สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday November 15, 2022 17:03 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

          วันนี้ (15 พฤศจิกายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

เศรษฐกิจ-สังคม
          1.           เรื่อง            สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี                                         ครั้งที่ 17 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 สิงหาคม 2565)
          2.           เรื่อง           การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด
          3.           เรื่อง           แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น)
          4.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายในการช่วยเหลือ                                        และสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกันตนและนายจ้าง ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน                               วุฒิสภา
          5.           เรื่อง            ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเพื่อการ                                        รักษาพยาบาลระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT
          6.           เรื่อง           ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม
                              ครั้งที่ 18/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้                              พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2565
          7.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา รายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง ติดตามการใช้                              จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา                                         และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา                               2019 พ.ศ. 2563 และติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจ                                                  กระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไข้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อ                              ไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ห้วงเวลาการดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2563 ?

31 ธันวาคม 2564) ของคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา

          8.           เรื่อง           รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อ                                        แก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ                              โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง                              กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                                         เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ณ เดือนตุลาคม 2565
          9.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมใน                                        ประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา
          10.           เรื่อง           ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิ                                        สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
           11.           เรื่อง           โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุน                              ค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
           12.           เรื่อง           ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ

ครั้งที่ 1/2565

ต่างประเทศ

          13.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่                                        เกี่ยวข้อง
          14.            เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7
          15.            เรื่อง           สรุปผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็น                                        ทะเลทราย ครั้งที่ 15
          16.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ                              เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism                               in Thailand to Support Sustainable Tourism Development)
          17.           เรื่อง           ร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐ                                        ประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทาง                              ทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
           18.           เรื่อง            ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 33 และการ                              ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29
          19.            เรื่อง            ร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในระยะ
                              5 ปี และร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับ                                        ความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
          20.           เรื่อง           ร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ระหว่างรัฐบาลแห่ง                                        ราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2565 - 2569)
          21.           เรื่อง           ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการ                                        ดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย - จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง                               มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐ

ประชาชนจีน ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค

          22.            เรื่อง           การรับรองร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
          23.            เรื่อง           ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย                              กับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
          24.            เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของ                                        ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
          25.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีระหว่าง                                        กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทย และ                                        สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
          26.           เรื่อง           ขออนุมัติลงนามและดำเนินการให้ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการ                              ศาลระหว่างประเทศในคดีแพ่งระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยม                                        เวียดนามมีผลใช้บังคับ
          27.           เรื่อง           การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง                                        ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือ

เดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ

          28.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่าง                                        กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่ง                                        ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
          29.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่ง                                        ราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
          30.           เรื่อง           ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทย                              และญี่ปุ่น และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ระหว่างกระทรวง                                        พลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศ                              ญี่ปุ่น
          31.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและ                                        เศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์                                        สาธารณรัฐประชาชนจีน
          32.           เรื่อง           ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างไทย ?                                         เวียดนาม  พ.ศ. 2565 ? 2570

แต่งตั้ง
          33.          เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                                     (สำนักนายกรัฐมนตรี)
          34.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
          35.           เรื่อง           การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตร                                        และสหกรณ์การเกษตร
          36.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแทนผู้ที่ลาออก
          37.           เรื่อง           ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
          38.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
          39.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง                              ของมนุษย์)

?

เศรษฐกิจ-สังคม
1. เรื่อง  สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 17 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 สิงหาคม 2565)
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 17 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-31 สิงหาคม 2565) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. นโยบายหลัก 8 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์          1.1) โครงการ 45 ปี โครงการหมู่บ้านสหกรณ์สันกำแพง อำเภอแม่ออน              ตามพระราชดำริ เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ รัชกาลที่ 9 และเผยแพร่               พระราชกรณียกิจด้านการสร้างงานและส่งเสริมอาชีพ สืบสานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามพระดำริ
1.2) โครงการ 99 ดวงตาเพื่อทหารกล้าถวายเป็นพระราชกุศล เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนนีพันปีหลวง 12 สิงหาคม 2565 เพื่อให้บริการเปลี่ยนดวงตาเทียมให้แก่ทหารผ่านศึกที่สูญเสียดวงตาและมีบริการตรวจสุขภาพดวงตา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น
2) การสร้างความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ          จัดกิจกรรมการ Kick off รณรงค์สวมหมวกนิรภัย 100%  โดยให้ทุกจังหวัดและส่วนราชการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยเฉพาะสถานศึกษาสถานพยาบาล หน่วยงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก         สถานประกอบการและนิคมอุตสาหกรรม ให้เป็นพื้นที่สวมหมวกนิรภัย 100%  รวมทั้งนำระบบเทคโนโลยีมาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดกับผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ และรณรงค์ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ผ่านสื่อทุกช่องทางในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
3) การทำนุบำรุงศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม          3.1) จัดงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ                พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 ?ภูษาศิลป์ จากท้องถิ่นสู่สากล?  โดยมีการแสดงแบบผ้าไทย การออกร้านและจำหน่ายผ้าและผลิตภัณฑ์จากผ้าแบบครบวงจร              การเปิดเจรจาธุรกิจ (Business Matching) ในอุตสาหกรรมผ้าทั้งในและต่างประเทศ มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 9 ล้านคน มีการเจรจาการค้า 347 คู่ โดยเป็นยอดซื้อขายทันทีภายในงานกว่า 9 ล้านบาท และคาดว่ามีเงินสะพัดจากการซื้อขายภายใน 1 ปี กว่า 463  ล้านบาท
3.2) จัดงานประชุมวิชาการทางวัฒนธรรมแห่งชาติ ?วิจัยวัฒนธรรม ครั้งที่ 12?
?พลังวัฒนธรรมในยุคสังคมดิจิทัล? โดยเสนองานวิจัยใน 4 หัวเรื่อง ได้แก่            (1) พลังโภชนศิลป์ (2) พลังหัตถศิลป์ (3) พลังสังคีตศิลป์ และ (4) พลังนาฏศิลป์
4) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย           4.1) เศษฐกิจมหภาค การเงินและการคลัง เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพ                การติดตามผู้มีเงินได้ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษี ภ.ง.ด. 94 ปีภาษี 2565               เพื่อพัฒนานวัตกรรมการบริการด้านการแจ้งเตือนการยื่นภาษีเงินได้ภายในกำหนดเวลา และอำนวยความสะดวกให้กับผู้มีเงินได้/ผู้ประกอบการโดยการให้คำแนะนำในการชำระภาษีอากรอย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบันรวมถึงลดภาระเบี้ยปรับและเงินเพิ่มเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางภาษีและสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ที่อยู่ในระบบภาษีอากร
4.2) พัฒนาภาคเกษตร เช่น โครงการ ?คุ้มครองอุบัติเหตุ เซฟเกษตรอาสา?   โดยการมอบกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุรายย่อย 20,000 กรมธรรม์ ในวงเงินเอาประกันสูงสุด 100,000  บาท รวมถึงค่าชดเชยจากการขาดรายได้ระหว่างเข้ารับการรักษาตัวในกรณีที่ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ โดยมีอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้านเป็นกลุ่มเป้าหมายนำร่อง และโครงการส่งเสริมไหมอุตสาหกรรมรังเหลืองตามนโยบายตลาดนำการผลิต ?น่านโมเดล? โดยในปี 2564 มีเกษตรกรปลูกหม่อนเลี้ยงไหมอุตสาหกรรมรังเหลือง จำนวน 305 ราย มีผลผลิตรังไหม รวม 58.3 ตัน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรเป็นเงิน 9.07 ล้านบาท
4.3) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น การประชุมคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 60 และการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ระหว่างวันที่15-19 สิงหาคม 2565 โดยผลักดันแนวคิด ?Regenerative Tourism :               การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน? สู่การพลิกฟื้นการท่องเที่ยวเพื่อความอยู่ดี กินดี
ของประชาชน ในช่วงหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019               (โควิด-19)
4.4) พัฒนาการค้าการลงทุนเพื่อมุ่งสู่การเป็นชาติการค้าการบริการและการลงทุนในภูมิภาค ได้แก่ (1) ?พาณิชย์? บุกตลาดซาอุดีอาระเบียเร่งเจรจาสร้างความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อผลักดันการขายสินค้าไทย ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน ทั้งนี้ ตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 การค้าระหว่างไทย-ซาอุดีอาระเบียมีมูลค่า 194,522.17 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.24 โดยไทยส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 26 และ (2) พาณิชย์เดินหน้า ?อมก๋อยโมเดล?  หรือ ?เกษตรพันธสัญญา? ซึ่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูก ?ลองกอง? ในจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง โดยการส่งเสริมให้ห้างสรรพสินค้าและผู้ประกอบการลงนามความร่วมมือซื้อขายผลผลิตล่วงหน้ากับเกษตรกร 1,200 ราย  และมีปริมาณผลผลิตกว่า 7,500 ตัน
4.5) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม โดยลงนามความร่วมมือในสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ             การสื่อสารและดิจิทัล และความร่วมมือด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเพื่อการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และกระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารแห่งประเทศญี่ปุ่น 2 ฉบับ ซึ่งมีขอบเขตการดำเนินงาน เช่น ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และข้อมูลที่เกี่ยวข้องในด้านการตรวจสภาพอากาศและการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติ รวมถึงความร่วมมือภายใต้ศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และระดมสมองขับเคลื่อนอาสาสมัครดิจิทัลสร้างเครือข่ายคนดิจิทัลระดับชุมชนเสริมความรู้เท่าทันเทคโนโลยี สร้างภูมิต้านทานให้ประชาชนป้องกันการถูกหลอกลวงจากภัยออนไลน์ โดยเน้นพัฒนาคนรุ่นใหม่ที่มีจิตอาสาให้มีความรู้ความเข้าใจ การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสอดคล้องกับโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อจะช่วยให้คำแนะนำประชาชนในระดับพื้นที่/ชุมชนให้ใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม
5) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของฐานราก           ดำเนินโครงการสินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและ           ค่าลงทุนให้แก่กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง สถาบันการเงิน ประชาชน สถาบันการเงินชุมชน สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน วิสาหกิจเพื่อสังคม และผู้ประกอบการธุรกิจเกษตร โดยเปิดรับคำขอสินเชื่อถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ มีการอนุมัติสินเชื่อแล้ว 4,687 ราย วงเงิน 21,669 ล้านบาท
6) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย           ดำเนินโครงการวิทยาลัยเทคโนโลยีฐานวิทยาศาสตร์ (Science-Based  Technology College: SBTC) เน้นการผลิตกำลังคนที่มีความสามารถในการประดิษฐ์คิดค้นเชิงเทคโนโลยีในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางเทคโนโลยีให้กับ             ภาคการผลิตและบริการ เพื่อนำไปสู่การยกระดับคุณภาพกำลังคนอาชีวศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการฐานนวัตกรรมและเป็นวิศวกรสังคม โดยเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เสริมสร้างทักษะด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีจากการเรียนการสอนของวิทยาลัยต่าง ๆ และนานาประเทศ
7) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันทางสังคม          จัดฝึกอบรมแพทย์ประจำตำบล ?โครงการพัฒนาศักยภาพแพทย์ประจำตำบลการสาธารณสุขเพื่อแผ่นดิน รุ่นที่ 3? เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพให้แก่แพทย์ประจำตำบลในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและนำความรู้ที่ได้รับไปขยายผลต่อยอดให้กับประชาชนในหมู่บ้านและตำบลตามหลักการพึ่งพาตนเองได้ มีกลุ่มเป้าหมายแพทย์ประจำตำบล 20 จังหวัด 322 คน
8) การป้องกัน ปราบปราม ทุกจริตและประพฤติมิชอบ และกระบวนการยุติธรรม          8.1) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยกระทรวงกลาโหมร่วมกับสำนักงานศาลปกครอง เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความร่วมมือในการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในสังคม การพัฒนาบุคลากร และการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ
8.2) โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ ?เทคนิคการใช้กฎหมายป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบในราชการทหาร? ในหัวข้อเรื่อง ?กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานภาครัฐ? และ ?เทคนิคการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอาญาในระบบไต่สวน? เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และนำไปขยายผลต่อการปฏิบัติหน้าที่ให้มีประสิทธิภาพ และป้องกันการกระทำผิดจากการทุจริตเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้กับประชาชน มีผู้เข้าร่วมงาน 600 คน

                    2. นโยบายเร่งด่วน 10 เรื่อง ประกอบด้วย
นโยบายเร่งด่วน          มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน          ช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ด้อยโอกาส เช่น ดำเนินโครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 973 แห่ง 353,267 ราย และดำเนินโครงการบริหารจัดการที่ดินทำกินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาส 25,479 ราย ดำเนินการได้เกินกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ร้อยละ 8.42 (เป้าหมาย 23,500 ราย)
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน           2.1) โครงการสินเชื่อกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เพื่อช่วยเหลือข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยแก้ไขปัญหาหนี้สินผู้ถูกฟ้อง            ร้องผู้มีหนี้สินวิกฤติ หรือมียอดเงินเดือนเหลือไม่ถึงร้อยละ 30 มีผู้ลงทะเบียนแล้ว 41,128 ราย รวมมูลค่าหนี้ 58 ล้านบาท
2.2) โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ โดยโอนเงินให้แก่ผู้มีสิทธิผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2564-31 สิงหาคม 2565 รวม 44,873.10 ล้านบาท
2.3) จ่ายเงินสวัสดิการสังคมและเงินอื่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม (e-Social Welfare) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 สิงหาคม 2565 รวม 131,354.82 ล้านบาท
3) มาตรการเศรษฐกิจเพื่อรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลก           ดำเนินโครงการ SME ปรับตัวรับมือ VUCA World ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (Volatility Uncertainty Complexity Ambiguity: VUCA) โดยสำนักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมดำเนินการลงพื้นที่ให้ปรึกษาเชิงลึก ณ สถานประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) สามารถสร้างโมเดลธุรกิจบริการใหม่ หรือปรับเปลี่ยนธุรกิจให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น 76 กิจการ และเข้าสู่กระบวนการพัฒนาปรับปรุงเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการแล้ว 5 ราย มีผลการดำเนินงานในภาพรวมร้อยละ 77.50
4) การให้ความช่วยเหลือเกษตรกรและพัฒนานวัตกรรม          4.1) ยกระดับเศรษฐกิจชุมชนด้วยนวัตกรรมผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำสำหรับ         โคเนื้อและกระบือ โดยสนับสนุนทุนวิจัยให้แก่คณะวิจัยจากมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำสำหรับโคขุนและกระบือให้กับเกษตรกรทดแทนการซื้ออาหารสำเร็จรูป สามารถลดต้นทุนลง 2.60 บาท/กิโลกรัม หรือ 13,000 บาท/รอบการผลิต
4.2) ดำเนินโครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตร              เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) เช่น พัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุน            การปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมตาม Agi-Map จำนวน 67,290 ไร่             และส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตพืชที่เหมาะสมตามแผนที่ Agri-Map จำนวน 2,670 ไร่
4.3) ดำเนินโครงการประกันภัยข้าวนาปี และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ปีการผลิต 2565 ได้แก่ โครงการประกันภัยข้าวนาปีขั้นพื้นฐาน 1.912                  ล้านราย และภาคสมัครใจ 7,162 ราย เบี้ยประกันภัยรวม 2,891.22 ล้านบาท และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ขั้นพื้นฐาน 70,574 ราย และภาคสมัครใจ         7 ราย เบี้ยประกันภัยรวม 221.85 ล้านบาท
5) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน          5.1) กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2565 ตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างเรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 11) ลงวันที่ 1 กันยายน 2565 โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มในอัตราวันละ 8-22 บาท เป็นอัตราวันละ 328-354 บาท โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
5.2) ขยายตลาดแรงงานไทย เช่น ส่งเสริมให้แรงานไทยไปฝึกงาน ณ ประเทศญี่ปุ่น
และส่งเสริมให้แรงงานไทยไปทำงาน ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย
5.3) ยกระดับทักษะแรงงานนอกระบบ โดยดำเนินการยกระดับทักษะฝีมือแรงานให้แก่แรงงานนอกระบบ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชายทะเลฝั่งอันดามันและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ตำบลทับปุด จังหวัดพังงา
6) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต          6.1) ส่งเสริมการลงทุน โดยมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2565 ในพื้นที่ ?เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)? (Eastern Economic Corridor: EEC) (จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง)              315 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 170,383 ล้านบาท และในพื้นที่ ?เขตเศรษฐกิจพิเศษ (SEZ)?  (Special Economic Zone: SEZ) 3 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 2,277 ล้านบาท
6.2) โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เช่น              ปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางขับระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุง                อากาศยาน มีความคืบหน้าร้อยละ 93.67 และโครงการงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็นมีความคืบหน้าร้อยละ 76.40
7) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21           7.1) จัดงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ประจำปี 2565                ในรูปแบบ Science Carnival และงาน ?NST Fair Science Carnival Bangkok?
ภายใต้แนวคิด ?วิทย์ปลุกชีวิต? เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนและประชาชนไทยเกิดความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
7.2) สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ และโครงข่ายสังคมออนไลน์ของคนไทย โดยเปิดตัวเว็บ www.คลิปหลุดทำไง.com รับแจ้งเหตุล่วงละเมิดทางเพศ สื่อลามกเด็กผ่านออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง
8) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้           8.1) ปราบปรามยาเสพติด โดยมีการจับกุมคดียาเสพติด 23,564 คดี ผู้ต้องหา            23,330 คน และยึดของกลาง เช่น ยาบ้า 44.55 ล้านเม็ด ไอซ์ 930.73 กิโลกรัม และเฮโรอีน 52.93 กิโลกรัม
8.2) ดำเนินโครงการตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้  เช่น ปรับปรุงพื้นที่ปลูกข้าวให้มีความเหมาะสม ในพื้นที่ 2,983 ไร่ และให้บริการด้านการผลิตพืชแก่เกษตรกร โดยจัดทำแปลงขยายผลการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้กับ         เกษตรกรต้นแบบ 480 ราย
9) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน          9.1) พัฒนาระบบอิเล็กทรอนิกส์การบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศระยะที่ 4 แล้วเสร็จ ทำให้ผู้หางานสามารถยื่นคำขอส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศได้ 2 วิธี คือ (1) ผ่านระบu e-Service เละ (2) ยื่นคำขอ ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ทั้งนี้ กรณีคนหางานแจ้งการเดินทางด้วยตนเองเริ่มเปิดให้ใช้บริการตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2565 เป็นต้นไป
9.2) อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้แก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีช่าประเภทพิเศษ SMART Visa ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม 2565 มีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น                 268 คำขอ
9.3) จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินในพื้นที่กรุงเทพมหานครระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2565 จำนวน 179 ครัวเรือน 508 คน แบ่งเป็น อัคคีภัย 154 ครัวเรือน 458 คน 3.60 ล้านบาท และวาตภัย 25 ครัวเรือน 50 คน 203,560 บาท ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564-31 สิงหาคม 2565 ได้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติแล้ว 918 ครอบครัว  2,265 คน รวมทั้งสิ้น 15.39              ล้านบาท
10) การจัดเตรียมมาตรการรองรับภัยแล้งและอุทกภัย           10.1) จัดการน้ำท่วมอุทกภัย เช่น (1) โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา (งานปรับปรุงสะพานรถไฟ ความยาว 110 เมตร) มีผลการดำเนินงานร้อยละ 98.33 (2) โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ขุดคลองระบายน้ำหลากพร้อมอาคารประกอบ) มีผลการดำเนินงานร้อยละ 26.63  และ (3) โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ    จังหวัดชัยภูมิ (ระยะที่ 1) (ก่อสร้างคลองผันน้ำลำปะทาว-สระเทวดาพร้อมอาคารประกอบ) มีผลการดำเนินงาน ร้อยละ 18.26
10.2) ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ระหว่างวันที่                          9 พฤษภาคม-7 สิงหาคม 2565 ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรด้านพืช ใน 24 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 40,803 ราย พื้นที่เสียหาย 255,505 ไร่ ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 181 ราย ในพื้นที่ 561 ไร่ วงเงิน 0.93 ล้านบาท และกลุ่มเกษตรกรด้านประมง ใน 15 จังหวัด เกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,513 ราย พื้นที่เสียหาย 2,146 ไร่ ดำเนินการช่วยเหลือแล้ว 335 ราย ในพื้นที่ 283 ไร่  วงเงิน 1.42 ล้านบาท

