สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday November 8, 2022 17:52 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (8 พฤศจิกายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไข                                                  เพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการอัยการ)
                    2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดี                                                  ดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของ

เจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ....

                    4.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชน

ท่าแซะ ? เนินสันติ จังหวัดชุมพร พ.ศ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    5.           เรื่อง           การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทาง                                        พิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564
                    6.           เรื่อง           ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน
                    7.            เรื่อง           รายงานความคืบหน้าโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์
                    8.           เรื่อง           รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2565

ต่างประเทศ

                              9.           เรื่อง          สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting                                         of Ministers  Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่                                                  เกี่ยวข้อง
                    10.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับ                                                  รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    11.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วย                                                  ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40                                         และครั้งที่ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    12.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อ                                        กำหนดอนาคตร่วมกัน (Ministerial Declaration on Digital Cooperation for                                         Shaping Our Common Future)
                    13.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ
                    14.           เรื่อง           ร่างแผนการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทย                                        กับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (พ.ศ. 2565 - 2567) และร่างบันทึกความเข้าใจ                                        การจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                    15.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรง                                                  ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    16.           เรื่อง           การเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People
                    17.           เรื่อง           ร่างกรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้า                                                  ระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19)
                    18.           เรื่อง           ร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วน                                                  ยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี (พ.ศ. 2565 - 2570)                                         และร่างแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่าง                                                  ราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี
                    19.            เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่าง                                                  กระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กับกระทรวงพาณิชย์แห่ง                                                  ราชอาณาจักรไทย
                    20.            เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับ                                        รัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                    21.            เรื่อง            การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุด                                        ยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    22.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น                                        เกี่ยวกับการให้เอกสิทธิ์ การยกเว้น และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เชี่ยวชาญ จากองค์การ                                        ความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ที่ดำเนินโครงการภายใต้ความตกลงว่าด้วย                                        ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้                                        กับรัฐบาลญี่ปุ่น
                    23.           เรื่อง            การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาในการฝึกอบรม                                                  โดยการใช้การทำงานเป็นฐานระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทย                                        กับกระทรวงแรงงานและเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย
                    24.            เรื่อง            ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงานการพัฒนาเขต                                                  เศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และผลการประชุม

ระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT

แต่งตั้ง
                    25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
                    26.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ  (กระทรวงสาธารณสุข)
                    27.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
                    28.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม

การฟอกเงิน แทนตำแหน่งที่ว่าง

                    29.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                             (กระทรวงศึกษาธิการ)












กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของคณะกรรมการอัยการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ ..)             พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ทั้งนี้ อส. เสนอว่า

1. พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. 2553 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2561 กำหนดให้ประธาน กอ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียวโดยมีระยะเวลาเพียง 2 ปี ทำให้การดำเนินการปฏิบัติตามนโยบายของประธาน กอ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิขาดความต่อเนื่อง ไม่สามารถสัมฤทธิ์ผลได้ เนื่องจากวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปีนั้นเป็นระยะเวลาที่สั้นเกินไป สมควรกำหนดให้ประธาน กอ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิสามารถดำรงตำแหน่งได้หลายวาระ แต่ให้มีระยะเวลาสิ้นสุดการดำรงตำแหน่ง คือ ดำรงตำแหน่งคราวละหนึ่งวาระ และอาจได้รับเลือกใหม่อีกเพียงอีกหนึ่งวาระ ทั้งนี้ ประธาน กอ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งไม่เกินสองวาระเท่านั้น ซึ่งยังคงรักษาหลักการที่เคยเสนอแก้ไขไว้เมื่อ พ.ศ. 2561 และสอดคล้องกับข้อสังเกตของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2)

                    2. อส. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องกับร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ผ่านทางเว็บไซต์ อส. http://www.ago.go.th หัวข้อ ?รับฟังความคิดเห็นร่างกฎหมาย? ตั้งแต่วันที่                       12 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2565 รวมระยะเวลาการรับฟังความคิดเห็นทั้งสิ้น 30 วัน มีผู้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวจำนวน 1,230 คน โดยเห็นด้วย 1,130 คน ซึ่งในจำนวน 1,130 คน                  มีผู้เขียนเหตุผลแสดงความคิดเห็น 25 คน และไม่เห็นด้วย 100 คน รวมทั้งได้จัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย พร้อมทั้งเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ http://www.ago.go.th ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

                    แก้ไขเพิ่มเติมวาระการดำรงตำแหน่งของประธาน กอ. และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิให้               ดำรงตำแหน่งจากเดิมมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปีเพียงวาระเดียวเป็นได้คราวละหนึ่งวาระและอาจได้รับเลือกใหม่ได้   อีกเพียงหนึ่งวาระ คือ ดำรงตำแหน่งได้ไม่เกินสองวาระ ดังนี้
พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
พ.ศ. 2553 และที่แก้ไขเพิ่มเติม          ร่างพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
(ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          ประธาน กอ. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี         นับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี นับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ และให้ดำรงตำแหน่งได้เพียงวาระเดียว                    ประธาน กอ. มีวาระการดำรงตำแหน่ง 2 ปี                นับแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง และกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิมีวาระดำรงตำแหน่ง 2 ปี นับแต่วันที่อัยการสูงสุดประกาศรายชื่อผู้ได้รับเลือกเป็นกรรมการอัยการผู้ทรงคุณวุฒิ โดยให้ดำรงตำแหน่งได้คราวละหนึ่งวาระและอาจได้รับเลือกใหม่ได้อีกเพียงหนึ่งวาระ

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้

ทั้งนี้ สสส. เสนอว่า

                    1. โดยที่ มาตรา 63/15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง                พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ในกรณีที่มีการบังคับให้ชำระเงินและคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สิ้นสุดแล้ว หากหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินประสงค์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดีดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าว ให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลภายในสิบปีนับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองนั้น โดยระบุจำนวนเงินที่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองยังมิได้ชำระตามคำสั่งทางปกครอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้บังคับทางปกครองหรือได้ดำเนินการบังคับทางปกครองแล้ว แต่ยังไม่ได้รับชำระเงินหรือได้รับชำระเงินไม่ครบถ้วน ประกอบกับมาตรา 63/15 วรรคหก บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐตามมาตรานี้ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น หากจะนำมาตรา 63/15 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการฯ ไปใช้บังคับ                      แก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค และราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องกำหนดเป็นกฎกระทรวง

2. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพมีฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ ตามมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ มิได้มีฐานะเป็นกระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวงตามบทบัญญัติมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการฯ ประกอบกับปัจจุบัน สสส. ได้มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ ลูกจ้าง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มาช่วยปฏิบัติงานให้แก่กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็นคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงิน แต่เมื่อถึงกำหนดเวลาชำระเงินแล้วไม่มีการชำระเงินโดยถูกต้องครบถ้วน และเมื่อได้มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระเงินแล้วก็ยังคงเพิกเฉยจึงมีความจำเป็นต้องใช้มาตรการบังคับทางปกครองโดยการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน และขายทอดตลาดทรัพย์สินเพื่อกำหนดให้ชำระเงินได้ครบถ้วน แต่เนื่องจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพไม่มีบุคลากรที่มีประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในการยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ส่งผลให้ไม่สามารถบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินการบังคับตามคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินของกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นหน่วยงานอื่นของรัฐ ตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติราชการฯ

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

                    กำหนดให้กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้                เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

3. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. .... ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับความเห็นของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ สปน. เสนอว่า

                    1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 63 กำหนดให้รัฐมีหน้าที่วางกลไกป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวด เด็ดขาด และต้องส่งเสริม สนับสนุน และให้ความรู้               แก่ประชาชนถึงภัยที่เกิดจากการทุจริต ตลอดจนจัดให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพและกลไกในการส่งเสริมการรวมตัวและมีส่วนร่วมของประชาชนเพื่อสอดส่องและป้องกันการทุจริต โดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการปฏิรูปประเทศได้จัดทำแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ฉบับปรับปรุง) ขึ้น โดยกำหนดกิจกรรมปฏิรูปที่จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อประชาชนอย่างมีนัยสำคัญ (Big Rock) จำนวน 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการต่อต้านการทุจริต 2) การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและพัฒนาระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ 3) การพัฒนากระบวนการยุติธรรมที่รวดเร็ว โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติในการดำเนินคดีทุจริตทั้งภาครัฐและภาคเอกชน 4) การพัฒนาระบบราชการไทยให้โปร่งใสไร้ผลประโยชน์ และ 5) การพัฒนามาตรการสกัดกั้นการทุจริตเชิงนโยบายในการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ รวมทั้งได้กำหนดให้มีการแก้ไขปรับปรุงระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2544 ให้แล้วเสร็จใน                ปี 2565
                    2. ดังนั้น เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของแผนการปฏิรูปประเทศ ตามข้อ 1 และสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน สปน. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบ                       สำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ              พ.ศ. .... ขึ้นใหม่ และเสนอต่อคณะกรรมการพิจารณาปรับปรุงและพัฒนาระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 และในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2565 โดยคณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างระเบียบฯ ดังกล่าวแล้วและมีมติเห็นชอบและให้ดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

สาระสำคัญของร่างระเบียบ

                    ยกเลิกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ                พ.ศ. 2544 เพื่อปรับปรุงแนวทางปฏิบัติในการให้หรือรับของขวัญของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมุ่งส่งเสริมกลไกการป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบให้สอดคล้องกับแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต                   และสภาพการณ์ในปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

1. กำหนดบทนิยาม ดังนี้

1.1 ?ของขวัญ? หมายความว่า เงินหรือทรัพย์สินที่ให้แก่กันเพื่ออัธยาศัยไมตรี ให้เป็นรางวัล ให้โดยเสน่หา ให้เพื่อการสงเคราะห์ หรือให้เป็นสินน้ำใจและให้หมายความรวมถึงประโยชน์อื่นใดอันอาจคำนวณเป็นเงินได้ เช่น การให้สิทธิพิเศษซึ่งมิใช่เป็นสิทธิที่จัดไว้สำหรับบุคคลทั่วไปในการได้รับการลดราคาทรัพย์สินหรือการได้รับบริการ หรือการรับการฝึกอบรม หรือการรับความบันเทิง ตลอดจนการออกค่าใช้จ่ายในการเดินทางหรือท่องเที่ยว ค่าที่พัก ค่าอาหาร หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และไม่ว่าจะให้เป็นบัตร ตั๋ว หรือหลักฐานอื่นใด การชำระเงินให้ล่วงหน้า หรือการคืนเงินหรือสิ่งของให้ในภายหลัง

                              1.2 ?ทรัพย์สิน? หมายความว่า ทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และให้หมายความรวมถึงสินทรัพย์ดิจิทัลตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลด้วย                                                            1.3 ?ปกติประเพณีนิยม? หมายความว่า เทศกาลหรือวันสำคัญซึ่งอาจมีการให้ของขวัญกันและให้หมายความรวมถึงโอกาสในการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจหรือการให้ความช่วยเหลือตามมารยาทที่ถือปฏิบัติกันในสังคมด้วย

1.4 ?หน่วยงานของรัฐ? หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หน่วยงานที่อยู่ในกำกับดูแลของฝ่ายบริหาร ทั้งในราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

1.5 ?เจ้าหน้าที่ของรัฐ? หมายความว่า ข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้าง หรือผู้ปฏิบัติงานอื่นในหน่วยงานของรัฐ

1.6 ?ผู้บังคับบัญชา? ให้หมายความรวมถึง ผู้ซึ่งปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าหน่วยงานที่แบ่งเป็นการภายในของหน่วยงานของรัฐและผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งในระดับที่สูงกว่าและได้รับมอบหมายให้มีอำนาจบังคับบัญชาหรือกำกับดูแลด้วย

                              1.7 ?บุคคลในครอบครัว? หมายความว่า คู่สมรส บุคคลซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรสอันถือว่าเป็นคู่สมรส ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติกำหนดไว้                 บุตร บุตรบุญธรรม ผู้รับบุตรบุญธรรม บิดามารดา พี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

2. ระเบียบนี้ไม่ใช้บังคับกับกรณีการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

3. เจ้าหน้าที่ของรัฐจะให้ของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชามิได้ เว้นแต่เป็นการให้ตามปกติประเพณีนิยมซึ่งมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินสามพันบาทจากผู้ให้แต่ละคนและแต่ละโอกาส

4. เจ้าหน้าที่ของรัฐจะทำการใด ๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใดเพื่อมอบให้หรือจัดหาของขวัญให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชามิได้

5. ผู้บังคับบัญชาจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญจากเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือบุคคลในครอบครัวเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชามิได้

6. ผู้บังคับบัญชาและเจ้าหน้าที่ของรัฐจะยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจให้บุคคลในครอบครัวของตนรับของขวัญอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐจากผู้ที่เกี่ยวข้องมิได้ เว้นแต่เป็นการรับของขวัญหรือการรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อันควรได้ตามกฎหมาย

7. ผู้ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ได้แก่ ผู้ซึ่งมีคำขอให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น การขอใบรับรอง การอนุมัติ การอนุญาตผู้ซึ่งประกอบธุรกิจหรือมีส่วนได้เสียในธุรกิจที่ทำกับหน่วยงานของรัฐ เช่น การจัดซื้อจัดจ้างหรือการได้รับสัมปทาน เป็นต้น

8. ในกรณีที่บุคคลในครอบครัวของเจ้าหน้าที่ของรัฐรับของขวัญแล้ว และเจ้าหน้าที่ของรัฐมาทราบในภายหลังว่าเป็นการรับของขวัญโดยฝ่าฝืนระเบียบนี้ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐบันทึกรายงานรายละเอียดข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการรับของขวัญนั้นต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นจนถึงผู้บังคับบัญชาสูงสุดภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้ทราบ

                    9. ในกรณีที่ผู้บังคับบัญชาสูงสุดได้รับรายงานตามข้อ 8 แล้ว และเห็นว่าเป็นการฝ่าฝืนระเบียบนี้               ให้มีคำสั่งคืนของขวัญนั้นแก่ผู้ให้โดยทันที ในกรณีที่ไม่สามารถคืนได้ให้ส่งของขวัญที่ได้รับให้เป็นสิทธิของหน่วยงานที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้นั้นสังกัดอยู่ และเก็บรักษาของขวัญนั้นไว้เป็นระยะเวลา 1 ปี เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้เป็นอำนาจของผู้บังคับบัญชาสูงสุดของหน่วยงานนั้นสั่งให้นำของขวัญออกขายและนำเงินที่ได้ส่งคืนเป็นรายได้แผ่นดิน

10. ผู้บังคับบัญชาหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดจงใจปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ของขวัญหรือรับของขวัญโดยฝ่าฝืนระเบียบนี้ ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำผิดวินัยและให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป

                    11. ให้หน่วยงานของรัฐมีหน้าที่สอดส่อง ดูแลและให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามระเบียบนี้                     แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชาของตน

12. ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้วิธีการแสดงความยินดี การแสดงความขอบคุณ การต้อนรับ การแสดงความเสียใจ หรือกรณีอื่น ๆ ในโอกาสต่าง ๆ ตามปกติประเพณีนิยมด้วยวิธีการอย่างอื่นแทนการให้ของขวัญ เช่น การใช้บัตรอวยพร การลงนามในสมุดอวยพร การสื่อสารผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือการทำกิจกรรมจิตอาสา และให้ผู้บังคับบัญชาส่งเสริมการสร้างค่านิยมการแสดงความยินดี ด้วยการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่าง แนะนำหรือกำหนดมาตรการจูงใจที่จะพัฒนาทัศนคติ จิตสำนึก และพฤติกรรมของผู้อยู่ในบังคับบัญชาให้เป็นไปในแนวทางประหยัด

4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ ? เนินสันติ                  จังหวัดชุมพร พ.ศ....

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ ? เนินสันติ จังหวัดชุมพร ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามที่ มท. เสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลทรัพย์อนันต์ ตำบลคุริง และตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา โดยกำหนดให้เป็นชุมชนศูนย์กลางที่มีบทบาทในด้านการค้า การบริการ และพาณิชยกรรมและศูนย์กลางบริการด้านอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ สามารถรองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมโดยมีนโยบายในการอนุรักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติของผังเมืองรวมให้เป็นกลไกชี้นำแนวทางได้อย่างยั่งยืน การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ได้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่งซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว

สาระสำคัญของร่างประกาศ

กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลทรัพย์อนันต์/ตำบลคุริง และตำบลท่าแซะ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้

1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนท่าแซะ-เนินสันติ จังหวัดชุมพร มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางการบริหาร และการปกครองของอำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร

1.2 ส่งเสริมอุตสาหกรรมการเกษตร อุตสาหกรรมบริการ และอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในท้องถิ่น

1.3 ส่งเสริมและพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจของชุมชน

1.4 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน

1.5 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย             (สีเหลือง)          - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยที่เบาบาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว โดยมีข้อห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม คลังเชื้อเพลิง การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ รวมทั้งให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม เช่น การทำน้ำตาลจากน้ำหวานของต้นมะพร้าว โรงงานผลิตหรือซ่อมแซมเครื่องมือที่ทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดของอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง              (สีส้ม)          - เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดิน คลังเชื้อเพลิง การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรม การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ และโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ รวมทั้งให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมได้ เช่น การซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าหรือใช้ไฟฟ้าสำหรับในบ้านหรือใช้ประจำตัวโดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)          - เป็นศูนย์กลางเมืองและศูนย์กลางรอง มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก เป็นบริเวณเพื่อประกอบพาณิชยกรรม ธุรกิจการค้า โรงแรม และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภท คลังเชื้อเพลิง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง การกำจัดขยะมูลฝอย ซื้อขายหรือเก็บเศษวัสดุ รวมทั้งให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมได้ เช่น การซ่อมเครื่องมือไฟฟ้าสำหรับในบ้านหรือใช้ประจำตัว โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงและขนาดอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
4. ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า               (สีม่วง)           - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่ออุตสาหกรรม คลังสินค้า รวมทั้งให้ใช้ประโยชน์ที่ดินโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ เช่น โรงงานกะเทาะเมล็ดหรือเปลือกเมล็ดพืช โรงงานสกัดน้ำมันจากพืชหรือสัตว์ โรงงานทำใบชาแห้ง หรือใบชาผง โรงงานทำไอศกรีม เป็นต้น
5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)           - เป็นพื้นที่ชุมชนได้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรม เช่น ทำไร ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ และห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่อยู่อาศัยประกอบพาณิชยกรรมที่มีความหนาแน่น เช่น ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก หรืออาคารอยู่อาศัยรวม รวมทั้งให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อประกอบโรงงานอุตสาหกรรมที่สามารถประกอบกิจการได้ ได้แก่ การแปรรูปผลผลิตเกษตรกรรม การประกอบกิจการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ น้ำมันพืชจากพืชหรือสัตว์ เครื่องปรุงรส ชา กาแฟ โกโก้ เป็นต้น โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)          - เป็นที่ดินซึ่งเป็นของรัฐ และเอกชนเป็นเจ้าของหรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการหรือเกี่ยวกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ มีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารไม่เกิน 8 เมตร และอาคารที่มีพื้นที่รวมกันทุกชั้นหรือชั้นใดชั้นหนึ่งในหลังเดียวกันไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับโรงงานบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภทห้องแถว ตึกแถว หรือบ้านแถว เป็นต้น
7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)           - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และมีพื้นที่ของเอกชนอยู่ในบริเวณดังกล่าว มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติเท่านั้น สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม การอยู่อาศัยโดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่การอยู่อาศัยประเภทอาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
8. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)           - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศึกษาหรือเกี่ยวข้องกับการศึกษา สถาบันราชการหรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเนินสันติ
9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)          - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศาสนาหรือเกี่ยวข้องกับการศาสนา การศึกษาสถาบันราชการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น วัด สำนักสงฆ์เนินสันติ
10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)          - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการของรัฐ กิจการเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ หรือสาธารณประโยชน์ เช่น โรงพยาบาลท่าแซะ สำนักงานเทศบาลตำบลท่าแซะ

3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท

4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้

4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ

4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง

4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

เศรษฐกิจ-สังคม
5. เรื่อง การพิจารณารับรองวัดคาทอลิก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอการรับรองวัดคาทอลิกตามกฎหมาย จำนวน 34 วัด แบ่งเป็นจังหวัดต่าง ๆ ดังนี้ หน่วย : แห่ง

จังหวัด          จำนวนวัด          จังหวัด          จำนวนวัด
กรุงเทพมหานคร          7          สมุทรสงคราม          2
นนทบุรี          2          ราชบุรี          5
ปทุมธานี          1          เพชรบุรี          1
ฉะเชิงเทรา          1          กาญจนบุรี          3
สมุทรปราการ          1          สระบุรี          2
นครปฐม          3          นครสวรรค์          1
สุพรรณบุรี          1          เชียงราย          3
พระนครศรีอยุธยา          1

