สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565

ข่าวการเมือง Tuesday November 22, 2022 16:01 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (22 พฤศจิกายน 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ  ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ...
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่น                                        ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ
                    3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอด                                        น้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอด                                                  โดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณ                                        ของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ...

เศรษฐกิจ-สังคม
                    4.           เรื่อง            รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ                                        กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562
                    5.           เรื่อง           รายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐาน                                                  รากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และการขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการ                                                  ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG
                    6.           เรื่อง           รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564
                    7.           เรื่อง           ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1                                         : 4000 (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด
                    8.           เรื่อง           การแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน                                                   จำกัด
                    9.           เรื่อง           การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อ                                                  ดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของ                                                  โรงแรม
                    10.           เรื่อง           การปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า
                                        ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1                                         (คพจ.1)
                    11.           เรื่อง           (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ                                                   (พ.ศ. 2566 - 2580)
                    12.           เรื่อง           รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    13.           เรื่อง           ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    14.           เรื่อง            รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน และ 9 เดือนแรกของ

ปี 2565

                    15.           เรื่อง            ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
                    16.          เรื่อง           ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็น                                                  ค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภา                                                  เกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566



ต่างประเทศ
                    17.            เรื่อง            กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อม                                                  และการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on                                                   Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    18.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core                                                   Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการ                                        ยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่าง                                                  ประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    19.           เรื่อง           เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตาม                                                  ตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for                                         the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for                                                   Strengthening the EANET)
                    20.            เรื่อง           ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง                                         ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่ม                                        หุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    21.            เรื่อง            ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย

ครั้งที่ 22

แต่งตั้ง
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับ                                                  ทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจาก                                                  พระราชดำริ)
                    24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงการ                                        ท่องเที่ยวและกีฬา
?

กฎหมาย


1. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ...

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. ... ตามที่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานศาลยุติธรรมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติที่ สคบ. เสนอ เป็นการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการ (มติคณะรัฐมนตรี 21 พฤศจิกายน 2560) เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยเป็นการกำหนดความรับผิดของผู้ประกอบธุรกิจเพื่อความชำรุดบกพร่องของการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าบางประเภท ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ รถยนต์ส่วนบุคคล รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล และสินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติมจากที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนซึ่งเป็นผู้บริโภคในกรณีที่สินค้าเกิดความชำรุดบกพร่องให้มีความชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพปัญหาในปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดย สคบ. ได้นำร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ไปดำเนินการตามแนวทางการจัดทำและการเสนอร่างกฎหมายตามบทบัญญัติมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมกับการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายให้ประชาชนได้รับทราบแล้ว

สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ

1. กำหนดบทนิยามตามร่างพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่

1.1 ?ผู้ประกอบธุรกิจ? หมายความว่า

(1) ผู้ผลิตเพื่อขาย หรือผู้ว่าจ้างให้ผลิตเพื่อขาย

(2) ผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย

(3) ผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อสินค้าที่ไม่สามารถระบุตัวผู้ผลิตผู้ว่าจ้างให้ผลิต หรือผู้สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรได้

1.2 ?ผู้บริโภค? หมายความว่า ผู้ซื้อหรือผู้เช่าซื้อสินค้าจากผู้ประกอบธุรกิจอันมิใช่เพื่อการแสวงหาประโยชน์โดยตรงในทางการค้าหรือการประกอบธุรกิจ

2. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายหรือสัญญาเช่าซื้อระหว่างผู้ประกอบธุรกิจและผู้บริโภคในสินค้า ดังนี้

2.1 เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นเครื่องใช้หรืออุปกรณ์ที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในการทำงาน

2.2 รถยนต์ส่วนบุคคลและรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์

2.3 สินค้าอื่นที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา

3. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้

3.1 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าใช้แล้ว

3.2 การขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ ซึ่งผู้ขายหรือผู้ให้เช่าซื้อระบุไว้โดยชัดแจ้งว่าเป็นการขายหรือให้เช่าซื้อสินค้าตามสภาพ

3.3 การขายทอดตลาด

4. กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าอันเป็นเหตุให้เสื่อมราคาหรือเสื่อมความเหมาะสมแก่

4.1 ประโยชน์ของสินค้าที่มุ่งหมายโดยสัญญา

4.2 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าเป็นปกติ

4.3 ประโยชน์อันจะมุ่งใช้สินค้าซึ่งผู้บริโภครู้จากข้อมูลของสินค้าที่ผู้ประกอบธุรกิจหรือผู้แทนของผู้ประกอบธุรกิจได้เผยแพร่ให้สาธารณชนทราบ ซึ่งมีอยู่ในเวลาส่งมอบและปรากฏขึ้นภายในสองปีนับแต่วันส่งมอบสินค้าไม่ว่าผู้ประกอบธุรกิจจะรู้ถึงความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือไม่ก็ตาม โดยในกรณีที่สินค้าชำรุดบกพร่องภายในหนึ่งปี นับแต่วันส่งมอบสินค้า ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่องในเวลาส่งมอบสินค้า นอกจากนี้ ผู้ประกอบธุรกิจยังต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้านั้น หรือในกรณีที่ผู้บริโภคเป็นผู้ติดตั้งหรือประกอบสินค้าตามคู่มือที่ผู้ประกอบธุรกิจจัดให้แต่คู่มือนั้นกำหนดวิธีติดตั้งหรือประกอบสินค้าโดยไม่ถูกต้องหรือครบถ้วน

5. กำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ประกอบธุรกิจไม่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องในกรณีดังต่อไปนี้

5.1 ผู้บริโภคได้รู้อยู่แล้วแต่ในเวลาซื้อขายว่าสินค้านั้นมีความชำรุดบกพร่อง

                               5.2 ผู้บริโภคได้ดัดแปลงสินค้าโดยมิได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นเหตุให้                 เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว

5.3 ผู้บริโภคไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดที่จำเป็นและสมควรเพื่อการบำรุงรักษาสินค้าที่ระบุในคู่มือการใช้งาน อันเป็นเหตุให้เกิดความชำรุดบกพร่องดังกล่าว

6. กำหนดสิทธิของผู้บริโภคต่อผู้ประกอบธุรกิจที่ต้องรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่อง ดังนี้

6.1 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจซ่อมแซมสินค้า

6.2 เรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจเปลี่ยนสินค้า

6.3 ขอลดราคาสินค้า

6.4 เลิกสัญญา

โดยการใช้สิทธิดังกล่าวไม่กระทบต่อสิทธิในการเรียกค่าเสียหายอื่นจากผู้ประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัตินี้               ยังกำหนดรายละเอียดและขั้นตอนการใช้สิทธิดังกล่าวไว้ด้วย
                     7. กำหนดให้ข้อตกลงที่ได้ตกลงไว้ล่วงหน้าก่อนที่ผู้บริโภคจะพบว่าสินค้านั้นชำรุดบกพร่อง                ซึ่งแตกต่างจากบทบัญญัติในร่างพระราชบัญญัตินี้และเป็นผลเสียหรือภาระแก่ผู้บริโภคให้ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ

8. กำหนดให้สิทธิของผู้บริโภคตามร่างพระราชบัญญัตินี้เป็นอันขาดอายุความเมื่อพ้นสองปีนับแต่เวลาที่ผู้บริโภคได้พบเห็นความชำรุดบกพร่องของสินค้าหรือเมื่อผู้ประกอบธุรกิจได้ปฏิเสธที่จะดำเนินการตามที่ผู้บริโภคร้องขอ ทั้งนี้ ในระหว่างที่ผู้ประกอบธุรกิจยอมรับที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าให้อายุความสะดุดหยุดลง

9. กำหนดให้ร่างพระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบต่อการที่ผู้บริโภคจะเรียกให้ผู้ประกอบธุรกิจรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้าโดยอาศัยสิทธิตามกฎหมายอื่น

10. กำหนดให้สินค้าใดที่ได้ขายหรือให้เช่าซื้อแก่ผู้บริโภคก่อนวันที่ร่างพระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ไม่อยู่ภายใต้บังคับของร่างพระราชบัญญัตินี้

2. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา รวม 4 ฉบับ

คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้

                     1. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาทบทวนร่างพระราชบัญญัติ                   การอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษา    ( ร่างพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....                          ร่างพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ฉบับที่ ..)                 พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ) รวม 4 ฉบับ ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ให้สอดคล้องกับผลการประชุมหารือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาก่อนเสนอรัฐสภาต่อไป โดยให้แจ้งประธานรัฐสภาทราบด้วยว่าร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นร่างพระราชบัญญัติที่จะตราขึ้นเพื่อดำเนินการตามหมวด 16               การปฏิรูปประเทศของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                     2.  ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปรับปรุงแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาทบทวนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตามข้อ 1.                  แล้วส่งไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป

ทั้งนี้ ร่างพระราชบัญญัติการอุดมศึกษา (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้มีการจัดตั้งกองทุนเพื่อพัฒนาการอุดมศึกษาในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาตามความต้องการของประเทศ และด้านการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ พัฒนาการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมร่วมกับนักวิชาการ สถาบันวิชาการ และองค์กรชั้นนำของโลก ส่งเสริมการเชื่อมโยงการเรียนการสอน การวิจัย และการสร้างนวัตกรรมกับสถานประกอบการทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม รวมทั้งสนับสนุนการใช้ความรู้ในการพัฒนาสมรรถนะของชุมชนและสังคม โดยกำหนดให้มีสำนักงานบริหารกองทุนซึ่งมีฐานะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินขึ้นในสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อทำหน้าที่บริหารกองทุนดังกล่าว

                     โดยที่กระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ยังมีข้อสังเกตเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกองทุน การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงิน และการเสนอรายงานการเงินตาม                         ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ควรสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558 ซึ่ง อว. ได้เห็นชอบตามข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) ด้วย รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี จึงได้มีคำสั่งให้ อว. รับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวไปหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ข้อยุติตามประเด็นดังกล่าว ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป ซึ่ง อว. ได้ดำเนินการตามคำสั่งของรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) แล้ว โดยได้ประชุมหารือร่วมกับผู้แทนของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและกระทรวงการคลัง (กรมบัญชีกลาง) เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 และที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวในประเด็นการกำหนดรูปแบบของสำนักงานบริหารกองทุน ซึ่งไม่มีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) การกำหนดระยะเวลาจัดทำรายงานการเงินและการเสนอรายงานการเงิน ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการบริหารทุนหมุนเวียน พ.ศ. 2558

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน                  50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ...

คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้

                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ที่ อก. เสนอ เป็นการกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาลและผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน (มาตรฐานบังคับ) เพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานระหว่างประเทศที่ใช้ในปัจจุบันอันจะทำให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพ ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และป้องกันความเสียหายอันอาจจะเกิดแก่ประชาชน ซึ่ง อก. ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าด้วยแล้ว โดยได้แก้ไขชื่อ               ร่างกฎกระทรวงฯ เป็น ?ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทเชิงพาณิชย์และเครื่องทอดน้ำมันท่วมเชิงพาณิชย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....? เพื่อให้เกิดความชัดเจนและกระชับยิ่งขึ้น

สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง

1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 60335 เล่ม 2 (37) - 2564

2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ผลกระทบ

1. ผู้ซึ่งได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมาย

ผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200

2. ผลกระทบที่เกิดขึ้นแก่บุคคล

(1) ด้านเศรษฐกิจ เป็นการส่งเสริมผู้ประกอบการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ในประเทศซึ่งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวจะมีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย

(2) ด้านสังคม ทำให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และทันสมัย

3. สิทธิเสรีภาพของบุคคลที่ต้องถูกจำกัด

ผู้ทำหรือผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุด 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 จะต้องยื่นคำขอรับใบอนุญาตตามมาตรฐานที่กำหนดใหม่ตามพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และผู้จำหน่ายจะต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าวที่ได้รับอนุญาต และเป็นไปตามมาตรฐาน

4. ประโยชน์ที่ประชาชนและสังคมจะได้รับ

เป็นการส่งเสริมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ทำและผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมดังกล่าว โดยทำให้ประชาชนได้ใช้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมปริมาณน้ำมันสูงสุดเกิน 5 ลิตร แต่ไม่เกิน 12 ลิตร หรือเครื่องทอดโดนัทและเครื่องทอดน้ำมันท่วมที่มีความดันไม่เกิน 50 กิโลปาสกาล และผลคูณของความดันกับปริมาตรเป็นลิตรไม่เกิน 200 ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและทันสมัย

เศรษฐกิจ-สังคม
4. เรื่อง  รายงานการดำเนินการตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวง              การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ผลการดำเนินการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และการคงสถานะ วช. เป็นส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทางการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. รายงานว่า

                    1. ปัจจุบัน วช. เป็นส่วนราชการภายใน อว. ตามมาตรา 8 (4) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 โดยเมื่อครบกำหนดสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ (ครบกำหนดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565) ให้คณะกรรมการขับเคลื่อนการปฏิรูป            การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม1 ประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และในกรณีที่เห็นว่า ผลการปฏิบัติราชการดังกล่าวจำเป็นต้องได้รับการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกในการบริหารเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้อย่าง                 มีประสิทธิภาพ ให้มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีให้จัดตั้ง วช. เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชนโดยเสนอพร้อมร่างพระราชกฤษฎีกาด้วย (ตามมาตรา 37)
                    2. คณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เห็นชอบผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการตามหน้าที่และอำนาจของ วช. และข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับ              การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.2  พร้อมทั้งมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม) จัดทำแผนและระยะเวลาการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรของ วช. ทั้งนี้ ได้เสนอผลการประเมินและข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565                      สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้

2.1 ผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช.

ประเด็นการประเมิน          ผลการประเมิน
1. ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
(Efficiency & Effectiveness) ของการดำเนินงานตามภารกิจของ วช.           ? สามารถบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมได้ตามแผนที่กำหนดไว้  แม้จะมีปัญหาและอุปสรรคในส่วนงานที่ได้รับโอนมาจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยเดิม
? บุคลากรของ วช. มีงานที่รับผิดชอบจำนวนมาก (หลายกรณีรับผิดชอบโครงการมากกว่า 100 โครงการต่อคน) ซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการดูแลคุณภาพการดำเนินงาน
? ด้านประสิทธิผลยังไม่สามารถเห็นได้ชัดเจนเนื่องจากเป็น                          การดำเนินงานภายใต้บทบาทใหม่ภายหลังจากการปฏิรูปเพียง 2-3 ปี
? สัดส่วนต้นทุนการบริหารจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมเท่ากับร้อยละ 4.88-6.67 ของงบประมาณสนับสนุน
2. การปรับเปลี่ยนองค์กร
(Organization Transformation)           ? มีการปรับตัวอย่างมากทั้งด้านโครงสร้างและระเบียบขั้นตอน                การดำเนินงานเพื่อให้เกิดความคล่องตัวต่อกระบวนการบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม
? ยังขาดความชัดเจนในเรื่องการปรับระบบบริหารและพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาศักยภาพด้าน Academic Leadership ในขณะที่ วช. มีบุคลากรหลายสถานะ (เช่น ข้าราชการ พนักงานราชการ
ลูกจ้างโครงการ) หลายช่วงวัย หลากหลายทัศนคติ แนวคิดและวัฒนธรรมการทำงาน ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายในการบริหารจัดการและการพัฒนาบทบาทขององค์กรและการพัฒนาบุคลากรในอนาคตที่รองรับกับภารกิจของ วช.
3. การเรียนรู้ขององค์กร
(Organization Learning)

? วัฒนธรรมการทำงานในภาพรวมเป็นการสั่งการจากผู้บริหารค่อนข้างมากและขาดกระบวนการที่ชัดเจนในการแสดงความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชาอย่างเป็นระบบ ? ผู้บริหารมีความเข้าใจนโยบายและตอบสนองต่อพลวัตของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้เป็นอย่างดีแต่ในระดับบุคลากรยังมีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจนโยบายและทิศทางการเปลี่ยนแปลงในภาพใหญ่ของระบบ รวมถึงช่องทางและโอกาสที่จะมีปฏิสัมพันธ์กับบุคลากรของหน่วยงานระดับนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาความเข้าใจในงานร่วมกัน 4. การประสานและร่วมมือกับ หน่วยงานระดับต่าง ๆ (Coordination & Collaboration)

? ผู้บริหารมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานนโยบายและหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

? บุคลากรมีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานผู้ใช้ประโยชน์              ทั้งภาครัฐและภาคสังคม/ชุมชนได้เป็นอย่างดี แต่ยังมีความจำเป็นต้องพัฒนากลไก/วิธีการประสานความร่วมมือกับผู้ใช้ประโยชน์ภาคเอกชนและผู้ประกอบการเพิ่มมากขึ้น
5. การสื่อสารไปสู่สังคม
และสาธารณะ (Social & Public
Communication)          วช. มีความเข้มแข็งในส่วนนี้ จากการจัดกิจกรรมเชิดชูเกียรติบุคลากร องค์กร และการประกวดสิ่งประดิษฐ์และผลงานวิจัยที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง และในอนาคตมีความจำเป็นต้องต่อยอดการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความตระหนักรู้ต่อความสำคัญและคุณค่าของการวิจัยที่มีต่ออนาคตการพัฒนาประเทศ
6. การพัฒนาระบบข้อมูล
และการเชื่อมโยงข้อมูล (Data
Platform and Connecting)          ? มีการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบข้อมูลโดยการวางผังสถาปัตยกรรมระบบข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมร่วมกับหน่วยงาน              ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งจัดทำแผนการพัฒนาระบบข้อมูลดังกล่าวซึ่งยังอยู่ระหว่างดำเนินการเชื่อมโยงข้อมูล
? ยังพบปัญหาความเสถียรของระบบข้อมูลสำหรับผู้วิจัยและหน่วยงานวิจัย (National Research and Innovation Information System: NRIS) โดยเฉพาะช่วงเวลาที่มีผู้ใช้ระบบเป็นจำนวนมาก
? ระบบข้อมูลสำหรับการบริหารและจัดการงานวิจัยและนวัตกรรมส่วนกลางยังไม่ตอบโจทย์ทั้งหน่วยงานผู้บริหารจัดการงานวิจัยและ               การนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์เพื่อบริหารจัดการเชิงนโยบายอีกทั้งการนำข้อมูลไปใช้ยังไม่สามารถทำได้โดยอัตโนมัติตลอดทั้งกระบวนการ

