒนาศักยภาพการป้องกันประเทศ (กห.)
                              3) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติพื้นที่ชายแดน (มท.)
                              4) การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.)
                              5) การป้องกันและแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สมช.)
                              6) การบริหารจัดการผู้หลบหนีเข้าเมืองและผู้โยกย้ายถิ่นฐานแบบไม่ปกติ (กอ.รมน.)
                              7) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ (พม.)
                              8) การป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ยธ. (ปปส.))
                              9) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (มท. (ปภ.))
                              10) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางไซเบอร์ (สกมช.)
                              11) การป้องกันและแก้ไขปัญหาการก่อการร้าย (สมช.)
                              12) การสร้างดุลยภาพระหว่างประเทศ (กต.)
                              13) การบริหารจัดการภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขและโรคติดต่ออุบัติใหม่ (สธ.)
                    2. หมวดประเด็นศักยภาพความมั่นคง (รวม 4 นโยบายและแผนฯ)
                    เป็นประเด็นเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและพัฒนาขีดความสามารถของประเทศในการป้องกันและแก้ไขประเด็นความมั่นคง
                              14) การพัฒนาศักยภาพการเตรียมพร้อมแห่งชาติและการบริหารจัดการวิกฤตการณ์ระดับชาติ (สมช.)
                              15) การพัฒนาระบบข่าวกรองแห่งชาติ (สขช.)
                              16) การบูรณาการข้อมูลด้านความมั่นคง (กอ.รมน.)
                              17) การเสริมสร้างความมั่นคงเชิงพื้นที่ (กอ.รมน.)
                    ซึ่ง (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 - 2570) ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติแล้ว
1หลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (Causal Relationship: XYZ) เป็นหลักการสำคัญในการถ่ายระดับเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ (Z) ผ่านสู่เป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (แผนระดับที่ 2 หรือ Y) และแปลงไปสู่การปฏิบัติที่สอดคล้องของหน่วยงานรัฐ (แผนระดับที่ 3 หรือ X) ซึ่งแผนระดับที่ 3 จะต้องตอบเป้าหมายของแผนระดับที่ 2 อย่างน้อย 1 แผน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในภาพรวมของยุทธศาสตร์ชาติในด้านต่าง ๆ โดย (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติฯ (พ.ศ. 2566 - 2570) ที่เสนอในครั้งนี้จัดเป็นแผนระดับที่ 2 (Y)

18.  เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม และ 8 เดือนแรกของปี 2565
                              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม และ 8 เดือนแรกของปี 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
          สาระสำคัญ
1.          สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนสิงหาคม และ 8 เดือนแรกของปี 2565
                    การส่งออกของไทยในเดือนสิงหาคม 2565 มีมูลค่า 23,632.7 ล้านเหรียญสหรัฐ (861,169 ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 7.5 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 18 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 10.1 มีปัจจัยหนุนจากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมเกษตรที่ขยายตัวสูงต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารแปรรูปที่มีความต้องการสูง ขณะเดียวกันสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวสูงอีกครั้งหลังชะลอตัวในเดือนก่อนหน้า ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจโลก อาทิ ภาวะเงินเฟ้อที่ทำให้กำลังซื้อทั่วโลกชะลอตัว ภาวะวิกฤตด้านอสังหาริมทรัพย์ของจีน และปัญหาขาดแคลนพลังงานในสหภาพยุโรป ทั้งนี้ การส่งออกของไทย 8 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 11.0 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 8.5
                    มูลค่าการค้ารวม
                              มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนสิงหาคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 23,632.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.5 การนำเข้า มีมูลค่า 27,848.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 21.3 ดุลการค้า ขาดดุล 4,215.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวม 8 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-สิงหาคม) การส่งออก มีมูลค่า 196,446.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 11.0 การนำเข้า มีมูลค่า 210,578.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 21.4 ดุลการค้า ขาดดุล 14,131.7 ล้านเหรียญสหรัฐ
                              มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนสิงหาคม 2565 การส่งออก มีมูลค่า 861,169 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 20.4 การนำเข้า มีมูลค่า 1,026,654 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 35.5 ดุลการค้า ขาดดุล 165,485 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวม 8 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-สิงหาคม) การส่งออก มีมูลค่า 6,635,446 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.9 การนำเข้า มีมูลค่า 7,218,870 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 33.4 ดุลการค้า ขาดดุล 583,424 ล้านบาท
                    การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
                    มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 4.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 21 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 15.3 (ขยายตัวในตลาดอิรัก สหรัฐฯ แคนาดา มาเลเซีย และเนเธอร์แลนด์) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 173.5 (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย มาเลเซีย กัมพูชา ลาว และไต้หวัน) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 18.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย แคนาดา และซาอุดิอาระเบีย) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 125.4 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 25.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 9.4 (ขยายตัวในตลาดจีน กัมพูชา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 14.3 (ขยายตัวในตลาดจีน รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา และไต้หวัน) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 14.9 (ขยายตัวในตลาดเวียดนาม กัมพูชา จีน ลาว และมาเลเซีย) ไอศกรีม ขยายตัวร้อยละ 71.2 (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย และเวียดนาม) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัวร้อยละ 2.8 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ และบราซิล) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง หดตัวร้อยละ 63.8 (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย สหรัฐฯ และฮ่องกง) ทั้งนี้
8 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 15.2
                    การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                    มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.2 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 22.5 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และเวียดนาม) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 31.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อินเดีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร และเบลเยี่ยม) แผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 25.1 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และไต้หวัน) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 15.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินเดีย และเวียดนาม) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 61.1 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เวียดนาม และสิงคโปร์) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมียนมา กัมพูชา และแคนาดา) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ53.6 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เม็กซิโก ญี่ปุ่น และเนเธอร์แลนด์) แผงสวิทซ์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ขยายตัวร้อยละ 29.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และสโลวัก) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ สินค้าเกี่ยวกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 11.4 (หดตัวในตลาดจีน กัมพูชา อินเดีย ญี่ปุ่น และอินโดนีเซีย) ผลิตภัณฑ์ยาง หดตัวร้อยละ 0.2 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย และเยอรมนี) ทั้งนี้ 8 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.0
                    ตลาดส่งออกสำคัญ
                    การส่งออกไปยังตลาดประเทศคู่ค้ายังคงมีความไม่แน่นอน ท่ามกลางความเสี่ยงที่กดดันภาวะเศรษฐกิจการค้าโลก สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 8.3 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 16.3 อาเซียน (5) ร้อยละ 5.8 CLMV ร้อยละ 41.1 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 19.0 ญี่ปุ่นกลับมาขยายตัวร้อยละ 6.6 ในขณะที่จีน หดตัวร้อยละ 20.1 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 6.9 ขยายตัวในทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 19.0 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 38.4 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 27.4 ขณะที่เอเชียใต้ ทวีปแอฟริกา และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 2.1 ร้อยละ 10.1 และร้อยละ 21.6 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 40.3 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 40.1
          2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                    การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออกของผู้ประกอบการไทย โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ
(1) การเพิ่มจำนวนกิจกรรมส่งเสริมการค้าร่วมกับภาคเอกชน จากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 185 กิจกรรม ในปี 2565 เพิ่มขึ้นอีก 345 กิจกรรม แบ่งเป็นแผนเชิงรุก 231 กิจกรรม และแผนเชิงรับ 114 กิจกรรม
เพื่อผลักดันการส่งออกครึ่งปีหลังให้ขยายตัวเกินกว่าเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์ตั้งไว้ (2) การเจาะตลาดรูปแบบใหม่ที่มีความชัดเจนและมีรูปธรรมมากขึ้น โดยมีเป้าหมายเจาะตลาด 36 ประเทศ 105 เมือง เช่น ตลาดซาอุดิอาระเบีย กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป เป็นต้น (3) การสนับสนุนนโยบายขยายความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับเอกชน (Enhancing The Dots) ในการส่งเสริมการส่งออก การค้าชายแดน และการบริโภคภายในประเทศ โดยร่วมมือกับหอการค้าแห่งประเทศไทย และกลุ่มผู้ประกอบการ MOC Biz Club เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าให้กับภาคเอกชน
                    แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า ยังคงมีสัญญาณบวก
ที่ช่วยสนับสนุนการส่งออก โดยเฉพาะความต้องการสินค้าอาหาร ขณะที่นโยบายของสหรัฐฯ ที่จำกัดการเข้าถึงสินค้าเทคโนโลยีของจีน อาจทำให้มีอุปทานชิปประมวลผลส่วนเกินจากผู้ผลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการผลิตอุตสาหกรรมของไทย นอกจากนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าเป็นปัจจัยบวกที่ทำให้ไทยสามารถรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยกดดันจากปัญหาเงินเฟ้อ การขาดแคลนพลังงานในทวีปยุโรป และวิกฤตอสังหาริมทรัพย์ของจีน