สาระสำคัญของเรื่อง

วธ. รายงานว่า

1. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยแนวทางพิจารณาในการจัดตั้งวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิก พ.ศ. 2564 ประกาศใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2564 เพื่อกำหนดแนวทางในการพิจารณาจัดตั้งและรับรองวัดคาทอลิกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันแล้ว ซึ่งระเบียบดังกล่าวกำหนดให้มีคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรอง คำขอจัดตั้งวัดคาทอลิก (คณะกรรมการฯ) (รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเป็นประธาน) มีหน้าที่และอำนาจในการเสนอความเห็นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเพื่อประกอบการพิจารณาคำขอจัดตั้งวัดคาทอลิกและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณารับรองวัดคาทอลิกต่อไป โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (23 สิงหาคม 2565) เห็นชอบการรับรอง วัดคาทอลิกไปแล้วรวม 9 วัด

                    2. ต่อมาคณะกรรมการฯ ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565 ได้พิจารณาคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกตามหลักเกณฑ์ที่ระบุไว้ในข้อที่ 16 แห่งระเบียบดังกล่าว ประกอบด้วย (1) ได้รับความเห็นชอบให้ยื่นคำขอรับรองวัดคาทอลิกจากสภาประมุขบาทหลวงโรมันคาทอลิกแห่งประเทศไทย                  (สภาประมุขฯ) (2) มีข้อมูลที่ตั้งวัด (3) มีข้อมูลที่ดินที่ตั้งวัดและการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน (4) มีรายชื่อบาทหลวงซึ่งจะไปประกอบศาสนกิจประจำ ณ วัดคาทอลิก และ (5) มีข้อมูลอื่นที่จำเป็นเกี่ยวกับการรับรองวัดคาทอลิก เช่น คุณค่าและประโยชน์ของวัดคาทอลิก การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงจากภาคส่วนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว และมีมติให้เสนอคำขอให้รับรองวัดคาทอลิกทั้ง 34 วัด ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้การรับรองตามนัยระเบียบดังกล่าว

3. รายละเอียดของวัดคาทอลิก จำนวน 34 วัด สรุปได้ ดังนี้

ชื่อวัด          ได้รับการรับรองจากสภาประมุขฯ/มีใบอนุญาตหรือใบรับรองการก่อสร้างอาคาร          ที่ตั้งวัด          ที่ดินที่ตั้งวัด          จำนวนบาทหลวงประจำวัด
1. วัดนักบุญยอแซฟ
(ตรอกจันทน์)          ?          เขตบางคอแหลม
กรุงเทพมหานคร
(กทม.)          17 ไร่ 1 งาน
66 ตารางวา          2 ท่าน
2. วัดราชินีแห่งสันติสุข
(สุขุมวิท 101)          ?          เขตพระโขนง กทม.          8 ไร่          2 ท่าน
3. วัดธรรมาสน์นักบุญ
เปโตร (บางเชือกหนัง)          ?          เขตภาษีเจริญ กทม.          93 ไร่ 3 งาน
91 ตารางวา          2 ท่าน
4. วัดแม่พระประจักษ์
เมืองลูร์ด (บางสะแก)          ?          เขตจอมทอง กทม.          4 ไร่ 1 งาน
29 ตารางวา          2 ท่าน
5 วัดเซนต์จอห์น          ?          เขตจตุจักร กทม.          1 ไร่
60.1 ตารางวา          2 ท่าน
6. วัดแม่พระฟาติมา
(ดินแดง)          ?          เขตดินแดง กทม.          4 ไร่ 2งาน
39.5 ตารางวา          3 ท่าน
7. วัดนักบุญเทเรซา
(หนองจอก)          ?          เขตหนองจอก กทม.          19 ไร่ 3 งาน
33 ตารางวา          1 ท่าน
8. วัดพระแม่
มหาการุณย์ (เมืองนนท์)          ?          อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี          16 ไร่
76 ตารางวา          3 ท่าน
9. วัดพระแม่สกล
สงเคราะห์ (บางบัวทอง)          ?          อำเภอบางบัวทอง
จังหวัดนนทบุรี          35 ไร่
81.2 ตารางวา          2 ท่าน
10. วัดพระชนนีของ
พระเป็นเจ้า (รังสิต)          ?          อำเภอธัญบุรี
จังหวัดปทุมธานี          13 ไร่
90 ตารางวา          1 ท่าน
11. วัดเซนต์ร็อค               (ท่าไข่)          ?          อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
จังหวัดฉะเชิงเทรา          80 ไร่ 1 งาน
64 ตารางวา          2 ท่าน
12. วัดพระกุมารเยซู
(บางนา กม.8)          ?          อำเภอบางพลี
จังหวัดสมุทรปราการ          12 ไร่ 3 งาน
22 ตารางวา          2 ท่าน
13. วัดพระตรีเอกภาพ
(หนองหิน)          ?          อำเภอเมืองนครปฐม
จังหวัดนครปฐม          25 ไร่ 3 งาน
21 ตารางวา          1 ท่าน
14. วัดพระคริสต      กษัตริย์ (นครปฐม)          ?          อำเภอเมืองนครปฐม
จังหวัดนครปฐม          4 ไร่ 3 งาน
65 ตารางวา          1 ท่าน
15. วัดนักบุญอันเดร          ?          อำเภอบางเลน
จังหวัดนครปฐม          11 ไร่ 2 งาน
80 ตารางวา          1 ท่าน
16. วัดนักบุญลูกา
(อู่ทอง)          ?          อำเภออู่ทอง
จังหวัดสุพรรณบุรี          13 ไร่
93.8 ตารางวา          2 ท่าน
17. วัดนักบุญยวง
ปัปติสตา (เจ้าเจ็ด)          ?          อำเภอเสนา
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา          30 ไร่ 1 งาน
20 ตารางวา          1 ท่าน
18. วัดแม่พระองค์
อุปถัมภ์ (วัดใน)          ?          อำเภอบางคนที
จังหวัดสมุทรสงคราม          6 ไร่ 2 งาน
32 ตารางวา          3 ท่าน
19. วัดพระวิสุทธิวงศ์
(แพรกหนามแดง)          ?          อำเภออัมพวา
จังหวัดสมุทรสงคราม          89 ไร่ 2 งาน          1 ท่าน
20. วัดนักบุญยอห์น
บอสโก (ราชบุรี)          ?          อำเภอเมืองราชบุรี
จังหวัดราชบุรี          46 ไร่ 1 งาน          3 ท่าน
21. วัดนักบุญยอแซฟ
(บ้านโป่ง)          ?          อำเภอบ้านโป่ง
จังหวัดราชบุรี          7 ไร่ 2 งาน
30.7 ตารางวา          2 ท่าน
22. วัดนักบุญมาร์        การิตา (บางตาล)          ?          อำเภอบ้านโป่ง
จังหวัดราชบุรี          31 ไร่ 3 งาน
81 ตารางวา          1 ท่าน
23. วัดนักบุญเทเรซา
แห่งพระกุมารเยซู
(ห้วยกระบอก)          ?          อำเภอบ้านโป่ง
จังหวัดราชบุรี          40 ไร่ 2 งาน
34 ตารางวา          1 ท่าน
24. วัดนักบุญลูกา
(หนองนางแพรว)          ?          อำเภอจอมบึง
จังหวัดราชบุรี          18 ไร่ 2 งาน
99 ตารางวา          1 ท่าน
25. วัดนักบุญเวนันซีโอ
(เพชรบุรี)          ?          อำเภอเมืองเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี          4 ไร่ 3 งาน
53 ตารางวา          1 ท่าน
26. วัดพระแม่ราชินี
แห่งสากลโลก
(กาญจนบุรี)          ?          อำเภอเมือง
กาญจนบุรี
จังหวัดกาญจนบุรี          3 ไร่
72.7 ตารางวา          2 ท่าน
27. วัดพระประจักษ์
เมืองลูร์ด (ท่าเรือ)          ?          อำเภอท่ามะกา
จังหวัดกาญจนบุรี          7 ไร่ 1 งาน
78.9 ตารางวา          1 ท่าน
28. วัดนักบุญ
ฟรังซิสเซเวียร์ (พุถ่อง)          ?          อำเภอทองผาภูมิ
จังหวัดกาญจนบุรี          19 ไร่ 3 งาน
26.5 ตารางวา          1 ท่าน
29. วัดพระแม่เมืองลูร์ด
(สระบุรี)          ?          อำเภอเมืองสระบุรี
จังหวัดสระบุรี          11 ไร่ 1 งาน
52 ตารางวา          1 ท่าน
30. วัดนักบุญยอแซฟ
กรรมกร (แก่งคอย)          ?          อำเภอแก่งคอย
จังหวัดสระบุรี          11 ไร่ 3 งาน
81 ตารางวา          1 ท่าน
31. วัดอารามคาร์แมล
(นครสวรรค์)          ?          อำเภอเมือง
นครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์          20 ไร่ 1 งาน
34.2 ตารางวา          1 ท่าน
32. อาสนวิหาร
แม่พระบังเกิด เชียงราย          ?          อำเภอเมืองเชียงราย
จังหวัดเชียงราย          11 ไร่ 1 งาน
83.1 ตารางวา          4 ท่าน
33. วัดแม่พระองค์
อุปถัมภ์ (พาน)          ?          อำเภอพาน
จังหวัดเชียงราย          27 ไร่ 3 งาน
7 ตารางวา          2 ท่าน
34. วัดนักบุญสเตเฟน
(แม่จัน)          ?          อำเภอแม่จัน
จังหวัดเชียงราย          8 ไร่ 3 งาน
22 ตารางวา          1 ท่าน
หมายเหตุ : วัดคาทอลิกทั้ง 34 วัด มีหนังสือรับรองความมั่นคงแข็งแรงของอาคารจากผู้ประกอบอาชีพวิศวกรรมหรือสถาปัตยกรรมที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแล้ว
                    ทั้งนี้ นอกเหนือจากข้อมูลข้างต้น ยังมีข้อมูลอื่นที่จำเป็นซึ่งคณะกรรมการฯ ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณารับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดตามกฎหมาย เช่น (1) มีระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เอื้อต่อ                 การประกอบศาสนพิธีและการพำนัก (2) มีสถานที่ สิ่งปลูกสร้าง และอุปกรณ์ ซึ่งจำเป็นแก่การประกอบศาสนกิจและการพำนักครบถ้วน (3) วัดมีคุณค่าและประโยชน์ต่อประชาชนและชุมชนในด้านศาสนาและสังคม (4) วัดได้รับ                  การอุปถัมภ์และทำนุบำรุงวัดจากภาคประชาชน ภาครัฐ และภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง (5) วัดได้ดำเนินงานตามภารกิจของมิซซังในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านอภิบาลคริสตชนและด้านเผยแผ่ธรรม

4. การรับรองวัดคาทอลิกเป็นวัดตามกฎหมายจะก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

4.1 ความมั่นคงด้านศาสนจักร วัดคาทอลิกเป็นองค์ประกอบหลักและเป็นศูนย์รวมการประกอบศาสนกิจและพิธีกรรมของศาสนิกชนในวาระสำคัญต่าง ๆ ตามหลักศาสนบัญญัติ ซึ่งการรับรองวัดคาทอลิกจะทำให้วัดสามารถคงอยู่และสร้างความเชื่อมั่นแก่คริสต์ศาสนิกชนได้

4.2 ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากภาครัฐเพื่อดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนสถาน เช่น โครงการเงินอุดหนุนกิจกรรมบูรณะศาสนสถาน

4.3 สิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือการหักลดหย่อนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดไว้ในลักษณะเดียวกับศาสนาอื่นซึ่งรวมถึงได้รับการยกเว้นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและประชาชนจะได้รับประโยชน์จากการลดหย่อนภาษีจากเงินที่บริจาคให้แก่วัด

6. เรื่อง ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนระดับชั้นเด็กเล็กถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน (เพิ่มขึ้นอัตราเฉลี่ย 24 บาท/คน/วัน ในภาพรวม ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้

ขนาดของโรงเรียน (จำแนกตามจำนวนนักเรียน)          อัตราค่าอาหารกลางวัน (บาท/คน/วัน)
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1 - 40 คน          36
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41 - 100 คน          27
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101 - 120 คน           24
โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 121 คนขึ้นไป          22

โดยให้ ศธ. เนินการตามความเห็นสำนักงบประมาณต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

ศธ. รายงานว่า

1. ตามที่รัฐบาลได้จัดให้มีโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา เพื่อแก้ปัญหาการขาดสารอาหารและภาวะทุพโภชนาการในเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนประถมศึกษา 5 สังกัด [ได้แก่ (1) โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) (2) โรงเรียนและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัด อปท. (รวมทั้งที่จัดตั้งขึ้นเองและรับถ่ายโอน) (3) โรงเรียนสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) (4) สถานศึกษาสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) (ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนบนพื้นที่ราบสูง) และ (5) สถานศึกษาสังกัดกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ] โดยจัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวันผ่านกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) (ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542) ซึ่ง สถ. ได้จัดตั้งและจัดสรรงบประมาณมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ปรับอัตราค่าอาหารกลางวันของนักเรียนทุกคนตั้งแต่เด็กเล็กถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากอัตรา 20 บาท/คน/วัน เป็นอัตรา 21 บาท/คน/วัน (โดยใช้หลักวิธีการหาค่าเฉลี่ยของอัตราตามจำนวนนักเรียน) ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2564)

                    2. ต่อมา ศธ. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา เรื่อง ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน โดยขออนุมัติเป็นหลักการให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียนระดับชั้นเด็กเล็กถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จากอัตรา 21 บาท/คน/วัน เป็นอัตรา 28 บาท/คน/วัน เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น สามารถแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการของนักเรียน (ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2565 เป็นต้นไป) ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติ                (6 กันยายน 2565) เห็นชอบให้เลื่อนการพิจารณาเรื่อง ขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน ออกไปก่อน
                    3. ศธ. (สพฐ.) จึงได้จัดประชุมหารือแนวทางการปรับค่าอาหารกลางวันของนักเรียน (20 กันยายน 2565) ผ่านโปรแกรม Zoom Cloud Meetings ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)                (กรมอนามัย) สงป. เพื่อหาข้อสรุปของแนวทางการขอปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียนที่เหมาะสม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้ปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันอัตราตามขนาดของโรงเรียนในอัตราเฉลี่ย 24 บาท/คน/วัน ในภาพรวม โดยให้มีการกำหนดโครงสร้างอัตราตามขนาดโรงเรียนเป็น 4 ระดับ โดยการประชุมดังกล่าว     มีประเด็นต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้
                              3.1 ในการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียน ควรคำนึงถึงปริมาณสารอาหาร               ที่นักเรียนควรได้รับให้ครบถ้วนตามหลักโภชนาการ เพื่อที่จะสามารถแก้ปัญหาภาวะทุพโภชนาการและนักเรียนสามารถเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งต้องสอดคล้องกับหลักการของการจัดสรรงบประมาณที่คุ้มค่า และควรมีระยะเวลาที่เหมาะสมหากจะมีการปรับในครั้งต่อไป ทั้งนี้ อาจมีการจัดทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันเพื่อให้เกิดแนวทางเดียวกันในการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันในครั้งต่อไป

3.2 การปรับเพิ่มอัตราค่าอาหารกลางวันตามขนาดของโรงเรียนจะช่วยแก้ปัญหาโรงเรียนขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี โดยควรกำหนดเกณฑ์ในการแบ่งขนาดของโรงเรียนให้ชัดเจนว่าใช้หลักเกณฑ์ใดเพื่อให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้สะดวก ซึ่ง สพฐ. ได้กำหนดขนาดของโรงเรียนขนาดเล็กไว้คือ โรงเรียนที่มีนักเรียนน้อยกว่า 120 คน เนื่องจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50 เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ซึ่งหากปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันเป็นอัตราตามขนาดของโรงเรียนจะช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของโรงเรียนขนาดเล็กได้เป็นอย่างดี เนื่องจากปัจจุบันโรงเรียนขนาดเล็กที่มีนักเรียนน้อยจะได้รับงบประมาณน้อย ซึ่งไม่เพียงพอต่อการบริหารจัดการงบประมาณทำให้นักเรียนได้รับสารอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการ ในขณะที่โรงเรียนขนาดใหญ่จะสามารถดำเนินงานภายใต้งบประมาณที่ได้รับจัดสรรได้

                              3.3 การปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียนเป็นอัตราตามขนาดของโรงเรียนมีฐาน               ในการคำนวณ ดังนี้
                                        3.3.1 เมื่อมีนักเรียนมากขึ้น การซื้อวัตถุดิบในปริมาณมากจะทำให้ได้ราคาที่ถูกลง ซึ่งสามารถนำเงินค่าวัตถุดิบเหลือมาใช้เป็นค่าบริหารจัดการได้ โดยโรงเรียนแต่ละขนาดจะมีอัตราค่าวัตถุดิบและ             ค่าบริหารจัดการ ดังนี้
หน่วย : บาท
ขนาดของโรงเรียน          ค่าวัตถุดิบ          ค่าบริหารจัดการ          รวม
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 1 - 40 คน          23          13          36
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 41 - 100 คน          23          4          27
โรงเรียนที่มีจำนวนนักเรียน 101 - 120 คน          23          1          24
โรงเรียนที่มีนักเรียน 121 คนขึ้นไป          22          0          22
หมายเหตุ : ค่าบริหารจัดการ เช่น ค่าเครื่องปรุงอาหาร ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าจ้างแรงงานแม่ครัวประกอบอาหาร เป็นต้น โดยเพิ่มขึ้นจากจำนวนนักเรียนที่เพิ่มขึ้น

3.3.2 ปรับเมนูอาหารที่มีความหลากหลาย เน้นผัก ผลไม้ในท้องถิ่นและตามฤดูกาลเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สามารถซื้อวัตถุดิบได้ในราคาที่ถูกลง ทำให้มีงบประมาณเหลือมาใช้สำหรับเป็นค่าบริหารจัดการได้

3.3.3 สถานศึกษาจัดอาหารกลางวันของแต่ละสัปดาห์ตามหลักโภชนาการที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ และควรวางแผนการจัดเมนูอาหารกลางวันล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน

                    4. การขอปรับค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็กถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6               ทุกสังกัด จำนวน 51,058 โรงเรียน จำนวนนักเรียน 5,912,520 คน (ข้อมูลปีการศึกษา 2565 ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2565) ตามขนาดโรงเรียน จำนวน 200 วัน (นับเฉพาะวันที่มีการเรียนการสอนที่โรงเรียน) สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
ช่วงจำนวน
นักเรียน (คน)
(1)          จำนวน
นักเรียน (คน)
(2)          งบประมาณในอัตรา 21 บาท/คน/วัน
(3) = (2) x 21 บาท x 200 วัน          อัตราที่
ขอปรับเพิ่ม
(4)           งบประมาณ
ทั้งหมด
(5) = (2)x(4)x200 วัน          งบประมาณ
ที่เพิ่มขึ้น
(6)=(5)-(3)
1 - 40          403,768          1,695.83          36          2,907.13          1,211.30
41 - 100          1,126,246          4,730.23          27          6,081.73          1,351.50
101 - 120          234,949          986.79          24          1,127.76          140.97
121 ขึ้นไป          4,147,557          17,419.74          22          18,249.25          829.51
รวม          5,912,520          24,832.59                    28,365.87          3,533.28
จากตารางข้างต้นคาดว่าจะใช้งบประมาณในการดำเนินโครงการฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพิ่มขึ้น จำนวน 3,533.28 ล้านบาท โดย ศธ. จะดำเนินการขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นต่อไป และจะดำเนินการตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีรายการค่าใช้จ่ายค่าอาหารกลางวันของนักเรียนตามอัตราดังกล่าว ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป

ทั้งนี้ สำนักงบประมาณพิจารณาแล้วมีความเห็นสรุปได้ ดังนี้

1) เห็นชอบในหลักการของการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันของนักเรียนในอัตราตามขนาดของโรงเรียน ตามที่ ศธ. เสนอ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้รับจัดสรรงบประมาณเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียนปรับมาใช้อัตราดังกล่าวด้วย เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และบริหารจัดการให้สอดคล้องกับขนาดของโรงเรียนและจำนวนนักเรียนในขั้นตอนการบริหารงบประมาณอย่างเหมาะสมด้วย

2) สำหรับค่าใช้จ่ายที่อาจจะเพิ่มขึ้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เห็นควรให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายที่ได้รับการจัดสรรไว้แล้ว หรือพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ โดยคำนึงถึงความครอบคลุมของทุกแหล่งเงินเป็นลำดับแรกก่อน หากไม่เพียงพอและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการก็ให้เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเท่าที่จำเป็นและเหมาะสม