                              2.2 ข้อเสนอการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหารเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อนการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ จากการประเมินและวิเคราะห์ใน 3 ส่วน คือ (1) การประเมินประสิทธิภาพและผลการดำเนินงานของ วช. ในสถานะส่วนราชการ                (2) การประเมินจุดแข็ง จุดอ่อนและประเด็นแวดล้อมของ วช. ในการดำเนินภารกิจในสถานะปัจจุบัน (ผลการประเมินปรากฏตามข้อ 2.1) และ (3) การวิเคราะห์เพื่อกำหนดและออกแบบทางเลือกการปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหารเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจและขับเคลื่อนการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพผ่านการตั้งโจทย์ 3 โจทย์ ได้แก่ (1) สถานะองค์กรแบบใดที่ส่งเสริมการพัฒนา วช. ให้เป็นองค์กรสมรรถนะสูง (2) การบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมของ วช. ควรมีบทบาทการให้ทุนประเภทและรูปแบบใดบ้าง
และ (3) ขอบเขตภารกิจของ วช. ควรครอบคลุมมากกว่าการเป็นหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรมหรือไม่ ได้นำไปสู่ข้อเสนอการเปลี่ยนสภาพ วช. ไปสู่การเป็นองค์การมหาชนตามพระราชบัญญัติองค์การมหาชน พ.ศ. 25423 เพื่อตอบโจทย์การขับเคลื่อนการปฏิรูปและการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรสมรรถนะสูง โดยให้จัดทำแผนและระยะเวลาการปรับเปลี่ยนรูปแบบองค์กรของ วช. รวมทั้งให้สำนักงาน ก.พ.ร. คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาองค์การมหาชน และ อว. หารือร่วมกันเพื่อดำเนินการในระยะต่อไป ทั้งนี้ ในส่วนของการกำหนดรูปแบบการบริหารและจัดการทุนควรมุ่งเน้นที่การวิจัยพื้นฐานเพื่อการสร้างองค์ความรู้ที่จะเป็นฐานในการพัฒนานวัตกรรมและการสร้างความเข้มแข็งของหน่วยวิจัยและนักวิจัย รวมทั้งควรมีส่วนงานหรือบุคคลที่ทำหน้าที่วางระบบการวิเคราะห์โจทย์และจัดทำ/พัฒนาแผนการวิจัยและนวัตกรรมซึ่งจะเป็นตัวอย่างที่ดีของหน่วยบริหารและจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม
                    3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้พิจารณารายงานผลการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ร่วมกับผลงานการปฏิรูประบบการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของหน่วยงาน ส่วนราชการ  องค์การมหาชน รัฐวิสาหกิจ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในการประชุมคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2565 มีข้อพิจารณาว่าการขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งเกิดขึ้นหลังจากการจัดตั้ง อว. และ               มีการจัดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานครั้งใหญ่สามารถแสดงผลงานเชิงประจักษ์ได้ตามความคาดหวังของรัฐบาลและประชาชน รวมทั้งยังได้รับการยอมรับและชื่นชมจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ วช. ในสถานะส่วนราชการ ได้มีบทบาทและเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทาง           การปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในภารกิจการเป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลและ อว. พร้อมการทำงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐในทุกรูปแบบได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์การประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการ ดังนั้น เพื่อให้            การปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์โดยรวมต่อประเทศ เห็นสมควรให้ วช. คงสถานะความเป็นส่วนราชการและเห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีทราบผล              การดำเนินการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. และทราบการคงสถานะ วช. เป็น                    ส่วนราชการ เพื่อขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญตามแนวทางการปฏิรูปการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมต่อไป

1แต่งตั้งตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 209/2562 ลงวันที่ 27 สิงหาคม 2562 โดยมีรองศาสตราจารย์ศักรินทร์ ภูมิรัตน เป็นประธานฯ มีหน้าที่และอำนาจตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ อว.ฯ เช่น จัดทำแนวทางการพัฒนาระบบ กลไก การบูรณาการการทำงานและวิธีการปฏิบัติราชการ การจัดโครงสร้างและอัตรากำลังของหน่วยงานในบังคับบัญชาและในกำกับดูแลของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้แล้วเสร็จภายในสามปี เพื่อเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ และคณะรัฐมนตรี
2แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คำสั่ง อว. ที่ 120/166685 ลงวันที่  9 มิถุนายน 2563 โดยมีศาสตราจารย์กิตติคุณ บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน มีหน้าที่และอำนาจ เช่น (1) เสนอแนะเกณฑ์และแนวทางการประเมินประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติราชการของ วช. ต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ  (2) เสนอแนะการพัฒนาหรือปรับปรุงโครงสร้างและกลไกการบริหารของ วช. ให้สามารถขับเคลื่อนการปฏิรูปการอุดมศึกษา  วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ และ (3) รายงานผลการปฏิบัติงานต่อคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ เพื่อเสนอให้ อว. นำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
3เนื่องจากพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ อว.ฯ มาตรา 37 บัญญัติให้การปรับรูปแบบองค์กรของ วช. เป็นองค์การมหาชนตามกฎหมายว่าด้วยองค์การมหาชน

5. เรื่อง รายงานความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG และการขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ ดังนี้

1. ความคืบหน้าการดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG

2. การขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG จากระยะเวลา 3 เดือน (1 กรกฎาคม - 30 กันยายน 2565) เป็นระยะเวลา 9 เดือน (1 กรกฎาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566)

สาระสำคัญของเรื่อง

อว. รายงานว่า

1. โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG เป็นการต่อยอดการดำเนินการจาก ?โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ? (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย)1 โดยจะใช้ข้อมูลจาก Thailand Community Big Data (TCD)2 ที่ได้ดำเนินการมาใช้ในการบ่งบอกถึงศักยภาพและความพร้อมของทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และความหลากหลายทางวัฒนธรรมของพื้นที่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนารายพื้นที่ ด้วยยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ BCG รวมถึงการเพิ่มและรักษาระดับการจ้างงานบัณฑิตและประชาชนในพื้นที่ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้

                              1.1 วัตถุประสงค์ : (1) เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาค             การผลิตและบริการด้าน BCG ในพื้นที่ ด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (2) เพิ่มการจ้างงานบัณฑิตจบใหม่และประชาชนในพื้นที่ (3) พัฒนากำลังคนให้มีทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงานในปัจจุบันและทักษะที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ BCG และ (4) พัฒนาฐานข้อมูล TCD ให้มีความสมบูรณ์ครอบคลุมในทุกพื้นที่ของประเทศ

1.2 กลุ่มเป้าหมาย : ได้แก่ บัณฑิตใหม่ ไม่เกิน 5 ปี ผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชนในพื้นที่ ครอบคลุม 7,435 ตำบล ทั่วประเทศ (ตำบลพื้นที่ที่เคยดำเนินการ ?โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ? จำนวน 3,000 ตำบล และตำบลพื้นที่ใหม่ จำนวน 4,435 ตำบล)

                              1.3 ระยะเวลาดำเนินโครงการ : 3 เดือน เริ่มดำเนินการ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม -                      30 กันยายน 2565

1.4 กิจกรรมหลัก

                                        (1) กิจกรรมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่เป้าหมายเพื่อเป็นการพัฒนา ส่งเสริม ผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการด้าน BCG ของชุมชนออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เช่น                 1) การพัฒนาสินค้าและบริการชุมชนให้ได้มาตรฐานด้วยองค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม 2) การทำการตลาดและขายสินค้าในรูปแบบ online/offline ทั้งในประเทศและต่างประเทศ 3) การพัฒนาบรรจุภัณฑ์หรืออัตลักษณ์ของสินค้า/บริการ ให้มีความโดดเด่น น่าสนใจ และสามารถกระจายสินค้าได้อย่างกว้างขวาง
                                        (2) การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) และส่งเสริมการใช้ประโยชน์และสนับสนุนการจัดทำข้อมูล TCD ให้สมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ และ               การถ่ายทอดการใช้ประโยชน์จาก TCD ให้ผู้ที่จะใช้ประโยชน์ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชน

1.5 การบริหารงบประมาณ :

                                        (1) งบประมาณสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG รวมทั้งสิ้น 965.58 ล้านบาท ในพื้นที่ตำบลเดิม จำนวน 322.50 ล้านบาท (จำนวน 107,500 บาท/ตำบล) พื้นที่ตำบลใหม่ จำนวน 643.07 ล้านบาท (จำนวน 145,000 บาท/ตำบล) โดยใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการจัดประชุม หรือ                   จัดกิจกรรม การถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการผลิตสินค้าและบริการ เพื่อส่งเสริมการสร้างอัตลักษณ์ การสร้าง Brand การส่งเสริมการตลาด ตลอดจนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง วัสดุใช้สอย และค่าบริหารจัดการ
                                        (2) งบประมาณค่าตอบแทนสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ (การจ้างงาน)                     รวมทั้งสิ้น 2,460.60 ล้านบาท ตลอดโครงการ ในพื้นที่ตำบลเดิม จำนวน 864.00 บาท [วงเงิน 288,000 บาท/ตำบล สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 8 คน/ตำบล (บัณฑิตจบใหม่ ไม่เกิน 5 ปี จำนวน 4 คน/ตำบล คนละ 45,000 บาท และผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชน จำนวน 4 คน/ตำบล คนละ 27,000 บาท)] และพื้นที่ตำบลใหม่ จำนวน 1,596.6 ล้านบาท [วงเงิน 360,000 บาท/ตำบล สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 10 คน/ตำบล (บัณฑิตจบใหม่                  ไม่เกิน 5 ปี จำนวน 4 คน/ตำบล คนละ 45,000 บาท และผู้ที่ถูกเลิกจ้าง/ประชาชน จำนวน 4 คน/ตำบล                            คนละ 27,000 บาท)]

(3) ค่าบริหารจัดการและกิจกรรมส่วนกลาง รวมทั้งสิ้น 139.66 ล้านบาท เช่น (1) การดำเนินการจัดทำ TCD และการจัดทำการวิเคราะห์ข้อมูล [ต่อยอดจากโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) ครอบคลุมพื้นที่ 7,435 ตำบลทั่วประเทศ] จำนวน 10 ล้านบาท (2) การสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในฐานหน่วยดำเนินงานระดับจังหวัด จำนวน 10 ล้านบาท และ (3) การพัฒนา Platform เพื่อผลักดันผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform) จำนวน 70 ล้านบาท

2. ผลการดำเนินการ

2.1 ผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ จำนวน 64,428 คน คิดเป็นร้อยละ 94.26 จากเป้าหมาย 68,350 คน โดยแบ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ จำนวน 32,420 คน และประชาชน จำนวน 32,008 คน

2.2 กิจกรรมที่ดำเนินการในพื้นที่ รวม 15,631 โครงการ ดังนี้

พื้นที่          จำนวน (โครงการ)
ภาคกลาง          3,375
ภาคตะวันออก          1,035
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          5,632
ภาคเหนือ          3,329
ภาคใต้          2,260
                              2.3 สถาบันอุดมศึกษาที่รับผิดชอบในแต่ละพื้นที่ จำนวน 98 แห่ง ทำหน้าที่เป็น                       ผู้บูรณาการระบบ (System Integrator) ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ในพื้นที่ ให้มีการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
                              2.4 การใช้จ่ายงบประมาณ (ข้อมูล ณ วันที่ 10 กันยายน 2565) มีการใช้จ่ายงบประมาณ จำนวน 2,701.61 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 75.76 ของงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร (จำนวน 3,565.84 ล้านบาท) โดยในส่วนของงบประมาณส่วนที่เหลือสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมจะได้ประสานกับสำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง* เกี่ยวกับการขยายระยะเวลาและการเบิกจ่ายงบประมาณสำหรับการดำเนินการโครงการดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ การขยายระยะเวลาการดำเนินการโครงการดังกล่าวอีก 6 เดือน (1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566) จะเป็นการดำเนินการในส่วนของกิจกรรมที่จำเป็นที่ต้องดำเนินการภายหลังจากที่ได้ผลลัพธ์จากการดำเนินการในระยะเวลา 3 เดือน (กรกฎาคม - กันยายน 2565) ได้แก่ (1) การพัฒนา ส่งเสริมและผลักดันผลิตภัณฑ์และบริการ BCG ของชุมชนอย่างเป็นระบบและยั่งยืน                       (2) การพัฒนา Platform เพื่อผลักดันผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรมเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG ของ 7,435 ตำบล สู่การพัฒนาด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาดผ่านช่องทางการจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล (U2T Market Place Platform) (3) การจัดทำ TDC และการวิเคราะห์ข้อมูล และ (4) การติดตามและประเมินผลการดำเนินการโครงการ
1เป็นโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พ.ศ. 2563
2ฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชนรายตำบล เพื่อเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาความยากจนแบบมีเป้าหมายชัดเจน
*อว. แจ้งว่า จะดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2565 ไว้เบิกเหลื่อมปี ตามหนังสือ กค. ด่วนที่สุด ที่ กค 0402.5/ว138 ลงวันที่ 2 กันยายน 2565

6. เรื่อง รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต่อไป และให้สำนักงาน ก.พ.ร. รับข้อเสนอแนะของกระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    รายงานการพัฒนาระบบราชการ ประจำปี 2564 สรุปได้ดังนี้
                    1. ส่วนที่ 1 ข้อมูลภาพรวมของสำนักงาน ก.พ.ร.
                              1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการที่สำนักงาน ก.พ.ร. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
                              1.2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ (พ.ศ. 2564 - 2565) และสรุปผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ ดังนี้
                                        (1) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบริการภาครัฐเพื่อประชาชน
                                        (2) ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย ยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลง
                                        (3) ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐ
                    2. ส่วนที่ 2 ข้อมูลผลการดำเนินงานที่สำคัญ ในแต่ละยุทธศาสตร์และการบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สรุปได้ดังนี้
                              2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาบริการภาครัฐเพื่อประชาชน
                                        (1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ฯ ประชาชนได้รับความสะดวกรวดเร็วในการติดต่อภาครัฐ ทุกภาคส่วนเข้าถึงบริการภาครัฐได้ง่ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และภาครัฐมีบริการที่เป็นมาตรฐานสากลและเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วม
                                        (2) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ มีการผลักดันการให้บริการภาครัฐผ่าน e-Service การเชื่อมโยงบริการภาครัฐแบบ End to End Service ผ่านแพลตฟอร์มกลาง
                              2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การปรับบทบาทภารกิจโครงสร้างหน่วยงานภาครัฐให้ทันสมัย ยืดหยุ่น รองรับการเปลี่ยนแปลง
                                        (1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ฯ ภาครัฐมีความทันสมัยมีขนาดที่เหมาะสมกับบทบาทภารกิจ และการบริหารเชิงพื้นที่มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วม
                                        (2) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ การทบทวนบทบาทภารกิจ/ยุบเลิกภารกิจ/ถ่ายโอนภารกิจให้ภาคส่วนอื่น การพัฒนาแนวทางการจัดโครงสร้าง และรูปแบบที่หลากหลาย การมีระบบประเมิน                    ความเหมาะสม ความมีประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าในการจัดส่วนราชการและองค์การมหาชน
                              2.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานภาครัฐ
                                        (1) ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดยุทธศาสตร์ฯ การมุ่งสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล                  มีฐานข้อมูลและเป็นภาครัฐที่เปิดกว้าง และส่วนราชการมีรูปแบบการทำงานที่รองรับการเปลี่ยนแปลง
                                        (2) ผลการดำเนินงานที่สำคัญ การพัฒนาการเป็นภาครัฐระบบเปิด                           (Open Government) การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการ การสร้างผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางยุทธศาสตร์ในหน่วยงาน
                              2.4 การบริหารจัดการของภาครัฐในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                                        (1) การออกมาตรการรับมือและบรรเทาผลกระทบสำหรับผู้มาติดต่อราชการ                รวม 90 กระบวนงาน เช่น กรมสรรพากรขยายระยะเวลายื่นแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรมขนส่งทางบกขยายระยะเวลาการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตขับรถ
                                        (2) การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของส่วนราชการ เช่น การทำงานออนไลน์ การให้บริการประชาชนด้วย e-Service
                                        (3) การบริหารจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของจังหวัด มีข้อเสนอแนะเพื่อให้จังหวัดสามารถพัฒนาการดำเนินการได้ดียิ่งขึ้น อาทิ การบูรณาการ              การทำงานระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่ เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางการสั่งการ (Command Center) การบริหารงบประมาณในระดับพื้นที่สามารถโอนเปลี่ยนแปลงงบประมาณแก้ไขภาวะวิกฤต

7. เรื่อง ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000                    (One Map) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ และให้นำไปใช้กับทุกกล่มจังหวัด เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน
                     2. เห็นชอบผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน                    1 : 4000 (One Map) (แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ) พื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครสรรค์ ระยอง (ยกเว้นกรณีพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาแหลมหญ้า ? หมู่เกาะเสม็ด) ลพบุรี ศรีสะเกษ และสระบุรี และให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ในความรับผิดชอบปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลาการดำเนินการต่อคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) ได้ตามเหตุผลความจำเป็นแต่ไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้ หากมีผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ให้ คทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาตามข้อ 1 อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                     3. รับทราบผลการดำเนินการกรณีแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 เกี่ยวกับพื้นที่ป่าไม้ถาวร โดยให้กรมพัฒนาที่ดินเร่งดำเนินการเสนอเรื่องให้คณะกรรมการพัฒนาที่ดินพิจารณา ผลเป็นประการใดให้ สคทช. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     1. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการ มาตราส่วน 1 : 4000 (One Map) (แผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ) ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 จำนวน 11 จังหวัด มาเพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ซึ่งสืบเนื่องมาจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2565 ที่คณะรัฐมนตรีไม่มีมติให้ความชอบการดำเนินการปรับปรุงแผนที่              แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ของพื้นที่กลุ่มที่ 2 ดังกล่าวตามที่ สคทช. เสนอโดยให้รับความเห็นของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายสันติ พร้อมพัฒน์) ที่เห็นควรให้ สคทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะร่วมกันพิจารณากำหนดแนวทางการดำเนินการกรณีแนวเขตที่ดินของรัฐซ้อนทับกับแนวเขตที่ดินที่มีเอกสารสิทธิหรือมีการเข้าครอบครองทำประโยชน์อยู่ให้ได้ข้อยุติ รวมทั้งพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาและบรรเทาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อประชาชนให้ชัดเจนด้วย และเห็นควรให้คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (คทช.) พิจารณาแนวทางการดำเนินการ กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 [เรื่อง การจำแนกประเภทที่ดินจังหวัดขอนแก่น (เฉพาะแห่ง)] ให้ได้ข้อยุติ ในคราวนี้ คทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการตามความเห็นข้างต้นแล้ว
                     2. ผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ กลุ่มที่ 2 จำนวน                 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครสรรค์ ระยอง ลพบุรี ศรีสะเกษ และสระบุรี พื้นที่รวมทั้งสิ้น 18,954,338.29 ไร่ ซึ่ง สคทช. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเพิ่มเติมให้หน่วยงานที่มีที่ดินอยู่ในความรับผิดชอบ ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามผลการดำเนินการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ดังกล่าว ให้แล้วเสร็จภายใน 360 วัน โดยอาจขอขยายระยะเวลา                  การดำเนินการต่อ คทช. ได้ตามเหตุผลความจำเป็น แต่ไม่เกิน 180 วัน ทั้งนี้ หากมีผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีดังกล่าว ให้ คทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาตามข้อ 3. อย่างถูกต้อง รวดเร็ว เหมาะสม ตามควรแก่กรณี โดยเป็นไปตามกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
                     3. ในส่วนของแนวทางการดำเนินการกรณีแนวเขตที่ดินของรัฐซ้อนทับกับแนวเขตที่ดินที่มีเอกสารสิทธิหรือมีการเข้าครอบครองทำประโยชน์อยู่ คทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐ ซึ่งหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินของรัฐทั้ง 9 หน่วยงาน ได้จัดทำข้อเสนอแนวทางดังกล่าวขึ้น มีสาระสำคัญ เช่น (1) ยืนยันหลักการว่าการดำเนินโครงการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการฯ ไม่ได้เป็นการยกเลิกเพิกถอนเอกสารสิทธิ หรือสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายที่ดินของประชาชนแต่อย่างใด (2) กรณีมีประชาชนได้รับผลกระทบหรือได้รับความเดือดร้อนจากการดำเนินการ หน่วยงานที่มีที่ดินของรัฐอยู่ในความรับผิดชอบและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่จะต้องบูรณาการการแก้ไขปัญหาให้เป็นที่ยุติโดยเร็วและดำเนินการเสนอขอปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการตามตารางแนวทางการพิจารณาการแก้ไขผลกระทบต่อประชาชนจากการปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแบบบูรณาการของทั้ง 9 หน่วยงาน ซึ่งมีลักษณะเป็นแนวทางปฏิบัติในการพิสูจน์สิทธิ แนวทางการบูรณาการการตรวจสอบแปลงที่ดินที่หน่วยงานรับผิดชอบซ้ำซ้อน (3) แนวทางการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบด้วยวิธีการอื่น (เช่น การอนุญาตให้เข้าใช้ประโยชน์อยู่อาศัย/ทำกินแบบแปลงรวมโดยมิให้เอกสารสิทธิ การจัดให้เช่า การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ในที่ดิน) และ (4) การเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สิทธิในที่ดิน สคทช. จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับประชาชนจากการดำเนินงานปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐในคราวนี้ด้วย และให้นำไปใช้กับทุกกลุ่มจังหวัด เพื่อให้เป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเดียวกัน
                     4. ในส่วนแนวทางการดำเนินการ กรณีพื้นที่กันออกจากป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ที่ทับซ้อนกับป่าไม้ถาวร ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 นั้น สคทช. ได้เสนอความคืบหน้าในเรื่องนี้มาให้คณะรัฐมนตรีรับทราบด้วย โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือแล้วได้ข้อสรุปว่าพื้นที่ที่กันออกหรือเพิกถอนนั้นไม่เป็นพื้นที่ป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 และ คทช. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 กันยายน 2565 ได้รับทราบมติคณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน [รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานอนุกรรมการ] ในคราวประชุม ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ที่มอบหมายให้กรมพัฒนาที่ดิน โดยคณะกรรมการพัฒนาที่ดินทำความเห็นเสนอเรื่องให้ สคทช. เพื่อประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาทบทวน หรือยืนยันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2533 ให้มีความชัดเจนต่อไป

