สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 พฤษภาคม 2566

ข่าวการเมือง Tuesday May 2, 2023 16:22 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ (2 พฤษภาคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี                    เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย                                                   (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    2.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏ                                                  อุดรธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    3.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุย                                        วิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์                                         (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    4.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือ                                        สนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    5.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผยและการส่ง                                        ข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. ....
                    6.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนลาน                                                  กระบือ จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. ....
                    7.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาต                                        และมีหนังสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    8.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ....
                    9.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์ทาง                                                  การแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    10.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. ....

เศรษฐกิจ-สังคม
                    11.           เรื่อง           ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อน                                                  ตลาดแรงงานไทยเพื่อก้าวผ่านยุคโควิด - 19 : การปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุก                                        ช่วงวัย เพื่อความก้าวหน้ามั่นคงและยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน                                                   วุฒิสภา
                    12.           เรื่อง           รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษา                                        ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
                    13.           เรื่อง            ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)

ต่างประเทศ
                    14.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรางการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน                                         ครั้งที่ 9 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    15.           เรื่อง           ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรี                                        ที่เกี่ยวข้อง
                    16.           เรื่อง           การเสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้ง                                        ที่ 46 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                    17.            เรื่อง           การเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและรับรองต่อเอกสารผลลัพธ์ในระดับ                                        รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับการ                                        ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42
                    18.            เรื่อง           การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของ                                        ของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 16 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์                                        ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและ                                                  สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่                                         11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้าง                                                  ยาวนาน สมัยที่ 11
                    19.           เรื่อง           ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการ                                                  ธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26
                    20.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรี                                                  ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 29 (Joint Statement of the                                                   Twenty-Ninth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council)
                    21.           เรื่อง           การรับรองร่างปฏิญญาของการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมกลุ่ม 77 บวก                                        สาธารณรัฐประชาชนจีน

แต่งตั้ง
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน                                         แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    23.           เรื่อง           การแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุบประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                    1. ได้มีพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย รวม 12 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การศึกษา (2) เทคโนโลยี     (3) นิติศาสตร์ (4) นิเทศศาสตร์ (5) บริหารธุรกิจ (6) รัฐประศาสนศาสตร์ (7) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์             (8) วิทยาศาสตร์ (9) วิศวกรรมศาสตร์ (10) ศิลปศาสตร์ (11) เศรษฐศาสตร์ และ (12) สาธารณสุขศาสตร์ โดยสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์เปิดสอนเฉพาะระดับปริญญาเอกและปริญญาโท
                    2. ต่อมามหาวิทยาลัยราชภัฏเลยได้เปิดสอนเพิ่มในสาขาวิชาการบัญชีและระดับชั้นปริญญาตรีในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ จึงจำเป็นต้องกำหนดปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา รวมทั้งสีประจำสาขาวิชาดังกล่าว ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ครั้งที่ 7/2563 เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2563 และครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) และหลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) ตามลำดับ และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
                    3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาการบัญชีและเพิ่มระดับชั้นปริญญาตรีในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ และกำหนดสีประจำสาขาวิชาการบัญชี ดังนี้
พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560          พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พ.ศ. 2558 (ฉบับที่ 2) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                              ฯลฯ









(12) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีปริญญาสองชั้น คือ
      (ก) เอก เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
      (ข) โท เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ?ส.ม.?          มาตรา 3 ให้ยกเลิกความในมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พ.ศ. 2560 (ฉบับที่ 3) และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                              ฯลฯ
  (1) สาขาวิชาการบัญชี มีปริญญาสามชั้น คือ
          (ก) เอก เรียกว่า ?บัญชีดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?บช.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
          (ข) โท เรียกว่า ?บัญชีมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?บช.ม.?
          (ค) ตรี เรียกว่า ?บัญชีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?บช.บ.?
                              ฯลฯ
(13) สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
      (ก) เอก เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
      (ข) โท เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ใช้อักษรย่อ ?ส.ม.?
      (ค) ตรี เรียกว่า ?สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ส.บ.?
                              ฯลฯ
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 5 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พ.ศ. 2552 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
   ?มาตรา 5 เข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลยมีลักษณะเป็นรูปตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัยทำด้วยโลหะดุนนูนลงยา สูง 5 เซนติเมตร?
                    4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2564 ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดปริญญาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาบัญชี และเพิ่มระดับชั้นปริญญาตรีในสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ รวมทั้งกำหนดสีประจำสาขาวิชาการบัญชี และแก้ไขเข็มวิทยฐานะของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ฉบับที่ ..)       พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาและสีประจำสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รวม 13 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) ครุศาสตร์ (3) เทคโนโลยี (4) นิติศาสตร์ (5) นิเทศศาสตร์ (6) บริหารธุรกิจ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (9) วิทยาศาสตร์ (10) วิศวกรรมศาสตร์ (11) ศิลปศาสตร์ (12) เศรษฐศาสตร์ และ (13) สาธารณสุขศาสตร์
                    2. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอน ดังนี้
                        2.1 เปิดการเรียนการสอนคณะพยาบาลศาสตร์ และในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 10/2562 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2562 ได้มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ เป็นส่วนงานภายในที่มีฐานะเทียบเท่าคณะตามพระราชบัญญัติการบริหารส่วนงานภายในของสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ. 2550
                        2.2 เปิดการเรียนการสอนในสาขาวิชา ดังนี้ (1) สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ (2) สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย และ (3) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ (สาขาวิชาครุศาสตร์อุตสาหกรรม) และกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต) เพิ่มเติม และสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานีได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรการศึกษาแล้ว ดังนี้
                              2.2.1 ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 10/2561 เมื่อวันที่        25 สิงหาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562
                              2.2.2 ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 12/2561 เมื่อวันที่         27 ตุลาคม 2561 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562 สาขาวิชาศิลปกรรมพื้นถิ่น (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562)
                              2.2.3 ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 3/2562 เมื่อวันที่           23 มีนาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562 สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล (5 ปี)
                              2.2.4 ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 12/2562 เมื่อวันที่         24 สิงหาคม 2562 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562) และในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 12/2563 เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2563 ได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขจากหลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2562) เป็น หลักสูตรการแพทย์แผนไทยบัณฑิต สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2564)
                    3. สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
                    4. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการแพทย์แผนไทย สาขาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ และสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ รวมทั้งสีประจำคณะพยาบาลศาสตร์ ดังนี้
                              4.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย          มีปริญญาสามชั้น คือ
                                        (ก) เอก เรียกว่า ?การแพทย์แผนไทยดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พท.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                        (ข) โท เรียกว่า ?การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พท.ม.?
                                        (ค) ตรี เรียกว่า ?การแพทย์แผนไทยบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พท.บ.?
                              4.2 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                        (ก) เอก เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                        (ข) โท เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.ม.?
                                        (ค) ตรี เรียกว่า ?พยาบาลศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?พย.บ.?
                              4.3 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                        (ก) เอก เรียกว่า ?ศิลปดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศล.ด.?
                                                  ฯลฯ
                              หรือ
                                        (ก) เอก เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                        (ข) โท เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.ม.?
                                        (ค) ตรี เรียกว่า ?ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ศป.บ.?
                              4.4 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                        (ก) เอก เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                        (ข) โท เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.ม.?
                                        (ค) ตรี เรียกว่า ?ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ค.อ.บ.?
                              4.5 กำหนดสีประจำคณะพยาบาลศาสตร์
                    5. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 9/2564 เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2564 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 4 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สาขาวิชาการการแพทย์แผนไทย สาขาวิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ และสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และสีประจำคณะพยาบาลศาสตร์

3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุบประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมรับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                    1. โดยที่พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2564 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาและสีประจำสาขาวิชาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย รวม 12 สาขาวิชา ได้แก่ (1) การบัญชี (2) การศึกษา (3) นิติศาสตร์ (4) นิเทศศาสตร์ (5) บริหารธุรกิจ (6) พยาบาลศาสตร์ (7) รัฐประศาสนศาสตร์ (8) วิจิตรศิลป์และประยุกต์ศิลป์ (9) วิทยาศาสตร์ (10) ศิลปศาสตร์ (11) เศรษฐศาสตร์ และ (12) สาธารณสุขศาสตร์
                    2. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ได้กำหนดปริญญาในสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์เพิ่มขึ้น โดยได้เปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต ซึ่งในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2565 ได้มีมติเห็นชอบหลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2565 และสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รับทราบการให้ความเห็นชอบหลักสูตรดังกล่าวด้วยแล้ว
                    3. อว. จึงได้ยกร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยปริญญาในสาขาวิชา อักษรย่อสำหรับสาขาวิชา ครุยวิทยฐานะ เข็มวิทยฐานะ และครุยประจำตำแหน่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เพื่อกำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ รวมทั้งสีประจำสาขาวิชา ดังนี้
                       3.1 กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ มีปริญญาสามชั้น คือ
                                        (ก) เอก เรียกว่า ?ดุริยางคศาสตรดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ดศ.ด.? และ ?ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ปร.ด.?
                                        (ข) โท เรียกว่า ?ดุริยางคศาสตรมหาบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ดศ.ม.?
                                        (ค) ตรี เรียกว่า ?ดุริยางคศาสตรบัณฑิต? ใช้อักษรย่อ ?ดศ.บ.?
                        3.2 กำหนดสีประจำสาขาวิชาดุริยางคศาสตร์ สีเขียวอ่อน
                    4. ในคราวประชุมสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาตามข้อ 3 แล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กำหนดปริญญาในสาขาวิชาและอักษรย่อสำหรับสาขาวิชา และสีประจำสาขาดุริยางคศาสตร์

4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน          (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                    1. มาตรา 65 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติว่าพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ต่อมา กค. ได้มีกฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563 และที่แก้ไขเพิ่มเติม1 โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้กำหนดประเภทของพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน ดังนี้ 1) พัสดุส่งเสริมและพัฒนาด้านการเกษตร 2) พัสดุส่งเสริมวิสาหกิจและการประกอบอาชีพ 3) พัสดุส่งเสริมการเรียนการสอน 4) พัสดุส่งเสริมนวัตกรรม 5) พัสดุส่งเสริมสุขภาพและสาธารณสุข 6) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ 7) พัสดุส่งเสริมความมั่นคงด้านความปลอดภัยทางอาหารและสินค้าเกษตร 8) ประเภทของที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน 9) พัสดุส่งเสริมการผลิตภายในประเทศ และ 10) พัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
                    2. ปัจจุบันงานจ้างที่ปรึกษาตามมาตรา 69 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 บัญญัติให้กระทำได้ 3 วิธี ได้แก่
                              2.1 วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป
                              2.2 วิธีคัดเลือก
                              2.3 วิธีเฉพาะเจาะจง โดยกระทำได้ในกรณี เช่น 1) ใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปและวิธีคัดเลือกแล้วไม่มีผู้ยื่นข้อเสนอหรือข้อเสนอนั้นไม่ได้รับการคัดเลือก 2) เป็นงานที่จำเป็นต้องให้ที่ปรึกษารายเดิมทำต่อจากงานที่ได้ทำไว้แล้ว เนื่องจากเหตุผลทางเทคนิค และ 3) กรณีอื่นที่กำหนดในกฎกระทรวง (หากกำหนดว่าหน่วยงานใดเป็นหน่วยงานประเภทที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนไว้ในกฎกระทรวง หน่วยงานของรัฐที่มีความประสงค์จัดจ้างที่ปรึกษาสามารถจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้เลย สำหรับขั้นตอนการดำเนินการจะต้องปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560)
                    3. กค. พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่หน่วยงานของรัฐที่ประสงค์จะจัดจ้าง สคพ. เป็นที่ปรึกษาโดยสามารถจ้าง สคพ. โดยวิธีเฉพาะเจาะจงได้ และสนับสนุน สคพ. ในการทำงานให้กับหน่วยงานของรัฐ จึงเห็นควรเพิ่มเติม สคพ. เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน โดย กค. ได้ดำเนินการจัดทำร่างกฎกระทรวงตามข้อ 1 ทั้งนี้ สคพ. เป็นหน่วยงานของรัฐประเภทองค์การมหาชน สังกัดกระทรวงพาณิชย์ มีอำนาจหน้าที่ เช่น จัดการศึกษาอบรมและให้การสนับสนุนการค้นคว้าวิจัยแก่บุคลากรของประเทศต่าง ๆ ด้านการค้าระหว่างประเทศ การเงิน การคลัง และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศกำลังพัฒนาโดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชีย เพื่อกำหนดนโยบายด้านเศรษฐกิจ และมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมร่วมกัน และส่งเสริมสนับสนุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาค2 ปัจจุบันมีหน่วยงานของรัฐประเภทที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนรวม 6 แห่ง3 ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยของรัฐทุกแห่ง 2) ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์   3) สถาบันพระปกเกล้า 4) สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย 5) สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร. และ 6) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                    4. คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ในการประชุมครั้งที่ 8/2565 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ได้เห็นชอบประเภทพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนตามที่กำหนดในหลักการร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    กำหนดเพิ่มเติมให้ สคพ. เป็นที่ปรึกษาที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุนประเภทที่ปรึกษาที่เป็นหน่วยงานของรัฐ โดยให้หน่วยงานของรัฐจัดจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงหรือหากหน่วยงานของรัฐไม่ประสงค์จะจัดจ้างโดยวิธีเฉพาะเจาะจง หน่วยงานของรัฐจะใช้วิธีประกาศเชิญชวนทั่วไปหรือวิธีคัดเลือกก็ได้


1 กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563
2 พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและพัฒนา (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
3 มาตรา 29 กฎกระทรวงกำหนดพัสดุและวิธีการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พ.ศ. 2563