2. เรื่อง การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ เซอร์วิส จำกัด (บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ) จากภารกิจหลักที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ สามารถขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจ ภายใต้หลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนในบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
                    1. Maintenance Service Center: การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
                    2. Parts Manufacturing: การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้า และอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
                    3. Operation Services: การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งบริษัท Mitsubishi Heavy Industries, Ltd. (บริษัท MHI) หรือบริษัท Mitsubishi Power, Ltd. (บริษัท MP) หรือบริษัท Mitsubishi Corporation1 (บริษัท MC) ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    พน. รายงานว่า
                    1. ภาพรวมของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ
                    บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่                  3 มิถุนายน 2552 โดยมีทุนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นและการให้บริการธุรกิจ สรุปได้ ดังนี้
รายการ          สาระสำคัญ
1.1 ทุนจดทะเบียน          จำนวน 623 ล้านบาท แบ่งเป็นจำนวนหุ้น 6.23 ล้านหุ้น มีมูลค่าที่ตราไว้ที่หุ้นละ 100 บาท
1.2 ผู้ถือหุ้น          จำนวน 4 ราย ได้แก่
(1) กฟผ. ถือหุ้นร้อยละ 45
(2) บริษัท Mitsubishi Power Asia Pacific Pte. Ltd. (บริษัท MPAP) ถือหุ้นร้อยละ 30
(3) บริษัท MC ถือหุ้นร้อยละ 15
(4) บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นร้อยละ 10
1.3 การให้บริการธุรกิจ          ประกอบธุรกิจตามสัญญาร่วมทุนระหว่างผู้ถือหุ้น (Joint Venture Agreement: JVA) ในการให้บริการซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path ของเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยบริษัท MHI/บริษัท MPAP และเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่นครอบคลุมพื้นที่ให้บริการทั้งในและต่างประเทศ โดยปัจจุบันสามารถดำเนินการซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path Parts ยี่ห้อ Mitsubishi รุ่น M701D, M701F และ M251S ยี่ห้อ General Electric รุ่น 9E, 6B และ 9FA และยี่ห้อ Siemens รุ่น V94.3A
                    2. เหตุผลความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ
ประเด็น          สาระสำคัญ
2.1 ผลประกอบการของบริษัทมีแนวโน้มลดลง          ปริมาณงานซ่อมชิ้นส่วนเครื่องกังหันก๊าซไม่เป็นไปตามประมาณการไว้ เนื่องจาก Disruptive Technology และการสนับสนุนพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) ในการผลิตไฟฟ้า ดังนั้น เพื่อให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ยังคงมีผลประกอบการที่มั่นคงและเติบโตอย่างต่อเนื่องยั่งยืน จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจได้มากขึ้นในขอบเขตธุรกิจที่บริษัท อีแกท              ไดมอนด์ฯ มีความชำนาญ
2.2 ผลกระทบจาก Disruptive Technology          ปัจจุบัน มีการขยายตัวของการผลิตและการใช้พลังงานหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้โรงงานไฟฟ้าประเภทกังหันก๊าซต้องลดกำลังการผลิตในบางส่วน และส่งกระทบต่อแผนการซ่อมบำรุงของโรงไฟฟ้าที่ต้องยืดระยะเวลาออกไป ซึ่งส่งผลต่อรายได้จากงานซ่อมของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ที่จะลดลงในอนาคต
2.3 ความต้องการพัฒนาศักยภาพทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง          ด้วยบริบทของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป การดำเนินธุรกิจซ่อมชิ้นส่วนเครื่องกังหันก๊าซอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ดังนั้น บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จึงเพิ่มศักยภาพทางธุรกิจด้วยการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจหลัก (Core Business) ขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ (Refurbishment) โดยเพิ่มธุรกิจบำรุงรักษา (Maintenance) เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2.4 ความต้องการต่อยอดความเชี่ยวชาญของบุคลากร          ด้วยบุคลากรของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ มีความเชี่ยวชาญในด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับงานซ่อมบำรุงเครื่องกังหันก๊าซอีกด้วย ซึ่งสามารถต่อยอดไปสู่การดำเนินธุรกิจ Maintenance รวมถึงการให้บริการด้านการบริหารจัดการอะไหล่แก่โรงไฟฟ้าและธุรกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในปัจจุบันของบริษัทให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด
                    3. การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ
                              3.1 บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จะขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจจากการให้บริการซ่อมชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ โดยเพิ่มการให้บริการที่ครอบคลุมการบำรุงรักษาและการผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยแบ่งเป็น 2 ธุรกิจหลัก ได้แก่ (1) ธุรกิจการให้บริการบำรุงรักษา (Maintenance Service Center) และ (2) ธุรกิจการผลิตชิ้นส่วน (Parts Manufacturing) สรุปได้ ดังนี้
วัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552          การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจ
ของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ
(1) การซ่อมชิ้นส่วน Hot Gas Path (ชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องกังหันก๊าซ) สำหรับเครื่องกังหันก๊าซที่ผลิตโดยบริษัท MHI หรือที่ผลิตโดยผู้ผลิตรายอื่น ๆ
(2) ให้บริการซ่อมบำรุงโรงไฟฟ้าสำหรับโรงไฟฟ้าที่ใช้เครื่อง Gas Turbine ของบริษัท MHI           (1) Maintenance Service Center: การให้บริการบำรุงรักษาที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
          (งานตามภารกิจหลักในปัจจุบัน ในข้อ 1 และ 2 แต่มีบางส่วนของงานที่ขยายเพิ่มเติม)
          (2) Parts Manufacturing: การผลิตชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง
          (งานที่ขยายเพิ่มเติมจากภารกิจหลักในปัจจุบัน)
(3) ให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้าซึ่งบริษัท MHI หรือ บริษัท MC ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว          (3) Operation Services: การให้บริการรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้า ซึ่งบริษัท MHI หรือบริษัท MP หรือบริษัท MC ได้รับสิทธิในงานดังกล่าว
          (งานตามภารกิจเดิมตามข้อ 3)
                              3.2 บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ได้วิเคราะห์ความสอดคล้องของแผนธุรกิจใหม่กับหลักเกณฑ์การจัดตั้ง/ร่วมทุนและกำกับดูแลบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจ พบว่า แผนธุรกิจใหม่ยังมีความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ดังกล่าว โดยการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจดังกล่าวเป็นการต่อยอดจากธุรกิจดำเนินการอยู่ในปัจจุบันและยังคงเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง โดยไม่เป็นการดำเนินการที่เป็นภารกิจหลักของ กฟผ. แต่เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องโดยตรงกับภารกิจหลักของ กฟผ. ทั้งนี้ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ ไม่ได้รับสิทธิพิเศษจาก กฟผ. แต่อย่างใด และไม่ได้ดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันกับเอกชน2
                              3.3 ในการดำเนินแผนธุรกิจใหม่ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ สามารถใช้เครื่องจักร อุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ ในปัจจุบัน มาใช้ในการดำเนินธุรกิจใหม่ด้วยทำให้ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติม อย่างไรก็ดี กรณีที่ต้องลงทุนในสินทรัพย์เพิ่มเติมในอนาคต บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ สามารถใช้เงินลงทุนจากเงินทุนหมุนเวียนภายในบริษัทและเงินกู้ ทั้งนี้ การดำเนินแผนธุรกิจใหม่จะส่งผลให้บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ มีสัดส่วนรายได้ส่วนเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 22.2 สัดส่วนกำไรสุทธิส่วนเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 22.4 และส่วนการจ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นส่วนเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 23.6
                              3.4 แผนการดำเนินงาน
การดำเนินงาน          เป้าหมาย
(1) คณะกรรมการ กฟผ. เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ และร่างสัญญา Joint Venture Agreement ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม          เดือนมิถุนายน 2564
(เห็นชอบเมื่อ 23 มิถุนายน 2564)
(2) สำนักงานอัยการสูงสุด (อส.) เห็นชอบร่างสัญญา Joint Venture Agreement ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติม          เดือนพฤศจิกายน 2564
(เห็นชอบเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2564)
(3) คณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) เห็นชอบการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ           เดือนมีนาคม 2565
(เห็นชอบเมื่อ 16 มีนาคม 2565)
(4) พน. พิจารณาเห็นชอบนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ          เดือนสิงหาคม 2565
(5) คณะรัฐมนตรีอนุมัติการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ          เดือนสิงหาคม 2565
(6) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ อนุมัติการขยายขอบเขตการดำเนินธุรกิจของบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ          เดือนตุลาคม 2565
                    4. ประโยชน์ที่จะได้รับ
สำหรับ          สาระสำคัญ
ประเทศไทย           - การผลิตชิ้นส่วน Accessory Parts ภายในประเทศด้วยมาตรฐานเดียวกันกับผู้ผลิต จะช่วยลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศและยังมีโอกาสส่งชิ้นส่วนที่ผลิตได้เองในประเทศออกไปจำหน่ายได้ทั่วโลก
- ช่วยลดระยะเวลาในงานซ่อมและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ส่งผลให้โรงไฟฟ้ามีค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ระบบการจ่ายกระแสไฟฟ้าในประเทศมีความมั่นคงเพิ่มมากขึ้น
- เพิ่มขีดความสามารถและการพึ่งพาตนเองด้านอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องได้มากขึ้นในอนาคต
ด้านอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ และสังคม          - เป็นผลดีต่อระบบความพร้อมจ่ายของอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องของประเทศไทย เนื่องจากมีศูนย์ให้บริการบำรุงรักษาที่มีศักยภาพเทียบเท่าบริษัทผู้ผลิต (Original Equipment Manufacturer: OEM) ในประเทศ
- ได้รับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากผู้ผลิตและ/หรือเจ้าของเทคโนโลยี
- สนับสนุนให้ผู้ประกอบการด้านอุตสาหกรรมในประเทศมีการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเป็น Outsource ให้กับบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ
- เพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากลูกค้าต่างประเทศ
- ช่วยสร้างงานและรายได้ให้ประชาชน ซึ่งเป็นการสนับสนุนการจ้างงานภายในประเทศ
- ทำให้คนไทยได้เรียนรู้ด้านเทคโนโลยีและเป็นการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรให้สูงขึ้น
กฟผ.           - เพิ่มขีดความสามารถในการเป็นผู้ให้บริการด้านการเดินเครื่องและบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าอย่างครบวงจรจากการดำเนินธุรกิจร่วมกันระหว่างกลุ่ม กฟผ. และพันธมิตร
- เพิ่มความคล่องตัวในการดำเนินธุรกิจเดินเครื่องและบำรุงรักษาให้กับ กฟผ.
- สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจในระยะยาวจากผลตอบแทนทางการเงินที่เพิ่มสูงขึ้น
บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ          - ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีในงานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าและงานผลิตชิ้นส่วนในระดับสูงเทียบเท่าบริษัทผู้ผลิต
- สร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจในระยะยาว
                    5. คณะกรรมการ กฟผ. ในคราวประชุม ครั้งที่ 7/2564 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบ (1) การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ จากที่ได้รับอนุมัติในคราวจัดตั้งบริษัทตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2552 และให้นำเสนอ พน. คนร. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามลำดับ และ (2) ร่างสัญญา Joint Venture Agreement ที่มีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจของ บริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ พร้อมทั้งให้ กฟผ. ลงนามสัญญาร่วมทุนดังกล่าว เมื่อผ่านการตรวจพิจารณาจาก อส. แล้ว รวมทั้ง คนร. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่                    16 มีนาคม 2565 มีมติเห็นชอบในหลักการและให้ความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ กฟผ. ได้ปรับปรุงรายงานความเหมาะสมการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การดำเนินธุรกิจบริษัท อีแกท ไดมอนด์ฯ เพื่อให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันด้วยแล้ว
1 บริษัท MC เป็นบริษัทที่จดทะเบียนตามกฎหมายประเทศญี่ปุ่น โดยดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมหลายสาขา รวมถึงอุตสาหกรรมพลังงาน โลหะ เครื่องจักรกล เคมีภัณฑ์ อาหาร และธุรกิจที่เกี่ยวกับการค้าด้านต่าง ๆ
2 เนื่องจากเป็นการดำเนินธุรกิจที่จะต้องได้รับ License จากบริษัท MP และบริษัทในเครือของบริษัท MP ซึ่งไม่มีเอกชนรายอื่นในประเทศที่ได้รับ License ดังกล่าว

3. เรื่อง แนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ และเห็นชอบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
                    1. รับทราบแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) และแนวทางการขับเคลื่อน
                    2. มอบหมายให้กระทรวงการคลัง (กค.) โดยคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด1 (คบจ.) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ ดังนี้
                        2.1 นำแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) ไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น และให้ประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในการประเมิน และให้พิจารณาคัดเลือกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ให้ครอบคลุมทุกประเภท ยกเว้น อปท. รูปแบบพิเศษ2
                        2.2 ในกรณีที่ คบจ. พบประเด็นที่ควรเพิ่มความเข้มแข็ง ปัญหาหรือข้อจำกัดจากการประเมิน สามารถให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเหมาะสมโดยตรงหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                        2.3 นำข้อมูลเผยแพร่ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสาธารณชนภายในจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันส่งเสริมผลักดันให้ อปท. มีศักยภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                    3. ให้ กค. สรุปและรายงานผลการประเมินในภาพรวม และแผนการดำเนินการในระยะต่อไป                 ต่อ ก.พ.ร. เพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพของเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น และให้ข้อเสนอแนะเพื่อสร้างความเข้มแข็งการให้บริการประชาชนในพื้นที่ โดยให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความคิดเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมของสำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ก.พ.ร. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบัน อปท. รูปแบบทั่วไป (อบจ. เทศบาล และ อบต.) มีจำนวนมาก ประมาณ 7,850 แห่ง โดยทุกแห่งเป็นหน่วยรับงบประมาณตามกฎหมายงบประมาณและได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนจากภาครัฐสูง ซึ่งยังขาดเครื่องมือในการตรวจสอบสถานะด้านการคลังและงบประมาณท้องถิ่น เพื่อสร้างความตระหนักให้ อปท. สามารถปรับปรุงระบบการกำกับดูแลตนเองให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
                    2. ก.พ.ร. ได้มอบหมายให้คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบราชการเกี่ยวกับการปรับปรุงระบบการเงินและงบประมาณ (อ.ก.พ.ร.ฯ) ศึกษาแนวทางปรับปรุงระบบการเงินการคลังและงบประมาณของ อปท. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการคลังท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนตรวจสอบได้และปรับปรุงระบบการกำกับดูแลตนเองให้มีการตรวจสอบภายใน การควบคุมภายใน และการบริหารจัดการความเสี่ยงตามมาตรา 79 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมทั้งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ซึ่ง อ.ก.พ.ร.ฯ ได้มีการทดสอบ                แนวทางฯ แล้วในกลุ่ม อปท. นำร่อง ของพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนนทบุรี ชลบุรี และสมุทรปราการ รวมทั้งสิ้น 21 แห่ง และจังหวัดอื่นที่เป็นที่ตั้งของ คบจ. 9 เขต3 จำนวน 105 แห่ง และได้ปรับให้ถูกต้อง เหมาะสม สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริงแล้วจึงสอบถามความเห็นส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง จำนวน 5 หน่วยงาน คือ สำนักงบประมาณ (สงป.) สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง กรมบัญชีกลาง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ซึ่งทุกหน่วยงานแจ้งว่าเห็นชอบกับผลการศึกษา
                    3. ก.พ.ร. ในการประชุมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างศักยภาพการคลังท้องถิ่น (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) และเสนอให้ กค. โดย คบจ. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการนำแนวทางฯ ดังกล่าวไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น รวมทั้งให้การดูแลด้านวิชาการและการปฏิบัติให้ อปท. มีความเข้มแข็งสามารถให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้มีการประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในการประเมิน) ซึ่งแนวทางฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                        3.1 กรอบการประเมินแนวทางฯ (แบบประเมินสุขภาพการคลังท้องถิ่น) แบ่งเป็น 8 ด้าน 40 ตัวชี้วัด คะแนนรวม 395 คะแนน (ยกเว้น อบจ. มี 39 ตัวชี้วัด คะแนนรวม 385 คะแนน) สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อ          สาระสำคัญ
1. ด้านรายได้          ? มี 10 ตัวชี้วัด 65 คะแนน ยกเว้น อบจ. มี 9 ตัวชี้วัด (ไม่ประเมินสัดส่วนจำนวนเงินที่ค้างชำระภาษีและค่าธรรมเนียมต่อจำนวนเงินที่ อปท. ต้องได้รับชำระทั้งหมดในปีเดียวกัน) 55 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 20)
? ประเมินประสิทธิภาพในการจัดเก็บรายได้ของ อปท. เช่น การดำเนินงานตามขั้นตอนการจัดเก็บภาษีตามที่กฎหมายกำหนดในการสำรวจและจัดทำบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด การใช้นวัตกรรมในการจัดเก็บรายได้ของ อปท. โดยปรับเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมโดยใช้เทคโนโลยีมากขึ้น
2. ด้านงบประมาณรายจ่าย          ? มี 6 ตัวชี้วัด 30 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 20)
? ประเมินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรจาก สงป. เช่น การตรวจสอบความสอดคล้องของรายการที่นำมาจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีกับแผนพัฒนาท้องถิ่นกับแผนพัฒนาจังหวัด/กลุ่มจังหวัด ความพร้อมของรายการ/ราคาแบบรูปรายการ/พื้นที่ดำเนินการ เพื่อให้ อปท. มีความพร้อมในการดำเนินการได้ทันทีเมื่อได้รับอนุมัติงบประมาณ ความสามารถในการก่อหนี้ผูกพันเพื่อดำเนินการได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ภายในปีงบประมาณ
3. ด้านการเงิน          ? มี 1 ตัวชี้วัด 7 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 10)
? ประเมินประสิทธิภาพในการรับชำระเงิน แบ่งเป็น (1) ความสะดวก รวดเร็วในการรับชำระเงิน (ผ่านหลายช่องทาง เช่น ธนาคาร เคาเตอร์เซอร์วิส QR Code) การเก็บรักษา และการนำส่งเงิน และ (2) การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ แนวทาง และขั้นตอนที่ถูกต้อง โปร่งใส และตรวจสอบได้
4. ด้านการจัดซื้อจัดจ้าง          ? มี 4 ตัวชี้วัด 170 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 20)
? ประเมินความสามารถในการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ เช่น มีการบริหารสัญญาและการตรวจรับพัสดุตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ความสามารถในการปฏิบัติงานตามระบบการจัดซื้อจัดจ้างและราคากลางได้ตามระยเวลาที่กำหนดตั้งแต่การจัดทำประกาศเชิญชวน รายงานขอซื้อขอจ้างตามวิธีการจัดซื้อจัดจ้างที่เกิดขึ้นจริง (วิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ วงเงินไม่เกิน 5 ล้านบาท มีระยะเวลามาตรฐานในการดำเนินการไม่เกิน 33 วัน) และการตรวจรับพัสดุ การดำเนินการโครงการความโปร่งใสในการก่อสร้างภาครัฐ เช่น กรณี อบต. มีโครงการก่อสร้างที่มีงบประมาณตั้งแต่ 7 ล้านบาทขึ้นไป ต้องแจ้งข้อมูลโครงการฯ ให้คณะอนุกรรมการพิจารณาคัดเลือกเข้าร่วมโครงการฯ ภายใน 15 วันทำการนับแต่วันที่ได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณและการดำเนินการตามข้อตกลงคุณธรรม กรณีโครงการจัดซื้อจัดจ้างเข้าเงื่อนไขที่ต้องดำเนินการ (โครงการที่มีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป)
5. ด้านการบัญชีและสินทรัพย์          ? มี 5 ตัวชี้วัด 24 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 10)
? ประเมินการจัดทำรายงานบัญชีและสินทรัพย์ตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 การจัดทำรายงานการเงินประจำปี การจัดส่งรายงานการเงินประจำปีให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) กค. (สำนักงานคลังจังหวัด) ภายในเวลาที่กำหนด และการเปิดเผยรายงานการเงินประจำปีและรายงานผลการตรวจสอบของ สตง.
6. ด้านการกำกับดูแลตนเอง          ? มี 3 ตัวชี้วัด 24 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 10)
? ประเมินการควบคุมภายใน (จัดทำรายงานการประเมินผลการควบคุมภายในตามที่ กค. กำหนด) การตรวจสอบภายใน (จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปีและรายงานผลการตรวจสอบตามมาตรฐานและหลักเกณฑ์ปฏิบัติการตรวจสอบภายในสำหรับหน่วยงานของรัฐ) และการบริหารจัดการความเสี่ยง (มีการจัดทำแผนบริหารจัดการความเสี่ยงและรายงานผลการบริหารจัดการความเสี่ยงเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง)
7. ด้านการก่อหนี้ระยะยาว          ? มี 7 ตัวชี้วัด 35 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 5)
? ประเมินการวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจหรือสังคมของโครงการก่อหนี้ระยะยาว (เงินกู้) ของ อปท. ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่นระยะ 5 ปี และเป็นโครงการที่บ่งชี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมว่าจะสามารถนำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน บริการสาธารณะ หรือการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน รวมถึงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการตัดสินใจดำเนินโครงการก่อหนี้ระยะยาว
8. ด้านเงินสะสม          ? มี 4 ตัวชี้วัด 40 คะแนน (น้ำหนักร้อยละ 5)
? ประเมินประสิทธิผลของการใช้เงินสะสมตามวัตถุประสงค์ (มี 6 ด้าน ได้แก่ ด้านการศึกษา สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม คมนาคม การเพิ่มรายได้ และภัยพิบัติ) การใช้เงินสะสมเพื่อทำโครงการก่อสร้างโดยพิจารณาจากความพร้อมของแบบรูปรายการงานก่อสร้าง ความสามารถในการก่อหนี้ผูกพัน ประสิทธิภาพในการใช้จ่ายงบประมาณ และการรักษาระดับของเงินสะสมเพื่อเสถียรภาพทางการคลังของ อปท. เพื่อให้ อปท. มีฐานะทางการเงิน การคลังที่มั่นคง สามารถเก็บเงินสะสมไว้ใช้จ่ายในกรณีที่มีความจำเป็น
ทั้งนี้ แนวทางฯ 8 ด้าน มีความครอบคลุมทุกมิติของการบริหารการคลัง ไม่ซ้ำซ้อนและสอดคล้องกับการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Performance Assessment: LPA)4 ซึ่งมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกัน โดยมุ่งหวังให้ อปท. เข้าใจ และรู้จักตนเองเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ สามารถให้บริการเพื่อให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด
                        3.2 ประโยชน์ที่ได้รับ
                              3.2.1 อปท. มีความเข้มแข็ง สามารถให้บริการประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เนื่องจากรับทราบสถานะด้านการคลังและงบประมาณของตนเอง รู้จุดแข็ง จุดอ่อน และจุดที่ควรปรับปรุงให้การปฏิบัติงานถูกต้องตามกฎหมาย อีกทั้งได้รับการดูแลทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญของ คบจ. และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
                              3.2.2 การคลังท้องถิ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากการเปิดเผยข้อมูลให้ประชาชนตรวจสอบได้และปรับปรุงระบบการกำกับดูแลตนเอง
                        3.3 แนวทางการขับเคลื่อน
                              3.3.1 ให้ กค. โดย คบจ. เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการ ดังนี้
                                        (1) นำแนวทางฯ ไปใช้เป็นเครื่องมือประเมินสถานะด้านการคลังและงบประมาณของท้องถิ่น และให้ประเมินตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยใช้ข้อมูลผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ                 พ.ศ. 2565 ในการประเมิน และให้พิจารณาคัดเลือก อปท. ให้ครอบคลุมทุกประเภท ยกเว้น อปท. รูปแบบพิเศษ
                                        (2) ในกรณีที่ คบจ. พบประเด็นที่ควรเพิ่มความเข้มแข็งปัญหา หรือข้อจำกัดจากการประเมิน สามารถให้ความช่วยเหลือทั้งด้านวิชาการและการปฏิบัติอย่างเหมาะสมโดยตรงหรือประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเสนอแนะหน่วยงานที่รับผิดชอบพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                                        (3) นำข้อมูลเผยแพร่ให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสาธารณชน ภายในจังหวัดได้รับทราบเพื่อร่วมกันส่งเสริมผลักดันให้ อปท. มีศักยภาพในการบริหารการเงินและงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
                                  3.3.2 ให้ กค. สรุปและรายงานผลการประเมินในภาพรวมและแผนการดำเนินการในระยะต่อไปต่อ ก.พ.ร.
1 คบจ. แต่งตั้งโดยปลัดกระทรวงการคลัง ตามคำสั่ง กค. ที่ 428/2560 ลงวันที่ 3 เมษายน 2560 เพื่อกำหนดบทบาทของ กค. ในการสนับสนุนเศรษฐกิจของส่วนภูมิภาคให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยสนับสนุนการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการและส่งต่อนโยบายจาก กค. ลงสู่ภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว คล่องตัว โดยมีคลังจังหวัดเป็นประธาน คบจ.
2 อปท. สามารถจำแนกเป็น 2 ประเภท คือ (1) อปท. รูปแบบทั่วไป ซึ่งมีการจัดตั้งขึ้นโดยมีลักษณะหรือองค์ประกอบที่มีความคล้ายคลึงกันทั่วประเทศ จำนวน 7,850 แห่ง ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 76 แห่ง เทศบาล 2,472 แห่ง (เทศบาลตำบล 2,247 แห่ง เทศบาลเมือง 195 แห่ง และเทศบาลนคร 30 แห่ง) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 5,300 แห่ง และ (2) อปท. รูปแบบพิเศษ มีลักษณะ/องค์ประกอบแตกต่างไปจาก อปท. ทั่วไป มีความเจริญทางเศรษฐกิจมาก มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ซึ่งประเทศไทยมี อปท. รูปแบบพิเศษ 2 แห่ง คือ กรุงเทพมหานครและพัทยา
3 จากการประสานกับสำนักงาน ก.พ.ร. แจ้งว่า การคัดเลือก อปท. นำร่องจะพิจารณาตามรายภาค รายจังหวัด และระดับรายได้ของ อปท. จากอปท. ทั้งหมด โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ (1) กลุ่ม อปท. นำร่อง จำนวน 21 แห่ง ในจังหวัดนนทบุรี ชลบุรี และสมุทรปราการ (จังหวัดละ 7 แห่ง) ซึ่งครอบคลุมในพื้นที่สำนักงานคลังเขต 1-2 และ   (2) กลุ่ม อปท. ขยายผล จำนวน 105 แห่ง ครอบคลุมในพื้นที่สำนักงานคลังเขต 1 และ เขต 3-9 จำนวน 15 จังหวัด ได้แก่ สำนักงานคลังเขต 1 เพิ่มเติม (จังหวัดปทุมธานี) สำนักงานคลังเขต 3 (จังหวัดนครราชสีมาและอุบลราชธานี) สำนักงานคลังเขต 4 (จังหวัดกาฬสินธุ์และหนองคาย) สำนักงานคลังเขต 5 (จังหวัดเชียงใหม่และลำปาง) สำนักงานคลังเขต 6 (จังหวัดนครสวรรค์และพิจิตร) สำนักงานคลังเขต 7 (จังหวัดกาญจนบุรีและสมุทรสาคร) สำนักงานคลังเขต 8 (จังหวัดชุมพรและ สุราษฎร์ธานี) และสำนักงานคลังเขต 9 (จังหวัดสงขลาและตรัง)
4 การประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Perfomance Assessment: LPA) เป็นการประเมินผลการปฏิบัติราชการของ อปท. ในขั้นพื้นฐานประจำปี โดยกระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) แบ่งการประเมินออกเป็น 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) ด้านการบริหารจัดการ (2) ด้านการบริหารงานบุคคลและกิจการสภา (3) ด้านการบริหารงานการเงินและการคลัง (4) ด้านการบริการสาธารณะ และ (5) ด้านธรรมาภิบาล ซึ่งผลการประเมินแบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ดีเด่น (90-100 คะแนน) ดีมาก (80-89.99) ดี (70-70.99) พอใช้ (60-69.99) และควรปรับปรุง (0-59.99) คิดเกณฑ์ผ่านอยู่ที่ร้อยละ 60 ทั้งนี้ สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินไปใช้ในการจัดทำแผนพัฒนาองค์กร/แผนพัฒนาท้องถิ่นได้ต่อไป

4. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายในการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกันตนและนายจ้าง ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายในการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกันตนและนายจ้าง ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ทางเลือกเชิงนโยบายในการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกันตนและนายจ้าง ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้ศึกษาแนวทางการจัดทำประมวลกฎหมายแรงงานและศึกษาแนวทางการจัดตั้งธนาคารแรงงานโดยพิจารณาศึกษาทางเลือกเชิงนโยบายในการช่วยเหลือและสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกันตนและนายจ้าง ซึ่งกำหนดนโยบาย ได้เป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะเร่งด่วน (Rush Stage) คือ การมุ่งให้สำนักงานประกันสังคม (สปส.) นำเงินจากผลกำไรของการลงทุนทั้งหมดในวงเงินไม่เกินร้อยละ 10 ของดอกผล มาดำเนินการลงทุนให้ผู้ประกันตนกู้ได้ โดยใช้สิทธิประโยชน์ที่ผู้ประกันตนจะได้รับในกรณีบำนาญชราภาพ กรณีตาย และกรณีอื่น ๆ เป็นหลักประกัน และระยะพัฒนา (Development Stage) จะเป็นการกำหนดวิสัยทัศน์สู่การปรับปรุงกฎหมายหรือปฏิรูปโครงสร้าง (Structural Reform) ทั้งนี้ เพื่อจัดตั้งสถาบันทางการเงินที่เหมาะสม ภายใต้กรอบเป้าหมายของผลสัมฤทธิ์ คือ ?เยียวยาเฉพาะหน้า เพิ่มเสถียรภาพกองทุน เกื้อหนุนสังคม? และได้มีข้อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ก่อนการกำหนดนโยบายจากการดำเนินการระยะเร่งด่วนสู่ระยะพัฒนา ควรมีการศึกษาสถานการณ์รอบด้านให้ครบถ้วนด้วยการวิจัยชุดในมิติต่าง ๆ ของการกู้เงิน 2) ควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมาย โดยใช้หลักการจัดระบบเงินสมทบ (Define Contribution) ควบคู่ไปกับการจัดระบบประโยชน์ทดแทน (Define Benefit) ที่เหมาะสม 3) ควรมีการพิจารณาศึกษาการเยียวยาภัยพิบัติเชิงรุกในรูปแบบต่าง ๆ โดยศึกษาถึงต้นเหตุแห่งปัญหาการป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาว ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และบริบทของประเทศ 4) ควรมีการมุ่งเน้นการปรับแนวความคิด (Way of Thinking) ของแรงงานไทย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางด้านการเงินอย่างยั่งยืน โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง และ 5) หากมีการจัดตั้งธนาคารเพื่อแรงงาน ควรมีการวิเคราะห์ที่มาของแหล่งเงินทุนว่ามาจากแหล่งใด
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้ รง. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    รง. ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณารายงานและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการแรงงาน วุฒิสภา ตามข้อ 2 แล้ว และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยสรุปได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ          ผลการพิจารณา
1. ก่อนการกำหนดนโยบายจากการดำเนินการระยะเร่งด่วนสู่ระยะพัฒนา ควรมีการศึกษาสถานการณ์รอบด้านให้ครบถ้วน ด้วยการวิจัยชุดในมิติต่าง ๆ ของการกู้เงิน การมีวินัยทางการเงินของผู้กู้ เป็นต้น การออกแบบและสิ่งสำคัญคือการประเมินผลของโครงการระยะเร่งด่วน ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบโครงการ (Build in Evaluation)            - เห็นด้วยหากต้องมีการดำเนินการในระยะเร่งด่วนควรมีการศึกษาสถานการณ์รอบด้านให้ครบถ้วน
2. ควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนากฎหมาย โดยให้นายจ้างในระบบประกันสังคมเข้าระบบได้ในมาตราหนึ่ง ผู้ประกันตนที่เป็นแรงงานข้ามชาติก็แยกออกเป็นอีกมาตราหนึ่ง รวมถึงแรงงานไทยที่จะไปทำงานต่างประเทศก็ขยายเพิ่มความคุ้มครองให้อีกมาตราหนึ่ง เพื่อให้สามารถจัดเงินกู้เฉพาะกิจได้ในสภาวะปกติและสภาวะฉุกเฉินในอนาคต โดยใช้หลักการจัดระบบเงินสมทบ (Define Contribution) ควบคู่ไปกับการจัดระบบประโยชน์ทดแทน (Define Benefit) ที่เหมาะสม ให้แก่ผู้ประกันตนที่ต่างมาตรา ตามตัวบทของกฎหมายที่สมควรพัฒนาขึ้นการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติทั้งระบบจะช่วยให้การกำกับควบคุมโรคระบาดในอนาคตมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น          - เห็นว่าอาจเกิดความเหลื่อมล้ำระหว่างผู้ประกันตนที่มีสัญชาติไทยและผู้ประกันตนที่ไม่มีสัญชาติไทยและอาจไม่เป็นไปตามหลักการสากล
3. ควรมีการพิจารณาศึกษาการเยียวยาภัยพิบัติเชิงรุกในรูปแบบต่าง ๆ ที่ สปส. สามารถเยียวยาได้ โดยศึกษาถึงต้นเหตุแห่งปัญหาการป้องกันผลกระทบทางเศรษฐกิจในระยะยาว ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และบริบทของประเทศ          - เห็นว่าการพัฒนาสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้แรงงาน แต่การเยียวยาภัยพิบัติเชิงรุกในรูปแบบต่าง ๆ ควรมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เป็นภารกิจหลักโดยตรงดำเนินการ
4. ควรมีการมุ่งเน้นการปรับแนวความคิด (Way of Thinking) ของแรงงานไทย เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาทางด้านการเงินอย่างยั่งยืน โดยมีแนวคิด ดังนี้
          (1) นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง (พระราชดำรัสรัชกาลที่ 9)
          (2) พยายามที่จะไม่กู้ยืม (โดยไม่นำเงินอนาคตมาใช้)
          (3) สร้างครอบครัวมีประสิทธิภาพ (คุมกำเนิดเมื่อยังไม่พร้อม)
          (4) เข้าใจรูปแบบของการบริหารจัดการเรื่องการเงิน          - เห็นด้วยให้มีการมุ่งเน้นการปรับแนวความคิด (Way of Thinking) แต่ไม่สมควรเป็นภารกิจของหน่วยงานใดเพียงหน่วยงานเดียว เพราะเป็นภารกิจที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน
5. หากมีการจัดตั้งธนาคารเพื่อแรงงานควรมีการวิเคราะห์ที่มาของแหล่งเงินทุนว่ามาจากแหล่งใด เช่น เงินจากกองทุนประกันสังคม เงินสนับสนุนจากรัฐบาลหรือการออกพันธบัตร เป็นต้น รวมถึงการเปิดโอกาสให้นายจ้าง ผู้ประกันตน องค์กรนายจ้าง และลูกจ้างเป็นผู้ถือหุ้นเพื่อให้เกิดเป็นสถาบันการเงินที่มั่นคงอย่างยั่งยืน          - เห็นด้วยหากต้องมีการดำเนินการควรมีการวิเคราะห์ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบรวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนอย่างครบถ้วน ทั้งนี้ คณะกรรมการประกันสังคม (ชุดที่ 13) ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธนาคารประกันสังคม

5. เรื่อง  ขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564 ข้อ 8.8 ค่าธรรมเนียมการเข้าออกหลายครั้ง (Multiple Entry) รายละ 6,000 บาท เป็นรายละ 5,000 บาท เพื่อให้เป็นไปตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 พร้อมทั้งมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) และ สธ. ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องและประชาสัมพันธ์ให้ชาวต่างชาติทราบอย่างทั่วถึงต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สธ. รายงานว่า
                     1. ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 30 พฤศจิกายน 2564) สธ. ได้ดำเนินการจัดการประชุมเตรียมความพร้อมในการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งที่ประชุมได้มีมติมอบหมายให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพจัดทำหนังสือถึง มท. เพื่อพิจารณาแก้ไขกฎกระทรวง (พ.ศ. 2523) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมในส่วนของค่าธรรมเนียมประเภทคนอยู่ชั่วคราว ใช้ได้หลายครั้งภายในหนึ่งปี รองรับการดำเนินการตรวจลงตราเพื่อรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) จากรายละ 5,000 บาท เป็นรายละ 6,000 บาท
                     2. สธ. ได้ดำเนินการตามมติที่ประชุมเตรียมความพร้อมในการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาลระยะเวลา 1 ปี  (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT โดยมีหนังสือเพื่อขอความอนุเคราะห์ให้ มท. พิจารณาดำเนินการแก้ไขกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องตามมติที่ประชุมดังกล่าว ซึ่ง มท. ได้มีการประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สธ. กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เกี่ยวกับการปรับแก้ไขกฎกระทรวงเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมรองรับการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT และมีความเห็นว่า การแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวจะทำให้กระทบกับค่าธรรมเนียมของผู้ขอรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวสำหรับใช้ได้หลายครั้งภายในหนึ่งปี ประเภทอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงเห็นควรให้ สธ. เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณากำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT ให้เป็นไปตามกฎกระทรวง (พ.ศ. 2523) ออกตามความใพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 27 (พ.ศ. 2546) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 28 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 เพื่อให้สามารถเปิดระบบการตรวจลงตราประเภท Non-MT ได้โดยเร็ว และไม่ขัดต่อระเบียบ-กฎหมายเดิมที่กำหนดไว้ (คาดว่าจะเริ่มใช้ระบบการตรวจลงตราประเภท Non ? MT ในวันที่ 1 มกราคม 2566)
                     3. ที่ประชุมคณะกรรมการอำนวยการเพื่อพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (นโยบาย Medical Hub) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2565 ได้มีมติรับทราบและเห็นชอบการขอแก้ไขมติคณะรัฐมนตรีในการกำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจลงตราเพื่อการรักษาพยาบาล ระยะเวลา 1 ปี (Medical Treatment Visa) รหัส Non-MT ในกฎกระทรวง เรื่องอัตราค่าธรรมเนียมการขอรับการตรวจลงตรา จากเดิมรายละ 6,000 บาท เป็นรายละ 5,000 บาท

6. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2565 และ             ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอ ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2565 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565  และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไข ปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564  (พระราชกำหนดกู้เงิน ฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2565 เมื่อวันที่ 1  พฤศจิกายน 2565 ดังนี้
                     1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 18/2565
                        1.1 เห็นชอบแนวทางการเตรียมแหล่งเงินรองรับกรณีการตรวจสอบเหตุทุจริตของโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม   ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ                     พ.ศ. 2563)
                        1.2 อนุมัติให้จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดชัยนาท เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการและยกเลิกการดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563
                       1.3 มอบหมายให้จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดชัยนาท เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการและเร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จภายใต้กรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติโดยเร็ว ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563)
                    2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 29/2565
                        2.1 อนุมัติให้จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดระนอง จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกาฬสินธุ์ และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                        2.2 มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) กำกับหน่วยงานรับผิดชอบโครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565 เร่งดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยกรณีที่คาดว่าไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ เห็นควรให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการเร่งเสนอเรื่องขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการ โดยการขยายระยะเวลาการเนินโครงการ และ/หรือยกเลิกการดำเนินโครงการตามข้อ 18 (2) และข้อ 19 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564)
                        2.3 กำหนดเงื่อนไขว่าในกรณีที่หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ไม่สามารถดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างหรือลงนามผูกพันสัญญาโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ดำเนินโครงการโดยใช้เงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ภายในเดือนพฤศจิกายน 2565 ให้หน่วยงานรับผิดชอบเสนอขอยกเลิกการดำเนินโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเพื่อให้กระทรวงการคลังสามารถบริหารเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา รายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง ติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไข้ปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ห้วงเวลาการดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2563 ? 31 ธันวาคม 2564) ของคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา รายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง ติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ห้วงเวลาดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2563 ? 31 ธันวาคม 2564) ของคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กระทรวงการคลังเสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา รายงานผลการดำเนินงาน เรื่อง ติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 และติดตามการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (ห้วงเวลาการดำเนินการ 1 กรกฎาคม 2563 ? 31 ธันวาคม 2564) ของคณะกรรมาธิการติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยเห็นชอบกับข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว สรุปได้ว่า                1) โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ ?โคก หนอง นา โมเดล? กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการพัฒนาชุมชนมีการกำหนดหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขในการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายและผู้สมัครเข้าร่วมโครงการโดยมีการกำหนดขั้นตอนหรือวิธีการในการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายและผู้สมัครเข้าร่วมโครงการและได้กำหนดคุณสมบัติของผู้รับการจ้างงานตามกิจกรรมสร้างงานสร้างรายได้รายเดือนแล้วรวมทั้งได้มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัด/อำเภอ ดำเนินการจัดซื้อครุภัณฑ์ให้แก่พื้นที่เป้าหมาย 2) โครงการ ?1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่? กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ผลักดันโครงการดังกล่าวให้เป็นโครงการสำคัญเพื่อให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ เนื่องจากโครงการนี้มีส่วนสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจไทยในระยะยาว 3) โครงการ ?ยกระดับแปลงใหญ่ด้วยเกษตรสมัยใหม่ และเชื่อมโยงตลาด? สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่าหน่วยงานได้นำข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาดำเนินการแล้วบางส่วน เช่น การจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานการพิจารณากลั่นกรองในระดับจังหวัด การติดตามและตรวจสอบและได้มีการทบทวนและปรับปรุงกลุ่มเป้าหมายและวงเงินของโครงการอันเกิดจากอุปสรรคในพื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนงานสำหรับการส่งเสริมคุณภาพสินค้าเพื่อยกระดับมาตรฐานให้กับกลุ่มเกษตรกรและเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้กับเกษตรกร 4) โครงการสร้างรายได้ด้วยแฟรนไชส์ฝ่าโควิด ? 19 กระทรวงพาณิชย์ได้ขอปรับแก้ไขรายละเอียดในโครงการดังกล่าวเป็นอนุมัติวงเงิน 68 ล้านบาทโดยใช้จ่ายจากเงินกู้ และมอบหมายให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเป็นหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ 5) โครงการรถ Mobile พาณิชย์...ลดราคา! ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากเป็นโครงการจำหน่ายสินค้าอุปโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพผ่านรถ Mobile ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่สำคัญในการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากและการบริโภคภาคครัวเรือน บรรเทาความเดือดร้อนและลดภาระค่าครองชีพ 6) โครงการเราเที่ยวด้วยกัน และ 7) โครงการกำลังใจ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการดำเนินการทางกฎหมายกับผู้กระทำผิดตามโครงการเราเที่ยวด้วยกันที่มีการกระทำการทุจริตฉ้อโกงที่เกิดขึ้นตามแหล่งท่องเที่ยวในภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยมีนโยบายให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดจนถึงที่สุดโดยไม่ถอนคำร้องทุกข์ในทุกกรณี

8. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                   พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ณ เดือนตุลาคม 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส               โคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563) และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการตามพระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ณ เดือนตุลาคม 2565 สรุปได้ ดังนี้
                    1. การบริหารกรอบวงเงินกู้ตามพระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แผนงาน/โครงการภายใต้พระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 แบ่งเป็น 3 กลุ่มกิจกรรม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เช่น ค่าใช้จ่ายบุคลากรทางการแพทย์ กลุ่มที่ 2 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาประชาชน เช่น การบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน และกลุ่มที่ 3 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม เช่น การฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน โดยผลการบริหารกรอบวงเงินกู้ภายใต้แผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 3 ต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ประมาณ 570,000 ล้านบาท ลดลงเป็นประมาน 351,514 ล้านบาท หรือร้อยละ 62 ซึ่งเป็นผลจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้ในช่วงของการจัดทำร่างพระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563 และพระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในขณะที่มีการดำเนินตามแผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 1 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้จาก 30,000 ล้านบาท เป็น 220,096 ล้านบาท และการดำเนินงานตามแผนงาน/โครงการกลุ่มที่ 2 ใกล้เคียงกับที่คาดการณ์ (กรอบวงเงินรวม 855,000ล้านบาท ดำเนินการรวมประมาณ 864,492 ล้านบาท)
                    2. ภาพรวมการดำเนินงานและการเบิกจ่ายเงินกู้
                              2.1 พระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563 วงเงินกู้ 1,000,000 ล้านบาท มีการอนุมัติโครงการที่เสนอขอใช้จ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563 จำนวน 1,130 โครงการ รวมกรอบวงเงินกู้  987,012.4097ล้านบาท ซึ่งสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้ลงนามสัญญากู้เงิน รวม 982,399 ล้านบาท โดย ณ วันที่                6 ตุลาคม 2565 หน่วยงานรับผิดชอบโครงการได้เบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ พ.ศ. 2563 เพื่อดำเนินโครงการแล้ว วงเงินรวม 950,193.7225 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 96.73
                              2.2 พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 วงเงินกู้ 500,000 ล้านบาท มีการอนุมัติโครงการรวมจำนวน 2,538 โครงการ รวมกรอบวงเงินกู้ 499,997.552 ล้านบาท ซึ่ง สบน. ได้กู้เงิน จำนวน 500,000 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 หน่วยงานรับผิดชอบได้เบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม             พ.ศ. 2564 เพื่อดำเนินโครงการแล้ววงเงินรวม 427,122.9789 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 85.43
                    3. ผลการดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ
                              3.1 ด้านการแก้ไขปัญหาการระบาดโควิด-19
                                        (1) กิจกรรมค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น              เงินเยียวยาค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัยของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่ปฏิบัติงานในการ  เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโควิด-19 ในชุมชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการฉุกเฉินและบุคลากรทางการแพทย์ทุกสาขา ทั้งนี้ มีโครงการที่ได้รับอนุมัติรวม 10 โครงการ วงเงินรวม 18,424.9458 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 6,222.1395 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 33.77
                                        (2) กิจกรรมจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์การแพทย์และสาธารณสุข วัคซีนป้องกันโรค และห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เช่น วัคซีนเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน จำนวน 153.3  ล้านโดส ยารักษาโควิด-19 และภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปหรือแอนติบอดี้ออกฤทธิ์ยาว จำนวน 257,500 โดส ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 45 โครงการ วงเงินรวม 80,910.4178 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 58,238.3801 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 71.98
                                        (3) กิจกรรมค่าบำบัดรักษาป้องกันควบคุมโรค มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 14 โครงการ วงเงินรวม 172,443.4421 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 144,576.1258 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 83.84
                                        (4) กิจกรรมการเตรียมความพร้อมด้านสถานพยาบาล เช่น การยกระดับการให้บริการทางการแพทย์ จัดหายา และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 19 โครงการ วงเงินรวม 10,018.6396 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 9,566.4612 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 95.49
                                        (5) กิจกรรมรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินอันเนื่องมาจากการระบาดของโควิด-19 เช่น มีวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่ผลิตในประเทศเพื่อใช้ในยามฉุกเฉิน  การพัฒนาองค์ความรู้บุคลากรด้านสาธารณสุข และการพัฒนาระบบสื่อสารสั่งการของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 8 โครงการ วงเงินรวม 1,697.6952 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 1,612.0235 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 98.43
                              3.2 ด้านการเยียวยาและช่วยเหลือประชาชน
                                        (1) กิจกรรมช่วยเหลือเยียวยาและชดเชยให้แก่ประชาชนทุกกลุ่ม เช่น การบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา) มีโครงการได้รับอนุมัติ 45 โครงการ วงเงินรวม 758,505.1938 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 753,603.7019 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.35
                                        (2) กิจกรรมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพให้สามารถประกอบอาชีพหรือดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง เช่น ผู้ขับรถรับจ้าง ผู้ขับขี่จักรยานยนต์สาธารณะ และศิลปิน ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 6 โครงการ วงเงินรวม 105,989.6830 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 104,720.2450 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 98.80
                              3.3 ด้านการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม
                                        (1) กิจกรรมการพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ เช่น การสนับสนุนกลุ่มเกษตรกรให้เข้าถึงปัจจัยการผลิต การถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้แก่เกษตรกร และการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแบบการท่องเที่ยวเชิงอาหาร วงเงินอนุมัติรวม 25,121.3373 ล้านบาท  โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 23,356.8836 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 92.98
                                        (2) กิจกรรมการรักษาระดับการจ้างงานและพัฒนาทักษะอาชีพเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน มีโครงการได้รับอนุมัติ 3 โครงการ วงเงินรวม 27,064.6102 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 27,035.0953 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 99.89 ทั้งนี้ มีจำนวนลูกจ้างที่ได้รับการช่วยเหลือตามโครงการ 168,080 คน
                                        (3) กิจกรรมการฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน เช่น โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ ?โคก หนอง นา โมเดล? มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 29,197 ราย เกิดการจ้างแรงงานในพื้นที่ 8,885 ราย ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 3,444 โครงการ วงเงินรวม 16,300.2758 ล้านบาท  โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 8,922.6359 ล้านบาท หรือคิดเป็น             ร้อยละ 54.74
                                        (4) กิจกรรมการกระตุ้นการบริโภคของภาคครัวเรือน เช่น โครงการคนละครึ่ง ดำเนินการรวม 5 ระยะ มีจำนวนประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 26.35 ล้านคน สามารถกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายรวม  418,644 ล้านบาท โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ดำเนินการรวม 5 ระยะ มีจำนวนประชาชนผู้ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 13.61 ล้านคน สามารถกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่ายรวม 76,061 ล้านบาท ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติรวม 20 โครงการ วงเงินรวม 258,679.5711 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 232,837.9233 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 90.01
                                        (5) กิจกรรมการฟื้นฟูโครงสร้างพื้นฐาน (ด้านชลประทาน) โดยมีประชาชนที่ได้รับประโยชน์รวม 81,854 ครัวเรือน ครอบคลุมพื้นที่ 306,333 ไร่ และมีการจ้างงานในพื้นที่เพิ่มขึ้น 15,351 คน ทั้งนี้ มีโครงการได้รับอนุมัติ 4 โครงการ วงเงินรวม 7,132.4772 ล้านบาท โดย ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2565 มีผลการเบิกจ่ายรวม 6,654.6951 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 93.30
                    4. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ส่วนใหญ่มีความล่าช้ากว่าแผนที่กำหนดไว้ เช่น                 การจัดหาวัคซีนมีความล่าช้าเนื่องจากจำนวนวัคซีนที่ผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของประเทศต่าง ๆ การช่วยเหลือเยียวยาแก่ประชาชนล่าช้า เนื่องจากหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการประสบปัญหาข้อจำกัดของข้อมูลที่จำเป็นต้องคัดกรองคุณสมบัติของผู้มีสิทธิตามโครงการ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลาในการตรวจสอบข้อมูล และการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมไม่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนดเนื่องจากการดำเนินโครงการต้องมีการลงพื้นที่หรือรวมกลุ่มในการดำเนินกิจกรรมกับประชาชน
                    5. ผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม การดำเนินการกู้เงินข้างต้นส่งผลให้เกิดการรักษากำลังซื้อของประเทศ กระตุ้นอุปสงค์ในประเทศในทุกสาขาโดยเศรษฐกิจไทยในปี 2564 กลับมาขยายตัวที่             ร้อยละ 1.5 ต่อเนื่องไปจนถึงในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 ที่มีการขยายตัวร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองตามลำดับ นอกจากนี้ การดำเนินโครงการต่าง ๆ ยังส่งผลให้หน่วยงานรับผิดชอบมีข้อมูลประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ทันสมัยและนำไปสู่การพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) ในอนาคต ทำให้ภาครัฐสามารถออกแบบมาตรการ/นโยบายในการให้ความช่วยเหลือประชาชนเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนกลุ่มเป้าหมายในลักษณะมุ่งเป้าได้อย่างรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์

9. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง การขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทย ของคณะกรรมาธิการการพาณิชย์และการอุตสาหกรรม วุฒิสภา มาเพื่อดำเนินการ ซึ่งได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว โดยสรุปผลการพิจารณาได้ว่า แนวทางการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทยของคณะกรรมาธิการดังกล่าวมีความเหมาะสม สอดคล้อง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำมาบูรณาการเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมได้อย่างยั่งยืน และเห็นด้วยกับแนวทางและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการดังกล่าว โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้  1) การกำหนดกรอบยุทธศาสตร์และกลไกการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมในระดับชาติ  ควรมีการกำหนดยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเฉพาะให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ  แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2) การส่งเสริมและการสร้างผู้นำในการขับเคลื่อนเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์ ควรเพิ่ม                  ?นิคมเกษตรอุตสาหกรรมภูมิภาค? เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ใช้เป็นพื้นที่ในการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมแบบคลัสเตอร์ สำหรับการคัดเลือกเกษตรอุตสาหกรรมต้นแบบในแต่ละจังหวัด ควรให้สภาเกษตรกรแห่งชาติและ         สภาหอการค้าจังหวัด เข้ามามีส่วนร่วมในการคัดเลือก และ 3) การขับเคลื่อนหน่วยงานสนับสนุนการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรม โดยการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเชื่อมโยงเกษตรอุตสาหกรรมในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะแนวทางในการส่งเสริมในส่วนของการวิจัยด้านการเกษตรควรขยายให้ครอบคลุมปัจจัยการผลิตอื่น ๆ เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช เครื่องจักรกลการเกษตรขนาดเล็ก ระบบเตือนภัยต่าง ๆ เพื่อช่วยลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต เป็นต้น