8. เรื่อง การแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอิน จำกัด ข้อ 10 และการแก้ไขชื่อคู่สัญญาร่วมทุนตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอดังนี้
                     1. ให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจัดตั้ง บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ข้อ 10                จากเดิมที่ระบุว่า ??คณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะต้องประกอบด้วยกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย โดยจำนวนสัดส่วนของกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน โดยมีอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่งและเป็นประธานกรรมการด้วย?              เป็น ??คณะกรรมการบริษัท ซึ่งจะต้องประกอบด้วยกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย โดยจำนวนสัดส่วนกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน โดยเป็นผู้แทนจาก อก. 2 คน และผู้แทนจากกระทรวงการคลัง (กค.) 1 คน เป็นกรรมการโดยผู้แทนจาก อก. เป็นประธานกรรมการ?
                     2. ให้มีการแก้ไขชื่อคู่สัญญาร่วมทุนจากเดิม ?บริษัท บวรกิจร่วมทุนจำกัด? เป็น ?บริษัท                   สนิทเสถียร จำกัด?
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     อก. รายงานว่า
                     1. โรงงานกระดาษบางปะอินก่อตั้งขึ้นโดย บริษัท ส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติ จำกัด ตั้งแต่ปี 2498 เพื่อผลิตกระดาษใช้ภายในประเทศและส่งเสริมการใช้วัตถุดิบภายในประเทศซึ่งต่อมาเมื่อมีการยุบเลิกบริษัท ส่งเสริมเศรษฐกิจแห่งชาติฯ ในวันที่ 30 กันยายน 2511 จึงได้โอนกิจการโรงงานมาขึ้นในสังกัดกรมโรงงานอุตสาหกรรม อก. เพื่อเป็นกลไกในการรักษาระดับราคาการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และปัจจัยในการแก้ไขปัญหาด้านแรงงานแห่งชาติ แต่ผลการดำเนินการของโรงงานกระดาษบางปะอินขาดทุนติดต่อกันมาหลายปี ในปี 2527 อก. จึงมีนโยบายที่จะให้มีการแปรสภาพโรงงานกระดาษบางปะอินโดยให้เอกชนเข้าร่วมถือหุ้นและบริหารงานโรงงานกระดาษบางปะอิน เพื่อให้มีการปรับปรุงการบริหารงานและความคล่องตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางธุรกิจและเพื่อการขยายกำลังการผลิตให้มีความเหมาะสมทางเศรษฐกิจจึงได้เกิดสัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ขึ้นตาม        มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2529 โดยเป็นการร่วมทุนระหว่าง บริษัท บวรกิจร่วมทุนฯ กับ อก.                ตามสัญญาร่วมทุน ลงที่ 31 มีนาคม 2530 ในสัญญาดังกล่าวระบุให้ฝ่ายรัฐถือหุ้นในอัตราร้อยละ 30 และ                    ฝ่ายเอกชนถือหุ้นในอัตราร้อยละ 70 ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของบริษัทที่จัดตั้งขึ้น และฝ่ายรัฐยินยอมให้ฝ่ายเอกชนร่วมเป็นผู้บริหารของบริษัท นอกจากนี้ตามข้อ 10 ของสัญญากำหนดให้บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ                    บางปะอินฯ มีกรรมการฝ่ายรัฐไม่น้อยกว่า 3 คน โดยกำหนดให้อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง รวมทั้งกำหนดให้เป็นประธานกรรมการด้วย (บริษัทดังกล่าวมีกรรมการทั้งหมด 10 คน)
                     2. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) กำหนดให้มีการประชุมเพื่อหารือในประเด็นที่นายกรัฐมนตรีได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการดำเนินงานของ บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ จำนวน 2 ประเด็น ดังนี้
ประเด็น          ข้อสั่งการรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม)
ประเด็นที่ 1 ขณะนี้บริษัทไม่สามารถดำเนินงานได้ เนื่องจากอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งเป็นประธานกรรมการบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ (เป็นไปตามสัญญาร่วมทุนข้อ 10) ได้ขอหยุดปฏิบัติหน้าที่ประธานกรรมการ ตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) ได้ออกประกาศกำหนดตำแหน่งที่ห้ามมิให้ดำเนินกิจการตามความในมาตรา 126 และมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 เพื่อป้องกันในเรื่องผลประโยชน์ขัดกัน และตำแหน่งอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเป็นตำแหน่งที่ถูกห้ามตามประกาศคณะกรรมการ ป.ป.ช ดังกล่าว
หมายเหตุ : อก. ได้หารือไปยังคณะกรรมการ ป.ป.ช. เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว ซึ่งคณะกรรมการ ป.ป.ช. แจ้งว่า อก. ควรพิจารณาว่ายังคงมีความจำเป็นที่อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรมเข้าไปเป็นประธานกรรมการและกรรมการบริษัทหรือไม่ ซึ่งต้องพิจารณาทบทวนหลักการและเหตุผลภายใต้เงื่อนไขของกฎหมายเพื่อมิให้ขัดแย้งต่อบทบัญญัติมาตรา 126 และมาตรา 127 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561
ประเด็นที่ 2 อก. ไม่สามารถดำเนินการซื้อขายที่ดินราชพัสดุอันเป็นที่ตั้งโรงงานให้กับบริษัทตามที่สัญญาร่วมทุนกำหนดได้ (เป็นไปตามสัญญาร่วมทุนข้อ 4) ซึ่งกรมธนารักษ์ได้ชี้แจงว่าเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทำการขายที่ดินราชพัสดุดังกล่าวให้บริษัทได้ เนื่องจากเดิมกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ซึ่งเป็นกฎหมายที่บังคับใช้ในขณะทำสัญญากำหนดว่าการขายที่ดินราชพัสดุจะต้องกระทำโดยวิธีประมูลเพียงประการเดียว แต่ต่อมา กค. ได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยปัจจุบันที่ราชพัสดุสามารถทำการซื้อขายได้ตามกฎกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ราชพัสดุที่มิใช่ที่ดินที่เป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะ พ.ศ. 2550 โดยอนุญาตให้สามารถขายที่ราชพัสดุโดยวิธีอื่นที่ไม่ต้องใช้วิธีประมูลได้ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมากรมธนารักษ์และบริษัทโรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากบริษัทต้องการซื้อที่ดินในราคา ณ วันลงนามในสัญญา ตามที่สัญญาข้อ 4 ระบุ แต่กรมธนารักษ์เห็นว่าราคาดังกล่าวแตกต่างกับราคาปัจจุบันมาก ต่อมาบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ จึงได้ยื่นฟ้อง อก. กค. และกรมธนารักษ์ต่อศาลแพ่ง และศาลแพ่งได้มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2563 ว่า สัญญาข้อ 4 ดังกล่าวเป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้นเป็นการแตกต่างกับกฎกระทรวง ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525) ออกตามความในพระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2518 ข้อตกลงตามสัญญาร่วมทุนดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่เสียเปล่ามาแต่ต้น ไม่มีผลใด ๆ ทางกฎหมาย ตกเป็นโมฆะ ซึ่งต่อมาบริษัทได้อุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์           ในเรื่องตำแหน่งประธานบริษัทฯ เห็นสมควรให้ อก. ไปเจรจากับคู่สัญญาฝ่ายเอกชน ให้มีการแก้ไขสัญญาจัดตั้งฯ เพื่อให้ไม่ขัดต่อข้อกฎหมายและคำแนะนำของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ซึ่งอาจเป็นการระบุให้มีผู้แทน อก. เข้าไปเป็นประธานและกรรมการในบริษัทฯ และอาจมีผู้แทน กค. ในฐานะหน่วยงานที่ดูแลจัดการทรัพย์สินของรัฐเข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย หากคู่สัญญาเห็นชอบในแนวทางแก้ไขให้ อก. นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบเพื่อการแก้ไขสัญญาต่อไป นอกจากนี้ได้มอบหมายให้ อก. และ กค. พิจารณาในประเด็นความจำเป็นและเหมาะสมต่อสภาวการณ์ว่า รัฐยังควรเข้าไปถือหุ้นในกิจการของบริษัทเพื่อดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมกระดาษนี้ต่อไป หรือไม่ หรือจะขายหุ้นของรัฐออกไปแล้วเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาด้วย โดยให้ อก. เร่งดำเนินการและรายงานความคืบหน้าเป็นระยะในเรื่องการซื้อขายที่ดิน 493 ไร่ ที่บางปะอินนั้นเห็นว่าเมื่อได้มีการนำคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลแล้วและยังมิได้มีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงควรให้เป็นการดำเนินกระบวนคดีระหว่างคู่ความในชั้นศาลก่อนหรือจะใช้วิธีเจรจาตกลงระหว่างกรมธนารักษ์กับฝ่ายเอกชนก็ได้
                     3. ต่อมา บริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ได้แจ้งว่าตามที่รองนายกรัฐมนตรี                (นายวิษณุ เครืองาม) ได้สั่งการให้พิจารณาให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ข้อ 10 เรื่องประธานและกรรมการ ซึ่งผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทได้ร่วมหารือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้ว โดยบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษ                  บางปะอินฯ ขอให้พิจารณา ดังนี้
                               3.1 แก้ไขสัญญาร่วมทุนฯ ข้อ 10 เป็น ?คณะกรรมการบริษัทซึ่งจะต้องประกอบด้วยกรรมการที่มาจากการเสนอชื่อของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย โดยจำนวนสัดส่วนกรรมการนั้นให้เป็นไปตามสัดส่วนของจำนวนหุ้นที่ถือ ทั้งนี้ จำนวนกรรมการฝ่ายรัฐต้องมีไม่น้อยกว่า 3 คน โดยเป็นผู้แทนจาก อก. 2 คน และผู้แทนจาก กค. 1 คน เป็นกรรมการ โดยผู้แทนจาก อก. เป็นประธานกรรมการ?
                               3.2 ขอให้พิจารณาโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาร่วมทุนและแก้ไขชื่อให้ บริษัท สนิทเสถียร จำกัด เข้าเป็นคู่สัญญาฝ่ายเอกชนแทนบริษัท บวรกิจร่วมทุนฯ เนื่องจากบริษัท บวรกิจร่วมทุนฯ ได้โอนซื้อขายหุ้นบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ ให้กับบริษัทอื่นในกลุ่มเดียวกันโดยได้ควบรวมเป็นบริษัท สหหมิงฮั้วพาณิชย์ จำกัด และบริษัท สนิทเสถียรฯ ซึ่งเป็นบริษัทซึ่งมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่กลุ่มเดียวกับบริษัท สหหมิงฮั้วพาณิชย์ฯ ได้เข้ารับผิดชอบการบริหารงานของบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ มาตั้งแต่ปี 2548
                     4. ในส่วนของกรณีการดำเนินการในเรื่องนี้เข้าข่ายจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายว่าด้วยการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนหรือไม่ อก. ได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับดังกล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ตอบข้อหารือสรุปความได้ว่า สัญญาร่วมทุนจัดตั้งบริษัท โรงงานอุตสาหกรรมกระดาษบางปะอินฯ มีขึ้นก่อนที่พระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 จะใช้บังคับ และไม่เข้าข่ายลักษณะโครงการที่จะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน                 พ.ศ. 2556

9. เรื่อง การทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและสาขาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ของโรงแรม1 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้มีเงินทุนเพียงพอสำหรับ             การดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดยให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการขยายระยะเวลาการกู้เงิน จาก 7 ปี เป็น 10 ปี และให้ผู้ประกอบการ              รายย่อยสามารถเข้าร่วมโครงการได้ด้วย ไปพิจารณาดำเนินการ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กค. รายงานว่า
                    1. โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (Soft Loan) Re-Open ธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนสินเชื่อเพื่อเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019                  (โรคโควิด 19) เพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมสถานประกอบกิจการหรือลงทุนในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ โดยปัจจุบันธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวน 64 ราย จำนวน 124 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 2.48 ของวงเงินรวมทั้งหมด 5,000 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)
                    2. กค. เห็นว่า เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้น ทำให้มีเงินทุนในการฟื้นฟูธุรกิจและ             มีสภาพคล่องที่เพียงพอให้สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ และเพื่อให้ธนาคารออมสินมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์โครงการและนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่กลุ่มเป้าหมาย จึงเห็นควรทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565 โดยปรับปรุงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการดำเนินโครงการในส่วนของคุณสมบัติผู้กู้ วัตถุประสงค์การให้สินเชื่อ ระยะเวลาชำระเงินกู้ และระยะเวลารับคำขอสินเชื่อ สรุปได้ ดังนี้
หลักเกณฑ์และเงื่อนไข          หมายเหตุ
มติคณะรัฐมนตรี
วันที่ 26 กรกฎาคม 2565          ขอปรับปรุงหลักเกณฑ์ในครั้งนี้
1. คุณสมบัติผู้กู้
1.1 ผู้ประกอบการ SMEs ในธุรกิจโรงแรมและ Supply Chain ของโรงแรมที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศ ซึ่งมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียน ซึ่งได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั้งทางตรงและทางอ้อม          คงเดิม          -
1.2 กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมก่อนวันที่ 31 ธันวาคม 2563           กรณีเป็นผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมต้องมีใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมหรืออยู่ระหว่างดำเนินการขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรม          เพื่อให้การช่วยเหลือครอบคลุมผู้ประกอบการที่ยังอยู่ระหว่างยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงแรมด้วย
1.3 มีกำไรอย่างน้อย 1 ใน 3 ปีย้อนหลังล่าสุด          มีกำไรอย่างน้อย 1 ใน 5 ปีย้อนหลังล่าสุดและปัจจุบันยังประกอบกิจการอยู่          เพื่อให้ครอบคุลมผู้ประกอบการที่มีผลประกอบการดีก่อนสถานณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19
1.4 กรณีเป็นนิติบุคคล ส่วนของผู้ถือหุ้นต้องไม่ติดลบ          คงเดิม          -
1.5 ประวัติการชำระหนี้
          - ไม่เป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Non-Performing Loan: NPLs) ไม่ถูกดำเนินคดี ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ณ วันยื่นคำขอ
          - กรณีลูกหนี้ปกติ ไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ
          - กรณีลูกหนี้เคยปรับเงื่อนไขการชำระหนี้หรือเคยปรับโครงสร้างหนี้ที่ผ่านมา ต้องไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนวันยื่นขอเข้าโครงการ

ทั้งนี้ เป็นการให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance)           ประวัติการชำระหนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้
- กรณีมีประวัติการผ่อนชำระปกติต้องมีสถานะบัญชีปกติ2 ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ
- กรณีมีประวัติค้างชำระไม่เกิน 90 วัน ต้องมีสถานะบัญชีปกติ ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ
- กรณีมีประวัติเป็น NPLs ต้องอยู่ระหว่างปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ต้องผ่อนชำระได้ตรงตามเงื่อนไข และไม่มีหนี้ค้างชำระตามสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ณ วันที่ยื่นขอเข้าโครงการ