19. เรื่อง แนวทางการดำเนินการสำหรับผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565                 ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางการดำเนินการเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ลงทะเบียนที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ และมอบหมายกระทรวงมหาดไทยให้ความร่วมมือในการดำเนินการรับรองกลุ่มเปราะบางที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ ตลอดจนดำเนินการใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลัง เสนอ
                    ทั้งนี้ คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม รายงานว่า การตรวจสอบคุณสมบัติผู้ลงทะเบียน จะมีการตรวจสอบคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้เป็นเกณฑ์บุคคล และหากผู้ลงทะเบียนผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์บุคคล จะมีการตรวจสอบตามเกณฑ์ครอบครัว (ถ้ามี) ในขั้นตอนต่อไป โดยสมาชิกในครอบครัวหมายถึงคู่สมรส (สามีหรือภรรยาที่จดทะเบียนสมรส) และบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์ของผู้ลงทะเบียนตามข้อมูลของกรมการปกครอง ทั้งนี้ เนื่องจากประชาชนที่ลงทะเบียนในโครงการฯ ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 5 กันยายน 2565 เป็นต้นมา มีปัญหาในการลงทะเบียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะกรณีที่มีคู่สมรสว่าไม่สามารถติดตามคู่สมรสเพื่อลงนามในแบบฟอร์มการลงทะเบียนตามโครงการฯ ปี 2565 ได้ โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ถูกทิ้งร้าง แยกกันอยู่กับคู่สมรส อยู่ระหว่างการดำเนินการหย่า เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์แก่ประชาชนกลุ่มดังกล่าว จึงมีความจำเป็นต้องเสนอแนวทางการดำเนินการเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ลงทะเบียนที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ต่อคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องเร่งด่วน เพราะมีผลกระทบต่อการลงทะเบียนของผู้ลงทะเบียนโครงการฯ ปี 2565 ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ ซึ่งต้องรีบดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วก่อนปิดการรับลงทะเบียนโครงการฯ ปี 2565
                    สาระสำคัญ
                    คณะกรรมการฯ ได้มีมติในคราวประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 เห็นชอบแนวทางการดำเนินการเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ลงทะเบียนที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ ดังนี้