5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผยและการส่งข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาการเปิดเผยและการส่งข้อมูลการอุดมศึกษา พ.ศ. .... ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว เป็นร่างกฎกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2564 โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่สถาบันอุดมศึกษาต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาแก่สาธารณะ เพื่อประโยชน์ในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา และกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาที่สถาบันอุดมศึกษาต้องจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนด้านการอุดมศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษา ซึ่งร่างกฎกระทรวงที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดังกล่าว มีสาระสำคัญที่แตกต่างไปจากร่างกฎกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการโดยได้ตัดหลักการเกี่ยวกับการกำหนดให้หน่วยงานของรัฐและเอกชนตามลักษณะที่สภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติกำหนด ส่งข้อมูลเกี่ยวกับการอุดมศึกษาให้แก่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตามที่ได้รับการร้องขอออก รวมทั้งได้กำหนดรายละเอียดข้อมูลที่สถาบันอุดมศึกษาต้องเปิดเผยหรือจัดส่งและระยะเวลาดำเนินการในร่างกฎกระทรวงดังกล่าว แทนการกำหนดให้รายละเอียดและระยะเวลาดังกล่าวเป็นไปตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กำหนด
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษาต่อสาธารณะผ่านทางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือวิธีการอื่นใดที่ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงได้โดยสะดวก เพื่อประโยชน์ในการติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของสถาบันอุดมศึกษา โดยให้เปิดเผยข้อมูลดังต่อไปนี้
                              1.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาซึ่งประกอบด้วยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับสถาบันอุดมศึกษาและข้อมูลการนำองค์กร
                              1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา
                              1.3 ข้อมูลเกี่ยวกับผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ หน้าที่ และอำนาจของสถาบันอุดมศึกษา
ทั้งนี้ รายละเอียดข้อมูลดังกล่าวและระยะเวลาที่ต้องเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้เป็นไปตามบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวง
                    2. กำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาจัดส่งเกี่ยวกับการจัดการศึกษาและมาตรฐานการศึกษา การวิจัยและนวัตกรรม และการให้บริการทางวิชาการ ให้แก่ สป.อว. ผ่านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อประโยชน์ในการจัดทำแผนด้านการอุดมศึกษาและการพัฒนาคุณภาพการอุดมศึกษา การวิจัยและนวัตกรรม ตลอดจนการมีส่วนร่วมของสาธารณชนในการตรวจสอบสถาบันอุดมศึกษา โดยให้จัดส่งข้อมูลดังต่อไปนี้
                              2.1 ข้อมูลสถานศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา
                              2.2 ข้อมูลบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
                              2.3 ข้อมูลผู้เรียนของสถาบันอุดมศึกษา
                              2.4 ข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา
                              2.5 ข้อมูลการมีงานทำของผู้สำเร็จการศึกษา
                              2.6 ข้อมูลหลักสูตรที่ให้ปริญญา
                              2.7 ข้อมูลหลักสูตรที่ไม่ได้ให้ปริญญา
                              2.8 ข้อมูลการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพการศึกษา
                              2.9 ข้อมูลการสะสมหน่วยกิตและการเทียบโอนหน่วยกิต
                              2.10 ข้อมูลวิทยานิพนธ์ รายงานการค้นคว้าอิสระ และผลงานอื่นที่นำเสนอเพื่อให้สำเร็จการศึกษา
                              2.11 ข้อมูลวารสารวิชาการซึ่งสถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ออกและเผยแพร่ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติหรือระดับชาติ เช่น ฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย ฐานข้อมูล International Statistical Institute ฐานข้อมูล Scopus
                              2.12 ข้อมูลงานวิจัยและนวัตกรรม
                              2.13 ข้อมูลนักวิจัย
                              2.14 ข้อมูลเครื่องมืออุปกรณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีห้องปฏิบัติการ หรือโรงงานต้นแบบ
                              2.15 ข้อมูลการให้บริการทางวิชาการ
                              2.16 ข้อมูลทุนการศึกษาของผู้เรียนและบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา
                              2.17 ข้อมูลความร่วมมือทางด้านวิชาการและการจัดการศึกษากับเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                              2.18 ข้อมูลแผนการรับผู้เรียนประจำปีการศึกษา
ทั้งนี้ ระยะเวลาที่ต้องจัดส่งข้อมูลดังกล่าวให้เป็นไปตามบัญชีท้ายร่างกฎกระทรวง
                    3. กำหนดให้ในการจัดส่งข้อมูลตามข้อ 2.12 ให้สถาบันอุดมศึกษาแจ้งหรือเชื่อมโยงข้อมูลงานวิจัยและนวัตกรรมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยถือว่าสถาบันอุดมศึกษานั้นได้จัดส่งข้อมูลให้แก่ สป.อว. แล้ว และให้ สป.อว. แจ้งหรือเชื่อมโยงข้อมูลตามข้อ 2.13 และ 2.14 ที่ได้รับจากสถาบันอุดมศึกษากับ วช. ด้วย รวมทั้งให้ สป.อว. และ วช. แจ้งหรือเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าวที่ตนได้รับเพื่อประโยชน์ในการบูรณาการข้อมูลระหว่างกันและลดภาระของสถาบันอุดมศึกษาในการจัดส่งข้อมูลให้แก่หน่วยงานของรัฐ
                    4. กำหนดให้ สป.อว. มีหน้าที่จัดทำแพลตฟอร์มเชื่อมโยงข้อมูลเข้าสู่ฐานข้อมูลด้านการอุดมศึกษา เพื่อประโยชน์ในการให้บริการข้อมูล ณ จุดเดียว แก่หน่วยงานในกระทรวง สถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานอื่น และสาธารณชน รวมถึงการเชื่อมโยงข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และฐานข้อมูลอื่นกับหน่วยงานอื่นของรัฐและหน่วยงานภาคเอกชน
                    5. กำหนดให้กรณีที่พบว่าสถาบันอุดมศึกษาเปิดเผยหรือจัดส่งข้อมูลการอุดมศึกษาไม่ถูกต้อง        ไม่ครบถ้วน หรือไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้ สป.อว. แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรให้สถาบันอุดมศึกษาดำเนินการให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากสถาบันอุดมศึกษาไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนด       ให้ สป.อว. แจ้งให้คณะกรรมการการอุดมศึกษาหรือคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาทราบ แล้วแต่กรณี      และประกาศให้สาธารณชนทราบเป็นการทั่วไป

6. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติดังนี้
                    1. เห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    2. ให้กระทรวงมหาดไทยรับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอเป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลลานกระบือ ตำบลจันทิมา และตำบลโนนพลวง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่งการสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สอดคล้องกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งอนุรักษ์และสงวนที่เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรทางธรรมชาติ และเป็นศูนย์กลางหลักของชุมชน ด้านการบริหาร การปกครอง ผ่านพาณิชยกรรมโดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภทนั้นๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมในท้องที่ตำบลลานกระบือ ตำบลจันทิมาและตำบลโนนพลวง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมเพื่อให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมีแนวทางในการพัฒนาและดำรงรักษาพื้นที่ ดังต่อไปนี้
                              1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนลานกระบือให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การพาณิชยกรรม และการบริการในระดับอำเภอ
                              1.2 ส่งเสริมและพัฒนาที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม ให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ
                              1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
                              1.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                    2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

ประเภท          วัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)          - เป็นพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบางและเป็นศูนย์กลางการอยู่อาศัยของชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่ดี รวมทั้งรองรับการขยายตัวด้านการอยู่อาศัยในอนาคตซึ่งมีการก่อสร้างอาคารอยู่อาศัยได้หลายประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ของอาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และมีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)           - เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยบริเวณที่ต่อเนื่องจากศูนย์กลางพาณิชยกรรมซึ่งมีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว หอพัก อาคารชุด อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาด พื้นที่อาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และมีความสูงของอาคารไม่เกิน 12 เมตร
3. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)          - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมของชุมชนลานกระบือ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักเพื่อส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการบริการของชุมชน ประกอบด้วย ตลาด ศูนย์การค้า สำนักงาน โรงแรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารซึ่งต้องมีความสูงไม่เกิน 12 เมตรรวมทั้งกำหนดให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากเพื่อรองรับการประกอบกิจการดังกล่าว
4. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)          - เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำนา ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ การสงวนรักษาพื้นที่เกษตรกรรม และการส่งเสริมเศษฐกิจการเกษตร
5. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)          - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
6. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)          - เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์ในการกำหนดพื้นที่โล่งไว้เพื่อให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ประกอบด้วย สระบึงกิ่ว สระน้ำเทศบาลตำบลลานกระบือ สระน้ำองค์การบริหารส่วนตำบลโนนพลวง (สระประมงหมู่บ้าน)
7. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)          - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และพื้นที่ของเอกชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ สำหรับที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินพื่อให้สอดคล้องกับป่าไม้โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดพื้นที่ของอาคารอยู่อาศัยซึ่งต้องไม่เกิน 500 ตารางเมตร และมีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร
8. ที่ประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)          -มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็น
สถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียนบ้านหนองแขม โรงเรียนบ้านปลักไม้ดำ โรงเรียนอนุบาลลานกระบือ
9. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัดโพธิ์เตี้ย วัดสามัคคีธรรม วัดแก้วสุริย์ฉาย
10. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)          - มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรมต่าง ๆ ของรัฐบาลเพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลลานกระบือ ศูนย์ราชการอำเภอลานกระบือ โรงพยาบาลลานกระบือ
                    3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท
                    4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ก 8 ถนนสาย ก 9 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ข 3 ถนนสาย ค 1 และถนนสาย ง ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทยโดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                              4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภค และสาธารณูปการ
                              4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                              4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่

7. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตและมีหนังสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตและมีหนังสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปได้ด้วย
                    ข้อเท็จจริง
                    1. สมาคมกาแฟไทยได้ขอให้คณะอนุกรรมการพืชสวนพิจารณาทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกกาแฟ เพื่อเป็นการสนับสนุนการส่งออกกาแฟคั่วที่มาจากเมล็ดกาแฟไทยผสมกับเมล็ดกาแฟต่างประเทศ เนื่องจากปัจจุบันกาแฟคั่วผสมจากแหล่งปลูกประเทศอื่นไม่ได้รับอนุญาตให้ส่งออก และที่ประชุมคณะอนุกรรมการพืชสวน มีมติมอบหมายให้ พณ. (กรมการค้าต่างประเทศ) พิจารณาทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกกาแฟ
                    2. ในการประชุมคณะอนุกรรมการพืชสวน ครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 มีมติเห็นชอบการทบหวนประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งกาแฟออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกกาแฟที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศตามที่ พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศเสนอ ดังนี้ 1) เพิ่มคำนิยาม ?เมล็ดกาแฟคั่ว? 2) ปรับแก้ไขการกำหนดขอบเขตสินค้าที่จะไม่อยู่ภายใต้มาตรการหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อบังคับขององค์การกาแฟระหว่างประเทศ (International Coffee Organization: ICO) โดยเพิ่มกรณีเมล็ดกาแฟคั่วที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟดิบนำเข้าจากต่างประเทศและที่ผสมระหว่างเมล็ดกาแฟดิบในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ และ 3) ปรับแก้ไขข้อยกเว้นมาตรการขออนุญาตและหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฯ โดยเพิ่มกรณีส่งคืนสินค้ากาแฟกลับประเทศต้นทาง (ส่งกลับ) ต่อมาในการประชุมคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ที่ประชุมมีมติรับทราบการทบทวนประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ และมอบหมายให้ พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศทบทวนกฎหมายดังกล่าว และให้ดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป
                    3. ดังนั้น เพื่อเป็นการปรับปรุงการกำกับดูแลการส่งออกกาแฟให้เป็นไปด้วยความเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์การผลิตและการตลาดภายในประเทศ และเป็นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยสามารถส่งออกเมล็ดกาแฟคั่วและผลิตภัณฑ์กาแฟที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ และจากเมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศผสมกับเมล็ดกาแฟดิบภายในประเทศไปยังตลาดรับซื้อต่างประเทศได้สะดวกมากขึ้น รวมทั้งให้เป็นไปตามมติที่ประชุมฯ ตามข้อ 1 และข้อ 2 พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศพิจารณาแล้วเห็นควรยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งกาแฟออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 และยกร่างประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตและมีหน้าสือรับรองในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. ....    ขึ้นใหม่
                    4. พณ. โดยกรมการค้าต่างประเทศได้จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศกระทรวงตามข้อ 3 ผ่านเว็บไซต์กรมการค้าต่างประเทศ ระหว่างวันที่ 3 - 17 มกราคม 2566 โดยมีผู้ให้ความเห็น จำนวน 26 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เห็นด้วยต่อร่างประกาศดังกล่าว (ร้อยละ 92.31) และมีบางส่วน (ร้อยละ 7.69) ให้ความเห็นว่าการกำหนดให้ผู้ส่งออกกาแฟต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อบังคับของ ICO จะทำให้การส่งออกยุ่งยากและมีขั้นตอนมากขึ้น อาจทำให้การส่งออกเกิดความล่าช้าได้ รวมทั้งเห็นว่ามาตรการหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฯ อาจไม่มีความจำเป็น เนื่องจากประเทศคู่ค้าไม่ได้กำหนดให้หนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฯ เป็นเอกสารประกอบการนำเข้า ดังนั้น กรมการค้าต่างประเทศจึงนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการจัดทำร่างประกาศกระทรวงดังกล่าวแล้ว แต่เห็นว่าจำเป็นต้องกำหนดให้การส่งออกกาแฟต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าฯ (ยกเว้นการส่งออกเมล็ดกาแฟคั่วที่ผลิตจากเมล็ดกาแฟดิบนำเข้าจากต่างประเทศ หรือเมล็ดกาแฟดิบนำเข้าจากต่างประเทศผสมกับเมล็ดกาแฟดิบภายในประเทศ) เพื่อให้เป็นไปตามความตกลงขององค์การกาแฟระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคี
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ
                    1. ยกเลิกประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง การส่งกาแฟออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2551
                    2. ปรับปรุงประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
ประเด็น          ประกาศ พณ.ฯ พ.ศ. 2551          ประกาศร่าง พณ.ฯ ที่ พณ. เสนอ
1. บทนิยาม          ?           ?กาแฟ? หมายความว่า ผลกาแฟ เมล็ดกาแฟไม่ว่าจะคั่ว บด หรือแยกเอาสารคาเฟอีนออกแล้วหรือไม่ก็ตาม และให้หมายความรวมถึงผลิตภัณฑ์กาแฟด้วย