โดยต้องไม่ถูกดำเนินคดีและไม่เป็นบุคคลล้มละลาย ทั้งนี้ เป็นการให้สินเชื่อใหม่แก่ลูกค้าเดิมหรือลูกค้าใหม่ และไม่ใช่ลูกหนี้ที่โอนหนี้ (Refinance)           ปรับปรุงถ้อยคำและเพิ่มความชัดเจนในการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบการที่มีประวัติชำระหนี้ดี หรือมีหนี้ค้างชำระ และมีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้วแต่สามารถชำระหนี้ได้ เพื่อให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น
2. วัตถุประสงค์
เพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมสถานประกอบกิจการหรือลงทุนในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เป็นต้น          เพื่อปรับปรุงหรือซ่อมแซมสถานประกอบกิจการหรือลงทุนในอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องอบผ้า เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้าอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ          ขยายวัตถุประสงค์การให้สินเชื่อเพื่อให้ครอบคลุมถึงการให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการสำหรับเสริมสภาพคล่องในการดำเนินธุรกิจดังกล่าวด้วย
3. ประเภทสินเชื่อ
เงินกู้ระยะยาว (L/T)          คงเดิม          -
4. วงเงินโครงการ
5,000 ล้านบาท          คงเดิม          -
5. วงเงินสินเชื่อต่อราย
ไม่เกินรายละ 5 ล้านบาท          คงเดิม          -
6. ระยะเวลาชำระเงินกู้
ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 7 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปี ในกรณีที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป          - กรณีให้สินเชื่อเพื่อปรับปรุงซ่อมแซมสถานประกอบกิจการ และลงทุนในอุปกรณ์ต่าง ๆ ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 7 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 2 ปี ในกรณีที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
- กรณีให้สินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ ระยะเวลาการกู้ไม่เกิน 5 ปี โดยมีระยะเวลาปลอดชำระเงินต้น (Grace Period) ไม่เกิน 1 ปี 6 เดือน ในกรณีที่มีระยะเวลาการกู้ตั้งแต่ 1 ปี 6 เดือนขึ้นไป          -
7. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
ปีที่ 1 - 2 ร้อยละ 1.99 ต่อปี
ปีที่ 3 - 7 เป็นไปตามที่ธนาคารออมสินกำหนด          คงเดิม          -
8. หลักประกัน
(1) หลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มวงเงิน หรือ
(2) หลักทรัพย์ค้ำประกันร่วมกับบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) หรือ
(3) บสย. ค้ำประกันเต็มวงเงิน          คงเดิม          -
9. ระยะเวลาการยื่นขอสินเชื่อ
ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมด แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อนและให้เบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับจากวันทำนิติกรรมสัญญา ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม 2566          ตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 หรือจนกว่าวงเงินสินเชื่อรวมในโครงการจะหมด แล้วแต่ระยะเวลาใดจะถึงก่อนและให้เบิกจ่ายเงินกู้ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี นับจากวันทำนิติกรรมสัญญา ทั้งนี้ ไม่เกินวันที่ 30 ธันวาคม 2566           เพื่อให้สามารถช่วยเหลือผู้ประกอบการให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้อย่างทั่วถึงและต่อเนื่องมากขึ้น และเพื่อให้ธนาคารออมสินมีระยะเวลาในการประชาสัมพันธ์โครงการและนำเสนอผลิตภัณฑ์แก่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย รวมถึงให้ลูกค้ามีระยะเวลาจัดเตรียมเอกสารและเตรียมความพร้อมในการยื่นขอสินเชื่อ
10. การชดเชยจากรัฐบาล
รัฐบาลชดเชยต้นทุนเงินให้กับธนาคารออมสินในอัตราร้อยละ 2 ต่อปี เป็นระยะเวลา 2 ปี รวมทั้งสิ้นไม่เกิน 200 ล้านบาท (วงเงิน 5,000 ล้านบาท * ร้อยละ 2 ต่อปี * ระยะเวลา 2 ปี) โดยธนาคารออมสินจะทำความตกลงกับสำนักงบประมาณเพื่อขอรับการจัดสรรงบประมาณเป็นรายปีตามความเหมาะสมและความจำเป็นต้อไป          คงเดิม          -
11. เงื่อนไขอื่น ๆ
(1) ธนาคารออมสินแยกบัญชีโครงการเป็นบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ (Public Service Account : PSA)
(2) ธนาคารออมสินสามารถนำส่วนต่างระหว่างค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจริงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ได้รับชดเชยเพื่อบวกกลับในการคำนวณโบนัสประจำปีของพนักงานได้ และเป็นส่วนหนึ่งในการปรับตัวชี้วัดทางการเงินที่เกี่ยวข้องตามบันทึกข้อตกลงประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจได้
(3) ธนาคารออมสินสามารถกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติตามระเบียบคำสั่งของธนาคารได้          คงเดิม          -
ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดภาระงบประมาณเพิ่มขึ้น โดยยังอยู่ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณชดเชยเดิม รวมทั้งหลักเกณฑ์และเงื่อนไขอื่น ๆ ยังคงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของโครงการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2565
1 กค. แจ้งว่า ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (Supply Chain) ของโรงแรม หมายถึง ธุรกิจที่ผลิตสินค้าและบริการให้กับธุรกิจโรงแรม เช่น ร้านซักรีด ธุรกิจติดตั้งระบบไฟฟ้า/ระบบปรับอากาศ ธุรกิจจัดเลี้ยง (catering) เป็นต้น โดยธนาคารออมสินจะเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าธุรกิจใดบ้างที่เข้าข่ายเป็น Supply Chain ของธุรกิจโรงแรมดังกล่าว
2 เป็นสถานะบัญชีในรายงานข้อมูลเครดิตบูโร โดยสถานะบัญชีปกติ หมายถึง มีการชำระสินเชื่อตามปกติ จ่ายครบจ่ายตรงตามเงื่อนไข ไม่มียอดค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 30 วัน

10. เรื่อง การปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3              (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่ายระยะที่ 1 (คพจ.1)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอการปรับลดปริมาณงานภายใต้โครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 (คพจ.1) ในวงเงินลงทุนรวม 1,829.60 ล้านบาท ดังนี้
                    1. ปรับลดแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง 115 เควี จำนวน 5 แห่ง วงเงินลงทุนรวม 1,697.71 ล้านบาท (ภายใต้ คพส.9.3 และ คพจ.1)
                    2. ปรับลดปริมาณงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าที่มีการอนุมัติยกเลิกจัดซื้อแล้วจำนวน 10 แห่ง วงเงินลงทุนรวม 131.89 ล้านบาท (ภายใต้ คพจ.1)
                    เรื่องเดิม
                    1. คณะรัฐมนตรีมีมติ (3 พฤษภาคม 2554) อนุมัติในหลักการให้ มท. [การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)] ดำเนินงานโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 แบ่งออกเป็น 4 ส่วน1 วงเงินลงทุน 31,170 ล้านบาท โดยใช้จากเงินกู้ในประเทศ 23,374 ล้านบาท และเงินรายได้ของ กฟภ. 7,796 ล้านบาท และเห็นชอบการ    กู้ เงินในประเทศของโครงการดังกล่าว (ระยะเวลาดำเนินโครงการ ปี 2553 - 2558 มีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ เพิ่มประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้า และลดปัญหาด้านการปฏิบัติการ บำรุงรักษา และลดหน่วยสูญเสียของระบบไฟฟ้า)
                    2. คณะรัฐมนตรีมีมติ (1 พฤศจิกายน 2559) อนุมัติให้ กฟภ. ดำเนินโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 12 วงเงินลงทุน 62,678.71 ล้านบาท โดยให้ใช้เงินกู้ภายในประเทศ 47,009 ล้านบาท และเงินรายได้ กฟภ. 15,669.71 ล้านบาท และเห็นชอบให้ กฟภ. กู้เงินในประเทศภายในกรอบวงเงิน 47,009 ล้านบาท เพื่อเป็นเงินลงทุนของโครงการดังกล่าว โดย กฟภ. จะทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นจนกว่าโครงการจะแล้วเสร็จ (ระยะเวลาดำเนินโครงการ ปี 2559-2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและก่อสร้างสถานีไฟฟ้าให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเพียงพอ และเพิ่มขีดความสามารถและประสิทธิภาพของระบบส่ง และระบบจำหน่ายให้สามารถจ่ายไฟได้อย่างมีสิทธิภาพ ปลอดภัยสอดคล้องมาตรฐานสากล ปรับปรุงและเชื่อมโยงระบบจำหน่ายไฟฟ้าในพื้นที่ธุรกิจอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว แหล่งชุมชนต่าง ๆ ทั้งผู้ใช้ไฟฟ้ารายเดิม ผู้ใช้ไฟฟ้ารายใหม่ และพื้นที่สำคัญให้มีความมั่นคงของระบบไฟฟ้าสูงขึ้น)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. กฟภ. ได้ดำเนินโครงการพัฒนาระบบสายส่งและสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 และโครงการพัฒนาระบบส่งและจำหน่าย ระยะที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 และ 2 พฤศจิกายน 2559 และต่อมาคณะกรรมการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในการประชุมครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้ยกเลิกแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง 115 เควี 5 แห่ง ที่ไม่จำเป็นต้องดำเนินการภายในปี 2570 และยังไม่มีการผูกพันสัญญา (ภายใต้ คพส.9.3 และ คพจ.1) และงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าที่มีการอนุมัติยกเลิกจัดซื้อแล้ว 10 แห่ง (ภายใต้ คพจ.1) วงเงินลงทุนรวม 1,829.60 ล้านบาท เนื่องจากได้พิจารณาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พบว่า ค่าพยากรณ์ความต้องการใช้ไฟฟ้าในหลายพื้นที่มีความต้องการไฟฟ้าลดลง ทำให้พื้นที่นั้นเกิดปัญหาการจ่ายไฟฟ้า3 และความคุ้มค่าในการลงทุนจะเกิดขึ้นหลังปี 2570 สรุปได้ ดังนี้
                              1.1 ยกเลิกแผนงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง 115 เควี 5 แห่ง


เขต          โครงการ          ชื่อสถานีไฟฟ้า          ชนิด          รูปแบบ          เงินลงทุนรวม
(ล้านบาท)
กฟก.1          คพส.9.3          นวนคร 5          AIS4          H-Config (Outdoor)          241.47*
กฟก.2                    บางกะดี 2          GIS5          Double Bus Single Breaker          379.93*
หมายเหตุ : * เงินลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง
เขต          โครงการ          ชื่อสถานีไฟฟ้า          ชนิด          รูปแบบ          เงินลงทุนรวม
(ล้านบาท)
กฟก.1          คพจ.1          บ้านเลน 3                               440.59*
กฟต.2                    ป่าตอง 2                               431.87*
กฟก.3                    สมุทรสาคร 14          MTS6          H-Config (Outdoor)          203.85*
หมายเหตุ : * เงินลงทุนก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและสายส่ง
                              1.2 ยกเลิกงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้า 10 แห่ง
เขต          โครงการ          ชื่อสถานีไฟฟ้า          ชนิด          เงินลงทุนรวม (ล้านบาท)
กฟก.1          คพจ.1          รังสิต 3          ซื้อที่ดินล่วงหน้า          17.56
กฟก.1                    หนองปลิง 2                    19.21
กฟก.2                    ชลบุรี 6                    17.56
กฟก.2                    บางแสน 3                     11.17
กฟก.2                    พัทยาเหนือ 3                     17.56
กฟก.2                    ระยอง 5                    11.17
กฟก.2                    แหลมสิงห์                     11.17
กฟก.3                    นครปฐม 4                     17.56
กฟต.2                    ดอกสัก                    6.21
กฟฉ.1                    สุวรรณคูหา                    2.72
                    2. ความคืบหน้าและผลการเบิกจ่ายงบประมาณโครงการฯ ณ เดือนมีนาคม 25657 สรุปได้ ดังนี้
โครงการ          ร้อยละการเบิกจ่าย
และเงินลงทุน          ระยะเวลาดำเนินการ          ร้อยละของ
การดำเนินงาน
ทั้งโครงการ
โครงการพัฒนาระบบสายส่ง
และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 1          89.82
(6,341.40 ล้านบาท)          ปี 2554 - 2566
(ตามปีงบประมาณ           90.03
โครงการพัฒนาระบบสายส่ง
และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 2          82.16
(3,730.07 ล้านบาท)          ปี 2554 - 2566
(ตามปีงบประมาณ)           81.51
โครงการพัฒนาระบบสายส่ง
และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 3          83.44
(12,587.18 ล้านบาท)          ปี 2554 - 2567
(ตามปีงบประมาณ)          84.83
โครงการพัฒนาระบบสายส่ง
และสถานีไฟฟ้า ระยะที่ 9 ส่วนที่ 4          86.66
(3,886.74 ล้านบาท)          ปี 2554 - 2567
(ตามปีงบประมาณ)          80.32
โครงการพัฒนาระบบส่ง
และจำหน่าย ระยะที่ 1          66.78
(41,856.02 ล้านบาท)          ปี 2559 - 2567
(ตามปีงบประมาณ)           47.85
1 ส่วนที่ 3 (คพส.9.3) : ภาคกลาง โดยการไฟฟ้าภาคกลาง เขต 1 (กฟก.1) จะมีการก่อสร้างสถานีไฟฟ้า จำนวน  18 แห่ง ซึ่งรวมถึงสถานีไฟฟ้าบางกะดี                2 จังหวัดปทุมธานี และสถานีไฟฟ้านวนคร 5 จังหวัดปทุมธานีด้วย
2 ปริมาณงานก่อสร้างสถานีไฟฟ้าและระบบสายส่ง (คพจ.1) รวม 61 แห่ง ซึ่งรวมถึงการก่อสร้างสถานีไฟฟ้าบ้านเลน 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สถานีไฟฟ้าป่าตอง 2 จังหวัดภูเก็ต และสถานีไฟฟ้าสมุทรสาคร 14 จังหวัดสมุทรสาคร และงานจัดซื้อที่ดินล่วงหน้าในโครงการ คจพ.1 จำนวน 54 แห่ง
3 เมื่อความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลง หมายความว่าสถานีไฟฟ้าที่ กฟภ. มีอยู่ในปัจจุบันมีความเพียงพอที่จะจ่ายไฟให้กับผู้ใช้ไฟฟ้าจนสิ้นสุดปีพยากรณ์ที่ปี 2580 (ตามยุทธศาสตร์ชาติ) จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องก่อสร้างสถานีไฟฟ้าเพิ่มในพื้นที่นั้น
4 Air Insulated Switchgear (AIS) เป็น Switchgear ที่มีอากาศเป็นฉนวนระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์และอุปกรณ์กับ Ground ใช้พื้นที่ติดตั้งมาก                  นิยมติดตั้งเป็นแบบ Outdoor
5 Gas Insulated Switchgear (GIS) เป็น Switchgear ที่มี Gas SF6 เป็นฉนวนระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์และอุปกรณ์กับ Ground ใช้พื้นที่ติดตั้งน้อย นิยมติดตั้งเป็นแบบ Indoor
6 Mixed Technology Switchgear (MTS) เป็น Switchgear ที่รวมประโยชน์ของแบบ AIS และ GIS เข้าด้วยกัน โดยใช้อากาศและก๊าซ SF6 เป็นฉนวน ระหว่างอุปกรณ์กับอุปกรณ์และอุปกรณ์กับ Ground
7 เป็นข้อมูลจากรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ ฉบับที่ 44 สถานะเดือนมีนาคม 2565 ทั้งนี้ มท. โดย กฟภ. ได้ปรับปรุงข้อมูล ณ เดือนกันยายน 2565 เป็นข้อมูลที่ได้รับจากการประสานงานอย่างไม่เป็นทางการ (ซึ่งมิได้ระบุในเอกสารรายงานที่เสนอคณะรัฐมนตรี)

11. เรื่อง (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2566 - 2580)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (นโยบายและแผนฯ) (พ.ศ. 2566 - 2580) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) เสนอ
                    (ร่าง) นโยบายและแผนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. หลักการ
1.1 วัตถุประสงค์ มี 3 ประการ
1) เพื่อเป็นกรอบนโยบายและทิศทางในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศอย่างบูรณาการในระยะ 15 ปีข้างหน้า
2) เพื่อให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินระยะกลาง (5 ปี) และสามารถนำไปขับเคลื่อนในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศเป็นไปอย่างเหมาะสม เป็นไปในเชิงรุก และมีประสิทธิภาพ
3) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ โดยคำนึงถึงมิติทางด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และความมั่นคงของประเทศ รวมถึงสามารถสร้างความสมดุลและยั่งยืนในการพัฒนาประเทศ
1.2 หลักการสำคัญในการกำหนดนโยบาย ประกอบด้วย
1) หลักธรรมาภิบาลที่มุ่งให้เกิดความยั่งยืนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2) หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่มุ่งเน้นการวางรากฐานของสังคมให้พึ่งพาตนเองได้และเกิดความมั่นคงสามารถต่อยอดสู่การพัฒนาเศรษฐกิจที่สร้างความเจริญเติบโตให้กับประเทศอย่างมั่นคั่ง
3) หลักการอนุรักษ์ดินและน้ำเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดการใช้ประโยชน์สูงสุดบนพื้นที่ดิน มีความยั่งยืน โดยเลือกวิธีการผสมผสานมาตรการให้เหมาะสมเพื่อให้การทำการเกษตรเกิดความยั่งยืน
4) หลักการบริหารจัดการเชิงระบบนิเวศที่มุ่งเน้นให้เกิดความสมดุล การแบ่งปันการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติอย่างเท่าเทียมกัน
5) หลักการระวังไว้ก่อนที่มุ่งเน้นการจัดการเชิงรุกที่เน้นการป้องกันผลกระทบ โดยการสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6) หลักภูมิสังคมที่มุ่งเน้นการพัฒนาตามสภาพความเป็นจริงของภูมิประเทศ ลักษณะของพื้นที่ วิถีชีวิต ค่านิยม ความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยคำนึงถึงความพร้อมของทุกคนในสังคม
7) หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนที่มุ่งเน้นการร่วมคิด ร่วมแก้ไขปัญหา ร่วมตัดสินใจ และร่วมกันพัฒนาที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
8) หลักการพัฒนาที่ยึดคนเป็นศูนย์กลางเพื่อให้เกิดภาวะยั่งยืน เกิดความสมดุลซึ่งจะนำไปสู่การสร้างสังคมที่พึงปรารถนา
9) หลักการพัฒนาที่ยั่งยืนที่มุ่งเน้นการคำนึงถึงขีดจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติควบคู่ไปกับการอนุรักษ์และ                ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างสมดุลของการพัฒนาทั้ง 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน มิติด้านการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และมิติด้านการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
10) หลักการพัฒนาที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับวัตถุประสงค์และผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงานทั้งในแง่ของผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) และความคุ้มค่าของเงิน (Value for Money)
1.3 วิสัยทัศน์
การบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด สมดุล เป็นธรรม และยั่งยืน
1.4 พันธกิจ มี 4 ประการ
1) สงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐ และอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่ป่าเพื่อรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ
2) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
3) กระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม และส่งเสริมการจัดที่ดินทำกินให้ประชาชน
4) เพิ่มศักยภาพกลไก เครื่องมือ องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
1.5 เป้าประสงค์ มี 4 ประการ
1) แนวเขตที่ดินของรัฐมีความชัดเจน รวมถึงเพิ่มและรักษาพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ให้มีสัดส่วนร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศ เป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
2) ที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศมีการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อเป็นฐานในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
3) การกระจายการถือครองที่ดินของประเทศมีการกระจายตัวมากขึ้น และประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินมีคุณภาพชีวิตที่ดี
4) มีกลไก เครื่องมือ องค์ความรู้ ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศที่มีประสิทธิภาพ
                    2. นโยบายหลัก 4 ด้าน 19 ตัวชี้วัด 11 แนวทางการพัฒนาหลัก และ 17 แผนงานที่สำคัญ มีดังนี้
ประเด็นนโยบายที่ 1 การสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ และการรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : กระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และ สคทช.
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสงวนหวงห้ามและบริหารจัดการที่ดินของรัฐในภาพรวมและมุ่งเน้นการอนุรักษ์ ดูแลรักษา และฟื้นฟูพื้นที่ป่าธรรมชาติและป่าเศรษฐกิจเพื่อการใช้ประโยชน์ของประเทศให้มีความอุดมสมบูรณ์และรักษาความสมดุลทางธรรมชาติ เพื่อเป็นฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งหวังเพื่อให้แนวเขตที่ดินของรัฐมีความชัดเจน การบริหารจัดการที่ดินของรัฐเกิดประสิทธิภาพ รวมทั้งทรัพยากรธรรมชาติเกิดความสมดุลและยั่งยืน ประชาชนได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศ โดยมีการดำเนินงานภายใต้ 5 ตัวชี้วัด 3 แนวทางการพัฒนาหลัก และ 4 แผนงานที่สำคัญ ดังนี้
ตัวชี้วัด          แนวทางการพัฒนาหลัก          แผนงานที่สำคัญ
1. จำนวนพื้นที่ที่มีการจัดทำเส้นแนวเขตที่ดินของรัฐตามหลักเกณฑ์ One Map แล้วเสร็จ
2. ที่ดินของรัฐถูกบุกรุก (ลดลง)
3. ความสำเร็จของการพิสูจน์สิทธิเพื่อแก้ไขปัญหาข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน (เพิ่มขึ้น)
4. สัดส่วนของพื้นที่ป่าต่อพื้นที่ประเทศ (เพิ่มขึ้น)
5. ระดับความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่ป่า (คงเดิม/เพิ่มขึ้น)          1. การแก้ไขปัญหาความทับซ้อนเกี่ยวกับแนวเขตที่ดินของรัฐ
2. การป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
3. การอนุรักษ์ ดูแลรักษาและฟื้นฟูพื้นที่ป่าเพื่อรักษาความสมดุลทางธรรมชาติด้วยกระบวนการมีส่วนร่วม          1. แผนงานแก้ไขปัญหาแนวเขตที่ดินของรัฐและให้ความช่วยเหลือ                ผู้ได้รับผลกระทบ
2. แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
3. แผนงานพิสูจน์สิทธิในที่ดินของรัฐ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชน
4. แผนงานอนุรักษ์บริหารจัดการและฟื้นฟูพื้นที่ป่า
เป้าหมายระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เช่น ปรับปรุงแผนที่แนวเขตที่ดินของรัฐแล้วเสร็จ
เป้าหมายระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2571 - 2575) เช่น ความขัดแย้ง/ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐกับประชาชนลดลง และที่ดินของรัฐถูกบุกรุกน้อยลง
เป้าหมายระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2576 - 2580) เช่น พื้นที่ป่ามีสัดส่วนร้อยละ 50 ของพื้นที่ประเทศ
ผลลัพธ์สุดท้าย แนวเขตที่ดินของรัฐมีความชัดเจน และประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ทรัพยากรธรรมชาติมีความสมดุลและยั่งยืน และประชาชนได้รับประโยชน์จากระบบนิเวศและมีส่วนร่วม