                    1. หลักการในการดำเนินการ
                    เนื่องจากมีประชาชนที่มีความประสงค์จะลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 แต่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสเพื่อลงนามในแบบฟอร์มการลงทะเบียนตามโครงการฯ ปี 2565 ได้ โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น ถูกทิ้งร้าง แยกกันอยู่กับคู่สมรส อยู่ระหว่างการดำเนินการหย่า เป็นต้น ดังนั้น จึงเห็นควรดำเนินการโดยการแบ่งผู้ลงทะเบียนที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ออกเป็น 2 กลุ่ม หนังสือประกอบการพิจารณา และเงื่อนไขการรับสิทธิ์ ดังนี้
                              1.1 กลุ่มของผู้ลงทะเบียนที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรส แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
                                        1) กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป นับถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565) ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้มาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ ซึ่งผู้ลงทะเบียนกลุ่มนี้จะสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 ได้ เมื่อรับรองตนเองในเอกสารที่กระทรวงการคลังกำหนดว่า ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ พร้อมลายมือชื่อของพยานรับรองด้วยจำนวน 2 คน และต้องมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยในพื้นที่เป็นผู้รับรอง (กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน/นายอำเภอ หรือผู้ที่นายอำเภอมอบหมาย รวมถึงพนักงานเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองและเทศบาลนครในพื้นที่/เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตที่ผู้อำนายการเขตมอบหมาย/เจ้าหน้าที่สำนักทะเบียนท้องถิ่นเมืองพัทยา) (เจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยฯ) ว่าผู้ลงทะเบียนเป็นบุคคลที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ กลุ่มดังกล่าวจะถูกตรวจสอบคุณสมบัติในสถานะไม่มีคู่สมรส
                                        2) กลุ่มทั่วไป ได้แก่ ผู้ลงทะเบียนที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ และมีความประสงค์ให้กระทรวงการคลังตรวจสอบคุณสมบัติในสถานะไม่มีคู่สมรส ผู้ลงทะเบียนกลุ่มนี้จะสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 ได้ เมื่อรับรองตนเองในเอกสารที่กระทรวงการคลังกำหนดว่า                ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ พร้อมลายมือชื่อของพยานรับรองด้วยจำนวน 2 คน กลุ่มดังกล่าวจะถูกตรวจสอบคุณสมบัติในสถานะไม่มีคู่สมรส โดยจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนด
                                        ทั้งนี้ กระทรวงการคลังแบ่งผู้ลงทะเบียนออกเป็น 2 กลุ่ม เนื่องจากกลุ่มเปราะบางส่วนใหญ่จะมีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ไม่มีการเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนั้น การให้เจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยฯ ในพื้นที่เป็นผู้รับรองเรื่องคู่สมรสสำหรับกลุ่มเปราะบางจึงเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาใช้ประกอบการลงทะเบียนได้ สำหรับกลุ่มทั่วไปหรือผู้ลงทะเบียนที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี อาจจะมีการย้ายถิ่นฐานบ่อยครั้ง ซึ่งจะเป็นการยากต่อเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยฯ ในพื้นที่ที่จะให้การรับรองว่าไม่มีคู่สมรสจริง ดังนั้น               ผู้ลงทะเบียนในกลุ่มนี้จะต้องรับรองตนเอง พร้อมพยานจำนวน 2 คน โดยจะมีการกำหนดเงื่อนไขการรับสิทธิ์เพิ่มเติม
                              1.2 หนังสือประกอบการพิจารณา กระทรวงการคลังได้จัดทำหนังสือประกอบการพิจารณาสำหรับ 2 กลุ่ม ดังนี้
                                        1) หนังสือประกอบการพิจารณาเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 กรณีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ผู้พิการ หรือผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้
                                        2) หนังสือประกอบการพิจารณาเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 กรณีผู้ลงทะเบียนไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้
                              1.3 เงื่อนไขการได้รับสิทธิ์
                                        1) กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป นับถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565) ผู้พิการ และผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ หากผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขโครงการฯ ปี 2565 แล้ว สามารถยืนยันตัวตนเพื่อรับสิทธิ์ได้                  ณ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และ ธนาคารออมสิน ได้ตั้งแต่วันที่ประกาศผลผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ (ภายในระยะเวลา 180 วัน) และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ธนาคารกรุงไทยฯ) (ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด)
                                        2) กลุ่มผู้ลงทะเบียนทั่วไป ได้แก่ ผู้ลงทะเบียนที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี หากผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามเงื่อนไขโครงการฯ ปี 2565 แล้ว ผู้ลงทะเบียนจะต้องนำใบสำคัญการหย่าหรือเอกสารอื่นใดที่คณะกรรมการฯ กำหนดมาแสดง ณ ธนาคารที่ยืนยันตัวตนก่อนทำการยืนยันตัวตน จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ตามโครงการฯ ปี 2565 ได้ ทั้งนี้ ระยะเวลาสำหรับการนำใบสำคัญการหย่าหรือเอกสารอื่นใดที่                คณะกรรมการฯ กำหนดมาแสดงให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติ
                    2. แนวปฏิบัติสำหรับผู้ลงทะเบียนที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้
                              2.1 กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้ลงทะเบียนที่เป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป นับถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2565) ผู้พิการ หรือผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ ดำเนินการ ดังนี้
                                        1) ผู้ลงทะเบียนยื่นแบบฟอร์มการลงทะเบียนตามโครงการฯ ปี 2565 พร้อมหนังสือประกอบการพิจารณาเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 กรณีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ผู้พิการ หรือผู้ป่วยติดเตียง ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ โดยผู้ลงทะเบียนรับรองตนเองว่าไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ พร้อมลายมือชื่อของพยานรับรองด้วยจำนวน 2 คน และการลงนามรับรองจากเจ้าหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยฯ ว่าผู้ลงทะเบียนเป็นบุคคลที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสมา เพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ และเอกสารประกอบการลงทะเบียนอื่น ๆ (กรณีมีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อหน่วยงานรับลงทะเบียน
                                        2) หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ได้รับเอกสารจะต้องส่งรายชื่อของผู้ลงทะเบียนดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังจะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าวในสถานะไม่มีคู่สมรส
                                        3) ในกรณีที่ผู้ลงทะเบียนผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ ผู้ลงทะเบียนจะสามารถใช้สิทธิ์ตามโครงการฯ ปี 2565 ได้ เมื่อยืนยันตัวตน ณ ธ.ก.ส. และธนาคารออมสิน ได้ตั้งแต่วันที่ประกาศผลผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ (ภายในระยะเวลา 180 วัน) และธนาคารกรุงไทยฯ (ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด)
                              2.2 กลุ่มทั่วไป ได้แก่ ผู้ลงทะเบียนที่มีอายุต่ำกว่า 60 ปี ดำเนินการ ดังนี้
                                        1) ผู้ลงทะเบียนต้องยื่นแบบฟอร์มการลงทะเบียนตามโครงการฯ ปี 2565 พร้อมหนังสือประกอบการพิจารณาเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 กรณีผู้ลงทะเบียนไม่สามารถติดตามคู่สมรสมาเพื่อดำเนินการหย่าตามกฎหมายได้ พร้อมลายมือชื่อพยานจำนวน 2 คน และเอกสารประกอบการลงทะเบียนอื่น ๆ (กรณีที่มีบุตรอายุต่ำกว่า 18 ปี) เพื่อนำเอกสารทั้งหมดไปยื่นต่อหน่วยงานรับลงทะเบียน
                                        2) หน่วยงานรับลงทะเบียนที่ได้รับเอกสารจะต้องส่งรายชื่อของผู้ลงทะเบียนดังกล่าวให้กระทรวงการคลัง โดยกระทรวงการคลังจะตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนกลุ่มดังกล่าวในสถานะไม่มีคู่สมรส
                                        3) ในกรณีที่ผู้ลงทะเบียนผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติ ผู้ลงทะเบียนจะต้องนำใบสำคัญการหย่าหรือเอกสารอื่นใดที่คณะกรรมการฯ กำหนดมาแสดงและยืนยันตัวตน ณ ธ.ก.ส. และธนาคาร              ออมสิน ได้ตั้งแต่วันที่ประกาศผลผู้ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ (ภายในระยะเวลา 180 วัน) และธนาคารกรุงไทยฯ                (ไม่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด) จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ตามโครงการฯ ปี 2565 ได้ ทั้งนี้ ระยะเวลาสำหรับการนำใบสำคัญการหย่าหรือเอกสารอื่นใดที่คณะกรรมการฯ กำหนดมาแสดงให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติ
                    5. ผลกระทบ
                    แนวทางการดำเนินการเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ลงทะเบียนที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ จะสามารถบรรเทาปัญหาสำหรับผู้ลงทะเบียนโครงการฯ ปี 2565 ที่ไม่สามารถติดตามคู่สมรสได้ ให้สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 ภายในระยะเวลาที่กำหนด

