สรุปผลการประชุมคณะรัฐมนตรีชุด นายเศรษฐา ทวีสิน (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 2 เมษายน 2567

ข่าวการเมือง Tuesday April 2, 2024 18:04 —มติคณะรัฐมนตรี

http://www.thaigov.go.th

(โปรดตรวจสอบมติคณะรัฐมนตรีที่เป็นทางการจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง)

          วันนี้ 2 เมษายน 2567 เวลา 10.00 น.  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง  เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1                        ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย
          1.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการ

สวนสัตว์ พ.ศ. ....

          2.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ใน                              ครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. ....
          3.           เรื่อง           ร่างกฎกระทรวงการว่ากล่าวตักเตือน การสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตเกี่ยวกับ

ยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ พ.ศ. ....

           4.           เรื่อง           ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และ                                        มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต                                         ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบล                                        เกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ?.
          5.           เรื่อง           ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่                                        ประชาชน พ.ศ. ....
          6.           เรื่อง           ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
          7.           เรื่อง           ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วย                              การประมง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าว                              อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และ                              เวียดนาม เพื่อทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ...                               รวม 2 ฉบับ

เศรษฐกิจ-สังคม
          8.           เรื่อง           การแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9                               ในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567
          9.           เรื่อง           ผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2566                               นโยบายของคณะกรรมการ โครงการและแผนงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่ง                                        ประเทศไทยในอนาคต
          10.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะ                              ยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 6 แผนงาน
          11.           เรื่อง           การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม
          12.           เรื่อง           การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษ                              ของทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษฉลองรัช                              ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567
          13.           เรื่อง           สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 และ                              ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน
          14.           เรื่อง           ข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมสูงวัย
          15.           เรื่อง           การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2
          16.           เรื่อง           มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
          17.           เรื่อง           ขออนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินและขยายระยะเวลาดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอัน                                        เนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ
          18.           เรื่อง           ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่ง                              ประเทศไทย
          19.           เรื่อง           แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน

ต่างประเทศ

          20.            เรื่อง           แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand?s National

Adaptation Plan : NAP)

          21.           เรื่อง            ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศระหว่าง                              กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและ                                        สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน
          22.            เรื่อง            ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลาง                              อาเซียน ครั้งที่ 11
          23.           เรื่อง           ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม                                        แห่งราชอาณาจักรไทย กับสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ว่าด้วยความร่วมมือด้าน                                        การสำรวจและการใช้อวกาศส่วนนอกเพื่อสันติ

แต่งตั้ง

          24.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงาน                              ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
          25.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวง                              พาณิชย์)
          26.           เรื่อง           การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
          27.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศ                                        ไทย
          28.           เรื่อง           แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
          29.           เรื่อง           การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบัน ส่งเสริม                              ศิลปหัตถกรรมไทย
          30.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                         (กระทรวงการคลัง)
          31.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                                    (กระทรวงสาธารณสุข)
          32.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                                      (กระทรวงสาธารณสุข)
          33.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                                (กระทรวงสาธารณสุข)
           34.           เรื่อง           การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                                                            (สำนักนายกรัฐมนตรี)
          35.           เรื่อง           คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงคมนาคม)

?
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้ง และประกอบกิจการสวนสัตว์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงาน                         สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 โดยบัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และให้บรรดากฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ที่ใช้บังคับอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับพระราชบัญญัตินี้ ทั้งนี้ จนกว่าจะมีกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ดังนั้น เพื่อให้การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์มีผลใช้บังคับ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้เพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และโดยที่พระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่                    25 พฤศจิกายน 2562 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ก่อนพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ (เมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562) การออกร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 อย่างไรก็ตาม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ออกไปอีก 1 ปี (ครบกำหนดวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                      กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต จัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. คำขอและขอบเขต อำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่พิจารณา              คำขอ          การจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ต้องยื่นคำขอต่าง ๆ ตามแบบแนบท้ายกฎกระทรวงนี้ ได้แก่ แบบคำขอรับหนังสือรับรอง หนังสือรับรอง แบบคำขอรับใบอนุญาต ใบอนุญาตคำขอต่ออายุใบอนุญาต คำขอโอนและรับโอนใบอนุญาต คำขอรับใบแทนใบอนุญาต บัญชีแสดงรายการและแบบแจ้งชนิดและจำนวนสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่า โดยแบ่งแยกขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาคำขอตามประเภทของสวนสัตว์ ได้แก่
1) สวนสัตว์ที่มิใช่สัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
2) สวนสัตว์ที่เป็นสัตว์น้ำ อยู่ในความรับผิดชอบของกรมประมง
3) สวนสัตว์ที่จัดแสดงทั้งสัตว์ป่าที่มิใช่สัตว์น้ำและที่เป็นสัตว์น้ำรวมกัน อยู่ในความรับผิดชอบของทั้งสองกรมตามประเภทสวนสัตว์ตาม 1) และ 2)
2. คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขออนุญาต          จำแนกได้ ดังนี้
- บุคคลธรรมดา (1) บรรลุนิติภาวะ (2) มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร                     (3) มีกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครอง หรือสิทธิที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสถานที่หรือได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐ เพื่อประกอบกิจการสวนสัตว์โดยชอบด้วยกฎหมาย (4) ไม่เป็นบุคคลล้มละลาย คนไร้ความสามารถ หรือคนเสมือนไร้ความสามารถ (5) ไม่อยู่ระหว่างรับโทษจำคุกในเรือนจำ เพราะต้องคำพิพากษา หรืออยู่ระหว่างการถูกควบคุมตัวในเรือนจำ (6) ไม่เคยกระทำความผิดอาญาตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า หรือกฎหมายว่าด้วยศุลกากรหรือกฎหมายว่าด้วยการส่งออกหรือนำเข้าสินค้าซึ่งเป็นสัตว์ป่ามาในราชอาณาจักร ซึ่งมีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงตั้งแต่หกเดือนขึ้นไป หรือเคยได้รับโทษจำคุกแต่พ้นโทษมาแล้วยังไม่เกินห้าปี (7) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ทั้งนี้ ยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ถูกคำสั่งเพิกถอน
- นิติบุคคลมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาตาม (2) - (3) และผู้มีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคล ไม่มีลักษณะต้องห้ามเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาตาม (4) - (6) หรือเคยเป็นกรรมการของนิติบุคคลที่ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตและยังไม่พ้นระยะเวลาห้าปีนับแต่วันที่ถูกเพิกถอน
3. กรณีที่ไม่ต้องขออนุญาตตามกฎกระทรวงนี้          ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กรณีที่มีลักษณะของการรวบรวมและจัดแสดงสัตว์ป่า ดังนี้
1) การนำเข้าสัตว์ป่ามาจากต่างประเทศเป็นการชั่วคราวที่มีช่วงระยะเวลาที่เฉพาะเจาะจงในการส่งออก หรือนำกลับออกไป เพื่อวัตถุประสงค์สวนสัตว์เคลื่อนที่ คณะละครสัตว์ นิทรรศการสัตว์ป่า และการสำรวจ การศึกษา การวิจัย หรือการทดลองทางวิชาการ โดยไม่มีพื้นที่ถาวรในการเลี้ยงและจัดแสดงสัตว์ป่าดังกล่าว
2) ผู้มีใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าตามมาตรา 18 ใบอนุญาตเพาะพันธุ์สัตว์ป่าตามมาตรา 28 หรือใบอนุญาตค้าสัตว์ป่าตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่จัดแสดงสัตว์ป่าตามใบอนุญาตดังกล่าว เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ความรู้ด้านการเพาะพันธุ์หรือเพื่อค้าสัตว์ป่า
3) การจัดตั้งและเปิดให้บริการสวนสัตว์ที่หน่วยงานของรัฐจัดตั้งตามหน้าที่ แต่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการสวนสัตว์และจัดส่งข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ป่าที่อยู่ในความครอบครอง ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมประมง ทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
4) ผู้มีใบอนุญาตครอบครองสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าคุ้มครองที่ได้จากการเพาะพันธุ์ หรือซากสัตว์ป่าดังกล่าว หรือผู้มีใบรับแจ้งการครอบครองสัตว์ป่าควบคุมหรือซากสัตว์ป่าควบคุม แห่งพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ที่จัดแสดงสัตว์ป่าตามใบอนุญาตหรือใบรับแจ้งการครอบครองดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจากการเลี้ยงหรือเก็บรักษาตามปกติ
4. ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาต          การขอหนังสือรับรอง เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาขออนุญาตตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งสวนสัตว์
1) ยื่นเอกสารและหลักฐาน ได้แก่ โครงการจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ บัญชีรายการชนิดและจำนวนสัตว์ป่าหรือซากสัตว์ที่มีหรือมีไว้ครอบครอง แผนที่แสดงที่ตั้งของสวนสัตว์ แบบแปลนการก่อสร้าง หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองหรือสิทธิใช้ประโยชน์ในที่ดิน
2) เจ้าหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับใบอนุญาต เอกสาร และหลักฐาน
3) ออกหนังสือรับรอง เพื่อนำไปใช้ประกอบการพิจารณาขออนุญาตตามกฎหมายอื่น ๆ ได้แก่ การก่อสร้างอาคาร การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ การรับรองผลกระทบมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
การขอใบอนุญาต เมื่อดำเนินการตามกระบวนการขอหนังสือรับรองและพนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องเป็นไปตามมาตรฐานสวนสัตว์แล้ว ให้ชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตตามอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 (ใบอนุญาตจัดตั้งและประกอบกิจการสวนสัตว์ ฉบับละ                    100,000 บาท)
5. อายุใบอนุญาต          ใบอนุญาตมีอายุคราวละไม่เกิน 5 ปี

2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. ....
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. ....  ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงาน ก.พ.ร. และสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ เป็นการออกกฎกระทรวงเพื่อใช้บังคับแทนกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาต และการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. 2548 โดยกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งเป็นชนิดร้ายแรง เช่น แอมเฟตามีน เฮโรอีน ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ (1) เพื่อประโยชน์ของทางราชการ ในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือความร่วมมือระหว่างประเทศในกรณีจำเป็นเร่งด่วน (2) เพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์ และ (3) เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานใน              การตรวจวิเคราะห์ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันการนำไปใช้ในทางที่ผิด และให้มีการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม
                     ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้ได้ปรับปรุงเนื้อหากฎกระทรวงปี 2548 เช่น เปิดให้มหาวิทยาลัยเอกชนและผู้รับอนุญาตด้านยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ และยาสามารถขออนุญาตเฉพาะวัตถุประสงค์เป็นสารมาตรฐานได้ ปรับปรุงให้ยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก กำหนดขั้นตอนกระบวนการพิจารณาอนุญาตเกี่ยวกับระยะเวลาการพิจารณาคำขอ การแจ้งผลการพิจารณา การอุทธรณ์ กำหนดเพิ่มหน้าที่ผู้รับอนุญาตให้สอดคล้องกับหน้าที่ของผู้รับอนุญาตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1 ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง                    ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ ใช้ได้ถึงวันที่                       31 ธันวาคมของปีที่ 3 นับจากปีที่อนุญาต สำหรับการกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตก็ไม่เกินอัตราค่าธรรมเนียมที่กำหนดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ซึ่งคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดเห็นชอบด้วยแล้ว
                      ร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                       1. กำหนดวัตถุประสงค์การขออนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง                 ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังนี้
                                1.1 เพื่อประโยชน์ของทางราชการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือความร่วมมือระหว่างประเทศ ในกรณีจำเป็นเร่งด่วน
                                1.2 เพื่อการศึกษาวิจัย หรือเพื่อประโยชน์ในทางการแพทย์หรือวิทยาศาสตร์
                                1.3 เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์
                     2. กำหนดคุณสมบัติผู้ขอรับอนุญาต ดังนี้
                               2.1 ผู้ขออนุญาตตามข้อ 1.1 ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล หรือสภากาชาดไทย
                               2.2 ผู้ขออนุญาตตามข้อ 1.2 ต้องเป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคลหรือสภากาชาดไทย
                               2.3 ผู้ขออนุญาตตามข้อ 1.3 กรณีขออนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง   ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ผู้ขออนุญาตมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                                         (1) หน่วยงานของรัฐที่เป็นนิติบุคคล
                                         (2) สภากาชาดไทย
                                         (3) สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
                                         (4) ผู้รับอนุญาตด้านยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ หรือยา ตามกฎหมายว่า              ด้วยการนั้น
                                         กรณีผู้ขออนุญาตตาม (3) หรือ (4) ต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนตาม                 กฎหมายไทย
                     3. กำหนดผู้มีอำนาจอนุญาต ดังนี้
                               3.1 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขพิจารณาอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1.1
                               3.2 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดพิจารณาอนุญาตให้ผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1.2
                               3.3 กำหนดให้เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาหรือผู้ซึ่งเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยามอบหมายพิจารณาอนุญาตให้นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1.3
                     4. กำหนดกระบวนการพิจารณาอนุญาต ดังนี้
                               4.1 การยื่นคำขอ หรือการติดต่อใด ๆ และการออกเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ เว้นแต่ไม่สามารถดำเนินการโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ ให้ดำเนินการดังกล่าวที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข หรือสถานที่อื่นตามที่เลขาธิการ อย. กำหนด
                                4.2 เมื่อได้รับคำขอ ให้ผู้อนุญาตตรวจสอบคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนหรือไม่ หากคำขอไม่ถูกต้องหรือยังขาดข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานใด ถ้าเป็นกรณีที่สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ในขณะนั้น ให้แจ้งให้ผู้ขออนุญาตดำเนินการแก้ไข และเมื่อเห็นว่าคำขออนุญาต รวมทั้งข้อมูล เอกสาร และหลักฐานว่าถูกต้องและครบถ้วนแล้ว ให้ออกใบรับคำขอให้แก่ผู้ขออนุญาต แต่หากกรณีที่ผู้ขออนุญาต             ไม่ดำเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง และครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ผู้อนุญาตกำหนด ให้ถือว่าผู้ขออนุญาตไม่ประสงค์จะดำเนินการต่อไป ให้คืนคำขออนุญาต พร้อมทั้งแจ้งเป็นหนังสือถึงเหตุแห่งการคืนคำขอให้ทราบด้วย และให้จำหน่ายเรื่องออกจากสารบบ
                                4.3 กรณีคำขอรับใบอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่ง                   ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1.2 ให้ผู้อนุญาตตามข้อ 3.2 (รมว. สธ. โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด) พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน และมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบพร้อมออกใบอนุญาตภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งอนุญาต ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว อาจขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งเหตุผลหรือความจำเป็นนั้นให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
                                4.4 กรณีคำขอรับใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ ในประเภท 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1.3 ให้ผู้อนุญาตตามข้อ 1.3 (เลขาธิการ อย.หรือผู้ซึ่งเลขาธิการ อย. มอบหมาย) พิจารณาคำขอรับใบอนุญาตให้แล้วเสร็จภายใน 45 วัน และมีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบ พร้อมออกใบอนุญาตภายใน 7 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งอนุญาต ในกรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นที่ไม่อาจพิจารณาให้แล้วเสร็จได้ภายในระยะเวลาดังกล่าว อาจขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 30 วัน แต่ต้องมีหนังสือแจ้งเหตุผลหรือความจำเป็นนั้นให้ผู้ขออนุญาตทราบก่อนครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว
                                4.5 กำหนดให้กรณีที่ผู้อนุญาตมีคำสั่งไม่อนุญาต ให้มีหนังสือแจ้งให้ผู้ขออนุญาตทราบ พร้อมด้วยเหตุผลและสิทธิอุทธรณ์ภายใน 15 วันนับแต่วันที่มีคำสั่งไม่อนุญาต
                                4.6 กำหนดให้ใบอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามวัตถุประสงค์ข้อ 1.3 ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่สามนับจากปีที่ออกใบอนุญาต (อายุ 3 ปี) และให้ยื่นคำขอต่ออายุก่อนวันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุ พร้อมด้วยข้อมูล เอกสาร หรือหลักฐานอื่นตามที่กำหนดในแบบคำขอต่ออายุใบอนุญาต โดยเมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น สำหรับการอนุญาตหรือใบอนุญาตที่ออกตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1         พ.ศ. 2548 ให้ถือว่าเป็นการอนุญาตหรือใบอนุญาตตามกฎกระทรวงนี้ และให้ใช้ได้ต่อไปจนกว่าการอนุญาต หรือใบอนุญาตนั้นสิ้นอายุ ทั้งนี้ ต้องไม่เกิน 180 วันนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ
                     5. กำหนดหน้าที่ผู้รับอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ดังนี้
                               5.1 ผลิต นำเข้า จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เฉพาะสถานที่ที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเท่านั้น
                               5.2 จัดให้มีการแยกเก็บยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 เป็นส่วนสัดจากยาหรือวัตถุอื่น
                               5.3 จัดให้มีการป้องกันตามสมควรเพื่อมิให้ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 สูญหาย หรือมีการนำไปใช้โดยมิชอบ
                                5.4 แจ้งความจำนงเป็นหนังสือต่อผู้อนุญาต หากประสงค์จะทำลายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ซึ่งคงเหลือจากการดำเนินกิจการตามที่ได้รับอนุญาต ทั้งนี้ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ซึ่งเลขาธิการ อย. มอบหมายร่วมเป็นพยานในการทำลายด้วย
                                5.5 จัดให้มีการทำบัญชีรับจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามที่ได้รับอนุญาต โดยต้องเก็บรักษาบัญชีไว้และพร้อมที่จะแสดงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทุกเวลาในขณะเปิดดำเนินการ
                                5.6 เสนอรายงานเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่ได้รับอนุญาตต่อผู้อนุญาตเป็นรายเดือน ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือนนับแต่วันสิ้นเดือน
                               5.7 จัดให้มีฉลากที่ภาชนะหรือหีบห่อของผลิตภัณฑ์ยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 โดยรายละเอียดในฉลากอย่างน้อยต้องมีการระบุชื่อยาเสพติดให้โทษ ปริมาณหรือความเข้มข้นของยาเสพติดให้โทษ รวมถึงเลขที่แสดงครั้งที่ผลิตหรือครั้งที่วิเคราะห์
                     6. กำหนดให้ผู้รับอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่จะมีการนำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ในแต่ละครั้ง ต้องได้รับใบอนุญาตเฉพาะคราวทุกครั้งที่นำเข้า หรือส่งออก และกำหนดหน้าที่ผู้รับอนุญาตดังกล่าว ดังนี้
                               6.1 นำยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ที่ตนนำเข้าหรือส่งออกมาให้พนักงานเจ้าหน้าที่              ณ ด่านตรวจสอบยาเสพติดให้โทษ เพื่อทำการตรวจสอบ
                                6.2 นำเข้าหรือส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ตามชนิดและจำนวนหรือปริมาณที่ระบุไว้ในใบอนุญาตเฉพาะคราว ในกรณีที่ไม่สามารถส่งออกได้ตามจำนวนหรือปริมาณดังกล่าว ให้แจ้งต่อผู้อนุญาต เพื่อแก้ไขใบอนุญาตให้ถูกต้องตามจำนวนหรือปริมาณที่ส่งออกจริง
                               6.3 ในกรณีเป็นการนำเข้า ให้จัดส่งสำเนาใบอนุญาตส่งออกของเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของประเทศที่ส่งออกนั้นมาพร้อมกับยาเสพติดให้โทษ
                     7. กำหนดค่าธรรมเนียม ดังนี้
                               7.1 ใบอนุญาตผลิตยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ฉบับละ 10,000 บาท
                               7.2 ใบอนุญาตนำเข้ายาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ฉบับละ 10,000 บาท
                               7.3 ใบอนุญาตส่งออกยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ฉบับละ 1,000 บาท
                                7.4 ใบอนุญาตจำหน่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ฉบับละ 1,000 บาท
                                7.5 ใบอนุญาตมีไว้ในครอบครองยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ฉบับละ 500 บาท
                               7.6 ใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกเฉพาะคราวยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ฉบับละ                 500 บาท
                               7.7 การต่ออายุใบอนุญาตเท่ากับกึ่งหนึ่งของค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตนั้น
                                ทั้งนี้ ให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมที่ออกให้แก่ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น สภากาชาดไทย องค์การมหาชน และหน่วยงานอื่นของรัฐ ยกเว้นรัฐวิสาหกิจ
                     8. สรุปสาระสำคัญร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. .... เทียบกับกฎหมายปัจจุบัน
ข้อ          สรุปสาระสำคัญ          ความแตกต่างเทียบกับกฎหมายปัจจุบัน
1          วันใช้บังคับ : เมื่อพ้น 30 นับแต่วันประกาศ                ในราชกิจจานุเบกษา          ปรับปรุง : จากเดิมให้ใช้บังคับทันที