10. เรื่อง ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบดังนี้
                     1. รับทราบข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเสนอ
                     2. รับทราบผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามที่กระทรวงสาธารณสุขรายงาน ทั้งนี้ ให้แจ้งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     1. คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า ?ยา? เป็นสินค้าคุณธรรม (Merit Goods) ที่ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องทั้งข้อดีและข้อเสียในการตัดสินใจเลือกใช้มากกว่า การลด แลก แจก แถม หรือสร้างแรงจูงใจด้วยวิธีการต่าง ๆ แต่ในปัจจุบันอิทธิพลการส่งเสริมการขายยาของบริษัทยา โดยเฉพาะที่กระทำโดยตรงต่อแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เป็นสาเหตุหรือปัจจัยที่สำคัญมากประการหนึ่งที่ทำให้เกิดการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุสมผลในโรงพยาบาล ประกอบกับในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ได้ปรากฏกรณีการทุจริตเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่ายาของข้าราชการ ในลักษณะเป็นกระบวนการโยงใยเป็นเครือข่ายการทุจริตโดยแบ่งออกเป็น              3 กลุ่มใหญ่ คือ ผู้ใช้สิทธิและเครือญาติ บุคลากรในโรงพยาบาลและกลุ่มบริษัทจำหน่ายยา ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียงบประมาณโดยไม่จำเป็นและจากการติดตามผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560 พบว่า ไม่มีความสอดคล้องกับบริบทต่าง ๆ และสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากพบประเด็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับประกาศของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของ สธ. พ.ศ. 2564 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่                  15 พฤษภาคม 2564) เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างมีธรรมาธิบาลสำหรับส่วนราชการ หน่วยงาน และหน่วยบริการของ สธ. ตลอดจนผู้สั่งใช้ยา ผู้ประกอบวิชาชีพ และบุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดซื้อจัดหา จนกระทั่งถึงการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาซึ่งสามารถบังคับใช้ได้เฉพาะหน่วยงานและหน่วยบริการในสังกัด สธ. เท่านั้น* แต่หน่วยงานหรือหน่วยบริการอื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือสังกัดของ สธ. จะไม่ถูกบังคับให้ปฏิบัติตามประกาศฯ คณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงเห็นควรเสนอข้อเสนอแนะเพิ่มเติม (จากเดิมที่เคยมีข้อเสนอแนะซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแล้ว เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2560) โดยให้หน่วยงานและหน่วยบริการ (นอกเหนือสังกัดของ สธ.) ซึ่งข้าราชการสามารถเบิกจ่ายยาได้ตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลกำหนดหลักเกณฑ์จริยธรรมในการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้มีรายละเอียดในลักษณะเดียวกับของ สธ. หรือดำเนินการอื่นใดตามภารกิจ บทบาทและอำนาจหน้าที่ เพื่อให้มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการพยาบาลข้าราชการสามารถบังคับใช้ได้ครอบคลุมกับทุกหน่วยงานและหน่วยบริการ
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี (สลค.) เห็นสมควรมอบหมาย สธ. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับ กระทรวงกลาโหม (กห.) กค. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.) สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของมาตรการดังกล่าวโดยให้ สธ. สรุปผลการพิจารณา/ผลการดำเนินการ/ความเห็นในภาพรวม แล้วส่งให้ สลค. ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจาก สลค. เพื่อนำเสนอคณัฐมนตรีต่อไป
                     3. สธ. ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กห. กค. อว. มท. ยธ. ศธ. ตช. และ สปสช. เกี่ยวกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังกล่าว โดยสรุปผลการพิจารณาในภาพรวมพบว่าทุกหน่วยงานเห็นด้วยกับข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการดังกล่าวของคณะกรรมการ ป.ป.ช. สรุปได้ ดังนี้
มาตรการของคณะกรรมการ ป.ป.ช.          สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
ให้หน่วยงานและหน่วยบริการ [นอกเหนือสังกัดของ สธ. ซึ่งไม่ถูกบังคับตามประกาศของ สธ. เรื่อง เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของ สธ. พ.ศ. 2564 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2564)] ซึ่งข้าราชการสามารถเบิกจ่ายยาได้ตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล (เช่น โรงพยาบาลในมหาวิทยาลัยและโรงเรียนแพทย์ของคณะแพทยศาสตร์หรือวิทยาลัยแพทยศาสตร์ต่าง ๆ สังกัด อว. สำนักการแพทย์ สังกัดกรุงเทพมหานคร สำนักงานแพทย์ใหญ่ สังกัด ตช. กรมแพทย์ทหารบก สังกัดกองทัพบก กรมแพทย์ทหารเรือ สังกัดกองทัพเรือ กรมแพทย์ทหารอากาศ สังกัดกองทัพอากาศ ทัณฑสถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ สังกัดกรมราชทัณฑ์ ยธ. และโรงพยาบาลในสังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) กำหนดหลักเกณฑ์จริยธรรมในการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้มีรายละเอียดในลักษณะเดียวกับของ สธ. หรือดำเนินการอื่นใดตามภารกิจ บทบาท และอำนาจหน้าที่ เพื่อให้มาตรการป้องกันการทุจริตจากกระบวนการเบิกจ่ายยาตามสิทธิสวัสดิการพยาบาลข้าราชการสามารถบังคับใช้ได้ครอบคลุมกับทุกหน่วยงานและหน่วยบริการ          เห็นด้วย ตามข้อเสนอแนะเพิ่มเติม มาตรการดังกล่าวตามที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. เสนอ เพื่อใช้เป็นหลักเกณฑ์จริยธรรมในการจัดซื้อจัดหายาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาให้มีรายละเอียดในลักษณะเดียวกันกับของ สธ. และสามารถบังคับใช้ได้ครอบคลุมกับทุกหน่วยงานและหน่วยบริการ ซึ่งข้าราชการสามารถเบิกจ่ายยาได้ตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาล เพื่อป้องกันการทุจริตในการเบิกจ่ายยา มีการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและลดค่าใช้จ่ายจากการเบิกจ่ายยาที่ไม่จำเป็น
*ประกาศ สธ. เรื่อง เกณฑ์จริยธรรมการจัดซื้อจัดหาและการส่งเสริมการขายยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของ สธ. พ.ศ. 2564 ข้อ 4 กำหนดให้ ?หน่วยงาน? หมายความว่า หน่วยงานระดับกอง หรือเทียบเท่าในสังกัด สธ. ซึ่งมีการดำเนินการในการจัดหาหรือควบคุมการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยา และ ?หน่วยบริการ? หมายความว่า หน่วยบริการตามระเบียบ สธ. ว่าด้วยเงินบำรุงของหน่วยบริการในสังกัด สธ.

11. เรื่อง โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวพร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 และอนุมัติหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุน            ค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ โดยอนุมัติกรอบวงเงินตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ดังนี้
                    กรอบวงเงินในการดำเนินโครงการตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 66,040.906 ล้านบาท
                     1. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 กรอบวงเงินงบประมาณตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 18,700.13 ล้านบาท โดยเห็นสมควรให้ พณ. ดำเนินมาตรการบริหารจัดการด้านการตลาดเพื่อเพิ่มปริมาณอุปสงค์ (Demand) ของสินค้าข้าว ทั้งจากภายในประเทศและต่างประเทศโดยเฉพาะในช่วงที่ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดมาก เพื่อรักษาระดับราคาข้าวในประเทศไม่ให้ตกต่ำและทำให้การดำเนินโครงการอยู่ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ ที่ได้รับอนุมัติ
                     2. มาตรการคู่ขนาน โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี และโครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร กรอบวงเงินงบประมาณตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 รวมจำนวน 7,482.69 ล้านบาท สำหรับโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อกปีการผลิต 2565/66 ที่ขอรับจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี หรืองบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 540 ล้านบาท นั้น เห็นสมควรให้ใช้จ่ายจากงบประมาณของกรมการค้าภายในเป็นลำดับแรกก่อน โดยปรับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณ หรือโอนเงินจัดสรร หรือเปลี่ยนแปลงเงินจัดสรร ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 หรือใช้จ่ายจากเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร แล้วแต่กรณี หากไม่เพียงพอให้ พณ. ขอรับการจัดสรรงบประมาณตามความจำเป็นและเหมาะสมตามขั้นตอน ของระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป
                     3. สำหรับมาตรการเพื่อช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยเป็นการจ่ายเงินให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66  ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 4.678 ล้านครัวเรือน ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท เห็นสมควรให้ใช้จากกรอบวงเงินโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 39,858.086             ล้านบาท (ประกอบด้วยงบประมาณจ่ายขาดให้เกษตรกร วงเงิน 39,111.14 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายของ ธ.ก.ส. วงเงิน 746.946 ล้านบาท) และให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมการข้าว กษ. รายการเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายตามโครงการสนับสนุนลดต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว จำนวน 15,225 ล้านบาท โดยจะทำให้กรอบวงเงินเพื่อช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 55,083.086 ล้านบาท โดยเห็นสมควรให้ พณ. กษ. และ ธ.ก.ส. หารือแนวทางการดำเนินโครงการและวิธีการจ่ายเงินให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวร่วมกัน โดยให้เป็น             การจ่ายเงินเข้าบัญชีให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้กับกรมส่งเสริมการเกษตรโดยตรง และร่วมกันส่งเสริมการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตข้าวอย่างต่อเนื่องในระยะยาว เพื่อลดภาระของภาครัฐในการสนันสนุนโครงการดังกล่าวในอนาคต
                     รวมเป็นกรอบวงเงินโครงการและมาตรการของ พณ. จำนวนทั้งสิ้น 66,580.906 ล้านบาท จำแนกเป็นกรอบวงเงินตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จำนวน 66,040.906 ล้านบาท และงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมการค้าภายในหรือเงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร วงเงิน 540 ล้านบาท สำหรับส่วนที่เหลือใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของกรมการข้าว จำนวน 15,225 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามกรอบมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ               พ.ศ. 2561 เห็นสมควรให้ ธ.ก.ส. จัดทำแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามผลการดำเนินการจริงตามความจำเป็นและเหมาะสมต่อไป ทั้งนี้ การดำเนินโครงการดังกล่าวมีผลให้รัฐต้องชดเชยค่าใช้จ่ายหรือการสูญเสียรายได้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 จึงเห็นสมควรให้เป็นตามความเห็นของกระทรวงการคลัง (กค.) โดยให้จัดทำประมาณการต้นทุนทางการเงินและการบริหารจัดการภาครัฐต่อภาระทางการคลังในภาพรวมให้สอดคล้องกับรายรับ และพิจารณาถึงความสามารถของงบประมาณรายจ่ายประจำปีที่จะต้องตั้งงบประมาณรองรับ รวมถึงภาระทางการคลังทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตลอดจนพิจารณาถึงความคุ้มค่าและประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับอย่างยั่งยืน
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     พณ. รายงานว่า
                    1. ผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65 มีดังนี้
                              1.1 โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1 ณ วันที่                       26 สิงหาคม 2565 ธ.ก.ส. โอนเงินชดเชยให้เกษตรกรแล้ว 4.675 ล้านครัวเรือน จำนวน 86,169.17 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 ของวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีมนุมัติ (88,711.74 ล้านบาท)
                               1.2 มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65   ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2565 สามารถดึงอุปทานได้รวม 5.380 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 72 ของเป้าหมาย                            (7.5 ล้านบาท)
                               1.3 โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 ธ.ก.ส. โอนเงินให้เกษตรกรแล้ว 4.675 ล้านครัวเรือน จำนวน 54,155.50 ล้านบาท                 (คิดเป็นร้อยละ 97 ของวงเงินงบประมาณที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ 55,567.36 ล้านบาท)
                    2. โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66
หัวข้อ          รายละเอียด
เป้าหมาย          ประกันรายได้ข้าวเกษตรกรผู้ปลูกข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกปทุมธานี ข้าวเปลือกเจ้า และข้าวเปลือกเหนียว ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร ประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือน
ราคาและปริมาณประกันรายได้          กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66              ณ ราคาความชื้นไม่เกินร้อยละ 15 โดยชดเชยเป็นจำนวนตัน ในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
- ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาประกันรายได้ 15,000 บาทต่อตัน
  ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคาประกันรายได้ 14,000 บาทต่อตัน
  ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
- ข้าวเปลือกปทุมธานี ราคาประกันรายได้ 11,000 บาทต่อตัน
  ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน
- ข้าวเปลือกเจ้า ราคาประกันรายได้ 10,000 บาทต่อตัน
  ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน
- ข้าวเปลือกเหนียว ราคาประกันรายได้ 12,000 บาทต่อตัน
  ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน
เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย          - เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2565/66 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน ? 31 ตุลาคม 2565 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน  2565 ? 28 กุมภาพันธ์ 2566 โดยกรอบระยะเวลาการขึ้นทะเบียนในแต่ละพื้นที่ให้เป็นไปตามประกาศของ กษ.
- ที่นาแปลงใดแปลงหนึ่งสามารถรับสิทธิประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 ได้แปลงละ 1 ครั้ง เท่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นการจ่ายเงินซ้ำซ้อน
การคำนวณปริมาณผลผลิต          การคำนวณปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิในการชดเชย ให้ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
การกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง          กำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 ? พฤษภาคม 2566 โดยจะประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงทุกวันศุกร์ งวดแรกเริ่มวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565 และงวดสุดท้ายจะประกาศวันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม 2566 สำหรับเกษตรกรที่ระบุวันที่คาดว่า              จะเก็บเกี่ยวจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566
การจ่ายเงิน          ธ.ก.ส. จ่ายเงินชดเชยเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง

                     3. มาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2565/66 จำนวนทั้งสิ้น 3 โครงการ วงเงินรวมทั้งสิ้น 81,612.69 ล้านบาท จำแนกเป็นวงเงินสินเชื่อ 73,590 ล้านบาท วงเงินจ่ายขาด 8,022.69 ล้านบาท ดังนี้
                              3.1 โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2565/66 (โดย ธ.ก.ส.)

หัวข้อ          รายละเอียด
วิธีการ          ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อตามโครงการให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรในพื้นที่ปลูกข้าว            ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชะลอข้าวเปลือกไว้ในยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตร 2.5 ล้านตันข้าวเปลือก
วงเงินสินเชื่อต่อตัน          - ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,000 บาท
- ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 9,500 บาท
- ข้าวเปลือกปทุมธานี ตันละ 7,300 บาท
- ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 5,400 บาท
- ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 8,600 บาท
ค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวเปลือก          กำหนดให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับค่าฝากเก็บและรักษาคุณภาพข้าวในอัตรา 1,500 บาทต่อตันข้าวเปลือก โดยเกษตรกรที่เก็บข้าวเปลือกในยุ้งฉางตนเองได้รับเต็มจำนวน สำหรับสถาบันเกษตรกรที่รับซื้อข้าวเปลือกเข้าโครงการฯ ได้รับอัตรา 1,000 บาทต่อตันข้าวเปลือก และเกษตรกรผู้ขายข้าวได้รับในอัตรา 500 บาทต่อตันข้าวเปลือก
การระบายข้าวเปลือก          กรณีที่มีการระบายข้าวเปลือกให้ ธ.ก.ส. สำรองจ่ายค่าขนย้ายข้าวเปลือกที่ ธ.ก.ส. ตามวงเงินที่สำรองจ่ายและชดเชยต้นทุนเงินให้ ธ.ก.ส.
ระยะเวลาดำเนินการ          - ระยะเวลาจัดทำสัญญา ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 28 กุมภาพันธ์ 2566 (ภายใต้ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2566)
- ระยะเวลาชำระคืนเงินกู้เสร็จสิ้นไม่เกิน 5 เดือนนับถัดจากเดือนรับเงินกู้และเมื่อกำหนดชำระคืน หากราคาตลาดต่ำกว่าวงเงินสินเชื่อต่อตันสามารถขยายเวลาชำระคืนไม่เกิน 3 คราว คราวละ 1 เดือน ภายในระยะเวลาโครงการฯ
- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 31 ธันวาคม 2566
                     3.2 โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปีการผลิต 2565/66 (โดย ธ.ก.ส.)
หัวข้อ          รายละเอียด
วิธีการ          สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร ประกอบด้วย สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และศูนย์ข้าวชุมชน เพื่อรวบรวมข้าวเปลือกเพื่อจำหน่าย และ/หรือเพื่อการแปรรูป วงเงินสินเชื่อเป้าหมาย 10,000 ล้านบาท คิดเป็นข้าวเปลือก 1 ล้านตันข้าวเปลือก และจำนวนสินเชื่อคงเหลือภายในระยะเวลาโครงการฯ ไม่เกินวงเงินสินเชื่อเป้าหมาย โดยคิดอัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี (ปัจจุบัน MLR ร้อยละ 4.875 ต่อปี) โดยสถาบันเกษตรกรรับภาระดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อปี รัฐบาลรับภาระชดเชยดอกเบี้ยให้สถาบันเกษตรกร ร้อยละ 3 ต่อปี
ระยะเวลาดำเนินการ          ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 31 ธันวาคม 2566
                               3.3 โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการค้าข้าวในการเก็บสต็อก ปีการผลิต 2565/66 (โดยกรมการค้าภายใน)
หัวข้อ          รายละเอียด
วิธีการ          เพิ่มสภาพคล่องให้ผู้ประกอบการค้าข้าวที่เข้าร่วมโครงการให้เก็บสต็อกในรูปข้าวเปลือกและข้าวสาร เป้าหมายดูดซับ 4 ล้านตันข้าวเปลือก เก็บสต็อกไว้อย่างน้อย 60 ? 180 วัน (2 ? 6 เดือน) นับแต่วันที่รับซื้อ โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 3
ระยะเวลาดำเนินการ          - ระยะเวลาการรับซื้อข้าวจากเกษตรกรตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ? 31 มีนาคม 2566 (ภาคใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ? 30 มิถุนายน 2566)
- ระยะเวลาการเก็บสต็อกข้าว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 ? 31 ธันวาคม 2566
- ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 31 ตุลาคม 2567
                     4. โครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66
หัวข้อ          รายละเอียด
กลุ่มเป้าหมาย          เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรประมาณ 4.68 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ
วิธีการ          กรมส่งเสริมการเกษตร นำข้อมูลรายชื่อเกษตรกรที่ผ่านการขึ้นทะเบียนเกษตรกร                ผู้ปลูกข้าว ปี 2565 กับกรมส่งเสริมการเกษตร ส่งให้ ธ.ก.ส. สำนักงานใหญ่เพื่อดำเนินการจ่ายเงินให้เกษตรกร ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ              20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 20,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินการ          ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ? 30 กันยายน 2566
                     5. คณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่                    8 กันยายน 2565 ได้รับทราบผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/65 และเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว พร้อมมาตรการคู่ขนาน และโครงการสนับสนุนค่าบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพผลผลิตเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2565/66 และให้ พณ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาตินำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในคราวนี้ด้วยแล้ว

12. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ ครั้งที่ 1/2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)                  ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ (ก.น.บ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค พ.ศ. 2566 - 2570 (เป้าหมายการพัฒนาภาคฯ) ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน ที่ปรับปรุงตาม               ความเห็นของ ก.น.บ. แล้ว และมอบหมายให้ สศช. แจ้งเวียนจังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนและโครงการ พ.ศ. 2566 - 2570 ต่อไป
                    2. นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดประจำปีงบประมาณ                พ.ศ. 2567 (นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) และมอบหมาย สศช. แจ้งเวียนจังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สศช. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. รายงานว่า ก.น.บ. ในคราวประชุม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ได้พิจารณาเป้าหมายการพัฒนาภาคฯ และนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                    1. เป้าหมายการพัฒนาภาคฯ ครอบคลุมทั้ง 6 ภาค ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน โดยแต่ละภาคมีเป้าหมายและแนวทางการพัฒนา ดังนี้
ภาค          เป้าหมายการพัฒนา          แนวทางการพัฒนา เช่น
ภาคเหนือ          ฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์
ของประเทศ          (1) สนับสนุนการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (NEC-Creative LANNA) ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาคและฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ
(2) ยกระดับการท่องเที่ยวและบริการที่มีศักยภาพให้มีคุณภาพ สนับสนุนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และกระจายประโยชน์สู่ชุมชน
(3) พัฒนาการผลิตตามระบบเกษตรกรรมยั่งยืน เชื่อมโยงสู่อุตสาหกรรมแปรรูปมูลค่าสูง
(4) เสริมศักยภาพของเมือง พื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน และระบบโครงสร้างพื้นฐานโลจิสติกส์สำคัญของภาคเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ และเอื้อต่อการอยู่อาศัย
(5) พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิต เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาผู้สูงอายุสู่การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ และทักษะฝีมือแรงงาน เพื่อรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์
(6) บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ          ศูนย์กลางเศรษฐกิจของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง          (1) พัฒนาภาคเกษตรโดยเทคโนโลยีสมัยใหม่มุ่งสู่ฐานเศรษฐกิจชีวภาพที่มีมูลค่าสูง เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร
(2) บริหารจัดการน้ำให้เพียงพอเพื่อรองรับการเติบโตของเมืองและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
(3) พัฒนาผลิตภัณฑ์พื้นถิ่นไปสู่มาตรฐานสากลเพื่อสร้างเศรษฐกิจในชุมชน
(4) พัฒนาเมือง เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเมืองชายแดน รวมทั้งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC-Bioeconomy) ให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจหลักของภาค
(5) พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวหลักและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวหลักและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้ได้มาตรฐาน เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน
(6) ยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัยให้ได้มาตรฐานและแก้ปัญหาความยากจนให้กับผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
ภาคกลาง          ฐานการผลิตสินค้าและบริการมูลค่าสูง          (1) ยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าเพิ่มสูงได้มาตรฐานระดับสากล
(2) ส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวสำคัญและแหล่งท่องเที่ยวชุมชนให้เป็นจุดหมายของการท่องเที่ยวคุณภาพ
(3) พัฒนาระบบบริการส่งเสริมสุขภาพและการให้บริการทางการแพทย์ที่มีศักยภาพในการสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ได้มาตรฐานในระดับสากล
(4) พัฒนาเมือง เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและเมืองชายแดน รวมทั้งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง - ตะวันตก (CWEC) ให้เป็นศูนย์กลางการกระจายความเจริญทางเศรษฐกิจของภาคกลาง
(5) พัฒนาและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตของภาคกลาง
(6) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
ภาคตะวันออก          ฐานเศรษฐกิจสีเขียวชั้นนำของอาเซียน ควบคู่กับคุณภาพการดำรงชีวิตของประชาชนที่ดี          (1) พัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายให้เป็นกำลังหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวของภาคตะวันออก
(2) พัฒนาการเกษตรคุณภาพให้เชื่อมโยงสู่การผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรปลอดภัย สู่ห่วงโซ่การผลิตในระดับประเทศ และการให้บริการส่งเสริมสุขภาพ
(3) ยกระดับการท่องเที่ยวของภาคตะวันออกสู่การเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวของโลก ที่เน้นคุณภาพและความยั่งยืน
(4) พัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดสระแก้วและตราด รวมทั้งพื้นที่เศรษฐกิจชายแดนที่มีศักยภาพให้เป็นประตูเชื่อมโยงการค้า การลงทุนที่ทันสมัยกับประเทศเพื่อนบ้าน
(5) พัฒนาพื้นที่และเมืองให้เป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับประชาชนทุกกลุ่มในพื้นที่
(6) อนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ภาคใต้           แหล่งท่องเที่ยวและบริการที่มีคุณภาพ แหล่งผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและมูลค่าสูง เชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาค          (1) พัฒนาและยกระดับการท่องเที่ยวและบริการ รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่องด้านการท่องเที่ยวให้มีมาตรฐานและมูลค่าสูง
(2) พัฒนาและยกระดับอุตสาหกรรมการแปรรูปสินค้าเกษตรหลักด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง
(3) ส่งเสริมการผลิตและการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตรและปศุสัตว์หลักของภาค
(4) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน
(5) พัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนและด่านพรมแดน รวมทั้งพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) ให้เป็นประตูการค้าการลงทุนและพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ของภาค
(6) เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
ภาคใต้ชายแดน          ฐานเศรษฐกิจชายแดนที่มั่นคงบนสังคมพหุวัฒนธรรม          (1) พัฒนาคุณภาพการผลิตและการแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตรหลักของภาค
(2) พัฒนาเมืองชายแดนให้เป็นเมืองเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว สามารถเชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียนตอนใต้และพัฒนาเมืองยะลาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคใต้ชายแดน
(3) ยกระดับรายได้ การศึกษา สมรรถนะแรงงาน และสาธารณสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและสันติสุข
(4) อนุรักษ์ ฟื้นฟู และบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นฐานการผลิตของภาค
                    2. นโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                              2.1 นโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด พ.ศ. 2566 - 2570 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แผนฯ ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567) ประกอบด้วย
หัวข้อ          สาระสำคัญ
2.1.1 นโยบายการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด          - ให้ยึดยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายรัฐบาล
- ให้ความสำคัญกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค และให้ใช้กระบวนการประชาคมแบบมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน หรือการจัดเวทีระดมความคิดเห็นของประชาชนเพื่อให้ได้มาซึ่งปัญหาและความต้องการจากประชาชนในพื้นที่ โดยมุ่งเน้นการทำงานแบบเครือข่ายร่วมกันทุกภาคส่วน ทั้งส่วนราชการ (ส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น) ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม หรือประชารัฐ และชุมชน
- มีการกำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดที่ชัดเจนเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินการที่ผ่านมา
- สำหรับการทบทวนหรือปรับปรุงแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ไม่ต้องปรับปรุงแผนทุกปี หากไม่มีเหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนา
2.1.2 ขอบเขตของแผน          - แผนพัฒนาจังหวัด เป็นแผนที่มีความครอบคลุมทุกมิติการพัฒนา มุ่งตอบสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาที่สำคัญของจังหวัดและขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาจังหวัดที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนระดับชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาภาค ตามศักยภาพและโอกาสของพื้นที่
- แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด เป็นแผนที่เป็นการขับเคลื่อนประเด็นการพัฒนาที่สอดคล้องกับเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค ในประเด็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันหรือความต้องการแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นร่วมในพื้นที่กลุ่มจังหวัด และต้องมีขอบเขตการดำเนินการหรือได้รับผลประโยชน์มากกว่า 1 จังหวัด
2.1.3 กำหนดการส่งแผน            ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดจัดส่งแผนฯ ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ                     พ.ศ. 2567 ภายในวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
2.1.4 องค์ประกอบของแผนพัฒนาจังหวัด และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด          (1) ข้อมูลเพื่อการพัฒนา ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานทางกายภาพ ข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ (ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและความมั่นคง และด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ประเด็นปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ และผลการพัฒนาและแก้ไขปัญหาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในช่วงที่ผ่านมา
(2) ประเด็นการพัฒนา ได้แก่ บทวิเคราะห์ เป้าหมายการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (ระยะ 5  ปี) ตัวชี้วัดความสำเร็จ และประเด็นการพัฒนาของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
                              ทั้งนี้ ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดดำเนินการจัดประชุมปรึกษาหารือร่วมกันกับบุคคลจากภาคส่วนต่าง ๆ เกี่ยวกับแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ตามมาตรา 24 และมาตรา 34 วรรค 4 แห่ง             พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการ พ.ศ. 2565
                              2.2 หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
                                        2.2.1 หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดและข้อกำหนดลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะโครงการ สรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์การจัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด          ข้อกำหนดลักษณะและคุณสมบัติเฉพาะของโครงการ
(1) โครงการจะต้องมีความสอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาภายใต้แผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด และเชื่อมโยงตามห่วงโซ่การพัฒนา/ห่วงโซ่คุณค่าตามแผนงานที่กำหนด
(2) มีความพร้อมและความเหมาะสมของโครงการ
(3) จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสามารถเสนอโครงการที่ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการต่อเนื่องได้ โดยแบ่งระยะเวลาดำเนินการเป็นรายปี (Phasing) พร้อมแสดงเหตุผลความจำเป็นที่ต้องดำเนินการ
(4) โครงการที่มีการใช้ระยะเวลาในการดำเนินการต่อเนื่องและโครงการที่ดำเนินการเป็นประจำทุกปี จะต้องรายงานความสำเร็จของการดำเนินงานที่ผ่านมา
(5) ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเสนอโครงการพร้อมจัดลำดับความสำคัญโดยรวมรายโครงการภายใต้แผนปฏิบัติราชการประจำปี          (1) ไม่เป็นการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนโดยตรง
(2) ไม่เป็นการจัดซื้อครุภัณฑ์เพื่อใช้งานตามภารกิจปกติของส่วนราชการ
(3) ไม่เป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับปรุง ซ่อมแซมหรือก่อสร้างอาคารสถานที่และระบบสาธารณูปโภคของส่วนราชการ เพื่อใช้งานตามภารกิจปกติของส่วนราชการ
(4) ไม่มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับการศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน เว้นแต่ ฝึกอบรมด้านอาชีพ ด้านความมั่นคง หรือเป็นประเด็นสำคัญของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
(5) ไม่เป็นกิจกรรมย่อย ควรบูรณาการกิจกรรมประเภทเดียวกัน หรือเกี่ยวข้องกันเข้าด้วยกัน
(6) ไม่เป็นการเดินทางไปต่างประเทศ เว้นแต่เป็นกิจกรรมที่มีข้อผูกพันในเรื่องการเจรจาด้านการค้าและการลงทุน การท่องเที่ยว และการเสริมสร้างความสัมพันธ์กับประเทศในกลุ่มประชาคมอาเซียน จีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
                                        2.2.2 ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัด จัดทำแบบสรุปแผนงานโครงการที่จังหวัดและกลุ่มจังหวัดขอรับการสนับสนุนจากกระทรวง/กรม เพื่อดำเนินการให้สอดคล้องตามความต้องการของแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งจัดเรียงลำดับความสำคัญ โดยให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ประมวลรวบรวม และประสานแจ้งกระทรวงเพื่อรับไปพิจารณาบรรจุในแผนปฏิบัติการของกระทรวงหรือกรมต่อไป
                                        2.2.3 ให้คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.จ.) หรือคณะกรรมการบริหารงานกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการ (ก.บ.ก.) เสนอโครงการโดยมีการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ และจัดส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายในวันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน                 พ.ศ. 2565
                                        2.2.4 ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดสรุปรายการโครงการ กิจกรรม และงบประมาณที่ได้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด พร้อมทั้งผลผลิต ผลสัมฤทธิ์ และปัญหาอุปสรรค ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) ภายใน 30 วัน หลังสิ้นสุดปีงบประมาณ
                              2.3 แนวทางการกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ดังนี้
                                        2.3.1 กรอบงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด จำนวน 28,000 ล้านบาทต่อปี
                                        2.3.2 สัดส่วนการจัดสรรงบประมาณ (สัดส่วนฯ) งบประมาณ การจัดสรรงบประมาณ และการจัดสรรงบบริหารจัดการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด
งบประมาณ
(สัดส่วนฯ)          การจัดสรรงบประมาณ          การจัดสรรงบบริหารจัดการ
งบประมาณจังหวัด
19,600
ล้านบาท
(ร้อยละ 70)          - ให้จังหวัดเสนอโครงการไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า แต่ไม่เกิน 2 เท่า ของกรอบการจัดสรรงบประมาณ
- มีองค์ประกอบในการจัดสรรงบประมาณประกอบด้วย
(1) จัดสรรเฉลี่ยเท่ากันทุกจังหวัด ร้อยละ 20
(2) จัดสรรตามจำนวนประชากรของแต่ละจังหวัด ร้อยละ 20
(3) จัดสรรตามขนาดพื้นที่จังหวัด ร้อยละ 5
(4) จัดสรรตามสัดส่วนคนจนในแต่ละจังหวัด ร้อยละ 10
(5) จัดสรรผกผันตามรายได้ต่อครัวเรือน ร้อยละ 25
(6) จัดสรรตามผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ร้อยละ 10
(7) จัดสรรตามประสิทธิภาพการบริหารงบประมาณของจังหวัดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 10          - จัดสรรตามขนาดจังหวัด มีองค์ประกอบ ดังนี้
(1) จำนวนอำเภอในจังหวัด ร้อยละ 40
(2) จำนวนประชากรในจังหวัด ร้อยละ 30
(3) ขนาดพื้นที่ของจังหวัด ร้อยละ 30
ซึ่งจากเกณฑ์ดังกล่าวสามารถแบ่งขนาดของจังหวัดได้เป็น 3 ขนาด ดังนี้
- จังหวัดขนาดใหญ่ จำนวน 24 จังหวัด
ได้รับงบบริหารจัดการ 10 ล้านบาท
- จังหวัดขนาดกลาง จำนวน 39 จังหวัด
ได้รับงบบริหารจัดการ 9 ล้านบาท
- จังหวัดขนาดเล็ก จำนวน 13 จังหวัด
ได้รับงบบริหารจัดการ 8 ล้านบาท
รวมงบบริหารจัดการของจังหวัด
จำนวน 695 ล้านบาท
งบประมาณกลุ่มจังหวัด
8,400
ล้านบาท
(ร้อยละ 70)          กำหนดสัดส่วนการจัดสรรงบพัฒนากลุ่มจังหวัด แบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยมีสัดส่วนร้อยละ 50:50 ได้แก่
(1) งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการเพิ่มศักยภาพตามความต้องการรายพื้นที่ หรือแก้ไขปัญหาที่เป็นประเด็นร่วมของกลุ่มจังหวัด มีองค์ประกอบในการจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย จัดสรรตามขนาดกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 50 จัดสรรตามผลิตภัณฑ์มวลรวมของกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 25 และจัดสรรผกผันกับผลิตภัณฑ์ต่อหัวของกลุ่มจังหวัด ร้อยละ 25
(2) งบประมาณเพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดที่เป็นการพัฒนาในลักษณะ Cluster หรือตอบสนองนโยบายสำคัญของรัฐบาลเชิงพื้นที่ ระดับกลุ่มจังหวัด ทั้งนี้ กำหนดให้กลุ่มจังหวัดเสนอโครงการได้ไม่น้อยกว่า 1.5 เท่า แต่ไม่เกิน 2 เท่า ของกรอบการจัดสรรงบประมาณ           - จัดสรรตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
(1) กลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนจังหวัด 3 จังหวัด
ได้รับงบบริหารจัดการ 4 ล้านบาท
(2) กลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนจังหวัด 4 - 5 จังหวัด ได้รับงบบริหารจัดการ 5 ล้านบาท
(3) กลุ่มจังหวัดที่มีจำนวนจังหวัด 6 จังหวัด
ได้รับงบบริหารจัดการ 6 ล้านบาท
รวมงบบริหารจัดการของกลุ่มจังหวัด
จำวน 88 ล้านบาท
                                        2.3.3 แนวทางในการใช้จ่ายงบบริหารจัดการของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับ (1) การจัดประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดกับภาคส่วนต่าง ๆ                 (2) การจัดประชุม ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. (3) การศึกษาเพื่อพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (4) การสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดและกลุ่มจังหวัด (5) การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ (6) การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจแก่ภาคส่วนต่าง ๆ (7) การติดตามประเมินผลการดำเนินงาน                     (8) การจ่ายเงินค่าธรรมเนียมศาล เงินตามคำพิพากษาของศาล หรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดี                 (9) การจ่ายเงินชดเชยค่างานก่อสร้างตามสัญญาแบบปรับราคาได้ (ค่า K) และ (10) ค่าใช้จ่ายในการบำรุง ดูแล รักษา หรือค่าสาธารณูปโภคฯ ของสินทรัพย์ที่อยู่ระหว่างการโอนสินทรัพย์ให้ส่วนราชการ
                              2.4 หลักเกณฑ์การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ดังนี้
                                        2.4.1 กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องเสนอโครงการใหม่ ซึ่งไม่อยู่ในแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดเสนอคำขอเปลี่ยนแปลงโครงการมายังฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการประจำภาคหรือคณะอนุกรรมการที่ ก.น.บ. มอบหมาย ภายในวันอังคารที่                15 สิงหาคม 2566
                                        2.4.2 การเปลี่ยนแปลงโครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัดในกรณีอื่น ๆ ให้เป็นอำนาจของ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยหารือสำนักงบประมาณและดำเนินการตามระเบียบการบริหารงบประมาณที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ ให้รายงานการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวให้คณะอนุกรรมการประจำภาค หรือคณะอนุกรรมการที่ ก.น.บ. มอบหมายทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันสิ้นไตรมาสที่ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนแปลงโครงการ
                                        2.4.3 ให้ ก.บ.จ. หรือ ก.บ.ก. รายงานผลการเปลี่ยนแปลงโครงการทั้งหมดให้ คณะอนุกรรมการประจำภาค หรือคณะอนุกรรมการที่ ก.น.บ. มอบหมายทราบตามแบบฟอร์มที่กำหนด ภายใน              30 วันหลังจากสิ้นสุดงบประมาณ
                    3. มติ ก.น.บ.
                              3.1 เห็นชอบเป้าหมายการพัฒนาภาคฯ ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน โดยนำความเห็นของที่ประชุม เช่น กรณีการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อนที่มีผลกระทบต่อสถานการณ์การส่งออกสินค้าของไทย ไปพิจารณาปรับปรุงให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ ก.น.บ. นำเป้าหมายการพัฒนาภาคฯ ที่ปรับปรุงแล้ว เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ ก่อนแจ้งเวียนให้จังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนและโครงการ พ.ศ. 2566 - 2570 ต่อไป
                              3.2 เห็นชอบนโยบาย หลักเกณฑ์และวิธีการฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการ ก.บ.น. นำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนแจ้งเวียนจังหวัด กลุ่มจังหวัด ส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป

ต่างประเทศ

13. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565                ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในรูปแบบผสมผสาน (On-site และ Online) [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มกราคม 2565) เห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสารในการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนฯ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาจะต้องให้การรับรองร่างเอกสาร รวม 8 ฉบับ ร่วมกับรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน และต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (25 ตุลาคม 2565) ให้ความเห็นชอบการรับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียนซึ่งเป็นเอกสารเพิ่มเติมที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้ให้การรับรองไปแล้วในที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25ฯ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
                              1) ปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียน (Phnom Penh Declaration on Transforming ASEAN Tourism) เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนต่อการส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนมีความร่วมมือระหว่างกัน และการสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ ปฏิญญาดังกล่าวจะเป็นเอกสารสำคัญของกรอบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียนที่จะต้องนำเสนอต่อผู้นำอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 ระหว่างวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2565 ณ กัมพูชา
                              2) แถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 มีสาระสำคัญ เช่น              (1) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวนับตั้งแต่การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยที่ประชุมได้แบ่งปันข้อมูลผลกระทบจากโควิด-19 ของประเทศตนเองและแลกเปลี่ยนแนวทางในอนาคตเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาค (2) ชื่นชมการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการท่องเที่ยวอาเซียน คณะกรรมการด้านการท่องเที่ยวอาเซียน และคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียนในการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2558-2568 ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่มีการปรับปรุง (3) รับรองผลลัพธ์ของผลสรุปการปรับปรุงและทบทวนมาตรฐานสมรรถนะขั้นพื้นฐานของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ภายใต้แผนงานข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ปี 2562 - 2568 และ (4) รับรองตราประทับการเดินทางที่ปลอดภัย * (Safe Travel Stamp) เพื่อให้นักท่องเที่ยวมั่นใจว่าได้รับมาตรฐานด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย รวมทั้งสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนพัฒนานโยบายและกฎระเบียบที่ชัดเจนในการดำเนินการตามแนวทางและการใช้ตราประทับการเดินทางที่ปลอดภัยเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและแรงดึงดูดของอาเซียนให้เป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยม
                              3) ขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนเป็นเอกสารที่มุ่งเน้นการพัฒนาและส่งเสริมให้ภูมิภาคอาเซียนเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ รวมถึงยกระดับความร่วมมือในภาคการท่องเที่ยวระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งในระดับภาครัฐและเอกชน ตลอดจนเพื่อหารือและแลกเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อแก้ไขปัญหาในการพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบ ยั่งยืน ครอบคลุม และฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น
                    2. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 21 ที่ประชุมได้ให้การรับรองแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น (1) แลกเปลี่ยนข้อมูลและมุมมองต่อมาตรการในการบรรเทาผลกระทบที่ดำนินการโดยประเทศสมาชิกอาเซียนบวกสามและหารือถึงแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับภูมิภาคเพื่อการเปิดภาคการท่องเที่ยวใหม่อีกครั้ง และ (2) ชื่นชมสาธารณรัฐประชาชนจีนสำหรับการจัดประชุมเดือนแห่งวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอาเซียนและนิทรรศการวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวอาเซียน-จีน นอกจากนี้อาเซียนและจีนได้ดำเนินงานภายใต้ข้อริเริ่มที่ 12 ของแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ปี 2568 เพื่อยกระดับแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวเชิงดิจิทัลเพื่อส่งเสริมให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจุดหมายปลายทางเดียวด้านการท่องเที่ยวในตลาดจีนได้ดียิ่งขึ้น
                    3. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สาธารณรัฐอินเดีย ครั้งที่ 9 ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่
                              1) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ปี 2564 ? 2565 (ASEAN-India Tourism Work Plan 2021-2022) โดยมีโครงการและกิจกรรมภายใต้แผนงานฯ ต่าง ๆ เช่น (1) การแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศสำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างมีความรับผิดชอบและ/หรือการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (2) การแบ่งปันทรัพยากรและสิ่งอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกันในเชิงวิชาการด้านการท่องเที่ยวและการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวที่มีคุณภาพ (3) การสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยว และ (4) ส่งเสริมการค้าและการท่องเที่ยวรวมทั้งการเชื่อมโยงด้านคมนาคมระหว่างอาเซียนและอินเดีย
                              2) แถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 9 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น (1) ยินดีต่อการกำหนดให้ ปี 2565 เป็น ?ปีแห่งความสัมพันธ์อาเซียน-อินเดีย? เพื่อเฉลิมฉลองครบรอบความสัมพันธ์ 30 ปี ของอาเซียน-อินเดีย (2) สนับสนุนให้ประสานการดำเนินงานร่วมกันระหว่างแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 และแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ปี 2564 - 2565 และ (3) ส่งเสริมการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และคู่เจรจา เพื่อรับรองว่าการท่องเที่ยวที่ปลอดภัยจะเกิดขึ้นใหม่อีกครั้งในอาเซียนและอินเดีย
                    4. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 1 ที่ประชุมได้ให้การรับรองเอกสารสำคัญ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
                              1) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย ปี 2565-2567 (ASEAN-Russia Federation Tourism Work Plan 2022- 2024 ) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว (2) สร้างเสริมความเข้มแข็งของโครงการสร้างขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยว (3) ส่งเสริมความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว (4) อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายนักท่องเที่ยว และ                (5) สนับสนุนการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุมระหว่างอาเซียนและ รัสเซีย
                              2) แถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย ครั้งที่ 1 ซึ่งมีสาระสำคัญ เช่น (1) ยินดีต่อการยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย เป็นระดับรัฐมนตรี โดยเล็งเห็นความสำคัญของความสำเร็จอันยิ่งใหญ่นี้ และปี 2564 เป็นปีแห่งการครบรอบ 30 ปี ของความสัมพันธ์อาเซียน-รัสเซีย (2) แสดงความชื่นชมต่อโครงการที่ครอบคลุมเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและความตกลงระหว่างรัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนและรัฐบาลรัสเซียโดยมีประเด็นการดำเนินงานหลัก คือ การอบรมภาษารัสเซียให้กับผู้ประกอบการนำเที่ยว และโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้แทนอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศสมาชิกอาเซียน และ (3) รับรองแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซียฯ ซึ่งให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียนรัสเซีย ในอีก 2 ปีข้างหน้ารวมถึงจัดลำดับความสำคัญของการฟื้นฟูด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน-รัสเซีย
                              3) ขอบเขตหน้าที่สำหรับการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเซีย มีสาระสำคัญเพื่อสนับสนุนการยกระดับความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างอาเซียน-รัสเซีย เป็นระดับรัฐมนตรี โดยการแสวงหาความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การลงทุน การส่งเสริมการตลาด การเสริมสร้างขีดความสามารถ ความปลอดภัยและความมั่นคง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีความยั่งยืนและครอบคลุมมากขึ้น ตลอดจนเพื่อประโยชน์ของอาเซียนและรัสเซีย
*เป็นตราประทับที่รับรองโดยองค์กรการท่องเที่ยวโลก (World Travel and Tourism Council) ซึ่งเป็นมาตรฐานความปลอดภัยที่สอดรับกับแนวทางขององค์การอนามัยโลก (WHO) และหน่วยงานป้องกันโรคติดต่อในสหรัฐอเมริกา (Center for Disease Control: CDC) เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักท่องเที่ยวว่าจะได้รับความปลอดภัยและการดูแลด้านสุขอนามัยในขณะเดินทางท่องเที่ยวตามแนวทาง New Normal จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างสูงสุด

14.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2565 ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานการประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 สิงหาคม 2565) เห็นชอบในหลักการต่อเอกสารผลลัพธ์ 3 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 (2) ร่างแถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปคสำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค ครั้งที่ 7 และ (3) ร่างแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี ค.ศ. 2030 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กษ. ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งให้ชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว] ซึ่งการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงเจตนารมณ์ด้านความมั่นคงอาหารร่วมกันของรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค โดยผลักดันการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านความมั่นคงอาหารในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สรุปผลการประชุมฯ ได้ ดังนี้
                    1. การประกาศแถลงการณ์ประธานสำหรับการประชุมรัฐมนตรีความมั่นคงอาหารเอเปค           ครั้งที่ 7 เพื่อแสดงเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความมั่นคงอาหารในภูมิภาค โดยในแถลงการณ์ฯ ได้ผลักดันนโยบายสำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย (1) การสนับสนุนความปลอดภัยอาหารและการอำนวยความสะดวกทางการค้า (2) การปรับปรุงการดำรงชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดี (3) การส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ (4) การส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีในภาคเกษตรอาหาร และ (5) การสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
                    2. การกล่าวถ้อยแถลงเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ปี                    ค.ศ. 2030 ของประเทศต่าง ๆ โดยแต่ละประเทศให้ความสำคัญเกี่ยวกับการผลักดันความมั่นคงอาหาร เช่น เครือรัฐออสเตรเลียให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การบริหารจัดการห่วงโช่อุปทานสีเขียวอย่างยั่งยืนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สาธารณรัฐประชาชนจีนให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ชนบท โดยให้เงินสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเพื่อให้สามารถเปลี่ยนแปลงจากฐานรากไปสู่การมีระบบอาหารและการเกษตรที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีด้านการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน  สหรัฐอเมริกาให้ความสำคัญกับการพัฒนาโมเดลต้นแบบเมืองคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ เพิ่มบทบาทให้กับกลุ่มที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ได้รับการปลดปล่อย ผู้ประกอบการรายย่อย วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (Ministry of Micro, Small and Medium Enterprises: MSMEs) สตรี เยาวชน ชุมชนพื้นเมือง และผู้สูงอายุ อินโดนีเซียให้ความสำคัญกับการสร้างผลิตภาพแรงงานเกษตรและแรงงานที่มีทักษะต่ำให้เป็นการเกษตรสมัยใหม่ ฟิลิปปินส์ให้ความสำคัญกับการกำหนดนโยบายเทคโนโลยีการเกษตร 4.0 และนโยบายด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ นโยบายสร้างความหลากหลายในอุตสาหกรรม การเกษตร มาเลเซียให้ความสำคัญกับการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ                ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการสนับสนุนการใช้ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในการสร้างผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เวียดนามให้ความสำคัญกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและพื้นที่ชนบทอย่างยั่งยืนภายในปี 2021-2030 เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ส่งเสริมการสร้างพื้นที่ชนบทสีเขียว และเชื่อมโยงกับกระบวนการพัฒนาสู่ความเป็นเมือง และไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนากำลังคนภาคเกษตร รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมเกษตร และยกระดับความร่วมมือเครือข่ายการพัฒนาภาคการเกษตรจาก              ทุกภาคส่วน
                    3. การร่วมรับรองแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่ ปี ค.ศ. 2030 ของประเทศสมาชิก ซึ่งแผนปฏิบัติการดังกล่าวเป็นแนวทางการบรรลุความมั่นคงอาหารและโภชนาการภายในปี                ค.ศ. 2030 มีการกำหนดประเด็นสำคัญ 6 ประเด็น ได้แก่ (1) เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม (2) ผลิตภาพ (3) ความครอบคลุม (4) ความยั่งยืน (5) ความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและเอกชน และ (6) การกำหนดเป้าหมายอย่างชาญฉลาดและการนำไปปฏิบัติ ซึ่งมีกิจกรรมที่ให้ดำเนินการโดยสมัครใจเพื่อขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการฯ จำนวน 27 กิจกรรม เช่น การส่งเสริมให้รัฐบาลออกมาตรการเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและแนะนำเทคนโลยีและสินค้าที่เป็นนวัตกรรม การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ (เช่น เกษตรอัจฉริยะ) และการแบ่งปันประสบการณ์หรือแนวทางที่ประสบความสำเร็จแก่เขตเศรษฐกิจและองค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ
                    4. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาระบบอาหารที่ยั่งยืน (โดยผู้แทนจากสภาที่ปรึกษาธุรกิจเอเปค ผู้อำนวยการสำนักเลขาธิการเอเปค และผู้อำนวยการใหญ่องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ) สรุปได้ ดังนี้
                              1) การส่งเสริมความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง (เช่น องค์การการค้าโลก องค์การสหประชาชาติ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ และโครงการอาหารโลก) เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงอำนวยความสะดวกทางการค้าและการยับยั้งข้อห้ามและข้อจำกัดต่าง ๆ ในการส่งออก และส่งเสริมความร่วมมือข้ามพรมแดนระหว่างกันมากขึ้นในทุกภาคส่วนที่เกี่ยวกับระบบนิเวศอาหาร
                              2) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานความมั่นคงอาหารมุ่งสู่                   ปี ค.ศ. 2030 และให้ความสำคัญต่อการจัดทำแผนดิจิทัลด้านความมั่นคงอาหารเพื่อสนับสนุนการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต การจัดจำหน่ายและการค้า ตลอดจนการนำโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model มาปรับใช้ รวมถึงส่งเสริมแนวทางการแปรรูปอาหารที่ เป็นนวัตกรรม สำหรับอาหารในอนาคตที่มีคุณค่าทางโภชนาการ
                              3) การส่งเสริมการลงทุนด้านเกษตร โดยเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังคนให้เข้าถึงบริการดิจิทัลและเครื่องมือทางการเงินที่เป็นนวัตกรรมและครอบคลุมสำหรับทุกคน รวมถึงพัฒนากระบวนการผลิต โภชนาการ และสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น และปรับปรุงคุณภาพชีวิตประชาชนเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงอาหารที่เพียงพอ ปลอดภัย ราคาไม่แพง และมีคุณค่าทางโภชนาการ
                    5. การร่วมพิจารณาร่างปฏิญญาความมั่นคงอาหารเอเปค ประจำปี 2565 ซึ่งเป็นเอกสารแสดงเจตจำนงในการดำเนินงานด้านความมั่นคงอาหารระหว่างสมาชิกเอเปค โดยไม่มีการลงนามและไม่มีข้อผูกพันทางกฎหมาย อย่างไรก็ตาม มีบางประเด็นที่ประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้ เช่น นิยามคำว่า ?ความขัดแย้ง? และ ?ชุมชนพื้นเมือง?  ทำให้ปฏิญญาฯ ไม่ได้รับมติเอกฉันท์จากที่ประชุมฯ