?           ?เมล็ดกาแฟดิบ? หมายความว่า เมล็ดกาแฟที่ยังไม่ได้คั่วหรือบด          ?           ?กาแฟ? หมายความว่า
1) ผลกาแฟ ที่ยังไม่กะเทาะเปลือกและที่กะเทาะเปลือกแล้วแต่ยังมีเยื่อหุ้มอยู่
2) เมล็ดกาแฟ ที่คั่วแล้วและยังไม่คั่วทั้งที่บดแล้วและยังไม่บด ทั้งที่แยกสารกาแฟอีนออกแล้ว และยังไม่แยกสารกาแฟอีนออก
3) ผลิตภัณฑ์กาแฟ ที่มีสิ่งสกัด หัวเชื้อ หรือสิ่งเข้มข้นของกาแฟ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน ผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 36.54
?           ?เมล็ดกาแฟดิบ? หมายความว่า เมล็ดกาแฟที่ยังไม่คั่ว ทั้งที่บดแล้วและยังไม่บด (เพิ่มเมล็ดกาแฟดิบที่บดแล้ว)
?           ?เมล็ดกาแฟคั่ว? หมายความว่า เมล็ดกาแฟที่คั่วแล้วทั้งที่บดแล้วและยังไม่บด (เดิมไม่มี)
2. การขออนุญาตในการส่งออก          ?          ให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องขออนุญาตในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร          ?          คงเดิม
3. การมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า          ?          ให้กาแฟเป็นสินค้าที่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าตามข้อบังคับขององค์การกาแฟระหว่างประเทศ (International Coffee Organization: ICO) ซึ่งออกโดยกรมการค้าระหว่างประเทศในการส่งออกไปนอกราชอาณาจักร          ?          คงเดิม
4. กรณีที่ไม่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า          ?          การส่งออกผลิตภัณฑ์กาแฟซึ่งผลิตจากเมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ          ?          การส่งออกเมล็ดกาแฟคั่วและผลิตภัณฑ์กาแฟที่ผลิตจาก
1) เมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ
2) เมล็ดกาแฟดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศผสมกับเมล็ดกาแฟดิบภายในประเทศ (เดิมไม่มี)
5. กรณียกเว้นการขออนุญาตในการส่งออกและไม่ต้องมีหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า          1) กรณีที่นำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัว
2) กรณีที่ยานพาหนะนำออกไปเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้น ๆ
3) กรณีส่งออกไปเป็นตัวอย่างในปริมาณที่จำเป็น          1) การส่งกาแฟที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรกลับออกไปนอกราชอาณาจักร [ส่งกลับประเทศต้นทาง (เดิมไม่มี)]
2) การนำติดตัวออกไปเพื่อใช้เฉพาะตัวการนำออกไปพร้อมยานพาหนะเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้น ๆ และการส่งออกเพื่อเป็นตัวอย่างในปริมาณ ดังนี้
          2.1) ผลกาแฟที่ยังไม่กะเทาะเปลือกปริมาณไม่เกิน 120 กิโลกรัม
          2.2) ผลกาแฟที่กะเทาะเปลือกแล้วแต่ยังมีเยื่อหุ้มอยู่ ปริมาณไม่เกิน 75 กิโลกรัม
          2.3) เมล็ดกาแฟดิบ ปริมาณไม่เกิน 60 กิโลกรัม
          2.4) เมล็ดกาแฟคั่ว ปริมาณไม่เกิน50.40 กิโลกรัม
          2.5 ผลิตภัณฑ์กาแฟ ปริมาณไม่เกิน 23 กิโลกรัม
(ระบุปริมาณเพื่อความชัดเจน ซึ่งเป็นปริมาณเดิมที่กำหนดไว้ในระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการอนุญาตให้ส่งกาแฟออกไปนอกราชอาณาจักร พ.ศ. 2551)

8. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกำหนดให้อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการการศึกษาธิการจังหวัดแทน ประกอบกับการเสนอร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 8) และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2564 และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการจัดตั้ง รวม หรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน        พ.ศ. 2550
                    2. กำหนดหลักเกณฑ์การจัดตั้ง ยุบ รวม หรือเลิกสถานศึกษา ดังนี้
                              2.1 การจัดตั้งสถานศึกษามีหลักเกณฑ์ ดังนี้
                                        (1) ระดับประถมศึกษาต้องมีนักเรียนในแต่ละชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 25 คน  ถ้าไม่เป็นไปตามเกณฑ์ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
                                        (2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและหรือระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีนักเรียนในแต่ละชั้นเรียนไม่น้อยกว่า 80 คน ถ้าไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ให้จัดตั้งเป็นสาขาของสถานศึกษาอื่น
                                        (3) สถานที่จัดตั้งเป็นที่ดินที่มีหลักฐานอนุญาตให้ใช้ไม่น้อยกว่า 25 ไร่
                                        (4) กรณีจัดตั้งขึ้นใหม่ต้องอยู่ห่างจากสถานศึกษาประเภทเดียวกันของรัฐ เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ตั้งอยู่เดิมไม่น้อยกว่า 6 กิโลเมตร
                                        (5) กรณีในท้องที่ชุมชนหนาแน่นหรือมีความจำเป็นพิเศษ หากไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเสนอคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดให้ความเห็นชอบการจัดตั้งสถานศึกษา ในท้องที่ดังกล่าว ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงงบประมาณ ประสิทธิภาพ และคุณภาพของการจัดการศึกษา
                                        (6) จัดทำแผนการคาดคะเนประชากรวัยเรียนไม่น้อยกว่า 3 ปีการศึกษาถัดไป จัดทำที่ตั้ง แผนผัง และชื่อสถานศึกษา หลักฐานการอนุญาตให้ใช้ที่ดิน หลักสูตรการเรียนการสอน การดำเนินการเกี่ยวกับบุคลากร และงบประมาณ
                                        (7) ให้เสนอแผนการจัดตั้งฯ ต่อเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้ความเห็นเพื่อนำเสนอคณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัดประกอบการให้ความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้ว ให้สำนักงานฯ ประกาศการจัดตั้งสถานศึกษานั้น ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากคณะกรรมการฯ และเผยแพรให้ประชาชนทราบโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์รวมถึงปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน พร้อมทั้งรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเร็วเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                              2.2 การยุบสถานศึกษามีหลักเกณฑ์ ดังนี้
                                        (1) ระดับประถมศึกษาที่มีนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 น้อยกว่า 10 คน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีการศึกษา
                                        (2) ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 น้อยกว่า 10 คน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีการศึกษา หรือมีนักเรียนทั้งระดับน้อยกว่า 30 คน
                                        (3) ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งดังนี้ (3.1) มีนักเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 น้อยกว่า 10 คน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 ปีการศึกษา (3.2) มีนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่ง น้อยกว่า 10 คน (3.3) มีนักเรียนทั้งระดับ น้อยกว่า 40 คน (3.4) มีแผนชั้นเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น น้อยกว่า 3 ห้องเรียน
                                        (4) กรณีในท้องที่ที่มีความจำเป็นพิเศษหากมีความจำเป็นอย่างอื่นให้สำนักงานฯ เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบการยุบสถานศึกษาในท้องที่ดังกล่าว
                                        (5) จัดทำแผนเกี่ยวกับบุคลากรเด็กนักเรียน จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้ การยุบสถานศึกษาให้ยุบทีละ 1 ชั้นเรียน เริ่มตั้งแต่ชั้นต้นของระดับ เว้นแต่มีเหตุผลความจำเป็นอาจยุบปีละเกินกว่า 1 ชั้นเรียน หรืออาจยุบทั้งระดับ
                                        (6) ให้เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบการยุบสถานศึกษา เมื่อเห็นชอบแล้ว ให้ประกาศภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากคณะกรรมการฯ และให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน พร้อมทั้งรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบโดยเร็ว
                              2.3 การรวมสถานศึกษามีหลักเกณฑ์ ดังนี้
                                        (1) มีนักเรียนรวมกันทุกชั้นเรียนไม่เกิน 120 คน ให้จัดทำแผนเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ ทรัพย์สิน เอกสารสำคัญ และการช่วยเหลือเด็กนักเรียน
                                        (2) จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                        (3) ให้นักเรียนทุกชั้นเรียนในสถานศึกษาที่ตั้งอยู่ใกล้กันตั้งแต่สองแห่งขึ้นไปมาเรียนรวมกัน เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพและลดภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร
                                        (4) เมื่อคณะกรรมการให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ประกาศภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากคณะกรรมการ และให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน พร้อมทั้งรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทราบโดยเร็ว
                                        (5) เมื่อประกาศการรวมสถานศึกษาแล้ว ให้สถานศึกษาหลักรับย้ายนักเรียนที่มาเรียนรวมจากสถานศึกษาอื่นมาเป็นนักเรียนของสถานศึกษาหลัก ให้สถานศึกษาที่มารวมโอนบรรดาสิทธิในงบประมาณหรือเงินอุดหนุน ทรัพย์สิน สิทธิ สิทธิเรียกร้อง หนี้ ไปเป็นของสถานศึกษาหลัก และให้สำนักงานดำเนินการเลิกสถานศึกษาที่มารวมภายใน 360 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากคณะกรรมการ
                              2.4 การเลิกสถานศึกษามีหลักเกณฑ์ ดังนี้
                                        (1) การเลิกสถานศึกษากรณีไม่มีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอนให้จัดทำแผนเสนอคณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบการดำเนินการเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ ทรัพย์สิน และเอกสารสำคัญ
                                        (2) การเลิกสถานศึกษากรณีเป็นสถานศึกษาที่ไปรวมสถานศึกษาหลักให้จัดทำแผนการดำเนินการเกี่ยวกับบุคลากร งบประมาณ ทรัพย์สิน เอกสารสำคัญ และการช่วยเหลือเด็กนักเรียน
                                        (3) จัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
                                        (4) เมื่อสำนักงานดำเนินการตาม (1) และ (2) แล้ว ให้เสนอคณะกรรมการฯ ให้ความเห็นชอบ เมื่อเห็นชอบแล้ว ให้ประกาศภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งมติจากคณะกรรมการ และให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงปิดประกาศไว้ในที่เปิดเผย ณ สำนักงาน พร้อมทั้งรายงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยเร็วเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                                        (5) เมื่อประกาศการเลิกสถานศึกษานั้นแล้ว ให้สำนักงานจัดให้มีการตรวจสอบทรัพย์สินและชำระบัญชี รวมถึงการดำเนินการโอนหรือจำหน่ายทรัพย์สินที่ยังคงเหลืออยู่ของสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นกำหนด
                                        (6) บรรดาเอกสารสำคัญของสถานศึกษาที่ถูกเลิก ให้โอนไปอยู่ในความดูแลรับผิดชอบของสำนักงานหรือสถานศึกษาหลัก เช่น การเลิกสถานศึกษากรณีไม่มีนักเรียนที่จะจัดการเรียนการสอนให้เก็บไว้ที่สำนักงาน สำหรับการเลิกสถานศึกษากรณีเป็นสถานศึกษาที่ไปรวมสถานศึกษาหลักให้เก็บไว้ที่สถานศึกษาหลัก

9. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานปัจจุบันมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับอยู่แล้ว แต่เนื่องจากใช้บังคับมานานเกินกว่า 5 ปีแล้ว [โดยอ้างอิงจากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) หากมาตรฐานบังคับใดใช้มาเกิน 5 ปี ควรจะต้องมีการทบทวนใหม่ ] รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการและมาตรฐานสากลที่ใช้ในปัจจุบัน และเป็นการส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ภายในประเทศเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและมีความปลอดภัย ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้วด้วย
                    สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 539 - 25xx ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6868 (พ.ศ. 2565) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์การแพทย์และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคาร์บอนไดออกไซด์ทางการแพทย์ ลงวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
                    2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

10. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ และให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย พร้อมกับร่างประกาศเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... ที่วุฒิสภาจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อประกาศใช้บังคับตามลำดับต่อไป
                     สาระสำคัญ
                     1. ร่างพระราชกฤษฎีกาที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ เป็นการดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งเป็นกรณีที่วุฒิสภาแจ้งว่ามีความจำเป็นต้องมีการเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา เพื่อให้วุฒิสภาดำเนินการประชุมเพื่อทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 126 (2) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้แก่ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ตามมาตรา 232 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย กรรมการการเลือกตั้ง ตามมาตรา 222 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ตามมาตรา 238 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยประธานวุฒิสภาจะได้นำร่างประกาศเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2566) ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายตามมาตรา 126 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และแจ้งว่าเห็นสมควรให้ปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภาในวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยนายกรัฐมนตรีจะได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. .... (ตั้งแต่วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2566) ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ตามมาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องจากมาตรา 126 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มิได้กำหนดรูปแบบในการดำเนินการปิดประชุมดังกล่าวไว้ จึงสมควรดำเนินการจัดทำเป็นพระราชกฤษฎีกาตามความในมาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ซึ่งเทียบเคียงกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้นแทนตำแหน่งที่ว่าง ได้มีประกาศเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา           พ.ศ. 2540 และพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2540 และกรณีการพิจารณาให้ความเห็นชอบผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีประกาศเรียกประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2551 และพระราชกฤษฎีกาปิดประชุมสมัยวิสามัญแห่งรัฐสภา พ.ศ. 2542)
                    2. โดยที่ร่างพระราชกฤษฎีกาที่เกี่ยวกับการเรียกและปิดประชุมรัฐสภาสมัยประชุมสามัญหรือสมัยประชุมวิสามัญ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2) ได้ตรวจพิจารณาและวางรูปแบบของร่างพระราชกฤษฎีกาไว้แล้ว ซึ่งการเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในครั้งนี้เป็นไปตามรูปแบบของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 2)


เศรษฐกิจ-สังคม
11. เรื่อง ผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทยเพื่อก้าวผ่านยุคโควิด - 19 : การปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุกช่วงวัย เพื่อความก้าวหน้ามั่นคงและยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทยเพื่อก้าวผ่านยุคโควิด - 19 : การปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุกช่วงวัย เพื่อความก้าวหน้า มั่นคงและยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ และแจ้งให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทราบต่อไป
                    เรื่องเดิม
                    1. สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาได้เสนอรายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนตลาดแรงงานไทยเพื่อก้าวผ่านยุคโควิด - 19 : การปรับตัวของแรงงานทุกกลุ่มทุกช่วงวัย เพื่อความก้าวหน้า มั่นคงและยั่งยืน ของคณะกรรมาธิการการแรงงาน วุฒิสภามา เพื่อดำเนินการ โดยคณะกรรมาธิการฯ ได้มีข้อเสนอแนะใน 5 ประเด็น ได้แก่ (1) การสนับสนุนงานเดิม โดยการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานผ่านการใช้นโยบายการเงินการคลังที่ผ่อนคลายให้สินเชื่อและสนับสนุนเงินทุนแก่ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับแรงงานและสาธารณสุข (2) การเพิ่มเติมงานใหม่ โดยสนับสนุนผู้ประกอบการ สร้างงานและรายได้ และบรรเทาภาระทางการเงินและภาษีเพื่อเพิ่มโอกาสให้กับผู้ประกอบการรายใหม่ (3) การคุ้มครองให้ปลอดภัย โดยส่งเสริมมาตรการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในที่ทำงาน เพิ่มความยึดหยุ่นในการทำงาน ส่งเสริมให้ทุกคนเข้าถึงการดูแลรักษาสุขภาพ และขยายสิทธิการลางานที่ยังได้รับเงิน (4) การร่วมแก้ไขและหารือโดยการสนับสนุนให้เกิดการหารือทางสังคมและการเจรจาต่อรองระหว่างลูกจ้าง นายจ้างและรัฐบาล และ (5) การมุ่งพัฒนาฝีมือ ยกระดับไทยก้าวไกลยั่งยืน โดยสนับสนุนการพัฒนาทักษะแรงงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รักษาการทำงานในอนาคต และรักษาผลิตภาพในการแข่งขันโดยคำนึงถึงผลิตภาพแรงงานให้ยังคงผลิตภาพการแข่งขัน
                    2. รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว มีคำสั่งให้ รง. เป็นหน่วยงานหลักรับรายงานพร้อมข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของรายงานพร้อมข้อเสนอแนะดังกล่าว และสรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                    ข้อเท็จจริง
                    รง. ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานตามข้อ 2 เพื่อพิจารณาศึกษารายงานและข้อเสนอแนะดังกล่าว โดย รง. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับรายงานดังกล่าวและมีผลการพิจารณาที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็นข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการฯ           ผลการพิจารณา
1. การสนับสนุนงานเดิม
มาตรการระยะเร่งด่วน
? รักษาการทำงานโดยประคองแรงงานและธุรกิจโดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และกลุ่มเจ้าของธุรกิจส่วนตัว