20. เรื่อง ขออนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการ ?พาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย?
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2566 วงเงินรวมทั้งสิ้น 422.75 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ เพื่อดำเนินโครงการ ?พาณิชย์...ลดราคา! ออนทัวร์ ทั่วไทย? ไปจนถึงเดือนธันวาคม 2565 และให้ พณ. รับความเห็นของ                           สำนักงบประมาณไปดำเนินการ



ต่างประเทศ
21.  เรื่อง  ขอความเห็นชอบการจัดทำและลงนามร่างความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศที่ครอบคลุมระหว่างรัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิกและร่างเอกสารบันทึกการหารือ
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศที่ครอบคลุมระหว่างรัฐสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเชียน) กับสหภาพยุโรปและรัฐสมาชิก (สหภาพยุโรป)              (ร่างความตกลงฯ) และร่างเอกสารบันทึกการหารือ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงคมนาคม (คค.) ดำเนินการต่อไปได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองและลงนามร่างความตกลงฯ และร่างเอกสารบันทึกการหารือ โดยมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจ (Full Powers) ให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามร่างความตกลงฯ และร่างเอกสารบันทึกการหารือ และมอบหมายให้ กต. ดำเนินการจัดทำหนังสือไปยังเลขาธิการอาเซียนแจ้งการมีผลบังคับใช้ของร่างความตกลงฯ เมื่อ คค. ได้มีหนังสือแจ้งยืนยันไปยัง กต. ว่าได้ดำเนินกระบวนการต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลบังคับใช้เสร็จสมบูรณ์แล้วตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
(จะมีการลงนามร่างความตกลงฯ และร่างอกสารบันทึกการหารือในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 ระหว่างวันที่ 16 - 17 ตุลาคม 2565 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. อาเซียนและสหภาพยุโรปได้เริ่มประชุมเจรจาเพื่อจัดทำร่างความตกลงฯ เพื่อเป็นแม่บทความสัมพันธ์ด้านการบินระหว่างสองภูมิภาค มาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปี 2564 หลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำร่างเอกสารบันทึกการหารือก่อนเข้าสู่กระบวนการทบทวนถ้อยคำทางกฎหมาย และได้ข้อสรุปร่างสุดท้ายของความตกลง ฯ และร่างเอกสารบันทึกการหารือเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2565
                    2. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ (ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2565 ได้มีมติรับทราบผลการจัดทำร่างความตกลงฯ และร่างเอกสารบันทึกการหารือดังกล่าวแล้ว
                    3. ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการขนส่งของอาเซียน ครั้งที่ 53 เมื่อวันที่ 28 - 29 มิถุนายน 2565 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และผ่านระบบการประชุมทางไกล ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มีการลงนามร่างความตกลงฯ และร่างเอกสารบันทึกการหารือดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีขนส่งอาเซียน ครั้งที่ 28 และขอให้รัฐสมาชิกอาเซียนดำเนินการตามกระบวนการขั้นตอนภายในให้แล้วเสร็จ และให้นำส่งหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ไปยังสำนักเลขาธิการอาเซียนก่อนการลงนาม
                    4. ร่างความตกลงฯ เป็นความตกลงด้านการบินระดับภูมิภาค (bloc - to ? bloc agreement) ฉบับแรกของโลกเพื่อใช้เป็นแม่บทในความสัมพันธ์ด้านการบินระหว่างสองภูมิภาค (อาเซียนและสหภาพยุโรป) โดยรายละเอียดของข้อบทเป็นไปตามมาตรฐานขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ และมีความทันสมัย สอดคล้องกับกฎระเบียบภายในของรัฐสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรป
                    5. ทั้งสองฝ่ายได้จัดทำร่างเอกสารบันทึกการหารือซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์เนื่องในโอกาสความสำเร็จของการจัดทำร่างความตกลงฯ โดยมีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
                              1) รัฐสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรปจะดำเนินการตามขั้นตอนที่จำเป็นตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปสู่การบังคับใช้ของร่างความตกลงฯ
                              2) รัฐสมาชิกอาเซียนและสหภาพยุโรป แสดงความมุ่งมั่นที่จะหารือและประสานงานอย่างใกล้ชิดผ่านกรอบของคณะกรรมาธิการร่วมที่กำหนดภายใต้ความตกลงฯ เพื่อการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อการให้บริการทางอากาศ
                              3) หน่วยงานด้านการบินที่มีอำนาจของแต่ละฝ่ายจะพิจารณาคำขอสำหรับบริการเดินอากาศและการอนุญาตดำเนินการบนพื้นฐานของความเท่าเทียมและต่างตอบแทนในขอบเขตที่สามารถอนุญาตได้ภายใต้กฎหมายและระเบียบที่บังคับใช้ของภาคีแต่ละฝ่าย ทั้งนี้นับแต่วันที่ลงนามในร่างความตกลงฯ และจนกว่าความตกลงฯ จะมีผลใช้บังคับ
                    6. ประโยชน์ที่จะได้รับ
                    ร่างความตกลงฯ ฉบับนี้ มีการจัดทำใบพิกัดเส้นทางการบินแบบเปิดการกำหนดสิทธิรับขนการจราจรเสรีภาพต่าง ๆ และการทำการบินโดยใช้ชื่อเที่ยวบินร่วมกัน รวมถึงข้อกำหนดเรื่องการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้สายการบินของอาเซียนและสหภาพยุโรปสามารถขยายเครือข่ายการให้บริการของตนเพื่ออำนวยความสะดวกผู้เดินทางและเพิ่มช่องทางการขนส่งสินค้าให้แก่สายการบินมากขึ้น นอกจากนี้ ยังสอดรับกับนโยบายการเปิดประเทศของรัฐบาล โดยเมื่อความตกลงฯ มีผลบังคับใช้ จะมีส่วนช่วยฟื้นฟูอุตสาหกรรมการบินและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในส่วนของการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกของการเดินทางของนักท่องเที่ยวจากประเทศในสหภาพยุโรป

22. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน (ร่างปฏิญญาฯ) เป็นเอกสารเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างปฏิญญาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ รง. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนามในหนังสือสำนักเลขาธิการอาเซียนเพื่อรับรองร่างปฏิญญาฯ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รง. รายงานว่า
                    1. ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียนรอบพิเศษเพื่อพัฒนาปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาฯ พร้อมทั้งเห็นชอบให้นำเรียนรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนพิจารณาให้การรับรองร่างปฏิญญาฯ โดย รง. จะต้องแจ้งยืนยันการรับรองร่างปฏิญญาฯ ต่อสำนักเลขาธิการอาเซียนก่อนการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 27 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ในเดือนตุลาคม 2565) และส่งต่อสู่             ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 (ราชอาณาจักรกัมพูชาเป็นประธาน) เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ต่อไป
                    2. ร่างปฏิญญาฯ เป็นเอกสารที่แสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการคงสิทธิและให้ความคุ้มครองด้านประกันสังคมให้กับแรงงานข้ามชาติที่จะเดินทางหรือเคลื่อนย้ายไปทำงานในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งสอดคล้องกับผลประโยชน์ของประเทศไทยในการดำเนินการตามความตกลงระหว่างประเทศว่าด้วยการโยกย้ายถิ่นฐานอย่างปลอดภัย เป็นระเบียบ และปกติ (Global Compact for Safe, Orderly and Regular Migration  : GCM) วัตถุประสงค์ที่ 22 เรื่องการจัดตั้งกลไกที่สามารถนำสิทธิประกันสังคมและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับสามารถติดตัวไปได้ ซึ่งมุ่งส่งเสริมให้ผู้โยกย้ายถิ่นฐานทุกคนสามารถเข้าถึงการคุ้มครองทางสังคมในหลายประเทศปลายทาง และได้รับสิทธิการประกันสังคมและสิทธิที่เกี่ยวข้องเมื่อเดินทางกลับประเทศต้นทางหรือย้ายไปทำงานในอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งประเทศไทยได้ร่วมรับรอง GCM ในที่ประชุมเต็มคณะของสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 73 เมื่อปี 2561 และอาสาเป็นหนึ่งในประเทศหลักและมีความโดดเด่นที่จะช่วยผลักดันให้เกิดความคืบหน้าในการนำ GCM ไปปฏิบัติ รวมทั้งสนับสนุนการสร้างงานที่มีคุณค่า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 8 เรื่อง งานที่มีคุณค่าและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจโดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้