3          วัตถุประสงค์ในการอนุญาต          คงเดิม : โดยแยกวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นสารมาตรฐานในการตรวจวิเคราะห์ออกมาเป็นอีกข้อหนึ่งตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 35 (3) แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด
4 - 6          คุณสมบัติผู้ขอรับอนุญาต          ปรับปรุง : โดยเปิดให้มหาวิทยาลัยเอกชน และผู้รับอนุญาตด้านยาเสพติดให้โทษ วัตถุออกฤทธิ์ และยาสามารถขออนุญาตเฉพาะวัตถุประสงค์เป็นสารมาตรฐานได้
7- 9          การยื่นคำขอ - เอกสารประกอบการยื่นคำขอ          ปรับปรุง : โดยกำหนดเพิ่มเอกสารหลักฐาน ประกอบการยื่นคำขอให้มีความครบถ้วนและชัดเจน
10 - 12          กระบวนการพิจารณาอนุญาต          กำหนดเพิ่ม : เพื่อความชัดเจน ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับหลัง ๆ
13          หน้าที่ผู้รับอนุญาต          กำหนดเพิ่ม : เพื่อประโยชน์ในการควบคุม กำกับดูแล ซึ่งกำหนดสอดคล้องกันกับหน้าที่ผู้รับอนุญาตวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท 1
14          การปฏิบัติของผู้รับอนุญาตเมื่อใบอนุญาตสูญหาย ถูกทำลาย หรือลบเลือนในสาระสำคัญ          กำหนดเพิ่ม : ตามบทให้อำนาจตามมาตรา 34 วรรคสาม และมาตรา 35 วรรคสาม ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับหลัง ๆ
15          การปฏิบัติของผู้รับอนุญาตเมื่อต้องการแก้ไขรายการในใบอนุญาต          กำหนดเพิ่ม : ตามบทให้อำนาจตามมาตรา 34 วรรคสาม และมาตรา 35 วรรคสาม ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับหลัง ๆ
16-22          การนำเข้า-ส่งออก เฉพาะคราว          ปรับปรุง : โดยเพิ่มการกำหนดเอกสารหลักฐานเพื่อความชัดเจน และรายละเอียดเล็กน้อย เพื่อความชัดเจนและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานจริง
23          อายุใบอนุญาต/การต่ออายุใบอนุญาต          กำหนดเพิ่ม : โดยกรณีวัตถุประสงค์ตามร่างข้อ 3 (3) ให้มีการต่ออายุใบอนุญาตได้ตามมาตรา 35 วรรคสี่ แห่งประมวลกฎหมายยาเสพติด
24
          ให้อำนาจเลขา อย. ออกประกาศกำหนดแบบคำขอ/ใบอนุญาต          กำหนดเพิ่ม : ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับหลัง ๆ
25          สถานที่ยื่นคำขอ/การยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์          ปรับปรุง : โดยให้ยื่นคำขอทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก โดยสถานที่ยื่นคำขอคงเดิมคือ อย.
26          อัตราค่าธรรมเนียม และการยกเว้นอัตราค่าธรรมเนียม          กำหนดเพิ่ม : โดยกำหนดสอดคล้องกับอัตราค่าธรรมเนียมวัตถุออกฤทธิ์ในประเภท
27-28          บทเฉพาะกาล           กำหนดเพิ่ม : ซึ่งเป็นไปตามกฎกระทรวงฉบับหลัง ๆ

3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการว่ากล่าวตักเตือน การสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการว่ากล่าวตักเตือน การสั่งพักใช้หรือ                         การเพิกถอนใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานอัยการสูงสุดไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      ทั้งนี้ สธ. เสนอว่า
                      1. ปัจจุบันได้มีพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์             ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ผู้อนุญาต หรือผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ในการพักใช้ใบอนุญาตและการเพิกถอนใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ แต่โดยที่พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 บัญญัติให้ยกเลิกพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 รวมถึงฉบับแก้ไขเพิ่มเติมทุกฉบับ เมื่อประมวลกฎหมายยาเสพติดมีผลใช้บังคับแล้ว (ใช้บังคับเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564) โดยให้บรรดากฎกระทรวง ระเบียบ หรือประกาศ ที่ออกตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 พระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์                    ต่อจิตและประสาท พ.ศ. 2559 ยังคงใช้บังคับได้ต่อไปเพียงเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายยาเสพติด
                      2. ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 47 บัญญัติให้ผู้รับอนุญาตผู้ใดฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามหมวด 4 การอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศที่ออกตามหมวดนี้ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ผู้อนุญาต หรือผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด แล้วแต่กรณี                    มีอำนาจในการว่ากล่าวตักเตือน สั่งพักใช้ ใบอนุญาต หรือเพิกถอนใบอนุญาตตามสมควรแก่กรณี ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขกำหนดในกฎกระทรวง
                     3. สธ. จึงมีความจำเป็นต้องยกร่างกฎกระทรวงการว่ากล่าวตักเตือน การสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ พ.ศ. .... เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การว่ากล่าวตักเตือน การสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ กรณีที่ผู้รับอนุญาตฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหมวด 4 การอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ หรือกฎกระทรวง หรือประกาศ ที่ออกตามหมวดนี้ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และในคราวประชุมคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ครั้งที่ 17-3/2566 เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงดังกล่าวแล้ว
                     4. สธ. ได้ดำเนินการตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 โดยจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายอย่างรอบด้านและเป็นระบบ รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชน และนำผลนั้นมาประกอบการพิจารณาในกระบวนการตรากฎหมายทุกขั้นตอน ซึ่งร่างกฎกระทรวงนี้อาจส่งผลกระทบทางบวกต่อภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศ โดยเป็นการส่งเสริมการประกอบกิจการของผู้รับอนุญาตให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มาตรฐาน และเป็นไปตามกฎหมาย รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านอุตสาหกรรม การผลิตผลิตภัณฑ์สุขภาพและสร้างความเข้มแข็งในระบบการคุ้มครองผู้บริโภค นอกจากนี้ อาจส่งผลกระทบต่อสังคม โดยผู้รับอนุญาตที่กระทำความผิดได้รับการพิจารณาโทษตามที่กฎหมายกำหนด ก่อให้เกิดการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพและเป็นธรรม ซึ่งจะสามารถลดปัญหาการรั่วไหลของยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ออกนอกระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                     5. ร่างกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายยาเสพติดที่มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2564 ภายหลังพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับ ซึ่งจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 8 ธันวาคม 2566 อย่างไรก็ตาม สธ. ได้เสนอขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้                   ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2566 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการจัดทำกฎหมายลำดับรอง ซึ่งออกตามความในประมวลกฎหมายยาเสพติด ออกไปอีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคม 2566 ตามที่ สธ. เสนอ
                     ร่างกฎกระทรวง การว่ากล่าวตักเตือน การสั่งพักใช้หรือการเพิกถอนใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
                      1. กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ผู้อนุญาตหรือผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด แล้วแต่กรณี พิจารณาว่ากล่าวตักเตือนแก่ผู้รับอนุญาตตามที่ได้อนุญาตไว้เมื่อเกิดเหตุ ดังนี้
                               1.1 กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ที่ไม่เป็นเหตุให้มีการนำยาออกนอกระบบควบคุม
                               1.2 กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม อันเป็นความผิดที่ไม่มีบทกำหนดโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
                     ทั้งนี้ การว่ากล่าวตักเตือนดังกล่าวให้ทำเป็นหนังสือพร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาเพื่อให้ผู้รับอนุญาตปฏิบัติหรือแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องในกรณีที่ต้องมีการแก้ไขปรับปรุง และในกรณีไม่สามารถดำเนินการภายในระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในหนังสือว่ากล่าวตักเตือนให้ยื่นขอขยายก่อนระยะเวลาตามที่ระบุไว้ในหนังสือว่ากล่าวตักเตือนจะสิ้นสุดลง พร้อมระบุเหตุผล และข้อเท็จจริงที่ไม่สามารถปฏิบัติหรือแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนดได้
                      2. กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวง สาธารณสุขโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ผู้อนุญาตหรือผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด แล้วแต่กรณี สั่งพักใช้ใบอนุญาตตามที่ได้อนุญาตไว้เมื่อเกิดเหตุ ดังนี้
                               2.1 กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่เป็นเหตุ ให้มีการนำยาออกนอกระบบการควบคุม
                               2.2 กระทำความผิดซ้ำในความผิดที่ถูกว่ากล่าวตักเตือนแล้ว ภายในระยะเวลา 3 ปี
                               2.3 ไม่ปฏิบัติตามหรือปฏิบัติไม่ถูกต้องตามคำสั่งว่ากล่าวตักเตือนของผู้มีอำนาจว่ากล่าวตักเตือน
                               2.4 ถูกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยา ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
                               2.5 กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามอันเป็นความผิดที่มีบทกำหนดโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายยาเสพติด
                     ทั้งนี้ คำสั่งพักใช้ใบอนุญาตมีกำหนดครั้งละไม่เกิน 180 วัน ในกรณีมีการฟ้องผู้รับอนุญาตต่อศาลว่าได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายยาเสพติด ผู้มีอำนาจออกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตดังกล่าวจะสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดก็ได้ และให้พนักงานเจ้าหน้าที่อายัดหรือยัดยาเสพติดให้โทษหรือวัตถุออกฤทธิ์ที่เหลือของผู้ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตไว้ ณ สถานที่ทำการของผู้รับอนุญาต หรือเก็บรักษาไว้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข หรือในกรณีจำเป็นจะเก็บรักษาไว้ที่อื่น ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
                     3. กำหนดให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยการเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด ผู้อนุญาตหรือผู้อนุญาต โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติด แล้วแต่กรณี สั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามที่ได้อนุญาตไว้เมื่อเกิดเหตุ ดังนี้
                               3.1 ผู้รับอนุญาตที่ปรากฏภายหลังว่าขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ตามกฎกระทรวงหรือประกาศซึ่งออกตามหมวด 4 การอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ และวัตถุออกฤทธิ์
                                 3.2 ฝ่าฝืนในระหว่างที่ถูกคำสั่งพักใช้ใบอนุญาต
                                3.3 มีการกระทำความผิดซ้ำในความผิดเดิมที่ถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตมาแล้ว
                               3.4 กระทำการหรือละเว้นกระทำการใด อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม ที่เป็นเหตุให้มีการนำยาออกนอกระบบการควบคุมอันอาจก่อให้เกิดกรณีร้ายแรงมีผลกระทบต่อสังคม ประชาชน หรือความมั่นคงของรัฐ
                                3.5 ถูกคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยยา ตามกฎหมายว่าด้วยผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
                     ทั้งนี้ ผู้ถูกสั่งเพิกถอนใบอนุญาตต้องทำลายหรือจำหน่ายยาเสพติดให้โทษ หรือวัตถุออกฤทธิ์ในส่วนที่เกินกว่าที่กฎหมายให้มีไว้ในครอบครองที่เหลืออยู่ ภายใน 60 วันนับแต่วันที่ได้ทราบคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตหรือวันที่ได้ทราบผลการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ ในกรณีที่จำหน่ายให้จำหน่ายแก่ผู้รับอนุญาตอื่นหรือแก่ผู้ที่เลขาธิการ อย. หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเลขาธิการ อย. เห็นสมควร

4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัด                สุราษฎร์ธานี พ.ศ. ?.
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ดังนี้
                      1. เห็นชอบในหลักการร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. ?. ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                      2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงคมนาคมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                     ทั้งนี้ ร่างประกาศที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 ซึ่งจะสิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 โดยมีการปรับปรุงการกำหนดเขตพื้นที่ และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าว การลดผลกระทบจากการพัฒนาเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารและการก่อสร้างโรงงาน เช่น การกำหนดมาตรการพื้นที่น้ำซึมผ่านได้ การปลูกต้นไม้ในพื้นที่ว่าง ปรับปรุงมาตรการที่มีผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับผู้ประกอบการรายย่อย เช่น กำหนดให้สามารถสร้างอาคารได้ ปรับขนาดแปลงที่ดินเพื่อผ่อนปรนให้ผู้ที่มีที่ดินขนาดเล็ก สามารถก่อสร้างอาคารได้ ปรับเพิ่มขนาดจำนวนห้องของโรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด ที่เข้าข่ายต้องจัดทำข้อกำหนดท้ายประกาศและรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ทั้งนี้ ร่างประกาศดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับเป็นระยะเวลา 5 ปี นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ และได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และกรมการปกครองได้ตรวจสอบแนวเขตการปกครองที่ปรากฏในแผนที่ท้ายประกาศฯ แล้ว พบว่าสอดคล้องกับคำบรรยายในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบล ในท้องที่ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้เห็นชอบด้วยแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างประกาศ
                      เป็นการปรับปรุงประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณท้องที่ตำบลตลิ่งงาม ตำบลบ่อผุด ตำบลมะเร็ต ตำบลแม่น้ำ ตำบลหน้าเมือง ตำบลอ่างทอง ตำบลลิปะน้อย อำเภอเกาะสมุย และตำบลเกาะพะงัน ตำบลบ้านใต้ ตำบลเกาะเต่า อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2557 ซึ่งจะสิ้นสุดอายุการใช้บังคับในวันที่ 30 พฤษภาคม 2568 เพื่อให้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ดังกล่าวมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ดังนี้
                      1. กำหนดให้ยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ใช้บังคับอยู่
                     2. กำหนดคำนิยาม คำว่า ?แนวชายฝั่งทะเล?
                      3. กำหนดขอบเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม เป็น 7 บริเวณ ดังนี้
                                3.1 บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่น่านน้ำทะเลภายในเส้นล้อมรอบ ณ จุดพิกัด ยูทีเอ็ม WGS 84 ดังต่อไปนี้ จุดที่ 1 X 595000 Y 1085000 จุดที่ 2 X 637300 Y 1085000 จุดที่ 3 X 637300 Y 1027000 จุดที่ 4 X 595000 Y 1027000 ทั้งนี้ ไม่รวมพื้นที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม แปลงที่ G5/43
                               3.2 บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินของเกาะสมุย เกาะแตน อำเภอเกาะสมุย และเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน ยกเว้นบริเวณที่ 3
                               3.3 บริเวณที่ 3 ได้แก่ (ก) พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ตั้งแต่ 80 เมตร ถึง 140 เมตร ในพื้นที่เกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย และเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน (ข) พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเกินกว่า 140 เมตรขึ้นไป ในพื้นที่เกาะสมุย อำเภอเกาะสมุย และเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน (ค) พื้นที่ที่มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง เกินกว่า 80 เมตรขึ้นไป ในพื้นที่เกาะแตน อำเภอเกาะสมุย
                               3.4 บริเวณที่ 4 ได้แก่ พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไป ในแผ่นดินทั้งหมดของเกาะมัดหลัง เกาะฟาน เกาะวังใน เกาะวังนอก เกาะราบ เกาะมัดสุม เกาะฟานใหญ่ เกาะฟานน้อย เกาะส้ม อำเภอเกาะสมุย เกาะม้า เกาะแต่ใน อำเภอเกาะพะงัน
                               3.5 บริเวณที่ 5 ได้แก่ พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไป ในแผ่นดินทั้งหมดของเกาะมัดแดง เกาะมัดโกง เกาะหัวตะเข้ เกาะดิน เกาะแม่ทับ เกาะแมลงป่อง เกาะลุมหมูน้อย เกาะแหลมรายใน เกาะแหลมรายนอก อำเภอเกาะสมุย เกาะกงเกลี้ยง เกาะกงธารเสด็จ เกาะแตนอก อำเภอเกาะพะงัน
                               3.6 บริเวณที่ 6 ได้แก่ พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไป ในแผ่นดินทั้งหมดของเกาะกงทรายแดง เกาะกง เกาะกงนุ้ย เกาะกงริ้น อำเภอเกาะพะงัน เกาะราใหญ่ เกาะหลัก เกาะทะลุ เกาะเจตมูล (เกาะเจ็ดหมูน) เกาะพึง เกาะกงออก เกาะนาเทียน เกาะราหิน เกาะราเทียน อำเภอเกาะสมุย และเกาะอื่น ๆ ที่อยู่ภายในน่านน้ำบริเวณที่ 1 ยกเว้นที่ปรากฏในบริเวณที่ 4 ถึงบริเวณที่ 7
                                3.7 บริเวณที่ 7 ได้แก่ (ก) พื้นที่บนแผ่นดินนับจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินทั้งหมดของเกาะเต่า เกาะนางยวน หรือเกาะหางเต่า (ข) พื้นที่น่านน้ำทะเลภายในเส้นล้อมรอบดังต่อไปนี้ จุดที่ 1 X 572000 Y 1130000 จุดที่ 2 X 613000 Y 1130000 จุดที่ 3 X 613000 Y 1095500 จุดที่ 4 X 572000 Y 1095500
                     4. กำหนดมาตรการควบคุมการกระทำที่ก่อให้เกิดมลพิษและผลกระทบด้านลบ ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแต่ละบริเวณ เพื่อรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศบนบกทางทะเล และคงสภาพด้านกายภาพของพื้นที่ ตลอดจนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมทั้ง 7 บริเวณ
                     5. กำหนดมาตรการและหลักเกณฑ์สำหรับการก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยน การใช้อาคารหรือการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เกาะและพื้นที่ลาดเชิงเขาในแต่ละบริเวณ เพื่อป้องกันและแก้ไขสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นหรืออาจมีผลกระทบ รวมถึงกำหนดมาตรการให้มีพื้นที่สีเขียวไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 และต้องมีไม้ยืนต้นเป็นองค์ประกอบหลักในพื้นที่ว่างตามที่กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมืองกำหนดไว้ เพื่อการควบคุมมลพิษ และคุ้มครองสภาพแวดล้อมของพื้นที่
                      6. กำหนดมาตรการสำหรับการก่อสร้างโรงแรม อาคารอยู่อาศัยรวม อาคารชุด ที่อยู่ห่างจากแนวชายฝั่งทะเลเกินกว่า 50 เมตร และมีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 11 ห้อง ถึง 49 ห้อง ต้องดำเนินการตามข้อกำหนดท้ายประกาศเกี่ยวกับมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการก่อสร้างและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม
                     7. กำหนดประเภทและขนาดของโครงการหรือกิจการของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนที่จะทำการก่อสร้างหรือดำเนินการในพื้นที่ให้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม แล้วแต่กรณี
                     8. กำหนดให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทำหน้าที่ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ประสาน และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครอง สิ่งแวดล้อม และประสานภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และการส่งเสริมการก่อสร้าง ดัดแปลงอาคาร กำหนดมาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดินให้สอดคล้องกับภูมิทัศน์วัฒนธรรมและอัตลักษณ์ของพื้นที่
                     9. กำหนดให้พื้นที่ดังกล่าวหากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไว้ดีกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ก็ให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น
                     10. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับกรณีต่าง ๆ ที่มีหรือเกิดขึ้นแล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ
                     11. กำหนดระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี

5. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน    พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติ เห็นชอบ และรับทราบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ ดังนี้
                    1. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ....
                    2. เห็นชอบข้อเสนอการทดลองดำเนินการตามหลักการสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและการให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. .... และมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. พิจารณาคัดเลือกและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทดลองดำเนินการตามหลักการสำคัญต่อไป
                    3. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
                    ทั้งนี้ ก.พ.ร. เสนอว่า
                    1. พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นกฎหมายกลางที่ช่วยแก้ปัญหาความไม่ชัดเจนและความไม่สะดวก              ต่าง ๆ ของการอนุมัติ อนุญาต อันมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการได้รับบริการที่รวดเร็วขึ้น ง่ายขึ้น และมีภาระค่าใช้จ่ายที่ลดลงได้บังคับใช้มากว่า 8 ปีแล้ว ถึงแม้จะมีผลสัมฤทธิ์ในเชิงปฏิบัติ แต่ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะเทคโนโลยีดิจิทัลซึ่งส่งผลกระทบต่อวิถีการดำเนินชีวิตของประชาชน ทำให้ภาครัฐต้องมีการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการพัฒนาการให้บริการของภาครัฐให้มีความสะดวก รวดเร็ว และประหยัดค่าใช้จ่ายอันจะสนับสนุนและยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
                    2. โดยที่มาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐพึงปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ และพึงจัดให้มีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมายเพื่อพัฒนากฎหมายทุกฉบับให้สอดคล้องและเหมาะสมกับบริบทต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับรายงานการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 พบว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรการต่าง ๆ ตามกฎหมายดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพ มีความทันสมัยสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปและเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของกฎหมายยิ่งขึ้น และโดยที่แผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมาย (ฉบับปรับปรุง) และแผนการปฏิรูปประเทศด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ฉบับปรับปรุง) กำหนดให้มีการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวเพื่อลดขั้นตอนการอนุญาตที่ไม่จำเป็น ปรับปรุงระบบและขั้นตอนการอนุญาตให้สะดวกและทันสมัยยิ่งขึ้น รวมทั้งลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าพนักงานในการอนุมัติ อนุญาต อันจะนำไปสู่การลดการทุจริตและประพฤติมิชอบ สมควรปรับปรุงพระราขบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 เพื่อแก้ไขปัญหาในการใช้บังคับกฎหมาย ขจัดผลอันไม่พึงประสงค์ตลอดทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการขออนุญาตและขอรับบริการจากหน่วยงานของรัฐ
                    3. สำนักงาน ก.พ.ร. ได้เสนอหลักการในการปรับปรุงพระราชบัญญัติอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ต่อคณะรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เห็นชอบในหลักการให้ปรับปรุงพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ ก.พ.ร. รับความเห็น ข้อสังเกต และข้อเสนอแนะของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติที่ชัดเจนก่อนดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. ได้จัดประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2565 ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ เห็นชอบในหลักการของร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้ รวมทั้งได้ประชุมรับฟังความคิดเห็นเพิ่มเติมในกลุ่มภาคเอกชน พรรคการเมืองและนักวิชาการ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2566 โดยที่ประชุมเห็นด้วยกับหลักการตามร่างพระราชบัญญัติเรื่องนี้และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติของหลักการเมื่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวมีผลใช้บังคับแล้ว และต่อมาได้นำเสนอ ก.พ.ร. พิจารณาในการประชุม ก.พ.ร. ครั้งที่ 6/2566 วันที่ 22 ธันวาคม 2566 ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติในเรื่องนี้และทดลองดำเนินการในหลักการสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ พร้อมทั้งมอบหมายให้สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
                    4. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก.พ.ร. ได้จัดทำรายละเอียดข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐต้องเสนอพร้อมกับการขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยคาดว่าจะมีค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร จำนวน 19,000,000 บาท ค่าใช้จ่ายด้านงบดำเนินการ จำนวน 105,000,000 บาท และค่าใช้จ่ายด้านการลงทุนจำนวน 3,500,000 บาท ทำให้จะต้องใช้งบประมาณในระยะ 5 ปีแรก ประมาณ 127,500,000 บาท
                    5. ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ก.พ.ร. ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้องผ่านเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย https:// www.law.go.th และเว็บไชต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. https:// www.opdc.go.th ตั้งแต่วันที่ 4 - 30 พฤศจิกายน 2564 และการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์กับกลุ่มหน่วยงานภาครัฐและกลุ่มภาคประชาชนจำนวน 2 ครั้ง พร้อมทั้งจัดทำสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายพร้อมทั้งเปิดเผยเอกสารดังกล่าวผ่านทางเว็บไซต์ระบบกลางทางกฎหมาย https:// www.law.go.th และเว็บไซต์ของสำนักงาน ก.พ.ร. https:// www.opdc.go.th ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี (19 พฤศจิกายน 2562) เรื่อง การดำเนินการเพื่อรองรับและขับเคลื่อนการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 รวมทั้งได้เสนอแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง พร้อมกรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรอง (จำนวน 2 ประเภท คือ ร่างพระราชกฤษฎีกา จำนวน 4 ฉบับและร่างกฎกระทรวง จำนวน 3 ฉบับ) เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ
                    1. แก้ไขชื่อร่างพระราชบัญญัติจาก ?พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 เป็น ?พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตและให้บริการแก่ประชาชน พ.ศ. ....? เพื่อขยายขอบเขตไปถึงการให้บริการต่าง ๆ แก่ประชาชน (ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการอนุญาต จดทะเบียน หรือแจ้ง) และให้มีขอบเขตสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 เพื่อขยายการอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนเพิ่มมากยิ่งขึ้น
                    2. ยกเลิกพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ                 พ.ศ. 2558 และกำหนดให้ใช้บังคับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เมื่อพ้น 180 วัน เพื่อให้เวลาหน่วยงานต่าง ๆ ในการดำเนินการตามร่างนี้ (เช่น การรับชำระค่าธรรมเนียมแทนการรับคำขอต่ออายุใบอนุญาต) ยกเว้นมาตรา 29 วรรคหนึ่ง และมาตรา 30 วรรคสาม ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานต่าง ๆ เริ่มดำเนินการตั้งแต่พระราชบัญญัตินี้ประกาศใน                ราชกิจจานุเบกษา (ได้แก่ การยกเลิกหรือปรับลดระบบอนุญาต และการปรับปรุงคู่มือสำหรับประชาชน)
                    3. กำหนดเพิ่มเติมขอบเขตของพระราชบัญญัติจากเดิมที่กำหนดให้ใช้บังคับกับการจดทะเบียนหรือการแจ้งที่กฎหมายหรือกฎกำหนดให้ต้องขออนุญาต จดทะเบียน หรือแจ้ง โดยกำหนดเพิ่มให้รวมถึงกรณีที่ประชาชนขอให้หน่วยงานของรัฐพิจารณาขอให้ดำเนินการใด ๆ หรือการขอรับบริการบรรดาที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานนั้นด้วย
                    4. เพิ่มนิยามคำว่า ?หน่วยงานของรัฐ? เนื่องจากขยายขอบเขตของพระราชบัญญัติตามตามข้อ 1 เพื่อให้หน่วยงานของรัฐทั้งหมดดำเนินการตามร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ และเพิ่มนิยามคำว่า ?ความเสี่ยง? เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการกำหนดกิจการหรือกระบวนงานใด ๆ ที่จะพิจารณาปรับลดมาตรการในระบบอนุญาตการทดลองประกอบกิจการ รวมทั้งการขอยกเว้นการใด ๆ ตามร่างพระราชบัญญัตินี้
                    5. ให้ผู้อนุญาตทบทวนกฎหมายทุก 5 ปี ในประเด็นต่าง ๆ เช่น (1) การพิจารณาความจำเป็นหรือมีมาตรการอื่นแทนการอนุญาต (2) การปรับเปลี่ยนการพิจารณาอนุญาตจากคณะกรรมการเป็นหัวหน้าหน่วยงาน (3) การอนุญาตที่มีกฎหมายเกี่ยวข้องหลายฉบับเป็นหน้าที่และอำนาจของผู้อนุญาตเพียงกฎหมายฉบับเดียว และให้หน่วยงานส่วนกลางจัดทำคู่มือฉบับเดียวและให้ทบทวนคู่มือทุก 2 ปี
                    6. กำหนดให้ผู้อนุญาตอาจจัดให้มีช่องทางพิเศษแบบเร่งด่วน (Fast Track) สำหรับประชาชนที่มีความจำเป็นหรือต้องการได้รับอนุญาตหรือบริการอย่างรวดเร็วเป็นพิเศษได้ โดยผู้อนุญาตต้องจัดให้มีคู่มือประชาชนสำหรับช่องทางพิเศษนี้ด้วย
                    7. เพิ่มหลักการอนุญาตโดยปริยาย (Auto Approve) เมื่อเกินกำหนดระยะเวลาพิจารณาคำขอไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับการอนุญาตตามความประสงค์แทนที่จะถูกปฏิเสธคำขอเพราะขาดข้อมูลบางประการ
                    8. ให้หน่วยงานภาครัฐต้องจัดให้มีแบบฟอร์มคำขอใบอนุญาตหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตและใบแทนใบอนุญาตเป็นภาษาอังกฤษให้แก่ผู้ยื่นคำขอหรือผู้รับใบอนุญาต
                    9. กำหนดให้มีระบบอนุญาตหลัก (Super License) เพื่ออำนวยความความสะดวกให้แก่ประชาชนกรณีการประกอบกิจการที่ต้องขอรับใบอนุญาตจำนวนมาก โดยออกพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ใบอนุญาตใดเป็นใบอนุญาตหลักได้แล้วใบอนุญาตอื่นของเรื่องนั้นจะเป็นใบอนุญาตรองซึ่งจะส่งผลให้ผู้ประกอบการที่ได้รับใบอนุญาตหลักสามารถประกอบกิจการนั้นได้เลย โดยถือเสมือนว่าได้รับใบอนุญาตรองครบถ้วนแล้วด้วย ทั้งนี้ ผู้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าธรรมเนียมสำหรับใบอนุญาตทุกใบให้ครบถ้วนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนด
                    10. กำหนดขึ้นใหม่ในเรื่องการทดลองประกอบกิจการที่ต้องขอรับอนุญาต โดยใช้ระบบแจ้งไปพลางก่อนชั่วคราวได้ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนไม่ต้องรอรัฐอนุญาตซึ่งอาจล่าช้าได้ รวมทั้งเพื่อให้ได้ทราบว่ากิจการที่ตนทดลองประกอบการนั้นสามารถประสบผลสำเร็จได้ตามความประสงค์หรือไม่
                    11. กำหนดขึ้นใหม่เกี่ยวกับการยกเลิกอายุใบอนุญาตเพื่อให้เป็นใบอนุญาตถาวรหรือขยายอายุใบอนุญาตที่น้อยกว่า 5 ปี เป็นอย่างน้อย 5 ปี เพื่อลดภาระการต่ออายุใบอนุญาตและเพิ่มความแน่นอนให้แก่การประกอบกิจการของประชาชน
                    12. กำหนดให้ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือหลักฐานการต่ออายุใบอนุญาตชำรุดในสาระสำคัญ สูญหาย หรือถูกทำลาย ให้ผู้อนุญาตออกใบแทนได้โดยผู้รับอนุญาตไม่ต้องยื่นหลักฐานที่แสดงการแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ
                    13. กำหนดให้มีศูนย์รับคำขอกลางทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยพัฒนาต่อยอดจากศูนย์กลางบริการภาครัฐเพื่อภาคธุรกิจ (Biz Portal) [ปัจจุบันให้บริการแล้ว 25 ประเภทธุรกิจรวม 134  ใบอนุญาต] โดยสำนักงาน ก.พ.ร. สามารถมอบให้เอกชนดำเนินการได้ โดยสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้กำกับดูแลและขับเคลื่อนหน่วยงานให้บริการ
                    14. บทเฉพาะกาล กำหนดให้หน่วยงานที่มีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตทบทวนระบบอนุญาต และให้หน่วยงานทบทวน ปรับปรุงกระบวนการ และจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนภายใน 180 วัน นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา

6. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเป็นการล่วงหน้า และให้ดำเนินการต่อไปได้

                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                    กค. เสนอว่า
                    1. ด้วยคณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 พฤศจิกายน 2566) เห็นชอบกับรายงานผลการศึกษาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2566 เรื่อง การปรับอัตราค่าแรงขั้นต่ำและการปรับอัตราเงินเดือนสำหรับกลุ่มข้าราชการพลเรือนและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยเห็นชอบในหลักการการปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว ดังนี้
                              1) การปรับเพดานเงินเดือนขั้นสูงที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 13,285 บาท เป็น เงินเดือนไม่ถึงเดือนละ 14,600 บาท และปรับเพดานขั้นต่ำของเงินเดือนรวมกับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาท2
                              2) การปรับเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญโดยปรับเงินเพิ่มการครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญขั้นต่ำ จากเดิม เดือนละ 10,000 บาท เป็น เดือนละ 11,000 บาททั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
                    2. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อรองรับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ การปรับเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราว และแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีตามข้อ 1. รวมทั้งเพื่อให้ผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน กค. โดยกรมบัญชีกลางจึงได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงอัตราเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ เพื่อกำหนดให้ผู้ได้รับหรือมีสิทธิได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญซึ่งเมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละ 11,000 บาท ให้ได้รับเงินช่วยค่ครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจนครบเดือนละ 11,000 บาท ทั้งนี้ ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
ประเด็น          รายละเอียด
1. ผู้มีสิทธิ          ? ผู้รับเบี้ยหวัดตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหม
? ผู้รับบำนาญปกติ3
? ผู้รับบำนาญพิเศษเพราะเหตุทุพพลภาพ4
? บำนาญพิเศษ5
? บำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการระหรือผู้อยู่ในอุปการะ6
2. เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญที่ได้รับ          ? ถ้าได้รับเบี้ยหวัดหรือบำนาญรวมกันทุกประเภท เมื่อรวมกับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญแล้วต่ำกว่าเดือนละ 11,000 บาท ให้ได้รับเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญเพิ่มขึ้นจนครบเดือนละ 11,000 บาท (เดิม 10,000 บาท)
3. วันที่มีผลใช้บังคับ          ? ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
                    3. กค. ได้จัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว โดยงบประมาณที่ต้องใช้ในการปรับเพิ่มเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นประมาณ 2.33 ล้านบาทต่อเดือน หรือ 27.96 ล้านบาทต่อปี ซึ่งจะช่วยให้ผู้รับเบี้ยหวัดและผู้รับบำนาญสามารถดำรงชีพอยู่ได้ในสภาพเศรษฐกิจและค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบัน และเพื่อให้สอดคล้องกับการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและการปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบ
1 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาเงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2562
2 กค. จะต้องแก้ไขระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... โดยครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราว และทหารกองประจำการ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการยกร่างระเบียบดังกล่าวโดยกรมบัญชีกลางและจะเสนอคณะรัฐมนตรีในลำดับต่อไป
3 มาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 กำหนดให้ข้าราชการมีสิทธิได้รับบำเหน็จบำนาญปกติด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง จำนวน 4 เหตุ ได้แก่ 1) เหตุทดแทน 2) เหตุทุพพลภาพ 3) เหตุสูงอายุ 4) เหตุรับราชการนาน
4 มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญฯ กำหนดให้บำเหน็จบำนาญเหตุทพพลภาพนั้น ให้แก่ข้าราชการผู้ป่วยเจ็บทุพพลภาพ ซึ่งแพทย์ได้ตรวจและแสดงความเห็นว่าไม่สามารถที่จะรับราชการในตำแหน่งหน้าที่ซึ่งปฏิบัติอยู่นั้นต่อไป
5 บำนาญพิเศษ คือ เงินที่จะต้องจ่ายให้แก่ทายาทของข้าราชการผู้นั้น เพราะเหตุเสียชีวิต อันมาจากการปฏิบัติงานในหน้าที่
6 ปัจจุบัน คือ เงินบำเหน็จตกทอด (เงินที่รัฐจ่ายให้แก่ทายาทของผู้ที่ถึงแก่ความตาย ซึ่งจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว) แต่บำนาญตกทอดในฐานะทายาทหรือผู้อุปการะหรือผู้อยู่ในอุปการะเป็นคำในกฎหมายเดิม ซึ่งปัจจุบันยังมีผู้ใด้รับเงินประเภทนี้อยู่

7. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ... รวม 2 ฉบับ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอดังนี้
                    1. อนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. ....
                    2. อนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ....
                    3. เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
                              3.1 กรมประมง จำทำทะเบียนประวัติและออกหรือต่ออายุหนังสือคนประจำเรือ
                              3.2 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล (Biometrics) และตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวแก่คนต่างด้าว
                              3.3 กระทรวงสาธารณสุข ตรวจสุขภาพ และทำประกันสุขภาพของคนต่างด้าว
                              3.4 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จัดทำสัญญาจ้างซึ่งครอบคลุมการสัมภาษณ์คน   ต่างด้าว โดยให้สัญญาจ้างเป็นสัญญาที่ระบุระยะเวลาการจ้างและวันสิ้นสุดการจ้างไว้ด้วยพร้อมตรวจสอบความถูกต้อง และลงลายมือชื่อกำกับ
                              3.5 กรมการปกครอง จัดทำทะเบียนประวัติคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทย (ทร. 38/1) และบัตรประจำตัวผู้ไม่มีสัญชาติไทย (บัตรชมพู)
                    ทั้งนี้ กษ. เสนอว่า
                    1. ปัจจุบันได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2565 เปิดให้คนต่างด้าวที่ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารที่ใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุและมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้า หรือคนต่างด้าวที่เคยได้รับหนังสือคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการออกหนังสือคนประจำเรือ สามารถยื่นขอรับหนังสือคนประจำเรือ ได้ปีละ                2 ครั้ง ครั้งละ 3 เดือน ตามช่วงเวลาดังนี้ 1) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน และ 2) ระหว่างวันที่                  1 กันยายน ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน ซึ่งจะอนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถทำงานในเรือประมงได้ไม่เกิน 2 ปี และใช้หนังสือคนประจำเรือตามมาตรา 83 แห่งพระราชกำหนดการประมงฯ ทั้งนี้ คนต่างด้าวที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2565 ไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 - 30 พฤศจิกายน 2566 มีจำนวนประมาณ 6,000 คน เนื่องจากกลุ่มแรงงานต่างด้าวที่ได้รับหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน หากอยู่ในราชอาณาจักรเกินระยะเวลาที่ได้รับอนุญาต และไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (Overstay) จะส่งผลให้หนังสือคนประจำเรือที่ได้รับสิ้นผลทางกฎหมายและแรงงานที่ทำงานบนเรือประมงเป็นแรงงานที่ผิดกฎหมาย ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 อนุญาตให้คนต่างด้าวดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานต่อไปได้
                    2. ต่อมาได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 อนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เพื่อดำเนินการขอรับหนังสือคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2565 แต่โดยที่ระยะเวลาที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวไม่สอดรับกับช่วงเวลาการเปิดขึ้นทะเบียนคนประจำเรือตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ (กำหนดไว้ 2 ช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน และระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่                        30 พฤศจิกายน) จึงยังทำให้ไม่สามารถรองรับมาตรการของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงาน และคุ้มครองให้คนต่างด้าวได้รับการจ้างงานโดยถูกกฎหมายได้
                    3. สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ให้มีการแก้ไขประกาศ               สำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2565 เนื่องจากประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2565               ไม่สามารถรองรับมาตรการของภาครัฐในการแก้ไขปัญหาแรงงาน และคุ้มครองให้คนต่างด้าวได้รับการจ้างงานโดยถูกกฎหมายได้ และขอความอนุเคราะห์ปรับแก้ไขประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษฯ เพื่อให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการเปิดขึ้นทะเบียนคนประจำเรือตามประกาศ                 สำนักนายกรัฐมนตรีฯ ซึ่งจะเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับผู้ประกอบประมงทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
                    4. กษ. (กรมประมง) พิจารณาแล้ว เพื่อให้การบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวในภาคประมง ได้รับการจ้างงานโดยถูกต้องตามกฎหมาย จึงได้ยกร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยขึ้น โดยแก้ไขปรับปรุงให้แรงงานต่างด้าวสามารถยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือ กรณีพิเศษ (Seabook เล่มสีเหลือง) ได้ตลอดทั้งปีและให้แรงงานสัญชาติอื่น (นอกเหนือจากสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม) สามารถมาทำงานในภาคประมงทะเลได้ในอนาคต
                    5. ที่ประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 และที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 มีมติรับทราบการดำเนินการปรับปรุงร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ และร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามข้อ 4. แล้ว
                    6. กษ. (กรมประมง) ได้ดำเนินการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศดังกล่าว รวม 2 ฉบับ ตามกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 แล้ว รวมทั้งได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายและได้เผยแพร่ผลการรับฟังความคิดเห็นพร้อมการวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมายผ่านทางระบบกลางทางกฎหมาย ให้ประชาชนได้รับทราบด้วยแล้ว
                    สาระสำคัญของร่างประกาศ รวม 2 ฉบับ
                    1. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. .... สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                              1.1 .ให้ยกเลิกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง พ.ศ. 2565
                              1.2 กำหนดนิยามคำว่า ?คนต่างด้าว? หมายความว่าบุคคลธรรมดาซึ่งไม่ไม่มีสัญชาติไทย ได้แก่ 1) สัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา หรือเวียดนาม 2) ได้รับสถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง เช่น คนพื้นที่สูง คนไทยพลัดถิ่น 3) ไม่มีสถานะทางทะเบียนและได้รับบัตรประจำตัวตามระเบียบสำนักทะเบียนกลางซึ่งออกตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร 4) สัญชาติอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด (เพิ่ม สัญชาติอื่น เพื่อรองรับการเปิดให้แรงงานสัญชาติอื่นสามารถมาทำงานในภาคประมงทะเลได้ในอนาคต)
                              1.3 กำหนดนิยามคำว่า ?ใบอนุญาตทำงาน? หมายความว่าใบอนุญาตทำงานตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว และให้หมายความรวมถึงการอนุญาตทำงานเอกสารอื่นตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวด้วย (เพิ่ม หลักฐานเอกสารอื่นที่แสดงการอนุญาตการทำงานตามกฎหมายเพื่อรองรับในกรณีกระทรวงแรงงานกำหนดให้ใช้เอกสารหลักฐานอื่นใดในการอนุญาตทำงาน)
                              1.4 แก้ไขเพิ่มเติมคุณสมบัติของคนต่างด้าวและช่วงเวลาการเปิดให้ยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือ กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ดังนี้
                                        1) เป็นคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนามหรือสัญชาติอื่นตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
                                        2) ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางที่ยังไม่หมดอายุ และมีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าสามารถยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือ (ปัจจุบัน การยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน กรณีพิเศษ (Seabook เล่มสีเหลือง) กำหนดให้แค่คนต่างด้าวที่มีสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา แก้ไขเพิ่มเติมให้คนต่างด้าวสัญชาติเวียดนาม (เพื่อให้ครอบคลุมคนต่างด้าวสัญชาติเวียดนามที่ยังไม่เคยยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือ) หรือสัญชาติอื่นฯ และกำหนดให้สามารถยื่นคำขอได้ตลอดทั้งปี เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงานในภาคประมงทะเล จากเดิมที่กำหนดช่วงเวลาไว้ 2 ช่วง ได้แก่ 1) ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2) ระหว่างวันที่ 1 กันยายน ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน
                              1.5 แก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์การพิจารณาเอกสารประกอบการขอรับหนังสือคนประจำเรือ กรณีไม่มีใบอนุญาตทำงาน ดังต่อไปนี้
                                        1) คนต่างด้าวจะต้องมีใบรับรองการตรวจสุขภาพและการประกันสุขภาพหรือใบเสร็จรับเงินจากโรงพยาบาลภาครัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนที่ได้ดำเนินการผ่าน MOU กับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด เพื่อตรวจสอบและควบคุมมาตรฐาน
                                        2) เจ้าของเรือได้จัดทำหนังสือสัญญาจ้างตามแบบที่กำหนดในประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
                                        3) คนต่างด้าวจะต้องยื่นคำขอจัดเก็บข้อมูลอัตลักษณ์บุคคลที่ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่คนต่างด้าวยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ หรือสถานที่อื่นที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมืองกำหนด ภายใน             15 วันนับแต่วันที่ได้รับใบรับคำขอรับหนังสือคนประจำเรือจากกรมประมง
                                        4) คนต่างด้าวจัดทำทะเบียนประวัติหรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร (ตัด การตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ออก ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบันและเพิ่มหลักฐานอื่นที่สามารถใช้แทนบัตรประกันสุขภาพได้ เช่น ใบเสร็จรับเงินของโรงพยาบาลเพื่ออำนวยความสะดวกกรณีโรงพยาบาล ไม่สามารถออกบัตรประกันสุขภาพให้ทันภายในกำหนดเวลาที่ต้องไปชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตหรือต่ออายุใบอนุญาตให้ทำงานในเรือประมงสำหรับคนต่างด้าว)
                    2. ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ สำหรับคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม เพื่อทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ... รวม 2 ฉบับ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้คนต่างด้าวแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ให้สามารถอยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษเพื่อขอรับหนังสือคนประจำเรือ (Seabook เล่มสีเหลือง) กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
การจำแนกประเภทกลุ่มคนต่างด้าว          เงื่อนไขการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษ
1. คนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนามซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี ที่ถือหนังสือเดินทางหรือใช้เอกสารอื่นที่ยังไม่หมดอายุโดยเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนวันยื่นขอรับหนังสือคนประจำเรือ และระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลง แต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (Overstay) ซึ่งได้รับการยกเว้นให้สามารถยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือ เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว และทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเลได้          ? ให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษภายใน 90 วันนับแต่ประกาศมีผลใช้บังคับเพื่อยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือ จัดเก็บอัตลักษณ์บุคคล จัดทำทะเบียนประวัติ และตรวจลงตรา
2. คนต่างด้าวที่ต่ออายุหนังสือคนประจำเรือไม่ทันภายในระยะเวลา ให้สามารถยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือได้          ? ให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษภายใน 60 วัน นับแต่วันที่หนังสือคนประจำเรือเดิมสิ้นอายุ เพื่อดำเนินการยื่นขอหนังสือคนประจำเรือ
3. คนต่างด้าวที่ได้ยื่นคำขอหนังสือคนประจำเรือ กรณีที่ไม่มีใบอนุญาตทำงาน ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 และได้รับหนังสือคนประจำเรือแล้ว (มีจำนวนประมาณ 6,000 คน)           ? ให้สามารถอยู่และทำงานในเรือประมงต่อไปได้โดยไม่ผิดกฎหมาย
4. กำหนดให้คนต่างด้าวที่อยู่ในราชอาณาจักรถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง (ไม่ Overstay และได้ไปดำเนินการจัดเก็บอัตลักษณ์บุคคลแล้ว) สามารถยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือได้          ? ให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นกรณีพิเศษจนกว่าจะได้รับหนังสือคนประจำเรือ แต่ต้องไม่เกิน 45 วัน