15.  เรื่อง สรุปผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย ครั้งที่ 15
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอผลการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย สมัยที่ 15 (United Nations Convention to Combat Desertification: UNCCD COP 15) ระหว่างวันที่ 9 - 20 พฤษภาคม 2565 ณ เมืองอานีจาน สาธารณรัฐโกตดิวัวร์ ทวีปแอฟริกา [คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤษภาคม 2565) เห็นชอบท่าทีการเจรจาของประเทศไทยสำหรับเป็นกรอบในการประชุมภาคี UNCCD COP 15 และรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมการประชุม UNCCD COP 15] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ผลการประชุม UNCCD COP 15 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ/ผลการประชุม
(1) การพัฒนาที่ยั่งยืนในบริบทที่เกี่ยวข้องกับ UNCCD COP 15          ให้มีการพัฒนากระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้ในการดำเนินการตาม UNCCD การสร้างความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ โดยเน้นการเป็นหุ้นส่วนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเป้าหมาย ความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน และส่งเสริมความร่วมมือและการประสานงานในระดับประเทศ เช่น การบูรณาการการวางแผนการใช้ที่ดินสู่การดำเนินโครงการที่ส่งผลต่อการจัดการความเสื่อมโทรมของที่ดิน และการขับเคลื่อนการดำเนินงานการฟื้นฟูที่ดินเพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยความสมัครใจ
(2) การติดตามการประเมินผลการดำเนินงานในช่วงกลางของแผนยุทธศาสตร์ของ UNCCD COP 15 ปี 2561 - 2573          ให้จัดตั้งคณะทำงานระหว่างรัฐบาลในการจัดการกับภัยแล้งและคณะทำงานระหว่างรัฐบาลในการติดตามและประเมินผลช่วงกลางของ UNCCD เพื่อพิจารณาเกณฑ์การประเมินโดยเน้นผลกระทบด้านความยั่งยืนและประสิทธิภาพการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ รวมทั้งความเท่าเทียมในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานตาม UNCCD
(3) การพัฒนาการดำเนินงานความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินและการพัฒนาวิชาการนโยบาย และการเผยแพร่ความรู้          - ส่งเสริมการจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนโดยการเพิ่มหรือรักษาปริมาณอินทรีย์คาร์บอนในดินเพื่อจัดการกับความเสื่อมโทรมของที่ดิน การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การพัฒนาระบบเตือนภัย และการติดตามประเมินผลเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัว เพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง รวมทั้งการเผยแพร่ความรู้ผ่านสื่อต่าง ๆ และการสนับสนุนบทบาทของเยาวชนและสตรีที่จะเป็นกลไกหลักในการผลักดันและบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อให้เกิดการบูรณาการและประโยชน์ที่หลากหลาย
- พัฒนาฐานข้อมูลองค์ความรู้และปรับปรุงการเก็บรวบรวมข้อมูล รวมทั้งประเมินความเสี่ยงในระดับต่าง ๆ โดยการประสานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา รวมถึงหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อเชื่อมโยงการพัฒนาในมิติต่าง ๆ เช่น มิติด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม
- พัฒนาความรู้ของ UNCCD อย่างครบวงจรเพื่อสร้างความตระหนักรู้แก่สถาบันสังคม องค์กรภาคประชาสังคม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดความร่วมมือแบบบูรณาการในการแก้ปัญหาภัยแล้ง การจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างยั่งยืน และการบรรลุเป้าหมายความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน
(4) แผนการดำเนินงาน UNCCD ระยะ 4 ปี (2565 - 2568)          เห็นชอบให้กลไกทางการเงินของ UNCCD สนับสนุนแผนงานที่เกี่ยวกับเป้าหมายความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน เพื่อให้แต่ละประเทศสามารถนำไปปฏิบัติในระดับพื้นที่ได้ โดยมีเป้าหมายหลัก ได้แก่ การลดพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากความเสื่อมโทรมของที่ดิน การต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทราย และการสร้างและพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า รวมทั้งเห็นชอบให้สำนักงานเลขาธิการของ UNCCD สนับสนุนแนวทางการทำงานร่วมกันของอนุสัญญาที่เกิดจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล ได้แก่ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้ความสำคัญกับเรื่องต่าง ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนและนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้แก่ เรื่องเพศ ฝุ่นและพายุทราย กรรมสิทธิ์ที่ดิน และภัยแล้ง
(5) การพัฒนากระบวนการสื่อสารข้อมูล คุณภาพและรูปแบบของรายงานที่จะเสนอต่อที่ประชุมภาคี UNCCD          พัฒนากระบวนการรายงานและขั้นตอนในการสื่อสารข้อมูลด้วยการบูรณาการเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ 15 (Sustainable Development Goals: SDGs 15) เพื่อกำหนดทิศทางและเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนากระบวนการจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ฐานข้อมูลและศักยภาพให้กับประเทศภาคีสมาชิก รวมทั้งเห็นชอบเกณฑ์การจัดทำรายงานผลการดำเนินงาน ประกอบด้วย สัดส่วนพื้นที่ภัยแล้งเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด สัดส่วนของประชากรที่ประสบปัญหาภัยแล้งต่อประชากรทั้งหมด และระดับความเปราะบางจากปัญหาภัยแล้ง
โดยประเทศภาคีสมาชิกจะต้องรายงานตัวชี้วัดภัยแล้งดังกล่าว ซึ่งสำนักเลขาธิการ UNCCD จะรวบรวมและสนับสนุนข้อมูลแก่ประเทศสมาชิก รวมทั้งให้การช่วยเหลือด้านวิชาการและการพัฒนาศักยภาพในการรวบรวม ตรวจสอบ และใช้ประโยชน์จากข้อมูล

                    2. ประเด็นสำคัญที่จะต้องดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สรุปได้ ดังนี้
                              1) ทบทวนและจัดทำแผนปฏิบัติการแห่งชาติของ UNCCD ปี 2564 - 2573
เพื่อเชื่อมโยงเป้าหมายและมาตรการความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน ได้แก่ (1) การเพิ่มสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้ของประเทศด้วยการปลูกป่าและฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมสภาพ (2) การปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากรดินที่เสื่อมโทรมให้กลับมามีศักยภาพเพื่อให้ผลผลิตที่ดี โดยเน้นการเกษตรแบบยั่งยืน และ (3) การลดการสูญเสียคาร์บอนในดินและเพิ่มปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในดินด้วยการอนุรักษ์ดินและน้ำ โดยสร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการที่ดิน
                              2) ขับเคลื่อนการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดินในระดับพื้นที่ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ
                              3) สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคประชาสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อเชื่อมโยงประเด็นความสมดุลของการจัดการทรัพยากรที่ดิน การถือครองที่ดิน ภัยแล้ง และการมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียม
                              4) พัฒนาแผนงานโครงการที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับพื้นที่เพื่อให้เกิดการจัดการทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นรูปธรรม
                              5) พัฒนาความร่วมมือและการดำเนินงานให้สอดคล้องกับแนวทางการทำงานร่วมกันจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาเพื่อนำไปสู่แนวทางปฏิบัติร่วมกันในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
                              6) สร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ กลไก ทางการเงินของอนุสัญญา กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก และกองทุนภูมิอากาศสีเขียว เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ

16. เรื่อง ขอความเห็นชอบโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity-based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบโครงการบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Mainstreaming Biodiversity - based Tourism in Thailand to Support Sustainable Tourism Development) (โครงการฯ)
                    2. มอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพเป็นผู้ลงนามในเอกสารโครงการกับผู้แทนโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme : UNDP) ประเทศไทย
                    3. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารโครงการดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ส่งผลกระทบผูกพันเชิงนโยบาย ให้ ทส. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
[UNDP ประเทศไทยประสานขอให้มีการลงนามในเอกสารโครงการ (ตามข้อ 2) ภายในเดือนตุลาคม 2565 (ทส. แจ้งข้อมูลอย่างไม่เป็นทางการว่า ได้ประสานขอเลื่อนวันลงนามเป็นโดยเร็วที่สุดภายหลังจากคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแล้ว)]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    ทส. รายงานว่า
                    1. ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่อุดมสมบูรณ์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพในการเป็นต้นทุนทางทรัพยากรที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศ ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาพบว่าความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยถูกคุกคามจากการใช้ประโยชน์ โดยไม่คำนึงถึงศักยภาพในการฟื้นตัว รวมทั้งผลกระทบจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การล่าสัตว์ที่ผิดกฎหมาย การประมงเกินขนาด ปัญหามลพิษ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น การเติบโตของภาคการท่องเที่ยวคืออีกหนึ่งในความกังวลของภัยคุกคามต่อความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย แม้ว่าภาคการท่องเที่ยวถือเป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่สร้างรายได้หลักให้กับประเทศ ซึ่งในปี 2562 รายได้จากการท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 20 ของ GDP แต่การเพิ่มขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศที่ผ่านมา รวมถึงภาวะนักท่องเที่ยวเกินกว่าความสามารถของแหล่งท่องเที่ยวที่จะรองรับได้มีแนวโน้มที่จะสร้างความเสียหาย              ต่อความหลากหลายทางชีวภาพ พื้นที่ธรรมชาติซึ่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์เสี่ยงต่อการถูกทำลายจนอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่การสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตได้ นอกจากนี้รายได้จากการท่องเที่ยวไม่ได้กระจายไปสู่ชุมชนอย่างเหมาะสม เนื่องจากผลกำไรจากการท่องเที่ยวประมาณร้อยละ 80 กลับไปสู่ภาคธุรกิจแทนที่จะกระจายไปยังชุมชนท้องถิ่น จากปัญหาผลกระทบดังกล่าวประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 ก่อให้เกิดรูปแบบการท่องเที่ยว โดยให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวที่บูรณาการความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพให้กลับคืนสู่สภาพเดิม และสามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีพของคนในชุมชนอย่างยั่งยืน และขณะเดียวกันสามารถตอบสนองพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไปภายใต้ความปกติใหม่ (new normal) ดังนั้น การบูรณาการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพจึงมีความสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) ภายใต้ ทส. ร่วมกับ UNDP ประเทศไทย จึงได้พัฒนาโครงการฯ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF)
                    2. ทส. ได้รับรองโครงการฯ และเสนอไปยังกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกเพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนงบประมาณดำเนินงานโครงการเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2562 และต่อมาประธานบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF CEO and Chairperson) ได้เห็นชอบข้อเสนอโครงการ วงเงินงบประมาณดำเนินโครงการ 2,639,726 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 97.67 ล้านบาท โดยคำนวณจาก 1 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อ 37 บาท) และอนุมัติวงเงินงบประมาณในการเตรียมโครงการ (Project Preparation Grant : PPG) จำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.70 ล้านบาท) เพื่อจัดทำเอกสารโครงการฉบับสมบูรณ์เสนอต่อกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (จำนวน 100,000 ดอลลาร์สหรัฐ ไม่รวมอยู่ในงบดำเนินโครงการฯ)
                    3. UNDP ประเทศไทย โดยความร่วมมือของสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) จัดทำเอกสารโครงการฉบับสมบูรณ์ ส่งไปยังกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) และเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2565 UNDP ประเทศไทย แจ้งให้ทราบว่าประธานบริหารกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกได้อนุมัติโครงการฯ เรียบร้อยแล้ว
                    4. โครงการฯ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
ประเด็น          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์ของโครงการ          เพื่อบูรณาการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับการพัฒนาและการดำเนินงานด้านการท่องเที่ยวทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยมีการพัฒนากรอบนโยบายด้านการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อความหลากหลายทางชีวภาพและส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และชุมชนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง
พื้นที่เป้าหมาย          โครงการฯ กำหนดพื้นที่เป้าหมาย (นำร่อง) 3 พื้นที่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้แก่ พื้นที่เป้าหมายหลัก 2 พื้นที่ คือ บริเวณพื้นที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีและอุทยานแห่งชาติเขาสามร้อยยอด โดยรวมพื้นที่ทั้งทางบกและทางทะเลจำนวนทั้งสิ้น 115,366.39 เฮกเตอร์ (หรือคิดเป็น 721,039.93 ไร่) และพื้นที่ทำงานข้างเคียงบริเวณปากน้ำปราณบุรี ทั้งพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเล และพื้นที่ชุ่มน้ำสามร้อยยอด รวมทั้งสิ้น 17,208.60 เฮกเตอร์ (หรือคิดเป็น 107,553.75 ไร่) ทั้งนี้ พื้นที่ดังกล่าวจัดเป็นพื้นที่ที่มีระบบนิเวศที่หลากหลาย มีแหล่งภูมิทัศน์ที่สวยงามและความหลากหลายทางชีวภาพที่สำคัญในระดับโลก รวมทั้งมีพื้นที่แนวชายฝั่งซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำนานาชนิด
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง          ได้แก่ ทส. (กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกรมป่าไม้) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) (กรมการท่องเที่ยวและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ภาคส่วนจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ องค์กรภาคประชาสังคม และภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ระยะเวลา          โครงการมีระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี (เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2565 - 2569)
องค์ประกอบโครงการฯ           โครงการฯ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ดังนี้
(1) กรอบนโยบายระดับชาติที่มีการบูรณาการและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายชีวภาพ โดยจะเน้นที่การจัดการประเด็นความท้าทายในเรื่องการบูรณาการกรอบนโยบายการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับการพัฒนาการท่องเที่ยว และแก้ไขปัญหาเรื่องเครื่องมือและเทคนิควิธีในการจำแนกและติดตามการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมภายใต้องค์ประกอบนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับกรอบนโยบาย มาตรฐานการดำเนินงานต่าง ๆ ที่มีการบูรณาการความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพกับการพัฒนาการท่องเที่ยวไว้อย่างชัดเจนและมีความสอดคล้องกัน
ผลลัพธ์ นโยบายและมาตรฐานที่บูรณาการความสำคัญของการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับการพัฒนาการท่องเที่ยวไว้อย่างชัดเจนและมีความสอดคล้องกัน
ผลผลิต ประกอบด้วย
          (1.1) การพัฒนากลยุทธ์การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพในระดับชาติ และเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดกลยุทธ์การท่องเที่ยวที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ
          (1.2) การพัฒนากลไกและการดำเนินงานทางการเงินเพื่อการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและลดผลกระทบจากการท่องเที่ยว
          (1.3) แนววิธีปฏิบัติ สำหรับการประเมินและติดตามตรวจสอบผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อสังคม เศรษฐกิจและระบบนิเวศที่น่าเชื่อถือ และสามารถนำไปปฏิบัติได้
          (1.4) การบูรณาการการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับเกณฑ์หรือมาตรฐานการรับรองด้านการท่องเที่ยวในระดับประเทศที่มีอยู่ และเกิดแรงจูงใจในการนำไปประยุกต์ใช้
          (1.5) การพัฒนาศักยภาพด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพตั้งแต่การวางแผนพัฒนาและดำเนินงานการท่องเที่ยวแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับประเทศและระดับจังหวัด
(2) ต้นแบบการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับการท่องเที่ยวระดับจังหวัด จะเน้นที่การจัดการกับประเด็นความท้าทายต่าง ๆ ได้แก่ แนวทางการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ กลไกทางการเงินในการปันรายได้จากการท่องเที่ยวกลับสู่การอนุรักษ์ และกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่น การบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่ยังไม่เทียบเท่ามาตรฐานสากล ซึ่งการดำเนินกิจกรรมภายใต้องค์ประกอบนี้จะช่วยสร้างผลลัพธ์ในระยะกลาง คือกรอบการวางแผนการท่องเที่ยวในพื้นที่นำร่องที่สอดคล้องกัน การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนเพื่อสังคมที่สนับสนุนการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ และการกระจายรายได้อย่างทั่วถึง ซึ่งนำไปสู่ผลลัพธ์ในระยะยาวคือ แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้รับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยที่ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์และมีกลไกทางการเงินที่สนับสนุนการดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ ขณะเดียวกันคนในชุมชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง
ผลลัพธ์ รูปแบบการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่นำร่องของโครงการฯ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ผลผลิต ประกอบด้วย
          (2.1) การพัฒนาแพลตฟอร์มการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การนำการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental and Social Assessment : SESA) มาใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการกลยุทธ์การท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ
          (2.2) การนำแผนการจัดการผู้เยี่ยมชมและรูปแบบการสร้างรายได้ที่ประเมินความเปลี่ยนแปลงตามวิธี Management Effectiveness Tracking Tool (METT) ไปใช้ในพื้นที่เป้าหมายของโครงการ
          (2.3) การพัฒนาผลิตภัณฑ์และการบริการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจระดับชุมชนท้องถิ่นและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างผลประโยชน์ในการดำรงชีพ พัฒนาความเท่าเทียมและโอกาสสำหรับผู้หญิงและเยาวชน
(3) การจัดการองค์ความรู้ การสร้างความตระหนักรู้ การผนวกแนวคิดด้านความเสมอภาคทางเพศ และการติดตามและประเมินผล องค์ประกอบนี้จะสนับสนุนการดำเนินงานขององค์ประกอบ 1 และองค์ประกอบ 2 ซึ่งจัดการปัญหาความท้าทายในเรื่องของการกระจายผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวไปสู่ชุมชน ซึ่งการดำเนินกิจกรรมภายใต้องค์ประกอบนี้จะสนับสนุนการสร้างจิตสำนึกให้กับนักท่องเที่ยว ชุมชนท้องถิ่น สมาคมการท่องเที่ยว ให้เห็นถึงประโยชน์และความสำคัญของการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ความสำเร็จในการดำเนินโครงการจะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ในพื้นที่อื่น ๆ ทั่วประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมและขยายผลการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน
ผลลัพธ์ การสร้างการตระหนักรู้ การปรับปรุงช่องทางการตลาดและการจัดการองค์ความรู้ เพื่อยกระดับและนำรูปแบบการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ
ผลผลิต ประกอบด้วย
          (3.1) การสนับสนุนการเข้าถึงการตลาดดิจิทัล (e-marketplace) สำหรับผู้ให้บริการการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ
          (3.2) การรณรงค์ เผยแพร่และให้ความรู้เกี่ยวกับการบูรณาการความหลากหลายทางชีวภาพเข้ากับการท่องเที่ยว แก่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ภาคประชาสังคมและนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ
          (3.3) รูปแบบการแลกเปลี่ยนความรู้ในชุมชน เพื่อแบ่งปันประสบการณ์การเรียนรู้ ถอดบทเรียน รวมทั้งแนวปฏิบัติที่ดี (best practices) เพื่อเป็นแบบอย่างนำไปขยายผลในพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศไทย
          (3.4) ระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน และผลกระทบของโครงการที่ผนวกแนวคิดด้านความเสมอภาคทางเพศ
งบประมาณ          งบประมาณโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 22,456,860 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 930.90 ล้านบาท) แบ่งเป็น
- งบประมาณโครงการฯ ที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก จำนวน 2,639,726 ดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 97.67 ล้านบาท)
- งบประมาณสมทบที่ไม่อยู่ในรูปเงินสด (in kind) รวมถึงงบดำเนินงานตามกิจกรรมในพื้นที่โครงการ (public investment) จากหน่วยงานผู้เสนอโครงการ ซึ่งหมายถึงสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 19,817,134 ดอลลาร์สหรัฐ* (ประมาณ 733.23 ล้านบาท)
*หมายเหตุ เป็นงบประมาณที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับจัดสรรประจำปีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนที่เกี่ยวกับโครงการหรือกิจกรรมที่สนับสนุนหรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการฯ โดยได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้อ้างอิงในโครงการฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ          (1) กรอบนโยบายระดับชาติที่มีการบูรณาการและขับเคลื่อนการท่องเที่ยวบนพื้นฐานความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกลไกการประสานงานและเชื่อมโยงงานในระดับต่าง ๆ ในการติดตามและดำเนินภารกิจอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพ
(2) ต้นแบบของแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน โดยที่ความหลากหลายทางชีวภาพได้รับการอนุรักษ์ และมีกลไกทางการเงินที่สนับสนุนการดำเนินการด้านความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่
(3) องค์ความรู้ที่ก่อให้เกิดความตระหนักด้านความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างจิตสำนึกในคุณค่าและความสำคัญของความหลากหลายทางชีวภาพและกระบวนการที่จะนำไปสู่การอนุรักษ์ ฟื้นฟูและใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
                    5. ในการดำเนินโครงการฯ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน)                 มีหน้าที่เป็นหน่วยงานหลักในการนำแผนงานโครงการไปสู่การปฏิบัติให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกิจกรรมการดำเนินงานของโครงการ รวมทั้งจัดตั้งคณะกรรมการกำกับโครงการ (Project Steering Committee) เพื่อกำกับติดตามและประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ ให้บรรลุผลตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ และ UNDP ประเทศไทยมีหน้าที่ความรับผิดชอบในการเป็นหน่วยสนับสนุนโครงการ (Project Assurance) มีหน้าที่สนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการกำกับโครงการในการดูแลโครงการให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้และติดตามตรวจสอบโครงการ เพื่อให้โครงการดำเนินไปตามกรอบระยะเวลาและเสร็จสมบูรณ์ตามกรอบเวลาในแต่ละขั้นตอน

17. เรื่อง ร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างแผนความร่วมมือฯ
                     3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างแผนความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
                     สาระสำคัญ
                     1. ร่างแผนความร่วมมือฯ เป็นเอกสารฉบับแรก ภายใต้บันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาล                  แห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหม และข้อริเริ่มเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศวรรษที่ 21 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือสาขาต่าง ๆ ภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ให้มีผลเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น
                     2. ร่างแผนความร่วมมือฯ แบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
                               2.1 ภูมิหลัง ระบุเหตุผลของการจัดทำแผนความร่วมมือฯ โดยกล่าวถึงประวัติความสัมพันธ์ไทย ? จีน กลไกความร่วมมือระดับทวิภาคีและระดับอนุภูมิภาค และสถานะความสัมพันธ์ไทย ? จีนในมิติต่าง ๆ
                                  2.2 หลักการและวัตถุประสงค์ ในการปฏิบัติตามแผนความร่วมมือฯ ทั้งสองฝ่ายจะสร้างผลประโยชน์ร่วมกัน เคารพในกฎหมายและพันธกรณีระหว่างประเทศ สอดประสานระหว่างแผนยุทธศาสตร์ชาติของกันและกัน ตลอดจนยึดมั่นในหลักการค้าเสรี และหลักการการทำธุรกิจและกลไกตลาด
                                  2.3 สาขาความร่วมมือ ส่งเสริมความร่วมมือใน 5 สาขา ตามแนวคิดหลักของข้อริเริ่มสายแถบและเส้นทาง (Belt and Road Initiative: BRI) ได้แก่ (1) การประสานนโยบาย (Policy Coordination)             (2) การเชื่อมโยงด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility Connectivity) (3) การค้าอย่างไร้อุปสรรค (Unimpeded Trade) (4) การบูรณาการทางการเงิน (Financial Integration) และ (5) ความสัมพันธ์ในระดับประชาชน (People-to-people Bond)
                               2.4 การดำเนินการ ทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะกำหนดให้กระทรวงการต่างประเทศของไทย และ NDRC ของจีนเป็นหน่วยประสานงานหลักของแต่ละฝ่ายในการทบทวนและดำเนินการตามแผนความร่วมมือ และสนับสนุนให้หน่วยงานของรัฐ หน่วยงานท้องถิ่น สถาบัน วิสาหกิจ และองค์กรทางสังคมของแต่ละฝ่ายให้                  คำปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดในการดำเนินการตามแผนความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ โดยฝ่ายไทยและฝ่ายจีนได้เห็นพ้องต่อบัญชีโครงการความร่วมมือที่สำคัญ ระหว่างปี 2566 ? 2568 จำนวน 33 โครงการตามที่ระบุในภาคผนวก โดยหลายโครงการได้เริ่มดำเนินการแล้ว เช่น โครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย ? จีน ความร่วมมือของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีไทย ? จีน และความร่วมมือของศูนย์ CAS ? Bangkok Innovation and Cooperation
                                  2.5 ข้อบทเพิ่มเติม แผนความร่วมมือฯ มีอายุ 5 ปี และจะได้รับการต่ออายุออกไปอีก 5 ปี โดยอัตโนมัติ เว้นแต่ผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสนอให้ยุติแผนความร่วมมือฯ เป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นเวลา             6 เดือน ก่อนวันหมดอายุ โดยในการดำเนินโครงการต่าง ๆ ทั้งสองฝ่ายอาจจัดทำเอกสารข้อตกลงหรือความร่วมมือแยกต่างหากเพื่อการดำเนินความร่วมมือที่ระบุไว้ภายใต้แผนความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ

18. เรื่อง  ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 33 และการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1 - 5 และหากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารผลลัพธ์ดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงพาณิชย์ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกรวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ร่วมรับรองถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 ตามข้อ 1 หรือ ประกาศถ้อยแถลงประธานรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 ตามข้อ 2 ในกรณีที่เขตเศรษฐกิจไม่สามารถมีฉันทามติต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 1 ได้ พร้อมทั้ง ให้นายกรัฐมนตรี หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากนายกรัฐมนตรี (1) ร่วมรับรองปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 ตามข้อ 3 หรือ ประกาศถ้อยแถลงประธานการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 ตามข้อ 4  ในกรณีที่เขตเศรษฐกิจไม่สามารถมีฉันทามติต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ตามข้อ 3 ได้ และ (2) ร่วมรับรองเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว ตามข้อ 5 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับรัฐมนตรีในการร่วมกันสร้างประชาคมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกที่เปิดกว้าง มีพลวัต ยืดหยุ่นในการปรับตัว และมีสันติภาพ ตามวิสัยทัศน์ปุตราจายาของเอเปค ค.ศ. 2040 และแผนปฏิบัติการอาโอทีอาโรอา ซึ่งเป็นเอกสารหลักของเอเปคที่จะกำหนดทิศทางการดำเนินงานของเอเปคในอีก 20 ปีข้างหน้า ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการเจริญเติบโตในยุคหลังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ภายใต้หัวข้อหลัก ?เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล? โดยมีประเด็นสำคัญ 3 ด้านที่ไทยผลักดันในช่วงที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ได้แก่ (1) การเปิดเสรีและการอำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุน (2) การส่งเสริมความเชื่อมโยงในทุกมิติ และ (3) การก้าวไปสู่การเจริญเติบโตที่ยั่งยืนและครอบคลุม
                    2. ร่างถ้อยแถลงประธานรัฐมนตรีเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 เป็นเอกสารของประธานการประชุมรัฐมนตรีเอเปค ครั้งที่ 33 ที่ออกเพื่อสรุปประเด็นที่เขตเศรษฐกิจได้หารือร่วมกัน
                    3. ร่างปฏิญญาผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ระดับผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคที่มีเนื้อหาสาระคล้ายคลึงกับร่างถ้อยแถลงร่วมรัฐมนตรีเอเปคฯ ตามข้อ 1 แต่จะเน้นวิสัยทัศน์และข้อสั่งการของผู้นำเป็นหลัก
                    4. ร่างถ้อยแถลงประธานการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ประจำปี ค.ศ. 2022 เป็นเอกสารของประธานการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29 ที่ออกเพื่อสรุปประเด็นที่เขตเศรษฐกิจได้หารือร่วมกัน เนื้อหาส่วนใหญ่จะนำมาจากร่างสุดท้ายของร่างปฏิญญาผู้นำประจำปี ค.ศ. 2022 ตามข้อ 3 ในประเด็นที่เขตเศรษฐกิจสามารถตกลงกันได้และมีฉันทามติร่วมกันแล้ว
                    5. ร่างเป้าหมายกรุงเทพฯ ว่าด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว เป็นเอกสารผลลัพธ์ระดับผู้นำที่ไทยมุ่งจะผลักดันให้มีการรับรองในที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ครั้งที่ 29และเป็นเป้าหมายสำคัญสูงสุดในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยในปีนี้ มีสาระสำคัญเป็นการบูรณาการการกำหนดเป้าหมายการดำเนินการเพื่อให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เจริญเติบโตอย่างเข้มแข็ง สมดุล มั่นคง และยั่งยืน ผ่านความร่วมมือ               4 ด้าน ได้แก่ (1) การจัดการกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนและการปล่อยก๊าชเรือนกระจกเป็นศูนย์ (2) การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่ยั่งยืนและครอบคลุม เช่น การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ การเสริมพลังสตรี (3) การอนุรักษ์ บริหารจัดการ และการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เช่น การต่อต้านการประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม การจัดการขยะทะเล การต่อต้านการค้าไม้ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้อง และ (4) การบริหารจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

19.  เรื่อง  ร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น ในระยะ 5 ปี และร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ            ไทย - ญี่ปุ่นในระยะ 5 ปีและอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามใน                    ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ในห้วงวันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุง                     ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งเห็นชอบร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เรื่อง การยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และให้นายกรัฐมนตรีร่วมรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในการหารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นในห้วงวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ เป็นกรอบการดำเนินความร่วมมือต้านเศรษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นในห้วงปี 2565 - 2569 ประกอบด้วยกลุ่มความร่วมมือ 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การปรับปรุงกฎระเบียบ และการพัฒนานวัตกรรม (2) เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว                    (BCG Economy) และ (3) โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงความร่วมมือย่อยใน 15 สาขา โดยมีการประชุม HUC เป็นกลไกในการทบทวนและติดตามความคืบหน้าการนำแผนปฏิบัติการร่วมฯ สู่การปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม โดยร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของทั้งสองประเทศในการดำเนินความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
                    2. ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศการยกระดับความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเป็น ?หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน? ในโอกาสการครบรอบ 135 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต และการครบรอบ 10 ปี ของการเป็น ?หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์? และสะท้อนถึงพัฒนาการทางความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศที่มีมาอย่างต่อเนื่อง โดยร่างถ้อยแถลงร่วมฯ เป็นการประกาศเจตนารมณ์ทางการเมืองระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น โดยไม่มีรูปแบบ ถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างถ้อยแถลงร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฯ
                    ผลกระทบ
                    1) การจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมฯ เป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเครษฐกิจระหว่างไทยกับญี่ปุ่นซึ่งกำลังเผชิญกับความท้าทายรูปแบบใหม่ร่วมกัน อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและการมีอัตราการเกิดต่ำ การก้าวเข้าสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนอย่างรวดเร็ว การใช้เทคโนโลยีล้ำสมัย เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ดังนั้น ทั้งสองประเทศจึงจำเป็นต้องมีแนวทางการรับมือกับความท้าทายดังกล่าวอย่าง                          มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันต่อไปในอนาคต
                    2) การยกระดับความสัมพันธ์ไทย - ญี่ปุ่นเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านเป็นการสะท้อนความก้าวหน้าของความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศที่ใกล้ชิดและครอบคลุมหลากหลายมิติและแสดงความมุ่งมั่นที่มีร่วมกันในการส่งเสริมความร่วมมือให้ก้าวหน้าในทุกด้านท่ามกลางความท้าทายทั้งในปัจจุบันและอนาคตจากการเปลี่ยนแปลงทางภูมิทัศน์ของภูมิภาคและของโลก

20. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2565 - 2569)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกวาจาและร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2565 - 2569) (Joint Action Plan on Thailand ? China Strategic Cooperation between the Government of the Kingdom of Thailand and the  Government of the People?s Republic of China (2022 - 2026)) รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกวาจาดังกล่าว ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกวาจาฯและร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับที่ 4 เป็นกรอบดำเนินความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมอย่างรอบด้านระหว่างไทย - จีน ระหว่างปี 2565 - 2569 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขับเคลื่อนความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านระหว่างทั้งสองประเทศ และเตรียมการสู่การครบครอบ 50 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย - จีน ในปี ๒๕'๖๘ รวมถึงสนับสนุนการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายการเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย - จีน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ยังจะช่วยสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของทั้งสองฝ่าย โดยในส่วนของไทยได้แก่ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ศ. 2561 - 2580 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2566 ? 2570 และนโยบายเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy)
                    2. ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ประกอบด้วย 2 ส่วน (รูปแบบเดียวกับแผนปฏิบัติการร่วมฯ
3 ฉบับที่ผ่านมา) ได้แก่
                              1) ร่างบันทึกวาจา (Proc?s-Verbal) สรุปเจตนารมณ์ของทั้งสองฝ่ายที่เห็นพ้อง                      การประกาศใช้แผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับที่ 4 เพื่อขับเคลื่อนความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้านในสาขาต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย ? จีน เพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น
                              2) ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ มีสาระสำคัญต่อยอดจากแผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับที่ 3                   (พ.ศ. 2560 - 2564) โดยครอบคลุม 18 สาขา ได้แก่ (1) การเมือง (2) การทหารและความมั่นคง (3) เศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (4) การเงินและการธนาคาร (5) เศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (6) อุตสาหกรรม (7) เกษตรกรรม (8) ศุลกากร การตรวจสอบ และการกักกันโรค (9) พลังงาน (10) คมนาคมและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (11) วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (12) ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (13) วัฒนธรรมและการท่องเที่ยว (14) การศึกษา (15) สาธารณสุข (16) ประกันสังคมและการลดความยากจน (17) สื่อและประชาสัมพันธ์ และ (18) ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี พร้อมกับระบุเป้าหมายและแผนปฏิบัติการซึ่งกำหนดกิจกรรมหรือความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันผลักดัน ตลอดจนกลไกการติดตามผลการดำเนินการ

21. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย - จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในห้วงการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อถ้อยแถลงร่วมระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการดำเนินการเพื่อมุ่งสู่การเป็นประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย ? จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น  (Joint Statement between the Kingdom of Thailand and the People?s Republic of China on Working towards a Thailand - China Community with a Shared Future for Enhanced Stability, Prosperity and Sustainability) และอนุมัติให้นายกรัฐมนตรีร่วมกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ โดยไม่มีการลงนาม ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรี อีกครั้งตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างถ้อยแถลงร่วมฯ สะท้อนสาระสำคัญของผลการหารือข้อราชการระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในประเด็นดังนี้ (1) การขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเฉพาะการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันไทย ? จีนเพื่อนำไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนยิ่งขึ้น ในโอกาสครบรอบ 10 ปีความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน และการเตรียมการสู่การครบรอบ 50 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสองประเทศ ในปี 2568 (2) การย้ำท่าทีทางการเมืองในการเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนของของกันและกัน และการยึดมั่นในนโยบายจีนเดียวและหลักการ ?หนึ่งประเทศ สองระบบ? (3) การดำเนินการตามแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย ? จีนระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (พ.ศ. 2565 - 2569) และแผนความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการร่วมกันส่งเสริมเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตรรษที่ 21 เพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือที่เป็นรูปธรรมในสาขาต่าง ๆ และสนับสนุนการสร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันฯ (4) การส่งเสริมการค้า การลงทุน และความเชื่อมโยง รวมถึงการขับเคลื่อนแนวคิดการสร้างระเบียงการพัฒนาความเชื่อมโยงไทย - ลาว - จีน (5) การส่งเสริมความร่วมมือในด้านอื่น ๆ อาทิ สาธารณสุข การลดความยากจนและการพัฒนาชนบท และการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ (6) การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนในระดับประชาชน (7) การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบอนุภูมิภาค ภูมิภาค และสหประชาชาติ รวมถึงข้อริเริ่มด้านการพัฒนาระดับโลก (Global Development Initiative) และข้อริเริ่มด้านความมั่นคงระดับโลก (Global Security Initiative) และ (8) การรับทราบการลงนามในเอกสารความร่วมมือในด้านต่าง ๆ อาทิ การลงทุน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

22.  เรื่อง การรับรองร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่างยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ             อิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady -Chao Phraya -Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners: DPs) ของ ACMECS กลุ่มที่ 1 ทั้ง 6 ฉบับ ประกอบด้วย                1) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับเครือรัฐออสเตรเลีย  2) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสาธารณรัฐประชาชนจีน 3) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสาธารณรัฐอินเดีย 4) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับญี่ปุ่น 5) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสาธารณรัฐเกาหลี และ 6) ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับสหรัฐอเมริกา ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแผนพัฒนาร่วมฯ ที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้เจ้าหน้าที่อาวุโสกรอบ ACMECS กระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ร่วมให้การรับรองแผนพัฒนาร่วมฯ ทั้ง 6 ฉบับ ในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 ตามที่ประเทศสมาชิก ACMECS และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา รายประเทศ มีฉันทามติโดยเป็นการประกาศรับรอง และไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าวตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. สาระสำคัญของร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของACMECS กลุ่มที่ 1 ทั้ง 6 ฉบับ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของความร่วมมือระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา รายประเทศ กำหนดเป้าหมายของ ACMECS กลไกความร่วมมือ บทบาทของหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา แนวทางการดำเนินความร่วมมือกับกรอบภูมิภาคและอนุภูมิภาคอื่น ๆ และสาขาความร่วมมือที่แนะนำ
ระหว่างทั้งสองฝ่าย เพื่อหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาให้การสนับสนุนทั้งด้านการเงินและ/หรือด้านเทคนิคแก่กลไกและโครงการต่าง ๆ ของ ACMECS ให้มีความก้าวหน้าเป็นรูปธรรม โดยร่างแผนพัฒนาร่วมฯ เป็นเอกสารที่ทั้งสองฝ่ายสามารถปรับปรุงให้ทันสมัยได้ต่อไปในอนาคต ทั้งนี้ กิจกรรมและความร่วมมือต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจและฉันทามติร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา
                    2. สำหรับแผนพัฒนาร่วมฯ หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาจะแสดงเจตนารมณ์ในการสนับสนุนการเสริมสร้างความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตามวัตถุประสงค์ของแผนแม่บท ACMECS (ค.ศ. 2019 - 2023) ได้แก่ การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ การสอดประสานของกฎระเบียบและการกำกับดูแลและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และนวัตกรรม และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาสามารถพิจารณาสนับสนุนโครงการของประเทศสมาชิก ACMECS ที่เป็นโครงการที่มีความสำคัญเป็นอันดับต้นของ ACMECS (ACMECS Prioritized Projects) ทั้งโดยการสนับสนุนด้านการเงินและ/หรือด้านเทคนิค และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนายังสามารถกำหนดสาขาเฉพาะที่หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาแต่ละประเทศมีความสนใจและความเชี่ยวชาญ เช่น
                    (1) เครือรัฐออสเตรเลีย แสดงความสนใจสนับสนุนด้านความมั่นคงไซเบอร์ การจัดการทรัพยากรน้ำ พลังงานทดแทน การส่งเสริมขีดความสามารถด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ
                    (2) สาธารณรัฐประชาชนจีน แสดงความสนใจสนับสนุนด้านการเสริมสร้าง ความเชื่อมโยงทางการเงิน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
                     (3) สาธารณรัฐอินเดีย แสดงความสนใจสนับสนุนด้านการพัฒนาวิสาหกิจขนาดเล็ก ขนาดกลางและรายย่อย (MSMEs) การบูรณากาทางการเงิน เทคโนโลยีทางการเงิน (Fintech) และการบริหารจัดการน้ำ
                    (4) ญี่ปุ่น แสดงความสนใจสนับสนุนด้านพลังงานทางเลือก การพัฒนาพลังงานที่ยั่งยืน และการจัดการภัยพิบัติ
                    (5) สาธารณรัฐเกาหลี แสดงความสนใจสนับสนุนด้ามเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการบริหารจัดการน้ำ
                    (6) สหรัฐอเมริกา แสดงความสนใจสนับสนุนด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน และสาธารณสุข
                    ผลกระทบ
                    ร่างแผนพัฒนาร่วมระหว่าง ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา ของ ACMECS กลุ่มที่ 1 ทั้ง                   6 ฉบับ มีเนื้อหาสาระสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของแผนแม่บท ACMECS (ค.ศ. 2019 - 2023) ได้แก่ การส่งเสริมความเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคฯ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน การสอดประสานของกฎระเบียบทางเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการค้าและการลงทุนข้ามแดน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งช่วยสนับสนุนผลประโยชน์ของไทยและการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง นอกจากนี้ ร่างแผนพัฒนาร่วมฯ บางฉบับได้มีการเพิ่มเติมประเด็นความท้าทายในบริบทปัจจุบัน เช่น การส่งเสริมการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทดแทน และความท้าทายจากความมั่นคงรูปแบบใหม่ เช่น ความปลอดภัยไซเบอร์ ทั้งนี้ กิจกรรมและความร่วมมือต่าง ๆ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจและฉันทามติร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ACMECS กับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา

23.  เรื่อง ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
                    คณะรัฐมนตรีมีมติต่อร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมของการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส (Joint Press Statement on the Bilateral Discussions between the Prime Minister of the Kingdom of Thailand and the President of the French Republic) ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ มีสาระสำคัญเป็นเอกสารสรุปผลการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยระบุแผนการดำเนินการเร่งด่วนภายใต้แผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศส (ค.ศ. 2022 - 2024) ได้แก่ การส่งเสริมความร่วมมือเพื่อสันติภาพ เสถียรภาพ และความมั่นคง การเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน การเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนระหว่างประชาชนกับประชาชน การส่งเสริมความร่วมมือในประเด็นระดับโลก โดยร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างเอกสารดังกล่าว ดังนั้น ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178ของรัฐธรรมนูญฯ
                    อย่างไรก็ดี โดยที่สาระของร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย และเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของหลายหน่วยงาน กระทรวงการต่างประเทศจึงขอเสนอ            ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมฯ ให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา ตามมาตรา 4 (7) ของพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548

24.  เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) ในโอกาสประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเยือนไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อกระทรวงการต่างประเทศสามารถเผยแพร่แถลงการณ์ร่วมฯ ต่อสาธารณชนได้ภายหลังการหารือระหว่างนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีเวียดนามเสร็จสิ้น ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัดีให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีกตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ จะเป็นหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีเวียดนาม ทั้งในส่วนของกิจกรรมทางการร่วมกับนายกรัฐมนตรีและกิจกรรมทวิภาคีอื่น ๆ ในห้วงการเยือน รวมถึงแสดงเจตนารมณ์ความร่วมมือในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีที่ผู้นำทั้งสองประเทศจะผลักดันในระยะต่อไป

25. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีระหว่างกระทรวง              การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม แห่งราชอาณาจักรไทย และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีระหว่าง อว. และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (Memorandum of Understanding on Promoting Academic, Scientific, and Technological Cooperation between the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of the Kingdom of Thailand and the Chinese Academy of Sciences of the People?s Republic of China) (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของประเทศไทย ให้ อว. หารือร่วมกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ
[จะมีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในช่วงการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปค) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 17 - 19 พฤศจิกายน 2565]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    อว. รายงานว่า
                    1. ร่างบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ อว. และสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ เพื่อทดแทนฉบับเดิม (ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 7 ธันวาคม 2559) เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบนโยบาย ทิศทางการดำเนินความร่วมมือ และความต้องการของทั้ง 2 ฝ่าย ในบริบทปัจจุบัน โดยมีสาระสำคัญและกรอบการดำเนินงานสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อ          สาระสำคัญ
วัตถุประสงค์          เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีความก้าวหน้าและเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน บนหลักการการพึ่งพาอาศัยกันและผลประโยชน์ต่างตอบแทนกัน
สาขาความร่วมมือ          - การเกษตรและอาหาร เทคโนโลยีการเกษตร
- วิทยาศาสตร์ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์
- ดิจิทัลและอิเล็กทรอนิกส์
- เทคโนโลยีสารสนเทศ
- วิทยาการหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์
- ชีวเคมี ความหลากหลายทางชีวภาพ เทคโนโลยีชีวภาพ
- เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
- วัสดุศาสตร์ นาโนเทคโนโลยี
- พลังงาน
- เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม
- นิวเคลียร์และรังสี เทคโนโลยีแสงซินโครตรอน เทคโนโลยีเซนเซอร์
- เทคโนโลยีอวกาศ
- การบริหารจัดการลุ่มน้ำและทรัพยากรน้ำ
- การประยุกต์ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่จากการสำรวจด้วยดาวเทียมและข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจโลกเพื่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
- เทคโนโลยีทุกประเภทที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเกษตรยั่งยืนที่ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- การสื่อสารและการเผยแพร่ทางวิทยาศาสตร์ การศึกษาด้านวิทยาศาสตร์                   การตระหนักรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ และนิทรรศการทางวิทยาศาสตร์
รูปแบบของ
ความร่วมมือ          เช่น (1) การส่งเสริมการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างสถาบันวิจัย ภาคเอกชน องค์กรภาครัฐ และสถาบันอุดมศึกษา (2) แลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับผู้เชี่ยวชาญอาวุโส นักวิจัย และนักศึกษาเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก                    (3) แลกเปลี่ยนทุนการศึกษาสำหรับบุคลากรด้านเทคนิคและนักศึกษาเพื่อเข้าร่วมหลักสูตรฝึกอบรมในสาขาที่เห็นชอบร่วมกัน (4) การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญที่มีทักษะสูงในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (5) การแลกเปลี่ยนการจัดนิทรรศการเพื่อส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม (6) การดำเนินโครงการวิจัยร่วม เป็นต้น โดยค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจฯ                  จะพิจารณาร่วมกันเป็นรายกรณีไป
สิทธิในทรัพย์สิน
ทางปัญญา          ความเป็นเจ้าของและการใช้ผลลัพธ์หรือผลผลิตที่ได้รับจากโครงการความร่วมมือหรือกิจกรรมภายใต้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จะต้องแบ่งปันอย่างเท่าเทียมกันและไม่อาจเปิดเผยต่อหรือใช้ประโยชน์โดยภาคีที่สามได้ โดยปราศจากความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าจากภาคีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด หรือการจัดทำข้อตกลงแยกต่างหากที่ลงนามโดยสถาบันในสังกัด
ผลบังคับใช้          นับตั้งแต่วันที่ภาคีลงนาม และจะยังคงมีผลบังคับใช้จนกว่าจะถูกยกเลิกโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้ภาคีคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าเป็นเวลา 6 เดือน

26. เรื่อง ขออนุมัติลงนามและดำเนินการให้ความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการศาลระหว่างประเทศในคดีแพ่งระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามมีผลใช้บังคับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานศาลยุติธรรมเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างความตกลงว่าด้วยความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการศาลระหว่างประเทศในคดีแพ่งระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และอนุมัติให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย แล้วแต่กรณี เป็นผู้ลงนามความตกลงฯ
                    2. ให้กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ความตกลงฯ มีผลใช้บังคับ และให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างความตกลงฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญก่อนมีการลงนาม ให้สำนักงานศาลยุติธรรมดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง

                    สาระสำคัญของร่างความตกลงฯ
                    ร่างความตกลงนี้ มีเนื้อหาสาระเช่นเดียวกันกับสนธิสัญญาประเภทนี้ที่ประเทศไทยจัดทำกับประเทศต่าง ๆ ได้แก่ สาธารณรัฐเกาหลี ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐประชาชนจีน ราชอาณาจักรสเปน สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยกำหนดเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือกันทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์ระหว่างภาคีทั้งสองฝ่าย ซึ่งเมื่อร่างความตกลงนี้มีผลใช้บังคับ จะส่งผลให้การพิจารณาคดีแพ่งของศาลยุติธรรมไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามที่ต้องดำเนินกระบวนพิจารณาบางส่วนโดยอาศัยความช่วยเหลือทางการศาลระหว่างกัน สามารถขยายขอบเขตการอำนวยความยุติธรรมและการคุ้มครองสิทธิทางแพ่งของพลเมืองของทั้งสองประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. ภาคีทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือกันในการส่งเอกสาร การสืบพยานหลักฐาน การส่งหมายเรียกพยานและพยานผู้เชี่ยวชาญ การยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดของหน่วยงานที่มีอำนาจโดยไม่ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานทางกฎหมายของภาคีที่รับคำร้องขอ การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางกฎหมายและเอกสารเกี่ยวกับคดีแพ่งและความช่วยเหลือกันทางกฎหมายในคดีแพ่ง และการร้องขออื่น ๆ เรื่องความช่วยเหลือทางการศาลที่สอดคล้องกับกฎหมายของคู่ภาคี โดยคดีแพ่งจะหมายความรวมถึงคดีแพ่ง การสมรสและครอบครัว ธุรกิจ พาณิชย์ และแรงงาน
                    2. คนชาติของภาคีแต่ละฝ่ายจะได้รับความคุ้มครองทางการศาลเช่นเดียวกับที่ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งให้แก่คนชาติของตน รวมถึงนิติบุคคล รวมถึงองค์กรอื่น ๆ ที่จัดตั้งตามกฎหมายของภาคีฝ่ายหนึ่ง และมีภูมิลำเนาอยู่ในอาณาเขตของภาคีฝ่ายนั้น ภายใต้เงื่อนไขเดียวกันและเท่าเทียมกันกับคนชาติของอีกฝ่ายหนึ่ง
                    3. การดำเนินการตามคำร้องขอต้องไม่เป็นเหตุให้มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใด ๆ เว้นแต่
                              3.1 ค่าใช้จ่ายสำหรับผู้เชี่ยวชาญและล่ามเกี่ยวกับการดำเนินการสืบพยานหลักฐาน
                              3.2 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการยอมรับและบังคับให้ตามคำพิพากษาของศาลและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ
                              3.3 ค่าใช้จ่ายพิเศษตามคำร้องขอในลักษณะพิเศษ
                    4. ภาคีแต่ละฝ่ายมีสิทธิปฏิเสธการให้ความช่วยเหลือหากเห็นว่า จะกระทบต่ออำนาจอธิปไตย ความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย หรือหลักการพื้นฐานทางกฎหมายของประเทศภาคีฝ่ายนั้น
                    5. เจ้าหน้าที่ทางการทูตหรือกงสุลของภาคีแต่ละฝ่ายอาจส่งเอกสารให้แก่คนชาติของตนผ่านคณะทูตหรือหน่วยงานกงสุลของตนซึ่งอยู่ในอาณาเขตของอีกฝ่ายหนึ่งได้
                    6. พยานหรือผู้เชี่ยวชาญที่ถูกกฎหมายเรียกให้ไปปรากฏตัวต่อเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจของภาคีที่ร้องขอ ไม่ต้องรับโทษอันเกี่ยวเนื่องกับการเบิกความของตนหรือพยานหลักฐานซึ่งเป็นความจริง
                    7. ภาคีฝ่ายหนึ่งต้องยอมรับและบังคับตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่เกิดขึ้นในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งโดยต้องไม่ขัดแย้งกับหลักการพื้นฐานทางกฎหมายของภาคีที่รับคำร้องขอ
                    8. ความตกลงนี้จะมีผลใช้บังคับเมื่อครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคราวสุดท้ายเป็นหนังสือผ่านวิถีทางการทูตว่า แต่ละฝ่ายได้ปฏิบัติตามมาตรการที่จำเป็นตามกฎหมายภายในของตนเพื่อให้ความตกลงนี้มีผลใช้บังคับแล้ว
                    ร่างความตกลงฯ นี้ มีการยกเว้นหรือลดค่าธรรมเนียมศาลในอาณาเขตของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งภายใต้เงื่อนไขเดียวกันและเท่าเทียมกันกับคนต่างชาติของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งการส่งคำคู่ความหรือเอกสารแทนศาลอื่นโดยเจ้าพนักงานศาล ในกรณีที่คู่ความไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการส่งตามกฎหมายหรือตามคำสั่งศาลให้เจ้าพนักงานศาลเบิกจ่ายค่าตอบแทนตามระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยค่าตอบแทนในการส่งคำคู่ความหรือเอกสารโดยเจ้าพนักงานศาล พ.ศ. 2562 ทั้งนี้ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณดังกล่าวปีละ 20,000 บาท โดยคิดคำนวณจากสถิติคดีของประเทศที่มีความตกลงประเภทนี้