3) สำหรับในปีงบประมาณต่อ ๆ ไป ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอขอตั้งงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป โดยคำนึงถึงการนำเงินนอกงบประมาณมาสมทบ ตลอดจนการกำหนดแนวทางการบริหารโครงการอาหารกลางวันเพื่อให้นักเรียนได้รับประทานอาหารกลางวันที่มีคุณภาพทางโภชนาการตามมาตรฐานสากล ปลอดภัย และมีการวางแผนการผลิตทางการเกษตร ตลอดจนให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในทุกมิติ สำหรับการสนับสนุนโครงการดังกล่าวด้วย

7. เรื่อง รายงานความคืบหน้าโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์

คณะรัฐมนตรีรับทราบความคืบหน้าโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้

สาระสำคัญของเรื่อง

อก. รายงานว่า

1. คณะกรรมการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์1ได้กำหนดให้มีการดำเนินการในระยะยาวเพื่อแก้ไขปัญหาผู้ต้องขังล้นเรือนจำและส่งเสริมให้นิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์เกิดขึ้นจริง โดยมอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)คัดเลือกผู้พัฒนาโครงการที่มีความเหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ซึ่งต่อมา กนอ. ได้เชิญชวนให้เอกชนเสนอพื้นที่เพื่อจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่เป้าหมาย 5 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสมุทรสาคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ในรูปแบบร่วมดำเนินงานกับ กนอ. ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม โดยมีภาคเอกชน 1 ราย เสนอโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร พื้นที่โครงการประมาณ 4,131-3-35.01 ไร่ ในท้องที่ ตำบลกาหลง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร

                      2. อก. ได้ตรวจสอบความเหมาะสมในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาครพบว่า พื้นที่                ตั้งโครงการฯ อยู่ในเขตผังเมืองรวมจังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2560 ซึ่งถูกกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (เขตสีเขียว)2 และที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว)3 กนอ. จึงให้บริษัทเอกชนดังกล่าวดำเนินการขอแก้ไขการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่โครงการให้สอดคล้องกับการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและประกอบอุตสาหกรรม

3. อก. ได้ขอให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรสาครพิจารณากำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่จะจัดตั้งโครงการฯ เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (เขตสีม่วง)4 เพื่อ อก. จะได้ดำเนินการตามขั้นตอนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมต่อไปซึ่งสำนักงานฯ แจ้งว่า ได้แจ้งเรื่องดังกล่าวให้เทศบาลนครสมุทรสาครดำเนินการ ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการวางและจัดทำผังเมืองรวมเมืองสมุทรสาคร (ปรับปรุงครั้งที่ 3) เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณากำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (เขตสีม่วง) ต่อมา อก. ได้ขอให้สำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดสมุทรสาครเร่งการพิจารณาการกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินดังกล่าวโดยด่วน เนื่องจากได้มีการเตรียมความพร้อมของโครงการตามหลักเกณฑ์การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมและได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) แล้ว

                    นอกจากนี้ อก. ได้จัดส่งข้อมูลเพื่อประกอบการดำเนินการและจัดทำผังเมืองรวมที่เสร็จเรียบร้อยแล้วให้เทศบาลนครสมุทรสาคร ประกอบด้วย ข้อมูลการศึกษารายละเอียดของโครงการนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาคร ข้อมูลการกำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในเบื้องต้น โดยเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพเป็นปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจ (New-Growth Engine) ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดิม (First S-Curve) และกลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ (New S-Curve) ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร อุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่ใช้                       ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง และข้อมูลการออกแบบผังแม่บทและระบบสาธารณูปโภค
                    ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ ได้มีภาคเอกชนเสนอพื้นที่เพื่อ                     ขอจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาครเป็นพื้นที่นำร่องภายใต้แนวคิดโครงการนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ และกำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้กับประเทศตามแนวนโยบายของรัฐบาลแล้ว รวมทั้งมีการเตรียมความพร้อมโดยประเมินความเพียงพอของสาธารณูปโภค ผลกระทบจากโครงการ และออกแบบผังแม่บทระบบสาธารณูปโภค ต่าง ๆ ของนิคมอุตสาหกรรมเพื่อรองรับการประกอบกิจการด้วยแล้ว อย่างไรก็ตาม                การอนุมัติจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมจะต้องสอดคล้องและไม่ขัดกับกฎหมายการผังเมืองและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น การดำเนินการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินพื้นที่ที่จัดตั้งโครงการนิคมอุตสาหกรรมทรัพย์สาครให้เป็นที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (เขตสีม่วง) จึงเป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จของการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมดังกล่าว
1 คณะกรรมการส่งเสริมการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมราชทัณฑ์ แต่งตั้งตามประกาศกระทรวงยุติธรรม ที่ 328/2564 ลงวันที่ 6 ตุลาคม 2564 โดยมีปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธานกรรมการ
2 ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (เขตเขียว) มีวัตถุประสงค์เพื่อเกษตรกรรม การสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติและการส่งเสริมเศรษฐกิจการเกษตร โดยห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินในบางกิจการ เช่น โรงงาน คลังสินค้า คลังน้ำมัน และสถานี่บรรจุก๊าซ
3 ที่ดินประเภทอนุรักษ์ชนบทและเกษตรกรรม (เขตสีขาวมีกรอบและเส้นทแยงสีเขียว) มีวัตถุประสงค์เพื่อการสงวนรักษาสภาพทางธรรมชาติของพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรมในบริเวณที่มีข้อจำกัดด้านการระบายน้ำและมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย โดยห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินในบางกิจการ เช่น โรงงาน คลังสินค้า โรงแรม ที่อยู่อาศัยประเภทบ้านแฝด ตึกแถว และอาคารที่อยู่อาศัยรวม
4 ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมและคลังสินค้า (เขตสีม่วง) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแหล่งการจ้างงาน ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค การเก็บรักษาผลผลิตและสินค้าที่เกิดการใช้ประโยชน์และส่งเสริมเศรษฐกิจของเมือง โดยห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่อาจได้รับอันตรายจากอุตสาหกรรม เช่น สถานที่บรรจุก๊าซ โรงแรม               โรงมหรสพ และสถานศึกษา

8. เรื่อง รายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมประจำเดือนสิงหาคม 2565 ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญ
                    ภาวะเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2565 เมื่อพิจารณาจากดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ขยายตัวร้อยละ 14.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากอานิสงส์ของฐานต่ำในปีก่อนซึ่งเป็นช่วงที่มีการระบาดค่อนข้างรุนแรง รวมถึงในปีนี้กิจกรรมทางเศรษฐกิจในประเทศยังคงทยอยปรับตัวดีขึ้นตามสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่คลี่คลายจนเกือบเป็นปกติ
                    อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลให้ MPI เดือนสิงหาคม 2565 ขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน คือ
                    1. ยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 63.37 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก              จากฐานต่ำในปีก่อนเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แรงงานติดเชื้อจำนวนมาก โรงงานผลิตชิ้นส่วนหลายโรงงานต้องปิดชั่วคราวและมีการล็อกดาวน์ในบางพื้นที่
                    2. การกลั่นปิโตรเลียม ขยายตัวร้อยละ 17.6 ตามการฟื้นตัวของกิจกรรมเศรษฐกิจในประเทศหลังการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงการขยายตัวของการท่องเที่ยวในประเทศ ผู้คนเดินทางและขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น ต่างจากปีก่อนที่มีการแพร่ระบาดค่อนข้างรุนแรง
                    3. เครื่องปรับอากาศและชิ้นส่วน ขยายตัวร้อยละ 54.62 เนื่องจากฐานต่ำในปีก่อนจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้แรงงานติดเชื้อเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้การผลิตทำได้ไม่เต็มที่และในปีนี้มีการผลิต               เพื่อรองรับตลาดส่งออกที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า รวมถึงมีการเร่งผลิตเพื่อส่งมอบสำหรับรองรับงานแสดงสินค้าที่จัดขึ้นในเดือนกันยายน 2565
                    4. ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวร้อยละ 15.61 ขยายตัวตามตลาดชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์โลก โดยในปัจจุบันชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เป็นชิ้นส่วนสำคัญสำหรับใช้ในการผลิตสินค้าในหลายอุตสาหกรรม
                    5. รถจักรยานยนต์ ขยายตัวร้อยละ 131.01 ตามการขยายตัวของทั้งตลาดในประเทศและตลาดส่งออก จากฐานต่ำหลังการระบาดรุนแรงในปีก่อน ส่งผลให้ในปีก่อนมีการขาดแคลนชิ้นส่วน เนื่องจากแรงงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วนติดเชื้อโควิด-19 เป็นจำนวนมาก ทำให้การผลิตรถจักรยานยนต์ทำได้ไม่เต็มที่

          ต่างประเทศ
9. เรื่อง           สรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers
Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง  ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
                    สาระสำคัญ
              การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2565                     ณ โรงแรมเลอเมอริเดียน เชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. รูปแบบการประชุมเป็นแบบผสมผสาน ดังนี้ 1) เขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุม
ในรูปแบบพบปะกัน (Physical Meeting) จำนวน 19 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ชิลี จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม และ 2) เขตเศรษฐกิจที่เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Virtual Meeting) จำนวน 1 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ บรูไน ทั้งนี้ เขตเศรษฐกิจฮ่องกงแจ้งว่าไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้
                    2. การประชุมเตรียมการสำหรับการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) โดยมีการพิจารณาร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่? เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปค ด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5                      (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) ดังนี้
                                        2.1 เอกสารร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่? กล่าวถึง ผลสำเร็จของการดำเนินงานด้านป่าไม้ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยกำหนดเป้าหมายความสำเร็จในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ 27.9 ล้านเฮกตาร์ รวมไปถึงการดำเนินการต่อต้านการลักลอบตัดไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง ส่งเสริมการค้าผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่มีการเก็บเกี่ยวจากป่าอย่างถูกกฎหมาย การแสดงเจตจำนงที่จะดำเนินการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ป่าไม้ และการฟื้นฟูป่า รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือในการต่อต้านการตัดไม้อย่างผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง โดยร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อสนับสนุนอนุสัญญาและพันธกรณีที่เกี่ยวข้องกับป่าไม้ พร้อมทั้งส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model : BCG Model) เพื่อส่งเสริมการค้าและผลิตภัณฑ์ที่มาจากไม้ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
                                        2.2 ที่ประชุมไม่สามารถหาฉันทามติต่อร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่? ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นของการใช้ถ้อยคำ ?Peace? ที่ปรากฏอยู่ในย่อหน้าที่ 2 ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการเสริมสร้างความร่วมมือด้านป่าไม้ในกรอบเอเปคในอนาคต จึงได้มีการปรับเปลี่ยนผลลัพธ์การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 เป็นรูปแบบร่างถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 เพื่อสะท้อนประเด็นที่ที่ประชุมสามารถตกลงกันได้ ทั้งนี้ ร่างถ้อยแถลงประธานการประชุมดังกล่าวได้มีการแจ้งเวียนให้เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ทราบแล้ว ผ่านทางสำนักงานเลขาธิการเอเปคในเบื้องต้น
                    3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (นายวราวุธ  ศิลปอาชา) ในฐานะประธานการประชุมกล่าวถ้อยแถลงประธานต่อที่ประชุม โดยได้เน้นย้ำการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ปุตราจายา ค.ศ. 2040 ของเอเปค (APEC Putrajaya Vision 2040) ผ่านแผนปฏิบัติการ ?เอาทีอารอ? (Aotearoa Plan of Action) ในปี ค.ศ. 2022 พร้อมได้กล่าวชื่นชมความร่วมมือของทุกประเทศที่ช่วยกันดำเนินการจนบรรลุเป้าหมาย APEC 2020 ในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ 27.9 ล้านเฮกตาร์ ภายในปี ค.ศ. 2020 นอกจากนี้ ยังได้เรียกร้องให้ที่ประชุมร่วมกันพิจารณา การดำเนินงานตามพันธกรณีของเอเปคเกี่ยวกับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การอนุรักษ์ป่าและฟื้นฟูป่า การลดการสูญเสียพื้นที่ป่า การเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่สีเขียวในเขตเมือง การต่อสู้กับการตัดไม้อย่างผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้องผ่านการจัดตั้งและดำเนินการเชิงนโยบายของแต่ละประเทศ การสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ส่งเสริมความร่วมมือพหุภาคีเพื่อเสริมบทบาทในการค้าระหว่างประเทศของผลิตภัณฑ์ป่าไม้ การแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงพัฒนาเทคโนโลยีและถ่ายทอดเทคโนโลยีโดยสมัครใจ การบูรณาการเพื่อการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนเพื่อแก้ไขปัญหาด้านภาพอากาศ รวมทั้งการบรรเทาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการประยุกต์ใช้แนวทางแบบองค์รวมภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model : BCG Model) โดยการประชุมดังกล่าว มีวาระสำคัญ 2 วาระ สรุปได้ดังนี้
                                                  วาระที่ 1 ?Balance in all aspects: Sustainability through managing forest resources? โดยมี David J. Ganz, Ph.D. ผู้อำนวยการศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (The Center for People and Forests : RECOFTC) เป็นผู้นำเสนอในประเด็นการจัดการป่าไม้เพื่อการฟื้นฟูและความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวมอย่างยั่งยืนและครอบคลุม และการกล่าวถ้อยแถลงของเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูป่า การป้องกันรักษาป่า การเพิ่มพื้นที่ป่า ตลอดจนนโยบายและกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืนของเขตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ความสำคัญของป่าไม้ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
                                                  วาระที่ 2 ?Balance in all aspects: Trade of legally harvested forest products? โดยมี Sheam Satkuru ผู้อำนวยการองค์การไม้เขตร้อนระหว่างประเทศ (ITTO) เป็นผู้นำเสนอในประเด็นการส่งเสริมความถูกต้องตามกฎหมายและการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน และการกล่าวถ้อยแถลงของเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ที่ให้ความสำคัญต่อความถูกต้องตามกฎหมายของไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ รวมถึงการส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมายในภูมิภาค และการป้องกันการทำไม้ผิดกฎหมาย นอกจากนี้ เขตเศรษฐกิจต่าง ๆ ยังได้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานในการป้องกันการลักลอบการตัดไม้ที่ผิดกฎหมาย ทั้งในรูปแบบของนโยบายการประยุกต์เทคโนโลยี และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประยุกต์ เป็นต้น
                    4. การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการค้าไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง (Meeting of Expert Group on Illegal Logging and Associated Trade : EGILAT) โดยแบ่งการประชุมออกเป็น 2 ครั้ง              ก่อนการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5  ได้แก่ การประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการค้าไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 21 (EGILAT 21) ระหว่างวันที่ 14 - 15 กุมภาพันธ์ 2565 และการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการต่อต้านการค้าไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าอื่นที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 22 (EGILAT 22) ระหว่างวันที่ 21 - 22 สิงหาคม 2565 โดยมีสาระสำคัญของการประชุมทั้ง 2 ครั้ง สรุปได้ ดังนี้
                              4.1 การติดตามผลการดำเนินงานตามนโยบาย EGILAT Policy Theme 2019 ? 2021 และการจัดทำนโยบายระยะ 2 ปี ต่อไป (EGILAT next two-year policy) ภายใต้หัวข้อนโยบาย Advancing the trade and distribution of legally harvested forest products: Navigating to legal timber
          4.2 การดำเนินงานด้านการกำจัดการทำไม้ที่ผิดกฎหมายและการส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมาย ประเทศไทย โดยกรมป่าไม้ได้แก้ไข พ.ร.บ. ป่าไม้ (ฉบับที่ 8) พ.ศ. 2562 ซึ่งส่งเสริมให้มีการปลูกสร้างสวนป่าภาคเอกชนเพิ่มขึ้น จากการยกเลิกมาตรา 7 รวมถึงการออกหนังสือรับรองไม้ ผลิตภัณฑ์ไม้และถ่านไม้เพื่อการค้าหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักร
                                                  4.3 การติดตามความก้าวหน้าที่เกี่ยวกับการจัดทำ Timber Legality Guidance Template และ Law Enforcement Contact Point ประเทศไทย โดยกรมป่าไม้ได้ประสานดำเนินการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น ITTO, WRI, และ APFNet เป็นต้น เกี่ยวกับการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการทำไม้ที่ผิดกฎหมายและการส่งเสริมการค้าไม้ที่ถูกกฎหมายของหน่วยงานดังกล่าว ทั้งนี้ ประเทศไทย โดยกรมป่าไม้ได้จัดทำ Timber Legality Guidance Template for Thailand ให้กับสำนักงานเลขาธิการเอเปค เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน รวมถึงได้แจ้งรายชื่อ Law Enforcement Contact Point ให้กับที่ประชุมเพื่อโปรดทราบใช้เป็นข้อมูลในการติดต่อประสานงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ของไทยต่อไป
                                                  4.4 การจัดทำนโยบาย EGILAT Policy Theme II ภายใต้หัวข้อหลัก Advancing the trade and distribution of legally harvested forest products: Navigating to legal timber พร้อมได้เสนอโครงการเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานเลขานุการเอเปค จำนวน 2 โครงการ ได้แก่ APEC Project EGILAT 01 2022 ?Advancing the Trade and Distribution of Legally Harvested Forest Products: Navigating to Legal Timber? โดยมีสหรัฐอเมริกา เป็นผู้ดำเนินการหลัก และ APEC Project EGILAT 02 2022 ?Developing integrated Timber Data to Enhance Legal Timber Trade of the APEC through Xylaria Networking? โดยมีสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เป็นผู้ดำเนินการหลัก สำหรับประเทศไทยได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ
                                        4.5 การรับรอง EGILAT Strategic Plan 2023 ? 2026 เพื่อเสนอต่อไปยัง The APEC Senior Official?s Meeting (SOM) Steering Committee on Economic and Technical Cooperation (SCE) เพื่อพิจารณาให้การรับรองต่อไป
                    5. ผลลัพธ์การประชุม
                                        ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่?
ไม่สามารถมีฉันทามติรับรองจากที่ประชุม เนื่องจาก สถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศที่ยังไม่สงบ
ทำให้หลายเขตเศรษฐกิจไม่รับรองร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่? ดังกล่าว โดยได้ขอปรับเปลี่ยนข้อความของเอกสารผลลัพธ์การประชุม ในรูปแบบของถ้อยแถลงประธาน
การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ดังนี้
                                        5.1 ตัดข้อความในย่อหน้าที่ 2 ออกทั้งหมด เนื่องจากปรากฏข้อความที่ไม่ได้รับฉันทามติใน (ร่าง) ถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 ?ถ้อยแถลงเชียงใหม่?
                                        5.2 เพิ่มเติมข้อความในย่อหน้าที่ 3 เพื่อเน้นย้ำวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. 2040 (APEC Putrajaya Vision 2040) ที่ทุกเขตเศรษฐกิจได้ให้การรับรองแล้ว
                                        5.3 ปรับปรุงข้อความในย่อหน้าที่ 4 เพื่อเชื่อมโยงแผนปฏิบัติการ ?เอาทีอารอ? (Aotearoa Plan of Action) รวมไว้กับย่อหน้าที่ 5 ในการส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน และการกำจัดการทำไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง
                                        สำหรับบทเปลี่ยนผ่าน (Transition Paragraph(s)) เป็นการปรับปรุงถ้อยคำเพื่อให้สะท้อนประเด็นที่ที่ประชุมตกลงกันได้ให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ตารางเปรียบเทียบประเด็นเอกสารผลลัพธ์การประชุม ฉบับที่เสนอคณะรัฐมนตรีเห็นชอบกับฉบับที่รับรองในการประชุม อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนหรือระบุเพิ่มเติมจากเอกสารผลลัพธ์ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 ไม่ขัดต่อเนื้อหาและหลักการที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี อีกทั้ง ยังคงสอดคล้องกับแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ และยังเป็นการกำหนดแนวทางและเป้าหมายการดำเนินงานที่เขตเศรษฐกิจทุกเขตให้การรับรองและเห็นชอบร่วมกันแล้ว จึงไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายและทิศทางการดำเนินงานแต่อย่างใด และสอดคล้องกับความเห็นของกระทรวงการต่างประเทศที่เสนอแนวทาง การพิจารณาปรับปรุงรายละเอียดผลลัพธ์การประชุม
                              6. ประโยชน์ที่ประเทศไทยได้รับจากการประชุม
                                                  การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 (The Fifth APEC Meeting of Ministers Responsible for Forestry : MMRF5) และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ส่งผลประโยชน์เชิงบวกต่อประเทศไทยเป็นอย่างมาก กล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
                                                  6.1 การแสดงบทบาทความเป็นผู้นำที่ชัดเจนของประเทศไทยด้านการบริหารจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน รวมถึง การแสดงศักยภาพในการดำเนินการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้และพื้นที่สีเขียวในทุกมิติ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานทรัพยากรต้นทุนด้านป่าไม้ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง และการปฏิบัติการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้และฟื้นฟูระบบนิเวศป่าไม้ของประเทศ
                                                  6.2 การเรียกร้องเขตเศรษฐกิจทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ ให้มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการป่าไม้ ซึ่งช่วยสร้างประโยชน์และโอกาสให้กับประเทศไทยในการพัฒนางานด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูป่าไม้ของประเทศ นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้แต่ละเขตเศรษฐกิจมีช่องทางในการสนับสนุนงบประมาณแก่ประเทศสมาชิกในการดำเนินงานอีกด้วย
                                                  6.3 การรับรองถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้งที่ 5 สามารถช่วยให้ทุกเขตเศรษฐกิจสามารถใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการป่าไม้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้ง ยังช่วยยกระดับการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. 2040 (APEC Putrajaya Vision 2040) และแผนปฏิบัติการ ?เอาทีอารอ? (Aotearoa Plan of Action) ทำให้ผลการดำเนินงานภาพรวมของเขตเศรษฐกิจทั้ง 21 เขต บรรลุเป้าหมายได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงประเทศไทยด้วยเช่นกัน
                                                  6.4 การประชุมรัฐมนตรีเอเปคด้านป่าไม้ ครั้ง 5 สามารถสะท้อนหัวข้อหลักในการเป็นเจ้าภาพเอเปค ?Open Connect Balance? ทุกหัวข้อได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ สามารถยกเป็นต้นแบบการปฏิบัติที่ดีให้กับการดำเนินงานด้านอื่น โดยแสดงในภาพรวมของการดำเนินงานภายใต้บทบาทผู้นำของประเทศไทย ในคราวการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (The Asia-Pacific Economic Cooperation : APEC) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน 2565

10. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และเห็นชอบสั่งการหน่วยงานที่มีภารกิจเกี่ยวเนื่องตามนัยสรุปประเด็นสำคัญสำหรับการติดตามผลการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน เพื่อนำไปปฏิบัติและติดตามความคืบหน้าต่อไป ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ และให้ กต. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กต. รายงานว่า
                    1. เมื่อวันที่ 2 - 5 สิงหาคม 2565 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ได้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา 11 ประเทศ/องค์กร                  (2) การประชุมคณะกรรมาธิการสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (3) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนกับคณะกรรมาธิการระหว่างรัฐบาลอาเซียนว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (4) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม (5) การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก และ                (6) การประชุม ARF รวมทั้งเข้าร่วมกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ การเยี่ยมควรวะนายกรัฐมนตรีกัมพูชาโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน พิธีเปิดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 พิธีลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC ของเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และพิธีมอบรางวัลอาเซียน ประจำปี 2564 ณ กรุงพนมเปญ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการหารือฯ
1.1 ภาพรวมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55          (1) การสร้างประชาคมอาเซียน
          (1.1) ที่ประชุมสนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูตัวอย่างยั่งยืนและเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาท้าทายในอนาคตร่วมกัน ตามหัวข้อหลัก ?ASEAN A.C.T. : Addressing Challenges Together? ในการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 รวมทั้งการส่งเสริมการประสานงานของกลไกอาเซียนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติในอนาคตให้มีประสิทธิภาพตามข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวมเพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียนของเนอการาบรูไนดารุสซาลาม การดำเนินการตามแผนงานประชาคมอาเซียนของทั้งสามเสา1 อย่างสมบูรณ์ การปฏิบัติตามพันธกรณีวาระสตรี สันติภาพ และความมั่นคง และการเตรียมความพร้อมเพื่อร่วมมือกับประเทศที่จะเป็นที่ตั้งสำนักงานของศูนย์อาเซียนด้านการรับมือกับภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุขและโรคอุบัติใหม่ (ASEAN Centre for Public Health Emergencies and Emerging Diseases: ACPHEED) ได้แก่ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และไทย โดยไทยจะเป็นที่ตั้งสำนักงานเลขาธิการศูนย์ ACPHEED ด้วย
          (1.2) ที่ประชุมรับรองเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม จำนวน 11 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 55 2) แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความสัมพันธ์คู่เจรจาอาเซียน-สหราชอาณาจักร ค.ศ. 2022-2026               3) แผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการตามความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน-สหภาพยุโรป ค.ศ. 2023-2027 4) ภาคผนวก เอ-ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านอาเซียน-ออสเตรเลีย 5) ภาคผนวกของแผนปฏิบัติการอาเซียน-จีน ค.ศ. 2021-2025 : ขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านอาเซียน-จีน 6) แผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสาม ค.ศ. 2023-2027 7) แผนปฏิบัติการเพื่อเสริมสร้างการดำเนินการตามสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2023-2027 8) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งผ่านการทูตเชิงป้องกัน 9) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อสนับสนุน               การธำรงไว้ซึ่งเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 10) แผนงานของ            การประชุม ARF ว่าด้วยความมั่นคงทางทะเล ค.ศ. 2022-2026 และ 11) กรอบงาน      การประชุม ARF เรื่องกระบวนการที่ครอบคลุมสำหรับวาระสตรีฯ (ทั้งนี้ ที่ประชุมไม่ได้มีการรับรองร่างแผนปฏิบัติการการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ค.ศ. 2023-2027 ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 เนื่องจากยังไม่ได้ข้อสรุปของร่างแผนดังกล่าว)2
(2) ไทยได้ผลักดันความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในฐานะผู้ประสานงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอาเซียน รวมทั้งเน้นย้ำความเป็นหนึ่งเดียวกันของอาเซียน และการเสริมสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจผ่านการมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาท้าทายต่าง ๆ ตลอดจนผลักดันการมีท่าทีของอาเซียนร่วมกันต่อสถานการณ์ความมั่นคงระหว่างประเทศ
(3) ที่ประชุมเห็นชอบการเสนอชื่อรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรีกัมพูชา (ดร. เกา                กิม ฮวน) ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียนคนใหม่ ต่อจาก ดาโต๊ะ ปาดูกา ลิม จ็อก ฮอย จากบรูไนฯ ซึ่งจะครบวาระในสิ้นปีนี้ และเห็นชอบการเป็นผู้สมัครของอาเซียนของไทยเพื่อรับเลือกตั้งในตำแหน่งสมาชิกคณะมนตรีสิทธิมนุษยชน                                  แห่งสหประชาชาติ วาระปี ค.ศ. 2025-2027 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
1.2 ประเด็นด้านความมั่นคงในภูมิภาคและระหว่างประเทศ          (1) สถานการณ์ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา
          (1.1) ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อการประหารชีวิตนักเคลื่อนไหวฝ่ายค้าน 4 คน และการปฏิบัติตามฉันทามติ 5 ข้อ3 ที่ยังไม่มีความคืบหน้ามากนักและหลายประเทศต้องการให้มีมาตรการกดดันที่เข้มข้นยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการนำข้อตัดสินใจที่จะไม่เชิญผู้แทนเมียนมาระดับการเมืองเข้าร่วมการประชุมอาเซียนไปใช้ให้ครอบคลุมทุกกรอบ และเสนอให้ผู้แทนพิเศษของประธานอาเซียนเรื่องเมียนมาเริ่มการติดต่อกับรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government: NUG) อย่างเปิดเผยและเป็นทางการ
          (1.2) ไทย กัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวย้ำว่าปัญหาในเมียนมามีความซับซ้อน ทั้งจากเหตุผลทางประวัติศาสตร์ กลุ่มชาติพันธุ์ รวมทั้งความขัดแย้งระหว่างฝ่ายทหาร พลเรือน และกองกำลังชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่หยั่งรากลึกนานกว่า 70 ปี จึงไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น และต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน การกีดกันเมียนมาไม่ให้เข้าร่วมการประชุมอาเซียนจึงจะไม่ช่วยแก้ไขปัญหา และจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสภาบริหารแห่งรัฐ (State Administration Council: SAC) ต่อไป ในขณะที่การติดต่อกับ NUG ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ และระมัดระวังเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อความไว้เนื้อเชื่อใจของ SAC อย่างไรก็ดี ที่ประชุมไม่สามารถหาฉันทามติได้ และเห็นควรเสนอให้ผู้นำพิจารณามีข้อตัดสินใจต่อไป
(2) สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวัน ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ผิดพลาด โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ออกถ้อยแถลงร่วม เรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจและย้ำท่าทีสนับสนุนนโยบายจีนเดียว
(3) สถานการณ์ในยูเครน ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์การสู้รบและผลกระทบด้านมนุษยธรรมและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน และสนับสนุนการเจรจา เพื่อแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี
(4) สถานการณ์ในทะเลจีนใต้ ที่ประชุมย้ำเสรีภาพในการเดินเรือและบินผ่านการแก้ไขข้อพิพาทโดยสันติวิธี การดำเนินการตามปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งจะมีการออกแถลงการณ์ฉลองวาระครบรอบ 20 ปี ในการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ปลายปีนี้ พร้อมทั้งสนับสนุนการเจรจาจัดทำประมวลการปฏิบัติในทะเลจีนใต้ที่ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทางทะเล ค.ศ. 1982
(5) สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลี ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อการทดสอบขีปนาวุธของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี (เกาหลีเหนือ) และสนับสนุนความพยายามทางการทูตเพื่อให้ทุกฝ่ายกลับสู่กระบวนการเจรจาเพื่อบรรลุเป้าหมายคาบสมุทรเกาหลีที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์ ทั้งนี้ สหรัฐอเมริกาและประเทศตะวันตกย้ำความจำเป็นที่จะต้องดำเนินมาตรการคว่ำบาตรเพื่อกดดันเกาหลีเหนือต่อไป ในขณะที่ญี่ปุ่นและสาธารณรัฐเกาหลีย้ำเรื่องของการแก้ไขปัญหาการลักพาตัว
1.3 ความสัมพันธ์กับประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอก          (1) ไทยได้ร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC โดยเดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (รวม 6 ฉบับ) ทำให้สนธิสัญญาฯ มีอัครภาคีรวม 49 ประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่การมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีและการดำเนินความร่วมมือในประเด็นที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกัน โดยในส่วนของยูเครนยังมิได้มีการลงนามตราสารฯ เนืองจากเมียนมายังดำเนินกระบวนการภายในไม่แล้วเสร็จ
(2) ที่ประชุมเห็นชอบคำขอเข้าเป็นคู่เจรจาเฉพาะสาขาของบราซิลและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
(3) ประเทศคู่เจรจาและภาคีภายนอกอื่น ๆ ได้แสดงความมุ่งมั่นที่จะขยายความร่วมมือกับอาเซียนและยืนยันการสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียน และได้แสดงท่าที                       ต่อสถานการณ์ที่กระทบต่อความมั่นคงโลก
(4) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอนฯ) ได้เป็นประธานการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น (ในฐานะประเทศผู้ประสานงานความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น) ร่วมกับรัฐมนตรีต่างประเทศญี่ปุ่น (นายฮายาชิ โยชิมาสะ) โดยที่ประชุมแสดงความยินดีที่อาเซียนบรรลุฉันทามติเรื่องการจัดตั้ง ACPHEED และเห็นชอบให้เสนอผู้นำพิจารณาข้อเสนอจัดการประชุมสุดยอดสมัยพิเศษเพื่อฉลองครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น ในปี 2566 โดยญี่ปุ่นประสงค์ให้มี                     การประชุมสุดยอดวาระปกติในปีเดียวกันด้วย
(5) ประเทศต่าง ๆ เน้นย้ำความสำคัญของระบบพหุภาคีที่ตั้งบนพื้นฐานของกฎกติกาความเป็นแกนกลางของอาเซียนในโครงสร้างสถาปัตยกรรมของภูมิภาคซึ่งเปิดกว้างและครอบคลุม รวมทั้งให้ความสำคัญกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) การเสริมสร้างขีดความสามารถในการรับมือกับความท้าทายด้านสาธารณสุข การพัฒนาวัคซีน การวิจัยและพัฒนา ตลอดจนประเด็น                  การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนผ่านไปสู่พลังงานสะอาด
1.4 พิธีมอบรางวัลอาเซียนประจำปี 2564           ไทยได้เข้าร่วมพิธีมอบรางวัลอาเซียนฯ และแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการบริหารสถาบันความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง (นายสุริยัน วิจิตรเลขการ) ซึ่งได้รับรางวัลดังกล่าวจากการส่งเสริมและสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับอาเซียน ตลอดจนสนับสนุนความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคที่ช่วยสนับสนุนประชาคมอาเซียนทั้งสามเสาหลัก รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมผ่านการพัฒนาขีดความสามารถ การศึกษา และการวิจัย ซึ่งช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และช่วยลดช่องว่างด้านการพัฒนาในอาเซียน
                    2. กต. พิจารณาแล้วเห็นว่า ผลการประชุมฯ มีประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับส่วนราชการต่าง ๆ เช่น
ประเด็น          การดำเนินการที่สำคัญ          หน่วยงานที่รับผิดชอบ
1. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศ ครั้งที่ 55
(1) การสร้างประชาคมอาเซียน          (1.1) สนับสนุนข้อริเริ่มของกัมพูชาในวาระการดำรงตำแหน่งประธานอาเซียน โดยเฉพาะการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการฟื้นตัวอย่างยั่งยืน และเตรียมพร้อมรับมือกับปัญหาท้าทายในอนาคตร่วมกัน ตามหัวข้อหลัก ?ASEAN A.C.T. : Addressing Challenges Together? ในการขับเคลื่อนการสร้างประชาคมอาเซียน การจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025          กต.
          (1.2) ส่งเสริมการประสานงานของกลไกอาเซียนในการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติในอนาคตให้มีประสิทธิภาพตามข้อริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์และองค์รวม เพื่อเชื่อมโยงการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินและภัยพิบัติของอาเซียนของบรูไนฯ          กต. กระทรวงมหาดไทย (มท.) และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
          (1.3) ส่งเสริมการดำเนินการตามแผนงานประชาคมอาเซียนของทั้ง 3 เสาอย่างสมบูรณ์          กต. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงพาณิชย์ (พณ.)
          (1.4) เตรียมความพร้อมเพื่อร่วมมือกับประเทศที่จะเป็นที่ตั้ง ACPHEED ได้แก่ เวียดนาม อินโดนีเซีย และไทย          กต. และ สธ.
(2) ความสัมพันธ์กับประเทศภายนอกภูมิภาค          เดนมาร์ก กรีซ เนเธอร์แลนด์ โอมาน กาตาร์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ลงนามตราสารภาคยานุวัติ TAC           กต.
(3) การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ในภูมิภาคและระหว่างประเทศ          (3.1) สถานการณ์ในเมียนมา ที่ประชุมไม่สามารถหาฉันทามติและเห็นควรเสนอให้ผู้นำพิจารณามีข้อตัดสินใจเกี่ยวกับการเข้าร่วมของผู้แทนเมียนมาในระดับการเมืองในการประชุมอาเซียนและการดำเนินการตามฉันทามติ 5 ข้อ ต่อไป          กต.
          (3.2) สถานการณ์ในช่องแคบไต้หวัน ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ความตึงเครียดที่อาจนำไปสู่การประเมินสถานการณ์ผิดพลาด โดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้ออกถ้อยแถลงร่วมเรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจ และย้ำท่าทีสนับสนุนนโยบายจีนเดียว          กต.
2. การประชุมคณะกรรมาธิการสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ทิศทางความร่วมมือ          ที่ประชุมมอบหมายให้คณะทำงานของคณะกรรมการบริหารสำหรับเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ฯ ดำเนินการหารือในประเด็นที่คั่งค้างของร่างข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ เรื่อง สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ฯ เพื่อนำส่งร่างข้อมติเชิงสารัตถะให้ที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ในปี 2566 พิจารณารับรองโดยฉันทามติ          กต.
3. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ญี่ปุ่น
(1) ภาพรวมความสัมพันธ์          ที่ประชุมสนับสนุนข้อเสนอของญี่ปุ่นในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ฯ ในปี 2566 และมีมติเสนอให้ผู้นำมีข้อตัดสินใจในเรื่องดังกล่าวในการประชุมสุดยอดอาเซียนต่อไป พร้อมทั้งได้ประกาศตราสัญลักษณ์และคำขวัญสำหรับใช้ในวาระการฉลองการครบรอบ 50 ปีความสัมพันธ์ฯ          กต.
(2) ความร่วมมือ
ด้านสาธารณสุข
และโรคโควิด-19          ที่ประชุมยินดีต่อการสนับสนุนของญี่ปุ่นในการรับมือกับโรคโควิด-19 ของอาเซียน ทั้งการสนับสนุนเวชภัณฑ์และวัคซีน ความร่วมมือทางวิชาการและความร่วมมือผ่านการปฏิบัติตามกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียน          กต. และ สธ.
(3) เศรษฐกิจ          ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะเสริมสร้างความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน โดยใช้ประโยชน์จากความตกลงทางเศรษฐกิจที่มีอยู่ เช่น ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น          กระทรวงการคลัง (กค.) กต. พณ. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.)
4. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-ออสเตรเลีย
(1) ความร่วมมือ
ด้านสาธารณสุข
และโรคโควิด-19          ที่ประชุมยินดีที่ออสเตรเลียสนับสนุนข้อริเริ่มของอาเซียนในการรับมือกับโรคโควิด-19 เช่น สนับสนุนเงิน 1 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย สำหรับกรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนและบริจาควัคซีน 36 ล้านโดสให้แก่อาเซียน          กต. สธ. และสถาบันวัคซีนแห่งชาติ
(2) สังคมและวัฒนธรรม          ที่ประชุมให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือในการป้องกันและลดผลกระทบจากสาธารณภัยและการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขจัดขยะทะเล ซึ่งไทยได้เสนอให้มีการใช้ประโยชน์จากเงินทุนภายใต้ข้อริเริ่ม Australia for ASEAN Futures           กต. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ มท.
5. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-จีน
(1) ภาพรวมความสัมพันธ์          (1.1) ที่ประชุมย้ำถึงความสำคัญของสถานะความสัมพันธ์อาเซียน-จีน เป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน และการปฏิบัติตามแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 30 ปี ความสัมพันธ์ฯ ว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน เพื่อสันติภาพ ความมั่นคง ความรุ่งเรือง และการพัฒนาที่ยั่งยืน          กต.
          (1.2) ที่ประชุมรับทราบข้อเสนอของจีนในการจัดทำแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน และ 2) แถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน-จีน ครั้งที่ 25          กต. และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
(2) การเมืองและความมั่นคง          ที่ประชุมแสดงความห่วงกังวลต่อสถานการณ์ช่องแคบไต้หวัน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนได้แสดงท่าทีสนับสนุนนโยบายจีนเดียว และย้ำว่าไม่ประสงค์จะให้มีการดำเนินการใด ๆ ที่เพิ่มความตึงเครียดและบั่นทอนสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค          กต.
6. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย
การเมืองและความมั่นคงและประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ          ที่ประชุมสนับสนุนบทบาทที่สร้างสรรค์ของรัสเซียและแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสถานการณ์ในยูเครน ซึ่งรัสเซียอธิบายว่าเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นโดยมีที่มาจากการยั่วยุของฝ่ายตะวันตกและสหรัฐฯ ที่ต้องการควบคุมระเบียบโลก ในขณะที่รัสเซียพร้อมเจรจากับยูเครนและยกตัวอย่างความสำเร็จของการส่งออกเมล็ดธัญพืชในทะเลดำว่า เกิดขึ้นจากการเจรจาของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่รวมฝ่ายตะวันตก โดยประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ยังคงต้องการให้มีการพูดคุยเพื่อหาทางออกอย่างสันติ ถึงแม้ว่าประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศมีท่าทีเห็นต่าง          กต.
7. การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 23
(1) ภาพรวมความสัมพันธ์          ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าและผลการดำเนินการตามแผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสาม ค.ศ. 2018-2022 และเห็นชอบแผนงานความร่วมมืออาเซียนบวกสามฉบับใหม่ ค.ศ. 2023-2028          กต.
(2) เศรษฐกิจ          ที่ประชุมเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือทางการเงินของอาเซียนบวกสาม มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคีในการเสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงินในภูมิภาค รวมทั้งความสำคัญและประโยชน์ของกลไกการตรวจสอบและติดตามภาวะเศรษฐกิจโดยสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียนบวกสามและมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย          กค. พณ. และธนาคารแห่งประเทศไทย
8. การประชุม ARF ครั้งที่ 29
(1) ทิศทางความร่วมมือ          ที่ประชุมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม 3 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่งคั่งผ่านการทูตเชิงป้องกัน เสนอโดยกัมพูชา และร่วมอุปถัมภ์โดยจีนและไทย 2) แถลงการณ์การประชุม ARF เพื่อเน้นย้ำพันธกิจที่จะธำรงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ เสนอโดยจีนและร่วมอุปถัมภ์โดยกัมพูชา รัสเซียและไทย และ 3) กรอบงานการประชุม ARF เรื่องกระบวนการที่ครอบคลุมสำหรับวาระสตรีฯ เสนอโดยสหภาพยุโรป สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐฯ          กต.
(2) กิจกรรม          ไทยจะร่วมกับสหรัฐฯ และจีนเป็นประธานร่วมจัดการสัมมนา ARF หัวข้อ ?ขยะทะเล-การจัดการขยะมูลฝอยและแนวทางแก้ไข? ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในระหว่างสมัยประชุมปี 2565-2566          กต. และ ทส.
          ไทยจะร่วมกับรัสเซียและจีนเป็นประธานร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ ARF หัวข้อ ?การต่อต้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อก่ออาชญากรรม? ซึ่งคาดว่าจะมีขึ้นในระหว่างสมัยประชุมปี 2565-2566          กต. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
          ไทยจะดำรงตำแหน่งประธานร่วมของการประชุมระหว่างปีว่าด้วยการลดและไม่แพร่ขยายอาวุธร่วมกับสหรัฐฯ และสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา สมัยประชุมปี 2565-2567          กระทรวงกลาโหม (กห.) กต. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และ สมช.
1 สามเสาหลักอาเซียน ประกอบด้วย (1) ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (2) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ (3) ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
2 เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งไม่ได้ระบุในเอกสารผลการประชุมฯ ที่เสนอคณะรัฐมนตรี)
3 ฉันทามติ 5 ข้อ ได้แก่ (1) ทุกฝ่ายหยุดความรุนแรง (2) ทุกฝ่ายเจรจาอย่างสันติ (3) ให้มีทูตพิเศษเพื่อให้เกิดกระบวนการเจรจา (4) อาเซียนช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และ (5) ทูตพิเศษเข้าไปเมียนมาเพื่อพูดคุยกับทุกฝ่าย

11. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อการรับรองเอกสารร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร
                    สาระสำคัญ
                    ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดแนวทางความร่วมมือระหว่างอาเซียนและจีนโดยการส่งเสริมและพัฒนาขีดความสามารถการผลิตตลอดห่วงโซ่คุณค่าสินค้าเกษตร เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับภูมิภาค เสริมสร้างการสื่อสารด้านนโยบาย การแลกเปลี่ยนและความร่วมมือ เพื่อสร้างระบบอาหารเกษตรที่มีประสิทธิภาพครอบคลุม ยืดหยุ่นและยั่งยืน ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีหนังสือถึงกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับร่างแถลงการณ์ฯ เรียบร้อยแล้ว
                    ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหารสนับสนุนให้ประเทศอาเซียนและจีนกระชับความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกลาง รัฐบาลท้องถิ่น องค์กรระดับภูมิภาค และหน่วยงานของสหประชาชาติ และกลไกต่าง ๆ โดยจะดำเนินการเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหาร ได้แก่ การมีอาหารเพียงพอ การเข้าถึงอาหาร การใช้ประโยชน์จากอาหาร และการมีเสถียรภาพด้านอาหาร

12. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน (Ministerial Declaration on Digital Cooperation for Shaping Our Common Future)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน ซึ่งจะมีการรับรองในการประชุม Asia - Pacific Digital Ministerial Conference 2022 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกันในการประชุม                  Asia - Pacific Digital Ministerial Conference 2022 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี
                    สาระสำคัญ
                    ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางดิจิทัลเพื่อกำหนดอนาคตร่วมกัน ฉบับวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีส่วนในการสนับสนุนคุณค่าสากลในฐานะมนุษย์ ได้แก่ เสรีภาพ ความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน และสิทธิมนุษยชน ความมุ่งมั่นของสาธารณรัฐเกาหลีในการส่งเสริมความร่วมมือด้านดิจิทัลในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ผ่านการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีดิจิทัลแห่งเอเชียและแปซิฟิก การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลที่เกิดขึ้นใหม่ และการสร้างระบบนิเวศทางดิจิทัลที่น่าเชื่อถือและมั่นคงปลอดภัย ผ่านการดำเนินการสำคัญ ได้แก่ การขยายการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ การใช้ข้อมูลทางดิจิทัล การพัฒนากำลังคนและการสร้างขีดความสามารถ ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อสร้างชุมชนดิจิทัล พร้อมทั้งได้เสนอแนวทางการดำเนินการความร่วมมือกับ UNESCAP เพื่อร่วมกันส่งเสริมการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลของภูมิภาคเอเชีย ? แปซิฟิก

13. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอดังนี้
                    1.  เห็นชอบต่อปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียนจำนวน 2 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนถ้อยคำในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา โดยกรมพลศึกษา ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
                     2. ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองปฏิญญาตามข้อ 1
                     สาระสำคัญของปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ มีรายละเอียดดังนี้
                     1. ปฏิญญาว่าด้วยการยกระดับบทบาทของกีฬาเพื่อการเสริมสร้างประชาคมอาเซียนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน มีสาระสำคัญโดยมีเป้าหมายในการดำเนินการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องร่วมกันเพื่อ                    (1) เสริมสร้างความร่วมมือด้านกีฬาเพื่อส่งเสริมการรวมกลุ่มและวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้นในหมู่ประชาชนอาเซียน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการปลูกฝังความชื่นชมในอัตลักษณ์และวัฒนธรรมอาเซียนให้มากขึ้น และมีส่วนช่วยในการสร้างประชาคมอาเซียน (2) เสริมสร้างธรรมาภิบาลและกลไกที่ดีในการส่งเสริมการบูรณาการกีฬาและเสริมสร้างความยืดยุ่น ของภาคกีฬา (3) สนับสนุนการพัฒนากีฬาเป็นเลิศตลอดจนความร่วมมือที่เข้มแข็งด้านวิทยาศาสตร์การกีฬาและการสร้างขีดความสามารถในการทำงานเพื่อตระหนักถึงศักยภาพของนักกีฬาในสนามกีฬาระดับนานาชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการหล่อเลี้ยงความภาคภูมิใจของอาเซียน (4) สำรวจนวัตกรรมเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของกีฬาในการสร้างประชาคมอาเซียนตลอดจนวาระการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ 2030 โดยการหลอมรวมและการเสริมสร้างพลังทางสังคมผ่านกีฬา (5) เสริมสร้างการวิจัยและเสริมสร้างศักยภาพในการมีส่วนร่วมของกีฬาในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมระดับชาติและระดับภูมิภาค และการสร้างประชาคมอาเซียนเพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายตามหลักฐานและการจัดการตามผลลัพธ์ในภาคกีฬา (6) เสริมสร้างความร่วมมือกับองค์กรเฉพาะสาขาของอาเซียนที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านกีฬาและกิจกรรมทางกายในกลุ่มอายุต่าง ๆ เพื่อก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนที่มีสุขภาพดีและกระตือรือร้นมากขึ้น (7) ส่งเสริมการเข้าถึงกีฬาและนันทนาการอย่างครอบคลุมเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งสตรี คนพิการ และกลุ่มเปราะบาง โดยการจัดตั้งเขตกีฬาและนันทนาการทั่วประเทศสมาชิกอาเซียนด้วยการมีส่วนร่วมของหน่วยงานท้องถิ่นและเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่หลากหลายเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านกีฬา และ (8) สำรวจศักยภาพของกีฬาเพื่อสร้างโอกาสการจ้างงานให้กับเยาวชนของอาเซียน เช่น การแลกเปลี่ยนทางวิชาชีพ การฝึกอบรม และโครงการพัฒนาทักษะ
                     2. ปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน โดยการคุ้มครองการกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านในโลกสมัยใหม่ มีสาระสำคัญโดยมีเป้าหมายในการดำเนินการกิจกรรมที่เกี่ยวข้องร่วมกันเพื่อ (1) อนุรักษ์และส่งเสริมกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านอาเซียนในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับภูมิภาค (2) สนับสนุนบทบาทของคณะกรรมการระดับชาติที่เกี่ยวข้อง องค์กรเฉพาะสาขา และศักยภาพในการจัดตั้งคณะกรรมการระดับภูมิภาค เพื่อดำเนินงานด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมกีฬาและการละเล่นพื้นบ้าน (3) ไตร่ตรองพิจารณาองค์รวมของกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านอาเซียนมากขึ้นในการแข่งขันกีฬาที่สำคัญของอาเซียน (4) ใช้ประโยชน์กีฬาและการละเล่นพื้นบ้านเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมอุตสาหกรรมกีฬาในภูมิภาค รวมถึงเทศกาลกีฬาและวัฒนธรรม และ (5) พิจารณาการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการอนุรักษ์และส่งเสริมกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านอาเซียน รวมถึงการมีส่วนร่วมของเยาวชนอาเซียน สื่อ อาสมัคร ภาคเอกชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อสนับสนุนกีฬาและการละเล่นพื้นบ้านอาเซียน และส่งเสริมสร้างความตระหนักในบทบาทในการสร้างประชาคมอาเซียน
                      ทั้งนี้ ปฏิญญาด้านกีฬาอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ เป็นเอกสารที่จะต้องนำเสนอต่อผู้นำอาเซียนเพื่อให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2565                      ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา

14. เรื่อง ร่างแผนการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (พ.ศ. 2565 - 2567) และร่างบันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างแผนการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (พ.ศ. 2565 - 2567) และร่างบันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของแผนการขับเคลื่อนฯ และร่างบันทึกความเข้าใจข้างต้นในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามใน              ร่างแผนการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย                (พ.ศ. 2565 - 2567) และร่างบันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างแผนการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (พ.ศ. 2565 - 2567) มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 ราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเห็นพ้องที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศไปสู่ระดับที่สูงขึ้น
                              1.2 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียจัดทำบันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของทั้งสองฝ่ายเป็นประธานร่วม เพื่อเป็นกลไกในการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนฯ ฉบับนี้ในโอกาสแรก สภาความร่วมมือดังกล่าวจะประชุมกันทุกสองปีที่ประเทศไทยและที่ซาอุดีอาระเบียสลับกันหรือบ่อยกว่านั้นตามความจำเป็น เพื่อติดตามความคืบหน้าของข้อริเริ่มที่จะดำเนินการภายใต้ข้อบทของแผนการขับเคลื่อนฯ
                              1.3 ทั้งสองฝ่ายยืนยันความพร้อมที่จะทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดเพื่อดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้แผนงานการขับเคลื่อนฯ ตามยุทธศาสตร์ความร่วมมือทั้งสามส่วน ได้แก่
                                        (1) ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง โดยทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อร่วมกันจัดการกับความท้าทายด้านความมั่นคงข้ามชาติและภัยคุกคามความมั่นคงรูปแบบใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ มีความสอดคล้อง และโดยมีการประสานงานระหว่างกัน
                                        (2) ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมโอกาสทางการค้าและการลงทุนในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีความเชี่ยวชาญและเป็นเลิศบนพื้นฐานของนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio - Circular - Green (BCG) Economy) ของไทย ที่มีความสอดรับกับวิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย ค.ศ. 2030 (Saudi Vision 2030)
                                        (3) ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยทั้งสองฝ่ายมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนสู่ประชาชนผ่านการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูงอย่างสม่ำเสมอ ความร่วมมือด้านการศึกษา การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม กิจกรรมศิลปะและวัฒนธรรม และข้อมูลและสื่อ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความเข้าใจและความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันให้มากขึ้น
                              1.4 ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะเร่งรัดการแต่งตั้งเอกอัครราชทูตระหว่างกันเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์ทวิภาคีและอำนวยความสะดวกในการดำเนินการตามแผนการขับเคลื่อนฯ
                              1.5 แผนการขับเคลื่อนฯ ครอบคลุมระยะเวลาสามปี ตั้งแต่ปี 2565 - 2567 โดยสามารถขยายระยะเวลาได้บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือร่วมกัน ผ่านสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย
ทั้งนี้ แผนการขับเคลื่อนฯ มิได้มีเจตนาที่จะสร้างภาระผูกพันทางกฎหมายภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
                    2. ร่างบันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              2.1 สภาฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานงานและปรึกษาหารือในหัวข้อและประเด็นที่อยู่ในความสนใจร่วมกันในทุกมิติ
                              2.2 สภาฯ จะพบหารือกันเป็นระยะ ๆ และการประชุมจะถูกจัดขึ้นโดยการสลับกันเป็นเจ้าภาพระหว่างทั้งสองประเทศ โดยประธานสภาฯ อาจจัดตั้งคณะกรรมการ และคณะทำงาน ทั้งนี้ ประธานคณะกรรมการดังกล่าวต้องมีระดับไม่ต่ำกว่ารัฐมนตรีช่วยว่าการ หรือผู้ช่วยรัฐมนตรี หรือตำแหน่งอื่นใดตามที่ตกลงกัน ประธานสภาฯ จะอนุมัติโครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารองค์กร รวมถึงระเบียบปฏิบัติขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานของสภาฯ และคณะกรรมการ อนึ่ง แต่ละฝ่ายจะแจ้งอีกฝ่ายผ่านช่องทางทางการทูตเป็นลายลักษณ์อักษรโดยทันทีเมื่อมีการปรับองค์ประกอบคณะกรรมการหรือคณะทำงาน ซึ่งเคยได้รับการอนุมัติตามโครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารองค์กรไว้แล้ว นอกจากนี้ การจัดตั้งสภาฯ และการมอบหมายภารกิจจะต้องไม่ขัดกับสิทธิและหน้าที่ที่มีอยู่เดิมของทั้งสองประเทศ ภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่แต่ละประเทศหรือทั้งสองประเทศเป็นภาคี
                    ทั้งนี้ ร่างแผนการขับเคลื่อนเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (พ.ศ. 2565 - 2567) และร่างบันทึกความเข้าใจการจัดตั้งสภาความร่วมมือซาอุดี - ไทย จะเป็นเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของการเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้แทนรัฐบาลซาอุดีอาระเบียลงนามร่างแผนการขับเคลื่อนฯ และร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

15. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามใน               ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนและกระทรวงการลงทุนซาอุดีอาระเบียตกลงที่จะร่วมมือกันในด้านการลงทุนโดยตรงระหว่างทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการลงทุนโดยตรงและโอกาสทางธุรกิจ กฎหมายและกฎระเบียบเกี่ยวกับโอกาสในการลงทุนโดยตรงและการเสริมสร้างบรรยากาศการลงทุนของทั้งสองประเทศ
                              1.2 ทั้งสองฝ่ายจะใช้มาตรการที่จำเป็นในการคุ้มครองการลงทุนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง              ตามกลไกที่ตกลงกันอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของทั้งสองประเทศ โดยแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบต้นทุนและค่าใช้จ่ายของตนเองที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการมีผลใช้บังคับหรือการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ
                              1.3 บันทึกความเข้าใจฯ จะไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีทางกฎหมายหรือภาระผูกพันใด ๆ              ต่อภาคีแต่ละฝ่าย และจะไม่กระทบต่อสิทธิและพันธกรณีที่เกิดจากความตกลงทวิภาคีหรือพหุภาคีใด ๆ ที่มีผลผูกพันภาคีแต่ละฝ่าย ทั้งสองฝ่ายจะแก้ไขข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการตีความหรือการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ โดยการปรึกษาหารือกันด้วยอัธยาศัยไมตรีเพื่อบรรลุผลประโยชน์ร่วมกัน
                              1.4 บันทึกความเข้าใจฯ จะมีผลใช้บังคับเมื่อภาคีฝ่ายสุดท้ายมีหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางทางการทูตว่า ได้ดำเนินการตามกระบวนการภายในเพื่อให้มีผลใช้บังคับเสร็จสิ้นแล้วและจะมีผลใช้บังคับเป็นเวลาสองปี โดยจะมีผลใช้บังคับต่อไปโดยอัตโนมัติอีกครั้งละสองปี เว้นแต่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลายลักษณ์อักษรผ่านช่องทางทางการทูตถึงเจตนาที่จะบอกเลิกบันทึกความเข้าใจอย่างน้อยหกเดือนก่อนวันสิ้นสุดของบันทึกความเข้าใจฯ
                    ทั้งนี้ ระหว่างการเสด็จฯ เยือนไทยของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2565 ฝ่ายไทยและฝ่ายซาอุดีอาระเบียเห็นชอบให้มีพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการส่งเสริมการลงทุนโดยตรงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย โดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แทนรัฐบาลไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนซาอุดีอาระเบียเป็นผู้แทนรัฐบาลซาอุดีอาระเบียลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

16. เรื่อง การเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอให้ประเทศไทยเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่า                การกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้ลงนามในเอกสารเข้าร่วมกลุ่มฯ เพื่อนำส่งให้สาธารณรัฐฝรั่งเศสและสาธารณรัฐคอสตาริกาต่อไป ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงเนื้อหาสาระของเอกสารเข้าร่วมกลุ่มดังกล่าว ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้อยู่ในดุลยพินิจของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณา โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีใหม่อีกครั้ง
                    สาระสำคัญ
                    1. กลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People เป็นกลุ่มแนวร่วมระหว่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการ จัดตั้งโดยความร่วมมือระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสและสาธารณรัฐคอสตาริกา ในระหว่างการประชุมสมัชชาภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 เมื่อ                 พ.ศ. 2562 โดยมีเป้าหมายหลัก คือ 1) ปกป้องคุ้มครองพื้นที่ทางบกและทางทะเลของโลกให้ได้อย่างน้อยร้อยละ 30 ของพื้นที่โลก ภายในปี ค.ศ. 2030 2) ส่งเสริมการแก้ปัญหาโดยใช้ธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions) ตามแนวทางของกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ 3) สนับสนุนการดำเนินงานตามกรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หลังปี ค.ศ. 2020 ซึ่งจะรับรองในการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 ช่วงที่ 2 ระหว่างวันที่ 7 - 19 ธันวาคม 2565
                    2. เป้าหมายหลักของกลุ่มในการคุ้มครองพื้นที่ทางบกและทางทะเลของโลกอย่างน้อยร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030 เป็นเป้าหมายภายใต้กรอบงานความหลากหลายทางชีวภาพของโลก หลังปี ค.ศ. 2020 ซึ่งมีความท้าทายเนื่องจากกลไกและตัวชี้วัดในการติดตามเป้าหมายดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนาโดยอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งหากแล้วเสร็จประเทศไทยจะต้องพิจารณาและนำมาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับบริบทของประเทศและความพร้อมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมกลุ่มฯ จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนการเสริมสร้างสมรรถนะเพื่อการบรรลุเป้าหมายดังกล่าวในอนาคต
                    ทั้งนี้ การเข้าร่วมกลุ่ม High Ambition Coalition (HAC) for Nature and People จะสนับสนุนการดำเนินงานของประเทศไทยตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ได้ร้อยละ 55 ภายในปี พ.ศ. 2580 และเสริมสร้างบทบาทและภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเวทีระดับโลกด้านการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและการเพิ่มพื้นที่อนุรักษ์เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และยังเป็นโอกาสในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ทั้งนี้ ประธานาธิบดีสาธารณรัฐฝรั่งเศสมีกำหนดการเยือนประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในฐานะ Guest of the Chair โดยมีกำหนดการเข้าพบหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2565 ณ ทำเนียบรัฐบาล