เศรษฐกิจ-สังคม
8. เรื่อง การแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ในช่วงวันหยุดเทศกาลสงกรานต์ ประจำปี พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้าและให้ดำเนินการต่อไปได้
                    ข้อเท็จจริงและสาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                    1. คค. เสนอว่า
                              1.1 เริ่มมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมบนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2540 โดยอาศัยอำนาจตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 19 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงและสะพาน พ.ศ. 2497 ซึ่งมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาโดยลำดับ ซึ่งปัจจุบันกฎกระทรวงที่ใช้บังคับในกรณีดังกล่าว ได้แก่
                                        1.1.1 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง พ.ศ. 2564
                                        1.1.2 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง - บางแค ช่วงพระประแดง - ต่างระดับบางขุนเทียน พ.ศ. 2555
                                        1.1.3 กฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนบางปะอิน - บางพลี พ.ศ. 2558
                              1.2 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (13 กุมภาพันธ์ 2567) เห็นชอบการกำหนดให้วันศุกร์ที่ 12 เมษายน 2567 วันหยุดราชการเพิ่มเป็นกรณีพิเศษ อีก 1 วัน จึงทำให้มีวันหยุดต่อเนื่องในเทศกาลสงกรานต์ของปี พ.ศ. 2567 รวม 5 วัน ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 16 เมษายน 2567 กรมทางหลวงคาดหมายว่าจะมีประชาชนจำนวนมากเดินทางกลับภูมิลำเนาเป็นผลให้การจราจรติดขัดในทุกสายทางที่ออกและเข้ากรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยเฉพาะบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทาง รวมทั้งคาดว่าจะมีปัญหาการจราจรติดขัดยาวหลายกิโลเมตร ดังนั้น การยกเว้นการจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทางในช่วงเวลาดังกล่าวจะมีส่วนช่วยสนับสนุนให้ประชาชนสามารถเดินทางได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ทำให้การจราจรมีความคล่องตัว ช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ลดภาระค่าครองชีพของประชาชน รวมทั้งเป็นการลดการใช้พลังงานของประเทศ และบรรเทามลพิษทางอากาศ
                              1.3 คค. จึงได้จัดทำร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ภายในระยะเวลาที่กำหนด พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญเป็นการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร - บ้านฉาง ตอนกรุงเทพมหานคร - เมืองพัทยา รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยา และตอนบ้านหนองปรือ - บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 สายวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (ถนนกาญจนาภิเษก) ตอนพระประแดง - บางแค ช่วงพระประแดง - ต่างระดับบางขุนเทียน และตอนบางปะอิน - บางพลี ตั้งแต่เวลา 00.01 นาฬิกา ของวันที่ 11 เมษายน 2567 ถึงเวลา 24.00 นาฬิกา ของวันที่ 17 เมษายน 2567
                              1.4 คค. ได้ดำเนินการตามมาตรา 27 แห่งพระราขบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 แล้ว ซึ่งจะทำให้ภาครัฐสูญเสียรายได้ประมาณ 190.49 ล้านบาท โดยคาดการณ์จากปริมาณจราจรช่วงการดำเนินมาตรการดังกล่าวประมาณ 5.11 ล้านคัน อย่างไรก็ตาม การยกเว้นค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะก่อให้เกิดผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจโดยสามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ประมาณ 285.79 ล้านบาท ซึ่งประเมินจากมูลค่าการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถและมูลค่าจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง
                    2. สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า ได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้าแล้วซึ่ง คค. (กรมทางหลวง) ได้ยืนยันความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงนี้ด้วยแล้ว

9. เรื่อง ผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในปีงบประมาณ 2566 นโยบายของคณะกรรมการ โครงการและแผนงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยในอนาคต
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย                       (รฟม.) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 นโยบายของคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (คณะกรรมการ รฟม.) โครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต ตามมาตรา 73 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ.  2543 ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. รฟม. ได้รายงานผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ณ วันที่ 30 กันยายน 2566) โดยมีตัวอย่างการดำเนินการ ดังนี้
                              1.1 ด้านพัฒนาบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทุกกลุ่มเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการเดินทาง
                                        1.1.1 อัตราการเติบโตของผู้โดยสารในแต่ละเส้นทางที่เพิ่มขึ้น
                                                  (1) สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) มีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยสะสม 375,658 คน-เที่ยว/วัน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 65.62 (เป้าหมายต้องเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.5 จากปีก่อน)
                                                  (2) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) มีจำนวนผู้โดยสาร เฉลี่ยสะสม 56,405 คน-เที่ยว/วัน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ร้อยละ 45.37 (เป้าหมายต้องเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2.5 จากปีก่อน)
นอกจากนี้ รฟม. มีแผนพัฒนาบริการด้านต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและเพื่อช่วยเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ทั้งนี้ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อการให้บริการรถไฟฟ้ามหานครและบริการเสริมอื่น ๆ สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ร้อยละ 89.52 (เป้าหมายร้อยละ 87) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ร้อยละ 89.62 (เป้าหมายร้อยละ 88)
                                        1.1.2 การรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย มีการเกิดอาชญากรรมในรถไฟฟ้ามหานคร ดังนี้
                                                  (1) สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) เกิดเหตุอาชญากรรม จำนวน              15 ครั้ง1 (เป้าหมายไม่เกิน 16 ครั้ง) โดยมีอัตราส่วนแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร้อยละ 100 (เป้าหมายต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90)
                                                  (2) สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) เกิดเหตุอาชญากรรม จำนวน 5 ครั้ง2 (เป้าหมายไม่เกิน 6 ครั้ง โดยมีอัตราส่วนการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมร้อยละ 100 (เป้าหมายต้องไม่ต่ำกว่า                ร้อยละ 90)
โดยได้ดำเนินโครงการรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) มีความก้าวหน้า ร้อยละ 100 ตามแผน และโครงการรักษาความปลอดภัยและกู้ภัยฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) มีความก้าวหน้า ร้อยละ 100                   ตามแผน (มีตัวอย่างโครงการ เช่น การฝึกอบรมพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยสถานการณ์จำลองเพื่อเตรียมการรับมือกับภัยพิบัติหรือเหตุอาชญากรรมต่าง ๆ และการตรวจสอบระบบเตือนภัย เช่น ระบบเตือนอัคคีภัย/วัตถุระเบิด)
                                        1.1.3 ภาพรวมการเบิกจ่ายที่เกิดขึ้นจริงในช่วงปี ณ สิ้นเดือนกันยายน 2566 โดยสามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ทั้งหมดจำนวน 17,889.71 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 100 ของวงเงินเบิกจ่ายที่ได้รับอนุมัติ
                              1.2 ด้านสร้างสรรค์ระบบโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนที่มีผลิตภาพสูงและล้ำสมัย
                                        1.2.1 โครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง จำนวน 4 โครงการ ได้แก่
                                                  (1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว - สำโรง                       มีความก้าวหน้าร้อยละ 100 โดยให้ผู้รับสัมปทานเริ่มให้บริการเดินรถไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566
                                                  (2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย - มีนบุรี มีความก้าวหน้าร้อยละ 98.97 ทั้งนี้ จะเปิดทดลองเดินรถในเดือนพฤศจิกายน 2566 และคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการตลอดเส้นทางได้ภายในดือนธันวาคม 2566 (ปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว)
                                                  (3) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี (สุวินทวงศ์) มีความก้าวหน้ารวมร้อยละ 84.51 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2569
                                                  (4) โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) มีความก้าวหน้ารวมร้อยละ 43.86 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมิถุนายน 2571
ทั้งนี้ ประชาชนร้อยละ 86.06 มีความพึงพอใจต่อมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและจราจรจากการก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายทางต่าง ๆ (ค่าเป้าหมายร้อยละ 90)
                                        1.2.2 โครงการที่อยู่ระหว่างการประกวดราคา จำนวน 1 โครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย มีความก้าวหน้าร้อยละ 32.14 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมีนาคม 2572
                                        1.2.3 โครงการที่อยู่ระหว่างการศึกษาและวิเคราะห์โครงการ จำนวน                           5 โครงการ
                                                  (1) โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต มีความก้าวหน้าร้อยละ 24 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนธันวาคม 2574
                                                  (2) โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่ มีความก้าวหน้าร้อยละ 13.25 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2573
                                                  (3) โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมา มีความก้าวหน้าร้อยละ 13.25 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนพฤษภาคม 2573
                                                  (4) โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก มีความก้าวหน้าร้อยละ 3.37 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนมกราคม 2575
                                                  (5) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำตาล ช่วงแคราย - ลำสาลี (บึงกุ่ม)                     มีความก้าวหน้ารวมร้อยละ 13.53 โดยคาดว่าจะเปิดให้บริการในเดือนตุลาคม 2571
                    2. นโยบายของคณะกรรมการฯ รฟม. มีตัวอย่างนโยบาย เช่น
                              2.1 ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรงเวลา ราคาสมเหตุสมผล และนำเทคโนโลยีมาพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ รวมถึงพัฒนาและนำระบบตั๋วร่วมและอัตราค่าโดยสารร่วมมาใช้ โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการทุกกลุ่ม
                              2.2 ให้เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายให้แล้วเสร็จ เปิดบริการได้ตามแผนงาน และในการศึกษาระบบรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายและในเมืองหลักอื่น ให้คำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน ภาระงบประมาณ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และความพึงพอใจของประชาชนในพื้นที่เป็นหลักด้วย
                              2.3 ให้ศึกษาและพัฒนาระบบเชื่อมต่อ (Feeders) และอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการเชื่อมการเดินทางจากระบบรถไฟฟ้าฯ ไปยังจุดหมายต่าง ๆ รวมถึงสถานที่ท่องเที่ยวโดยรอบ โดยอาจผนวกการดำเนินการเข้าในแผนลงทุนของ รฟม.
                              2.4 ให้บริหารสินทรัพย์ ดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง ให้บริการเสริมต่าง ๆ ศึกษาโอกาสและริเริ่มพัฒนาธุรกิจใหม่ เพื่อเพิ่มรายได้และลดภาระการสนับสนุนจากภาครัฐ รวมทั้งแก้ไขข้อปัญหาการใช้พื้นที่เชิงพาณิชย์
                              2.5 ให้ความสำคัญต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานและนำข้อคิดเห็นของประชาชนมาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรให้ดีขึ้นและเติบโตอย่างยั่งยืน
                    3. โครงการและแผนงานของ รฟม. ในอนาคต โดยคณะกรรมการ รฟม. ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ได้มีมติเห็นชอบผลการทบทวน/ปรับปรุงแผนวิสาหกิจ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570                    ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และแผนระดับรอง รวมทั้งนโยบายคณะกรรมการ รฟม. ซึ่งในปีงบประมาณ 2567 รฟม. ได้มีแผนดำเนินโครงการรถไฟฟ้าต่อเนื่องจำนวน 9 เส้นทาง [ได้แก่ สายสีชมพูส่วนต่อขยาย ช่วงสถานีศรีรัช - เมืองทองธานี, สายสีส้มตะวันออก ช่วงสถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย - มีนบุรี, สายสีม่วงใต้ ช่วงสถานีเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ, สายสีส้มตะวันตก ช่วงสถานีบางขุนนนท์ - ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย, สายสีน้ำตาล ช่วงสถานีแคราย - ลำสาลี, โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดเชียงใหม่, โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดนครราชสีมา, โครงการรถไฟฟ้าจังหวัดภูเก็ต และโครงการรถไฟฟ้าจังหวัดพิษณุโลก)] และดำเนินโครงการอื่น ๆ อีกจำนวน 28 โครงการ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ขององค์กรในด้านการให้บริการ ด้านการเงินและด้านการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน โดยมีตัวอย่างโครงการที่สำคัญ ดังนี้
                              3.1 โครงการ MRTA TAXI EV by MRTA Parking Application (sPark EV Terminal App) เป็นโครงการพัฒนาระบบ Feeder เพื่อเพิ่มจำนวนการใช้บริการรถไฟฟ้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ดำเนินการในปีงบประมาณ 2566 - 2568 โดยในปีงบประมาณ 2566 มีผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ตามแผน และในปีงบประมาณ 2567 จะจัดหาผู้สนใจเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในการให้บริการ TAXI EV เพื่อเปิดให้บริการในปีงบประมาณ 2568
                              3.2 โครงการความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอกในการวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ดำเนินการปีงบประมาณ 2566 - 2570 โดยในปีงบประมาณ 2566 มีผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ตามแผน และในปีงบประมาณ 2567 ที่ปรึกษาจัดส่งรายงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ฉบับสมบูรณ์ และลงนามในความร่วมมือกับสถาบันทางวิชาการรวมทั้งองค์กรด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหรือองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง3
                              3.3 โครงการพัฒนานวัตกร รฟม.4 (MRTA Academy and MRTA Innovator) ดำเนินการปีงบประมาณ 2566 - 2569 โดยในปีงบประมาณ 2566 มีผลการดำเนินงานร้อยละ 100 ตามแผน และ                          ในปีงบประมาณ 2567 จะดำเนินการคัดเลือกกลุ่มนวัตกรของ รฟม. พร้อมทั้งจัดเก็บองค์ความรู้ และติดตามประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม
ทั้งนี้ คณะกรรมการ รฟม. ได้เห็นชอบรายงานผลการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 นโยบายของคณะกรรมการฯ รฟม. โครงการและแผนงานในอนาคตแล้ว เมื่อวันที่ 28 กันยายน 2566
                    4. ความเห็นของ คค. การดำเนินการของ รฟม. ในปี 2566 เป็นอีกปีที่ รฟม. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกมิติ โดยสามารถผลักดันให้การเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในเมืองฟื้นตัวในลักษณะ V-Shape ที่มีปริมาณผู้โดยสารโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) และสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) กลับมาสูงกว่าช่วงการแพร่ระบาดของโควิด - 19 แล้ว นอกจากนี้ รฟม. ยังผลักดันให้มีรายได้เชิงพาณิชย์สูงกว่าเป้าหมาย เบิกจ่ายงบประมาณได้ร้อยละ 100 และได้รับการสำรวจความพึงพอใจจากการก่อสร้างในระดับสูง ดังนั้น รฟม. จึงเป็นอีกหนึ่งกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศในช่วงการฟื้นฟูจากวิกฤตการณ์โควิด - 19 ส่วนข้อจำกัดสำคัญในปี 2566 ของ รฟม. คือ ปัจจัยข้อกฎหมายในส่วนของการดำเนินโครงการรถฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงบางขุนนนท์ - มีนบุรี (ฝั่งตะวันตก) ที่ต้องรอผลการพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดก่อน จึงจะดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายต่อไปได้ สำหรับทิศทางการดำเนินการในอนาคต คณะกรรมการ รฟม. ได้กำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและนโยบายของ คค. แล้ว และเพื่อให้การดำเนินการของ รฟม. เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ คค. ได้มอบหมายให้ รฟม. พิจารณาดำเนินการ ดังนี้
                              4.1 ด้านการให้บริการ เช่น
                                        4.1.1 พัฒนาบริการและอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทุกกลุ่มเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตในการเดินทาง โดยเฉพาะเร่งดำเนินการพัฒนาระบบและสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่จะช่วยให้               การเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งมวลชนรูปแบบอื่น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสะดวกสบาย
                                        4.1.2 เร่งดำเนินการก่อสร้างโครงการที่อยู่ระหว่างการก่อสร้างให้เป็นไปตามแผนงาน โดยให้ความสำคัญกับการบริหารผลกระทบต่อการจราจรในทุกมิติ และให้ควบคุมการก่อสร้างไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชน ตามมาตรการที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
                              4.2 ด้านการเงิน เช่น ให้พิจารณาแนวทางการหารายได้เชิงพาณิชย์เพิ่มเติมตามกรอบของกฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดภาระทางงบประมาณของรัฐบาล
                              4.3 ด้านการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน เช่น ให้ความสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ รวมทั้ง พัฒนาและปรับปรุงระบบแรงจูงใจทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงินเพื่อสร้างความเป็นธรรม สร้างขวัญกำลังใจ และความรักและผูกพันต่อองค์กรให้แก่พนักงาน
                              4.4 ด้านการผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดเส้นทาง
                                        4.4.1 ให้รวบรวมสถิติทั้งมิติของปริมาณผู้โดยสารและผลประกอบการส่งให้ กรมการขนส่งทางรางเป็นประจำทุกวัน โดยให้ร่วมกับกรมการขนส่งทางรางในกระบวนการวิเคราะห์ ติดตาม และประเมินผล
                                        4.4.2 บูรณาการร่วมกับกรมการขนส่งทางรางเพื่อกำหนดแนวทางการขยายผลนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาท ตลอดเส้นทาง โดยให้พิจารณาในทุกมิติที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบ และเป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรี และหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวข้องต่อไป
1 ข้อมูลจาก รฟม. ในปี 2566 สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) เหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นเป็นความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ จำนวน 5 ครั้ง ความผิดฐานอนาจาร จำนวน 9 ครั้ง และความผิดฐานทะเลาะวิวาท จำนวน 1 ครั้ง (รวมเหตุอาชญากรรมทั้งสิ้น จำนวน 15 ครั้ง)
2 ข้อมูลจาก รฟม. ในปี 2566 สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) เหตุอาชญากรรมที่เกิดขึ้นมีเฉพาะความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ เช่น ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ จำนวน 5 ครั้ง
3 มีความร่วมมือกับสถาบันทางวิชาการ เช่น (1) มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ในการทำวิจัยเรื่องแผนประทุษกรรมอาชญากรรมในเขตระบบรถไฟฟ้าของ รฟม. (2) มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะวิศวกรรมศาสตร์) ในการพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการเกิดอุบัติเหตุภายในสถานีรถไฟฟ้า
4 รฟม. ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นที่ปรึกษาในโครงการพัฒนานวัตกร รฟม. ซึ่งในปีงบประมาณ 2566 สามารถพัฒนานวัตกรจำนวน 24 คน และสร้างนวัตกรรมจำนวน 5 โครงการ ประกอบด้วย (1) ระบบจองและบริหารจัดการสนามกีฬาของ รฟม. เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (2) การนำเอาระบบ Artificial Intelligence (Al) มาช่วยในการค้นหาเอกสารและคัดกรองข้อมูล (3) การพัฒนา Application เพื่อนำมาช่วยในการถ่ายภาพและส่งรายงานสำหรับการลงพื้นที่ตรวจหน้างาน (4) การนำระบบ Automation มาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น โดยเลือกใช้โปรแกรม Power Automate มาสร้างหุ่นยนต์ (Bot) ในการจัดการงานประจำและ (5) ระบบบริหารจัดการเอกสารของโครงการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟฟ้า เพื่อสร้างมาตรฐานกลางในการจัดเก็บข้อมูล ขั้นตอน และรูปแบบการจัดทำเอกสาร