27. เรื่อง การจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อการจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต หนังสือเดินทางราชการ และหนังสือเดินทางพิเศษ พร้อมคำแปลอย่างไม่เป็นทางการ
                    2. เห็นชอบให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนเป็นผู้ลงนามร่างบันทึกความเข้าใจฯ ทั้งนี้ ในกรณีมอบหมายผู้แทน ให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้ผู้ลงนามดังกล่าว
                    3. เห็นชอบให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีผลใช้บังคับของบันทึกความเข้าใจฯ (ตามนัยข้อ 10 ของร่างบันทึกความเข้าใจฯ)
                    4. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถดำเนินการได้ โดยนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                    สาระสำคัญ
                    คนชาติของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการที่มีผลใช้ได้ของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางพิเศษที่มีผลใช้ได้ของรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย จะต้องเดินทางเข้า เดินทางผ่าน พำนัก และเดินทางออกจากดินแดนของภาคีอีกฝ่ายหนึ่งโดยไม่ต้องรับการตรวจลงตราเป็นระยะเวลารวมกันไม่เกินกว่าเก้าสิบ (90) วัน ในช่วงระยะเวลาหนึ่งร้อยแปดสิบ (180) วัน นับจากวันแรกที่เดินทางเข้า โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่ทำงานใด ไม่ว่าการทำงานนั้นจะเป็นการดำเนินกิจการของตนเอง หรือกิจกรรมเชิงพาณิชย์ส่วนตัวใดในภาคีผู้รับ
                    ผลกระทบ
                    ปัจจุบันผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการของไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปราชการที่ซาอุดีอาระเบียต้องขอรับการตรวจลงตราซึ่งมีขั้นตอนมากและใช้เวลานาน แต่ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ดังนั้น การยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการของไทยจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกการเดินทางและการติดต่อราชการระหว่างเจ้าหน้าที่การทูตและข้าราชการเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันของประชาชนของทั้งสองประเทศต่อไป ทั้งนี้ คู่ภาคีจะต้องประสานงานระหว่างกันผ่านช่องทางการทูตเกี่ยวกับการเยือนอย่างเป็นทางการของคนชาติก่อนการเดินทางถึงรัฐใดรัฐหนึ่ง
                    โดยที่ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของการเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 18 - 16 พฤศจิกายน 2565 โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศซาอุดีอาระเบียเป็นผู้แทนรัฐบาลซาอุดีอาระเบียลงนามร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว

28. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญเพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของฝ่ายไทย ให้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในนามของผู้แทนฝ่ายไทย และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในฝ่ายซาอุดีอาระเบีย
                    ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาแห่งราชอาณาจักรไทย กับกระทรวงการท่องเที่ยวแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและกระชับความสัมพันธ์ฉันมิตรของทั้งสองราชอาณาจักรผ่านการพัฒนาความร่วมมือระดับทวิภาคีในสาขาการท่องเที่ยว โดยทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว ในประเด็นการเพิ่มจำนวนท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศมากขึ้น การสนับสนุนกิจกรรมและโครงการด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวและภาคการบริการ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อผลประโยชน์ในระยะยาวของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและองค์กรต่าง ๆ ของทั้งสองประเทศ ในการพัฒนาและมีกิจกรรมภาคการท่องเที่ยวร่วมกันต่อไป โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญ
                    การลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในครั้งนี้ จะเป็นหนึ่งในเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของการเสด็จฯ เยือนไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมารและนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นผู้แทนรัฐบาลไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียเป็นผู้แทนรัฐบาลซาอุดีอาระเบียจะเป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประกอบด้วยข้อบท 9 ข้อ คือ
                    ข้อ 1 วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ โดยคำนึงถึงค่านิยมทางสังคมและประเพณีท้องถิ่นตามพันธกรณีระหว่างประเทศ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนของทั้งสองประเทศ
                    ข้อ 2 ขอบเขตความร่วมมือ กล่าวคือ ทั้งสองฝ่ายจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวในประเด็น การเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศมากขึ้น การสนับสนุนกิจกรรมและโครงการด้านการท่องเที่ยวร่วมกัน การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาคการท่องเที่ยวและภาคการบริการ การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเพื่อผลประโยชน์ในระยะยาวของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการและองค์การต่าง ๆ ของทั้งสองประเทศ ในการพัฒนาและมีกิจกรรมภาคการท่องเที่ยวร่วมกันต่อไป
                    ข้อ 3 ขอบเขตการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ ทั้งสองฝ่ายจะแลกเปลี่ยนข้อมูลสถิติการท่องเที่ยว จัดโปรแกรมการศึกษาและการวิจัย การประชุม สัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ จัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว พัฒนารูปแบบใหม่และการพัฒนาอย่างยั่งยืนในภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว และให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการอบรมบุคลากรด้านการท่องเที่ยว
                    ข้อ 4 ขอบเขตการสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญ ทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญในสาขาการท่องเที่ยว การบริการ การลงทุนด้านการท่องเที่ยว และส่งเสริมการลงทุนร่วมกันในกิจกรรมด้านการท่องเที่ยว
                    ข้อ 5 ขอบเขตการทำงาน ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะทำงานด้านการท่องเที่ยวภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ โดยทั้งสองฝ่ายจะสลับกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมในราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ตามวันที่ได้ตกลงร่วมกัน
                    ข้อ 6 การยุติข้อพิพาท ระหว่างปฏิบัติตามข้อตกลงจะเป็นไปอย่างฉันมิตร โดยการหารือผ่านช่องทางการทูต
                    ข้อ 7 ขอบเขตการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทั้งสองฝ่ายจะเตรียมกิจกรรมภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ โดยระบุกิจกรรมที่ตกลงกันไว้ รวมทั้งด้านการเงิน และการจัดการอื่น ๆ
                    ข้อ 8 ค่าใช้จ่าย แต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมที่ดำเนินการภายใต้บันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้
                    ข้อ 9 การมีผลบังคับใช้และระยะเวลาการสิ้นสุด บันทึกความเข้าใจฯ มีผลบังคับใช้ภายใน 30 วัน นับจากวันที่ได้รับการแจ้งผ่านช่องทางการทูต ระยะเวลาบังคับใช้ 5 ปีและต่ออายุโดยอัตโนมัติเป็นระยะเวลาห้าปีติดต่อกัน จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรก่อนวันหมดอายุ 6 เดือน หากต้องการปรับแก้ไขบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้ จะต้องเป็นลายลักษณ์อักษร โดยความยินยอมร่วมกันของทั้งสองฝ่าย และตามขั้นตอนทางกฎหมายของแต่ละฝ่าย ทั้งนี้ การสิ้นสุดการบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ ข้อกำหนดทั้งหมดจะยังคงมีผลบังคับใช้เกี่ยวกับกิจกรรม หรือโครงการที่มีการพัฒนา หรือมีการดำเนินการอยู่

29. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย (Memorandum of Understanding between the Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Energy of the Kingdom of Saudi Arabia in the Field of Energy)
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                     ทั้งนี้ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงาน                แห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียและเสริมสร้างความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญฯ และร่างบันทึกความเข้าใจฯ จะเป็นเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญของการเสด็จฯ เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการของมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565 ในโอกาสนี้ กระทรวงพลังงานจึงได้กำหนดให้มีการจัดพิธีลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ โดยมีมกุฎราชกุมาร และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และนายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทยเป็นสักขีพยาน ในวันศุกร์ที่ 18 พฤศจิกายน 2565
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านพลังงานระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทวิภาคีด้านพลังงานระหว่างราชอาณาจักรไทยกับราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย และเสริมสร้างความสัมพันธ์ในมิติต่าง ๆ ได้แก่ 1) ความร่วมมือด้านพลังงาน อาทิ ปิโตรเลียม ก๊าซ ไฟฟ้า พลังงานหมุนเวียน การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และปิโตรเคมี 2) การพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนและเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำเพื่อลดผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาทิ เทคโนโลยีการดักจับคาร์บอน การนำกลับมาใช้ซ้ำ การแปรสภาพและการกักเก็บคาร์บอน และเชื้อเพลิงไฮโดรเจน 3) การส่งเสริมการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัลและนวัตกรรมด้านพลังงาน 4) การดำเนินการพัฒนาความเป็นหุ้นส่วนเชิงคุณภาพระหว่างคู่ภาคี เพื่อใช้ประโยชน์วัสดุ ผลิตภัณฑ์ และบริการในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่คุณค่า และเทคโนโลยีด้านพลังงาน 5) การเสริมสร้างความร่วมมือกับบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านพลังงาน 6) การดำเนินความร่วมมือในการพัฒนาการใช้ประโยชน์จากวัสดุที่มีความยั่งยืนในภาคการก่อสร้างและภาคอื่น ๆ 7) การดำเนินการวิจัยด้านพลังงานร่วมกันกับมหาวิทยาลัย ศูนย์วิจัย และหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงการจัดประชุม การจัดอภิปราย งานสัมมนา และการประชุมพหุภาคี 8) การเสริมสร้างขีดความสามารถบุคลากรผ่านการฝึกอบรมและแลกเปลี่ยนข้อมูลและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับด้านพลังงาน และ 9) ด้านอื่น ๆ ที่ตกลงกันภายใต้กรอบของบันทึกความเข้าใจนี้

30. เรื่อง ร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลว ระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความร่วมมือว่าด้วยการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น และข้อริเริ่มความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างกระทรวงพลังงานแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (Memorandum of Cooperation on Thailand - Japan LNG Upstream Investment and LNG Tank Cooperation Initiative between the Ministry of Energy of the Kingdom of Thailand and the Ministry of Economy, Trade and Industry of Japan)
                    2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (หรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน) เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความร่วมมือดังกล่าว
                    3. หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างบันทึกความร่วมมือดังกล่าวในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงพลังงานนำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
                    ทั้งนี้ ร่างบันทึกความร่วมมือฯ เป็นเอกสารที่กำหนดทิศทางและกรอบการดำเนินความร่วมมือด้านการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวระหว่างไทยและญี่ปุ่น และความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานระหว่างคู่ภาคีและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเนื่องจากนายนิชิมูระ ยาสุโทชิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น มีกำหนดการเดินทางเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ เพื่อเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (APEC 2022) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีที่ทั้งสองประเทศจะได้ขยายความร่วมมือด้านการลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสองประเทศให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น ในโอกาสนี้ กระทรวงพลังงานจึงได้กำหนดจัดพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือฯ ในวันพุธที่ 16 พฤศจิกายน 2565
                    สาระสำคัญ
                    1. ความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือนี้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการขยายความร่วมมือในด้านการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวและความร่วมมือด้านถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงานระหว่างคู่ภาคีและในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
                    2. ขอบเขตของความร่วมมือระหว่างภาคีคู่สัญญาภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือนี้ รวมถึง 1) พัฒนาแผนงานเพิ่มเติมและพยายามในการลงทุนในธุรกิจต้นน้ำของก๊าซธรรมชาติเหลวในต่างประเทศ 2) พัฒนาแผนงานสำหรับถังเก็บก๊าซธรรมชาติเหลวในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับปรุงแนวทางสำหรับภาคเอกชนผู้ดำเนินการธุรกิจถังเก็บในประเทศไทยเพื่อจำหน่ายให้กับบุคคลที่สาม 3) การปรับปรุงกฎระเบียบในการโอนสิทธิการใช้ถังเก็บระหว่างรัฐบาลญี่ปุ่น ภาคเอกชน และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) 4) แสวงหาความเป็นไปได้ที่คู่ภาคีจะสามารถร่วมมือกันในอนาคตภายใต้กรอบความร่วมมือที่ได้กล่าวมาในข้างต้น 5) แสวงหาโอกาสในการดำเนินมาตรการที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน เพื่อสนับสนุนการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดสถานการณ์ความผันผวนในตลาดหรือในช่วงสถานการณ์ฉุกเฉินแต่เพียงเท่านั้น และ 6) ริเริ่มความร่วมมือในรูปแบบอื่น ๆ ที่คู่ภาคีเห็นชอบร่วมกัน
                    3. การประสานความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความร่วมมือฯ คู่ภาคีจะดำเนินกิจกรรมความร่วมมือผ่านกรอบการประชุมหารือเชิงนโยบายเพื่อกระชับความร่วมมือภายใต้ขอบเขตของความร่วมมือข้างต้น

31. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    2. หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
                    3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุนและเศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีน
                    ทั้งนี้ การลงนามบันทึกความเข้าใจดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีนขอลงนามกับหน่วยงานไทยในโอกาสการเยือนไทยของประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนเพื่อเข้าร่วมการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2565
                    สาระสำคัญ
                    ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการก่อตั้งคณะทำงานความร่วมมือด้านการลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงพาณิชย์สาธารณรัฐประชาชนจีนมีวัตถุประสงค์เป็นการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันในด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                    1. หลักการเบื้องต้น
                    ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จัดทำขึ้นระหว่างกระทรวงอุตสาหกรรมไทยกับกระทรวงพาณิชย์จีน มีสาระสำคัญเป็นการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูล การจัดการประชุมและสัมมนา การจัดทำงานวิจัย ฯลฯ อีกทั้งเพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และพัฒนาวิสัยทัศน์ที่ตรงกันในด้านต่าง ๆ ได้แก่ การพัฒนาทักษะแรงงาน และความสนใจอื่น ๆ ตามที่บันทึกข้อตกลงความร่วมมือฉบับนี้ได้พิจารณา
                    2. การจัดตั้งคณะทำงานฯ เพื่อขับเคลื่อนตามกรอบความเข้าใจฯ การพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและสนับสนุนกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นหน่วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นคณะทำงานฯ ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ ระยะเวลาการดำเนินงาน (36) เดือน
                    3. การมีผลบังคับใช้บันทึกความเข้าใจฯ ข้างต้นไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
                    4. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่ได้มีเนื้อหาเป็นเรื่องสำคัญหรือเกี่ยวข้องกับนโยบาย คือไม่มีเนื้อหากระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ทางสังคมหรือเศรษฐกิจการค้าไม่กระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิในพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่อาจทำให้ไทยสูญเสียผลประโยชน์ แต่เป็นเพียงการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาเครือข่ายองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนตามอำนาจหน้าที่
                    5. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันงบประมาณนอกเหนือจากงบประมาณที่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้รับจัดสรรโดยความเห็นชอบของรัฐสภาแล้ว กล่าวคืออยู่ในกรอบวงเงินงบประมาณประจำแต่ละปีของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
                    6. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ นี้สามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมาย หรือกฎระเบียบที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่ทำความตกลงนั้น ๆ กล่าวคือ สามารถดำเนินการได้ตามอำนาจหน้าที่ของกระทรวงอุตสาหกรรม
                    ผลกระทบ
                    การดำเนินงานภายใต้กรอบความเข้าใจ จะเป็นกลไกในการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างกัน ด้านการพัฒนาอุตสาหกรรม การจัดกิจกรรมส่งเสริมการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยและจีน การจัดทำแนวทางการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการลงทุน การพัฒนาทักษะแรงงาน รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงานปฏิบัติ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานเพื่อพัฒนาศักยภาพการผลิตในอนุภูมิภาค

32. เรื่อง ร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างไทย ? เวียดนาม                พ.ศ. 2565 ? 2570
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ ดังนี้
                     1. เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างไทย ? เวียดนาม พ.ศ. 2565 ? 2570 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทยก่อนมีการลงนาม อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                     2. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการลงนามแผนปฏิบัติการฯ ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565
                     ทั้งนี้ ร่างแผนปฏิบัติการฯ เป็นการต่อยอดการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฉบับเดิม ซึ่งเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของทั้งสองฝ่ายที่จะส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกันอย่างรอบด้าน โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560



                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างแผนปฏิบัติการฯ เป็นการต่อยอดการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการฯ ซึ่งลงนามเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เพื่อกำหนดแนวทางขับเคลื่อนความร่วมมือภายหลังการยกระดับความสัมพันธ์เป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่เข้มแข็งระหว่างกันเมื่อปี 2562
                    2. การดำเนินการตามร่างแผนปฏิบัติการฯ จะส่งเสริมความร่วมมืออย่างรอบด้านและใกล้ชิดยิ่งขึ้น รวมทั้งความร่วมมือทั้งในระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และระหว่างประเทศ โดยมีสาขาความร่วมมือ ดังนี้
                               2.1 ความร่วมมือด้านการเมือง เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเยือนและการหารือในระดับสูง โดยใช้ประโยชน์จากกลไกความร่วมมือทวิภาคีที่มีอยู่
                               2.2 ความร่วมมือด้านกลาโหมและความมั่นคง เพื่อกระชับความร่วมมือด้านการป้องกันประเทศ การทหาร การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมรูปแบบต่าง ๆ รวมถึงการแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ทั้งในกรอบทวิภาคีและกรอบพหุพาคี
                               2.3 ความร่วมมือด้านกฎหมายและตุลาการ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือผ่านสนธิสัญญาและความตกลงทางกฎหมายที่ลงนามร่วมกัน อาทิ ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันทางการศาลในคดีแพ่งและพาณิชย์
                              2.4 ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพื่อสนับสนุนการค้าที่สมดุลและเพิ่มการลงทุนระหว่างสองประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการบรรลุเป้าหมายมูลค่าการค้าทวิภาคีที่ 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2568 การสนับสนุนการลงทุนของไทยในเวียดนาม และการเพิ่มการลงทุนของเวียดนามในไทย ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในด้านพลังงาน แรงงาน และการเงิน เป็นต้น
                                2.5 ความร่วมมือด้านการขนส่ง เพื่อส่งเสริมความเชื่อมโยงด้านคมนาคมทางบก ทางน้ำ และทางอากาศระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งข้ามแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                               2.6 ความร่วมมือด้านการเกษตร ป่าไม้ และการประมง เพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการเกษตร สินค้าเกษตรและป่าไม้ การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ และการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย
                              2.7 ความร่วมมือด้านการศึกษา เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนการเรียนการสอนภาษาไทยและภาษาเวียดนามในแต่ละประเทศ รวมถึงโครงการแลกเปลี่ยนด้านการศึกษาในระดับต่าง ๆ
                               2.8 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและความร่วมมือด้านวิชาการ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ผ่านโครงการเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่     ต่าง ๆ ของเวียดนาม
                              2.9 ความร่วมมือด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข การพัฒนาระบบสุขภาพ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการแพทย์
                               2.10 ความร่วมมือด้านวัฒนธรรม กีฬา และการท่องเที่ยว เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรม รวมทั้งจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างสองประเทศ
                              2.11 ความร่วมมือด้านทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและ             การประสานท่าทีในประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
                               2.12 ความร่วมมือด้านข้อมูล การสื่อสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในสาขาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เศรษฐกิจดิจิทัล และสังคมดิจิทัล
                              2.13 ความร่วมมือในระดับประชาชน เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและความร่วมมือระดับท้องถิ่น ผ่านกลไกความร่วมมือเมืองพี่เมืองน้อง และการสนับสนุนบทบาทของสมาคมมิตรภาพของทั้งสองประเทศ
                              2.14 ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการประสานท่าทีระหว่างสองประเทศในประเด็นต่าง ๆ ที่ทั้งสองประเทศให้ความสำคัญในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาค ภูมิภาค และอาเซียน




แต่งตั้ง
33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                       (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ                 สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายธรรมรัตน์ รัตนมณี ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนัก 10 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2565
                     2. นางสาวชลดา โชติสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนัก 8  สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการดำเนินงานข่าวกรองในต่างประเทศ (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง ว่าที่ร้อยเอก มนตรี มั่นคง เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป

35. เรื่อง การแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งรองประธานกรรมการและกรรมการในคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส) ดังนี้
                     1. นายประยูร อินสกุล            รองประธานกรรมการ
                    2. นายชาญวิทย์ นาคบุรี           กรรมการ
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป และให้ผู้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งแทนอยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

36. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลแทนผู้ที่ลาออก
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเสนอแต่งตั้ง นายชูเกียรติ มาลินีรัตน์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านการรักษาผลประโยชน์ของชาติ) ในคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล แทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่ขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ที่ได้รับแต่งตั้งแทนตำแหน่งที่ว่างนั้นดำรงตำแหน่งได้เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งตนแทน

37. เรื่อง ขออนุมัติแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง พลโท นิธิ จึงเจริญ เป็นกรรมการในคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง แทน นายสราวุธ เบญจกุล กรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว

38. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 37 ราย ดังนี้
                     1. ให้นายภาสกร บุญญลักษม์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. ให้นายพุฒิพงศ์ ศิริมาตย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. ให้นายคมสัน เจริญอาจ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครปฐม สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชกรกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     4. ให้นายธนิศร์ วงศ์ปิยะสถิตย์ รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     5. ให้นายปรีชา เดชพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     6. ให้นายปรีชา ทองคำ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุพรรณบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     7. ให้นายพิเชษฐ์ ปาณะพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดภูเก็ต สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     8. ให้นายพิริยะ ฉันทดิลก รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมการปกครอง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     9. ให้นายสมภพ สมิตะสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสระบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     10. ให้นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                      11. ให้นายสุภกิณห์ แวงชิน รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดลพบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     12. ให้นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     13. ให้นายอำพล พงศ์สุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง
                     14. ให้นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
                     15. ให้นายนที มนตริวัต รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดชัยนาท สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดชัยนาท สำนักงานปลัดกระทรวง
                     16. ให้นายบัญชา เชาวรินทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเชียงราย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง
                     17. ให้นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดนครพนม สำนักงานปลัดกระทรวง
                     18. ให้นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดบึงกาฬ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดบึงกาฬ สำนักงานปลัดกระทรวง
                     19. ให้นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง
                     20. ให้นายรณรงค์ นครจินดา รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพิษณุโลก สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดปราจีนบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
                     21. ให้นางพาตีเมาะ สะดียามู รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดปัตตานี สำนักงานปลัดกระทรวง
                     22. ให้นายพยนต์ อัศวพิชยนต์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพิจิตร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดพิจิตร สำนักงานปลัดกระทรวง
                     23. ให้นายณัฏฐชัย นำพูลสุขสันติ์ ตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสระแก้ว สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเพชรบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
                     24. ให้นายชุติเดช มีจันทร์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพะเยา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดแพร่ สำนักงานปลัดกระทรวง
                     25. ให้นายวรญาณ บุญณราช รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดมุกดาหาร สำนักงานปลัดกระทรวง
                     26. ให้นายวิรุจ วิชัยบุญ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดยโสธร สำนักงานปลัดกระทรวง
                     27. ให้นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสตูล สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดยะลา สำนักงานปลัดกระทรวง
                     28. ให้นายศักระ กปิลกาญจน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดพังงา สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     29. ให้นายทวี เสริมภักดีกุล รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง
                     30. ให้นายสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง
                     31. ให้นายศุภมิตร ชิณศรี รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานปลัดกระทรวง
                     32. ให้นายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดปัตตานี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานปลัดกระทรวง
                     33. ให้นายสุชาติ ทีคะสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสุโขทัย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดสุโขทัย สำนักงานปลัดกระทรวง
                     34. ให้นายราชันย์ ชุ้นหั้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดนนทบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง
                     35. ให้นายสุวิทย์ จันทร์หวร รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดหนองบัวลำภู สำนักงานปลัดกระทรวง
                     36. ให้นายชนาส ชัชวาลวงศ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดร้อยเอ็ด สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอำนาจเจริญ สำนักงานปลัดกระทรวง
                     37. ให้นายธีรพัฒน์ คัชมาตย์ รองผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับต้น) จังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด (นักปกครอง ระดับสูง) จังหวัดอุทัยธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป

39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่างและสับเปลี่ยนหมุนเวียน รวมจำนวน 2 ราย ดังนี้
                     1. แต่งตั้ง นางสาวแรมรุ้ง วรวัธ รองปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมกิจการผู้สูงอายุ
                    2. แต่งตั้ง นายกันตพงศ์ รังษีสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