ประเด็นนโยบายที่ 2 : การใช้ที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : กค. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม ทส. มท. กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนมีความเหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของดิน มีความสมดุล และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติและความมั่นคงของประเทศ ตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีการดำเนินงานภายใต้ 5 ตัวชี้วัด 3 แนวทางการพัฒนาหลัก และ 7 แผนงานที่สำคัญ ดังนี้
ตัวชี้วัด          แนวทางการพัฒนาหลัก          แผนงานที่สำคัญ
1. สัดส่วนของที่ดินที่มีการใช้ประโยชน์ไม่เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดิน และสมรรถนะของดิน (ลดลง)
2. สัดส่วนของที่ดินที่ถูกทิ้งร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ (ลดลง)
3. สัดส่วนของดินที่ได้รับการฟื้นฟูหรือพัฒนาคุณภาพเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ (เพิ่มขึ้น)
4. สัดส่วนของพื้นที่เกษตรกรรมที่มีการทำการเกษตรตามแนวทางเกษตรอย่างยั่งยืน (เพิ่มขึ้น)
5. สัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินตามกฎหมายผังเมือง (เพิ่มขึ้น)          1. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. การปรับปรุง ฟื้นฟู และพัฒนาคุณภาพดินให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเหมาะสม
3. การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินรายสาขาอย่างเหมาะสมตามศักยภาพ           1. แผนงานวางแผนและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน
2. แผนงานฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพดิน
3. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพฐานการผลิตภาคเกษตร
4. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการชุมชนเมืองและชนบท
5. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรม การบริการ การท่องเที่ยว และโครงสร้างพื้นฐาน
6. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล แม่น้ำ และปากแม่น้ำ
7. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่เฉพาะและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษ
เป้าหมายระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เช่น ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการฟื้นฟู/พัฒนาให้มีคุณภาพดีขึ้น
เป้าหมายระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2571 - 2575) เช่น ที่ดินที่ถูกทิ้งร้างหรือไม่ได้ใช้ประโยชน์ของประเทศลดลง
เป้าหมายระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2576 - 2580) เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน เช่น การเกษตร ภาคอุตสาหกรรม การบริการ การท่องเที่ยว โครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่เฉพาะและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ผลลัพธ์สุดท้าย การใช้ประโยชน์เหมาะสมกับศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดินเกิดประโยชน์ต่อสังคม เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และความมั่นคงของประเทศ

ประเด็นนโยบายที่ 3 : การกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : กค. กษ. ทส. มท. สคทช. สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน)

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการกระจายการถือครองที่ดินด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม รวมถึงการจัดที่ดินทำกิน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ที่ได้รับการจัดที่ดินทำกินให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยมีการดำเนินงานภายใต้ 4 ตัวชี้วัด 2 แนวทางการพัฒนาหลัก และ 3 แผนงานที่สำคัญ ดังนี้



ตัวชี้วัด          แนวทางการพัฒนาหลัก          แผนงานที่สำคัญ
1. สัดส่วนผู้ยากไร้ไม่มีที่อยู่อาศัยหรือที่ดินทำกิน (ลดลง)
2. ระดับรายได้ของผู้ได้รับการจัดที่ดิน (เพิ่มขึ้น)
3. ระดับความพึงพอใจของผู้ได้รับการจัดที่ดินทำกิน (เพิ่มขึ้น)
4. สัดส่วนการถือครองที่ดินของประเทศมีการกระจายตัว (เพิ่มขึ้น)          1. การยกระดับเครื่องมือและกลไกกำกับควบคุมการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
2. การจัดที่ดินทำกินให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน           1. แผนงานยกระดับเครื่องมือและกลไกกระจายการถือครองที่ดิน
2. แผนงานจัดที่ดินทำกินให้ชุมชนในลักษณะแปลงรวมโดยไม่ให้กรรมสิทธิ์ ภายใต้กลไกของ คทช.
3. แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพและมาตรฐานการจัดที่ดินทำกินให้ประชาชนตามภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมายระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการการกระจายการถือครองที่ดิน
เป้ามหายระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2571 - 2575) เช่น ประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินมีคุณสมบัติตามหลักเกณฑ์และเป้าหมาย และมีระบบการขับเคลื่อนและกำกับติดตามผลการจัดที่ดินที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ
เป้าหมายระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2576 - 2580) เช่น สัดส่วนการถือครองที่ดินมีการกระจายตัวเพิ่มขึ้น และจำนวนผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยลดลง
ผลลัพธ์สุดท้าย การกระจายการถือครองที่ดินมีความเหมาะสมและเป็นธรรมมากขึ้น และประชาชนที่ได้รับการจัดที่ดินมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถพึ่งพาตนเองได้

ประเด็นนโยบายที่ 4 : การบูรณาการและเสริมสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินอย่างมีเอกภาพ
หน่วยงานที่รับผิดชอบหลัก : กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) สคทช. กรมประชาสัมพันธ์
มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของระบบบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้เอื้อต่อการกำหนดทิศทางและกำกับดูแลการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดความเป็นเอกภาพ โดยมีการดำเนินงานภายใต้ 5 ตัวชี้วัด 3 แนวทางการพัฒนาหลัก และ 3 แผนงานที่สำคัญ ดังนี้
ตัวชี้วัด          แนวทางการพัฒนาหลัก          แผนงานที่สำคัญ
1. มีระบบฐานข้อมูลที่ดินและทรัพยากรดินที่ทันสมัยและเป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. มีการพัฒนาศักยภาพของหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องกับที่ดินและทรัพยากรดิน
3. มีการพัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ มาตรการทางสังคม และมาตรการทางเลือก เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
4. มีการพัฒนาปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
5. มีการส่งเสริมการนำเทคโนโลยีนวัตกรรมที่มีประสิทธิภาพมาใช้ในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน          1. การพัฒนากลไกการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้มีประสิทธิภาพ
2. การพัฒนาเครื่องมือเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรม
3. การพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน          1. แผนงานพัฒนากลไกเชิงสถาบันและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
2. แผนงานพัฒนาเครื่องมือในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
3. แผนงานพัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้และนวัตกรรมด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
เป้าหมายระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) เช่น ประสิทธิภาพการบูรณาการภารกิจในรูปแบบคณะอนุกรรมการภายใต้ คทช. มีเครือข่ายและการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนที่เข้มแข็ง
เป้าหมายระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2571 - 2575) เช่น มีฐานข้อมูลด้านที่ดินและทรัพยากรดิน มีเครื่องมือเชิงเศรษฐศาสตร์ มาตรการทางสังคม มาตรการทางเลือกที่หลากหลาย และมีกฎหมายที่ทันสมัยและไม่ซ้ำซ้อนกัน                   มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย
เป้าหมายระยะ 15 ปี (พ.ศ. 2576 - 2580) เช่น เอกภาพในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน
ผลลัพธ์สุดท้าย ประสิทธิภาพการสงวนหวงห้ามที่ดินของรัฐและสมดุลทางธรรมชาติ การใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเกิดประโยชน์สูงสุด และการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรม
                    การขับเคลื่อนนโยบายและแผนฯ (พ.ศ. 2566 - 2580) ไปสู่การปฏิบัติ มีดังนี้
                    1. แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายและแผนฯ ไปสู่การปฏิบัติ
                              1.1 การผลักดันให้นโยบายและแผนฯ เป็นส่วนขยายภายใต้แผนระดับที่ 1 (ยุทธศาสตร์ชาติ) แผนระดับที่ 2 (แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติแผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายและแผนว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ) เพื่อถ่ายทอดลงสู่หน่วยงานแต่ละระดับ ให้มีความสอดคล้องมุ่งสู่เป้าหมายเดียวกัน
                              1.2 การถ่ายทอดเป้าหมายและแนวนโยบายสู่แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ ระยะ 5 ปี พร้อมทั้งกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบที่ชัดเจนเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เห็นผลเป็นรูปธรรม โดย สคทช. จะชี้แจงทำความเข้าใจและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้กับหน่วยงานทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน องค์การพัฒนาชุมชน เพื่อนำนโยบายและแผนฯ ไปผนวกไว้ในแผนแม่บทของหน่วยงานเพื่อให้มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                              1.3 การสร้างความเข้าใจในบทบาทของแต่ละภาคส่วนทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา รวมถึงประชาชนเพื่อให้เข้าใจบทบาทตนเอง รวมทั้งยอมรับและตระหนักถึงความสำคัญของนโยบายและแผนฯ นำไปสู่การดำเนินงานที่สอดประสานกันในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ
                              1.4 การสร้างระบบการกำกับการตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศให้มีประสิทธิภาพ เช่น การพัฒนาตัวชี้วัดเป้าหมายที่มีลักษณะบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงาน การรายงานผลความคืบหน้าของเป้าหมายและตัวชี้วัด รวมทั้งปัญหาและอุปสรรคในการถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติให้ คทช. เพื่อกระตุ้นและเร่งรัดให้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนฯ บรรลุเป้าหมาย
                    2. การติดตามความก้าวหน้าและทบทวนนโยบายและแผนฯ เป็นระยะทุก 5 ปี เพื่อพิจารณาความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน รวมทั้งกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพิ่มเติมและข้อเสนอแนะเสนอต่อ คทช. เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายและแผนฯ ในแต่ละช่วงระยะเวลาเกิดประสิทธิภาพ
                    ผลกระทบ (ร่าง) นโยบายและแผนฯ (พ.ศ. 2566 - 2580) จะเป็นกรอบนโยบายและทิศทางการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศที่เอื้อต่อการเสริมสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างความเป็นธรรม เพื่อให้การเติบโตของประเทศเป็นการเติบโตที่ยั่งยืน สร้างความสมดุลในมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยทุกคนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

12. เรื่อง รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอและให้เสนอต่อรัฐสภาต่อไป



                     ข้อเท็จจริง
                     กค. เสนอว่า โดยที่พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 มาตรา 74 บัญญัติให้ กค. จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณที่สิ้นสุด เสนอต่อรัฐมนตรีภายในสี่สิบห้าวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอรายงานดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรีภายในหกสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณและเสนอต่อรัฐสภาภายในเก้าสิบวันนับแต่วันสิ้นปีงบประมาณ ซึ่ง กค. ได้จัดทำรายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ? 30 กันยายน 2565 ตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว จึงได้เสนอรายงานฯ มาเพื่อดำเนินการ
                     สาระสำคัญของรายงานฯ
                     1. รายงานการรับจ่ายเงินงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเกณฑ์ในการจัดทำ ขอบเขตของรายงาน และข้อมูลที่ใช้ในการจัดทำ ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลการรับและการจ่ายเงินของหน่วยงานของรัฐที่ได้รับจัดสรรตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ได้แก่ รายได้แผ่นดินที่หน่วยงานของรัฐจัดเก็บและนำเงินส่งคลัง (รายได้จากภาษีอากร รายได้ค่าธรรมเนียม รายได้จากรัฐพาณิชย์) รายรับจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ รายจ่ายตามงบประมาณ (รายจ่ายของหน่วยงานและรายงานจ่ายงบกลาง) ข้อมูลรายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง โดย กค. ได้ประมวลข้อมูลดังกล่าวจากรายงานในระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS : Financial Analytics) ในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐบันทึกเข้ามาในระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) และระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565
                     2. สาระสำคัญของผลการดำเนินงานรับเงินจ่ายเงินงบประมาณประจำปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 (ข้อมูล ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565) สรุปได้ดังนี้
รายการ

          งบประมาณ
(1)          รับจริง ? จ่ายจริง
(2)          เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี
(3)          รวมรับจริง-จ่ายจริง และเงินกันฯ
(4) = (2) + (3)          สูง (ต่ำ)
กว่างบประมาณ
(5) = (4) ? (1)
1. รายรับ
   1.1 รายได้แผ่นดิน
   1.2 เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ
รวม (ก)
2,400,000.00
700,000.00
2,551,222.78
652,552.56
-
-
2,551,222.78
652,552.56
151,222.78
(47,447.44)
          3,100,000.00          3,203,775.34          -          3,203,775.24          103,775.34
2. รายจ่าย
  2.1 รายจ่ายตามงบประมาณ
  2.2 รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้
  2.3 รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
  2.4 รายจ่ายเพื่อชดใช้ทุนสำรองจ่าย
  รวม (ข)
3,007,942.97
66,481.80
596.67
24,978.56
2,808,688.34
66,481.80
596.67
24,960.67
190,555.91
-
-
-
2,999,244.25
66,481.80
596.67
24,960.67
(8,698.72)
-
-
(17.89)
          3,100,000.00          2,900,727.48          190,555.91          3,091,283.39          (8,716.61)
3. รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณปี 64)
 รวม (ค)          237,238.55
          213,677.57          -          213,677.57          (23,560.98)
          237,238.55          213,677.57          -          213,677.57          (23,560.98)
4. รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง
   รวม (ง)
   รวมรายจ่ายทั้งสิ้น
   (จ) = [(ข) + (ค) + (ง)]          -
-          33,655.42
33,655.42          -
-          33,655.42
33,655.42          33,655.42
33,655.42
          3,337,238.55          3,148,060.47          190,555.91          3,338,616.37          1,337,819.31
5. ดุลของงบประมาณประจำปี
  5.1 รายได้แผ่นดินสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [1.1 ? (ข)]
  5.2 รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายตามงบประมาณ [(ก) ? (ข)]
(700,000.00)

-
(349,504.70)

303,047.86
(190,555.91)

(190,555.91)
(540,060.61)

112,491.95
159,939.39

112,491.94
6. ดุลการรับ ? จ่ายเงิน
รายรับสูง (ต่ำ) กว่ารายจ่ายทั้งสิ้น
(ก) ? (จ)
(237,238.55)
55,714.87
(190,555.91)
(134,841.03)
102,397.52
หมายเหตุ :
1. ข้อมูลเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีที่ได้รับการอนุมัติจากกรมบัญชีกลาง ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2565 จำนวน 189,666.38 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาอุทธรณ์ จำนวน 889.53 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 190,555.91 ล้านบาท
2. รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ได้แก่ งบกลาง จำนวน 23,596.33 ล้านบาท งบบุคลากร จำนวน 8,2339.54 ล้านบาท และงบชำระหนี้ จำนวน 1,819.55 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นจำนวน 33,655.42 ล้านบาท
                    2.1 รายรับ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ รายรับจากรายได้แผ่นดินและรายรับจากเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายรับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,100,000.00 ล้านบาท รายรับที่รัฐบาลได้รับรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,203,775.34 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 103,775.34 ล้านบาท ประกอบด้วย
                               1) รายได้แผ่นดิน มีการประมาณการรายได้ จำนวน 2,400,000.00 ล้านบาท และมีการรับรายได้แผ่นดินรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,551,222.78 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ จำนวน 151,222.78 ล้านบาท
                               2) เงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ มีการประมาณการวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 700,000.00 ล้านบาท และมีการกู้เงินรวมทั้งสิ้น จำนวน 652,552.56 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 47,447.44 ล้านบาท
                     2.2 รายจ่าย ประกอบด้วย รายจ่ายตามงบประมาณ รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย โดยรัฐบาลได้ประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 3,100,000.00 ล้านบาท รายจ่ายที่รัฐบาลจ่ายรวมทั้งสิ้น จำนวน 3,091,283.39 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 8,716.61 ล้านบาท ประกอบด้วย
                               1) รายจ่ายตามงบประมาณ มีการประมาณการรายจ่ายตามงบประมาณ จำนวน 3,007,942.97 ล้านบาท และมีรายจ่ายจากเงินงบประมาณ จำนวน 2,808,688.34 ล้านบาท และเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 190,555.91 ล้านบาท รวมรายจ่ายตามเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีรวมทั้งสิ้น จำนวน 2,999,244.25 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 8,698.72 ล้านบาท
                               2) รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ มีการประมาณการรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้                           จำนวน 66,481.80 ล้านบาท มีรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้เท่ากับประมาณการ จำนวน 66,481.80 ล้านบาท
                               3) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง มีการประมาณการรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง                   จำนวน 596.67 ล้านบาท มีรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลังเท่ากับประมาณการ จำนวน 596.67 ล้านบาท
                               4) รายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย มีการประมาณการรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย จำนวน 24,978.56 ล้านบาท และมีรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินทุนสำรองจ่าย จำนวน 24,960.67 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ จำนวน 17.89 ล้านบาท
                     2.3 รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี (เงินงบประมาณปีก่อน) รัฐบาลมีเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รวมทั้งสิ้น จำนวน 237,238.55 ล้านบาท มีรายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี จำนวน 213,677.57 ล้านบาท ต่ำกว่าเงินที่กันไว้ จำนวน 23,560.98 ล้านบาท
                     2.4 รายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 33,655.42 ล้านบาท เป็นการจ่ายเงินคงคลังตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 (1) รายการจ่ายที่มีการอนุญาตให้จ่ายเงินได้แล้วตามกฎหมายว่าด้วยงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ แต่เงินที่ตั้งไว้มีจำนวนไม่พอจ่ายและพฤติการณ์เกิดขึ้นให้มีความจำเป็นต้องจ่ายโดยเร็ว
                     2.5 ดุลของงบประมาณประจำปี เมื่อเปรียบเทียบผลรายรับกับรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รายรับประเภทรายได้แผ่นดิน จำนวน 2,551,222.78 ล้านบาท เปรียบเทียบกับรายจ่ายตามงบประมาณประจำปี จำนวน 2,900,727.48 ล้านบาท ทำให้รายได้แผ่นดินต่ำกว่ารายจ่ายตามงบประมาณประจำปี จำนวน 349,504.70 ล้านบาท ประกอบกับรัฐบาลมีรายรับประเภทเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 652,552.56 ล้านบาท จึงทำให้รายรับรวมสูงกว่ายจ่ายตามงบประมาณประจำปี จำนวน 303,047.86 ล้านบาท
                     2.6 ดุลการรับ ? จ่ายเงิน เมื่อเปรียบเทียบรายรับของรัฐบาล รายได้แผ่นดิน และเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ จำนวน 3,203,775.34 ล้านบาท เปรียบเทียบกับรายจ่ายตามงบประมาณประจำปี รายจ่ายจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี และรายจ่ายตามกฎหมายว่าด้วยเงินคงคลัง จำนวน 3,148,060.47 ล้านบาท ส่งผลให้ดุลรายรับสูงกว่ารายจ่ายทั้งสิ้น จำนวน 55,714.87 ล้านบาท
                     3. ผลการวิเคราะห์ ด้านรายได้แผ่นดิน รัฐบาลควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ภาครัฐ ขยายฐานภาษี และดำเนินการจัดเก็บภาษีรายการใหม่ให้ครอบคลุมบริบททางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว การบริหารจัดการที่ราชพัสดุเพื่อการพาณิชย์ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง และควรเร่งส่งเสริมสนับสนุนการท่องเที่ยว เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทุกระดับและเพิ่มสัดส่วนของนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพสูงมุ่งพัฒนาธุรกิจด้านการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าสูงเพิ่มมากยิ่งขึ้น เพื่อให้รัฐบาลมีรายได้ที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้จ่ายตามยุทธศาสตร์ของประเทศและมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและมีความยั่งยืน และด้านรายจ่าย รัฐบาลควรกำหนดมาตรการการคลังด้านการใช้จ่ายภาครัฐในการติดตามและเร่งรัดเบิกจ่ายเงินงบประมาณและเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณมมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด ควรเร่งรัดนโยบายปรับหน่วยงานภาครัฐให้มีขนาดที่เหมาะสม ตรวจสอบความซ้ำซ้อนและ               ปรับภารกิจและพันธกิจของหน่วยงานภาครัฐให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในเชิงบูรณาการ เพื่อให้การใช้จ่ายเงินงบประมาณเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

