สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 18 กันยายน 2566

ข่าวการเมือง Monday September 18, 2023 17:59 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

                    วันนี้ 18 กันยายน 2566 เวลา 09.00 น.  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี  ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1                                ทำเนียบรัฐบาล   ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย
                    1.           เรื่อง           การมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความ                                                  เห็นชอบหรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้อง                                                  ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือ                                                  วุฒิสภา ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกา                                        ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548

เศรษฐกิจ
                    2.           เรื่อง           ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง                                         รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับ                                                  รายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวันและเงินอุดหนุนสำหรับ                                                  สนับสนุนอาหารเสริม (นม)
                    3.           เรื่อง           การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                                        งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกหรือจำเป็น เพื่อจัดสรรให้แก่องค์การ                                        บริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา
                                        นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566                                         เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน สวัสดิการ (ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียนบุตร และค่าใช้จ่ายอื่น)                                         ของบุคลากรที่ถ่ายโอนที่รับการจัดสรรไม่เพียงพอ

ต่างประเทศ
                    4.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชา                                        สหประชาชาติด้านสาธารณสุข
                    5.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์เพื่อรับรองในที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศ                                        อาเซียน ครั้งที่ 16
                    6.           เรื่อง           การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 18
                    7.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรี                                                  ต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และ                                        มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Conference                                         on Interaction and Confident Building Measures in Asia: CICA)
                    8.           เรื่อง           การขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมืออาเซียน-องค์การความร่วมมือทาง                                        เศรษฐกิจ ระยะปี ค.ศ. 2024-2028 (ASEAN-ECO Framework of Cooperation                                         2024-2028)

แต่งตั้ง

                    9.           เรื่อง            คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่   233/2566  เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงาน                                        สภาผู้แทนราษฎร
                    10.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
                    11.           เรื่อง           การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาด                                                  หลักทรัพย์
                    12.            เรื่อง           การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการ                                                            กระทรวงมหาดไทย
                    13.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)
                    14.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
                    15.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                    16.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)
                    17.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    18.           เรื่อง           ขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม                                         (ครั้งที่ 2)
                    19.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง                                                   (กระทรวงแรงงาน)
                    20.           เรื่อง           การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
                    21.           เรื่อง           แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    22.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
                    23.           เรื่อง           แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)

?
กฎหมาย
1. เรื่อง การมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบหรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา                    สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี (28 มกราคม 2563) ซึ่งมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
                    เรื่องเดิม
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 มกราคม 2563) เห็นชอบมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรี เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ               พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแทนตำแหน่งที่ว่าง ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินการอันจำกัด ตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                      โดยที่ร่างพระราชกฤษฎีกาที่ต้องดำเนินการตามรัฐธรรมนูญในความสัมพันธ์กับรัฐสภา              สภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสภา เช่น พระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมรัฐสภาสมัยวิสามัญ พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น จะมีระยะเวลาดำเนินการค่อนข้างจำกัดตามกรอบระยะเวลาและขั้นตอนของกฎหมาย ประกอบกับเป็นเรื่องที่มีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนอยู่แล้ว คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติวันที่ 28 มกราคม 2563 มอบหมายให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้อนุมัติ ให้ความเห็นชอบ หรือมีคำสั่งแทนคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวตามมาตรา 7 แห่งพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการเสนอเรื่องและการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548 ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติราชการของคณะรัฐมนตรีในเรื่องดังกล่าวดำเนินไปด้วยความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงเสนอขอให้คณะรัฐมนตรีมีมติให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 28 มกราคม 2563 ต่อไป