ประเด็น/รายละเอียด
ให้ความสำคัญ/ความสนใจ
1) ความก้าวหน้าที่สำคัญของประเทศสมาชิกอาเซียนในการบรรลุวิสัยทัศน์อาเซียน 2025 รวมถึงประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งเป็นประชาคมอาเซียนที่ครอบคลุม ยั่งยืน ยืดหยุ่น และมีพลวัต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวติและการดำรงชีวิตที่ดีขึ้น
2) เจตนารมณ์หลักของอาเซียนเพื่อให้ประชาชนอาเซียนได้รับโอกาสในการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม และความยุติธรรมอย่างเท่าเทียม เพื่อเสริมสร้างความเป็นอยู่และการดำรงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเคารพ ส่งเสริม ตลอดจนคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานตามที่บัญญัติไว้ในกฎบัตรอาเซียน
สิ่งที่พึงระลึกถึง/ยืนยัน
1) แรงงานทุกคนรวมทั้งแรงงานต่างด้าวมีสิทธิได้รับประกันสังคมตามที่เน้นย้ำไว้ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของแรงงานข้ามชาติทุกคนและสมาชิกในครอบครัว กรอบพหุภาคีขององค์การแรงงานระหว่างประเทศว่าด้วยการย้ายถิ่นฐานของแรงงาน และวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030
2) หลักการชี้นำของปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติและมติของอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติ (ฉันทามติอาเซียน) รับรองความรับผิดชอบของรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งแรงงานข้ามชาติของอาเซียน ในการส่งเสริมศักยภาพ ศักดิ์ศรี สิทธิขั้นพื้นฐานและการปฏิบัติที่เป็นธรรมต่อแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัวอย่างสมดุล
3) ในฉันทามติของอาเซียน รัฐผู้รับจะจัดให้แรงงานข้ามชาติสามารถเข้าถึงการรักษาพยาบาลและสุขภาพที่เหมาะสมตามกฎหมายของประเทศผู้รับ ค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเหมาะสมและผลประโยชน์อื่น ๆ การปฏิบัติที่เป็นธรรมในด้านสภาพการทำงาน ค่าตอบแทน ความปลอดภัยในการทำงานและการคุ้มครองสุขภาพ และที่พักที่เพียงพอหรือเหมาะสม เป็นต้น และรัฐผู้ส่งจะรับรองสิทธิของแรงงานข้ามชาติที่ถูกส่งกลับประเทศต้นทาง ในการเข้าถึงบริการสำหรับแรงงานข้ามชาติและสมาชิกในครอบครัว ตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ และนโยบายระดับประเทศ
4) อำนาจอธิปไตยของประเทศสมาชิกอาเซียนในการกำหนดนโยบายการย้ายถิ่นที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติ กำหนดการเข้า - ออกจากเขตแดน และแนวปฏิบัติภายใต้เงื่อนไขที่แรงงานข้ามชาติต้องปฏิบัติตาม
5) แถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีแรงงานอาเซียนว่าด้วยการตอบสนองต่อผลกระทบของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) ต่อแรงงานและการจ้างงาน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการอพยพของแรงงานภายในภูมิภาคและส่งผลเสียต่อรายได้ อาชีพ และความเป็นอยู่ที่ดีของแรงงานอาเซียน รวมทั้งแรงงานข้ามชาติที่ถูกเลิกจ้างหรือถูกพักงานจนสูญเสียรายได้และเดินทางกลับประเทศต้นทาง
6) การเคลื่อนย้ายผลประโยชน์ประกันสังคมเป็นความสามารถของสวัสดิการประกันสังคมที่จะถูกโอนและเข้าถึงได้ โดยแรงงานข้ามชาติที่มีสิทธิเมื่อเดินทางกลับมายังประเทศต้นทาง โดยแรงงานมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย ข้อบังคับ และนโยบายของประเทศผู้ส่งและผู้รับ
7) ประกันสังคมของประเทศสมาชิกอาเซียนมีความแตกต่างในลักษณะและประเภทของแผน รวมถึงความสามารถในการปฏิบัติงานและการบริหารขององค์กรที่รับผิดชอบ ซึ่งอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับทรัพยากรของประเทศสมาชิกอาเซียนและลำดับความสำคัญในการพัฒนาประกันสังคมของประเทศ
การดำเนินการที่สำคัญ
1) พัฒนานโยบายการย้ายถิ่นฐานที่เหมาะสมและครอบคลุมสำหรับแรงงานข้ามชาติภายในเขตอำนาจศาลของตน รวมถึงนโยบายที่เกี่ยวข้องกับคนกลางด้านแรงงาน โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายผลประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศสมาชิกอาเซียน
2) อภิปรายขั้นตอนการจัดตั้งและสรุปข้อตกลงทวิภาคีและ/หรือบันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศ สมาชิกอาเซียนว่าด้วยการเคลื่อนย้ายผลประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติ
3) ติดตามผลและข้อเสนอแนะของรายงานการศึกษาเรื่องการเคลื่อนย้ายสิทธิประกันสังคคมระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและดำเนินการวิจัยเพิ่มเติม/ศึกษา เพื่อพิจารณาความเป็นไปได้ ประเด็นสำคัญ และขั้นตอนการดำเนินการสำหรับการเคลื่อนย้ายผลประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในประเทศสมาชิกอาเซียน
4) ใช้เทคโนโลยีในการจัดการและบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการย้ายถิ่นของแรงงานและสวัสดิการประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติ
5) เสริมสร้างความสามารถและผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่แรงงานและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบด้านประกันสังคม และปรับปรุงระบบการตอบสนอง การประสานงาน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการส่งมอบสวัสดิการสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติให้ดีขึ้น
6) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการเคลื่อนย้ายผลประโยชน์ประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติผ่านการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และประสานงานระหว่างหน่วยงานประกันสังคม เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับนโยบายและระบบประกันสังคมที่เกี่ยวข้อง และแก้ไขปัญหาการบริหารของการโอนผลประโยชน์ประกันสังคมระหว่างประเทศ
7) ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือกับพันธมิตรภายนอกของอาเซียน คู่เจรจาอาเซียน สหประชาชาติ หน่วยงาน เช่น องค์การแรงงานระหว่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน และคู่ค้า/ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อแบ่งปันความรู้และแนวปฏิบัติที่ดีตลอดจนการเสริมสร้างขีดความสามารถของแรงงาน
การมอบหมาย
1) ให้ที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน โดยการสนับสนุนจากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานอาเซียนและหน่วยงานระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามความเหมาะสมและประสานงานเพื่อให้เป็นไปตามร่างปฏิญญาฯ ผ่านเอกสารแนวทางและการระดมทรัพยากร ตามกฎหมาย ข้อบังคับ และนโยบายของประเทศสมาชิกอาเซียน
2) ให้คณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการดำเนินการตามปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานข้ามชาติพัฒนาเอกสารสำหรับการรับรองโดยเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านแรงงานอาเซียนและที่ประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน และประสานงานกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ เอกสารนี้จะทำหน้าที่เป็นแผนงานของการดำเนินการระดับภูมิภาคสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อปฏิบัติตามแผนขั้นตอนการดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ. 2573
                    3. รง. แจ้งว่า กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมอาเซียน) พิจารณาแล้วมีความเห็น ดังนี้
                              3.1 ไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของร่างปฏิญญาฯ หาก รง. ในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องพิจารณาแล้วเห็นว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของประเทศไทย สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งสอดคล้องกับพันธกรณีของประเทศไทยภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และสอดคล้องกับเอกสารและปฏิญญาอาเซียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนจัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้แล้ว
                              3.2 ร่างปฏิญญาฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