13. เรื่อง ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ               พ.ศ. 2567 (ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2567) ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สงป. รายงานว่า สงป. ได้ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองพิจารณาจัดทำยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2567 ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) (ยุทธศาสตร์ชาติ) (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ (พ.ศ. 2566 - 2580)                     (ฉบับปรับปรุง) (ร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566 - 2570) (แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13) (ร่าง) นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566 - 2570) (ร่างแผนความมั่นคงแห่งชาติฯ) และนโยบายรัฐบาล โดยมุ่งให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับประเด็นการพัฒนาที่ต้องเร่งดำเนินการเพื่อให้บรรลุ 13 หมุดหมายการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และประเด็นสำคัญของ                 17 นโยบายและแผนความมั่นคงตามร่างแผนความมั่นคงแห่งชาติฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพของประเทศในการรับมือกับความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบที่รุนแรง ควบคู่กับการให้ความสำคัญกับประเด็นการพัฒนาตามแผนย่อยของร่างแผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) ประเด็นความมั่นคงภายใต้ร่างแผนความมั่นคงแห่งชาติฯ และนโยบายรัฐบาล เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามแนวทางการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และบรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ ?ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตาม                หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง? โดยมีหลักการสำคัญ ดังนี้
                    1. กำหนดโครงสร้างยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ พ.ศ. 2567 ตามยุทธศาสตร์ชาติ 6 ด้าน และรายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย
                              1.1 ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณ จำนวน 6 ยุทธศาสตร์ (กำหนดตามยุทธศาสตร์ชาติ) ดังนี้
                                        (1) ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
                                        (2) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
                                        (3) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์
                                        (4) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม
                                        (5) ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
                                        (6) ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ
                              1.2 รายการค่าดำเนินการภาครัฐ ประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อรองรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น รายจ่ายเพื่อการชำระหนี้ภาครัฐ และรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง
                    2. นำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ชาติและร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง มากำหนดไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ ในแต่ละด้าน เพื่อแสดงให้เห็นเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของแผนในแต่ละระดับที่สามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างเป็นรูปธรรม
                    3. นำแผนย่อย 85 ประเด็น ภายใต้ร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุงมากำหนดเป็นประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณฯ ในแต่ละด้าน พร้อมทั้งนำเป้าหมาย/ตัวชี้วัดของ             แผนดังกล่าวมากำหนดไว้ภายใต้แต่ละประเด็นยุทธศาสตร์เพื่อแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่ต้องการบรรลุในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และตัวชี้วัดที่สามารถติดตามผลได้
                    4. นำประเด็นสำคัญของ 13 หมุดหมาย ภายใต้แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และประเด็นสำคัญของ 17 นโยบายและแผนความมั่นคงตามร่างแผนความมั่นคงแห่งชาติฯ ที่ต้องเร่งดำเนินการในปีงบประมาณ                 พ.ศ. 2567 พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย/ตัวชี้วัดที่ต้องการบรรลุมากำหนดเป็นจุดเน้นการพัฒนาที่ต้องให้ความสำคัญลำดับสูงควบคู่กับการนำแนวทางการพัฒนาภายใต้แผนย่อยของร่างแผนแม่บทฯ ฉบับปรับปรุง และประเด็นความมั่นคงภายใต้ร่างแผนความมั่นคงแห่งชาติฯ ที่ต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มากำหนดเป็นนโยบายการจัดสรรงบประมาณ เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำโครงการรองรับประเด็นดังกล่าว ซึ่งรวมถึงโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1,026 โครงการ ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 และเสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อไป

14. เรื่อง  รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน และ 9 เดือนแรกของปี 2565
                              คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย เดือนกันยายน และ 9 เดือนแรกของปี 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
1.          สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย
          การส่งออกของไทยในเดือนกันยายน 2565 มีมูลค่า 24,919.3 ล้านเหรียญสหรัฐ (888,371         ล้านบาท) ขยายตัวร้อยละ 7.8 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 19 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 9.0 การส่งออกในเดือนกันยายนยังขยายตัวได้ดีจากสินค้าอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยเฉพาะการส่งออกรถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของไทย เดือนกันยายน อยู่ที่ระดับ 55.7 สูงสุดเป็นประวัติการณ์ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมและคำสั่งซื้อใหม่ของสินค้าส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ดี ค่าเงินบาทอ่อนค่า และค่าระวางเรือลดลง ส่งผลให้การส่งออกของไทยมีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้น ทั้งนี้ การส่งออกของไทย 9 เดือนแรกขยายตัวร้อยละ 10.6 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัวร้อยละ 8.6
          มูลค่าการค้ารวม
          มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนกันยายน 2565 การส่งออก มีมูลค่า 24,919.3                 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 7.8 การนำเข้า มีมูลค่า 25,772.5 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 15.6 ดุลการค้า ขาดดุล 853.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน)
การส่งออก มีมูลค่า 221,366.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.6 การนำเข้า มีมูลค่า 236,351.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 20.7 ดุลการค้าขาดดุล 14,984.9 ล้านเหรียญสหรัฐ
          มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนกันยายน 2565 การส่งออก มีมูลค่า 888,971 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 16.4 การนำเข้า มีมูลค่า 929,732 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 24.7 ดุลการค้า ขาดดุล 41,361 ล้านบาท ขณะที่ภาพรวม 9 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม-กันยายน) การส่งออก มีมูลค่า 7,523,817 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 21.3 การนำเข้า มีมูลค่า 8,148,602 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 32.3 ดุลการค้า ขาดดุล 624,785 ล้านบาท
          การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
          มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 1.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 22 เดือน สินค้าที่ขยายตัวดี ได้แก่ ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และไก่แปรรูป ขยายตัวร้อยละ 82.9 (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร จีน เนเธอร์แลนด์ และเกาหลีใต้) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 19.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และแคนาดา) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 2.7 (ขยายตัวในตลาดอิรัก เบนิน แองโกลา แคเมอรูน และแคนาดา) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 13.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และเวียดนาม) น้ำตาลทราย ขยายตัวร้อยละ 16.3 (ขยายตัวในตลาดลาว กัมพูชา สิงคโปร์ จีน และมาเลเซีย) ผลไม้แช่แข็งและผลไม้แห้ง ขยายตัวร้อยละ 31.5 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ แคนาดา และภูฏาน) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 14.3 (ขยายตัวในตลาดจีน รัสเซีย ออสเตรเลีย แคนาดา และไต้หวัน) ไอศกรีม ขยายตัวร้อยละ 43.2 (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย เกาหลีใต้ เวียดนาม สหรัฐฯ และฟิลิปปินส์) สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ ยางพารา หดตัวร้อยละ 7.7 (หดตัวในตลาดจีน มาเลเซีย อินเดีย บราซิล และสเปน) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 5.6 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลีใต้ และออสเตรเลีย) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 13.7
           การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.4 โดยสินค้าสำคัญที่ขยายตัวดี ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ขยายตัวร้อยละ 18.3 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน เนเธอร์แลนด์ สิงคโปร์ และไอร์แลนด์) รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 8.4 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 89.6 (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ สหรัฐฯ ฮ่องกง อินเดีย และเยอรมนี) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 115.7 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนเธอร์แลนด์ เมียนมา และไอร์แลนด์) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 23.4 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส อินเดีย และสิงคโปร์) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 49.2 (ขยายตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเบลเยียม) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 77.2 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ จีน ญี่ปุ่น และสิงคโปร์) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว ได้แก่ สินค้าเกี่ยวกับน้ำมัน หดตัวร้อยละ 10.4 (หดตัวในตลาดจีน อินเดีย ญี่ปุ่น กัมพูชา และมาเลเซีย) เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 14.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และเมียนมา) ทั้งนี้ 9 เดือนแรกของปี 2565 การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.0
ตลาดส่งออกสำคัญ
          การส่งออกยังขยายตัวต่อเนื่องในหลายตลาดสำคัญ แต่เริ่มมีสัญญาณชะลอตัวลง
ท่ามกลางความไม่แน่นอนของสภาวะเศรษฐกิจโลก และความเสี่ยงเศรษฐกิจถดถอยของประเทศคู่ค้าสำคัญ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 10.6 โดยขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 26.2 อาเซียน (5)
ร้อยละ 9.0 CLMV ร้อยละ 26.3 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 18.0 ขณะที่จีนและญี่ปุ่นหดตัวร้อยละ 13.2 และ 1.7 ตามลำดับ (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 2.9 ขยายตัวในทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 15.5 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 47.5 และลาตินอเมริกา ร้อยละ 6.3 ขณะที่เอเชียใต้ ทวีปแอฟริกา และรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS หดตัวร้อยละ 11.5               ร้อยละ 11.7 และร้อยละ 24.5 ตามลำดับ (3) ตลาดอื่น ๆ หดตัวร้อยละ 40.3 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ หดตัวร้อยละ 4.5
                   2.          มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
          การส่งเสริมการส่งออก ในรอบเดือนที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินงานที่สำคัญ อาทิ              (1) ขยายช่องทางการตลาดอีคอมเมิร์ช โดยร่วมมือกับ Shopee ผลักดันผู้ประกอบการรายย่อยให้ก้าวสู่การค้าออนไลน์ไปยังต่างประเทศได้อย่างสะดวกมากขึ้น ผ่านโปรแกรม ?Shopee International Platform? (SIP) โดยนำร่องตลาดส่งออกหลัก 3 ประเทศของภูมิภาคอาเซียน ได้แก่ สิงคโปร์ มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ (2) ขยายความร่วมมือทางการค้ากับสิงคโปร์ จากผลการประชุมกรอบความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยและสิงคโปร์ ครั้งที่ 6 สิงคโปร์จะพิจารณาขึ้นทะเบียนฟาร์มไข่ไก่ ไข่นกกระทาออร์แกนิกให้แก่ไทย และยินดีเข้าร่วมงานแสดงสินค้าที่ประเทศไทยจัดขึ้น รวมทั้งหารือการทำธุรกรรมทางธุรกิจผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มากขึ้น และ (3) ผลักดันความร่วมมือการค้าไทย-เกาหลีใต้ ผ่านการทำ Mini-FTA ไทย-คยองกี ซึ่งถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางการค้าเชิงรุกกับเขตเศรษฐกิจที่มีอัตราเติบโตสูงที่สุดในเกาหลีใต้ โดยที่ไทยจะมีโอกาสขยายฐานการส่งออกสินค้า อาทิ น้ำตาลทราย ไก่แปรรูป ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เคมีภัณฑ์ ไม้และชิ้นส่วน ยางพารา และผลิตภัณฑ์ยางพารา เป็นต้น
          แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ประเมินว่า ยังคงมีสัญญาณบวก
ที่ช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยในปีนี้ให้บรรลุตามเป้าหมาย ทั้งปัญหาขาดแคลนอุปทานที่เริ่มคลี่คลาย
และปัจจัยสนับสนุนจากการอ่อนค่าของเงินบาท ทำให้การส่งออกของไทยยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไร               ก็ตาม ยังมีความเสี่ยงของการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อันเกิดจากสถานการณ์เงินเฟ้อ และการเร่งขึ้นอัตราดอกเบี้ย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ยังต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