? ให้แรงงานและครอบครัว
เข้าสู่ระบบการร้องทุกข์และ
รับความช่วยเหลือได้อย่างรวดเร็ว และสนับสนุนทุนเพื่อให้ครอบครัวแรงงานยังชีพได้ช่วงที่รายได้ลดลง


? กำหนดแนวทางนโยบาย
ที่ชัดเจนในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติในช่วงวิกฤต

?รง. ได้มีการดำเนินการ ดังนี้
          - กรมการจัดหางานได้กำหนดมาตรการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม โดยให้กลุ่มคนต่างด้าวดังกล่าวสามารถทำงานในราชอาณาจักรต่อไปได้ รวมทั้งได้มีการออกประกาศในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดสวัสดิการในการจัดหาที่พักให้แก่ลูกจ้าง ต้องจัดหาอย่างถูกสุขลักษณะ
          - กรมการจัดหางาน โดยกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้าน ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือผู้รับงานไปทำที่บ้านจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโร
นา 2019 โดยลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับผู้กู้รายใหม่ นอกจากนี้ สำนักงานประกันสังคมยังได้ดำเนินโครงการสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน
          - กรมการจัดหางานและกรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ดำเนินการส่งเสริมการประกอบอาชีพโดยให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับการประกอบอาชีพ และฝึกอาชีพเพิ่มทักษะให้กับกลุ่มแรงงาน รวมทั้งแนะนำแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพด้วย
? กค. ได้ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินมาตรการด้านการเงินผ่านสถาบันการเงินและสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อช่วยส่งเสริมผู้ประกอบธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง และกลุ่มเจ้าของธุรกิจส่วนตัวให้สามารถข้าถึงแหล่งเงินทุนได้
? รง. ได้จัดให้มีระบบติดตามและร้องเรียนที่เข้าถึงได้โดยง่ายผ่านระบบออนไลน์ได้แก่ เว็บไชต์ของกรมการจัดหางาน เว็บไซต์ของกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม
? รง. โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ดำเนินการส่งเสริมจัดสวัสดิการแบบมีส่วนร่วมโดยให้ลูกจ้างเพาะปลูกพืชผักสวนครัว ทำการเกษตรในที่ดินหรือพื้นที่ว่างเปล่าภายในสถานประกอบกิจการ เพื่อการบริโภคและการจำหน่ายอันเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ในครัวเรือนของลูกจ้าง
          ? รง. โดยกรมการจัดหางาน ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนระเบียบ นโยบาย หรือมาตรการต่าง ๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของนายจ้าง/สถานประกอบการที่ขาดแคลนแรงงาน โดยการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่มีสถานะไม่ถูกต้องให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทำให้นายจ้าง/สถานประกอบการสามารถขับเคลื่อนกิจการได้อย่างต่อเนื่อง
? รง. โดยกรมการจัดหางาน ได้จัดระบบการจ้างคนต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในลักษณะไป - กลับ หรือตามฤดูกาล ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับแรงงานสัญชาติกัมพูชาและสัญชาติเมียนมา
? รง. ได้กำหนดแนวทางในการให้ความช่วยเหลือแรงงานข้ามชาติที่ถูกกักตัวโดยให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร และขับเคลื่อนมาตรการ Bubble and Seal ในแคมป์แรงงาน รวมทั้งมีการทบทวนการลดค่าใช้จ่ายในกระบวนการขึ้นทะเบียนและ              ขอใบอนุญาตทำงานให้แรงานและนายจ้างในภาวะวิกฤตด้วย
มาตรการระยะกลาง - ยาว
?  พัฒนาศักยภาพแรงงาน
เพื่อการจ้างงานและการสร้างงานโดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลขยายโอกาสพัฒนาทักษะการทำงานให้มีราคาถูกและ
เข้าถึงได้ สร้างช่องทางอาชีพจากธุรกิจใหม่และ             ลดการผูกขาดและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนเรื่องการควบคุมโรคระบาด
? อว. ได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาพัฒนาหลักสูตรต่าง ๆ ที่สอดคล้องต้องตามกระแสโลกอย่างต่อเนื่อง โดยหลักสูตรต่าง ๆจะต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมในการประกอบอาชีพ รองรับกระแสการปรับตัวในการใช้ชีวิตวิถีใหม่ได้โดยได้ดำเนินงานโครงการสร้างและพัฒนากำลังคน เพื่อให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยมีทักษะความรู้ใหม่ ๆ โดยเฉพาะทักษะด้านเทคโนโลยีและดิจิทัล เพื่อลด Skill Gap รวมถึงสามารถตอบสนองรองรับการทำงานของคนยุคใหม่ตามความต้องการของภาคผู้ใช้
กำลังคนและตลาดแรงงาน
? ศธ. โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ดำเนินโครงการศูนย์ดิจิทัลชุมชน เป็นการอบรมทักษะดิจิทัลให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งมีหลักสูตรการค้าออนไลน์ สอนการค้าออนไลน์ผ่าน Facebook และสื่อโซเชียลอื่น ๆ ให้เป็นช่องทางในการหารายได้เสริมกับประชาชนอีกช่องทางหนึ่ง
? รง. ได้ดำเนินการส่งเสริมสวัสดิการแรงงานด้านการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ และสร้างรายได้เสริม รวมทั้งพัฒนาทักษะดิจิทัลแก่ธุรกิจชุมชนเพื่อขยายช่องทางทำธุรกิจออนไลน์
?  พัฒนาระบบฐานข้อมูลแรงงานจากข้อมูลจากการลงทะเบียนในช่วงการแพร่          ? รง. มีการดำเนินการ ดังนี้
          1. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานส่งเสริมให้สถานประกอบกิจการใช้มาตรการหยุดกิจการชั่วคราว เพื่อลดปัญหาการเลิกจ้างของสถานประกอบกิจการ
ระบาดของโรคโควิด - 19และข้อมูลเดิมที่มีอยู่                    2. สำนักงานประกันสังคมได้ดำเนินการนำฐานข้อมูลจากการลงทะเบียนในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และข้อมูลที่มีอยู่เดิม ไปประมวลผลเพื่อสนับสนุนภารกิจ การรับเงินเยียวยาให้กับนายจ้างและผู้ประกันตน
? สร้างระบบติดตามและร้องเรียนที่เข้าถึงได้ง่ายให้เหมาะสมและยืดหยุ่นต่อวิกฤตการณ์ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต




? พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธนาคารแรงงาน
          ? รง. โดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้พัฒนาระบบการให้บริการประชาชนผ่านระบบ e - Service ดังนี้
          1. กรณีลูกจ้างไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานและประสงค์ยื่นคำร้องเกี่ยวกับสิทธิได้รับเงินอย่างหนึ่งอย่างใด สามารถยื่นคำร้องผ่านระบบ e ? Service ผ่านเว็บไซต์ของ รง.
          2. กรณีลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการจ้างงาน นายจ้างปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ลูกจ้างสามารถขอคำปรึกษาเจ้าหนี้และเข้าถึงช่องทางการร้องเรียนผ่านเว็บไชต์กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ โดยมีพนักงานตรวจแรงงานให้บริการได้โดยสะดวกรวดเร็ว
? รง. เห็นควรศึกษา วิเคราะห์กฎหมาย กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง พิจารณาถึงผลดีและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว รวมถึงการมีส่วนร่วมของนายจ้าง ลูกจ้างและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานด้านการเงิน การธนาคาร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งธนาคารดังกล่าว
2. การเพิ่มเติมงานใหม่
มาตรการระยะเร่งด่วน
? ส่งเสริมการจ้างงานที่มีคุณค่าโดยภาครัฐ ภาคเอกชน
และภาควิชาการร่วมมือกัน
















?  พัฒนาระบบการจับคู่
คนหางานและงานที่มีอยู่
(Job Matching)





? ส่งเสริมให้แรงงานเป็น
ผู้สร้างงาน

? รง. ได้มีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น
          1. มีมาตรการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยดำเนินการโครงการส่งเสริมการจ้างงานสำหรับผู้จบการศึกษาใหม่ โดยภาครัฐและเอกชน เพื่อช่วยเหลือให้ผู้จบการศึกษาใหม่ได้รับโอกาสการจ้างงาน โดยรัฐอุดหนุนค่าจ้างลูกจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างตามตกลง ไม่เกินเดือนละ 7,500 บาทต่อคนต่อเดือน
          2. ส่งเสริมการมีงานทำให้ประชาชนทุกกลุ่มทุกช่วงวัยมีงานทำ รวมถึง กลุ่มเปราะบาง ได้แก่ ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้พ้นโทษ นักเรียนหรือนักศึกษา ที่ประสงค์จะทำงานให้มีโอกาสเข้าถึงการจ้างงาน
          3. ดำเนินโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในธุรกิจ SMEs เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในระบบประกันสังคมที่มีลูกจ้างไม่เกิน 100 คน ให้ได้รับเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง สร้างความแข็งแรง และฟื้นฟูกิจการให้ดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง
? กค. ได้ดำเนินมาตรการสนับสนุนให้ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อม (SMEs) เข้าถึง
การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐมากขึ้น ผ่านการตรากฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไว้แล้ว
? รง. โดยกรมการจัดหางาน ได้พัฒนาแพลตฟอร์มไทยมีงานทำซึ่งพัฒนาขึ้นสำหรับคนหางานที่กำลังมองหางานที่เหมาะสมกับตนเอง โดยรวบรวมตำแหน่งงานจากภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถหางานที่ตรงกับตนเองมากที่สุด
? รง. โดยกรมการจัดหางาน ได้จัดทำโครงการแรงงานไทยกลับถิ่นสำหรับคนไทยที่เดินทางกลับจากการทำงานในต่างประเทศภายหลังสิ้นสุดสัญญาจ้างในต่างประเทศเพื่อสร้างงานให้ผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศดังกล่าว
? ศธ. โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับประชาชนทั่วไปที่สอดรับกับอุปสงค์แรงงานในการให้ประชาชนได้นำไปต่อยอดอาชีพเดิม สร้างอาชีพใหม่ เพิ่มรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชนที่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
? รง. ได้ดำเนินโครงการเพิ่มทักษะด้านอาชีพแก่นักเรียนที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจากจบการศึกษาภาคบังคับ เพื่อให้นักเรียนที่มีฐานะยากจนและขาดโอกาสมีทักษะด้านอาชีพ รวมทั้งดำเนินงานขับเคลื่อน 1 โครงการ 1 จังหวัด 1 หลักสูตร (Smart Farmer) เพื่อส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะ
มาตรการระยะกลาง - ยาว?  ลดช่องว่างทางทักษะ














?  สร้างงานใหม่ในภาค
การผลิตและบริการในอนาคต
? รง. ได้ดำเนินการต่าง ๆ เช่น
          - กรมการจัดหางานได้จัดทำแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนงานบริหาร Agenda (Roadmap) ระบบช่วยเหลือผู้ว่างงานให้กลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการให้บริการสำหรับผู้ว่าจ้างและแรงงานผ่านระบบออนไลน์
          - กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้มีการยกระดับแรงงานให้มีความรู้และทักษะตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน และผ่านเกณฑ์มาตรฐานฝีมือแรงงานเพื่อให้ได้รับอัตราค่าจ้างที่สูงขึ้น รวมทั้งฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะด้าน Soft skill ตลอดจนถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับแรงงานโดยกำหนดหลักเกณฑ์การให้เงินช่วยเหลือหรืออุดหนุนแก่สถานประกอบกิจการเป็นค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงานเพื่อพัฒนาทักษะในการสร้างสรรค์นวัตกรรม
?  มท. ได้มีการฝึกอบรมเพิ่มทักษะการพัฒนากสิกรรมสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงและสร้างและพัฒนาพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพ ผ่านการพัฒนา บ่มเพาะและยกระดับด้วยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ
? รง. ได้ดำเนินการต่าง ๆ เช่น
          - กรมการจัดหางานได้เตรียมความพร้อมเพื่อให้แรงงานสามารถปรับตัวได้สอดคล้องกับรูปแบบการทำงาน อาชีพ และแนวโน้มตลาดแรงงานในอนาคตโดยจะมีอาชีพใหม่ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ส่วนใหญ่เป็นอาชีพที่ทำงานกับเทคโนโลยี
          - กรมพัฒนาฝีมือแรงงานได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติจัดทำโครงการร่วมมือการพัฒนาทักษะสร้างความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาอาชีพสู่สังคมดิจิทัลสำหรับกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
? ศธ. ได้ดำเนินโครงการขับเคลื่อนและยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกด้วยการปรับการเรียนการสอนให้ทันสมัยเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีรวมทั้งได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับประชาชนทั่วไป
3. การคุ้มครองให้ปลอดภัย
มาตรการระยะเร่งด่วน
? เยียวยาและคุ้มครองแรงงานทุกคนตามมาตรฐานงานที่มีคุณค่า