10. เรื่อง ขอความเห็นชอบการกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 6 แผนงาน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) กู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของ กฟน. จำนวน 6 แผนงาน ภายในกรอบวงเงินรวม 38,900 ล้านบาท โดยให้ทยอยดำเนินการกู้เงินตามความจำเป็นรายปีจนกว่าการดำเนินงานจะแล้วเสร็จตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    มท. รายงานว่า
                    1. กฟน. ขอกู้เงินในประเทศเพื่อเป็นเงินลงทุนสำหรับการลงทุนในแผนงานระยะยาวใหม่ของ กฟน. จำนวน 6 แผนงาน ภายใต้กรอบวงเงินรวม 38,900 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
แผนงานระยะยาวใหม่          วงเงินเต็มแผนงาน          แหล่งเงินทุน
                    เงินกู้ในประเทศ          เงินรายได้
1.1 แผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 - 2566 : เป็นการขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า เช่น สายป้อนระดับแรงดัน หม้อแปลงจำหน่าย เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเขตให้บริการของ กฟน. และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า
การดำเนินการ:
- การสำรวจและออกแบบรายละเอียดงาน
- การขออนุญาตใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
- การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
- การทดสอบการใช้งาน
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะดำเนินการโดย กฟน. และการว่าจ้างบุคคลภายนอก           8,866.37          6,500.00          2,366.37
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ:
- สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้
- ระบบไฟฟ้าของ กฟน. จะมีคุณภาพและปลอดภัยมากขึ้น
- สามารถแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างได้
1.2 แผนปฏิบัติการดิจิทัล ปี 2566 - 2570: ประกอบด้วย 3 แผนงาน ดังนี้
          (1) แผนพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการบริการผู้ใช้ไฟฟ้าและการบริหารองค์กร เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ไฟฟ้าให้ได้รับบริการที่สะดวกรวดเร็ว
          (2) แผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อรองรับระบบงานต่าง ๆ ให้สามารถทำงานตอบสนองระบบงานที่เป็นดิจิทัลเต็มรูปแบบ มีความทันสมัย และมีเสถียรภาพ
          (3) แผนพัฒนาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศและระบบสื่อสาร เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเพื่อความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศและระบบสื่อสารขององค์กร
การดำเนินการ:
- เพิ่มและปรับปรุงการบริการในรูปแบบออนไลน์
- เตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
- พัฒนาระบบเฝ้าระวังภัยคุกคามไซเบอร์
- ติดตามและประเมินผล          6,652.52          5,300.00          1,352.52
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ:
- ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถเข้าถึงบริการต่าง ๆ ได้ง่ายและสะดวกขึ้น ผ่านช่องทางดิจิทัลที่ทันสมัย เช่นการใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ การใช้บริการผ่านแอพพลิเคชั่น MEA Smart Life ของ กฟน. โดยสามารถใช้บริการ เช่น การขอใช้ไฟฟ้า การชำระเงินค่าไฟฟ้า การแจ้งไฟฟ้าขัดข้อง เป็นต้น
- ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อ Contact Center ของ กฟน. ได้สะดวกขึ้น และมีการบริการที่ดีขึ้น
- ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถติดต่อขอรับบริการต่าง ๆ โดยใช้บัตรประชาชนเพียงใบเดียว
1.3 แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 1 : เป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ รวมทั้งเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าในอนาคตได้ ประกอบด้วย 2 โครงการ ดังนี้
          (1) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีชมพู ถนนแจ้งวัฒนะ ถนนรามอินทรา ถนนสีหบุรานุกิจ และถนนร่มเกล้า ระยะทาง 18.8 กิโลเมตร
          (2) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ถนนศรีนครินทร์ (ถนนรามคำแหง - ถนนเทพารักษ์) ระยะทาง 15.8 กิโลเมตร
การดำเนินการ:
- กฟน. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดรวมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา
- ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้บริการ (ท่อร้อยสายหลักและท่อร้อยสายรอง)
- ติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า
ทั้งนี้ หลังดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จจะดำเนินการรื้อถอนระบบสายอากาศเดิมออก เพื่อปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม          8,353.70          6,300.00          2,053.70
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ:
- สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้
- ลดปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า
- บริเวณโครงการรถไฟฟ้ามีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม
1.4 แผนงานประสานสาธารณูปโภคทั่วไป ปี 2566 - 2570 : เป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ รวมทั้งเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น โดยดำเนินการไปพร้อมกับโครงการสาธารณูปโภคของหน่วยงานภายนอก จำนวน 5 โครงการ ดังนี้
          (1) โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณแยกเกียกกาย ช่วงที่ 1 ก่อสร้างทางยกระดับและถนนฝั่งธนบุรีของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ระยะทาง 1.3 กิโลเมตร
          (2) โครงการก่อสร้างปรับปรุงถนนประชาชื่นจากการประปานครหลวงถึงถนนแจ้งวัฒนะ (ถนนหมายเลข 11) ของ กทม. ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร
          (3) โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ของกรมทางหลวง (ทล.) ระยะทาง 2 กิโลเมตร
          (4) โครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 3 สาย บ้านบางปูใหม่ - บ้านบางปู ของ ทล. ระยะทาง 10 กิโลเมตร
          (5) โครงการก่อสร้างถนนสาย สป.1006 แยกทางหลวง 3 - เคหะบางพลี ของกรมทางหลวงชนบท ระยะทาง 10 กิโลเมตร
การดำเนินการ:
- สำรวจและออกแบบ
- ก่อสร้างบ่อพัก และท่อร้อยสายไฟฟ้าใต้ดิน
ทั้งนี้ กฟน. จะว่าจ้างบุคคลภายนอกดำเนินงาน โดยว่าจ้างผู้รับจ้างรายเดียวกับผู้รับจ้างก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคดังกล่าว          2,797.87          2,000.00          797.87
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ:
- สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่โครงการสาธารณูปโภคทั้ง 5 โครงการ
- ลดปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่โครงการสาธารณูปโภคทั้ง 5 โครงการ
- ลดผลกระทบต่อประชาชนที่อยู่อาศัยและสัญจรไปมาในพื้นที่โครงการทั้ง 5 โครงการ (เนื่องจากดำเนินการพร้อมกับการก่อสร้างโครงการสาธารณูปโภคดังกล่าว)
- บริเวณโครงการสาธารณูปโภคทั้ง 5 โครงการ มีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม
1.5 แผนงานพัฒนาระบบไฟฟ้าตามแผนการพัฒนาโครงการรถไฟฟ้า ระยะที่ 2: เป็นการนำสายไฟฟ้าลงดินเพื่อพัฒนาระบบไฟฟ้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ รวมทั้งเพื่อให้สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นตามแนวรถไฟฟ้าในอนาคตได้ ประกอบด้วย 7 โครงการ ดังนี้
          (1) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีทอง ถนนสมเด็จเจ้าพระยา และถนนเจริญนคร ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
          (2) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนเพชรเกษม (ถนนรัชดาภิเษก - ถนนกาญจนาภิเษก) ระยะทาง 8.2 กิโลเมตร
          (3) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ถนนพระราม 4 (ถนนพญาไท - คลองผดุงกรุงเกษม) ระยะทาง 1.5 กิโลเมตร
          (4) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม ถนนพหลโยธิน (ถนนงามวงศ์วาน - ซอยพหลโยธิน54/2) ระยะทาง 11.3 กิโลเมตร
          (5) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถนนรามคำแหง และถนนสุวินทวงศ์ ระยะทาง 12.6 กิโลเมตร
          (6) เส้นทางรถไฟฟ้าสายสีส้ม ถนนพระราม 9 (พระราม 9 ซอย 13 - ถนนรามคำแหง)
ระยะทาง 2.1 กิโลเมตร
          (7) เส้นทางเชื่อมรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและสายสีเขียว (ถนนเทพารักษ์ - ถนนสุขุมวิท) ระยะทาง 4.3 กิโลเมตร
การดำเนินการ:
- กฟน. ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อสำรวจและออกแบบรายละเอียดรวมทั้งจัดทำเอกสารประกวดราคา
- ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจ่ายไฟฟ้าให้ผู้ใช้บริการ (ท่อร้อยสายหลักและท่อร้อยสายรอง)
- ติดตั้งอุปกรณ์จ่ายไฟฟ้า
ทั้งนี้ หลังดำเนินการพัฒนาแล้วเสร็จจะดำเนินการรื้อถอนระบบสายอากาศเดิมออก เพื่อปรับปรุงสภาพภูมิทัศน์ให้สวยงาม          9,972.90          7,500.00          2,472.90
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ:
- สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าสำหรับประชาชนที่อยู่อาศัยตามแนวรถไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นได้
- ลดปัญหาไฟฟ้าดับในพื้นที่ตามแนวรถไฟฟ้า
- บริเวณโครงการรถไฟฟ้ามีสภาพภูมิทัศน์ที่สวยงาม
1.6 แผนขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2566 - 2570 : เป็นการขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า เช่น สายป้อนระดับแรงดัน หม้อแปลงจำหน่าย เครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และคาปาซิเตอร์ พร้อมอุปกรณ์ประกอบ เพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเขตให้บริการของ กฟน. และเพื่อเพิ่มความปลอดภัยของระบบไฟฟ้า
การดำเนินการ:
- การสำรวจและออกแบบรายละเอียดงาน
- การขออนุญาตใช้พื้นที่จากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
- การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า
- การทดสอบการใช้งาน
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะดำเนินการโดย กฟน. และการว่าจ้างบุคคลภายนอก          18,012.40          13,600.00          4,412.40
ประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับ:
- สามารถรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประชาชนที่มีแน้วโน้มเพิ่มสูงขึ้นได้
- ระบบไฟฟ้าของ กฟน. จะมึคุณภาพและปลอดภัยมากขึ้น
- สามารถแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับเป็นวงกว้างได้
วงเงินรวม 6 แผนงาน          54,655.76          41,200.00          13,455.76
ทั้งนี้ เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้เงินในประเทศ ปีงบประมาณ 2565 สำหรับแผนงานขยายเขตและปรับปรุงระบบจำหน่ายไฟฟ้า ปี 2565 - 2566 วงเงิน 2,300 ล้านบาท (มติคณะรัฐมนตรี 13 กันยายน 2565) แล้ว ดังนั้น จึงเหลือวงเงินกู้ในประเทศตามแผนดังกล่าวอีก 4,200 ล้านบาท ส่งผลให้ กฟน. คงเหลือวงเงินกู้ในประเทศตามแผนงานระยะยาวใหม่ รวม 38,900 ล้านบาท (ข้อเสนอในครั้งนี้)
                    2. คณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง (นายชยาวุธ จันทร เป็นประธานกรรมการคณะกรรมการการไฟฟ้านครหลวง) มีมติเห็นชอบและรับทราบแผนการลงุทนระยะยาวใหม่ของ กฟน. จำนวน 6 แผนงานแล้ว





11. เรื่อง การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ ประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม ลงวันที่ 27 มีนาคม 2567  และประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2567 เป็นต้นไป
                    สาระสำคัญ
                    รง. รายงานว่า
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (26 ธันวาคม 2566) รับทราบประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 12) ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2566 เพื่อลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป โดยคณะกรรมการค่าจ้างได้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ปี 2567 จำแนกเป็น 17 อัตรา อัตราวันละ 330-370 บาท ในกรุงเทพมหานครและ 76 จังหวัด
                    2. ต่อมาคณะกรรมการค่าจ้าง1 มีแนวคิดเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม2 เพื่อส่งเสริมการจ้างงานและคุ้มครองแรงงานภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (กิจการการให้บริการโรงแรมและที่พัก)3  โดยเริ่มนำร่องในพื้นที่ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง 10 พื้นที่ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร จังหวัดกระบี่ ชลบุรี เชียงใหม่  ประจวบคีรีขันธ์ พังงา ภูเก็ต ระยอง สงขลา และสุราษฎร์ธานี โดยในการพิจารณากำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม คณะกรรมการค่าจ้างได้ศึกษาและพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอัตราค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับอยู่ประกอบกับข้อเท็จจริงอื่น โดยคำนึงถึงดัชนีค่าครองชีพอัตราเงินฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม [ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 87 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2560]
                    3. คณะกรรมการค่าจ้างได้กระจายอำนาจการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำไปยังภูมิภาค  โดยมอบหมายให้คณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำกรุงเทพมหานครและคณะอนุกรรมการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจังหวัด รวม 10 คณะ ซึ่งเป็นองค์กรไตรภาคีเช่นเดียวกับคณะกรรมการค่าจ้าง ทำหน้าที่พิจารณาเสนออัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรมให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคมในแต่ละพื้นที่ รวมทั้ง สำรวจค่าใช้จ่ายของลูกจ้างและต้นทุนของสถานประกอบกิจการในภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว                         (การบริการโรงแรมและที่พัก) เพื่อศึกษาข้อมูลข้อเท็จจริงของสภาพเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันและนำมาใช้ประกอบการพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรมให้สอดคล้องกับกรอบแนวทางการประชุมพิจารณาเสนอแนะอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรมเสนอต่อคณะกรรมการค่าจ้าง
                    4. คณะกรรมการค่าจ้างชุดที่ 22 (คณะกรรมการชุดปัจจุบัน) ในการประชุม ครั้งที่ 3/2567                   เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 มีมติเห็นชอบให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรม เพื่อใช้สำหรับนายจ้างและลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบกิจการประเภทกิจการโรงแรมระดับ 4 ดาวขึ้นไป และมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ในพื้นที่ 10 จังหวัดนำร่อง ในเขตพื้นที่ที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูง โดยให้ปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพิ่มเป็นอัตราวันละ 400 บาท (ปรับเพิ่มอัตราวันละ 30-55 บาท แล้วแต่เขตพื้นที่) และให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2567  ดังนี้
พื้นที่ 10 จังหวัดนำร่อง          อัตราเดิม (บาทต่อวัน)
(มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่
26 ธันวาคม 2566)
กรุงเทพมหานคร (เฉพาะเขตปทุมวัน วัฒนา)           363 (เพิ่มขึ้น 37 บาท)
กระบี่ (เฉพาะเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ่าวนาง)          347 (เพิ่มขึ้น 53 บาท)
ชลบุรี (เฉพาะเขตเมืองพัทยา)          361 (เพิ่มขึ้น 39 บาท)
เชียงใหม่ (เฉพาะเขตเทศบาลนครเชียงใหม่)          350 (เพิ่มขึ้น 50 บาท)
ประจวบคีรีขันธ์ (เฉพาะเขตเทศบาลหัวหิน)          345 (เพิ่มขึ้น 55 บาท)
พังงา (เฉพาะเขตเทศบาลตำบลคึกคัก)          345 (เพิ่มขึ้น 55 บาท)
ภูเก็ต          370 (เพิ่มขึ้น 30 บาท)
ระยอง (เฉพาะเขตตำบลเพ)          361 (เพิ่มขึ้น 39 บาท)
สงขลา (เฉพาะเขตเทศบาลนครหาดใหญ่)          345 (เพิ่มขึ้น 55 บาท)
สุราษฎร์ธานี (เฉพาะเขตเทศบาลนครเกาะสมุย)          345 (เพิ่มขึ้น 55 บาท)
                    ทั้งนี้ การกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำประเภทกิจการโรงแรมมุ่งที่จะคุ้มครองแรงงานทั่วไปแรกเข้าทำงานที่เข้าสู่ตลาดแรงงานใหม่ในปี 2567  รวมทั้งแรงงานที่ทำงานในสถานประกอบกิจการประเภทกิจการโรงแรมอยู่แล้ว ให้สามารถดำรงชีพอยู่ได้ตามสภาพเศรษฐกิจในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคการท่องเที่ยวและภาคการผลิตที่เกี่ยวเนื่องในหลายสาขา นำไปสู่การสร้างงานและสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศที่มากขึ้น
1เป็นองค์กรไตรภาคีตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายนายจ้าง ฝ่ายลูกจ้าง และหน่วยงานภาครัฐ ฝ่ายละ 5 คนเท่ากัน
2คณะกรรมการค่าจ้างกำหนดให้กิจการโรงแรม หมายถึง โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรมซึ่งประกอบกิจการ สถานที่พักที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในทางธุรกิจเพื่อให้บริการที่พักชั่วคราว สำหรับคนเดินทางหรือบุคคลอื่นใดโดยมีค่าตอบแทนและได้รับมาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวประเภทโรงแรมระดับการให้บริการ 4 ดาวขึ้นไป ของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาและมีลูกจ้างตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป
2โดยที่มาตรา 87 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงาน พ.ศ. 2541 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้การพิจารณาอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะกำหนดให้ใช้เฉพาะกิจการ งานหรือสาขาอาชีพประเภทใด เพียงใด ในท้องถิ่นใดก็ได้

12. เรื่อง การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษฉลองรัชในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษตามประกาศกระทรวงคมนาคมกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษฉลองรัชในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567  ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    1. ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 ถึง พ.ศ. 2566 กระทรวงคมนาคมมีแนวทางดำเนินการในการแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดของทางพิเศษบูรพาวิถี โดยในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2566 กำหนดให้ไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษ ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2566 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 17 เมษายน 2566 เวลา 24.00 นาฬิกา โดยในส่วนของทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี -สุขสวัสดิ์) ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีบัญชาในการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 ที่ให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยพิจารณายกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) (รวมทางเชื่อม) ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป โดยไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางสายดังกล่าวเช่นเดียวกับทางพิเศษบูรพาวิถี เนื่องจากเป็นสายทางที่ต่อเนื่องกันเพื่อระบายการจราจรแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด รวมทั้งเป็นการอำนวยความสะดวก และรวดเร็วในการเดินทางของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมีข้อสั่งการในการประชุมเตรียมความพร้อมการดำเนินการตามแผนการอำนวยความสะดวกและความปลอดภัยรองรับการเดินทางของประชาชนช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ของกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไปพิจารณาการยกเว้นการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษฉลองรัชโดยขอให้เร่งพิจารณาหากเป็นไปได้ขอให้ดำเนินการให้ทันในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567
                    2. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยประสานกับเจ้าหน้าที่กองทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกรมทางหลวงเกี่ยวกับกำหนดการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษของกรมทางหลวงในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 โดยได้รับแจ้งว่า กรมทางหลวงจะกำหนดให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมการใช้ยานยนตร์บนทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 และทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2567 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 17เมษายน 2567 เวลา 24.00 นาฬิกา
                    3. คณะกรรมการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่ 3/2567 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2567 เห็นชอบการกำหนดอัตราค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษฉลองรัช ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษดังกล่าว ตั้งแต่วันที่ 11เมษายน 2567 เวลา 00.01 นาฬิกา ถึงวันที่ 17  เมษายน 2567 เวลา 24.00 นาฬิกา
                    4. การทางพิเศษแห่งประเทศไทยจัดทำข้อมูลการวิเคราะห์ผลกระทบต่อรายได้ที่ไม่ได้เรียกเก็บและประโยชน์ที่จะได้รับโดยรวมจากการไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษฉลองรัช ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567   เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ดังนี้
                    ทางพิเศษบูรพาวิถี ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2567
ผลการวิเคราะห์          เฉลี่ย/วัน          หาก กทพ. ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 7 วัน
ปริมาณจราจร          147,769 คัน/วัน          1,034,383 คัน
รายได้ที่ไม่เรียกเก็บ          5,724,571 บาท/วัน          40,071,997 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
-VOC Saving
-VOT Saving
2,251,424 บาท/วัน
4,113,579บาท/วัน
15,759,968  บาท
28,795,053 บาท
รวม          6,365,003 บาท/วัน          44,555,021 บาท


ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี- สุขสวัสดิ์)  ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2567
ผลการวิเคราะห์          เฉลี่ย/วัน          หาก กทพ. ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 7 วัน
ปริมาณจราจร          180,687 คัน/วัน          1,264,809 คัน
รายได้ที่ไม่เรียกเก็บ          7,400,940 บาท/วัน          51,806,580 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
-VOC Saving
-VOT Saving
3,558,979 บาท/วัน
5,288,872 บาท/วัน
24,912,853  บาท
37,022,104 บาท
รวม          8,847,851 บาท/วัน          61,934,957 บาท

ทางพิเศษฉลองรัช ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2567
ผลการวิเคราะห์          เฉลี่ย/วัน          หาก กทพ. ยกเว้นค่าผ่านทาง รวม 7 วัน
ปริมาณจราจร          159,258 คัน/วัน          1,114,806 คัน
รายได้ที่ไม่เรียกเก็บ          6,859,242 บาท/วัน          48,014,694 บาท
ผลประโยชน์ที่ได้รับ
-VOC Saving
-VOT Saving
2,895,848 บาท/วัน
5,539,769 บาท/วัน
20,270,936  บาท
38,778,383 บาท
รวม          8,435,617 บาท/วัน          59,049,319 บาท

                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก  (บางพลี-สุขสวัสดิ์)
ทางพิเศษฉลองรัช ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 17  เมษายน 2567 รวม 7 วัน
                    ประโยชน์ ผลประโยชน์ที่ประเทศชาติ และการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจะได้รับนอกเหนือจากผลประโยชน์ที่ประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ (VOC Saving, VOT Saving) ยังมีผลประโยชน์ที่ไม่สามารถประเมินเป็นมูลค่าเงินได้ ใด้แก่ ความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัยต่อผู้ใช้ทางพิเศษ และลดมลพิษทางอากาศบริเวณหน้าด่านเก็บค่าผ่านทางพิเศษ อีกทั้งเป็นการแก้ไขปัญหาการจราจรบนทางพิเศษช่วงเทศกาลที่มีประชาชนเดินทางเป็นจำนวนมาก และเป็นการแสดงถึงความรับผิดชอบของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ที่มีต่อประชาชนเพื่อให้เกิดเป็นภาพลักษณ์ที่ดีของหน่วยงาน และเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนมาใช้ทางพิเศษทั้ง 3 สายทาง มากยิ่งขึ้น
                    ผลกระทบ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไม่ใด้รับรายได้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2567 รวม 7 วัน ซึ่งจะมีปริมาณจราจรมาใช้ทางพิเศษประมาณ 3,413,998 คัน เป็นรายได้ประมาณ 139,893,271 บาท
                    ค่าใช้จ่ายและแหล่งที่มา หรือการสูญเสียรายได้
                    การดำเนินการยกเว้นค่าผ่านทางพิเศษดังกล่าวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567  การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่มีการจัดเก็บค่าผ่านทางพิเศษของทางพิเศษบูรพาวิถี ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี-สุขสวัสดิ์) และทางพิเศษฉลองรัชในช่วงเทศกาลสงกรานต์ พ.ศ. 2567  ระหว่างวันที่ 11 เมษายน 2567 ถึงวันที่ 17 เมษายน 2567 รวม 7 วัน จะมีปริมาณจราจรมาใช้ทางพิเศษประมาณ 3,413,998 คัน จะทำให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ไม่ใด้รับรายได้ประมาณ 139,893,271 บาท แต่จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจประเมินเป็นมูลค่าเงินประมาณ 165,539,297 บาท ซึ่งประกอบด้วยมูลค่าจากการประหยัดค่าใช้จ่ายจากการใช้รถ (Vehicle Operating Cost Saving : VOC Saving) 60,943,757 บาท และมูลค่าจากการประหยัดเวลาในการเดินทาง (Value of Time Saving : VOT Saving) 104,595,540 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 165,539,297 บาท

13. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยทางถนน ตามที่ศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    คณะรัฐมนตร์ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2549 เห็นชอบการดำเนินการตามมาตรการและแผนการดำเนินงานป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่และช่วงเทศกาลสงกรานต์ให้ถือเป็นภารกิจสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานตั้งงบประมาณรองรับให้เหมาะสม
                    คณะกรรมการนโยบายการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนแห่งชาติ ได้มีมติในคราวประชุมครั้งที่
1/2566 เมื่อวันพุธที่ 13 ธันวาคม 2566 เห็นชอบแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาล
และช่วงวันหยุด พ.ศ. 2567  เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนใช้เป็นกรอบการดำเนินงานในปี พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2567 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ เรื่อง การเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยนายกรัฐมนตรีขอให้กระทรวงคมนาคม กระทรวมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลความปลอดภัยทางถนนและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่อยู่ระหว่างเดินทางกลับ และในปีต่อไปขอให้ทุกหน่วยงานร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ เพื่อให้ภาพรวมการเกิดอุบัติเหตุลดลงได้มากยิ่งขึ้น
                    ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ดำเนินการตามแผนบูรณาการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567  โดยร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ดำเนินการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ภายใต้ชื่อ ?ขับขี่ปลอดภัย เมืองไทยไร้อุบัติเหตุ? ช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 - 4 มกราคม 2567  เสร็จเรียบร้อยแล้ว สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                    สถิติอุบัติเหตุทางถนนช่วงควบคุมเข้มข้น ระหว่างวันที่ 29 ธันวาคม 2566 ? 4  มกราคม 2567      (รวม 7 วัน)
จำนวนครั้งการเกิดอุบัติเหตุ
(ครั้ง)          จำนวนผู้บาดเจ็บ (admit)
(คน)          จำนวนผู้เสียชีวิต
(ราย)
2,288          2,307          284

                    การดำเนินงานช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2567 ช่วงควบคุมเข้มข้นระหว่างวันที่ 29  ธันวาคม 2566- 4 มกราคม 2567  เมื่อเปรียบเทียบกับเทศกาลปีใหม่เฉลี่ย 3 ปีย้อนหลัง มีผลการดำเนินงานเป็นไปตามเป้าหมายตัวชี้วัดที่กำหนด ประกอบด้วย
1.          การเกิดอุบัติเหตุ 2,288 ครั้ง ลดลงร้อยละ 19.06 ผู้บาดเจ็บ (admit) 2,307 คน ลดลงร้อยละ
17.95 ผู้เสียชีวิต 284 ราย ลดลงร้อยละ 18.23
                    2. การเกิดอุบัติเหตุใหญ่ 25 ครั้ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.14
                    3. การเสียชีวิต ณ จุดเกิดเหตุ 165 ราย ลดลงร้อยละ 15.19
                    4. ผู้เสียชีวิตในพฤติกรรมเสี่ยงหลัก ได้แก่ ขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ลดลงร้อยละ 36.80ดื่มแล้วขับ ลดลงร้อยละ 27.59 ไม่สวมหมวกนิรภัย ลดลงร้อยละ 6.46 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัยลดลงร้อยละ 55.88 และขับรถย้อนศร เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.43
                    จากการดำเนินงานช่วง 7 วัน พบว่า สถิติในภาพรวมเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งจำนวนครั้ง
การเกิดอุบัติเหตุ ผู้บาดเจ็บ (admit และผู้เสียชีวิตลดลง และพฤติกรรมเสี่ยงหลักที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตลดลง อาทิ การขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ดื่มแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย และไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งเป็นผลจากการ
มุ่งเน้นการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ และให้ความสำคัญในระดับพื้นที่ โดยดำเนินการ
มาตรการเชิงรุกให้ท้องที่และท้องถิ่น ร่วมกับอาสาสมัคร จิตอาสา และประชาชนในหมู่บ้าน ชุมชนจัดตั้ง ?ด่านชุมชน? ?ด่านครอบครัว? และการเคาะประตูบ้าน เพื่อควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงของคนในพื้นที่ แต่เมื่อพิจารณา จากสถิติอุบัติเหตุทางถนนเมื่อเทียบกับเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2566 พบว่า พฤติกรรมเสี่ยงขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น และพฤติกรรมเสี่ยงดื่มแล้วขับเป็นพฤติกรรมเสี่ยงที่ให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ยานพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น คือ รถกระบะ รถเก๋ง และรถจักรยานยนต์พ่วงข้าง ถนนที่เกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น คือ ถนนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ถนนในเขตเมือง (เทศบาล) ถนนองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ลักษณะการชนโดยไม่มีคู่กรณี คนเดินเท้า และสัตว์เลี้ยงเพิ่มขึ้น ช่วงอายุผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตเพิ่มขึ้น คือ ช่วงอายุ
ต่ำกว่า 15 ปี อายุ 20-29 ปี และอายุ 60-69 ปี รวมทั้งพฤติกรรมขับขี่ยานพาหนะที่ไม่มีใบขับขี่เพิ่มมากขึ้น
                    ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้รวบรวมข้อเสนอแนะจากการประชุมคณะอนุกรรมการ
เฉพาะกิจศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนตลอดทั้งปี โดยได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนงาน
ด้านความปลอดภัยทางถนน ดังนี้
                    1. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมทางหลวงพิจารณาหาแนวทางนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายให้ครอบคลุมถนนสายหลักทุกเส้นทาง โดยจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการบังคับใช้กฎหมาย อาทิ เครื่องตรวจจับความเร็ว และกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เป็นต้น เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงขับรถเร็วเกินกว่ากฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุทางถนน
                    2. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมการขนส่งทางบกบูรณาการข้อมูลการกระทำผิดกฎหมายให้เป็นเอกภาพ และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดแนวทางการนำข้อมูลการกระทำความผิดไปใช้ประกอบการพิจารณาไม่จัดทำเอกสารที่ทางราชการออกให้ หรือไม่ต่อใบอนุญาตต่าง ๆ อาทิ ใบอนุญาตขับรถและหนังสือเดินทาง เป็นต้น
                    3. ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และแนวทางการเบิกจ่ายงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางถนนให้มีประสิทธิภาพ โดยให้สามารถจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์ในการบังคับใช้กฎหมายได้ อาทิ เครื่องตรวจจับความเร็ว และกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) เป็นต้น
                    4. ในระดับพื้นที่ให้ใช้กลไกศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนทุกระดับลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุทางถนนอย่างต่อเนื่อง เน้นการบังคับใช้กฎหมายควบคู่กับการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และดำเนินมาตรการเชิงรุก เพื่อสร้างการรับรู้ ความตระหนัก และจิตสำนึกด้านความปลอดภัยทางถนน
                    5.  ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมการขนส่งทางบก สถานประกอบการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร่วมกันกำหนดแนวทางการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้รถใช้ถนนในประเทศไทยกับชาวต่างชาติ ทั้งนักท่องเที่ยวและชาวต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทย เพื่อให้ใช้รถใช้ถนนได้อย่างปลอดภัย อาทิ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายจราจร ระเบียบหลักเกณฑ์ในการจัดทำใบขับขี่ และหลักการขับขี่ที่ปลอดภัย เป็นต้น

14. เรื่อง ข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมสูงวัย
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมสูงวัยและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องขับเคลื่อนเชิงนโยบายต่อไป  ตามที่คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (กผส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    กผส. รายงานว่า
                    1. ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเผชิญกับวิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรซึ่งสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง ในขณะที่สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ1 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยในปี 2566 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ จำนวน 13 ล้านคน  คิดเป็นร้อยละ 20.08 ของประชากรทั้งหมด (66.05 ล้านคน) ในขณะที่เด็กเกิดใหม่มีเพียง 5.18 แสนคน และคาดการณ์ว่าในปี 2585 ประชากรไทยจะลดลงเหลือ 60 ล้านคน นอกจากนี้ กลุ่มประชากรในวัยทำงานตอนปลายที่มีอายุตั้งแต่ 41 - 59 ปีขึ้นไป มีจำนวนมากกว่า 19.25 ล้านคน กำลังจะเข้ามาเป็นกลุ่มประชากรผู้สูงอายุอีกด้วย ซึ่งจะทำให้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจำนวนมากในอนาคตและมีแนวโน้มที่จะมีอายุยืนยาว
                    2. จากสถานการณ์ข้างต้นคาดการณ์ใด้ถึงวิกฤตประชากรในอนาคตที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่จำนวนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานลดลง รวมถึงจำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดต่ำลง  การเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างประชากรดังกล่าวจึงเป็นประเด็นท้าทายที่สำคัญของสังคมไทยที่ต้องเผชิญในอนาคด ดังนี้ (1) ความท้าทายของอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสถานภาพทางการเงินการคลัง
ของประเทศ (2) ความท้าทายต่อการสร้างระบบคุ้มครองทางสังคมที่เหมาะสม (3) ความท้าทายต่อความยั่งยืนของระบบการเงินของครัวเรือน ตลาดการเงิน และระบบการคลังของประเทศและ (4) ความท้าทายต่อความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน ได้แก่ การได้รับการศึกษาการทำงาน ระบบบริการสุขภาพที่เหมาะสม และที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและปลอดภัย
                    3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กผส. ได้ตระหนักถึงผลกระทบของวิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบต่อ ?ครอบครัวไทย? ซึ่งเป็นสถานบันทางสังคมที่เล็กที่สุดแต่สำคัญที่สุดในการสร้างและพัฒนาคน เนื่องจากเป็นศูนย์รวมของสมาชิกหลากหลายวัยและจะมีความมั่นคงได้เมื่อสามารถรักษาสัมพันธภาพและการเกื้อหนุนที่ดีระหว่างวัย ครอบครัวที่มั่นคงจะเป็นพลังสำคัญในการสร้างเสริมพลังและคุณค่าของประชากรทุกวัยตั้งแต่วัยเด็ก วัยแรงงาน วัยผู้สูงอายุ รวมทั้งคนพิการ ผู้ด้อยโอกาสที่อาศัยอยู่ในครอบครัว จึงได้จัดทำ ข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและผู้สูงวัย (ข้อเสนอเชิงนโยบายฯ) เพื่อสื่อสารให้สังคมตระหนักถึงประเด็นท้าทายของประชากรที่ส่งผลสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชากรทุกช่วงวัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ ตลอดจนการปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไปสู่การดำเนินงานแบบองค์รวมเพื่อให้ทุกคนในสังคมมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาความมั่นคงของครอบครัวไปสู่ความมั่นคงของมนุษย์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยในการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ได้มีการดำเนินการ เช่น (1) จัดประชุมเสวนาวิชาการในประเด็น ?ความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร? เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2567 เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับความท้าทายของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและการเตรียมการรองรับวิกฤตการเปลี่ยนแปลงในอนาคต (2) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการระดับชาติ ?พัฒนาความมั่นคงครอบครัวไทยผ่านพ้นภัยวิกฤตประชากร? เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2567 เพื่อสื่อสารให้สังคมตระหนักถึงประเด็นท้าทายของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตประชากรทุกช่วงวัยและพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศและเพื่อให้ทุกภาคส่วนร่วมออกแบบนโยบาย มาตรการและขับเคลื่อนการพัฒนาความมั่นคงของครอบครัวไทยสู่ความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ทั้งนี้ กผส. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2567 ได้มีมติเห็นชอบข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ซึ่งประกอบด้วย 5 ข้อเสนอ 25 มาตรการสำคัญเร่งด่วน สรุปได้ ดังนี้

มาตรการสำคัญเร่งด่วน          หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ข้อเสนอที่ 1 เสริมพลังวัยทำงาน ตั้งตัวได้ สร้างและดูแลครอบครัวได้ และพร้อมที่จะสูงอายุอย่างมีคุณภาพในอนาคต
1) การเพิ่มโอกาสและสร้างความตระหนักให้กับประชากรวัยทำงานพัฒนาทักษะและเสริมศักยภาพ (Reskill/Upskill) เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนเพื่อการประกอบอาชีพของแรงงานนอกระบบ และบูรณาการฐานข้อมูลด้านตลาดแรงงาน (ทั้งอุปสงค์และอุปทาน)          กระทรวงการคลัง (กค.) พม.
กระทรวงการอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์
วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
กระทรวงมหาดไทย (มท.)
กระทรวงแรงงาน (รง.)
กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
และกองทุนการออมแห่งชาติ
2) การส่งเสริมการมีงานทำและรายได้ด้วยการกระจายงานสู่พื้นที่และชุมชน
3) การส่งเสริมการออม สร้างแรงจูงใจให้ประชากรในวัยทำงานออมเพื่ออนาคตและเตรียมการเกษียณ (ออมภาคบังคับ)
4) การส่งเสริมคุณภาพของประชากรในวัยทำงาน ด้วยการปรับสถานที่ทำงานให้เป็นสถานประกอบการที่คำนึงถึงความสุข และส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรและเพิ่มสิทธิประโยชน์ของหลักประกันสุขภาพให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น
5) มาตรการส่งเสริมสมดุลชีวิตการทำงานและชีวิตครอบครัว เช่น สร้างแรงจูงใจด้านภาษีหรือการยกย่องทางสังคมให้แก่นายจ้างที่จัดสวัสดิการดูแลเด็กปฐมวัยและผู้สูงอายุให้แก่ลูกจ้าง การทำงานแบบยืดหยุ่น ส่งเสริมบทบาทชายหญิงในการร่วมกันดูแลครอบครัว
ข้อเสนอที่ 2 เพิ่มคุณภาพและผลิตภาพของเด็กและเยาวชน : เด็กน้อย ที่เปี่ยมด้วยคุณภาพ
1) การส่งเสริมสถาบันครอบครัวและสถานบันการศึกษาให้มีความเข้มแข็ง          พม. อว. กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) ศธ. สธ. และสำนักงาน ก.พ.ร.
2) การดูแลสุขภาพทางกายและจิตใจของเด็กและแม่ตั้งแต่ตั้งครรภ์
3) การมีศูนย์เด็กเล็กใกล้บ้าน มีมาตรฐาน รับเด็กอายุน้อยลง มีความยืดหยุ่นชุมชนช่วยจัดการได้
4) การพัฒนาทักษะชีวิตและทักษะวิชาชีพตามวัย สอดคล้องกับบริบทสังคมที่เป็นพลวัต
5) การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างวัย
ข้อเสนอที่ 3 สร้างพลังผู้สูงอายุ ผ่อนหนักให้เป็นเบา พลิกวิกฤตทางประชากรให้เป็นโอกาส
1) การมุ่งการป้องกันโรคมากกว่ารักษาโรค เสริมการมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ของผู้สูงอายุ          พม. อว. ดศ. มท. รง.
กระทรวงวัฒธรรม (วธ.)
ศธ. และ สธ.
2) การขยายโอกาสทางเศรษฐกิจให้ผู้สูงอายุ ขยายอายุเกษียณ ส่งเสริมการจ้างงานผู้สูงอายุ พัฒนาทักษะที่จำเป็น ส่งเสริมความรอบรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital Literacy) ให้ผู้สูงอายุ และลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของผู้สูงอายุ
3) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในการดูแลผู้สูงอายุในชุมชน เช่น จัดระบบบริบาลผู้สูงอายุในชุมชน พัฒนาระบบคุ้มครองสิทธิผู้สูงอายุในชุมชน โดยชุมชน ส่งเสริมให้มีการเกื้อหนุนและสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้สูงอายุกับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน
4) การส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อม ทั้งภายในบ้าน รอบบ้าน และในชุมชนที่เอื้อต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การสัญจร และการมีส่วนร่วมทางสังคมของผู้สูงอายุ
5) การส่งเสริมให้มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในทุกมิติเพื่อให้เกิดการทำงานแบบบูรณาการอย่างครบวงจรกับผู้สูงอายุ
ข้อเสนอที่ 4 เพิ่มโอกาสและเสริมสร้างคุณค่าของคนพิการ2
1) การสนับสนุนและเพิ่มโอกาสทางการศึกษาสำหรับคนพิการตามศักยภาพและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายและเหมาะสมกับคนพิการ ตลอดจนเพิ่มการจ้างานคนพิการในทุกภาคส่วน โดยส่งเสริมศักยภาพคนพิการและทำให้เกิดตลาดแรงงานสำหรับคนพิการ รวมทั้ง ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทำงานให้เหมาะสมต่อการทำงาน          พม. อว. ดศ. มท. รง. วธ. ศธ. และ สธ.
2) การส่งเสริมการเข้าถึงสิทธิประโยชน์ที่ครบถ้วนของคนพิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม สร้างทัศนคติที่เหมาะสมของชุมชนและครอบครัวในการอยู่ร่วมกันและดูแลคนพิการ เช่น ระบบการตรวจสอบสิทธิที่มีประสิทธิภาพ หน่วยบริการรักษาพยาบาลเคลื่อนที่ การให้ความช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน
3) การป้องกันความพิการแต่กำเนิดและความพิการทุกช่วงวัย (Prevention) รวมทั้งฟื้นฟูสมรรถภาพทางกายและทางใจ (Rehabilitation)
4) การส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ช่วยให้คนพิการดำเนินชีวิตได้อย่างอิสระ เช่น ระบบขนส่ง สิ่งอำนวยความสะดวก โดยใช้หลักการออกแบบเพื่อคนทุกกลุ่มวัย (Universal Design)3 รวมทั้งใช้ระบบเทคโนโลยีและนวัตกรรมช่วยในการดำเนินชีวิต
5) การจัดทำฐานข้อมูลและพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อประโยชน์ในการหางานและการจ้างงาน
ข้อเสนอที่ 5 สร้างระบบนิเวศ (Eco-System) ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความมั่นคงของครอบครัว
1) การพัฒนาระบบสวัสดิการที่เหมาะสมและทั่วถึงโดยรัฐ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเป็นหลักประกันในยามที่เผชิญกับวิกฤต          กค. พม. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มท. ศธ. สธ. และกระทรวงอุตสาหกรรม
2) ชุมชนน่าอยู่สำหรับประชากรทุกกลุ่มทุกวัย ?ปลอดภัย ปลอดพิษ เป็นมิตรและเอื้ออาทรต่อทุกคน?
3) บ้านสำหรับคนทุกช่วงวัย ทุกกลุ่มเป้าหมาย เข้าถึงได้ อยู่อย่างปลอดภัย
4) การส่งเสริมเศรษฐกิจครัวเรือน เข้าถึงแหล่งทุนได้อย่างเท่าเทียมสร้าง           กลไกค้ำประกันเพื่อเสริมสภาพคล่องให้ครอบครัวบนหลักการพอเพียงและมีวินัย เสริมสร้างความรู้ในการบริหารการเงินสำหรับครัวเรือน
5) การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ เน้นการเปลี่ยนพฤติกรรมของประชากรในการหยุดทำร้ายธรรมชาติ ส่งเสริม Green Economy

                    4. ประโยชน์ของข้อเสนอเชิงนโยบาย ฯ
                              4.1 มีการสื่อสารให้สังคมตระหนักถึงประเด็นท้าทายของประชากรที่ส่งผลสำคัญต่อคุณภาพชีวิตของประชากรทุกช่วงวัยและการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศ
                              4.2 มีการขับเคลื่อนข้อเสนอเชิงนโยบายวิกฤตประชากรและสังคมสูงวัยโดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการพัฒนาความมั่นคงของครอบครัวไทยสู่ความมั่นคงของมนุษย์
                    5. จะนำข้อเสนอเชิงนโยบายฯ ไปสื่อสารและขับเคลื่อนในช่วงก่อน ?วันแห่งครอบครัว? ซึ่งตรงกับวันที่ 14 เมษายน ของทุกปี เพื่อเป็นการส่งเสริมบทบาทและความเข้มแข็งของครอบครัวไทยต่อไป
1 พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม บัญญัติให้ ?ผู้สูงอายุ? หมายถึง ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
2ผลการสำรวจความพิการ พ.ศ. 2565 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่า สัดส่วนของคนพิการเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6 ของประชากรทั้งหมด (จากร้อยละ 5.5 ในปี 60) และส่วนใหญ่ของคนพิการเป็นผู้สูงอายุ
3Universal Design หรือเรียกว่า อารยสถาปัตย์ คือ หลักการออกแบบสภาพแวดล้อมให้กับคนทุกกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุคนปกติ ผู้พิการ โดยออกแบบเพื่อให้ทุกคนได้เข้าถึงอย่างเท่าเทียม เป็นการทำให้ไม่มีอุปสรรคในการใช้งาน สร้างความเท่าเทียม ในการเข้าถึงพื้นที่การให้บริการ ถือเป็นหลักการพัฒนาพื้นที่ให้สังคมมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