15. เรื่อง  ภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 - 2566
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบภาวะเศรษฐกิจไทยไตรมาสที่สามของปี 2565 และแนวโน้มปี 2565 ? 2566  ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ดังนี้
          1. ภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565
เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 4.5 (%YoY) เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 และร้อยละ 2.5 ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของปี 2565 ตามลำดับ และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.2 จากไตรมาสที่สองของปี 2565 (%QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 เศรษฐกิจไทยขยายตัวร้อยละ 3.1
1.1          ด้านการใช้จ่าย การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออกบริการขยายตัวเร่งขึ้น การส่งออกสินค้าชะลอตัว ขณะที่การใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐปรับตัวลดลง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 9.0 เร่งขึ้นต่อเนื่องจากการขยายตัวร้อยละ 3.5 และร้อยละ 7.1
ในไตรมาสแรก และไตรมาสที่สองของปี 2565 ตามลำดับ และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 39 ไตรมาส
ตามการใช้จ่ายที่ขยายตัวเร่งขึ้นในทุกหมวด โดยการใช้จ่ายหมวดบริการขยายตัวร้อยละ 15.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 14.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการใช้จ่ายในกลุ่มโรงแรมและภัตตาคาร และกลุ่มนันทนาการและวัฒนธรรม การใช้จ่ายในหมวดสินค้าคงทนขยายตัวร้อยละ 18.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของการใช้จ่ายเพื่อซื้อยานพาหนะ และการใช้จ่ายหมวดสินค้าไม่คงทนขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.7 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งขึ้นของการใช้จ่ายกลุ่มอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ ส่วนการใช้จ่ายหมวดสินค้ากึ่งคงทนขยายตัวร้อยละ 3.6 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวของการใช้จ่ายในกลุ่มเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่ง และกลุ่มเสื้อผ้าและรองเท้า สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมมาอยู่ที่ระดับ 37.6 จากระดับ 34.9 ในไตรมาสก่อนหน้ารวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 6.5 ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาล ลดลงร้อยละ 0.6 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้า เป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 10 ไตรมาส ตามการลดลงของรายจ่ายซื้อสินค้าและบริการ ซึ่งเป็นผลจากการลดลงของค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ขณะเดียวกัน รายจ่ายการโอนเพื่อสวัสดิการทางสังคมที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับสินค้า
และบริการในระบบตลาดขยายตัวร้อยละ 9.9 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 17.0 ในไตรมาสก่อนหน้า
ส่วนค่าตอบแทนแรงงาน (ค่าจ้าง เงินเดือน) ขยายตัวร้อยละ 1.6 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.4 (ต่ำกว่าร้อยละ 22.5 ในไตรมาสก่อนหน้าและร้อยละ 23.8 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน)            รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคของรัฐบาลขยายตัวร้อยละ 2.9 การลงทุนรวม ขยายตัวร้อยละ 5.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยเป็นผลจากการลงทุนภาคเอกชนที่ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 11.0 เร่งขึ้นจากร้อยละ 2.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของการลงทุนเครื่องจักรเครื่องมือร้อยละ 13.9 ขณะที่การลงทุนก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับการลดลงร้อยละ 1.3 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนการลงทุนภาครัฐลดลงต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 7.3 แต่ปรับตัวดีขึ้นจากการลดลงร้อยละ 9.0 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยการลงทุนรัฐบาลลดลงร้อยละ 11.8 ขณะที่การลงทุนรัฐวิสาหกิจขยายตัวร้อยละ 1.1 สำหรับอัตราการเบิกจ่ายงบประมาณรายจ่ายลงทุนในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 21.2 (สูงกว่าอัตราเบิกจ่ายร้อยละ 19.2 ในไตรมาสก่อนหน้า แต่ต่ำกว่าร้อยละ 24.0 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน) รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 1.6 โดยการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 5.3 ขณะที่การลงทุนภาครัฐลดลงร้อยละ 7.0
1.2          ด้านภาคต่างประเทศ
1.2.1          การส่งออกมีมูลค่า 71,980 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 6.7 ชะลอลงจากการขยายตัวร้อยละ 9.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคาส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และ
ร้อยละ 4.4 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และร้อยละ 5.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามลำดับ กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ (ร้อยละ 10.3) รถกระบะและรถบรรทุก (ร้อยละ 12.8) แผงวงจรรวมและชิ้นส่วน (ร้อยละ 11.6) ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 13.6) อุปกรณ์และเครื่องมือด้านการแพทย์ (ร้อยละ 9.9) อาหารสัตว์                (ร้อยละ 22.0) น้ำตาล (ร้อยละ 121.4) ข้าว (ร้อยละ 12.4) และยางพารา (ร้อยละ 0.2) เป็นต้น กลุ่มสินค้าที่มีมูลค่าส่งออกลดลง เช่น รถยนต์นั่ง (ลดลงร้อยละ 7.2) เคมีภัณฑ์และปีโตรเคมี (ลดลงร้อยละ 8.8) ชิ้นส่วนและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (ลดลงร้อยละ 13.2) ผลิตภัณฑ์ยาง (ลดลงร้อยละ 8.0) ทุเรียน (ลดลงร้อยละ 53.0) และผลไม้อื่น ๆ (ลดลงร้อยละ 39.4) เป็นต้น การส่งออกสินค้าไปยังตลาดส่งออกหลักขยายตัว ขณะที่การส่งออกไปยังตลาดจีน ญี่ปุ่น และฮ่องกงลดลง เมื่อหักการส่งออกทองคำที่ยังไม่ขึ้นรูปออกแล้ว มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 6.4 และเมื่อคิดในรูปของเงินบาท มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวร้อยละ 18.1
1.2.2          การนำเข้าสินค้า มีมูลค่า 71,558 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 23.2 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 22.4 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณและราคานำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 และร้อยละ 14.1 ตามลำดับ ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 0.4 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (17.1 พันล้านบาท) รวม 9 เดือนแรกของปี 2565                การส่งออกสินค้ามีมูลค่า 219,791 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 10.2 ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 204,917 ล้านดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 20.7 ส่งผลให้ดุลการค้าเกินดุล 14.9 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (502.1 พันล้านบาท)
การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้า และอัตราเงินเฟ้อของประเทศต่าง ๆ
(%YoY)          GDP          มูลค่าการส่งออกสินค้า          อัตราเงินเฟ้อ
          2563          2564          2565          2563          2564          2565          2564          2565          สูงสุดในรอบ (เดือน)
          ทั้งปี          ทั้งปี          Q1          Q2          Q3          ทั้งปี          ทั้งปี          Q1          Q2          Q3          ทั้งปี          Q1          Q2          Q3          ส.ค.          ก.ย.          ต.ค.
สหรัฐฯ          -2.8          5.9          3.7          1.8          1.8          -13.5          23.3          18.8          23.2          23.7          4.7          8.0          8.6          8.3          8.2          8.2          7.8          487 (มิ.ย.)
ยูโรโซน          -6.3          5.4          5.5          4.3          2.1          -7.1          18.1          9.0          6.1          2.5          2.6          6.1          8.0          9.3          9.1          9.9          10.6          310
สหราชอาณาจักร          -11.0          7.5          10.9          4.4          2.4          -11.3          10.4          15.5          7.5          14.6          2.6          6.2          9.2          10.0          9.9          10.1          11.6          406
ออสเตรเลีย1/          -2.2          4.9          3.1          3.8                    -7.3          37.2          23.2          27.4          15.2          2.9          5.1          6.1          7.3                                        85 (Q)
ญี่ปุ่น          -4.6          1.6          0.6          1.7          1.8          -9.1          17.9          4.4          -2.3          -2.0          -0.2          0.9          2.4          2.9          3.0          3.0          3.8          381
จีน          2.2          8.1          4.8          0.4          3.9          4.0          29.7          15.6          12.8          10.0          0.9          1.1          2.2          2.7          2.5          2.8          2.1          29 (ก.ย.)
อินเดีย          -6.6          8.3          4.1          13.5                    -14.8          43.1          29.3          26.7          7.9          5.1          6.3          7.3          7.0          7.0          7.4          6.8          95 (เม.ย.)
เกาหลีใต้          -0.7          4.1          3.0          2.9          3.1          -5.5          25.7          18.4          13.0          5.8          2.5          3.8          5.4          5.9          5.7          5.6          5.7          284
ไต้หวัน          3.4          6.6          3.7          3.0          4.1          4.9          29.3          23.5          15.4          3.4          2.0          2.8          3.5          2.9          2.7          2.8          2.7          166 (มิ.ย.)
ฮ่องกง          -6.5          6.3          -3.9          -1.3          -4.5          -0.5          26.0          2.8          -3.3          -11.6          1.6          1.5          1.5          2.7          1.9          4.4                    90 (ก.ย.)
สิงคโปร์          -4.1          7.6          3.9          4.5          4.4          -4.1          22.1          17.1          20.8          19.5          2.3          4.6          5.9          7.3          7.5          7.5                    171
อินโดนีเซีย          -2.1          3.7          5.0          5.4          5.7          -2.7          41.9          35.1          39.0          27.3          1.6          2.3          3.8          5.2          4.7          6.0          5.7          83 (ก.ย.)
มาเลเซีย          -5.5          3.1          5.0          8.9          14.2          -2.3          27.5          18.3          23.3          29.4          2.5          2.2          2.8          4.5          4.7          4.5                    16 (ส.ค.)
ฟิลิปปินส์          -9.5          5.7          8.2          7.5          7.6          -8.1          14.5          9.9          4.4          0.4          3.9          3.4          5.5          6.5          6.3          6.9          7.7          166
เวียดนาม          2.9          2.6          5.1          7.8          13.7          6.9          18.9          14.4          21.3          15.8          1.8          1.9          3.0          3.3          2.9          3.9          4.3          31
ที่มา: CEIC รวบรวมโดยสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
หมายเหตุ: 1/ อัตราเงินเฟ้อของออสเตรเลียเป็นรายไตรมาส
1.3          ด้านการผลิต สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัว สาขาที่พักแรม
และบริการด้านอาหาร สาขาการขายส่ง ขายปลีก และการซ่อมฯ สาขาขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า และสาขา
การไฟฟ้าและก๊าซฯ ขยายตัวเร่งขึ้น ส่วนสาขาการก่อสร้างและสาขาเกษตรกรรมปรับตัวลดลง สาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมง ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.3 ตามการลดลงของผลผลิตพืชเกษตรสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยและสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวยในหลายพื้นที่ ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรที่ลดลง เช่น กลุ่มไม้ผล (ลดลงร้อยละ 26.3) ยางพารา (ลดลงร้อยละ 1.4) สุกร (ลดลงร้อยละ 2.2) และมันสำปะหลัง (ลดลงร้อยละ 3.1) เป็นต้น ส่วนดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรสำคัญที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวเปลือก (ร้อยละ 10.9) ปาล์มน้ำมัน (ร้อยละ 9.4) ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ร้อยละ 8.6) และไก่เนื้อ (ร้อยละ 1.0) เป็นต้น ดัชนีราคาสินค้าเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.1 ตามการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญ ๆ เช่น สุกร (ร้อยละ 50.4) กลุ่มไม้ผล (ร้อยละ 28.4) ข้าวเปลือก (ร้อยละ 20.1) ไก่เนื้อ (ร้อยละ 40.1) และมันสำปะหลัง (ร้อยละ 32.6) เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ดัชนีราคาสินค้าเกษตรสำคัญบางรายการปรับตัวลดลง เช่น ปาล์มน้ำมัน (ลดลงร้อยละ 9.8) เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาสินค้าเกษตร ส่งผลให้ดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 17.7 รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 การผลิตสาขาเกษตรกรรม การป่าไม้ และ                การประมงเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 1.7 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ดัชนีราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.2 และดัชนีรายได้เกษตรกรโดยรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.4 สาขาการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 6.3 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.5 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการกลับมาขยายตัวของทุกกลุ่มอุตสาหกรรมการผลิต สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมร้อยละ 8.1 โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมที่มีสัดส่วนการส่งออกในช่วงร้อยละ 30 ? 60 ขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 22.8 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อบริโภคภายในประเทศ (สัดส่วนส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 30) เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.3 ในไตรมาสก่อนหน้า และดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมกลุ่มการผลิตเพื่อส่งออก (สัดส่วนส่งออกมากกว่าร้อยละ 60) ขยายตัวร้อยละ 1.2 เทียบกับการลดลงร้อยละ 2.0 ในไตรมาสก่อนหน้า สำหรับอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 62.55 สูงกว่าร้อยละ 61.10 ในไตรมาสก่อนหน้าและสูงกว่าร้อยละ 58.51 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่เพิ่มขึ้น เช่น ยานยนต์ (ร้อยละ 36.1) ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นปิโตรเลียม (ร้อยละ 17.3) และน้ำตาล (ร้อยละ 46.1) เป็นต้น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมสำคัญ ๆ ที่ลดลง เช่น คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง (ลดลงร้อยละ 32.4) เหล็กและเหล็กกล้าขั้นมูลฐาน (ลดลงร้อยละ 12.7) และพลาสติกและยางสังเคราะห์ขั้นต้น (ลดลงร้อยละ 10.9) เป็นต้น รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 และอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 63.40 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหาร ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 53.6 และเร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 44.9 ในไตรมาสก่อนหน้า
ตามการขยายตัวในเกณฑ์สูงและเร่งขึ้นของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และการขยายตัวต่อเนื่องของ
การท่องเที่ยวในประเทศ โดยในไตรมาสนี้ นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยจำนวน 3.608 ล้านคน ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ และสถานการณ์
ด้านการเดินทางท่องเที่ยวระหว่างประเทศที่เริ่มปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น ส่วนรายรับจากนักท่องเที่ยวชาวไทยอยู่ที่ 0.158 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 3 ร้อยละ 1,497.1 เป็นผลมาจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการดำเนินนโยบายกระตุ้นภาคการท่องเที่ยวภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง สำหรับอัตราการเข้าพักเฉลี่ยในไตรมาสนี้อยู่ที่ร้อยละ 47.80 สูงกว่าร้อยละ 42.09 ในไตรมาสก่อนหน้า และสูงกว่าร้อยละ 5.46 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาที่พักแรมและบริการด้านอาหารขยายตัวร้อยละ 43.7 ปรับตัวดีขึ้น เมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 17.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่ที่ 5.688 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,863.1 และอัตราเข้าพักเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 42.02 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.1 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการเร่งตัวขึ้นของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนและจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของดัชนีรวมการขายส่งและการขายปลีก            การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์ รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์และจักรยานยนต์เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.3 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 เร่งขึ้นจากร้อยละ 5.2 ในไตรมาสก่อนหน้า ตามการขยายตัวเร่งขึ้นของบริการขนส่งทางอากาศ และบริการขนส่งทางบกและท่อลำเลียง เป็นสำคัญ รวม 9 เดือนแรกของปี 2565 สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 ปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับการลดลงร้อยละ 4.9 ในช่วงเดียวกันของปีก่อน
1.4          เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.23 ต่ำกว่าร้อยละ 1.37 ในไตรมาสก่อนหน้า และต่ำกว่าร้อยละ 2.29 ในไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 7.3 และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 3.1 สำหรับดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุล 7.0 พันล้านดอลลาร์ สรอ. (25.3 หมื่นล้านบาท) ขณะที่เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 อยู่ที่ 2.0 แสนล้านดอลลาร์ สรอ. และหนี้สาธารณะ                ณ สิ้นเดือนกันยายน 2565 มีมูลค่าทั้งสิ้น 10,373,937.59 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 60.7 ของ GDP
          2. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2565
                         เศรษฐกิจไทยปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP
          3. แนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2566
                         แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 ? 4.0 โดยมีปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญจาก (1) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (2) การขยายตัวของการลงทุนทั้งภาคเอกชน
และภาครัฐ (3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการอุปโภคบริโภคภายในประเทศ และ (4) การขยายตัวในเกณฑ์ดีของภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ส่วนการลงทุนภาคเอกชน
และการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. ขยายตัวร้อยละ 1.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 ? 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล
ร้อยละ 1.1 ของ GDP
รายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2566 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้
3.1          การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 เทียบกับการขยายตัวในเกณฑ์สูงร้อยละ 5.4 ในปี 2565 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการขยายตัวของฐานรายได้ในระบบเศรษฐกิจ และตลาดแรงงานที่มีแนวโน้มฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง และ (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.1 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.2 ในปี 2565 สอดคล้องกับการลดลงของกรอบงบประมาณรายจ่ายประจำภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 วงเงิน 2,489,923 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.8 จากกรอบวงเงิน 2,535,682 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งการลดลงของการใช้จ่ายภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ 1 ล้านล้านบาท และ 5 แสนล้านบาท
3.2          การลงทุนรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 เทียบกับร้อยละ 2.6 ในปี 2565 โดย (1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวร้อยละ 2.6 เทียบกับร้อยละ 3.9 ในปี 2565 สอดคล้องกับแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกและภาคการส่งออก ขณะที่ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.4 เทียบกับการลดลงร้อยละ 0.7 ในปี 2565 สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของกรอบงบประมาณรายจ่ายลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 วงเงิน 695,077 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.5 จากวงเงิน 612,566 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2565 รวมถึงแรงสนับสนุนจากความคืบหน้าในการดำเนินการโครงการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของรัฐวิสาหกิจ
3.3           มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เทียบกับร้อยละ 7.5 ในปี 2565 โดยคาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 ชะลอลงจากร้อยละ 3.2 ในปี 2565 ตามแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและปริมาณการค้าโลก ส่วนราคาสินค้าส่งออกคาดว่าจะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ              (-0.5) ? 0.5 เทียบกับร้อยละ 4.3 ในปี 2565 ขณะที่การส่งออกบริการมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้นตามจำนวนและรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ ในกรณีฐานคาดว่ารายรับจากนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2566 จะอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท เทียบกับ 0.57 ล้านล้านบาท ในปี 2565 ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2566 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เทียบกับร้อยละ 8.2 ในปี 2565
4.          ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566
การบริหารนโยบายเศรษฐกิจมหภาคในปี 2566 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การดูแลแก้ไขปัญหาหนี้สินของลูกหนี้รายย่อย ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
(2) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร โดยการฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย และการเตรียมมาตรการรองรับผลผลิตสินค้าเกษตรที่จะออกสู่ตลาดในช่วงฤดูเพาะปลูก 2566/2567 (3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า โดย (i) การส่งออกสินค้าไปยังตลาดที่ยังมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ในเกณฑ์ดี และการสร้างตลาดใหม่ให้กับสินค้าที่มีศักยภาพ (ii) การติดตามเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและการค้าโลก
เพื่อใช้ประโยชน์จากนโยบายเศรษฐกิจและการค้าของประเทศเศรษฐกิจหลัก (iii) การพัฒนาสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุตสาหกรรม ให้มีคุณภาพและมาตรฐานตรงตามข้อกำหนดของประเทศผู้นำเข้า (iv) การใช้ประโยชน์จากกรอบความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ควบคู่ไปกับการเร่งรัดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีที่กำลังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจา และ (v) การส่งเสริมให้ภาคธุรกิจบริหารจัดการความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน (4) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง โดย (i) การแก้ไขปัญหาและเตรียมความพร้อมให้ภาคการท่องเที่ยวสามารถรองรับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้อย่างเต็มศักยภาพ (ii) การส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวคุณภาพสูงและยั่งยืน (iii) การจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง และ (iv) การส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ (5) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน โดย (i) การดูแลด้านสภาพคล่องให้กับภาคธุรกิจภายใต้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว (ii) การเร่งรัดให้ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติและออกบัตรส่งเสริมการลงทุนในช่วงปี 2563 - 2565 ให้เกิดการลงทุนจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (iii) การแก้ไขปัญหาที่นักลงทุนและผู้ประกอบการต่างประเทศเห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนและการประกอบธุรกิจ รวมทั้งปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการผลิต (iv) การดำเนินมาตรการส่งเสริมการลงทุนเชิงรุกและอำนวยความสะดวกเพื่อดึงดูดนักลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการเป้าหมาย (v) การส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษต่าง ๆ (vi) การขับเคลื่อนการลงทุนพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งที่สำคัญ และ (vii) การพัฒนากำลังแรงงานทักษะสูง
(6) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (7) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับ
ความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก และ (8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดและการกลายพันธุ์ของโรคโควิด-19 และโรคติดเชื้ออื่น

16. เรื่อง ขออนุมัติใช้งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 540,714,700 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด และการเลือกสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตามที่สำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอ
                    ทั้งนี้ เนื่องจากสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในปัจจุบันครบวาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2559 และสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัด ครบวาระการดำรงตำแหน่ง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2559 แต่ในมาตรา 8 วรรคสอง กำหนดให้สมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติ ซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีประกาศรายชื่อสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติชุดใหม่ และสำนักงานสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้ทำหนังสือเรียนเลขาธิการนายกรัฐมนตรีนำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดและสมาชิกสภาเกษตรกรแห่งชาติที่ครบวาระการดำรงตำแหน่ง ซึ่งเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้             แจ้งว่า ได้นำกราบเรียนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีบัญชาเห็นชอบในหลักการตามที่สภาเกษตรกรแห่งชาติเสนอ

ต่างประเทศ
17.  เรื่อง  กรอบท่าทีไทยและเอกสารผลลัพธ์การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อกรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (The Seventh Session of the Committee on Environment and Development: CED 7) ระดับรัฐมนตรี รวมทั้งเห็นชอบในหลักการต่อร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Ministerial Declaration) และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Annex) พร้อมทั้งอนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทย หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายให้การรับรองร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Ministerial Declaration) และภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ (Annex) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ต่อประเทศไทยให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้พิจารณาโดยไม่ต้องนำกลับไปเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้งตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
          1. กรอบท่าทีไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7             (CED 7) ระดับรัฐมนตรี จะดำเนินการบนพื้นฐานความสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี              (พ.ศ. 2561 ? 2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 -2564) ซึ่งขยายการบังคับใช้แผนถึง พ.ศ. 2565 และหมุดหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ตลอดจนแผนปฏิรูปประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
          2. การประชุม CED 7 สมาชิกเอสแคปจะร่วมกันรับรองเอกสารผลลัพธ์ที่สำคัญ ได้แก่
                    1) ร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการปกป้องโลกของเราผ่านความร่วมมือระดับภูมิภาคและความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก ที่แสดงความตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยเน้นย้ำความสำคัญของการเสริมสร้างการดำเนินการเพื่อลดผลกระทบและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การลดมลพิษทางอากาศ การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน การยกระดับเข้าถึงข้อมูลและกระบวนการยุติธรรมด้านสิ่งแวดล้อม และการมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายของสาธารณชน รวมถึงการเสริมสร้างความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับประเทศและระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก รวมทั้งเน้นย้ำบทบาทของเอสแคปในการสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้กับประเทศสมาชิกในการเสริมสร้างขีดความสามารถ การแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ เพื่อต่อสู้กับปัญหาและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม
                    2) แผนปฏิบัติการระดับภูมิภาคว่าด้วยมลพิษทางอากาศ (ภาคผนวกของปฏิญญาระดับรัฐมนตรีฯ) แสดงถึงแนวทางในการตอบสนองต่อความท้าทายด้านมลพิษทางอากาศระดับภูมิภาค อาทิ การส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายวิทยาศาสตร์สำหรับการจัดการคุณภาพอากาศ การจัดตั้งเวทีระดับภูมิภาคเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวทางในการแก้ไขปัญหา การเสริมสร้างขีดความสามารถทางเทคนิคและการเงินเพื่อ                เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาและการระดมความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกสำหรับการดำเนินการในระดับประเทศและความร่วมมือระดับภูมิภาค
          ทั้งนี้ การประชุมคณะกรรมการว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา สมัยที่ 7 (CED 7) ระดับรัฐมนตรี จัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ? 1 ธันวาคม 2565 ณ ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพฯ และผ่านระบบ               การประชุมทางไกล