17. เรื่อง ร่างกรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศ                ซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบในหลักการของร่างกรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19)
                    2. หากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขร่างกรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) ที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (ผู้อำนวยการกองคุ้มครองพันธุ์สัตว์ป่าและพืชป่าตามอนุสัญญา) เป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับมาเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 ณ ปานามา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ กรุงปานามา ซิตี้ สาธารณรัฐปานามา
                    สาระสำคัญ
                    การประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์  ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) มีข้อเสนอ (Proposals) และวาระการประชุมที่เกี่ยวกับกฎระเบียบ ในการดำเนินงานให้เป็นไปตามอนุสัญญา CITES (Working Documents) ดังนี้
                    1. วาระที่เกี่ยวข้องกับข้อเสนอ (Proposals) มีวาระที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับประเทศไทย เพื่อขอเปลี่ยนแปลงสถานะของชนิดพันธุ์ตามบัญชีแนบท้ายอนุสัญญา ดังนี้
                              (1) นกกางเขนดง (Kittacincla malabarica) เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชี 2
                              (2) นกปรอดแม่ทะ (Pycnonotus zeylanicus) เสนอปรับจากบัญชี 2 เป็นบัญชี 1
                              (3) ตะกอง (Physignathus cocincinus) เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชี 2
                              (4) ปลาฉลามทุกชนิดในวงศ์ Carcharhinidae (Carcharhinidae spp.) เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชี 2
                              (5) ปลาฉลามหัวค้อนสกุล Sphyrna spp. เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชี 2
                              (6) ปลากระเบนน้ำจืด (Potamotrygon albimaculata, P. henlei, P. jabuti, P. leopoldi, P. marquesi, P. signata และ P. wallacei) เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชี 2
                              (7) ปลาโรนันทุกชนิด (Guitarfishes) ในสกุล Rhinobatidae (Rhinobatidae spp.) เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชี 2
                              (8) ปลิงทะเลทุกชนิด (Thelenota spp.) เสนอให้บรรจุอยู่ในบัญชี 2
                              (9) ไม้พะยูงอินเดีย (Dalbergia sissoo) เสนอให้ถอดออกจากบัญชี 2
                              โดยชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชี 1 (Appendix I) เป็นชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่อยู่ในสภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ที่มีหรืออาจจะมีผลกระทบจากการค้าซึ่งการค้าชนิดพันธุ์เหล่านี้ต้องเป็นไปโดยความเข้มงวดและโดยไม่มีวัตถุประสงค์เชิงพาณิชย์ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อความอยู่รอดของชนิดพันธุ์ และจะอนุญาตโดยมีข้อกำหนดเฉพาะ เช่น กรณีการศึกษาวิจัย การเพาะพันธุ์ เป็นต้น ซึ่งการค้าชนิดพันธุ์ในบัญชี 1 จะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศผู้นำเข้าก่อน ประเทศผู้ส่งออกจึงจะออกใบอนุญาตส่งออกได้ และชนิดพันธุ์ที่อยู่ในบัญชี 2 (Appendix II) เป็นชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่มีสถานภาพไม่เสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่หากไม่มีการควบคุมการค้าอาจทำให้มีสถานะใกล้สูญพันธุ์เหมือนบัญชี 1 ได้ การค้าจึงสามารถดำเนินการได้โดยมีระบบการควบคุมเพื่อป้องกันมิให้มีการใช้ประโยชน์ที่มากเกินไปจนส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของชนิดพันธุ์ ทั้งนี้ การกำหนดชนิดพันธุ์ในบัญชี 2 ยังครอบคลุมถึงชนิดสัตว์หรือพืชที่มีความคล้ายคลึงกับชนิดพันธุ์ที่มีการค้าด้วย เพื่อประสิทธิภาพในการควบคุมการค้า ซึ่งการค้าชนิดพันธุ์ในบัญชี 2 ประเทศผู้ส่งออกจะต้องออกใบอนุญาตส่งออกเพื่อเป็นการรับรองว่า ?การส่งออกนั้นไม่กระทบต่อการดำรงอยู่ของชนิดพันธุ์ตามธรรมชาติ?
                    2. วาระการประชุมที่เกี่ยวกับกฎระเบียบในการดำเนินงานให้เป็นไปตามอนุสัญญา CITES (Working Documents) ที่สำคัญ ซึ่งเกี่ยวข้องกับประเทศไทย โดยจะขอกล่าวถ้อยแถลง (Intervention) ในที่ประชุม CITES CoP19 ดังนี้
                              (1) กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะขอกล่าวถ้อยแถลงในวาระที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ตระกูลเสือ และลิ่น
                              (2) กรมประมง จะขอกล่าวถ้อยแถลงในวาระที่เกี่ยวข้องกับ Introduction from the sea
                              (3) กรมวิชาการเกษตร จะขอกล่าวถ้อยแถลงในวาระที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกล้วยไม้บัญชี 2 กรณีการยกเว้นไม่ควบคุมการค้ากล้วยไม้ลูกผสม 4 สกุล (Dendrobium, Cymbidium, Phalaenopsis, Vanda) เรื่องความท้าทายในการระบุชนิดและปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน
                    ทั้งนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำร่างกรอบท่าทีของประเทศไทยต่อวาระการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) โดยกรอบข้อคิดเห็นและท่าทีของประเทศไทยเป็นไปตามข้อผูกพันที่ไทยในฐานะรัฐภาคีมีต่ออนุสัญญาฯ CITES และตามกรอบของกฎหมายและระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการพิจารณาที่จะไม่ทำให้ประเทศไทยต้องเสียสิทธิประโยชน์ใด ๆ จากการทำความตกลงหรือให้ความเห็นดังกล่าว
                    สำหรับการประชุมภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ครั้งที่ 19 (CITES CoP19) มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 25 พฤศจิกายน 2565 ณ ปานามา คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ กรุงปานามา ซิตี้ สาธารณรัฐปานามา

18. เรื่อง ร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี (พ.ศ. 2565 - 2570) และร่างแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี (พ.ศ. 2565 - 2570) และร่างแผนปฏิบัติการร่วมเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี (พ.ศ. 2565 - 2570) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างปฏิญญาร่วมฯ และร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
                    2. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศร่วมลงนามในร่างปฏิญญาร่วมฯ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้ได้ร่วมกันจัดทำร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมฯ และร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. ร่างแผนปฏิญญาร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างฝ่ายไทยกับฝ่ายเกาหลีใต้ในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างกันด้วยการประกาศใช้และการขับเคลื่อนแผนการปฏิบัติการร่วมฯ โดยไทยและเกาหลีใต้มุ่งที่จะสอดประสานยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของทั้งสองฝ่าย และสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                    2. ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อวางกรอบความร่วมมือในการเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ โดยมีทิศทางที่ชัดเจน และเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในห้วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2565 - 2570) โดยประกอบด้วยสาขาความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่               (1) การเมืองและความมั่นคง (2) การแลกเปลี่ยนในระดับประชาชนและวัฒนธรรม (3) สาธารณสุข (4) อุตสาหกรรมแห่งอนาคตและการค้า (5) เศรษฐกิจสีเขียว และ (6) การพัฒนาที่ยั่งยืน
                    ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมีกำหนดการเยือนราชอาณาจักรกัมพูชาเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2565 ที่กรุงพนมเปญ และหารือทวิภาคีกับนายยุน ซ็อก-ย็อล (Yoon Suk-yeol) ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565                 ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการหารือทวิภาคีดังกล่าว ผู้นำทั้งสองประเทศจะเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมฯ ระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและนายปัก จิน (Park Jin) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเกาหลีใต้
                    โดยการลงนามร่างปฏิญญาร่วมว่าด้วยแผนปฏิบัติการร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ระหว่างไทยและเกาหลีใต้เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือตามร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ซึ่งการดำเนินการเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการร่วมฯ ให้มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมอันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างรอบด้านและประชาชนทั้งสองฝ่าย รวมทั้งสนับสนุนการพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเกาหลีใต้สู่การเป็น ?หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน (Comprehensive Strategic Partnership)? ต่อไป โดยคำนึงว่า ในปี 2570 ไทยและเกาหลีใต้จะครบรอบ 70 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต

19.  เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน กับกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่ (กระทรวงพาณิชย์) (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกระทรวงพาณิชย์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (จีน) กับกระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย (บันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้ พณ. สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
(สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยเสนอให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565)
          สาระสำคัญของเรื่อง
                    พณ. รายงานว่า
          1. สืบเนื่องจากการประชุม JC เศรษฐกิจไทย - จีน ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 23 - 25 สิงหาคม 2561 กรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และข้อมูลสารสนเทศของจีนได้หารือกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้าของ พณ. ในประเด็นแนวทางความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์1 และเสนอที่จะลงนามบันทึกความเข้าใจฯ
          2. กรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้จัดประชุมพิจารณาขอความเห็นหน่วยงานภายใน พณ. เกี่ยวกับบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ เห็นว่า การลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของทั้งสองฝ่าย พณ. จึงได้หารือกับกระทรวงพาณิชย์ของจีนจนเห็นพ้องกันเกี่ยวกับเนื้อหาและสาระของร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยได้เข้าพบเพื่อเสนอให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีเอเปค (APEC Ministerial Meeting: AMM) ครั้งที่ 33 ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565
          3. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือและกำหนดขอบเขตความร่วมมือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและจีน ซึ่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
ขอบเขตความร่วมมือ          1. ส่งเสริมการค้าแบบทวิภาคีของสินค้าที่มีคุณภาพสูง และส่งเสริมสินค้าของทั้งสองประเทศผ่านช่องทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อขยายตลาดและเพิ่มฐานลูกค้า
2. ร่วมกันศึกษาแนวทางเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในด้านการขนส่ง การกระจายสินค้า และการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการและการสร้างขีดความสามารถด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาผ่านการเข้าร่วมอบรมสัมมนาหรือหลักสูตรต่าง ๆ
4. ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันร่างแผนปฏิบัติการประจำปีด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม
การบังคับใช้          มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามเป็นระยะเวลา 3 ปี และจะมีผลบังคับใช้ต่อไปโดยปริยาย เว้นแต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยกเลิกร่างบันทึกความเข้าใจฯ แก่อีกฝ่ายอย่างน้อย 6 เดือน ผ่านช่องทางการทูต
การแก้ไขบันทึกความ               เข้าใจฯ          ดำเนินการผ่านการตกลงร่วมกันเป็นลายลักษณ์อักษร
ความผูกพันด้านค่าใช้จ่ายและกฎหมาย          ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดความผูกพันด้านการเงินใด ๆ ในการให้ความสนับสนุนทางการเงินหรือรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และไม่ถือเป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดความผูกพันด้านการเงินใด ๆ ในการสนับสนุนทางการเงินหรือรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และไม่ถือเป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) หมายถึง การค้าและการบริการผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การค้าออนไลน์ ระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

20.  เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                    3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงนามใน               ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งออสเตรเลียว่าด้วยยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
                    สาระสำคัญ
                    ร่าง MoU ประกอบด้วย 8 ส่วนสำคัญ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
          1. วัตถุประสงค์ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคีและส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจโดยจะเป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศและพันธกรณีระหว่างประเทศที่เป็นภาคี รวมทั้งให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมทางเพศและบทบาทของสตรีในระบบเศรษฐกิจและการมีส่วนร่วมอย่างมีนัยสำคัญในทุกมิติ
          2. บริบท SECA จะช่วยสนับสนุนความตกลงการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย ความตกลงการจัดตั้ง                 เขตการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
          3. สาขาความร่วมมือที่ให้ความสำคัญ รวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะ 8 สาขา ได้แก่ (1) เกษตรเทคโนโลยี และระบบอาหารที่ยั่งยืน (2) การท่องเที่ยว (3) บริการสุขภาพ (4) การศึกษา (5) การค้าดิจิทัลและเศรษฐกิจดิจิทัล (6) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (7) การลงทุนระหว่างกัน และ (8) พลังงาน เศรษฐกิจสีเขียว และการลดการปล่อยคาร์บอน ทั้งนี้ สมาชิกจะต้องจัดทำรายละเอียดความร่วมมือและวาระการดำเนินงานซึ่งจะมีการระบุรายละเอียดกิจกรรมภายใต้สาขาความร่วมมือทั้ง 8 สาขา ที่ทั้งสองฝ่ายมีความสนใจและเห็นว่าสามารถพัฒนาต่อยอดต่อไปได้ และถือเป็นส่วนหนึ่งของ MoU โดยจะต้องให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน หลังการลงนาม MoU
          4. การประชุมระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำปี เพื่อติดตามผลการดำเนินงาน
          5. ระยะเวลาดำเนินการ รวม 3 ปี แต่อาจพิจารณาแก้ไขได้ตามความยินยอมของทั้งสองฝ่ายและจะไม่ยกประเด็นความแตกต่างเกี่ยวกับการตีความหรือการดำเนินงานขึ้นตัดสินโดยศาลหรือประเทศที่สาม
          6. งบประมาณ จะต้องมีการตกลงระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นรายกรณีต่อไป
          7. สถานะของ MoU ไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยการดำเนินงานให้เป็นไปตามกฎหมายภายในประเทศ และพันธกรณีระหว่างประเทศที่เป็นภาคี และจะไม่ส่งผลกระทบต่อความตกลงที่มีอยู่แล้ว
          8. ข้อมูลลับ จะได้รับความคุ้มครองตามกฎระเบียบภายในประเทศ
                    ประโยชน์
                    นอกจาก SECA จะช่วยสนับสนุนการนำปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับออสเตรเลียไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมแล้ว ยังช่วยกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ที่ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ร่วมกัน              อีกทั้งยังสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศษฐกิจตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ และสอดคล้องกับแผนปฏิบัติการระหว่างไทยกับออสเตรเลียในด้านอื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
                    ทั้งนี้ ไทยและออสเตรเลียมีเป้าหมายจะผลักดันให้มีการลงนาม MoU ในช่วงการประชุมรัฐมนตรีเอเปคและการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 16-19 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงเทพมหานคร

21.  เรื่อง  การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการลงนามหรือรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน            ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารในข้อ 2 และ 3 จำนวน 18 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง ให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารในข้อ 2 และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามร่างเอกสารในข้อ 3.1 และให้เลขาธิการอาเชียนเป็นผู้ลงนามร่างเอกสารในข้อ 3.2                  ในนามของอาเซียนตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. กระทรวงการต่างประเทศขอเรียนเสนอร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดอาเซียน             ครั้งที่ 40 และครั้งที่ 41 และการประชุมสุดยอดที่เกี่ยวข้อง ตามที่ได้ประสานและรวบรวมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี รวม 18 ฉบับ โดยแบ่งเป็นเอกสารที่ผู้นำจะร่วมรับรอง (adopt) จำนวน 16 ฉบับ เอกสารที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะลงนาม จำนวน 1 ฉบับ
และเอกสารที่เลขาธิการอาเซียนจะลงนามในนามอาเซียน จำนวน 1 ฉบับ
                    ทั้งนี้ จะมีเอกสารเพิ่มเติมอีก 9 ฉบับ ซึ่งส่วนราชการเจ้าของเรื่องจะดำเนินการเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงผู้นำอาเซียนว่าด้วยปีแห่งเยาวซนอาเซียน พ.ศ. 2565 เพื่อเสริมสร้างบทบาทของเยาวชนในการสร้างประชาคมเซียน และ (2) ร่างปฏิญญาว่าด้วยการสร้างอนาคตที่ยั่งยืน ครอบคลุม และยืดหยุ่นในการส่งเสริมผู้ประกอบการสตรีในอาเซียน โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง (4) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงด้านอาหาร โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง                    (5) ร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเชื่อมโยงสิทธิประกันสังคมสำหรับแรงงานข้ามชาติในภูมิภาคอาเซียน โดยกระทรวงแรงงานเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง (6) ร่างปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยการส่งเสริมประชาคมอาเซียนที่สร้างสรรค์และมีการปรับตัวเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรมและเชิงสร้างสรรค์ โดยกระทรวงวัฒนธรรมเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง (7) ร่างปฏิญญาว่าด้วยการยกระดับบทบาทของการกีฬาเพื่อการสร้างประชาคมอาเซียนและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และ (8) ร่างปฏิญญาว่าด้วยการส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียนด้วยการคุ้มครอง                  การกีฬาและการละเล่นพื้นเมืองในโลกสมัยใหม่ โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง และ (9) ปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน โดยกระทรวงศึกษาธิการเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                    2. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรอง จำนวน 16 ฉบับ ได้แก่
                              2.1 ร่างแถลงการณ์ผู้นำอาเซียนในโอกาสครบรอบ 55 ปีของอาเซียน (Draft ASEAN Leaders? Statement on the 55th Anniversary of ASEAN) เป็นเอกสารที่สะท้อนถึงความสำเร็จของอาเซียนตลอดระยะเวลา 55 ปีที่ผ่านมา โดยเน้นย้ำถึงหลักการที่สำคัญของอาเซียนและความเป็นแกนกลางของอาเซียน ตลอดจนกล่าวถึงความร่วมมือและการดำเนินการที่สำคัญเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียนในอนาคต โดยครอบคลุมความร่วมมือภายใต้ทั้ง 3 เสาของประชาคมอาเซียนและความสัมพันธ์กับหุ้นส่วนภายนอกของอาเซียน
                              2.2 ร่างวิสัยทัศน์ผู้นำอาเซียนว่าด้วย ?อาเซียน เอ.ซี.ที. : รับมือความท้าทายร่วมกัน? (Draft ASEAN Leaders? Vision Statement on ?ASEAN A.C.T.: Addressing Challenges Together?) เป็นเอกสารที่สอดคล้องกับหัวข้อหลัก (theme) การเป็นประธานอาเซียนปี 2565 ของกัมพูชา โดยเนื้อหาในเอกสารสะท้อนความมุ่งมั่นของอาเซียนในการดำเนินงานร่วมกันเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของประชาคมอาเซียน                 ผ่านความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ภายใต้ทั้ง 3 เสาของประชาคมอาเซียน รวมทั้งการดำเนินความสัมพันธ์กับภาคีภายนอก
                              2.3 ร่างแกลงการณ์ผู้นำอาเซียนว่าด้วยวาระความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 (Draft ASEAN Leaders? Statement on ASEAN Connectivity Post-2025 Agenda)  เป็นเอกสารประกาศเจตนารมณ์และแนวทางการพัฒนาความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียนภายหลังปี ค.ศ. 2025 โดยเฉพาะการฟื้นตัวจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตลอดจนยกระดับการดำเนินงานด้านความเชื่อมโยงภายหลังปี ค.ศ. 2025 ให้เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน ครอบคลุม มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีการบูรณาการระดับภูมิภาค และมีนโยบายที่มุ่งสู่อนาคต อาทิ การพัฒนาโครงสร้างพื้นเมืองอัจฉริยะ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล การสร้างความเข้มแข็งและความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทาน การเติบโตสีเขียว และการส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชนและภาคีภายนอก
                              2.4 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการให้ความสำคัญแก่สี่สาขาความร่วมมือหลักของมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกภายใต้กลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ (Draft ASEAN Leaders? Declaration on Mainstreaming Four Priority Areas of the ASEAN Outlook on the Indo-Pacific within ASEAN-led Mechanisms) มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินความร่วมมือกับภาคีภายนอกใน 4 สาขาของมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก ได้แก่ (1) ความร่วมมือทางทะเล (2) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ของสหประชาชาติ (3) ความเชื่อมโยง และ (4) ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ  โดยดำเนินการภายใต้กลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ รวมถึงจัดทำแผนการส่งเสริมมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก เพื่อส่งเสริมให้คู่เจรจาของอาเซียนได้ร่วมจัดทำโครงการ/กิจกรรมเพื่อให้เกิดสันติภาพ เสถียรภาพ และความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาคต่อไป
                              2.5 ร่างแผนแม่บทอาเซียนด้านการพัฒนาชนบท พ.ศ. 2565-2569 (Draft ASEAN Master Plan on Rural Development 2022 to 2026) มีวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์ 6 ประเด็นสำคัญ ดังนี้                   (1) ความมั่นคงด้านอาหารและภูมิภาคที่ปลอดภัย ลดภาวะความหิวโหยและทุพโภชนาการ รวมทั้งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างรับผิดชอบ (2) โอกาสทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและเอื้อต่อการดำรงชีพและการจ้างงานอย่างต่อเนื่อง ลดความเหลื่อมล้ำและความยากจนของประชาชนในชนบท (3) ชุมชนสำหรับทุกคนผ่านการศึกษา สุขภาพ และบริการขั้นพื้นฐานอย่างเท่าเทียมกัน รวมถึงความคุ้มครองด้านสิทธิมนุษยชนในทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มคนชายขอบ ผู้หญิง เด็ก เยาวชน และคนพิการ (4) การพัฒนาศักยภาพ การมีส่วนร่วม การสร้างภูมิคุ้มกัน และการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (5) การมีส่วนร่วมของชุมชนอาเซียนต่อเวทีระดับภูมิภาคต่าง ๆ  ในข้อริเริ่มด้านสวัสดิการ นโยบาย การมีส่วนร่วม และธรรมาภิบาล และ (6) การลงทุนอย่างรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความยั่งยืนในระบบการเกษตรและอาหาร โดยสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี และนวัตกรรมที่มีความก้าวหน้าในภูมิภาค มีส่วนร่วมและศักยภาพที่เท่าเทียมระดับโลก ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                              2.6 ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยเรื่องการยุติความเหลื่อมล้ำและการมุ่งสู่การยุติปัญหาเอดส์ภายในปี ค.ศ. 2030 (Draft ASEAN Leaders? Declaration on Ending Inequalities and Getting on Track to End AIDS by 2030) มีสาระสำคัญในการร่วมมือกันเพื่อยุติความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมและการยุติการแพร่ระบาดของโรคเอดส์ ภายในปี 2573 โดยประเทศสมาชิกอาเซียนตกลงที่จะมุ่งมั่นสู่การยุติเอดส์ เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับชุมชน ยุติความเหลื่อมล้ำ สนับสนุนการดำเนินงานที่ยั่งยืนและเพิ่มการจัดหาเงินทุนสำหรับเอชไอวีและเอดส์เพื่อยุติเอดส์ในอาเซียน ภายในปี 2573 ทั้งนี้ กระทรวง
สาธารณสุขเป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                              2.7 ร่างแผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคอาเซียนว่าด้วยสตรี สันติภาพ และความมั่นคง (Draft ASEAN Regional Plan of Action on Women, Peace and Security) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้การบูรณาการมิติเพศภาวะอยู่ในกระบวนการส่งเสริมสันติภาพ และผลักดันให้วาระสตรี สันติภาพ และความมั่นคงอยู่ภายใต้กระบวนการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศในภูมิภาค รวมทั้งกำหนดกรอบ แนวทาง จัดลำดับความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ และแนวปฏิบัติในการผลักดันประเด็นดังกล่าวในระดับประเทศ และภูมิภาค นอกจากนี้ ยังสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนผลักดันประเด็นดังกล่าวในระดับท้องถิ่นและในร่างแผนปฏิบัติการระดับชาติ สนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและส่งเสริมความตระหนักรู้เกี่ยวกับความรับผิดชอบของผู้กำหนดนโยบาย หน่วยงานรัฐบาล และประชาสังคม ผ่านยุทธศาสตร์สำคัญ 5 ด้าน ได้แก่ การคุ้มครอง การมีส่วนร่วม                  การป้องกัน การบรรเทาและฟื้นฟู และการดำเนินการและการประสานงาน ทั้งนี้ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เป็นส่วนราชการเจ้าของเรื่อง
                              2.8 ร่างแถลงการณ์ร่วมว่าด้วยวาระการครบรอบ 20 ปีของปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ่ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ (Draft Joint Statement on the 20th Anniversary of the Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea) มีวัตถุประสงค์เพื่อเน้นย้ำความสำคัญของปฏิญญาว่าด้วยการปฏิบัติของภาคีฝ้ายต่าง ๆ ในทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญที่อาเซียนและจีนได้ลงนามร่วมกันเมื่อปี 2545 ที่กรุงพนมเปญ ตลอดจนความสำคัญของการรักษาและการส่งสริมสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ ความปลอดภัยและเสรีภาพของการเดินเรือและบินผ่าน รวมถึงการปฏิบัติตาม Declaration on the Conduct of Parties in the South China Sea และส่งเสริมการจัดกิจกรรมความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
                              2.9 ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน-จีนว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกัน (Draft ASEAN-China Joint Statement on Promoting Common Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันความร่วมมือภายใต้ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่างอาเซียนกับจีนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ด้วยการส่งเสริมการพัฒนาร่วมกันผ่านแนวคิดและนโยบายที่สำคัญ อาทิ การสร้างความร่วมมือระหว่างข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทางกับมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างข้อริเริ่มการพัฒนาแห่งโลกกับวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2025
                              2.10 ร่างแกลงการณ์ผู้นำอาเซียน-สหรัฐฯ เพื่อจัดตั้งความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านอาเซียน-สหรัฐฯ (Draft ASEAN-U.S. Leaders? Statement to Establish the ASEAN-U.S. Comprehensive Strategic Partnership) เป็นเอกสารประกาศการปรับความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ ให้เป็น ?หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน? โดยเน้นย้ำการขับเคลื่อนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค และการดำเนินการตามมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิกผ่านกลไกที่อาเซียนมีบทบาทนำ ความร่วมมือทางทะเล ความเชื่อมโยงในมิติเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน การเสริมสร้างห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน
                              2.11 ร่างแถลงการณ์ร่วมสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน-แคนาดา สมัยพิเศษ               เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา (Draft ASEAN-Canada 45th  Anniversary Commemorative Summit Joint Statement) เป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมสุดยอดอาเซียน-แคนาดา              สมัยพิเศษ เพื่อฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-แคนาดา โดยเน้นย้ำการขับเคลื่อนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การหารืออย่างสร้างสรรค์ภายใต้กลไกการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ARF) ความร่วมมือในการรับมือกับความท้าทายด้านความมั่นคงในรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ การบริหารจัดการแนวชายแดน การแก้ไขสถานการณ์ในเมียนมา ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สาธารณสุข การจัดการภัยพิบัติ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลของภาคเอกชน การส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศและการผลักดันวาระสตรี สันติภาพ และความมั่นคง และการเสริมสร้างความสัมพันธ์ในระดับประชาชน
                              2.12 ร่างแกลงการณ์ร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านอาเซียน-อินเดีย (Draft Joint Statement on ASEAN-Indo Comprehensive Strategic Partnership ) เป็นเอกสารประกาศการปรับความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย ให้เป็น ?หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้าน? โดยเนันย้ำการขับเคลื่อนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสนับสนุนความเป็นแกนกลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือภายใต้มุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก และข้อริเริ่มมหาสมุทรอินโด-แปซิฟิก ความร่วมมือทางทะเล การจัดการภัยพิบัติ ความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เศรษฐกิจความเชื่อมโยง สิ่งแวดล้อม ความมั่นคงทางอาหาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณสุข อวกาศ การลดช่องว่าง การพัฒนา การฟื้นฟูการท่องเที่ยว และการส่งเสริมความสัมพันธ์ในระดับประชาชน
                              2.13 ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน-ออสเตรเลีย ครั้งที่ 2 ว่าด้วยความร่วมมือต่อมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก (Draft Joint Statement of the 2nd ASEAN-Australia Summit on Cooperation on the ASEAN Outlook on the Indo-Pacific) เป็นเอกสารยืนยันการเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่างอาเซียนและออสเตรเลียโดยมุ่งเน้นการส่งเสริมความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมภายใต้สาขาหลักในเอกสารมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือทางทะเล ความเชื่อมโยง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 และความร่วมมือทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ
                              2.14 ร่างแกลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการขับเคลื่อนการเสริมสร้างพลังทางเศรษฐกิจของสตรี (Draft East Asia Summit Leaders? Statement on Advancing Women?s Economic Empowerment) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมบทบาทของสตรีในการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากโควิด-19 โดยสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และการพัฒนาที่ครอบคลุมบทบาทของสตรี การส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ทั้งในด้านการเสริมทักษะและศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ และการเข้าถึงการศึกษาด้านเทคโนโลยี การส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ในกลุ่มสตรี รวมถึงการสนับสนุนผู้ประกอบการสตรี
                              2.15 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านพลังงานเพื่อการฟื้นฟูที่ครอบคลุมในยุคหลังโควิด-19 (Draft East Asia Summit Leaders? Statement on Strengthening Energy Cooperation for a Comprehensive Post-COVID-19 Recovery)                       มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานในภูมิภาค ผ่านการสนับสนุนการรักษาห่วงโซ่อุปทานโดยเฉพาะพลังงานสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลไกการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านพลังงาน รวมถึงการส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์และการพัฒนาบุคลากรของประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานในอนาคต
                              2.16 ร่างแถลงการณ์ผู้นำการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกว่าด้วยการส่งเสริมอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Draft East Asia Summit Leaders? Statement on Promoting Volunteerism for Sustainable Development) มีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านการส่งเสริมบทบาทของอาสาสมัครในประเทศที่เข้าร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกในการผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมในการฟื้นฟูจากโควิด-19 สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการจัดการ อาสาสมัคร การฝึกอบรม รวมถึงการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างกัน
                    3. สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะลงนาม จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
                              3.1 ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยราชอาณาจักรสเปน (Draft Letter of Consent for the Accession to the Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia (TAC) by the Kingdom of Spain) (ลงนามโดยรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ) ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ที่นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 เห็นชอบต่อคำขอของสเปนในการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะจัดทำหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญาฯ ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศ ทั้งนี้ กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนกำหนดจัดพิธีลงนามตราสารภาคยานุวัติโดยราชอาณาจักรสเปนในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ที่กรุงพนมเปญในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ ครั้งที่ 41
                              3.2 ร่างความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างอาเซียนกับจีน (Draft Agreement on Technical Cooperation between the Association of Southeast Asian Nations and the Government of the People?s Republic of China) (ลงนามโดยเลขาธิการอาเซียนร่วมกับฝ่ายจีน) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางวิซาการระหว่างอาเซียนกับจีนผ่านการดำเนินโครงการที่จีนจะให้การสนับสนุน โดยครอบคลุมด้านที่อาเซียนให้ความสำคัญ อาทิ สาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาต การฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นต้น

22. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับการให้เอกสิทธิ์ การยกเว้น และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เชี่ยวชาญ จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น ที่ดำเนินโครงการภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นเกี่ยวกับการให้เอกสิทธิ์ การยกเว้น และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่นที่ดำเนินโครงการภายใต้ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กับรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก รวมทั้งให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฉบับดังกล่าว ร่วมกับผู้ได้รับมอบอำนาจจากฝ่ายญี่ปุ่นตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ มีสาระสำคัญ คือ (1) ในกรณีที่ JICA ส่งผู้เชี่ยวชาญของ JICA หรือทีมงานของญี่ปุ่นมาดำเนินโครงการภายใต้ความตกลงฯ ในไทย รัฐบาลไทยจะให้เอกสิทธิ์และสิทธิประโยชน์แก่ผู้เชี่ยวชาญและทีมงาน พร้อมทั้งสมาชิกครอบครัวที่พำนักอยู่ในไทยตามข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 ของความตกลงทวิภาคีฯ ค.ศ. 1981 โดยอนุโลม (mutatis mutandis) (2) การอำนวยความสะดวกทางด้านอุปกรณ์ เครื่องจักรกล และวัสดุที่ได้รับจัดสรรภายใต้ความตกลงฯ ให้ใช้ข้อ 8 ของความตกลงทวิภาคีฯ ค.ศ. 1981 โดยอนุโลม และ (3) หนังสือแลกเปลี่ยนฯ จะมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ไทยลงนามหนังสือตอบและมีผลบังคับใช้ตราบเท่าที่ความตกลงฯ                                ยังคงบังคับใช้
                    ทั้งนี้ เป็นที่ยอมรับระหว่างคู่ภาคีว่าไม่มีความจำเป็นต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจเต็มสำหรับการลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนดังกล่าว

23. เรื่อง  การจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาในการฝึกอบรมโดยการใช้การทำงานเป็นฐานระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานและเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาในการฝึกอบรมโดยใช้การทำงานเป็นฐานระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานและเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย (Memorandum of Understanding on Cooperation in Vocational Education in Work-based Training between the Ministry of Education of the Kingdom of Thailand and the Federal Ministry for Digital and Economic Affairs of the Republic of Austria) ทั้งนี้ หากก่อนการลงนามมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ ให้กระทรวงศึกษาธิการหารือกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาในการฝึกอบรมโดยใช้การทำงานเป็นฐานระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานและเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐออสเตรียตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ

                    สาระสำคัญ
                    บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านอาชีวศึกษาในการฝึกอบรมโดยใช้การทำงานเป็นฐานระหว่างกระทรวงศึกษาธิการแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงแรงงานและเศรษฐกิจแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย               มีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งพัฒนากรอบความร่วมมือในการฝึกอบรมด้านอาชีวศึกษาโดยการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐานในโรงเรียน/วิทยาลัย/สถาบันอาชีวศึกษาและสถานประกอบการ ซึ่งเน้นการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน และตอบสนองความต้องการของภาคเอกชนในด้านแรงงาน รวมถึงการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ตามความสนใจของทั้งสองฝ่าย โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานร่วม (Joint Working Group) เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการดำเนินงานดังกล่าว ทั้งนี้ จะมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ จำนวน 3 ภาษา ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย และภาษาเยอรมัน
                    ทั้งนี้ เนื้อหาสาระสำคัญของบันทึกความเข้าใจดังกล่าวเป็นการแสดงเจตนารมณ์ในการส่งเสริมความร่วมมือด้านอาชีศึกษา โดยเฉพาะการฝึกอบรมผ่านการทำงานจริงในสถานประกอบการและในสถาบันอาชีวศึกษาของทั้งสองประเทศ โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ และการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ จะไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายหรือความรับผิดชอบ/ข้อบังคับทางการเงินใด ๆ ภายใต้กฎหมายภายในหรือกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นหนังสือสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
                    โดยนายมาร์ติน คอคเคอร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและเศรษฐกิจสาธารณรัฐออสเตรีย              มีกำหนดเดินทางเยือนประเทศไทย ระหว่างวันที่ 12 -14 พฤศจิกายน 2565 โดยประสงค์จะลงนามบันทึกความ                  เข้าใจฯ ภายหลังการพบปะหารือกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (นางสาวตรีนุช เทียนทอง) ในวันที่               14 พฤศจิกายน 2565 ณ กระทรวงศึกษาธิการ