? ส่งเสริมให้แรงงานเข้าถึงสิทธิต่าง ๆ รวมทั้งรับรู้หน้าที่และสิทธิแรงงาน

? รง. โดยสำนักงานประกันสังคม ได้ดำเนินการพัฒนาช่องทางการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนผ่านอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าถึงสิทธิได้ง่ายรวมทั้งได้พัฒนาระบบศูนย์ข้อมูลแรงงานแห่งชาติและพัฒนาระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ด้านแรงงาน เพื่อพัฒนากำลังแรงงานของประเทศโดยมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเพื่อนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ในการบริการประชาชน
? รง. โดยสำนักงานประกันสังคม มีระบบการติดตามเรื่องร้องเรียน โดยดำเนินงานผ่านเว็บแอปพลิเคชันและโมบายแอปพลิเคชันที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายและสะดวกพร้อมทั้งมีการเชื่อมโยงกับระบบบริการต่าง ๆ นอกจากนี้ ปัจจุบัน รง. ได้มีการประชาสัมพันธ์ผ่านช่องสื่อพื้นฐาน และสื่อโซเชียลมีเดีย เครือข่ายสังคมออนไลน์โดยสร้างการรับรู้อย่างต่อเนื่องในรูปแบบสื่อที่เข้าใจง่าย
มาตรการระยะกลาง - ยาว
? สร้างระบบการเข้าถึงสิทธิที่แรงงานเข้าถึงได้ง่ายสะดวก รวดเร็ว

? สร้างระบบประกันสังคม
แบบถ้วนหน้าและเหมาะสม
กับแรงงานแต่ละกลุ่ม
? บังคับใช้กฎหมายให้แรงงานลงทะเบียนเป็นผู้ประกันตน


? ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่อง
หน้าที่และสิทธิของแรงงานสิทธิประโยชน์ของประกันสังคมและการเข้าถึงระบบการร้องเรียน
? รง. โดยสำนักงานประกันสังคม อยู่ระหว่างพัฒนาโครงการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางเชื่อมต่อบริการประกันสังคมให้แก่ผู้ประกันตนอย่างเจาะจง โดยเป็นบริการข้อมูลด้านสิทธิประโยชน์พร้อมใช้แบบครบวงจรให้กับผู้ประกันตนในความคุ้มครองของกองทุนประกันสังคมทุกมาตรา
? รง. โดยสำนักงานประกันสังคม พิจารณาแล้วเห็นว่า การสร้างระบบประกันสังคม
แบบใหม่นั้นต้องมีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสร้างระบบประกันสังคมแบบถ้วนหน้าและเหมาะสมกับแรงงานแต่ละกลุ่ม
? รง.โดยสำนักงานประกันสังคม มีมาตรการบังคับใช้กฎหมายให้นายจ้างดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน โดยให้นายจ้างมีหน้าที่ยืนแบบรายการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนแก่ลูกจ้างที่มีอายุไม่ต่ำกว่าสิบห้าปีบริบูรณ์และไม่เกินหกสิบปีบริบูรณ์ภายในสามสิบวันนับแต่รับลูกจ้างเข้าทำงาน ทั้งนี้ หากนายจ้างฝ่าฝืนย่อมมีความผิดตามกฎหมาย
? ศธ. โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้กำหนดเนื้อหาความรู้ด้านแรงงานไว้ในหลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การศึกษาต่อเนื่อง และการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
4. การร่วมแก้ไขและหารือ
? นายจ้าง ลูกจ้าง และภาครัฐหาทางออกร่วมกัน โดยอาจปรับใช้มาตรการและแนวทางบรรเทาปัญหาการเลิกจ้างและแนวปฏิบัติส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ในภาวะวิกฤตเมื่อปี พ.ศ. 2541 และ พ.ศ. 2551 รวมทั้งให้เครือข่ายองค์กรชุมชนและภาคอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหาทางออก          ?  พม. พิจารณาแล้วเห็นว่าข้อเสนอแนะในเรื่องนี้มีความเหมาะสม แสดงถึงกระบวนการมีส่วนร่วมระหว่างนายจ้าง - ลูกจ้าง มีการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะระหว่างกัน ส่งผลให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง โดยการเคหะแห่งชาติ มีแนวทางบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบ มีกลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะ เสริมสร้างความเป็นมืออาชีพ  เพิ่มกระบวนการเรียนรู้ นำไปสู่การสร้างวัฒนธรรมองค์กร ภายใต้แผนแม่บทการบริหารทุนมนุษย์การเคหะแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2570 ที่ใช้เป็นเครื่องมือวางแผนการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล เช่น การปรับเปลี่ยนวิถีการทำงานการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร การสรรหาและรักษาบุคลากร และการพัฒนาบุคลากรอย่างมืออาชีพ เป็นต้น เพื่อสนับสนุนต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อบุคลากรและการเปลี่ยนแปลงด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังของพนักงานทุกระดับ
5. การมุ่งพัฒนาฝีมือ ยกระดับไทยก้าวไกลยั่งยืน
มาตรการระยะเร่งด่วน
? พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีและการสื่อสารให้มีราคาถูก มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้ง่าย








? พัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับโลกการทำงานโดยคำนึงถึงสุขภาพ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
? อว. ได้จัดทำปรัชญาการอุดมศึกษาไทยและระบบอุดมศึกษาใหม่ด้านการสร้างบัณฑิตและพัฒนากำลังคน เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษากำหนดเป็นนโยบายและเป้าหมายที่ชัดเจนในการสร้างบัณฑิต และพัฒนากำลังคนบนความเชี่ยวชาญและอัตลักษณ์ของสถาบัน รวมทั้งขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามปรัชญาดังกล่าวโดยการจัดทำ Skill Mapping เพื่อเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลด้านอุปสงค์ให้ได้ทักษะที่ผู้ใช้บัณฑิตต้องการ ปรับเปลี่ยนให้ผู้เรียนมีทักษะความรู้ใหม่ ๆ และสามารถรองรับการเปลี่ยนผ่านสู่การใช้เทคโนโลยี
? กษ. เห็นควรให้มีการพัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านเกษตร เพื่อพัฒนาศักยภาพ และเพิ่มการวิเคราะห์ทางการตลาดและช่องทางจำหน่าย รวมทั้งจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงธุรกิจเภษตร ด้วยนวัตกรรมและแนวคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างแนวคิดเตรียมความพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการเกษตร เสริมสร้างความสามารถในการบริหารจัดการธุรกิจและการแสวงหาโอกาส
? รง. โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้สถานประกอบกิจการดำเนินการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างของตน โดยกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง 100 คนขึ้นไป จัดให้มีการพัฒนาฝีมือแรงงานให้กับลูกจ้างของตนในสัดส่วนไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของลูกจ้างเฉลี่ยทั้งปี
? กค. ได้ดำเนินมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานที่สำคัญ
3 มาตรการ ดังนี้
1.          มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการฝึกอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน บริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักรายจ่ายในการฝึกอบรม พัฒนาฝีมือแรงงานได้ 2 เท่า
          2. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการจ้างบุคลากรที่มีทักษะสูง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจกรรมในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่าของรายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินเดือน ตามสัญญาจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างที่มีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ ตั้งแต่วันที่    1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยให้หักได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงเฉพาะส่วนค่าจ้างที่ไม่เกิน 100,000 บาทต่อเดือน
          3. มาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะสูง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 2.5 เท่า ของรายจ่ายที่ได้จ่ายไปเป็นค่าใช้จ่ายในการส่งลูกจ้างเข้ารับการศึกษาหรือฝึกอบรมหรือค่าใช้จ่ายในการจัดฝึกอบรมลูกจ้างในหลักสูตรที่เพิ่มทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2565
? ศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการพัฒนาสถานศึกษาเพื่อรองรับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติตามโครงการความร่วมมือส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมนำร่องที่สอดคล้องกับกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ STEM (Science, Technology, Engineering and Mathematics) เสริมสร้างสมรรถนะ ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มอุตสาหกรรม และตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมในพื้นที่ ให้แก่ครูและนักเรียน เพื่อการพัฒนาที่ต่อเนื่องและเตรียมพร้อมรองรับการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอนาคต ขอบเขตเนื้อหาหลักสูตรส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต สู่ S-Curve และ New S-Curve
มาตรการระยะกลาง - ยาว
? ส่งเสริมการทำงานผ่าน
นโยบายระดับชุมชน






? พัฒนาการศึกษาที่ส่งเสริม
การทำงาน
? รง. โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีแนวทางในการสนับสนุนช่วยเหลือแรงงานในภาคเกษตรให้เคลื่อนย้ายกลับภูมิลำเนา โดยการฝึกอบรมให้แรงงานภาคเกษตรมีทักษะ ความรู้ เพื่อสนับสนุนการเกษตรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
? ศธ. โดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ดำเนินการจัดการฝึกอบรมอาชีพระยะสั้นให้กับประชาชนทั่วไป เพื่อให้ประชาชนได้นำไปต่อยอดอาชีพเดิม สร้างอาชีพใหม่ เพิ่มรายได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างมูลค่าเพิ่มและพัฒนาสู่วิสาหกิจชุมชนที่รองรับกับการเปลี่ยนแปลงของประเทศ
? ศธ. ได้มีการดำเนินการต่าง ๆ เช่น
          1. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมการเรียนรู้ปัญญาประดิษฐ์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมอุตสาหกรรมอัจฉริยะให้กับผู้เรียนระดับมัธยมศึกษา โดยดำเนินการกับโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษของภูมิภาค ซึ่งเป็นโรงเรียนคุณภาพพิเศษ จำนวน 12 โรงเรียน ให้เป็นโรงเรียนนำร่องเพื่อให้ผู้เรียนบูรณาการความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์ เครื่องจักรกล คอมพิวเตอร์และทักษะการคิดวิเคราะห์ ความคิดสร้างสรรค์ ในการออกแบบนวัตกรรมที่เอื้อการดำรงชีวิต และสามารถต่อยอดสู่การศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในอนาคต
          2. สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยได้ดำเนินการจัดการศึกษาให้กับประชาชนกลุ่มผู้สูงอายุ เพื่อเสริมสร้างการมีสุขภาวะที่ดี มีงานทำ  มีรายได้ โดยได้จัดทำโครงการ ?การจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิตเพื่อคงสมรรถนะทางกาย จิต และสมองของผู้สูงอายุ? ในรูปแบบกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตใน 5 มิติ ได้แก่ มิติสุขภาพ มิติเศรษฐกิจ มิติสภาพแวดล้อม มิติสังคม  และมิติเทคโนโลยีและนวัตกรรม
? รง. โดยกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีนโยบายในการส่งเสริมการจัดการศึกษา พัฒนาทักษะทางอาชีพและส่งเสริมการมีงานทำ โดยเน้นพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่นักเรียนนักศึกษา ก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงานให้เป็นแรงงานฝีมือ เป็นการสร้างความมั่นคง              ด้านอาชีพ สร้างรายได้และมีงานทำ ตลอดจนพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดี และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพแห่งชาติ และคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานการฝึกอาชีพจังหวัด



12. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการและการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (จ.ภ.)*                  6  แห่ง ดังนี้
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติ (5 ตุลาคม 2564) เห็นชอบในหลักการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็น จ.ภ. ประจำเขตตรวจราชการ จำนวน 6 แห่ง (ประกอบด้วย จ.ภ. ประจำเขตตรวจราชการที่ 3, 9, 12, 14, 15 และ 18) และให้ปรับปรุงแก้ไขจังหวัดเขตพื้นที่บริการ จ.ภ. ให้มีความเหมาะสมสอดคล้องกับจำนวนโรงเรียนและบริบทเชิงพื้นที่ ภูมิศาสตร์ ภูมิสังคม ระบบราชการ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินการ โดยมีระยะเวลาดำเนินการ 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565-2569)  ภายในกรอบวงเงิน 3,275.96 ล้านบาท โดยค่าใช้จ่ายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 443.40 ล้านบาท ให้ ศธ. พิจารณาจัดลำดับความสำคัญตามขั้นตอนและกิจกรรมการดำเนินงาน การเตรียมความพร้อมของ จ.ภ. แห่งใหม่ โดยใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีผลใช้บังคับ และหากมีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายนอกเหนือจากแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่กำหนดไว้ ให้ดำเนินการตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 ในการปรับแผนฯ สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายที่จำเป็นตามขั้นตอนต่อไป สำหรับค่าใช้จ่ายปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2569 จำนวน 2,832.56 ล้านบาท ให้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามความจำเป็น ประหยัด เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                    สาระสำคัญ
                    ศธ. รายงานว่า ศธ. โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นฟื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (5 ตุลาคม 2564) ดังนี้
                    1. จัดทำแนวทางการพัฒนาจัดตั้ง จ.ภ. จำนวน 6 แห่ง (คณะกรรมการพัฒนา จ.ภ. และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีมติรับทราบแล้ว) โดยพัฒนาและใช้พื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเดิม จำนวน 4 แห่ง และพัฒนาจัดตั้งบนพื้นที่ที่ได้รับจัดสรรใหม่จำนวน 2 แห่ง ควบคู่ไปกับการพัฒนายกระดับคุณภาพการศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาในการขยายองค์ความรู้และประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนของ จ.ภ. ตามภารกิจการเป็นโรงเรียนศูนย์การพัฒนาวิทยาศาสตร์ศึกษาในส่วนภูมิภาค โดยกำหนดพื้นที่จังหวัดสำหรับการจัดตั้ง จ.ภ. จำนวน 6 แห่ง ในพื้นที่เขตตรวจราชการ 6 เขตตรวจฯ ที่ยังไม่มี จ.ภ. ตั้งอยู่ สอดคล้องกับพื้นที่เขตตรวจราชการของสำนักนายกรัฐมนตรี (นร.) ที่กำหนดไว้ ตามคำสั่ง นร. ที่ 221/2561 เรื่อง กำหนดพื้นที่การตรวจราชการของผู้ตรวจราชการ จำนวน 18 เขตตรวจฯ ดังนี้
เขตตรวจฯ ที่          จังหวัดตามเขตตรวจฯ          จ.ภ.ประจำเขตตรวจฯ          พื้นที่จัดตั้งโรงเรียน          ขนาดพื้นที่
? พื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเดิม จำนวน 4 แห่ง
3          กาญจนบุรี ราชบุรี และสุพรรณบุรี          จ.ภ. สุพรรณบุรี
          โรงเรียนหนองวัลย์เปรียงวิทยา
ตำบลทุ่งคอก อำเภอสองพี่น้อง
จังหวัดสุพรรณบุรี          71 ไร่ 1 งาน
88.8 ตารางวา