23.  เรื่อง  ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ


                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า ?ฝ้ายไทย? และ ?ฝ่ายจีน? ตามลำดับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการงบประมาณโครงการที่ได้รับอนุมัติจากฝ่ายจีนให้เกิดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมสำหรับความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
                    1. หลักการเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่งคั่ง ต่อสมาชิกกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง โดยปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การประสานงาน การร่วมมือกัน และการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งไทยและจีน และร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุนฯ
                    2. โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ (1)  โครงการ A Comprehensive Study and Demonstration of Forest Fire Regimes, Impacts, and Management in LMC Countries: Towards Enhancing Forest Landscape Resilience to Climate and Ecosystem Changes ได้รับงบประมาณ 129,300 ดอลลาร์สหรัฐ  และ (2) โครงการ Piloting Community Forest Enterprises for Increased Economic Benefit and Sustainable Forest Management ได้รับงบประมาณ 333,200 ดอลลาร์สหรัฐ
                    3. การจัดสรรงบประมาณ ฝ่ายจีนจะจัดสรรงบประมาณเป็นจำนวนเต็มให้กับฝ่ายไทยภายใน 20 วันทำการ หลังจากการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ และฝ่ายไทยจะแจ้งผลการได้รับจัดสรรงบประมาณอย่างเป็นทางการ ภายใน 10 วันทำการ หลังจากได้รับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว
                    4. การบริหารจัดการและการประเมินผลโครงการ ฝ่ายไทยมอบหมายให้กรมป่าไม้รับผิดชอบในการวางแผนและดำเนินโครงการ รวมทั้งบริหารงบประมาณของโครงการฯ โดยสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่กำกับ ดูแล และตรวจสอบความก้าวหน้าของการดำเนินโครงการและการใช้งบประมาณให้เป็นไปตามข้อกำหนด โดยหลังจากโครงการดำเนินการแล้วเสร็จฝ่ายไทยจะจัดส่งรายงานผลการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์โดยเร็วที่สุด พร้อมทั้งดำเนินการเบิกจ่ายงบประมาณให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือนและนำส่งงบประมาณส่วนที่เหลือให้แก่ฝ่ายจีนภายใน 3 เดือน

24.  เรื่อง  การรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์                  (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นซอบต่อร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) รวมทั้งอนุมัติให้ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ความเป็นมาของการประชุม การประชุม the 3rd World Conference on Creative Economy (WCCE) จะจัดขึ้นในรูปแบบผสมผสาน ณ Bali International Convention Center (BICC) เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์อินโดนีเซียได้ริเริ่มการจัดประชุม WCCE ครั้งแรกเมื่อปี                พ.ศ. 2561 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย เพื่อเป็นเวทีในการสร้างสัมพันธภาพและความร่วมมือกับหน่วยงานด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน กลุ่มนักคิด องค์กรระหว่างประเทศ ตลอดจนสื่อและผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ซึ่งจะนำไปสู่ธุรกิจในยุคใหม่ที่เปิดกว้างสำหรับทุกคนให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือในการทำให้เกิดความร่วมมือในการสร้างสรรค์จากทั่วโลก และได้จัดการประชุมฯ ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2564 ณ เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
                    การประชุม WCCE ครั้งที่ 3 จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ ?การสร้างสรรค์อย่างครอบคลุม : การฟื้นฟูระดับโลก? (Inclusively Creative : A Global Recovery) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนมุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการพัฒนาภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้ง 5 ฝ่าย ได้แก่ 1) รัฐบาล ผู้กำหนดนโยบายหรือองค์กรระหว่างประเทศ 2) นักวิชาการ 3) องค์กรเอกชน 4) ชุมชน และ 5) สื่อที่มีส่วนในการกำหนดนโยบายเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในระดับสากล ตลอดจนช่วยให้ทุกประเทศเล็งเห็นศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการเป็นเครื่องมือที่จะช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตเอื้อประโยชน์ที่ครอบคลุมถึงทุกฝ่ายโดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ฟื้นฟูโลกหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) โดยประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) การประชุมเสวนา และกิจกรรม SPOTLIGHT                    2) การประชุมระดับรัฐมนตรี 3) การประชุม Friends of Creative Economy (FCE) และ 4) WCCE Expo
                    ทั้งนี้ การประชุม WCCE ครั้งที่ 3 เป็นการให้ความสำคัญในการอภิปรายและพิจารณาเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการประชุมนานาชาติที่ผ่านมา โดยคำนึงถึงข้อเสนอแนะด้านนโยบายในกรอบการทำงาน G20 ต่อการส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง อาทิ การประชุม Urban 20 Riyadh 2020 ในหัวข้อ ?เศรษฐกิจสร้างสรรค์ครอบคลุมและอนาคตของการทำงาน? การประชุม Think 20 Italy 2021 ในห้วข้อ ?เศรษฐกิจสร้างสรรค์ครอบคลุมและยืดหยุ่นเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการฟื้นฟู? และการประชุม Urban 20 Indonesia 2022 ในหัวข้อ ?มนุษย์และเศรษฐกิจถัดไป ? การฟื้นตัวไปพร้อมกัน?
                    2. การเข้าร่วมประชุมของคณะผู้แทนไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมมอบหมายรองปลัดกระทรวงวัฒนธรรม (นางยุถิกา อิศรางกูร ณ อยุธยา) เข้าร่วมการประชุม WCCE ครั้งที่ 3 ร่วมกับคณะผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งการเข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นการเข้าร่วมการประชุมครั้งแรกของคณะผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมในกรอบการประชุมนี้ ซึ่งสอดคล้องกับการมุ่งปรับเปลี่ยนบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมสู่การเป็นกระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจ โดยจะใช้โอกาสนี้ในการแลกเปลี่ยนมุมมอง และประสบการณ์ด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศร่วมกับผู้แทนอื่น ๆ ที่เข้าร่วมการประชุม โดยประเทศเจ้าภาพได้เชิญมาจากหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็นผู้แทนภาครัฐบาล ผู้จัดทำนโยบาย ผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศ ผู้แทนภาคเอกชน ภาควิชาการ ผู้ผลิต สื่อมวลชน และผู้ประกอบการทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์จากทั่วโลก อาทิ อินเดีย สิงคโปร์ เคนยา ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้และเดนมาร์ก เพื่อให้เกิดการรวมตัว การหารือ และการแสวงหาแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ต่อไป
                    3. สาระสำคัญของร่างเอกสารวาระบาหลี 2022: แผนที่นำทางระดับโลกเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Bali Agenda 2022: A Global Roadmap for Creative Economy) มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้ความสำคัญของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ปรากฎในการประชุมระดับโลกหลายครั้ง การระลึกถึงวาระบาหลีเพื่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในการประชุม WCCE ครั้งที่ 1 ซึ่งสนับสนุนการดำเนินการและความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อจัดการกับความท้าทายและโอกาสทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ การก่อตั้งศูนย์ความเป็นเลิศระดับโลกด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์และความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยรัฐบาลอินโดนีเซีย อีกทั้งเพื่อติดตามการดำเนินงานตามวาระบาหลี ซึ่งมีการผลักดันให้สาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นศูนย์กลางระดับโลกในการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่านโครงการเสริมสร้างศักยภาพ การวิจัย ตลอดจนการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงการเน้นย้ำศักยภาพเชิงกลยุทธ์ของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีส่วนช่วยในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกในเชิงบวกซึ่งส่งเสริมการเร่งการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในยุคหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) และได้กลายเป็นทรัพยากรที่ช่วยส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจระดับโลกในอนาคต รวมถึงแนวทางการดำเนินการทั้ง 15 ประการ ได้แก่ 1) การผนวกเศรษฐกิจสร้างสรรค์เข้าไว้ในแผนและกลยุทธ์การฟื้นฟูระดับชาติและระดับนานาชาติ 2) การกระตุ้นเศรษฐกิจมหภาคด้วยสินค้าเศรษฐกิจสร้างสรรค์อย่างเสรี 3) การให้ภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) และความท้าทายระดับโลกอื่น ๆ 4) การให้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม 5) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของการสนับสนุนผู้มีบทบาทในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในระหว่าง และหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) 6) การสร้างระบบนิเวศเพื่อให้มั่นใจว่าภาคเศรษฐกิจสร้างสรรค์มีความเท่าเทียมสำหรับทุกคน 7) การก่อตั้งศูนย์กลางเศรษฐกิจสร้างสรรค์และศูนย์กลางความเป็นเลิศ 8) การส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลและเทคโนโลยีในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 9) การส่งเสริมการวิจัย                 10) การพัฒนาความรู้และทักษะเพื่อรองรับต่อการทำงานในอนาคต 11) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของข้อมูล            12) การบูรณาการร่วมกันระหว่างเศรษฐกิจสร้างสรรค์นอกระบบและเศรษฐกิจกระแสหลัก 13) การสนับสนุนผู้ที่มีบทบาทในเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 14) การอำนวยความสะดวกในการใช้สินทรัพย์ทั้งหลายที่จับต้องไม่ได้ รวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา และ 15) การแจ้งผลการดำเนินการตามแผนที่นำทางฉบับนี้ ดังที่ปรากฎตาม Roadmap โดยจะมีการนำเสนอร่างเอกสารดังกล่าวให้ที่ประชุม WCCE ครั้งที่ 3 รับรองต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงวัฒนธรรมได้พิจารณาและไม่มีข้อขัดข้องต่อร่างแรกของเอกสารดังกล่าว