24.  เรื่อง  ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงานการพัฒนาเขตเศรษฐกิจสามฝ่ายอินโดนีเซีย-มาเลเซีย-ไทย (IMT-GT) และผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT ในวันที่ 16 กันยายน 2565 ณ โรงแรมทราย ลากูนา ภูเก็ต จ.ภูเก็ต รวมทั้งเห็นชอบเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงาน IMT-GT (The 14th IMT-GT Summit) ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ได้แก่ (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงาน IMT-GT และ (2) แผนดำเนินงานระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565 - 2569 และเห็นชอบให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติสามารถปรับปรุงถ้อยคำในแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ในกรณีที่มิใช่การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้ความเห็นชอบอีกพร้อมเห็นชอบให้นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมกับผู้นำประเทศแผนงาน IMT-GT ให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงาน IMT-GT และแผนดำเนินงานระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565 - 2569 ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565
                    สาระสำคัญ
                    1. สาระสำคัญร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงาน IMT-GT
                              (1) ตระหนักถึงการเพิ่มขึ้นของระดับภูมิคุ้มกันของชาติในประเทศสมาชิกที่สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 ช่วยให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสามารถดำเนินต่อ และสัญญาณของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่มีความจำเป็นในการเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อเร่งการฟื้นตัว รวมทั้งอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอนุภูมิภาคที่มีการฟื้นตัว เพื่อกระตุ้นการฟื้นตัวดังกล่าว จึงขอรับรองโครงการ IMT-GT Visit Year 2023-2025 และเป็นการฉลองครบรอบ 3 ปี แผนงาน IMT-GT ในปี 2566 ทั้งนี้ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ความผันผวนของราคาพลังงานและการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลกเป็นประเด็นที่ท้าทายการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และอาจเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวในระยะต่อไป
                              (2) ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะช่วงที่เกิดการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานโลก                      จึงต้องเน้นย้ำความสำคัญของนวัตกรรมและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการผลิตอาหาร รวมทั้งส่งเสริมการพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรตลอดห่วงโซ่อุปทานในอนุภูมิภาคให้สามารถแข่งขันได้ เช่น น้ำมันปาล์มและยาง เป็นต้น ตลอดจนเน้นย้ำถึงความสำคัญด้นสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนระดับโลกในการสร้างความร่วมมือในการสร้างความยั่งยืนของการพัฒนาระดับอนุภูมิภาคผ่านโครงการสีเขียว และการดำเนินโครงการด้านความยั่งยืนผ่านความร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรระหว่างประเทศ รวมทั้งการผลักดันให้เกิดความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของรัฐบาลท้องถิ่นและภาคเอกชนในการดำเนินโครงการกรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (Sustainable Urban Development Framework: SUDF)
                              (3) เน้นย้ำความสำคัญของผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาล ในความก้าวหน้าโครงการ
เสริมสร้างศักยภาพที่เกี่ยวข้องกับการรับรองและการลงทะเบียนมาตรฐานผลิตภัณฑ์ฮาลาล เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางด้านฮาลาลอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งส่งเสริมให้อนุภูมิภาคเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อชาวมุสลิม ตลอดจนสนับสนุนให้มีการดำเนินโครงการเพิ่มเติม เช่น โครงการสำหรับผู้ประกอบการ MSMEs เพื่อยกระดับศักยภาพให้เป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลระดับโลก
                              (4) ให้ความสำคัญกับโครงการความเชื่อมโยงทางศักยภาพ (PCPs) ที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงการ จำนวน 36 โครงการ มูลค่า 57 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในการปรับปรุงความเชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกแก่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาค เพื่อให้การค้าข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคเป็นไปอย่างราบรื่นและสามารถสร้างอนุภูมิภาคที่เป็นมิตรต่อการลงทุน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการลงทุน อาทิ การลงนามบันทึกความเข้าใจ (MoU) โครงการเมืองยางพาราและความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมยาง ตลอดจนการแปลงเป็นดิจิทัล (Digitalization) ที่มีความจำเป็นต่อสังคมให้เกิดความคุ้นชินกับนวัตกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่ม MSMEs และกลุ่มเปราะบาง ผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอนุภูมิภาค โดยสร้างมาตรฐานการรองรับความสามารถทางวิชาชีพ เพื่อสร้างการยอมรับทักษะ สำหรับเตรียมกำลังแรงงานที่มีความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความคล่องตัวของตลาดแรงงานในอนุภูมิภาค
                              (5) เน้นย้ำบทบาทสำคัญของบทบาทของภาคเอกชน ในการเป็นผู้นำในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ IMT-GT และมองหาโอกาสทางธุรกิจร่วมกับคณะทำงานและรัฐบาลท้องถิ่น ตลอดจนการมีส่วนร่วมกับเครือข่ายมหาวิทยาลัย IMT-GT (UNINET) เพื่อสร้างความร่วมมือในทุกภาคส่วน รวมทั้งสนับสนุนให้รัฐบาลท้องถิ่นส่งเสริมความร่วมมือภายใต้ระเบียงเศรษฐกิจของตน เพื่อดึงดูดการลงทุนและดำเนินโครงการตามแนวระเบียงเศรษฐกิจ
                              (6) ยืนยันความมุ่งมั่นในการพัฒนาอนุภูมิภาคให้สอดคล้องกับกรอบความตกลงอาเซียน ในการสนับสนุนกรอบการฟื้นฟูที่รอบคลุมของอาเซียน ผ่านการพัฒนาแผนปฏิบัติการภายใต้กรอบการฟื้นฟูที่ครอบคลุมของอาเซียนระหว่าง IMT-GT และสำนักเลขาธิการอาเซียนในด้านต่าง ๆ รวมทั้งเน้นย้ำถึงประโยข์น์ของการเสริมสร้างความร่วมมือกับประเทศอื่น ๆ ที่จะนำประโยชน์มาสู่อนุภูมิภาคและส่งเสริมความร่วมมือกับคู่เจรจาของอาเซียน
                              (7) ขอบคุณสำหรับการสนับสนุนจากเจ้าหน้าที่อาวุโส IMT-GT คณะทำงาน ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ที่ได้ร่วมมือกับศูนย์ประสานงานความร่วมมืออนุภูมิภาคแผนงาน IMT-GT ในการจัดทำแผนดำเนินงานระยะห้าปี พ.ศ. 2565 - 2569 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ADB ที่ช่วยเหลือและบสนุนด้านต่าง ๆ อาทิ การฟื้นฟูหลังการแพร่ระบาดฯ การศึกษาเรื่องระเบียงเศรษฐกิจและความร่วมมือด้านเศรษฐกิจพิเศษของ ADB การฟื้นฟูเมืองสีเขียวผ่านเมืองอัจฉริยะและน่าอยู่ การลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการขนส่งคาร์บอนต่ำ การเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่ของ IMT-GT ในการฟื้นตัวจากโควิด-19 และการกระชับความร่วมมือกับอาเซียนและอนุภูมิภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่มีความสำคัญต่อการบรรลุเป้าหมายในแผนการดำเนินงานระยะห้าปีฯ ตลอดจนขอต้อนรับสาธารณรัฐอินเดียในฐานะประเทศแรกที่เป็นพันธมิตรด้านการพัฒนาของ IMT-GT รวมทั้ง การเฉลิมฉลองความสำเร็จครั้งสำคัญของความร่วมมือภายใต้แผนงาน IMT-GT ที่จะครบรอบ 30 ปี ในปี พ.ศ. 2566 อันเป็นความภาคภูมิใจในความร่วมมือระยะยาวที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาอนุภูมิภาค
                    2. สาระสำคัญแผนดำเนินงานระยะ 5 ปี พ.ศ. 2565 - 2569 (IB2022 - 2026) เพื่อเป็นแนวทางสำหรับความร่วมมือระดับอนุภูมิภาคในอีกห้าปีข้างหน้าและถือเป็นแนวทางในการบรรลุวิสัยทัศน์ ค.ศ. 2036 ประกอบด้วย (1) การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจเพื่อการบูรณาการในระดับภูมิภาค (2) การเจริญเติบโตที่ขับเคลื่อนโดยภาคเอกชน (3) การจัดตั้งกลไกเชิงสถาบันที่มุ่งเน้นการตอบสนอง (4) การเติบโตแบบครอบคลุม และ (5) การนำใช้หลักการเศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจสีน้ำเงิน และเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการพัฒนาอนุภูมิภาค
                    ทั้งนี้ ประโยชน์ของประเทศไทย ในการเข้าร่วมการประชุมฯ มีดังนี้
                    1) ส่งเสริมบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศโดยใช้ประโยชน์จากการพัฒนาความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคภายใต้แผนงาน IMT-GT ในการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาที่สอดประสานกันระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่นในทุกสาขาความร่วมมือ รวมทั้งสาขาความร่วมมือใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ
                    2) สร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างประเทศเพื่อการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เช่น อุตสาหกรรมยางพารา ปาล์มน้ำมัน และฮาลาล รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนไทยในการเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านในกิจการที่ไทยมีศักยภาพ เพื่อเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
                    3) สร้างความร่วมมือในระดับอนุภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับการรับมือและแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโควิด-19 โดยมีโครงการสำคัญที่จะดำเนินการต่อไป อาทิ การจัดทำแนวทางปฏิบัติร่วมกันสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมให้ IMT-GT เป็นอนุภูมิภาคการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือด้านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs)
                    3. ผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT
                              3.1 องค์ประกอบผู้เข้าร่วมประชุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะรัฐมนตรีประจำแผนงาน IMT-GT ทำหน้าที่ประธานที่ประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2565 ณ โรงแรมทราย ลากูน่า ภูเก็ต จ.ภูเก็ต พร้อมด้วย นายอากุส ภูมิวัง คาตาชาสมิตารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และดาโต๊ะ ซรี มุสตาปา โมฮาเหม็ด รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ด้านเศรษฐกิจ) มาเลเซีย เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะฝ่ายเลขานุการระดับประเทศ แผนงาน IMT-T ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และผู้แทนองค์กรหุ้นส่วนการพัฒนา คือ นายอาเหม็ด เอ็ม ซาอีด รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) และนายลิม ซื่อ เชียนผู้อำนวยการกองความเชื่อมโยงแห่งอาเซียน สำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและเอกชน ทั้งจากส่วนกลางและท้องถิ่น จำนวนกว่า 500 คน
                              3.2 การหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อรายงานการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ครั้งที่ 29 แผนงาน IMT-GT กล่าวรายงานความคืบหน้าการขับเคลื่อนความร่วมมือแผนงาน IMT-GT ในช่วงที่ผ่านมาโดยเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีข้อคิดเห็นจากรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้
                                        1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อคิดเห็นใน 3 ประเด็น คือ (1) สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนกำหนดหลักเกณฑ์การพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับประเด็นการพัฒนาของโลกเช่น เศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจสีน้ำเงิน การเข้าสู่ยุคดิจิทัล มุ่งการลดความยากจน และส่งเสริมความร่วมมือกับภาคเอกชน โดยขอให้ร่วมหารือกับ ADB และแสวงหากลไกการระดมทุนอื่น ๆ เพื่อเร่งพัฒนาโครงการความร่วมมือที่สามารถแปลงสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังเช่นกระทรวงการคลังได้ออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (2) สนับสนุนให้สภาธุรกิจ IMT-GT ของทั้งสามประเทศร่วมหารือแนวทางขจัดปัญหาอุปสรรคขององค์กรเพื่อให้สามารถดำเนินการร่วมคณะทำงานสาขาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ (3) เน้นย้ำให้ทุกภาคส่วนเร่งหารือต่อแนวทางความร่วมมือกับแผนงานความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับอนุภูมิภาคอื่น ๆ เช่น GMS, BIMP-EAGA และ BIMSTEC เพื่อนำหลักการความร่วมมือและบูรณการในภูมิภาค (RCI) สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม
                                        2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อินโดนีเซีย แสดงความขอบคุณประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT และยินดีต่อผลสำเร็จของการจัดทำ IB 2022-2026 ในการนี้ อินโดนีเซียให้การรับรองต่อร่างแผนการดำเนินการฯ ดังกล่าว เนื่องจาก IB 2022-2026 มีแนวทางยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาของโลก นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยังได้ยกประเด็นสำคัญที่อาจเป็นประเด็นปัญหาอุปสรรคอันจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาอนุภูมิภาค อาทิ ความมั่นคงด้านพลังงานและอาหาร การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่เศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ และการแปลงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 สู่การปฏิบัติ นอกจากนี้ รัฐมนตรีฯ ยังได้เน้นย้ำความร่วมมือระหว่างทุกภาคส่วนใน IMT-GT โดยเฉพาะภาคเอกชนและผู้เล่นในภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น สภาธุรกิจ IMT-GT และ UNINET จึงควรหารือร่วมกันในการต่อยอดการดำเนินโครงการให้เกิดผลสำเร็จ
                                        3) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ด้านเศรษฐกิจ) มาเลเซีย ขอขอบคุณประเทศไทยในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT และได้เน้นย้ำถึงประเด็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งการมีส่วนร่วมของภาคเอกชนผ่านสภาธุรกิจ IMT-GT ซึ่งภาคเอกชนเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล รวมทั้งมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค โดยเฉพาะบทบาทสำคัญของภาคเอกชนในการเตรียมความพร้อมการเฉลิมฉลองครบรอบ 30 ปีแผนงาน IMT-GT ในปี 2566 นอกจากนี้ รัฐมนตรีฯ มาเลเซียแสดงความขอบคุณ ADB และสำนักเลขาธิการอาเซียนสำหรับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดและการสนับสนุนที่แข็งแกร่งทั้งทางด้านการเงินและความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคแก่แผนงาน IMT-GT
                                        4) รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) แสดงความยินดีต่อทุกภาคส่วนของ IMT-GT สำหรับความสำเร็จในการออกมาตรการที่เป็นแนวคิดริเริ่มใหม่ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ และได้เน้นย้ำใน 4 ประเด็น ดังนี้ (1) เห็นว่าการดำเนินการของโครงการความเชื่อมโยงทางกายภาพ (PCPs) ตามที่กำหนดไว้ในวิสัยทัศน์ IMT-GT พ.ศ. 2579 และ IB2022 - 2026 มีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการเชื่อมต่อกับห่วงโซ่อุปทาน กอปรกับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นมิตรและฐานทรัพยากรมนุษย์ที่แข็งแกร่งซึ่งจำเป็นต่อการพื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจและสร้างความยืดหยุ่นในระยะยาว (2) ผลการศึกษาของ ADB ในการจัดตั้งระเบียงเศรษฐกิจที่ 6 นำใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาเครือข่ายการผลิตระดับภูมิภาคและข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกการเชื่อมต่อกับห่วงโซ่คุณค่าในระดับโลกและเป็นการดึงดูดการลงทุน ส่งผลให้มีการกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การจ้างงาน เพิ่มการส่งออก และเพิ่มมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศ (FDI) ในเขตเศรษฐกิจพิเศษที่ตั้งอยู่ในระเบียงเศรษฐกิจต่าง ๆ ในนุภูมิภาค                     (3) โครงการการเสริมสร้างขีดความสามารถในการวางแผนการศึกษาด้านการท่องเที่ยวสำหรับภาครัฐและการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการแก้ไขปัญหาและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำธุรกิจการท่องเที่ยวสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย (MSMEs) โดย ADB นับเป็นแนวทางสำคัญสนับสนุนการฟื้นตัวด้านการท่องเที่ยวภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ (4) ADB ได้มีส่วนร่วมในวาระการพัฒนาสีเขียวและสีน้ำเงิน โดยเฉพาะศูนย์กลางการเงินทะเลสีน้ำเงิน (Blue Sea Finance Hub) ณ กรุงจาการ์ตา มีบทบาทสำคัญในการระดมทุน ดำเนินกิจกรรมเสริมสร้างศักยภาพให้กับภาครัฐและเอกชน และส่งเสริมให้ภาครัฐและเอกชนระดมทรัพยากรเพื่อส่งเสริมการลงทุนสีน้ำเงิน โดย ADB ได้จัดทำผลกระทบสีน้ำเงินสำหรับการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเงินภาคมหาสมุทรที่ให้แก่ MSMEs เพื่อเพิ่มโอกาสการลงทุนที่ทำซ้ำได้ โครงการสำคัญ ได้แก่ การทำฟาร์มสาหร่าย การแปรรูปอาหารทะเล และการนำใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน
                                        5) ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการอาเซียน ได้เน้นย้ำใน 3 ประเด็น ดังนี้ (1) แผนงานโครงการในระยะเริ่มแรกของโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียนและแผนงาน PCPs มีส่วนสนับสนุนซึ่งกันและกันได้และเห็นว่าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนมีความสำคัญต่อการสนับสนุนความจำเป็นทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในอนุภูมิภาค (2) สนับสนุนให้แผนงาน IMT-GT นำกรอบแนวคิดและความคิดริเริ่มการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลของอาเซียนเป็นตัวอย่างในการจัดทำเส้นทางบูรณาการดิจิทัลของอนุภูมิภาคและเห็นว่านวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลกภายหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และ (3) การเปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำกลายเป็นสิ่งจำเป็นไม่เพียงแต่เพื่อจัดการกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเสริมสร้างความยืดหยุ่นของภูมิภาคและความสามารถในการแข่งขันในอนาคตอีกด้วย และเห็นว่าแผนงาน IMT-GT ควรจะต้องมีความพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างยั่งยืน โดยอาจจะรวมถึงแผนงาน/โครงการที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและกระตุ้นการเข้าถึงการเงินและการลงทุนด้านสภาพภูมิอากาศของประเทศสมาชิกแผนงาน IMT-GT
                              3.3 การหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อรายงานการประชุมเวทีหารือระดับมุขมนตรีและผู้ว่าราชการจังหวัด (CMGF) ครั้งที่ 19 แผนงาน IMT-GT กล่าวรายงานโดยผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และฝ่ายเลขานุการ CMGF ประเทศไทย โดยมีข้อคิดเห็นจากรัฐมนตรี สรุปได้ดังนี้
                                        1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีข้อคิดเห็นใน 4 ประเด็น ดังนี้ (1) การเชื่อมโยงอย่างไร้รอยต่อถือเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐภิจ โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ไทยและมาเลเซียเร่งดำเนินการก่อสร้างสะพานทั้งสองแห่งใน อ.สุไหงโกลกให้แล้วเสร็จและเริ่มการก่อสร้างเส้นทางถนนจากด่านศุลกากรสะเดา-บูกิตกายูฮิตัมในเร็ววัน ตลอดจนสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายเริ่มพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระหว่างสตูลและปะลิสเพื่อสนับสนุนการเชื่อมโยงกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างผู้คนตามแนวชายแดน นอกจากนี้ ยังสนับสนุนการพัฒนาระบบขนส่งทางราง เพื่อให้รูปแบบการขนส่งในพื้นที่มีความหลากหลายมากขึ้น            (2) เร่งผ่อนคลายกฎระเบียบเพื่ออำนวยความสะดวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจข้ามพรมแดน โดยสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ไทยและมาเลเซียร่วมกันลดข้อจำกัดและอุปสรรคของข้อตกลงการขนส่งทวิภาคีเพื่ออำนวยความสะดวกกิจกรรมทางเศรษฐกิจ (3) มุ่งสร้างโอกาสการลงทุนเพื่อการพัฒนาเมืองยางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการผลิตร่วมระหว่างสามประเทศ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของห่วงโซอุปทานในพื้นที่ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาแผนงาน PCPs และการปรับปรุงมาตรการ กฎระเบียบต่าง ๆ ที่เอื้อต่อการลงทุน และ (4) เน้นย้ำว่าสามประเด็นสำคัญดังกล่าวข้างต้นสามารถดำเนินการได้พร้อมกัน โดยเสนอให้รัฐบาลทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่นจัดทำมาตรการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมผ่านการกระตุ้นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เช่น ADB และคณะทำงานที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันเพื่อเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จเป็นรูปธรรม
                                        2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม อินโดนีเซียมีข้อคิดเห็นใน 5 ประเด็น ดังนี้ (1) เห็นความสำคัญในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับ CMGF แผนงาน IMT-GT เพื่อเป็นตัวจักรสำคัญในการดำเนินแผนงาน/โครงการภายใต้ IB 2022-2026 (2) เสนอให้ CMGF เร่งเชื่อมโยงโครงการระดับอนุภูมิภาคที่มีความสำคัญเข้ากับโครงการของรัฐบาลท้องถิ่นเพื่อให้มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแผนงาน IMT-GT (3) มีการพัฒนากลไกการติดตามและประเมินผลโครงการที่มีประสิทธิภาพเพื่อสร้างความมั่นใจในการดำเนินแผนงาน/โครงการ (4) สนับสนุนให้แผนงาน IMT-GT เสริมสร้างขีดความสามารถสำหรับรัฐบาลท้องถิ่น โดยเฉพาะในการจัดทำข้อเสนอโครงการที่แข็งแกร่ง การระดมทรัพยากรเพื่อดำเนินโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ และ (5) เน้นย้ำถึงความสำคัญของ CMGF ในการส่งเสริมการพัฒนาสีเขียวและวาระการเติบโตสีเขียว โดยใช้ประโยชน์จากการดำเนินการตามกรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน (SUDF) ของ IMT-GT
                                        3) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ด้านเศรษฐกิจ) มาเลเซีย ได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินแผนงาน PCPs เพื่อสนับสนุนการดำเนินการด้านกฎระเบียบและมาตรการต่าง ๆ
รวมทั้งการพัฒนาทุนมนุษย์ นอกจากนี้ สนับสนุนให้ CMGF ดำเนินโครงการให้มีความสอดคล้องกับวาระการพัฒนาของโลก เช่น การพัฒนาสีเขียว เศรษฐกิจหมุนเวียน และการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัล
                                        4) รองประธานธนาคารพัฒนาเอเชียสนับสนุนให้ CMGF ดำเนินโครงการในลักษณะหลากหลายสาขาความร่วมมือ และสนับสนุนการดำเนินการโครงการเมืองสีเขียว โดยได้เน้นย้ำถึงบทบาทของ ADB ในการสนับสนุนเมืองต่าง ๆ เพื่อดำเนินการตามแผนปฏิบัติการเมืองสีเขียว ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิค สนับสนุนภาครัฐและเอกชนในการพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีล้ำสมัย และรูปแบบการจัดหาเงินทุนเพื่อจัดการกับความท้าทายด้านการพัฒนาเมือง นอกจากนี้ ADB ยังได้สนับสนุนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะใน IMT-GT ผ่านกองทุน ASEAN-Australia Smart Cities Trust Fund ซึ่งจะมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมให้เมืองนำร่องคือ ปีนังและปาเล็มบังสามารถการปรับตัวและนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในระบบ
                                        5) ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการอาเซียน หยิบยกประเด็นที่ CMGF ควรให้ความสำคัญคือ (1) การจัดการกับการเติบโตในเมืองขนาดเล็กและเมืองขนาดกลางซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเมืองไปสู่การเป็นเมืองที่ยั่งยืนตามแนวทางของอาเซียน (2) อาเซียนกำลังมีความร่วมมือกับ UN-Habitat ในการพัฒนาข้อเสนอทางเทคนิศสำหรับ 8 เมืองในอาเซียนเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์การทำให้เป็นเมืองที่ยั่งยืนของอาเซียน (ASUS) และแนวคิดริเริ่มเมืองสีเขียวใน IMT-GT ได้เสนอการดำเนินการเชิงดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยจากอาชญากรรมและการก่อการร้าย (3) เน้นย้ำถึงการพัฒนาชุดเครื่องมือเพื่อการลงทุนในเมืองอัจฉริยะของอาเซียนโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เครือข่ายเมืองอัจฉริยะของอาเซียนและเมืองอื่น ๆ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับทางเลือกต่าง ๆ เพื่อการระดมทุนและการจัดหาแหล่งเงินทุนสำหรับโครงการเมืองอัจฉริยะ รวมทั้งระบุกลยุทธ์ที่จำเป็นต่อการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ และ (4) สนับสนุนให้ IMT-GT ใช้ประโยชน์จากโอกาสในการระดมทุนสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจสีน้ำเงิน และเศรษฐกิจหมุนเวียนผ่านกองทุน ACGF โดย ADB จะได้ร่วมมือกับเมืองต่าง ๆ ในอนุภูมิภาค IMT-GT ผ่านทาง ASUS
                              3.4 การหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อรายงานการประชุมระดับรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 8 แผนงาน IMT-GT กล่าวรายงานโดยผู้อำนวยการศูนย์ CIMT โดยมีข้อสั่งการและแนวนโยบายจากรัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT สรุปได้ ดังนี้
                                        1) ประเด็นการพื้นตัวของการท่องเที่ยวในอนุภูมิภาค IMT-GT รัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT มีข้อสั่งการและแนวนโยบาย ดังนี้ (1) ให้ความเห็นชอบ และสั่งการให้เจ้าหน้าที่อาวุโสฝ่ายเลขานุการระดับชาติ คณะทำงานด้านการท่องเที่ยว คณะทำงานด้านคมนาคมขนส่งและความเชื่อมโยง และศูนย์ CIMT ทำงานร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกระทรรงคมนาคมของแต่ละประเทศรวบรวมแผนงาน/โครงการด้านการท่องเที่ยวที่ประสบผลสำเร็จเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสวาระครบรอบ 30 ปี แผนงาน IMT-GTและเป็นการส่งเสริมแผนงานปีแห่งการท่องเที่ยวอนุภูมิภาค IMT-GT พ.ศ. 2566 - 2568 ซึ่งจะได้เปิดตัวในโอกาสการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 15 แผนงาน MT-GT ในปี 2566 (2) สั่งการให้ทุกภาคส่วนของแผนงาน IMT-GT ร่วมกันร่างยุทธศาสตร์เพื่อการพลิกฟื้นการท่องเที่ยว และเตรียมแผนการทำงานเพื่อผลักคันโครงการด้านการท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมและก่อให้เกิดผลกระทบที่สำคัญ และ (3) สนับสนุนการทำงานร่วมกับ ADBและหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาต่าง ๆ ในการเสริมสร้างศักยภาพสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวขนาดกลางและขนาดย่อมและเจ้าหน้าที่ภาครัฐท้องถิ่นเพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลเพื่อสร้างความยืดหยุ่นและความยั่งยืนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของ IMT-GT
                                        2) ประเด็นผลักดันกรอบการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2562 ? 2579 (SUDF) สู่การปฏิบัติ รัฐมนตรีแผนงาน IMT-GT มีข้อสั่งการและแนวนโยบาย ดังนี้ (1) เห็นพ้องในการปรับเป้าหมายและแผนปฏิบัติการภายใต้ SUDF ให้สอดคล้องกับนโยบายระดับชาติ (2) ส่งเสริมการทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น คณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม UNINET และหุ้นส่วนการพัฒนาคือ ธนาคารพัฒนาเอเชีย และสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อร่วมพัฒนาแผนการทำงานและเพื่อเร่งดำเนินแผนงาน/โครงการภายใต้ SUDF สู่การปฏิบัติ และ (3) ให้ความสำคัญแผนงาน/โครงการภายใต้ SUDF ที่มุ่งเน้นเมืองท่องเที่ยวเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและ (4) ขอให้ประเทศสมาชิกเร่งการดำเนินโครงการภายใต้ SUDF ที่มุ่งเน้นนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้เพื่อดึงดูดการลงทุนสีเขียว
                    ทั้งนี้ สาระสำคัญของผลการประชุมระดับรัฐมนตรี ครั้งที่ 28 แผนงาน IMT-GT ซึ่งจัดขึ้นเมื่อ
วันที่ 16 กันยายน 2565 ณ ประเทศไทย จะนำไปรายงานต่อผู้นำประเทศสมาชิก IMT-GT ในการประชุมระดับผู้นำ ครั้งที่ 14 แผนงาน IMT-GT ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา

แต่งตั้ง
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงมหาดไทย)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นางสาวอัญชลี            ตันวานิช ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนักพัฒนามาตรฐาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการผังเมือง (นักผังเมืองทรงคุณวุฒิ) กรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                 (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นางศิริมา ลีละวงศ์ ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (วิชาการพยาบาล) ระดับสูง] กองการพยาบาล สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่ง พยาบาลวิชาชีพทรงคุณวุฒิ (ด้านการพยาบาล) กลุ่มที่ปรึกษาระดับกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 8 สิงหาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

27. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนายธีรัชย์ อัตนวานิช เป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการธนาคารออมสิน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของประธานกรรมการหรือกรรมการซึ่งตนแทน

28. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอแต่งตั้ง                นายภูมิวิศาล เกษมศุข เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน แทนตำแหน่งที่ว่าง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหารระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งว่าง และสับเปลี่ยนหมุนเวียน จำนวน 2 ราย ดังนี้
                    1. นายธีร์ ภวังคนันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
                     2. นายวีระ แข็งกสิการ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