12          กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม และร้อยเอ็ด          จ.ภ. กาฬสินธุ์
          โรงเรียนโคกศรีเมือง ตำบลดงลิง
อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์          131 ไร่ 1 งาน
6 ตารางวา
14          ยโสธร ศรีสะเกษ
อำนาจเจริญ
และอุบลราชธานี          จ.ภ. อุบลราชธานี
          โรงเรียนอุบลราชธานีศรีวนาลัย
ตำบลกระโสบ อำเภอเมือง
อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี          175 ไร่
44 ตารางวา

15          เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
ลำปาง และลำพูน          จ.ภ. ลำปาง
          โรงเรียนแม่ทะประชาสามัคคี
ตำบลดอนไฟ อำเภอแม่ทะ
จังหวัดลำปาง          62 ไร่ 3 งาน
79 ตารางวา

? พื้นที่ที่ได้รับจัดสรรใหม่ จำนวน 2 แห่ง
9          จันทบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว          จ.ภ. สระแก้ว
          พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรใหม่
ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว          77 ไร่
55 ตารางวา

18          กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร และอุทัยธานี          จ.ภ. กำแพงเพชร
          พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรใหม่
ตำบลหนองปลิง อำเภอเมือง
กำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร          89 ไร่ 1 งาน
14 ตารางวา
???หมายเหตุ : ปัจจุบันมี จ.ภ. จำนวน 12 แห่ง ที่สอดคล้องกับพื้นที่ในเขตตรวจฯ ของ นร. และเพิ่มใหม่อีก 6 แห่งดังกล่าว รวมมี จ.ภ. ทั้งหมด 18 แห่ง กระจายอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วประเทศ
                    2. ปรับปรุงเขตพื้นที่บริการของ จ.ก. จากเดิมที่มีพื้นที่รับนักเรียนจำนวน 7-8 จังหวัดต่อหนึ่งโรงเรียน ให้มีจำนวนเล็กลงเพื่อให้การเข้าถึงโอกาสของนักเรียนในจังหวัดต่าง ๆ มีการกระจายอย่างทั่วถึง เป็นจำนวน 4-5 จังหวัดต่อหนึ่งโรงเรียน
                    3. ศธ. ได้มีประกาศ ศธ. เรื่อง ตั้ง จ.ภ. กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ลำปาง สระแก้ว สุพรรณบุรี และอุบลราชธานี ประกาศ ณ วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2566 เป็นสถานศึกษาที่มีการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับบุคคลที่มีความสามารถพิเศษในสังกัด สพฐ. ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 รับนักเรียนประเภทประจำ โดยมีเขตพื้นที่บริการ
ตามที่ สพฐ. กำหนด และให้สถานศึกษานี้มีฐานะเป็นนิติบุคคล ตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 มีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
                    4. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สพฐ. ได้รับการจัดสรรงบประมาณของปีงบประมาณ                  พ.ศ. 2566 จากแผนงานพื้นฐานด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ผลผลิตเด็กผู้มีความสามารถพิเศษด้านการพัฒนาศักยภาพ กิจกรรมหลักการยกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็น จ.ภ. รวมวงเงินงบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 215.64 ล้านบาท เพื่อดำเนินการพัฒนาจัดตั้ง จ.ภ. ตลอดจนโครงสร้างพื้นฐานที่มีความจำเป็นต้องเตรียมพร้อมสำหรับการจัดการเรียนการสอน
*สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ได้พระราชทานนามย่อโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชริทยาลัยว่า ?จ.ภ.?

13. เรื่อง  ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 10,464 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายจากงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป สำหรับดำเนินมาตรการในช่วงเดือนพฤษภาคม 2566 ถึงเดือนสิงหาคม 2566  สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน โดยให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแบบขั้นบันไดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือนและส่วนลดค่าไฟฟ้าสำหรับงวดเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 150 บาทต่อรายซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพของประชาชน โดยแบ่งสัดส่วนการขอจัดสรรงบประมาณสำหรับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 35.70  ล้านบาท และการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 10,428.30 ล้านบาท ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้ดำเนินการได้เมื่อ กกต. เห็นชอบ
                    สาระสำคัญ
                    กระทรวงพลังงานเสนอรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาขอจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับดำเนินมาตรการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือนสำหรับงวดเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2566 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                    1. มาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานโลกสูงขึ้น                  เป็นมาตรการต่อเนื่องของกระทรวงพลังงานที่ได้ดำเนินการอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2566 เพื่อลดผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงสถานการณ์ราคพลังงานโลกที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องจากสถานการณ์ขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป แม้ราคาพลังงานโลกเริ่มมีการปรับตัวลดลงจากช่วงปี 2565 แต่ด้วยอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่อ่อนค่าลง ประกอบกับแหล่งก๊าซธรรมชาติจาก                อ่าวไทยอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านสัมปทาน ทำให้ราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าโดยรวมยังคงสูงอยู่ โดยมีแนวทางช่วยเหลือค่าไฟฟ้าแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน โดยให้ส่วนลดแบบขั้นบันไดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รามทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ สำหรับงวดเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2566 (4 เดือน) โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งลักษณะการช่วยเหลือเป็นการ (1) ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า จำนวน 96.88 สตางค์ต่อหน่วย  สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือน ทำให้ผลต่างระหว่างค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เรียกเก็บและส่วนลดค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 1.39 สตางค์ต่อหน่วย และ (2) ให้ส่วนลดค่าไฟฟ้า จำนวน 71.88 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 151-300 หน่วยต่อเดือน ทำให้ผลต่างระหว่างค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เรียกเก็บและส่วนลดค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 26.39 สตางค์ต่อหน่วย ทั้งนี้ คาดว่าจะมีผู้ได้รับการช่วยเหลือรวมทั้งสิ้นประมาณ
18.36 ล้านราย ใช้งบประมาณรวมในกรอบไม่เกิน 7,602 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ              พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    2. มาตรการช่วยเหลือประชาชนระยะเร่งด่วน เป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนในส่วนของค่าไฟฟ้า ซึ่งได้รับผลกระทบจากต้นทุนราคาเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น และสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยที่สูงกว่า 40 องศาเซลเซียส ในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลให้เกิดความต้องการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 โดยให้ส่วนลดแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 150 บาทต่อรายโดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ในรอบบิลเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งเป็นช่วงเดือนที่มีสถิติความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของประเทศและจะเริ่มลดลงในเดือนมิถุนายน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 500  หน่วยต่อเดือน จำนวนประมาณ 23.40 ล้านราย โดยใช้งบประมาณรวมในกรอบไม่เกิน 3,510 ล้านบาท จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
                    ทั้งนี้ กระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาสมมติฐานการคำนวณอัตราค่าไฟฟ้างวดเดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม 2566 โดยยังคงมีอัตราค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในระดับที่ค่อนข้างสูง แม้ว่าคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานจะพิจารณาทบทวนค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เพื่อให้สะท้อนสภาวการณ์ปัจจุบันแล้วก็ตาม (ใกล้เคียงกับงวดเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2566 จากเดิมที่ 4.72 บาทต่อหน่วย เป็น 4.70บาทต่อหน่วย) โดยมีค่าไฟฟ้าโดยอัตนมัติ (Ft) ลดลงเดิมที่ 93.23 สตางค์ต่อหน่วยเป็น 91.19 สตางค์ต่อหน่วย เนื่องจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจาก 33.23 บาทต่อเหรียญสหรัฐ เป็น 35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ลดลงเพียงเล็กน้อย แม้ว่าวิกฤติราคาพลังงานโลกจะเริ่มผ่อนคลายลง กระทรวงพลังงานจึงเห็นสมควรที่จะคงมาตรการช่วยเหลือค่าไฟฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงาน สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน ในงวดเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2566 ต่อไป อีกทั้งปัจจุบันอุณหภูมิโดยเฉลี่ยหลายภูมิภาคทั่วประเทศไทยสูงกว่า 40 องศาเซลเชียส ส่งผลให้เกิดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดซึ่งทำลายสถิติติดต่อกันหลายวัน โดยเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566 เวลา 14.56 น. เกิดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของระบบไฟฟ้าที่ 33,384.7 เมกะวัตต์ ส่งผลให้ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยใช้ไฟฟ้าในอัตราสูงขึ้นมาก โดยเพิ่มขึ้นกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 2565 ประมาณร้อยละ 6 จึงเห็นควรกำหนดมาตรการช่วยเหลือประชาชนระยะเร่งด่วน เป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนในส่วนของค่าไฟฟ้าสำหรับงวดเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 150 บาทต่อราย เพื่อเป็นการลดภาระค่าครองชีพของประซาชนซึ่งผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้า ไม่เกิน 500  หน่วยต่อเดือน
                    แผนปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณที่ขอจัดสรร
                    1. การกำหนดสิทธิและวงเงินงบประมาณ
                              (1) มาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาพลังงานเป็นมาตรการต่อเนื่องของกระทรวงพลังงานที่ได้ดำเนินการอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน 2566
          สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ โดยเป็นมาตรการช่วยเหลือในส่วนของการให้ส่วนลดค่าไฟฟ้าแบบขั้นบันได เป็นเวลา 4 เดือน สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนพฤษภาคม 2566 จนถึงเดือนสิงหาคม 2566 โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม วงเงินประมาณ 6,954 ล้านบาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย
(ค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) รอบเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2566 = 91.19 สตางค์ต่อหน่วย)          ส่วนลดค่าไฟฟ้า
(สตางค์ต่อหน่วย)          ผลต่างค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) เรียกเก็บ และส่วนลด
(สตางค์ต่อหน่วย)

1 - 150 หน่วย          89.80          1.39
151 - 300 หน่วย          64.80          26.39
301 หน่วย ขึ้นไป          -          91.19
การประเมินมาตรการช่วยเหลือผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัย สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2566
งบประมาณที่ใช้สำหรับการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค          6,924 ล้านบาท (1,731.00 ล้านบาทต่อเดือน)
งบประมาณที่ใช้สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ*          6,954 ล้านบาท (1,738.50 ล้านบาทต่อเดือน)
ผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับประโยชน์          18.32 ล้านราย (78.42% ของบ้านอยู่อาศัยทั้งหมด)
หมายเหตุ:  *รวมงบประมาณสำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าบ้านอยู่อาศัยซึ่งเป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและผู้ใช้ไฟฟ้าของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ จำนวน 30 ล้านบาท (7.50 ล้านบาทต่อเดือน)
                              (2) มาตรการช่วยเหลือประชาชนระยะเร่งด่วน เป็นมาตรการช่วยเหลือประชาชนในส่วนของค่าไฟฟ้า
                                        สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค รวมทั้งผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่เป็นผู้ใช้ไฟฟ้ารายย่อยของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และผู้ใช้ไฟฟ้าในพื้นที่บริการของกิจการไฟฟ้าสวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ โดยเป็นการลดค่าไฟฟ้าในรอบบิลเดือนพฤษภาคม 2566 จำนวน 150 บาทต่อราย จำนวนประมาณ 23.40 ล้านราย ใช้งบประมาณรวมในกรอบไม่เกิน 3,510 ล้านบาท โดยกำหนดให้เป็นส่วนลดค่าไฟฟ้าก่อนการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม
                    ทั้งนี้ มาตรการที่กระทรวงพลังงานนำเสนอทั้ง 2 มาตรการดังกล่าวข้างต้น เป็นการดำเนินการตามรัฐธรรมนูญมาตรา 169 (3) ที่กำหนดให้ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน รวมทั้งเป็นไปเพื่อรักษาความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ และช่วยบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าของประชาชน