18. เรื่อง การขอความเห็นชอบให้ไทยร่วมรับรองข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? ขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานและการยืนยันข้อสั่งการของคณะรัฐมนตรีเรื่องการจ่ายค่าบำรุงสมาชิกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมให้ความเห็นชอบต่อข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM1? (ข้อมติฯ IOM) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นและมีการเสนอปรับแก้เอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการโดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติในหลักการให้กระทรวงมหาดไทย (มท.) ทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ (สงป.) ในส่วนของงบประมาณสำหรับจ่ายค่าบำรุงสมาชิก IOM ที่เพิ่มขึ้นตามอัตราที่ได้รับแจ้งจาก IOM เป็นรายปี ซึ่งประเทศไทยในฐานะรัฐสมาชิกยังคงต้องปฏิบัติตามพันธกรณีเรื่องการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิกต่อไปเช่นเดียวกับแนวปฏิบัติที่ผ่านมาตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. IOM หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานมีชื่อเดิมว่า ?คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นฐาน (ICM)? ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2494 (ค.ศ. 1951) ซึ่งต่อมาได้ทำความตกลงเข้าเป็นส่วนหนึ่งในระบบขององค์การสหประชาชาติและปัจจุบัน IOM มีสมาชิก 174 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยและประเทศผู้สังเกตการณ์ 8 ประเทศ โดยมีอาณัติในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้การโยกย้ายถิ่นฐานเป็นไปอย่างปลอดภัย เป็นระเบียบ มีศักดิ์ศรีสอดคล้องกับหลักมนุษยธรรม รวมถึงส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้โยกย้าย ถิ่นฐาน
                    2. กระทรวงการต่างประเทศนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทยร่วมให้ความเห็นชอบต่อข้อมติเรื่อง ?Investing in the Core Structure of IOM? (ข้อมติ IOM) เนื่องจาก IOM (International Organization for Migration) หรือองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานได้มีมติให้ปรับนิยามของโครงสร้างหลักของ IOM ที่เป็นภารกิจที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการ จึงทำให้ IOM ประสบปัญหาขาดงบประมาณในการสนับสนุนโครงสร้างหลัก (Core Structure) ดังกล่าว ดังนั้น IOM จึงได้จัดทำข้อมติฯ IOM เพื่อให้ประเทศสมาชิกซึ่งรวมถึงประเทศไทยร่วมสนับสนุนการจ่ายเงินค่าบำรุงสมาชิกเพิ่มเติมโดยเป็นการเพิ่มแบบขั้นบันไดระหว่างปี พ.ศ. 2566 - 2570 ดังนี้
ปี พ.ศ.          เงินค่าบำรุงสมาชิกที่จะต้องจ่าย          เงินค่าบำรุงสมาชิกส่วนที่
จ่ายเพิ่มในแต่ละปี (ฟรังก์สวิส)
          ฟรังก์สวิส          บาท
2566          248,609          9,278,834          77,024
2567          291,498          10,879,580          42,889
2568          334,388          12,480,363          42,889
2569          377,277          14,081,109          42,889
2570          420,166          15,681,856          42,889
โดยขออนุมัติในหลักการให้กระทรวงมหาดไทยทำความตกลงกับสำนักงบประมาณในส่วนของงบประมาณสำหรับจ่ายค่าบำรุงสมาชิก IOM ที่เพิ่มขึ้นข้างต้น ซึ่ง IOM มีกำหนดการที่จะเสนอข้อมติฯ IOM ในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี IOM สมัยที่ 113 เพื่อให้รัฐสมาชิกรับรองระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ทั้งนี้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้วเห็นควรให้ความเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                    3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับจากการสนับสนุนข้อมติฯ IOM รวมถึงการจ่ายค่าบำรุงสมาชิก IOM ได้แก่
                              1) การคงบทบาทที่สร้างสรรค์และการรักษาภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะหนึ่งในรัฐสมาชิกที่ให้การสนับสนุนความร่วมมือพหุภาคีและองค์การระหว่างประเทศด้านการโยกย้ายถิ่นฐานภายใต้สหประชาชาติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาสำคัญที่ IOM กำลังพยายามปรับโครงสร้างทางการเงินขององค์กรเข้าสู่ระบบการเงินตามมาตรฐานของสหประชาชาติ
                              2) ความร่วมมือพหุภาคีและการสนับสนุน IOM ข้างต้น รวมถึงเครือข่ายระหว่างประเทศด้านการโยกย้ายถิ่นฐานที่ผ่านมาได้นำมาซึ่งประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการและการแก้ไขปัญหาหรือความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการโยกย้ายถิ่นฐานในประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยประเทศไทยในฐานะประเทศที่มีผู้โยกย้ายถิ่นฐานจำนวนมากและหลากหลายกลุ่ม จัดเป็นหนึ่งในประเทศที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงจากการดำเนินงานที่ต่อเนื่องและการรักษาความเข้มแข็งของ IOM ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ IOM ตามพันธกรณีที่เป็นที่เห็นชอบร่วมกันอย่างต่อเนื่องต่อไป
                              3) การร่วมสนับสนุนข้อมติฯ IOM และจ่ายค่าบำรุงสมาชิกจะส่งเสริมและรักษาสถานะของประเทศไทยในการร่วมกำหนดทิศทางของวาระที่สำคัญด้านการโยกย้ายถิ่นฐานในเวทีระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่องต่อไปโดยไม่หยุดชะงัก โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงการตัดสิทธิการลงคะแนนเสียงใน IOM หากรัฐสมาชิกค้างชำระค่าบำรุงสมาชิกหลังปี พ.ศ. 2570 (ค.ศ. 2027) นอกจากนี้ หน่วยงานของประเทศไทยยังสามารถมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการจัดทำโครงการของ IOM ในประเทศเพื่อให้สอดรับกับประโยชน์ของประเทศตนเองได้ และลำดับความสำคัญของเรื่องต่าง ๆ ที่ประเทศไทยประสงค์จะได้รับการสนับสนุนจาก IOM ได้ต่อไปด้วย
1 IOM (International Organization for Migration) คือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน มีสถานะเป็นองค์การเฉพาะทางของสหประชาชาติด้านการโยกย้ายถิ่นฐาน ซึ่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกขององค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐานในปี พ.ศ. 2529 ปัจจุบัน IOM ประเทศไทย ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครและมีสำนักงานย่อย 8 แห่ง ในพื้นที่รอบกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แม่สะเรียง และแม่สอด               การดำเนินการที่สำคัญของ IOM ประเทศไทย ได้แก่ โครงการที่เกี่ยวกับแรงงานข้ามชาติ การทำงานร่วมกับภาคเอกชน งานวิจัยด้านการย้ายถิ่น การให้ความช่วยเหลือผู้ย้ายถิ่น การต่อต้านการค้ามนุษย์ การรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินและวิกฤตการณ์ การตรวจคนเข้าเมืองและบริหารจัดการพรมแดน สุขภาพของผู้ย้ายถิ่น และการจัดส่งผู้ย้ายถิ่นในประเทศที่สาม

19. เรื่อง เอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) (Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบเอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (EANET) [Text for the Supplementary Document (Annex) to the Instrument for Strengthening the EANET] (เอกสารผนวกท้ายตราสารฯ)
                    2. เห็นชอบกับร่างหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการ (official consent letter) และอนุมัติให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ลงนามในหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการ
                    3. มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) เพื่อให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษลงนามในหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการ
                    ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขถ้อยคำในเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดต่อกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับและผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ทส. พิจารณาดำเนินการได้ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
 [ประเทศเครือข่าย EANET ต้องรายงานผลการพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ                  ในการประชุมระดับรัฐบาล ครั้งที่ 24 (IG24) ระหว่างวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2565 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์]
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบเอกสารผนวกท้ายตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่าย EANET (เอกสารผนวกท้ายตราสารฯ) รวมทั้งให้ความเห็นชอบร่างหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการโดยอนุมัติให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษเป็นผู้ลงนามในหนังสือให้ความยินยอมดังกล่าว และให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม                  (Full Powers) ให้อธิบดีกรมควบคุมมลพิษในการลงนามดังกล่าว
                    เครือข่ายการติดตามตรวจสอบการตกสะสมของกรดในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Acid Deposition Monitoring Network in East Asia หรือ EANET) จัดตั้งขึ้นในปี 2541 เพื่อรับมือกับปัญหาการตกสะสมของกรดที่เป็นปัญหามลพิษข้ามพรมแดนในภูมิภาค โดยในช่วงเวลานั้นมีประเทศเครือข่าย จำนวน 10 ประเทศ1 รวมถึงประเทศไทยด้วย (ไม่มีการเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อนเข้าร่วมเครือข่าย) ต่อมาในปี 2543 จึงมีการจัดตั้งศูนย์เครือข่าย (Network Center) เป็นศูนย์ทางวิชาการในประเทศญี่ปุ่น และจัดตั้งสำนักงานเลขาธิการ EANET ในประเทศไทย โดยให้โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ หรือ UNEP เป็นฝ่ายเลขาธิการ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานของ EANET เป็นไปอย่างเหมาะสม มีขอบเขตความร่วมมือ กิจกรรม ภารกิจของประเทศเครือข่าย และการสนับสนุนด้านการเงินแก่ EANET ที่ชัดเจน จึงมีการจัดทำตราสารเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งแก่ EANET (Instrument for Strengthening the EANET) (ตราสารฯ) (คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ 16 พฤศจิกายน 2553) เพื่อเป็น                   แนวทางการดำเนินงานภายใต้ EANET โดยมีการดำเนินงานหลัก เช่น การติดตามตรวจสอบ การศึกษาวิจัย การฝึกอบรมบุคลากรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกสาธารณะเกี่ยวกับการตกสะสมของกรด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม เนื่องจากในปัจจุบันหลายประเทศประสบปัญหามลพิษทางอากาศหลายชนิดที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ประเทศเครือข่ายจึงเห็นควรให้มีการขยายขอบเขตการดำเนินงานของ EANET ให้ครอบคลุมปัญหามลพิษทางอากาศด้วย ระหว่างปี 2562 - 2564 จึงมีการประชุมภายใต้ EANET เพื่อหารือเกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและได้ข้อสรุปให้ขยายขอบเขตการดำเนินงานภายใต้ตราสารฯ ในรูปแบบของเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ (ข้อเสนอในครั้งนี้ ตามข้อ 1) โดยเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดสารที่เป็นมลพิษทางอากาศ เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ ฝุ่นละออง เป็นต้น และในส่วนของข้อกำหนดการดำเนินงานของตราสารฯ เช่น การติดตามและการประเมินผล ความร่วมมือด้านวิชาการ ให้มีผลบังคับใช้กับเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ ต่อไปโดยอนุโลม ยกเว้นมีข้อกำหนดเพิ่มเติมไว้ในเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ รวมถึงเมื่อประเทศเครือข่ายให้ความเห็นชอบต่อเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ แล้ว ขอให้แจ้งสำนักงานเลขาธิการ EANET ในรูปแบบหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการ (official consent letter) (ข้อเสนอในครั้งนี้ตามข้อ 2) ซึ่งประเทศเครือข่ายสามารถพิจารณารูปแบบและเนื้อหาของหนังสือได้ตามความเหมาะสม โดยเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ จะมีผลบังคับใช้ ณ วันที่ทุกประเทศเครือข่ายให้ความเห็นชอบ หรือในกรณีประเทศเครือข่ายให้ความเห็นชอบไม่ครบจะมีผลเฉพาะกับประเทศที่ให้ความเห็นชอบแล้ว ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 แล้วแต่ว่ากำหนดวันใดจะถึงก่อน ทั้งนี้ ทส. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไม่เป็นทางการว่า ในส่วนของประเทศไทย ซึ่ง ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565 ยังไม่ได้เห็นชอบเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ เอกสารดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้กับประเทศไทย ณ วันที่ประเทศไทยลงนามในหนังสือให้ความยินยอมอย่างเป็นทางการ และในประเด็นผลของเอกสารผนวกท้ายตราสารฯ ทส. แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมอย่างไม่เป็นทางการว่า เอกสารดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทยมากนัก เนื่องจากกรมควบคุมมลพิษของ ทส. ซึ่งเป็นหน่วยดำเนินการของ EANET ของประเทศไทย ได้ดำเนินการติดตามสถานการณ์เกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน อยู่แล้ว เป็นต้น
1 ประเทศเครือข่าย EANET ประกอบด้วย ประเทศจีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ รัสเซีย เวียดนาม และไทย ซึ่งปัจจุบันมีประเทศเครือข่ายเพิ่มขึ้นอีก 3 ประเทศ ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ลาว และ              เมียนมา รวมทั้งสิ้น 13 ประเทศ

20.  เรื่อง ขออนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และ                  การประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27
                    2. เห็นชอบให้คณะผู้แทนไทยหารือกับประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงตามประเด็นในกรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่าง                คณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 เพื่อสนับสนุนให้การดำเนินงานและ             ความร่วมมือเป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน                    พ.ศ. 2538
                    3. อนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้ลงนามรับรองในรายงานการประชุม โดยที่เอกสารดังกล่าว มิได้ใช้ถ้อยคำที่ก่อให้เกิดพันธกรณีกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เข้าข่ายหนังสือสัญญา
(การประชุมข้างต้น มีกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ณ จังหวัดบ่าเสียะ-หวุงเต่า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม)
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. รัฐบาลไทยได้ลงนามความตกลงว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขงอย่างยั่งยืน              พ.ศ. 2538 ร่วมกับรัฐบาลกัมพูชา ลาว และเวียดนาม เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2538 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินความร่วมมือในทุกด้านของการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้ การบริหารจัดการและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำและทรัพยากรที่เกี่ยวข้องของลุ่มแม่น้ำโขง เป็นผลให้มีการก่อตั้งคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (Mekong River Commission: MRC)              มีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ ในการสนับสนุนการดำเนินงานและความร่วมมือให้เป็นไปตามพันธกรณีของความตกลงฯ โดยโครงสร้างการบริหารของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง แบ่งออกเป็นองค์กรบริหารถาวร 3 องค์กร คือ (1) คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับรัฐมนตรี ประเทศละ 1 คน                              (2) คณะกรรมการร่วม (Joint Committee) ประกอบด้วย ผู้แทนจากประเทศสมาชิกในระดับอธิบดีขึ้นไป                      ประเทศละ 1 คน และ (3) สำนักงานเลขาธิการ (Secretariat) มีหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ซึ่งคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแต่งตั้งทำหน้าที่บริหารงาน โดยที่ในแต่ละปีผู้แทนในคณะมนตรี จะหมุนเวียนทำหน้าที่ประธานคณะมนตรี ตามลำดับตัวอักษรของประเทศสมาชิก เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายและตัดสินใจการดำเนินงานตามความตกลงฯ ให้บรรลุผลสำเร็จ
                    2. การประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และการประชุมระหว่าง                   คณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือและกำหนดนโยบายความร่วมมือในการบริหารองค์กรของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง และกำหนดแนวทางความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา รวมถึงหุ้นส่วนการพัฒนาและองค์กรระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องหรือผู้แทนจากประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประกอบด้วย ราชอาณาจักร กัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รวมทั้งประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน และสหภาพเมียนมา) และหุ้นส่วนการพัฒนา เข้าร่วมการประชุม
                    3. กรอบการหารือสำหรับการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 และ                    การประชุมระหว่างคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงกับกลุ่มหุ้นส่วนการพัฒนา ครั้งที่ 27 มีสาระสำคัญ                        สรุปดังนี้
                              1) การพิจารณาร่างปฏิญญาสำหรับการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ลงวันที่ 21 กันยายน 2565 และกำหนดการประชุมร่างสุดท้ายของการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 2 - 5 เมษายน 2566 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว โดยที่ประชุมจะพิจารณาร่างปฏิญญาเวียงจันทน์จัดทำขึ้นเพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสุดยอดผู้นำลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ครั้งที่ 4 ซึ่งประเทศสมาชิกคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงได้พิจารณาร่วมกับประเทศเจ้าภาพ (สปป.ลาว) กำหนดแนวคิดหลักของร่างปฏิญญาฯ คือ ?นวัตกรรมและความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านน้ำและความยั่งยืนของลุ่มน้ำโขง?  (Theme: Innovation and Cooperation for a Water Secure and Sustainable Mekong) โดยกำหนดเป้าหมาย เช่น จัดทำแนวปฏิบัติระดับภูมิภาคเพื่อวางแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในลุ่มน้ำโขง การแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านอุทกวิทยากับสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น โดยผู้นำประเทศสมาชิกฯ จะพิจารณาและร่วมให้การรับรอง                      ร่างปฏิญญาเวียงจันทน์ในการประชุมสุดยอดผู้นำฯ ครั้งที่ 4
                              2) การอนุมัติแผนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ประจำปี พ.ศ. 2566 ? 2567 โดยแผนดำเนินงานฯ ประกอบด้วยการจัดทำแผนงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณซึ่งจัดทำเป็นแผนงบประมาณต่อเนื่องหลายปี โดยในส่วนของแผน ปี 2564 ? 2565 จะสิ้นสุดในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 ดังนั้นจึงมีการจัดทำแผนปี 2566 ? 2567 เพื่อให้คณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงพิจารณา อนุมัติในการประชุมคณะมนตรี คณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ครั้งที่ 29 ซึ่งมีสาระสำคัญ อาทิ  (1) ประมาณการรายรับและรายจ่าย (2) กิจกรรมสำหรับแผนปี 2566 ? 2567 ได้แก่ กิจกรรมหลัก เป็นกิจกรรมที่เป็นงานประจำของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เช่น การบริหารองค์กร การบริหารจัดการลุ่มน้ำ (จัดทำข้อมูลลุ่มน้ำ การวิเคราะห์และสร้างแบบจำลอง การวางแผนพัฒนาลุ่มน้ำ การพยากรณ์สภาวะแวดล้อม) และกิจกรรมรอง เป็นกิจกรรมที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อตอบสนองความท้าทายใหม่ ๆ หรือตอบสนองต่อผลสัมฤทธิ์ของแผนพัฒนาลุ่มน้ำ เช่น การศึกษาทางเลือกในการพัฒนาพลังงานไฟฟ้า            อื่นนอกจากไฟฟ้าพลังน้ำ

21.  เรื่อง  ร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ธากาเพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม                 สภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย (Indian Ocean Rim Association Council of Ministers: IORA COM) ครั้งที่ 22 ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ธากาในการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างแถลงการณ์ธากาเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมสภารัฐมนตรีสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ครั้งที่ 22 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองในระดับรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก สรุปสาระสำคัญ ดังนี้                  (1) รับทราบผลการดำเนินงานของกลไกต่าง ๆ ภายใต้สมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดียเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการแก้ไขปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (2) รับทราบความคืบหน้าการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการสมาคมแห่งมหาสมุทรอินเดีย ฉบับที่สอง (ค.ศ. 2022 - 2027) (3) รับทราบการรับรองคำมั่นว่าด้วยความเท่าเทียมทางเพศของสมาคม               แห่งมหาสมุทรอินเดียในวันสตรีสากล (4) รับรองซาอุดีอาระเบียเป็นหุ้นส่วนคู่เจรจา ลำดับที่ 11 ของสมาคมฯ และ (5) เห็นชอบการปรับเปลี่ยนรูปแบบของการประชุมคณะกรรมการเจ้าหน้าที่อาวุโสและสภารัฐมนตรีสมาคมฯ และ               การปรับปรุงการบริหารจัดการของสมาคมฯ
                    2. ร่างแถลงการณ์ธากาไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับ                   ของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในเอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
                    ผลกระทบ
                    การดำเนินการตามร่างแถลงการณ์ธากาสอดคล้องกับนโยบายการต่างประเทศของไทยที่มุ่งเน้น                      การฟื้นฟูเศรษฐกิจจากผลกระทบของโรคโควิด-19 และการส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์กับประเทศสมาชิกสมาคม               แห่งมหาสมุทรอินเดียและประเทศคู่เจรจา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างเศรษฐกิจและสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของไทย โดยเฉพาะประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจภาคทะเล การสร้างความเชื่อมโยงทางทะเล การทำประมงอย่างยั่งยืน และการส่งเสริมบทบาททางเศรษฐกิจของสตรี




แต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ
(กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นางสาวมิรา โครานา นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2565
                     2. นายธนิศ เสริมแก้ว สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์เชี่ยวชาญ) สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่              19 กรกฎาคม 2565
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการ              อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญสังกัดสำนักงาน กปร. ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นางสุพร ตรีนรินทร์ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ กปร. สำนักงาน กปร.
                     2. นางพิชญดา หัศภาค ที่ปรึกษาด้านการพัฒนา (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ กปร. สำนักงาน กปร.
                     3. นายหทัย วสุนันต์ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงาน กปร. ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ กปร. สำนักงาน กปร.
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ในกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอแต่งตั้ง นางสาววันทนา              แจ้งประจักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวงสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง (นักบริหารสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