15. เรื่อง การปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 ตามที่สำนักงบประมาณเสนอ ดังนี้
                    ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2567 ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 นั้น
                    สำนักงบประมาณขอเสนอการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ครั้งที่ 2 เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับปรุงกรอบงบประมาณรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง (Medium Term Expenditure Framework : MTEF) ตามมติคณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2567 โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
                    1. การจัดทำงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                              1.1 คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงแผนการคลังระยะปานกลางและการปรับปรุงปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันอังคารที่ 2 เมษายน 2567
                              1.2 คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 พร้อมแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันอังคารที่ 9 เมษายน 2567
                              1.3 กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาทบทวนการประมาณการรายได้ การปรับปรุงกรอบวงเงิน และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ในวันที่ 5 เมษายน 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 9 เมษายน 2567
                              1.4 สำนักงบประมาณพิจารณาการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง ในวันอังคารที่ 23 เมษายน 2567
                              1.5 สำนักงบประมาณดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ระหว่างวันที่ 24 - 30 เมษายน 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นฯ และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และให้สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบงบประมาณ ในวันอังคารที่ 14 พฤษภาคม 2567
                              1.6 สำนักงบประมาณดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และเอกสารประกอบฯ ระหว่างวันที่ 15 - 24 พฤษภาคม 2567 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำบีงบประมาณ พ.ศ. 2568 และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรในวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567
                    2. การอนุมัติงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                              2.1 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระที่ 1 ในวันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2567
                              2.2 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วาระที่ 2 - 3 ในวันที่ 28 - 29 สิงหาคม 2567
                              2.3 วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ                   พ.ศ. 2568 ในวันที่ 9 - 10 กันยายน 2567
                              2.4 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันที่ 17 กันยายน 2567 เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป

16. เรื่อง มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้จ่ายงบประมาณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสถานการณ์ และสามารถดำเนินการก่อหนี้ผูกพันได้ทันทีเมื่อพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับ ตามที่สำนักงบประมาณ (สงป.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. โดยที่พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกาศใช้บังคับไม่ทันวันที่ 1 ตุลาคม 2566 และ สงป. โดยการอนุมัติของนายกรัฐมนตรีได้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการใช้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน (คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 รับทราบหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าว) เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณจ่ายเงินหรือก่อหนี้ผูกพันตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขดังกล่าวได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 เป็นต้นไป ซึ่งคาดว่าร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จะผ่านการพิจารณาของรัฐสภาภายในเดือนมีนาคม 2567 โดยผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ไปพลางก่อน ในช่วงเดือนตุลาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 มีการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 1,302,250.58 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 ที่มีผลการเบิกจ่ายงบประมาณ จำนวน 1,317,579.58 ล้านบาท (มากกว่า 15,329 ล้านบาท) และจำนวน 1,443,701.73 ล้านบาท (มากกว่า 141,451.15 ล้านบาท) ตามลำดับ1
                    2. สงป. จึงเห็นควรกำหนดมาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณของทุกส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐสามารถเป็นกลไกสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมาะสมกับสถานการณ์ และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล และแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                              2.1 กำหนดเป้าหมายการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในภาพรวมของประเทศ เพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยรับงบประมาณจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2567) ให้สอดคล้องกับเป้าหมายในภาพรวมของประเทศ ดังนี้
แผนการใช้จ่ายงบประมาณ ปี 2567          ไตรมาสที่ 1          ไตรมาสที่ 2          ไตรมาสที่ 3          ไตรมาสที่ 4
ภาพรวม          ร้อยละ 28          ร้อยละ 47          ร้อยละ 82          ร้อยละ 100
รายจ่ายประจำ          ร้อยละ 33          ร้อยละ 53          ร้อยละ 82          ร้อยละ 100
รายจ่ายลงทุน          ร้อยละ 11          ร้อยละ 24          ร้อยละ 80          ร้อยละ 100
ทั้งนี้ เมื่อรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 แล้ว สงป. จะแจ้งแนวทางการจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณปี 2567 และการอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ พ.ศ. 2562 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณถือปฏิบัติต่อไป
                              2.2 ให้หน่วยรับงบประมาณดำเนินการ ดังนี้
                                        2.2.1 งบประมาณรายจ่ายที่ต้องดำเนินการหรือเบิกจ่ายโดยสำนักงานในส่วนภูมิภาคให้หน่วยรับงบประมาณเร่งดำเนินการส่งเงินจัดสรรต่อไปยังสำนักงานในส่วนภูมิภาคภายในห้าวันนับแต่วันที่ได้รับอนุมัติเงินจัดสรร
                                        2.2.2 รายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่เป็นรายจ่ายลงทุนรายการใหม่ ให้หน่วยรับงบประมาณจัดส่งรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะแบบรูปรายการสิ่งก่อสร้าง ราคากลาง และรายละเอียดประกอบที่เกี่ยวข้องให้ สงป. พิจารณาความเหมาะสมของราคาควบคู่ไปกับการดำเนินกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และเมื่อได้ผลการจัดซื้อจัดจ้างแล้ว หากไม่เกินวงเงินที่ สงป. ให้ความเห็นชอบ ให้แจ้ง สงป. ทราบและดำเนินการทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันต่อไปได้
                              2.3 ให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณากำหนดระยะเวลาการส่งมอบงานให้รวดเร็วขึ้น เพื่อให้ทันการเบิกจ่ายภายในเดือนกันยายน 2567 โดยเฉพาะรายการปีเดียวสำหรับรายการผูกพันใหม่ ควรดำเนินการก่อหนี้ผูกพันให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2567
ทั้งนี้ หากคาดว่ามีรายการงบประมาณที่จะไม่สามารถก่อหนี้ได้ทันภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้หน่วยรับงบประมาณแจ้ง สงป. เพื่อร่วมกันหาแนวทางแก้ไขเป็นรายกรณีในโอกาสแรกเพื่อให้การบริหารงบประมาณมีประสิทธิภาพสูงสุด และป้องกันมิให้เงินพับตกไปเมื่อสิ้นปีงบประมาณ
1 ข้อมูล ณ วันที่ 1 มีนาคม 2567

17. เรื่อง ขออนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินและขยายระยะเวลาดำเนินโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและเพิ่มกรอบวงเงินโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ (โครงการอ่างเก็บน้ำฯ) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ ดังนี้
รายการ          จากเดิม          ปรับเป็น (เสนอครั้งนี้)
ระยะเวลาดำเนินโครงการ          6 ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2567)          9 ปี
(ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - พ.ศ. 2570)
กรอบวงเงิน          3,100 ล้านบาท          6,000 ล้านบาท
                    สาระสำคัญ
                    กษ. เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและเพิ่มกรอบวงเงินโครงการอ่างเก็บน้ำลำน้ำชีอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชัยภูมิ (โครงการอ่างเก็บน้ำฯ) จากเดิม 6 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2567) กรอบวงเงิน 3,100 ล้านบาท เป็น 9 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 - 2570) กรอบวงเงิน 6,000 ล้านบาท เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่มีการปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ราคาซื้อขายในที่ดินในพื้นที่และราคาประเมินทุนทรัพย์ปรับตัวสูงขึ้น [คณะกรรมการจัดซื้อและกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่มีเอกสารสิทธิได้กำหนดราคาที่ดินราคา 60,000 บาทต่อไร่ (จากเดิมราคาที่ดินตามผลการศึกษาปี พ.ศ. 2555 ประมาณ 30,500 บาทต่อไร่) และคิดรวมค่าชดเชยทรัพย์สินเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 112,000 บาทต่อไร่ รวมทั้งกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ไม่มีหลักฐานราคา 50,000 บาทต่อไร่ เท่ากันทุกแปลง] รวมทั้งการดำเนินอื่น ๆ ยังไม่แล้วเสร็จ เช่น การรังวัดจัดทำแผนที่และการสำรวจเอกสารสิทธิเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ในที่ดิน ทั้งนี้ ปัจจุบันมีค่าที่ดินซึ่งต้องจ่ายเพิ่มเติม จำนวน 3,161.45 ล้านบาท แต่โดยที่มีการปรับลดค่าใช้จ่ายในรายการอื่น ๆ เช่น ค่าดำเนินงาน ค่าครุภัณฑ์ ค่าก่อสร้าง จึงทำให้งบประมาณโครงการเพิ่มขึ้น 2,900 ล้านบาท โดย กษ. จะเสนอขอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับใช้ดำเนินการตามความเหมาะสมต่อไป

18. เรื่อง ขอความเห็นชอบกู้ยืมเงินเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีเพื่อสำรองเผื่อสภาพคล่องทาง
การเงิน (การกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีฯ) ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) โดยให้กระทรวงการคลัง (กค.) ค้ำประกัน จำนวน 250 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2567 - 27 เมษายน 2570 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                    สาระสำคัญ
                    1. เดิมคณะรัฐมนตรีมีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบการกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีฯ ของ อ.ส.ค. โดยให้ กค. ค้ำประกันเงินกู้เบิกเกินบัญชี จำนวน 250 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2566 อายุสัญญา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2566 - 27 เมษายน 25671
                    2. อ.ส.ค. ได้ลงนามสัญญาเงินกู้เบิกเกินบัญชีกับธนาคารออมสิน เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 โดยมีการเบิกเงินเกินบัญชี วงเงิน 250 ล้านบาท เพื่อใช้หมุนเวียนในการจ่ายค่าน้ำนมดิบให้แก่เกษตรกรในช่วงระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566 - กุมภาพันธ์ 2567 ดังนี้
เดือน          จำนวน (ล้านบาท)
มิถุนายน 2566          50
กรกฎาคม 2566          51
สิงหาคม 2566           50
กันยายน 2566          75
ตุลาคม 2566          40
พฤศจิกายน 2566           50
ธันวาคม 2566          120
มกราคม 2567           100
กุมภาพันธ์ 2567           135
รวม          671
โดย ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 อ.ส.ค. ได้ใช้วงเงินกู้เบิกเกินบัญชีเพื่อหมุนเวียนในการจ่ายค่าน้ำนมดิบให้แก่เกษตรกร2 รวมทั้งสิ้นจำนวน 671 ล้านบาท และได้ชำระคืนแล้ว จำนวน 611 ล้านบาท ดังนั้น คงเหลือวงเงินที่ยังไม่ได้ชำระคืน จำนวน 60 ล้านบาท และคงเหลือวงเงินที่สามารถนำมาใช้หมุนเวียนได้จนถึงวันที่ 27 เมษายน 2567 จำนวน 190 ล้านบาท ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
                    3. เนื่องจากในเดือนตุลาคม 2566 ได้มีการประกาศปรับขึ้นราคาน้ำนมดิบให้เกษตรกร แต่ราคาผลิตภัณฑ์นมโรงเรียนยังคงเดิม จึงทำให้ อ.ส.ค. รับภาระผลขาดทุนจากการจำหน่ายนมโรงเรียนและการปรับราคาผลิตภัณฑ์นมพาณิชย์ ซึ่งส่งผลกระทบให้การจำหน่ายผลิตภัณฑ์นมไม่ได้ตามเป้าหมายและทำให้เงินสำรองสำหรับค่าน้ำนมดิบให้กับเกษตรกรในแต่ละงวดไม่เพียงพอ อ.ส.ค. จึงต้องมีเงินสำรองเผื่อสภาพคล่องต่อเนื่องออกไปอีกจากที่กำหนดเวลาที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 27 เมษายน 2567 ดังนั้น เพื่อให้ อ.ส.ค. มีแหล่งเงินเพียงพอรองรับการบริหารงานได้อย่างต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงักในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ อ.ส.ค. มีเงินสดไม่พอต่อค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระตามกำหนด และเพื่อลดความเสียงจากการขาดสภาพคล่องทางการเงินในระยะสั้น กษ. (อ.ส.ค.) จึงจำเป็นต้องขอกู้ยืมเงินเบิกเกิน บัญชีฯ ในวงเงิน 250 ล้านบาท ระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2567 - 2570 (ตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2567 - 27 เมษายน 2570) โดยขอให้ กค. ค้ำประกันประกันการกู้เงินดังกล่าวเนื่องจาก อ.ส.ค. ไม่มีหลักทรัพย์ที่จะนำไปค้ำประกัน เพราะที่ดินเป็นที่ราชพัสดุและเครื่องจักรอุปกรณ์ส่วนใหญ่เป็นการเช่า ซึ่งคณะกรรมการ อ.ส.ค. ได้มีมติเห็นชอบการขอกู้ยืมเงินเบิกเกินบัญชีดังกล่าวแล้ว ในการประชุมครั้งที่ 13/2566 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566
1 การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2566 อ.ส.ค. ประสบกับภาวะต้นทุนการผลิตสูงขึ้น เนื่องจากราคาวัตถุดิบหลักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปรับราคาสูงขึ้น เช่น น้ำนมดิบ ค่าขนส่งน้ำนมดิบ ค่าวัสดุปรุงรส ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้าและอื่น ๆ ส่งผลกระทบให้ผลประกอบการของ อ.ส.ค. ติดลบในปีงบประมาณ 2566 (เดือนตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) จำนวน 274 ล้านบาท
2 กษ. แจ้งว่า คณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมได้ออกประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง ราคากลางรับซื้อน้ำนมโค ณ หน้าโรงงานแปรรูปและผลิตภัณฑ์นม พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 โดยปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมโค ณ หน้าโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นม จากเดิมกิโลกรัมละ 20.50 บาท เป็นกิโลกรัมละ 22.75 บาท และได้ออกประกาศคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นม เรื่อง ราคากลางรับซื้อน้ำนมโค ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 8 มกราคม 2567 โดยปรับราคากลางรับซื้อน้ำนมโค ณ ศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ จากเดิมกิโลกรัมละ 19 บาท เป็นกิโลกรัมละ 21.25 บาท ตามมติคณะกรรมการโคนมและผลิตภัณฑ์นมในคราวประชุมครั้งที่ 1/2567 เมื่อวันที่ 8 มกราคม 2567

19. เรื่อง แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน เพื่อนำไปประกอบการพิจารณาจัดทำกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีตามมาตรา 15 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และเพื่อให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐ ตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ต่อไป ตามที่คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐเสนอ
                    สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                    แผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 - 2571) ฉบับทบทวน (แผนการคลังระยะปานกลางฯ) ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ ส่วนที่ 2 สถานะและประมาณการการคลัง และส่วนที่ 3 เป้าหมายและนโยบายการคลัง โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                    1. สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ
                    ในปี 2568 คาดว่า GDP จะขยายตัวในช่วงร้อยละ 2.8 - 3.8 (ค่ากลางร้อยละ 3.3) และ GDP Deflator อยู่ที่ร้อยละ 1.6 สำหรับในปี 2569 คาดว่า GDP จะขยายตัวอยู่ในช่วงร้อยละ 2.8 - 3.8 (ค่ากลางร้อยละ 3.3) และในปี 2570 และ 2571 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 2.7 - 3.7 (ค่ากลางร้อยละ 3.2) สำหรับอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2569 - 2570 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.3 - 2.3 และในปี 2571 - 2572 จะอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 - 2.5
                    2. สถานะและประมาณการการคลัง
                              2.1 ประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับ 2,887,000 3,040,000 3,204,000 และ 3,394,000 ล้านบาท ตามลำดับ
                              2.2 ประมาณการงบประมาณรายจ่ายปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับ 3,752,700 3,743,000 3,897,000 และ 4,077,000 ล้านบาท ตามลำดับ
                              2.3 จากประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิและงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวในปีงบประมาณ 2568 - 2571 รัฐบาลจะขาดดุลงบประมาณจำนวน 865,700 703,000 693,000 และ 683,000 ล้านบาท หรือร้อยละ 4.42 3.42 3.21 และ 3.01 ต่อ GDP ตามลำดับ
                              2.4 ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 11,131,634.20 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 62.44 ของ GDP และประมาณการสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP สำหรับปีงบประมาณ 2568 - 2571 เท่ากับร้อยละ 66.93 67.53 67.57 และ 67.05 ตามลำดับ
                    3. เป้าหมายและนโยบายการคลัง
                    ในการดำเนินนโยบายการคลังระยะปานกลาง ภาครัฐยังคงให้ความสำคัญกับการเสริมสร้างความเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต โดยยังคงยึดหลักแนวคิด ?Revival? ที่มุ่งเน้นสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเพื่อสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการรักษาวินัยการเงินการคลัง (Fiscal Discipline) อย่างเคร่งครัด ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) ผ่านการสร้างความเข้มแข็งด้านการคลังในด้านต่าง ๆ ทั้งในส่วนของการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญและความจำเป็น ความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและความครอบคลุมจากทุกแหล่งเงินในการใช้จ่ายภาครัฐ ควบคู่ไปกับการทบทวนและยกเลิกมาตรการลดและยกเว้นภาษีให้มีเพียงเท่าที่จำเป็น การปฏิรูปโครงสร้าง และการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ รวมถึงการบริหารจัดการหนี้สาธารณะอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อลดขนาดการขาดดุลการคลังและสร้างกันชนทางการคลัง (Fiscal Buffer) ในการบริหารจัดการพื้นที่สำหรับการดำเนินนโยบายที่จำเป็น (Policy Space) ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะต่อไป
                    สำหรับเป้าหมายการคลังของแผนการคลังฉบับนี้ รัฐบาลยังคงมุ่งเน้นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายแบบขาดดุลในระยะสั้น เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ และมุ่งเน้นการปรับลดขนาดการขาดดุลให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงในระยะปานกลาง ทั้งนี้ หากในระยะต่อไป ภาวะเศรษฐกิจไทยสามารถขยายตัวได้อย่างเต็มศักยภาพ ภาครัฐสามารถเสริมสร้างความเข้มแข็งทางการคลังทั้งทางด้านรายได้ รายจ่าย และหนี้สาธารณะได้ เป้าหมายการคลังในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม โดยมีประมาณการสถานะการคลังในระยะปานกลางภายใต้สมมติฐานทางเศรษฐกิจ ณ ปัจจุบัน ดังนี้
หน่วย: ล้านบาท
ปีงบประมาณ          2567          2568          2569          2570          2571
รายได้รัฐบาลสุทธิ          2,787,000          2,887,000          3,040,000          3,204,000          3,394,000
อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)           4.5          3.6          5.3          5.4          5.9
งบประมาณรายจ่าย          3,480,000          3,752,700          3,743,000          3,897,000          4,077,000
อัตราการเพิ่ม (ร้อยละ)          9.3          7.8          (0.3)          4.1          4.6
ดุลการคลัง          (693,000)          (865,700)          (703,000)          (693,000)          (683,000)
ดุลการคลังต่อ GDP (ร้อยละ)           (3.71)          (4.42)          (3.42)          (3.21)          (3.01)
หนี้สาธารณะคงค้าง          11,876,780          12,841,743          13,618,214          14,307,506          14,936,169
หนี้สาธารณะคงค้างต่อ GDP (ร้อยละ)           65.06          66.93          67.53          67.57          67.05
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)          18,655,983          19,570,126          20,568,202          21,596,612          22,719,636
หมายเหตุ: อัตราการเพิ่มของประมาณการรายได้รัฐบาลสุทธิ ปีงบประมาณ 2567 เทียบกับผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิ ปีงบประมาณ 2566 ในขณะที่ อัตราการเพิ่มของวงเงินงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2567 เทียบกับกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่าย ปีงบประมาณ 2566
ที่มา: กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การจัดทำแผนการคลังระยะปานกลางฯ จะเป็นแผนแม่บทหลักให้หน่วยงานของรัฐนำไปใช้ประกอบการพิจารณาในการจัดเก็บหรือหารายได้ การจัดทำงบประมาณ และการก่อหนี้ของหน่วยงานของรัฐตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ. วินัยการเงินการคลังฯ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งภาคการคลังของประเทศในด้าน             ต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางการคลัง (Fiscal Consolidation) เพื่อนำไปสู่ความยั่งยืนทางการคลังในอนาคต


ต่างประเทศ

20.  เรื่อง แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand?s National
Adaptation Plan : NAP)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ (Thailand?s National Adaptation Plan : NAP) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขแผน NAP ที่มิใช่สาระสำคัญขอให้ ทส. โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมพิจารณาดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้ ทส. โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมจัดส่งแผน NAP ต่อสำนักเลขาธิการกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (สำนักเลขาธิการฯ) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ให้สัตยาบันต่อความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ1 (กรอบอนุสัญญาฯ) (ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537) พิธีสารเกียวโต2 (ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2545) และความตกลงปารีส3 (ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวได้กำหนดพันธกรณีที่ภาคีจะต้องปฏิบัติตาม โดยในส่วนของความตกลงปารีสได้กำหนดให้แต่ละภาคีต้องดำเนินการต่าง ๆ เช่น การจัดให้มีการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions : NDCs)4 การจัดทำและสื่อสารยุทธศาสตร์ระยะยาวในการพัฒนาแบบปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศ (Long-term Low Greenhouse Gas Emission Development Strategies : LT-LEDS)5 (ยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ) เป็นต้น (ซึ่งที่ผ่านมา ทส. ได้ดำเนินการจัดทำ NDCs และยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ ดังกล่าวแล้ว)
                    2. นอกจากนี้ ข้อ 7.9 ของความตกลงปารีส กำหนดว่าแต่ละภาคีต้องจัดทำแผน NAP และนำไปปฏิบัติ รวมถึงการจัดทำและเสริมสร้างแผน นโยบายหรือการมีส่วนร่วมที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม โดยในปัจจุบันมีประเทศที่จัดส่งแผน NAP ต่อสำนักเลขาธิการฯ แล้วจำนวน 51 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศพัฒนาน้อยที่สุด (Least Developed Counties : LDCs) และประเทศกำลังพัฒนา (Developing Countries) สำหรับประเทศในภูมิภาคอาเซียนที่จัดส่งแผน NAP แล้วมี จำนวน 2 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐประชาธิปไตยติมอร์ - เลสเต.,ทั้งนี้ แผน NAP จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถดำเนินการตามเป้าหมาย NDCs และยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ
                    3. แผน NAP (ข้อเสนอของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในครั้งนี้) เป็นแนวทางการดำเนินงานของประเทศเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ระบุ NDCs ในส่วนของมาตรการการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมุ่งเน้นการกำหนดแนวทางการดำเนินงานเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การรับมือกับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ การพัฒนาระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ การพัฒนาระบบประกันสุขภาพที่ครอบคลุมความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยพิบัติของแหล่งท่องเที่ยว เป็นต้น ทั้งนี้แผนดังกล่าวสอดคล้องกับแผนแม่บทรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาส พ.ศ. 2558 ? 2593 [มติคณะรัฐมนตรี (14 กรกฎาคม 2558)]
                    4. ทส. แจ้งว่า แผน NAP จะเป็นโอกาสให้ประเทศไทยเข้าถึงการสนับสนุนทางการเงิน (เช่น กองทุนภูมิอากาศสีเขียว กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก กองทุนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น) การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี และเสริมสร้างขีดความสามารถในการดำเนินงานด้านการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศ และเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกตามกรอบอนุสัญญาฯ และความตกลงปารีส ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ [รองนายกรัฐมนตรี (พลตำรวจเอก พัชรวาทฯ) เป็นประธาน] ในการประชุมครั้งที่ 4/2566 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 มีมติเห็นขอบในหลักการต่อแผน NAP แล้ว และมอบหมาย ทส. (กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม) นำเสนอแผน NAP ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนนำส่งสำนักเลขาธิการฯ ต่อไป