เศรษฐกิจ
2. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวันและเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (งบกลางฯ ปี 2566) จำนวนทั้งสิ้น 2,310.26 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวันและเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม) ให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เทศบาลนคร เทศบาลเมือง และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.) ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
[มท. จะต้องนำเงินงบกลางฯ ปี 2566 ที่ขอรับจัดสรรครั้งนี้ ไปชำระเป็นค่าอาหารกลางวันและจัดซื้ออาหารเสริม (นม) ให้แก่โรงเรียนสำหรับไตรมาสที่ 4 (ห้วงเดือนกันยายน 2566)]
                    สาระสำคัญ
                    พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กำหนดให้ตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 3,185,000,000,000 บาท โดยจำแนกเป็นงบประมาณรายจ่ายของกระทรวงมหาดไทย (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลนคร และเทศบาลเมือง) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษ (กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา) ที่เป็นหน่วยรับงบประมาณตรงได้รับการจัดสรรงบประมาณตามแผนงานยุทธศาสตร์ส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวันและเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม) และกระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือซักซ้อมแนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายรองรับเงินอุดหนุนทั่วไปด้านการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ประกอบด้วย รายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวัน อัตราคนละ 21 บาทต่อวัน และรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม) อัตราคนละ 7.37 บาทต่อวัน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 อนุมัติให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็กถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และมีมติเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2565 อนุมัติปรับเพิ่มราคากลางในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมโครงการอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ จึงส่งผลให้งบประมาณรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวันและรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารเสริม (นม) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและหน่วยรับงบประมาณตรงไม่เพียงพอ เนื่องจากการปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันและอาหารเสริม (นม) โรงเรียน ตามมติคณะรัฐมนตรีและมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับรายการเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนอาหารกลางวัน และเงินอุดหนุนสำหรับสนันสนุนอาหารเสริม (นม) ทั้งนี้ สำนักงบประมาณแจ้งผลการพิจารณาการขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการดังกล่าว เป็นเงินทั้งสิ้น 2,310,262,300 บาท สามารถจำแนกตามหน่วยรับงบประมาณได้ ดังนี้
หน่วย : บาท
ลำดับที่          หน่วยรับงบประมาณ          จำนวน (แห่ง)          จำนวน
1          องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.)          41          980,000
2          เทศบาลนคร (ทน.)          202          21,603,600
3          เทศบาลเมือง (ทม.)          263          24,209,500
4          กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (สถ.)          14          2,263,469,200
          รวมทั้งสิ้น                    2,310,262,300

1 ได้แก่ (1) อบจ.ขอนแก่น (2) อบจ.ปัตตานี (3) อบจ.พัทลุง และ (4) อบจ.ราชบุรี
2 ได้แก่ (1) ทน.ขอนแก่น (2) ทน.แหลมฉบัง (3) ทน.เชียงใหม่ (4) ทน.เชียงใหม่ (5) ทน.แม่สอด (6) ทน.นครศรีธรรมราช (7) ทน.นนทบุรี (8) ทน.ภูเก็ต (9) ทน.ลำปาง และ (10) ทน.สงขลา
3 ได้แก่ (1) ทม.กระบี่ (2) ทม.ชุมแพ (3) ทม.บ้านไผ่ (4) ทม.ท่าใหม่ (5) ทม.นครพนม (6) ทม.บางแม่นาง (7) ทม.ตากใบ (8) ทม.นราธิราช (9) ทม.ปัตตานี (10) ทม.ตะลุบัน (11) ทม.พัทลุง (12) ทม.บางมูลนาก (13) ทม.กะทู้ (14) ทม.สะเตงนอก (15) ทม.ลพบุรี (16) ทม.ล้อมแรด (17) ทม.เขลางค์นคร (18) ทม.พิชัย (19) ทม.ลำพูน (20) ทม.ศรีสะเกษ (21) ทม.สิงหนคร (22) ทม.คอหงส์ (23) ทม.สระบุรี (24) ทม.สิงห์บุรี (25) ทม.สุพรรณบุรี และ (26) ทม.อุตรดิตถ์
4 สถ. มีจำนวนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนสังกัด อปท. (องค์การบริหารส่วนตำบลและเทศบาลตำบล) และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ขอรับจัดสรรงบประมาณสำหรับเป็นเงินอุดหนุนค่าอาหารกลางวัน/ค่าอาหารเสริม (นม) โดยประมาณการ ดังนี้ (1) ค่าอาหารกลางวันเด็กปฐมวัย จำนวน 17,372 แห่ง           (2) ค่าอาหารกลางวันระดับประถมศึกษา จำนวน 26,461 แห่ง และ (3) ค่าอาหารเสริม (นม) ระดับประถมศึกษา จำนวน 26,461 แห่ง
                    ทั้งนี้ ในการขอรับจัดสรรงบกลางฯ ปี 2566 ครั้งนี้ มท. ได้คำนวณค่าใช้จ่ายจากจำนวนนักเรียนจริงในภาคเรียนที่ 1/2566
                    รายละเอียดรายการเงินอุดหนุน ดังนี้


รายการเงินอุดหนุน          วงเงิน (ล้านบาท)
1. อาหารกลางวัน เด็กปฐมวัย          773.50
2. อาหารกลางวัน ระดับประถมศึกษา          1,222.06
3. อาหารเสริม (นม) ระดับประถมศึกษา          314.70
รวมทั้งสิ้น          2,310.26
หมายเหตุ:  สำหรับค่าใช้จ่ายอาหารเสริม (นม) เด็กปฐมวัย จำนวน 7.23 ล้านบาท มท. ได้ปรับแผนการปฏิบัติงาน               และแผนการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อรองรับค่าใช้จ่ายไว้แล้ว