ต่างประเทศ
14. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 9 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers? and Central Bank Governors? Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 9 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2566 ณ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม [คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 เมษายน 2566) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGF ครั้งที่ 9 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน (ASEAN Finance Ministers? Meeting: AFMM) ครั้งที่ 27 ที่ประชุมฯ ได้ติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือทางการเงินอาเซียน ได้แก่ ด้านศุลกากร ภาษีอากร การประกันภัย การระดมทุน เพื่อโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาตลาดทุน และการบริหารความเสี่ยงและการประกันภัยเพื่อรองรับความเสี่ยงจากภัยพิบัติ โดยมีประเด็นหารือที่สำคัญ ได้แก่ (1) การปรับทิศทางการดำเนินงานไปสู่การลงทุนในโครงการสีเขียวเพิ่มขึ้นและการพิจารณาเพิ่มทุนมูลค่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ของกองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียน1 (2) การขยายขอบเขตของคณะกรรมการร่วมด้านการบริหารความเสี่ยงทางการเงินและการประกันภัยด้านภัยพิบัติของอาเซียนให้ครอบคลุมเรื่องโรคระบาด (3) การผลักดันการเลกเปลี่ยนหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ (4) ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานด้านการเงินการคลังและหน่วยงานสาธารณสุข ซึ่งอยู่ระหว่างประเมินความต้องการเงินทุนและกลไกระดมทุนระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อการป้องกัน เตรียมความพร้อมและรับมือกับโรคระบาดรวมทั้งความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนระดับภูมิภาค และ (5) ความร่วมมือด้านความมั่นคงทางอาหาร
                    2. การประชุม AFMGM ครั้งที่ 9 สรุปได้ ดังนี้
                              2.1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนได้หารือเกี่ยวกับภาพรวมเศรษฐกิจภูมิภาคและเศรษฐกิจโลกกับสถาบันการเงินระหว่างประเทศ เช่น กองทุนการเงินระหว่างประเทศ สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 คณะกรรมการดูแลเสถียรภาพทางการเงิน และธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank ADB) โดยสถาบันการเงินระหว่างประเทศระบุว่า ในปี 2566 เป็นปีที่ท้าทายเนื่องจากยังมีแรงกดดันของอัตราเงินเฟ้อและความเสี่ยงจากสถานการณ์สหพันธรัฐรัสเซีย-ยูเครน ส่วนอัตราเงินเฟ้อได้ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วและจะเริ่มปรับตัวลดลงในปี 2567 ทั้งนี้ ได้เสนอแนะให้มีการรักษาสมดุลระหว่างการขยายตัวทางเศรษฐกิจกับการรักษาระดับเงินเฟ้อ
                              2.2 ที่ประชุมฯ รับทราบประเด็นสำคัญที่อินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียนต้องการผลักดันให้สำเร็จภายในปี 2566 ใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการฟื้นฟูและการสร้างใหม่ (2) ด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และ (3) ด้านความยั่งยืน และได้มีการหารือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการส่งเสริมการทำธุรกรรมด้วยสกุลเงินท้องถิ่นและการชำระเงินข้ามพรมแดนโดยได้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำกลไกการชำระเงินสกุลท้องถิ่น รวมทั้งมีการติดตามความคืบหน้าการดำเนินการในสาขาต่าง ๆ ภายใต้แผนงานการรวมกลุ่มด้านการเงินของอาเซียนและความร่วมมือด้านการเงินเพื่อความยั่งยืนอาเซียน นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ได้รับทราบข้อเสนอของอินโดนีเซียในการพัฒนากระบวนงานของ AFMGM ได้แก่ (1) การจัดการประชุม AFMGM จำนวน 2 ครั้งต่อปี และ (2) การพิจารณาปรับปรุงบริบทของคณะทำงานต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยเสนอให้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินการ ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สนับสนุนการผลักดันการใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการชำระค่าสินค้าและการลงทุนและการชำระเงินข้ามพรมแดน รวมทั้งได้เสนอให้คณะทำงานเพื่อพัฒนาตลาดทุนพิจารณาเรื่องสินทรัพย์ดิจิทัลเป็นประเด็นหารือในคณะทำงาน
                              ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แจ้งต่อที่ประชุมว่าประเทศไทยเห็นด้วยกับร่างแถลงการณ์ร่วมฯ แต่จะสามารถรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ก็ต่อเมื่อดำเนินการตามกระบวนการภายในแล้วเสร็จ2 ทั้งนี้ ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ซึ่งที่ประชุมฯ ได้มีการรับรองไปแล้ว นั้น มีการปรับเปลี่ยนจากร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ที่ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ     เดิม โดยสมาชิกอาเซียนทุกประเทศรวมถึงไทยจะได้รับประโยชน์จากการปรับปรุงให้สาระสำคัญมีความชัดเจน กระชับ ครอบคลุมประเด็นที่ได้หารือ และสะท้อนถึงความต้องการของสมาชิกมากขึ้น เช่น การกำหนดกลยุทธ์ในการจัดการผลกระทบจากโควิด-19 การเพิ่มรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการจัดตั้งกลไกทางการเงินระดับภูมิภาค การอำนวยความสะดวกให้กับการเชื่อมโยงประเทศสมาชิกทั้งที่มีและไม่มีระบบชำระเงินทันด่วน3 และความคืบหน้าของข้อริเริ่มของหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน
                    3. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AFMM Retreat) ที่ประชุมฯ ได้หารือใน 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ (1) ความท้าทายของนโยบายการคลังภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (2) ความมั่นคงทางพลังงาน และ (3) ความมั่นคงทางอาหาร โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเห็นควรให้อาเซียนร่วมมือและเตรียมความพร้อมรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านโรคติดต่อ ความมั่นคงทางพลังงาน ความมั่นคงทางอาหาร และเสริมสร้างระบบสาธารณสุขเพื่อรองรับสถานการณ์ในอนาคต โดยมอบหมายให้สำนักเลขาธิการอาเซียนจัดทำกรอบแนวคิดนโยบายเพื่อศึกษาแนวนโยบายการคลังของอาเซียนต่อไป ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอต่อที่ประชุมว่า นโยบายการเงินและการคลังภายหลังวิกฤตควรจะมุ่งสู่ความสมเหตุสมผลความเข้มแข็งของฐานะการคลัง ความมีเสถียรภาพ และความยั่งยืน โดยการจัดการกับผลกระทบต่อฐานะการคลังจากการเพิ่มการใช้จ่ายในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 จะต้องดำเนินนโยบายตามสถานภาพที่เป็นจริง มีการจัดหารายได้ให้เพียงพอต่อรายจ่ายที่จำเป็นเพิ่มขึ้น ส่วนความร่วมมือด้านการเงินอาเซียน ควรพิจารณาจากความตกลงมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี4 ซึ่งเป็นข้อเสนอของไทยเมื่อเมื่อปี 2540
                    4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีการหารือทวิภาคีกับคู่เจรจาต่าง ๆ ดังนี้

คู่เจรจา          ผลการหารือ (เช่น)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซีย          ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลนโยบายเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ เช่น การจัดสรรงบประมาณ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม การจัดการด้านสาธารณสุข โครงการด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ขอให้อินโดนีเซียช่วยสนับสนุนให้ไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน World Expo 2028 ณ จังหวัดภูเก็ต
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐสิงคโปร์          ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคของทั้งสองประเทศหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของไทยได้กล่าวถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาจำนวนมากในปี 2566 รวมทั้งนโยบายด้านพลังงานและโครงสร้างพื้นฐานของไทย เช่น การสนับสนุนระบบหลังคาโซล่าร์และการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสิงคโปร์ได้ขอบคุณที่ไทยให้การสนับสนุนด้านการระดมทุนเพื่อโครงสร้างพื้นฐานในอาเซียนภายใต้กรอบอาเซียน+3 และการผลักดันโครงการพัฒนาการเชื่อมโยงระบบส่งไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียน
ADB          ADB ได้อนุมัติโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการของไทย เรื่อง การปฏิรูประบบภาษีเพื่อสนับสนุนด้านการระดมทรัพยากรในประเทศแล้ว และจะสนับสนุนการดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้หารือกับ ADB เพื่อสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานในไทยเพิ่มเติม เช่น โครงการถนนมอเตอร์เวย์ และการจัดตั้งกองทุนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) เพื่อสนับสนุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานในประเทศเพื่อนบ้าน
สภาธุรกิจสหภาพยุโรป-อาเซียน (EU-ASEAN Business Council: EU-ABC)          รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้กล่าวถึงความคืบหน้าของไทยในการคำเนินการเพื่อสนับสนุนการเงินที่ยั่งยืน โดยไทยให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว และสินเชื่อหมุนเวียนธุรกิจสำหรับการค้าและการลงทุน และอยู่ระหว่างเริ่มเจรจาความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับสินค้าและการบริการของไทยในตลาดยุโรปที่มีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีกำลังซื้อสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก
                    5. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมเสวนาในหัวข้อ ?การเปลี่ยนผ่านสู่การเงินที่ยั่งยืนในอาเซียน? ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซียและรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสิงคโปร์ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                              5.1 รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสิงคโปร์ให้ความสำคัญกับหลักการ 4Ds สำหรับการเปลี่ยนแปลงพลังงาน ได้แก่ (1) การลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonisation) (2) การผลิตพลังงานแบบกระจายตัว (Decentralisation) (3) การลดการใช้ (Decreasing Use) และ (4) การนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ร่วมกับเทคโนโลยีด้านพลังงาน (Digitalization) และได้ชื่นชมการเผยแพร่มาตรฐานและเกณฑ์การจัดหมวดหมู่ด้านการเงินที่ยั่งยืนของอาเซียน ซึ่งจะช่วยให้เกิดความชัดเจนต่อนักลงทุนเกี่ยวกับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอาเซียนมากขึ้นและจะช่วยให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
                              5.2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่าควรมีการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจยั่งยืนควบคู่กับการให้ความสำคัญด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและเน้นย้ำการให้ความสำคัญกับปัญหาด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและปัญหาทางสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาฝุ่น PM25 รวมทั้งได้กล่าวถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาเรื่องพลังงานของไทยโดยมีการสนับสนุนการใช้โซลาร์เซลล์และพลังงานชีวมวลและการผลักดันนโยบาย 30@30 เพื่อให้มีการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า ร้อยละ 30 ภายในปี ค.ศ. 2030
                              5.3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอินโดนีเซียให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม บรรษัทภิบาล และการป้องกันการฟอกเขียวหรือการทำให้ผู้บริโภคเข้าใจผิดด้วยการโฆษณาสินค้าหรือองค์กรให้มีภาพลักษณ์ว่ารับผิดชอบต่อสังคมโดยการรักษาสิ่งแวดล้อม และได้นำประเด็นสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เป็นประเด็นผลักดันสำคัญในเวทีการประชุม G205
1จากการประสานข้อมูลเมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 กค. แจ้งว่า กองทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในภูมิภาคอาเซียนเป็นกองทุนเพื่อการจัดสรรเงินกู้ให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังาน น้ำ การขนส่ง และการพัฒนาเมือง เป็นต้น
2คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 เมษายน 2566) เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGF ครั้งที่ 9 แล้ว
3ระบบชำระเงินทันด่วน คือระบบการชำระเงินข้ามพรมแดนภายใต้เครือข่ายพหุภาคีโดยใช้เพียงหมายเลขโทรศัพท์มือถือ
4มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคื คือความร่วมมือด้านเศรษฐกิจและการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
5การประชุม G20 เป็นการประชุมผู้นำประเทศสมาชิกเพื่อหารือประเด็นเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ประกอบด้วยผู้แทนสหภาพยุโรปและอีก 19 ประเทศ ได้แก่ ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ 8 ประเท และประเทศกำลังพัฒนาขนาดใหญ่ 11 ประเทศ

15. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ เมืองยอกยาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย [คณะรัฐมนตรีมีมติ (31 มกราคม 2566) เห็นชอบต่อร่างเอกสาร จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 (2) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) ครั้งที่ 22 (3) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สาธารณรัฐอินเดีย ครั้งที่ 10 (4) ร่างถ้อยแถลงข่าวร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-สหพันธรัฐรัสเซีย ครั้งที่ 2 และ (5) ร่างแผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย พ.ศ. 2566-2570 และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ให้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนฯ ในฐานะผู้แทนรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Minister) ของไทย และร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ       โดยไม่มีการลงนาม] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                    1. การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 ที่ประชุมรับทราบความสำเร็จในการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน โดยในปี 2565 มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามาในภูมิภาคเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 1,222.99 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 1,706.61 เมื่อเทียบกับปี 2564 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ให้ความสำคัญกับ (1) การส่งเสริมการท่องเที่ยวอาเซียนให้มีความสามารถในการแข่งขันและการใช้นวัตกรรมที่เพิ่มขึ้นผ่านการสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางให้กับนักท่องเที่ยว การส่งเสริมจุดเด่นทางวัฒนธรรมและความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวทั้งเมืองหลักและเมืองรองผ่านการสร้างเครือข่ายระเบียงการท่องเที่ยว รวมถึงสนับสนุนการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวอาเซียน พ.ศ. 2559-2568 แผนฟื้นฟูภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สำหรับการท่องเที่ยวอาเซียน และการสนับสนุนกิจกรรมตามแผนการท่องเที่ยวเรือสำราญ พ.ศ. 2566 (2) การยกระดับการเสริมสร้างสมรรถนะบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน โดยที่ประชุมสนับสนุนการดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน ฉบับปรับปรุง ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการเพิ่มตำแหน่งานในอุตสาหกรรม MICE1 (3) การพัฒนาการท่องเที่ยวที่รับผิดชอบ ยั่งยืนและครอบคลุม โดยที่ประชุมชื่นชมการดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกทบทวนและดำเนินการตามกรอบการดำเนินงานดังกล่าว รวมถึงส่งเสริมการจัดทำผลิตภัณฑ์และบริการด้านการท่องเที่ยวที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สอดคล้องกับปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียนที่สะท้อนเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการฟื้นฟูและเปลี่ยนแปลงการท่องเที่ยวในภูมิภาคไปสู่ความยั่งยืน และ    (4) การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคการท่องเที่ยว โดยที่ประชุมกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากรด้านการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติของสังคมและสิ่งแวดล้ม รวมถึงเพื่อสร้างความสามารถในการรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงในระยะยาว นอกจากนี้ ที่ประชุมยังให้ความสำคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวต่าง ๆ เช่น สมาคมการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Tourism Association: ASEANTA) ซึ่งร่วมกับอาเซียนในการจัดทำเครื่องมือส่งเสริมบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 สมาคมส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (Pacific Asia Travel Association: PATA) ซึ่งจัดทำผลการศึกษาแนวโน้มสถานการณ์การท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน (US-ASEAN Business Council: US-ABC) ซึ่งให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับกระแสการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนการท่องเที่ยว MICE และการท่องเที่ยวเรือสำราญ รวมถึงแนวทางในการอำนวยความสะดวกในการเดินทาง และองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations World Tourism Organization: UNWTO) ประสงค์จะจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกับอาเซียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
                    2. การประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                              2.1 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 22 ที่ประชุมสนับสนุนความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกับกลุ่มประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ในประเด็น (1) การเสริมสร้างศักยภาพ (2) การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (3) การเปลี่ยนแปลงไปสู่ดิจิทัล (4) การส่งเสริมการตลาดท่องเที่ยว (5) การเสริมสร้างบทบาทของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อมและรายย่อย และ (6) การระบุข้อริเริ่มที่จะดำเนินการในอนาคต โดยอาศัยการสนับสนุนจากศูนย์อาเซียน-จีน ศูนย์อาเซียน-เกาหลี และศูนย์อาเซียน-ญี่ปุ่น โดยที่ผ่านมากลุ่มประเทศบวกสามได้ดำเนินกิจกรรมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนมาอย่างต่อเนื่องผ่านการจัดการประชุม นิทรรศการ และการจัดอบรมให้กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน ทั้งนี้ ปี 2566 อันเป็นปีแห่งการครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-ญี่ปุ่น จะมีการจัดการเสวนาพิเศษในไตรมาสที่ 4 ของปี 2566
                              2.2 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 10 ที่ประชุมรับทราบความสำคัญของกลุ่มนักท่องเที่ยวอินเดียที่เดินทางมาท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนมากกว่า 2.5 ล้านคน ในปี 2565 โดยสนับสนุนการดำเนินแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย พ.ศ. 2564-2565 ซึ่งมุ่งเน้น (1) การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและครอบคลุม (2) การส่งเสริมการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการท่องเที่ยว (3) ความปลอดภัยและความมั่นคงด้านการท่องเที่ยว (4) การลงทุนด้านการท่องเที่ยว (5) การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานด้านการท่องเที่ยว (6) การท่องเที่ยวและการเชื่อมโยง และ (7) การประชาสัมพันธ์และการตลาด นอกจากนี้ ที่ประชุมได้สนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย ด้านการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดการจ้างงานในชุมชนเพิ่มขึ้น รวมถึงการดำเนินงานตามแผนการส่งเสริมการท่องเที่ยว (ASEAN Promotional Chapter for Tourism: APCT)
                              2.3 การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเชีย ครั้งที่ 2 ที่ประชุมรับทราบอุปสงค์ของนักท่องเที่ยวรัสเซียในตลาดการท่องเที่ยวอาเซียนที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งที่ประชุมสนับสนุนการดำเนินงานส่งเสริมความร่วมมือตามแผนงานด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเชีย พ.ศ. 2565-2567 เพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการเดินทางที่ปลอดภัยของนักท่องเที่ยวชาวรัสเซีย
                    3. รัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนได้ให้การรับรองเอกสาร จำนวน 5 ฉบับ ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง โดยไม่มีการลงนาม ได้แก่ (1) ถ้อยแถลงประธานการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 26 (2) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ครั้งที่ 22 (3) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 10 (4) ถ้อยแถลงประธานร่วมการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน-รัสเชีย ครั้งที่ 2 และ (5) แผนงานความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียน-อินเดีย พ.ศ. 2566-2570