แต่งตั้ง
25. เรื่อง การแต่งตั้งโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฝ่ายการเมือง) และโฆษกกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฝ่ายข้าราชการประจำ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ การแต่งตั้งโฆษก อว. (ฝ่ายการเมือง) และโฆษก อว. (ฝ่ายข้าราชการประจำ) [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 มกราคม 2559) ที่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทุกกระทรวงแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่โฆษกกระทรวงอย่างเป็นทางการ แล้วแจ้งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรวบรวมรายชื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบ] เนื่องจากนายดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง โฆษก อว. ได้ลาออกจากตำแหน่งโฆษก อว. ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานประชาสัมพันธ์เผยแพร่นโยบายรัฐบาลและการประสานงานเชื่อมโยงกับโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวงอื่น ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ อว. จึงได้แต่งตั้ง นายดนุช ตันเทอดทิตย์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ อว. เป็น โฆษก อว. (ฝ่ายการเมือง) [คำสั่งที่ 118/2565 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก อว. (ฝ่ายการเมือง) ลงวันที่ 6 กันยายน 2565] และนายศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัด อว. เป็นโฆษก อว. (ฝ่ายข้าราชการประจำ) [คำสั่งที่ 120/2565 เรื่อง แต่งตั้งโฆษก อว. (ฝ่ายข้าราชการประจำ) ลงวันที่ 15 กันยายน 2565]

26. เรื่อง การอนุมัติให้ นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ไปรักษาราชการแทนหรือไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอให้นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ไปรักษาราชการแทนหรือไปปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีมีคำสั่งเป็นต้นไป เพื่อให้การบริหารราชการของสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีความต่อเนื่อง
                     ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 มีมติอนุมัติให้รับโอน นายธีระพงษ์ วงศ์ศิวะวิลาส ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหารระดับสูง) สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งเดิมที่เกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้อยู่ระหว่างขอให้สำนักงานองคมนตรีนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ข้าราชการดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งเดิมและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งใหม่

27. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายนรุตม์ ธัญวงษ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

28. เรื่อง การต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งดังกล่าวครบ 4 ปี ในวันที่ 30 กันยายน 2565 ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 1) ตั้งแต่วันที่               1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2566

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                     1. นายธนู ขวัญเดช รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ             สภาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา
                     2. นายพิเชฐ โพธิ์ภักดี ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง                      รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. นายพีรศักดิ์ รัตนะ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    4. นายมณฑล ภาคสุวรรณ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 4 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                    1. นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
                    2. นายใบน้อย สุวรรณชาตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
                     3. นายจุลพงษ์ ทวีศรี รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม
                    4. นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้ง นายโฆสิต                สุวินิจจิต เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการพิจารณาค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับการแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

32. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการส่งเสริมและกำกับธุรกิจโรงแรม จำนวน 5 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมจะดำรงตำแหน่งครบวาระสองปีในวันที่ 9 ตุลาคม 2565 ดังนี้

                     1. นายสิทธิพร หาญญานันท์                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรงแรมประเภทที่ 1
                    2. นายธรณินทร์ สิริพัฒโนดมสกุล            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรงแรมประเภทที่ 2
                    3. นายเทียนประสิทธิ์ ไชยภัทรานันท์             กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรงแรมประเภทที่ 3
                    4. นายสุรเชษฐ วรวงศ์วสุ                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโรงแรมประเภทที่ 4
                    5. นายชัยรินทร์ นุกูลกิจ                                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรงแรม
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นายปณิธิ ชุณหสวัสดิกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านนิติศาสตร์) ในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่                 5 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน ทั้งนี้ ในครั้งต่อ ๆ ไป ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างเคร่งครัดด้วย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2559 (เรื่อง การดำเนินการแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาตามกฎหมาย)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