3. เรื่อง การขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกหรือจำเป็น เพื่อจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน สวัสดิการ (ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียนบุตร และค่าใช้จ่ายอื่น) ของบุคลากรที่ถ่ายโอนที่รับการจัดสรรไม่เพียงพอ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น งบประมาณทั้งสิ้น 497,064,883 บาท เพื่อจัดสรรให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่รับโอนภารกิจสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อจ่ายเป็นเงินเดือน สวัสดิการ (ค่าเช่าบ้าน ค่าเล่าเรียนบุตร และค่าใช้จ่ายอื่น) ของบุคลากรที่ถ่ายโอนที่รับการจัดสรรไม่เพียงพอ จำนวน 48 จังหวัด ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ

ต่างประเทศ
4. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติด้านสาธารณสุข
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อ 1) ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ 2) ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และ 3) ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการต่อสู้กับวัณโรค
                    2. อนุมัติให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ สมัยที่ 78 หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองทั้ง 3 ฉบับ
                    3. หากมีการแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่มิใช่สาระสำคัญหรือขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย อนุมัติให้กระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงการต่างประเทศพิจารณาและดำเนินการโดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง
                    ทั้งนี้ ที่ประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติด้านสาธารณสุข มีกำหนดจะรับรองร่างปฏิญญาทางการเมืองทั้ง 3 ฉบับ ระหว่างวันที่ 20 - 22 กันยายน 2566 ณ สำนักงานสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อการระบาดใหญ่ มีสาระสำคัญในการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกที่จะร่วมมือกันเพื่อเสริมสร้างการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และการตอบโต้โรคระบาดใหญ่ทั่วโลก และการจัดการกับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมของการระบาดใหญ่ในอนาคต โดยให้ความสำคัญกับ                         การดำเนินการอย่างเป็นระบบ และสร้างความมั่นคงระดับชาติ ภูมิภาค และโลก ที่ขับเคลื่อนด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และการจัดลำดับความสำคัญ โดยคำนึงถึงความเท่าเทียมและสิทธิมนุษยชน
                    2. ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีสาระสำคัญในการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกที่จะเร่งรัดการบรรลุหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยการสนับสนุนความเป็นหุ้นส่วนระดับโลก ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ                  เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ร่วมกันภายในปี พ.ศ. 2573 โดยทบทวนและติดตามจากผลลัพธ์การดำเนินงานตามปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงว่าด้วยหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปี พ.ศ. 2562 นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญในมิติด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งประเด็นด้านสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และปัจจัยอื่นที่มีผลกำหนดสุขภาพ โดยเฉพาะมิติของสิทธิมนุษยชนและการบูรณาการสุขภาพในทุกนโยบาย
                    3. ร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการต่อสู้กับวัณโรค มีสาระสำคัญในการแสดงเจตนารมณ์ของประเทศสมาชิกในการพัฒนาขีดความสามารถและประยุกต์ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อยุติการแพร่ระบาดของวัณโรคทั่วโลกอย่างเร่งด่วน โดยเป็นการยืนยันความมุ่งมั่นที่จะยุติการแพร่ระบาดของวัณโรคให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2573 พร้อมกับทบทวนความก้าวหน้าการดำเนินการตามปฏิญญาทางการเมืองปี พ.ศ. 2561 ของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติเกี่ยวกับการต่อสู้กับวัณโรค และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคำนึงถึงผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโรคโควิด 19
                    4. กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งร่างปฏิญญาทางการเมืองของการประชุมระดับสูงของสมัชชาสหประชาชาติด้านสาธารณสุขทั้ง 3 เรื่องให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแจ้งข้อคิดเห็นว่า โดยที่ร่างปฏิญญาทั้ง 3 ฉบับไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ กอปรกับไม่มีการลงนามในร่างเอกสาร ดังนั้น ร่างปฏิญญาทั้ง 3 ฉบับจึงไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

5. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์เพื่อรับรองในที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์ เสนอ ดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์สำหรับรับรองในที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 จำนวน 5 ฉบับ ได้แก่
                        (1) ร่างแผนปฏิบัติการคณะทำงานเฉพาะกิจอาเซียนด้านการรับมือข่าวลวง
                        (2) ร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน อาเซียน 2573 : มุ่งสู่สารนิเทศอาเซียนที่พร้อมเปลี่ยนแปลง พร้อมตอบสนอง และยืดหยุ่น
                        (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 7
                        (4) ร่างปฏิญญาดานังว่าด้วย ?สื่อ : จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง?
                        (5) ร่างแนวทางการจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อต่อต้านข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนในสื่อ
                    2. ให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนของประเทศไทย รับรองเอกสารผลลัพธ์ทั้ง 5 ฉบับดังกล่าวในที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 21 - 23 กันยายน 2566 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามอย่างเป็นทางการต่อไป
                    3. หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างเอกสารทั้ง 5 ฉบับดังกล่าวที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้สำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์ สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก
                    ทั้งนี้  สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ประเทศเจ้าภาพกำหนดให้มีการรับรองร่างเอกสารผลลัพธ์จำนวน 5 ฉบับดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ในที่ประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 21 - 23 กันยายน 2566 ณ นครดานัง สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
                    สาระสำคัญ
                    1. ร่างแผนปฏิบัติการคณะทำงานเฉพาะกิจอาเซียนด้านการรับมือข่าวลวง (Draft Plan of Action of ASEAN Task Force on Fake News) คือ แผนการดำเนินโครงการและกิจกรรมด้านการรับมือข่าวลวงของประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งกิจกรรมของไทยประกอบด้วย โครงการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ภาษาอังกฤษของเยาวชนไทย เพื่อเสริมสร้างทักษะด้านการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลในอาเซียน ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว รวมถึงการเสวนาเจ้าหน้าที่ระดับสูงอาเซียน - จีน ว่าด้วยบทเรียนและแนวทางการสื่อสารในช่วงโควิด-19 ซึ่งจะดำเนินการในปี 2568
                    2. ร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน อาเซียน 2573 : มุ่งสู่สารนิเทศอาเซียนที่พร้อมเปลี่ยนแปลง พร้อมตอบสนอง และยืดหยุ่น (Draft Vision Statement by AMRI - ASEAN 2030: Toward a Transformative, Responsive and Resilient Information and Media Sector) คือ การแสดงวิสัยทัศน์ของรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ภายใต้แนวคิดหลัก ?สื่อ : จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง? ซึ่งเน้นย้ำบทบาทของสื่อจากการทำงานเชิงรับเป็นเชิงรุก โดยเปลี่ยนมุมมองจากการที่ประชาชนเป็นผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารเชิงรับ สู่การเป็นผู้ค้นคว้าข้อมูลข่าวสารเชิงรุก ขณะที่สื่อเป็นผู้ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้เท่าทันสื่อ แสวงหาความรู้ และปลูกฝังค่านิยมในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่มีความรู้ ยืดหยุ่น และพร้อมปรับตัว เพื่อเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัล
                    3. ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 และการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา+3 ครั้งที่ 7 (Draft Joint Media Statement: 16th Conference of the ASEAN Ministers Responsible for Information & 7th Conference of the ASEAN Plus Three Ministers Responsible for Information) คือ การสรุปผลการประชุมรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียน ครั้งที่ 16 ภายใต้แนวคิดหลัก ?สื่อ : จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง? ประกอบด้วยประเด็นสำคัญ คือ การใช้สื่อและสารนิเทศในการสนับสนุนประชาคมอาเซียนให้เป็นสังคมที่พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง ตอบสนอง และยืดหยุ่น สื่อสารข้อมูลที่ถูกต้องไปยังประชาชน ตลอดจนการส่งเสริมความรู้สึกเป็นพลเมืองอาเซียน
                    4. ร่างปฏิญญาดานังว่าด้วย ?สื่อ : จากข้อมูลสู่ความรู้เพื่ออาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมตอบสนอง? (Draft Danang Declaration on ?Media: From Information to Knowledge for a Resilient and Responsive ASEAN?) คือ การแสดงจุดยืนและความมุ่งมั่นรัฐมนตรีสารนิเทศอาเซียนในการสร้างสภาพแวดล้อมสำหรับสื่อในยุคดิจิทัล ผ่านการส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อและดิจิทัล การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เปิดกว้างและโปร่งใส และ                          การเพิ่มเติมเนื้อหาข้อมูลข่าวสารที่สร้างความรู้และแรงบันดาลใจในการเป็นผู้บริโภคข้อมูลข่าวสารเชิงรุกมีความสามารถในการประเมินข่าวสารเชิงวิพากษ์และสามารถแยกแยะข้อเท็จจริงได้ เพื่อให้พลเมืองอาเซียนได้รับประโยชน์จากความร่วมมือของสาขาสารนิเทศอาเซียน และเพื่อสร้างประชาคมอาเซียนที่ยืดหยุ่นและพร้อมปรับตัวต่อยุคดิจิทัล
                    5. ร่างแนวทางการจัดการข้อมูลภาครัฐเพื่อต่อต้านข่าวปลอมและข้อมูลบิดเบือนในสื่อ (Draft Guideline on Management of Government Information in Combating Fake News and Disinformation in the Media) คือ เอกสารสรุปข้อมูลแนวทางการดำเนินงานให้แก่รัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนในการรับมือข่าวลวงหรือข้อมูลบิดเบือนที่เผยแพร่ผ่านสื่อหรือสื่อสังคมออนไลน์ นำเสนอแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศ สำหรับ               นักประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อส่งเสริมการสื่อสารภาครัฐที่ถูกต้อง โปร่งใส และเชื่อถือได้ รวมถึงพัฒนาความร่วมมือและการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตอบโต้ข่าวลวงและข้อมูลที่ถูกบิดเบือน โดยเฉพาะในภาะวิกฤตหรือภาวะฉุกเฉิน
                    6. ร่างเอกสารทั้ง 5 ฉบับดังกล่าว ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่ก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้ข้อบังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีที่ผูกพันทางกฎหมายจึงไม่ใช่สนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560