1อุตสาหกรรมสร้างสรรค์งานอีเวนท์ เป็นอุตสาหกรรมที่พัฒนาการจัดงานทางธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประชุมบริษัทและสมาคม ทั้งในระดับองค์กรภูมิภาคไปจนถึงระดับนานาชาติ เป็นการจัดงานที่มุ่งเน้นบริการนักธุรกิจที่เข้าร่วมการประชุมและงานแสดงสินค้าเป็นหลัก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมที่สำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ

16. เรื่อง การเสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 46 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอการเสนอขอรับเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก1 สมัยสามัญ ครั้งที่ 46 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง[คณะรัฐมนตรีมีมติ (4 มกราคม 2565) เห็นชอบการเสนอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 46 ตามที่ ทส. เสนอ และคณะรัฐมนตรีมีมติ (23 สิงหาคม 2565) เห็นชอบให้ประธานกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ลงนามในหนังสือแจ้งความประสงค์ในการเสนอเป็นเจ้าภาพการประชุมฯ ครั้งที่ 46 ถึงศูนย์มรดกโลก ตามที่ ทส. เสนอ (จะมีการพิจารณาในการประชุมฯ ครั้งที่ 45)] โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. การประชุมฯ จะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมของทุกปี โดยในปี 2565 การประชุมฯ ครั้งที่ 45 ได้กำหนดจัดขึ้น ณ เมืองคาซาน สหพันธรัฐรัสเซีย ระหว่างวันที่ 19-30 มิถุนายน 2565 โดยมีรัสเซียเป็นประธานการประชุมฯ แต่ต้องถูกเลื่อนออกไป เนื่องจากเกิดสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและประเทศยูเครน ต่อมาวันที่ 22 พฤศจิกายน 2565รัสเซียในฐานะเป็นประธานของการประชุมฯ ครั้งที่ 45 มีหนังสือแจ้งเวียนถึงรัฐภาคีสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกว่า ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้แทนถาวรรัสเซียประจำองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Educational Scientific and Cultural Organization: UNESCO) ทำให้ไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานกรรมการมรดกโลกได้ และร้องขอให้มีการดำเนินการตามกฎการดำเนินงานของคณะกรรมการมรดกโลกที่กำหนดว่า กรณีที่ประธานยุติการเป็นสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลก หรือไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้ครบวาระด้วยเหตุผลใดก็ตาม ให้รองประธานในลำดับถัดไปตามลำดับตัวอักษรภาษาอังกฤษดำรงตำแหน่งแทน เท่ากับวาระที่เหลืออยู่ทำให้ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียในฐานะรองประธานของคณะกรรมการมรดกโลกเป็นประธานการประชุมฯ ครั้งที่ 45
                    2. ในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยวิสามัญ ครั้งที่ 18 ระหว่างวันที่ 24-25 มกราคม 2566 ที่ประชุมได้พิจารณารายละเอียดการจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 45 โดยมีมติเห็นชอบกำหนดวันประชุม ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-25 กันยายน 2566 ณ กรุงริยาด ซาอุดีอาระเบีย โดยมีซาอุดีอาระเบียเป็นประธานการประชุม และสาธารณรัฐอาร์เจนตินา สาธารณรัฐอิตาลี รัสเซีย สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ และไทย เป็นรองประธานการประชุมและจะควบรวมวาระการประชุมฯ ครั้งที่ 45 และ 46 รวมทั้งวาระที่จะมีการนำเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก     ในปี 2566 เข้าด้วยกัน2
                    3. จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นประกอบกับไทยจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการมรดกโลกในเดือนพฤศจิกายน 25663 ไทยจึงไม่สามารถเสนอขอเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมฯ ครั้งที่ 46 ในปี 2566 ได้
1คณะกรรมการมรดกโลก เป็นคณะกรรมการภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติหรืออนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก (ปัจจุบันมีสมาชิก 172 ประเทศ) โดยประกอบด้วย กรรมการจาก 21 ประเทศ ที่ได้รับการคัดเลือกจากรัฐภาคีอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 4-6 ปี
2จากการประสาน ทส. แจ้งว่า ในวาระการประชุมฯ ครั้งที่ 45 และ 46 ที่จะจัดขึ้น ไทยจะมีการรายงานสถานภาพการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก ได้แก่ ดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และอุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน รวมถึงการนำเสนอเมืองโบราณศรีเทพ เพื่อให้คณะกรรมการมรดกโลกพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม
3คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 มกราคม 2562) อนุมัติให้ไทยสมัครเข้ารับการคัดเลือกเป็นกรรมการมรดกโลกในการประชุมสมัชชาภาคีแห่งอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 22 วาระปี พ.ศ. 2562-2566 ตามที่ ทส. เสนอและคณะรัฐมนตรีมีมติ (24 กุมภาพันธ์ 2563) รับทราบผลการสมัครเข้ารับการคัดเลือกดังกล่าว ตามที่ ทส. เสนอโดยไทยได้รับเลือก ทั้งนี้ เมื่อไทยหมดวาระการดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว จะต้องเว้นถึง 6 ปี จึงจะสามารถสมัครเข้าเป็นกรรมการมรดกโลกและการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมได้

17.  เรื่อง การเสนอให้คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบและรับรองต่อเอกสารผลลัพธ์ในระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน และคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนสำหรับการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค และร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์ - เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขถ้อยคำในร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้ พณ. เป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมให้ความเห็นชอบร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาคเพื่อเสนอผู้นำให้การรับรองในการประชุมสุดยอดอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 42
                    3. ให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Ministers: AEM) ร่วมเห็นชอบร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์ - เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ระหว่างรอบการประชุม (Inter-Sessional)1 และให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ในฐานะ AEC Council หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมให้การรับรองในเอกสารดังกล่าว ก่อนที่จะนำไปรวมกับแผนการดำเนินงานสำหรับการรับติมอร์ - เลสเต เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน (Roadmap for Timor-Leste?s Membership in ASEAN) ฉบับสมบูรณ์ เพื่อเสนอผู้นำให้การรับรองในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 42
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    สำนักเลขาธิการอาเซียนได้จัดทำเอกสารผลลัพธ์ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค และ 2) ร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์ - เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งมี พณ. เป็นผู้ประสานงานหลักของไทย จะมีการให้ความเห็นชอบและรับรองเอกสารทั้ง 2 ฉบับ ในการประชุม AEC Council ครั้งที่ 22 ระหว่างวันที่ 6 ? 7 พฤษภาคม 2566 ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และในการประชุม ASEAN Summit ครั้งที่ 42 ระหว่างวันที่ 10 - 11 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองลาบวนบาโจ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
                    1) ร่างปฏิญญาผู้นำอาเซียนว่าด้วยการพัฒนาระบบนิเวศสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าระดับภูมิภาค เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าอย่างยั่งยืนและมีประสิทธิภาพในภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในภูมิภาค
                    2) ร่างภาคผนวกประกอบแผนการดำเนินงานสำหรับการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของติมอร์ - เลสเต ในส่วนของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เป็นเอกสารที่กำหนดหลักเกณฑ์ในการดำเนินการเข้าเป็นภาคีตามความตกลงของเสาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก่อนการเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนอย่างสมบูรณ์ของติมอร์ - เลสเต โดยเมื่อรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ให้ความเห็นชอบระหว่างรอบการประชุม AEC Council และ ASEAN Summit ภายในเดือนเมษายน 2566 และ AEC Council ให้การรับรองในช่วงการประชุม AEC Council ครั้งที่ 22 แล้ว จะนำไปรวมกับร่างภาคผนวกอีก 2 เสาประชาคม (เสาประชาคมการเมืองและความมั่นคง และเสาประชาคมสังคมและวัฒนธรรม) เพื่อบรรจุในแผนการดำเนินงานสำหรับการรับติมอร์ - เลสเต เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนต่อไป
1ระหว่างรอบการประชุม (Inter-Sessional) หมายถึง การดำเนินการที่เกิดขึ้นก่อนการประชุม AEC Council และการประชุม ASEAN Summit

18.  เรื่อง การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด สมัยที่ 16 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน สมัยที่ 11
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญา [ได้แก่ การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด (อนุสัญญาบาเซลฯ) สมัยที่ 16 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ดัมว่าด้วยกระบวนการแจ้งข้อมูลสารเคมีล่วงหน้าสำหรับสารเคมีอันตรายและสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์บางชนิดในการค้าระหว่างประเทศ (อนุสัญญารอตเตอร์ดัมฯ) สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มว่าด้วยสารมลพิษที่ตกค้างยาวนาน (อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ) สมัยที่ 11] ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ ในส่วนของกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทยสำหรับการประชุมรัฐภาคี 3 อนุสัญญา ให้ ทส. ดำเนินการตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฏีกา
                    สาระสำคัญ
                    ทส. รายงานว่า ประเทศไทยได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาบาเซลฯ สมัยที่ 16 การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญารอตเตอร์ต้มฯ สมัยที่ 11 และการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สมัยที่ 11 ระหว่างวันที่ 1 - 12 พฤษภาคม 2566 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ซึ่งการประชุมรัฐภาคีของ 3 อนุสัญญา เป็นการประชุมต่อเนื่องกัน โดยจะมีการจัดประชุมกลุ่มย่อย (contact group) ตามความจำเป็น รวมทั้งช่วงการประชุมร่วม (joint session) เพื่อพิจารณาในประเด็นที่คาบเกี่ยวกัน ภายใต้หัวข้อหลักของการประชุม คือ ?Accelerating action: Targets for the sound management of chemicals and waste?

19. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26 (Joint Statement of the 26th ASEAN+3 Finance Minister? and Central Bank Governors? Meeting) (ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการคลัง (กค.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีเนื้อหาเพื่อแสดงถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 เพื่อสนับสนุนความร่วมมือในด้านต่าง ๆ และเสริมสร้างความแข็งแกร่งของความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาค อาทิ การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาคเพื่อสนับสนุนการเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน และการเสริมสร้างประสิทธิภาพของความร่วมมือของอาเซียน+3 รวมทั้งการกำหนดข้อริเริ่มภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3 ได้แก่ 1) การพัฒนาและแนวโน้มเศรษฐกิจและการเงินของภูมิภาค 2) การเสริมสร้างความร่วมมือทางการเงินของภูมิภาค เช่น          (1) โครงสร้างความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค (Regional Financing Arrangement: RFA) และมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)  (2) สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) (3) มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ที่ประชุม AFMGM+3 ฯลฯ

20. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะรัฐมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 29 (Joint Statement of the Twenty-Ninth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 29 (Joint Statement of the Twenty-Ninth ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก และหลักจากนั้นให้รายงานผลเพื่อคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป รวมทั้ง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 29 (29th ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) Council Meeting) ให้การรับรอง (adopt) ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและนวัตกรรมอาเซียน ครั้งที่ 29 ในวันที่ 8 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐอินโดนีเซีย ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างถ้อยแถลงร่วมสำหรับการประชุมคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ครั้งที่ 29    มีสาระสำคัญเพื่อสนับสนุนและชื่นชมความก้าวหน้าและความสำเร็จในการดำเนินงานภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ภายใต้การเป็นประธานอาเซียนของสาธารณรัฐอินโดนีเซียภายใต้แนวคิด ?อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรสร้างความเจริญ? ?ASEAN Matters: Epicentrum of Growth? ตลอดจนการรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานด้านต่าง ๆ ภายใต้ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน เช่น การเสริมสร้างสถาปัตยกรรมสุขภาพระดับภูมิภาค การเสริมสร้างอำนาจหมู่บ้านให้สามารถพัฒนาชนบทได้อย่างรวดเร็วในระดับภูมิภาค การส่งเสริมความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเพื่ออนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพและลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การคุ้มครองแรงงานข้ามชาติในอาเซียนที่ดีขึ้นและเพิ่มขีดความสามารถของแรงงานเพื่อการทำงานในอนาคต ตลอดจนการเสริมสร้างการพัฒนาที่คำนึงถึงความพิการ

21. เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาของการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมกลุ่ม 77 บวกสาธารณรัฐประชาชนจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อการรับรองร่างปฏิญญาของการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมกลุ่ม 77 บวกสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งอนุมัติให้ผู้แทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรับรองร่างปฏิญญาของการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมกลุ่ม 77 บวกสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้ หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างปฏิญญาฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    ร่างปฏิญญาของการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรมฯ มีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมประเทศกลุ่ม 77 บวกสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อไตร่ตรองถึงความท้าทายรูปแบบใหม่ของภาควัฒนธรรมในประเทศสมาชิกตลอดจนมุ่งส่งเสริมความคิดริเริ่มที่จะดำเนินการในมิติด้านสังคมและเศรษฐกิจของวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และการสนับสนุนกลไกความร่วมมือและทางเลือกเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมในฐานะสินค้าสาธารณะแห่งโลก รวมถึงส่งเสริมการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีและเสริมสร้างขีดความสามารถในประเทศกำลังพัฒนา โดยแสดงความมุ่งมั่นที่จะเสริมสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรม ส่งเสริมขอบเขตของการสนับสนุนในมิติด้านอื่น ๆ ของการพัฒนาที่ยั่งยืน และตระหนักถึงความสำคัญของวัฒนธรรมต่อผู้คนและสังคม ในฐานะสินค้าสาธารณะและเป็นหนทางในการสร้างสันติภาพ ความเสมอภาค และความเจริญรุ่งเรืองซึ่งสอดคล้องกับปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก (MONDIACULT 2022) โดยร่างปฏิญญาฯ มิได้มีรูปแบบ ถ้อยคำ หรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งไม่มีการลงนามในร่างปฏิญญาดังกล่าว จึงไม่ถือเป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

แต่งตั้ง
22. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน แทนตำแหน่งที่ว่าง
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมเสนอแต่งตั้ง นายจักรชัย บุญยะวัตร เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน แทนตำแหน่งที่ว่าง

23. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป และได้รับผลตอบแทนตามที่กระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบแล้ว

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