6. เรื่อง การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 18
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาบาห์เรน ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์การประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 18 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างปฏิญญาบาห์เรนดังกล่าว ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                    *ที่ประชุมระดับรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือเอเชีย ครั้งที่ 18 จะให้การรับรองร่างปฏิญญาบาห์เรนเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม ในวันที่ 20 กันยายน 2566
                    สาระสำคัญ
                    ร่างปฏิญญาบาห์เรนมีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองระดับรัฐมนตรีประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือเอเชียในการขับเคลื่อนความร่วมมือเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างครอบคลุมและยั่งยืน โดยการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และแนวปฏิบัติ อีกทั้งเน้นย้ำความสำคัญของการใช้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (one health approach) ในการบรรลุเป้าหมายด้านสาธารณสุข ตลอดจนส่งเสริมการฟื้นฟูเศรษฐกิจที่ยั่งยืนหลังการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ด้วยการยกระดับความร่วมมือด้านการค้า การขนส่งและความเชื่อมโยงดิจิทัล การท่องเที่ยว วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รวมทั้งการสนับสนุนภาคธุรกิจและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เพื่อให้ประเทศสมาชิกและภูมิภาคเอเชียเกิดการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างการเติบโตร่วมกันจนนำไปสู่การเป็นประชาคมเอเชีย

7. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Conference on Interaction and Confident Building Measures in Asia: CICA)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอดังนี้
                    1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารจำนวน 3 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายสามารถพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                    2. อนุมัติให้ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศที่ได้รับมอบหมายให้เข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการของ CICA ร่วมรับรองเอกสารจำนวน 3
ฉบับ
                    ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศเสนอการขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารที่จะมีการรับรองในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการของการประชุมว่าด้วยการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์และมาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชีย (Conference on Interaction and Confident Building Measures in Asia: CICA) ในวันที่ 21 กันยายน 2566 ในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
                    สาระสำคัญของร่างเอกสารที่จะรับรองโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอย่างไม่เป็นทางการของ CICA จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่
                    1. ร่างมติการประชุมระดับรัฐมนตรี CICA เกี่ยวกับแผนงานการเปลี่ยนผ่านของ CICA (Draft Decision of the CICA Ministerial Council on a Road Map for CICA Transformation) เป็นเอกสารที่แสดงถึงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิก CICA ในการเปลี่ยนผ่านกรอบความร่วมมือ CICA ให้เป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีความสำคัญในภูมิภาคเอเชีย โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยเป็นค่อยไป มีความโปร่งใส ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิก และเคารพต่อหลักฉันทามติ
                    2. ร่างแผนงานสำหรับการเปลี่ยนผ่านของ CICA (Draft Road Map for CICA Transformation) เป็นเอกสารกำหนดรายชื่อสาขาและกลุ่มหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนผ่านของ CICA เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับประเทศสมาชิกใช้ในการหารือในรายละเอียดต่อไป
                    3. ร่างถ้อยแถลงของที่ประชุมระดับรัฐมนตรี CICA ด้านการส่งเสริมงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Draft CICA Ministerial Council Statement on Promoting Volunteerism for Sustainable Development) มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมแนวคิดอาสาสมัครตามแนวทางของมติสมัชชาสหประชาชาติเพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างแพร่หลายในประเทศสมาชิก CICA โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชน เพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการว่างงาน ความยากจน ความเสี่ยงจากภัยพิบัติ และความท้าทายต่าง ๆ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน

8. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมืออาเซียน-องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระยะปี ค.ศ. 2024-2028 (ASEAN-ECO Framework of Cooperation 2024-2028)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างกรอบความร่วมมืออาเซียน-องค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ระยะปี ค.ศ. 2024 - 2028 โดยหากมีการแก้ไขร่างกรอบความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างกรอบความร่วมมือฯ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ
                    ทั้งนี้ ร่างกรอบความร่วมมือฯ มีกำหนดจะเข้าสู่การพิจารณาเพื่อรับรองโดยที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน - Economic Cooperation Organization (ECO) ครั้งที่ 15 ซึ่งมีกำหนดจะจัดขึ้นในห้วงการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยสามัญ ครั้งที่ 78 ณ นครนิวยอร์ก ในวันที่ 22 กันยายน 2566
                    สาระสำคัญ
                    ร่างกรอบความร่วมมือฯ มีสาระสำคัญเพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับ ECO ผ่านการทบทวนและกำหนดทิศทางในการดำเนินความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสององค์กร โดยเฉพาะในด้านการค้าและการลงทุน คมนาคมและการสื่อสาร พลังงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการควบคุมสารเสพติด

แต่งตั้ง
9. เรื่อง  คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่   233/2566  เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่ง คำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 233/2566  เรื่อง  แต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร
                    เพื่อให้การดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภาเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา ตลอดจนการประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง ด้านนิติบัญญัติให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น ซึ่งจะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการสนับสนุน
การดำเนินการของคณะรัฐมนตรีในการเสนอร่างกฎหมาย และดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ อันจะส่งผลให้การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเรียบร้อย จึงสมควรแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญเหมาะสม เพื่อทำหน้าที่ประสานงานระหว่างคณะรัฐมนตรีกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว
                    อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) และ (9) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมาตรา 184 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 จึงแต่งตั้งคณะกรรมการในการบริหารราชการแผ่นดินที่เกี่ยวกับกิจการของสภา
ขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่าคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) โดยมีองค์ประกอบหน้าที่
และอำนาจ ดังต่อไปนี้
                    1.     องค์ประกอบ
          1.1          คณะที่ปรึกษา
          (1) นางมนพร  เจริญศรี          ที่ปรึกษา/กรรมการ
          (2) รองศาสตราจารย์ชูศักดิ์  ศิรินิล          ที่ปรึกษา/กรรมการ
          (3) พลตำรวจโท วิโรจน์  เปาอินทร์          ที่ปรึกษา/กรรมการ
          1.2           คณะกรรมการ
          (1) นายอดิศร  เพียงเกษ          ประธานกรรมการ
          (2) นายวิสุทธิ์  ไชยณรุณ          รองประธานกรรมการ คนที่หนึ่ง
          (3) นายครูมานิตย์  สังข์พุ่ม           รองประธานกรรมการ คนที่สอง
          (4) นายสรวงศ์  เทียนทอง          รองประธานกรรมการ คนที่สาม
          (5) นายอาสพลธ์  สรรณ์ไตรภพ          รองประธานกรรมการ คนที่สี่
          (6) นายอนันต์  ผลอำนวย          รองประธานกรรมการ คนที่ห้า
          (7) นางพิชชารัตน์  เลาหพงศ์ชนะ          รองประธานกรรมการ คนที่หก
          (8) นายศิรสิทธิ์  เลิศด้วยลาภ          กรรมการ
          (9) นางสาวสกุณา  สาระนันท์          กรรมการ
          (10) นายโอชิษฐ์  เกียรติก้องชูชัย          กรรมการ
          (11) นายวันนิวัติ  สมบูรณ์          กรรมการ
          (12) นางสาวจิราพร  สินธุไพร          กรรมการ
          (13) นางสาวชนก  จันทาทอง          กรรมการ
          (14) นายกิตติศักดิ์  คณาสวัสดิ์          กรรมการ
          (15) นางเทียบจุฑา  ขาวขำ          กรรมการ
          (16) นางพรรณสิริ  กุลนาถศิริ          กรรมการ
          (17) นายรังสรรค์  มณีรัตน์          กรรมการ
          (18) นางสาววิสาระดี  เตชะธีราวัฒน์          กรรมการ
          (19) นางสาวธีรรัตน์  สำเร็จวาณิชย์          กรรมการ
          (20) นางสาวขัตติยา  สวัสดิผล          กรรมการ
          (21) นายวรวงศ์  วรปัญญา          กรรมการ
          (22) นายเจเศรษฐ์  ไทยเศรษฐ์          กรรมการ
          (23) นายธนยศ  ทิมสุวรรณ           กรรมการ
          (24) นางสาวแนน บุณย์ธิดา  สมชัย           กรรมการ
          (25) นายวรศิษฎ์  เลียงประสิทธิ์           กรรมการ
          (26) นายอำนาจ  วิลาวัลย์           กรรมการ
          (27) นางสุขสมรวย  วันทนียกุล          กรรมการ
          (28) นายภราดร  ปริศนานันทกุล           กรรมการ
          (29) นายอัคร  ทองใจสด           กรรมการ
          (30) นายภาคภูมิ  บูลย์ประมุข          กรรมการ
          (31) นายฉกาจ  พัฒนกิจวิบูลย์          กรรมการ
          (32) นายชัยมงคล  ไชยรบ          กรรมการ
          (33) นายองอาจ  วงษ์ประยูร           กรรมการ
          (34) นายอรรถกร  ศิริลัทธยากร           กรรมการ
          (35) นายวิทยา  แก้วภราดัย          กรรมการ
          (36) นายอัครเดช  วงษ์พิทักษ์โรจน์          กรรมการ
          (37) นายศาสตรา  ศรีปาน           กรรมการ
          (38) นายปรเมษฐ์  จินา          กรรมการ
          (39) นายเสมอกัน  เที่ยงธรรม          กรรมการ
          (40) นายอนุรักษ์  จุรีมาศ          กรรมการ
          (41) นายซูการ์โน  มะทา          กรรมการ
          (42) นายวรรณรัตน์  ชาญนุกูล          กรรมการ
          (43) นางพิมพกาญจน์  พลสมัคร          กรรมการ
          (44) นายศรัณย์  ทิมสุวรรณ          กรรมการและเลขานุการ
1.3           ผู้แทนส่วนราชการ
          (1)           นายสมคิด  เชื้อคง
     รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง
     สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี           กรรมการ
          (2)           ผู้แทนสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี          กรรมการ
          (3)           ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการ
      กฤษฎีกา          กรรมการ
          (4)           ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการสภาผู้
       แทนราษฎร          กรรมการ
1.4           ฝ่ายเลขานุการ
          (1) ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ
     ด้านประสานกิจการภายในประเทศ
     สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี          กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ

          (2)           ผู้อำนวยการกองประสานงานการเมือง
               สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี          กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
          (3)           ผู้อำนวยการกลุ่มประสานงานการเมือง 1
               กองประสานงานการเมือง
               สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี          กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
          (4)           เจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
               ที่ได้รับมอบหมาย จำนวน 2 คน          ผู้ช่วยเลขานุการ



            2.           หน้าที่และอำนาจ
                    2.1 พิจารณาดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาผู้แทนราษฎรและรัฐสภา เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นไปด้วยความราบรื่นและเป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผนตามระบบรัฐสภา
                    2.2 ประสานงานกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกรัฐสภา และพรรคการเมือง
ในปัญหาต่างๆ ด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภาอื่นๆ ทั้งการเสนอร่างกฎหมายและดำเนินการอื่นที่เกี่ยวข้องกับงานด้านนิติบัญญัติ และกิจการรัฐสภา ให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น
                    2.3  พิจารณาระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา เพื่อกำหนดแนวทางการทำงานและมีมติเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบหรือเห็นชอบแล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ มติของคณะกรรมการต้องสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลหรือของนายกรัฐมนตรีหรือมติคณะรัฐมนตรี พร้อมแจ้งคณะรัฐมนตรี
                    2.4  ในระหว่างการประชุมสภาผู้แทนราษฎรและการประชุมร่วมกันของรัฐสภา คณะกรรมการสามารถพิจารณาวินิจฉัยที่จะเปลี่ยนแปลงมติของคณะกรรมการตามข้อ 2.3 ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความจำเป็น
                    2.5  ขอความร่วมมือส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง
เข้าชี้แจงข้อเท็จจริง และจัดส่งเอกสารข้อมูลให้แก่คณะกรรมการ
                    2.6  ให้ประธานกรรมการมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อช่วยเหลือปฏิบัติงาน
ในเรื่องต่างๆ ของคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น
                    2.7  ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
          3.           องค์ประชุม
                    การประชุมคณะกรรมการต้องมีกรรมการมาประชุมไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนกรรมการทั้งหมดเท่าที่มีอยู่จึงจะเป็นองค์ประชุม
                    ในการนี้ ให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ สำหรับการเบิกจ่ายเบี้ยประชุมให้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาเบี้ยประชุมกรรมการ
พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานให้เบิกจ่ายตามระเบียบทางราชการโดยให้เบิกจ่ายจากสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
          ทั้งนี้  ตั้งแต่วันที่ 14 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

10. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้งข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทยให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ดังนี้
                    1. นายชำนาญวิทย์ เตรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดตราด สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. นายอรรษิษฐ์ สัมพันธรัตน์ พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการปกครอง
                    3. นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม พ้นจากตำแหน่งรองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน
                    4. นายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                    5. นายสนั่น พงษ์อักษร พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง
                    6. นายชลธี ยังตรง พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานปลัดกระทรวง
                    7. นายสุภกิณห์ แวงชิน พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง
                    8. นายขจรเกียรติ รักพานิชมณี พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานปลัดกระทรวง
                    9. นายทวี เสริมภักดีสกุล พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดเลย สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ สำนักงานปลัดกระทรวง
                    10. นายนฤชา  โฆษาศิวิไลซ์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ สำนักงานปลัดกระทรวง
                    11. นายภาสกร บุญญลักษม์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
                    12. นายสุพจน์ รอดเรือง ณ หนองคาย พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา สำนักงานปลัดกระทรวง
                    13. นายโสภณ  สุวรรณรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต สำนักงานปลัดกระทรวง
                    14. นายวิบูรณ์ แววบัณฑิต พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง
                    15. นายอำพล พงศ์สุวรรณ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดยะลา สำนักงานปลัดกระทรวง
                    16. นายเกียรติศักดิ์ ตรงศิริ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
                    17. นายอนุพงศ์ สุขสมนิตย์ พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ สำนักงานปลัดกระทรวง
                    18. นายสมนึก พรหมเขียว พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง
                    19. นายศักระ กปิลกาญจน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดระนอง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสตูล สำนักงานปลัดกระทรวง
                    20. นายผล ดำธรรม พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร สำนักงานปลัดกระทรวง
                    21. นายบัญชา เชาวรินทร์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี สำนักงานปลัดกระทรวง
                    22. นายเจษฎา จิตรัตน์ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
                    23. นายพิริยะ ฉันทดิลก พ้นจากตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    24. นายศุภศิษย์ กอเจริญยศ พ้นจากตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดกาฬสินธุ์ สำนักงานปลัดกระทรวง และแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานปลัดกระทรวง
                    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

11. เรื่อง การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางพรอนงค์ บุษราตระกูล ให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.) ตามมติเสียงข้างมากของคณะกรรมการ ก.ล.ต. และเป็นอันดับสูงสุด โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

12.  เรื่อง การมอบหมายให้รัฐมนตรีเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติเป็นหลักการมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามนัยมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 โดยเรียงตามลำดับ ดังนี้
                    1. นายทรงศักดิ์ ทองศรี           ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
                    2. นายชาดา ไทยเศรษฐ์           ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
                    3. นายเกรียง กัลป์ตินันท์ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย

13. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงยุติธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง นายสมบูรณ์ ม่วงกล่ำ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม และนายกูเฮง ยาวอหะซัน ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

14. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงคมนาคม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอการแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน               4 ราย ดังนี้
                    1. นายทวีศักดิ์ อนรรฆพันธ์           ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)
                     2. นายสรพันธ์ คุณากรวงศ์            ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นางมนพร เจริญศรี)
                    3. นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล            ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ)
                    4. นางสาวณภัทรา กมลรักษา  ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ)
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

15. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแต่งตั้ง                 นายนพดล พลเสน ให้ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป


16. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงแรงงาน)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายอารี ไกรนรา เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

17. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงอุตสาหกรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง                       นายดนัยณัฏฐ์ โชคอำนวย ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนางสาวไพลิน                   เทียนสุวรรณ ให้ดำรงตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

18. เรื่อง ขอต่อเวลาการดำรงตำแหน่งเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ครั้งที่ 2)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอการต่อเวลาการดำรงตำแหน่งของ นายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ต่อไปอีก 1 ปี (ครั้งที่ 2) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567

19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงแรงงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเสนอแต่งตั้ง นายไพโรจน์                    โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน ให้ดำรงตำแหน่ง ปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงแรงงาน เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง

20. เรื่อง การมอบหมายผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติมอบหมายเป็นหลักการให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ในกรณีที่ไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ ตามความในมาตรา 42 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 จำนวน 2 ราย ตามลำดับ ดังนี้
                    1. นางมนพร เจริญศรี           รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
                    2. นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ            รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม

21. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ดังนี้
                    1. นายสุรพล เกียรติไชยากร  ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
                    2. นางสาวเพ็ญพิสุทธิ์ จินตโสภณ  ดำรงตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงการคลัง)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง จำนวน 2 ราย ดังนี้
                     1. นายนิโรธ สุนทรเลขา           ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง                 (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ)
                     2. นางสาวฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ปฏิบัติราชการประจำรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ)
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566 เป็นต้นไป

23. เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงพลังงาน)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้ง นางสาวอรพินทร์ เพชรทัต เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และแต่งตั้ง นายเริงชัย คงทอง เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่ง เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2566                  เป็นต้นไป

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