???????????_______________________________
1กรอบอนุสัญญาฯ ประกอบด้วยประเทศสมาชิก 198 ประเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาความเข้มข้นของปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย และมีพันธกรณีให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตาม เช่น การจัดทำรายงานแห่งชาติ การจัดทำบัญชีรายการปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและการแลกเปลี่ยนข้อมูล เป็นต้น
2 พิธีสารเกียวโต เป็นพิธีสารภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดพันธกรณีเพิ่มเติมแก่ประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากเป็นประเทศที่มีส่วนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศสูงกว่าประเทศอื่น ๆ
3ความตกลงปารีส เป็นความตกลงภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกำหนดความร่วมมือในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) การควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่ให้สูงเกินกว่า 1.5 - 2 องศาเซลเซียส (2) การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ (3) การทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียนสำหรับแนวทางตาม (1) และ (2)
4การมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (NDCs) เป็นการดำเนินการภายใต้ความตกลงปารีส โดยเป็นการระบุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศภาคีในระยะสั้น และการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว
5ยุทธศาสตร์ระยะยาวฯ (LT-LEDS) เป็นการดำเนินการภายใต้ความตกลงปารีส โดยมีสาระสำคัญเป็นกำหนดเป้าหมายในระยะยาว และนโยบายสำหรับการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกและการมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

21. เรื่อง  ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทยและสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ1 ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน2 (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ อว. ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้ง อนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. อว. ร่วมกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของจีนจัดการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี3 ครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2566 ณ กรุงเทพมหานคร โดยที่ประชุมเห็นชอบให้บรรจุความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) เพิ่มเติมอีก 1 สาขา จากเดิมที่ได้มีการขับเคลื่อนความร่วมมือ 5 สาขา ได้แก่ (1) People to People Exchange & Talented Young Scientists Visiting Program (2) Technology Transfer (3) Rail System (4) Poverty Eradication และ (5) Nuclear Fusion ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ (เป็นความร่วมมือระดับหน่วยงาน) ที่สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) กับศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศเชิงลึก (Deep Space Exploration Laboratory: DSEL) (หน่วยงานภายใต้ CNSA) ได้มีการลงนามร่วมกัน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เสนอให้มีการยกระดับความร่วมมือจากระดับหน่วยงานให้เป็นระดับกระทรวงโดย อว. และ CNSA
                    2. อว. และ CNSA ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางรากฐานความร่วมมือระหว่าง อว. และ CNSA ในการร่วมสร้างสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ การสำรวจและใช้ประโยชน์จากอวกาศ รวมถึงดวงจันทร์และวัตถุในท้องฟ้าอื่น ๆ ซึ่งไทยจะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และขยายความร่วมมือด้านการสำรวจอวกาศพื่อนำไปสู่การพัฒนากำลังคนในสาขาที่เป็นเทนโลขั้นสูงต่อไป
                    3. กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติ และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวร่วมกับสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (China National Space Administration: CNSA) ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งการดำเนินการในเรื่องนี้เป็นการขับเคลื่อนและยกระดับความร่วมมือระหว่างกันจากเดิมที่ได้เคยมีความร่วมมือในระดับหน่วยงานภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ(International Lunar Research Station: ILRS) ซึ่งได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2566 ให้เป็นความร่วมมือในระดับกระทรวงที่ครอบคลุมขอบเขตความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น การวิจัยทางวิทยาศาสตร์บนพื้นผิวดวงจันทร์ การใช้ประโยชน์จากอวกาศในการสำรวจ ซึ่งเป็นการดำเนินการภายใต้สนธิสัญญาว่าด้วยหลักเกณฑ์การดำเนินกิจการของรัฐในการสำรวจและการใช้อวกาศส่วนนอก รวมทั้งดวงจันทร์และเทหะ (วัตถุ) ในท้องฟ้าอื่น ๆ ที่คณะรัฐนตรีได้เคยมีมติ (19 พฤศจิกายน 2511) และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2511 ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศ (กรมเอเชียตะวันออก) พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องในสารัตถะและถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติ และเห็นว่าไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วมีความเห็นสอดคล้องกัน และโดยที่เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศหรือที่เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันรัฐบาลไทย จึงเข้าข่ายลักษณะเรื่องที่ให้เสนอคณะรัฐมนตรีได้ตามมาตรา 4 (7) แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการเสนอเรื่อง และการประชุมคณะรัฐมนตรี พ.ศ. 2548
1 อว. แจ้งว่า สถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ (International Lunar Research station: ILRS) เป็นสถานีทดลองทางวิทยาศาสตร์แบบรอบด้าน เป็นฐานที่ใช้ทดลองทางวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ ในระยะยาว เช่น การสำรวจดวงจันทร์ การใช้ประโยชน์จากดวงจันทร์ การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์จากดวงจันทร์ การทดลองทางวิทยาศาสตร์พื้นฐานบนดวงจันทร์ และการทดสอบ
เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง มีการดำเนินการทั้งหมด 3 ระยะ ซึ่งริเริ่มก่อตั้งโดยจีนร่วมกับสหพันรัฐรัสเซียและประเทศ    ต่าง ๆ ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการ ระยะที่ 1 คือ การก่อสร้างสถานีเกี่ยวกับการจัดส่งยานอวกาศและอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการสำรวจ และจะสิ้นสุดการดำเนินการ ระยะที่ 3 ปี ค.ศ. 2050 อย่างไรก็ตาม เมื่อไทยได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ที่เสนอในครั้งนี้ ไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เข้าร่วมในการสร้างสถานีวิจัยดวงจันทร์ ระหว่างประเทศ และในนาคตไทยสามารถขอรับการสนับสนุนในการพัฒนาอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ประโยชน์ต่องานวิจัย วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงต่อไป โดยจัดทำข้อเสนอโครงการเสนอไปยังจีน
2สำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (CNSA) เป็นหน่วยงานของรัฐของจีนที่มีภารกิจงานเกี่ยวกับอวกาศภาคพลเรือนและความร่วมมือกับต่างประเทศทางด้านอวกาศ ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่ทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของประเทศทางด้านอวกาศ
3 อว. แจ้งว่า คณะกรรมการร่วมไทย-จีน เพื่อความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจัดตั้งขึ้นภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ วิชาการ และนวัตกรรม ระหว่าง อว. และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งจีน ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2562

22.  เรื่อง  ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 11
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 11  ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 11 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ขอให้กระทรวงการคลังดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง  รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน ครั้งที่ 11 ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                    1. นายสันติพาบ พมวิหาน (H.E. Santiphab Phomvihane) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน สปป. ลาว ในฐานะประธานร่วมกับนายบุนเหลือ สินไซวอระวง (H.E. Bounleua Sinxayvoravong) ผู้ว่าการธนาคารแห่ง สปป. ลาว ในการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน (ASEAN Finance Ministers' and Central Bank Governors' Meeting: AFMGM) ครั้งที่ 11 ได้มีหนังสือเชิญรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเข้าร่วมการประชุมข้างต้นและการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 1-6 เมษายน 2567
                    2. สปป. ลาว ได้มีกำหนดจัดการประชุม AFMGM ครั้งที่ 11 ในวันที่ 5 เมษายน 2567 ณ เมืองหลวงพระบาง สปป. ลาว โดยที่ประชุมจะพิจารณาให้การรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อเป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมดังกล่าว
                    3. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ จัดทำขึ้นบนหลักการพื้นฐานของการเป็นประชาคมอาเซียน คือ                      การส่งเสริมความร่วมมือและให้ความช่วยเหลือระหว่างกันในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภูมิภาคอาเซียนและการรักษาความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) โดยร่างแถลงการณ์ร่วมฯ มีเนื้อหาแสดงถึงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนในการร่วมกันส่งเสริมประชาคมอาเซียน เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนในด้านความเชื่อมโยงและการสร้างภูมิคุ้มกัน ส่งเสริมความเชื่อมโยงของโครงสร้างพื้นฐานและส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและหุ้นส่วนนอกภาคี ผ่านการรักษาความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องภายในภูมิภาค โดยมุ่งให้สอดคล้องกับแนวยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ของ สปป. ลาว ในฐานะประธานอาเซียน ปี 2567 ได้แก่ (1) การบูรณาการและเชื่อมโยงเศรษฐกิจ (2) การสร้างอนาคตที่ทั่วถึงและยั่งยืน และ (3) การเปลี่ยนแปลงเพื่ออนาคตดิจิทัล
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ  แสดงถึงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียนในการส่งเสริมความร่วมมือด้านการเงินการคลังระหว่างกันและจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียนในการพัฒนาเศรษฐกิจและการเงินการคลัง รวมทั้งการดำเนินงานเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการรวมตัวภาคการเงินภายใต้แผนงานประชาคมเศษฐกิจอาเซียน 2025 (ASEAN Economic Community 2025 Blueprint) อีกด้วย

23. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการสำรวจและการใช้อวกาศส่วนนอกเพื่อสันติ
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ว่าด้วยความร่วมมือด้านการสำรวจและการใช้อวกาศส่วนนอกเพื่อสันติ ทั้งนี้ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                    สาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งราชอาณาจักรไทย กับสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านการสำรวจและการใช้อวกาศส่วนนอกเพื่อสันติ (Memorandum of Understanding between the Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation of the Kingdom of Thailand and China National Space Administration on Cooperation in the Exploration and Use of Outer Space for Peaceful Purposes) มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังนี้
                    1. หลักการ การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวางรากฐานสำหรับการพัฒนาและดำเนินความร่วมมือที่ก่อห้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ในการสำรวจและการใช้อวกาศส่วนนอกเพื่อสันติ โดยทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมร่วมกันโดยมีสาระสำคัญในการพัฒนาอย่างสันติในสาขาวิทยาศาสตร์อวกาศ เทคโนโลยีอวกาศ และการประยุกต์ใช้อวกาศเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ รวมถึงเพื่อกระชับความร่วมมือไทย - จีนในด้านอวกาศอย่างยั่งยืน
                    2. ขอบเขตความร่วมมือ ภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ครอบคลุม 5 สาขา ได้แก่ 1) การสำรวจอวกาศ (ดวงจันทร์/ดาวอังคาร) โดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือด้านสถานีวิจัยดวงจันทร์ระหว่างประเทศ 2) การเฝ้าระวังทางอวกาศ/การจัดการจราจรทางอวกาศ 3) การประยุกต์ใช้อวกาศโดยให้ความสำคัญกับความร่วมมือในการแบ่งปันและการประยุกต์ใช้ข้อมูลการสำรวจระยะไกล 4) การพัฒนากำลังคนด้านอวกาศ ซึ่งไม่จำกัดเฉพาะ การปล่อยจรวด การร่วมพัฒนาดาวเทียม อุปกรณ์รองรับภารกิจของดาวเทียม และโครงสร้างอำนวยความสะดวกภาคพื้นดิน และ 5) ความร่วมมือในสาขาอื่น ๆ
                    3. รูปแบบความร่วมมือ ภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ครอบคลุม 5 กิจกรรม ได้แก่ 1) การวางแผนและดำเนินโครงการร่วมด้านอวกาศ 2) การดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนและการฝึกอบรมบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์อย่างเป็นรูปธรรม 3) การแลกเปลี่ยนอุปกรณ์ เอกสาร ข้อมูล ผลการทดลองและข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไปตามข้อกฎหมายของทั้งสองฝ่าย 4) การร่วมจัดประชุมทางวิชาการและประชุมเชิงปฏิบัติการด้านวิทยาศาสตร์ และ 5) ความร่วมมือรูปแบบอื่น ๆ ตามที่เห็นพ้องกัน โดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีนจะส่งเสริมและสนับสนุนความร่วมมือระหว่างองค์กร สถาบันและหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย - จีน รวมทั้งสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์วิจัยหรือห้องปฏิบัติการร่วมเพื่อสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำเนินโครงการร่วมระหว่างหน่วยงาน
                    4. การดำเนินการ ภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีนจะจัดตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานร่วมโดยจะมีการกำหนดสาขาความร่วมมือซึ่งต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการร่วมก่อนการดำเนินการ
                    ประโยชน์และผลกระทบ
                    การจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ ฉบับนี้เป็นการยกระดับความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และสำนักงานบริหารอวกาศแห่งชาติจีน ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง ตลอดจนการพัฒนากำลังคนและพัฒนาอุตสาหกรรมอวกาศของไทยต่อไป

แต่งตั้ง

24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเสนอแต่งตั้ง นายกมลสิษฐ์ วงศ์บุตรน้อย ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงพาณิชย์)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงพาณิชย์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นางอารดา เฟื่องทอง รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                     2. ร้อยตรี จักรา ยอดมณี รองอธิบดีกรมการค้าภายใน ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

26. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง พันตำรวจเอก บุญส่ง จันทรีศรี เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ (ด้านกฎหมาย) ในคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล แทน นางสาวพัดชา พงศ์กีรติยุต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีอายุครบหกสิบห้าปีบริบูรณ์ เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2567 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป และผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่ตนได้รับแต่งตั้งแทน

27. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย
                      คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน เพื่อแทนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออก ดังนี้
                     1. นายเกรียงไกร เจริญผล
                     2. นายวีรวัฒน์ ยมจินดา
                     3. นางสุภาวดี สุวรรณประทีป
                     4. นายสำเริง แสงภู่วงค์
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

28. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งกรรมการอื่นในคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ จำนวน 8 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน และผู้แทนเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 4 คน เนื่องจากกรรมการอื่นเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2566 ดังนี้
                     ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 คน
                      1. นายเชิดชัย พรหมแก้ว
                     2. นายวิศิษฐ์ ลิ้มสมบุญชัย
                     3. นางสาวจูอะดี พงศ์มณีรัตน์
                     4. นายนำชัย พรหมมีชัย
                     ผู้แทนเกษตรกรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 4 คน
                     1. นายศตวรรษ จันทร์ทอง
                     2. นางเคียงเดือน สงวนชื่อ
                     3. นายบรรจง นิสภวาณิชย์
                     4. นายสำราย นิลกิ่ง
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

29. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย รวม 4 คน แทนประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งก่อนครบวาระ เนื่องจากลาออก ดังนี้
                      1. นายเสรี นนทสูติ                                ประธานกรรมการ
                     2. นายกฤษณ์ กระแสเวส                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     3. นางสาวนพรัตน์ มุณีรัตน์                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                     4. ศาสตราจารย์ปาริชาต สถาปิตานนท์            กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                       ทั้งนี้ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของผู้ซึ่งตนแทน

30. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้ง นางจิติธาดา                   ธนะโสภณ รองอธิบดีกรมสรรพสามิต ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์ภาษีสรรพสามิต (นักวิชาการสรรพสามิตทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นวันที่ตำแหน่งว่างลงเนื่องจากผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

31. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                      (กระทรวงสาธารณสุข)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายสุเมธ                 องค์วรรณดี ผู้อำนวยการสำนักงาน [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 จังหวัดนครราชสีมา กรมควบคุมโรค ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรมป้องกัน) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                        (กระทรวงสาธารณสุข)
                      คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายเกษม                 เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (แพทย์) สูง] ศูนย์อนามัยที่ 4 สระบุรี กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านอนามัยผู้สูงอายุ) กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง                เป็นต้นไป

33. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                  (กระทรวงสาธารณสุข)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ดังนี้
                      1. นายอรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านสาธารณสุข) กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านสาธารณสุข) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
                     2. นายสืบสาย คงแสงดาว นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรศาสตร์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์
                     3. นางสาวจินตาหรา ติณหภัทร นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม) โรงพยาบาลหนองคาย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และเป็นวันที่ตำแหน่งว่างลงเนื่องจากผู้ครองตำแหน่งอยู่เดิมเกษียณอายุราชการ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ                              (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอแต่งตั้ง นางภาวิณา อัศวมณีกุล ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป

35. เรื่อง คณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กระทรวงคมนาคม)                                                                 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอแต่งตั้งคณะกรรมการต่าง ๆ ที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี จำนวน 6 คณะ ดังนี้
                      1. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
                      2. คณะกรรมการร่วมถาวรไทย - มาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์
                      3. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ
                      4. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศ
                      5. คณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ
                      6. คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ
                      ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน 2567 เป็นต้นไป

                      รายละเอียดองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ 6 คณะ
                       1. คณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
                       องค์ประกอบชุดใหม่ รองปลัดกระทรวงคมนาคมที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมเจ้าท่า หรือผู้แทน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางน้ำ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือผู้แทน ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนกองทัพเรือ ผู้แทนกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ผู้แทนกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนกรมควบคุมมลพิษ ผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมเจ้าของเรือไทย โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแห่งชาติในการประสานงานติดต่อกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
                      2) ศึกษา วิเคราะห์ และติดตามข้อมติและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ขององค์การ ฯ เพื่อแจ้ง ติดตาม และเร่งรัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้กำหนดเป้าหมาย นโยบาย และแผนงาน รวมทั้งกิจกรรมด้านการขนส่งทางน้ำของกระทรวงคมนาคม
                     3) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานแห่งชาติเพื่อประสานงาน ติดต่อ และมอบหมายให้หน่วยราชการและเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการขนส่งทางน้ำ ให้ดำเนินการและปฏิบัติตามนโยบายและแผนงาน และเป้าหมายที่กระทรวงคมนาคมได้กำหนดไว้ เพื่อให้สอดคล้องกับอำนาจหน้าที่ในข้อ 2
                      4) ศึกษา พิจารณา และวิเคราะห์ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะของหน่วยราชการ และเอกชนที่เกี่ยวข้องกับกิจการขนส่งทางน้ำในการเข้าร่วมกิจกรรมขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ
                      5) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการคณะกรรมการ ฯ เพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

                       2. คณะกรรมการร่วมถาวรไทย - มาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่าย ผ่านแดนมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                      รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นประธานกรรมการ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก หรือผู้แทน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือผู้แทน ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมศุลกากร และผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                      หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                      1) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยและร่วมปรึกษาหารือกับฝ่ายมาเลเซียภายใต้กรอบบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งมาเลเซีย ว่าด้วยการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่ายผ่านแดนโดยทางถนนจากไทยผ่านมาเลเซียไปยังสิงคโปร์ พ.ศ. 2522 ดังนี้
                               1.1) ปรับปรุงเงื่อนไขและวิธีการดำเนินการตลอดจนตกลงเกี่ยวกับจำนวนประเภทของสินค้า และรถบรรทุกและเรื่องอื่น ๆ
                               1.2) พิจารณาและร่วมปรึกษาหารือกับมาเลเซีย เพื่อแก้ไขปัญหาและอุปสรรคข้อขัดข้องที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง
                               1.3) แลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าว ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการขนส่ง
                     2) พิจารณากำหนดคุณสมบัติและคัดเลือกผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเน่าเสียง่าย ทั้งในกรณีคัดเลือกผู้ประกอบการแทนรายเดิมที่เลิกประกอบการไป และกรณีที่มีการเพิ่มจำนวนรถในอนาคต
                     3) แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการและคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ ตามความจำเป็น

                      3. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศเป็นประจำ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                      ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) และอธิบดีกรมการขนส่งทางบก หรือผู้แทน เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการขนส่งทางบก สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) ประสาน ติดตาม ประมวลผล จัดทำข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการขนส่งทางบกระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศที่นอกเหนือไปจากกรอบความตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                     2) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงเกี่ยวกับการขนส่งทางบกกับรัฐบาลต่างประเทศที่นอกเหนือไปจากกรอบความตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดน ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                     3) ควบคุมทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งภายใต้ความตกลงต่าง ๆ ที่นอกเหนือไปจากกรอบความตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบของอาเซียน ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                     4) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การขนส่งผ่านแดนและการขนส่งข้ามแดนมีประสิทธิภาพ
                     5) เชิญผู้แทนหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมเพื่อให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
                     6) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

                      4. คณะกรรมการผู้แทนรัฐบาลเพื่อพิจารณาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศ
                      องค์ประกอบชุดใหม่
                      ผู้แทนสมาคมตัวแทนขนส่งสินค้าทางอากาศไทย เป็นที่ปรึกษา ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านการขนส่ง) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้แทน ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทน ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โดยมีรองผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและเลขานุการ ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมกิจการการบินพลเรือน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย หัวหน้าฝ่ายความตกลงและกฎข้อบังคับระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม และหัวหน้ากองความตกลงว่าด้วยบริการเดินอากาศฝ่ายพัฒนาและส่งเสริมกิจการการบินพลเรือน สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                       1) ดำเนินการเจรจาและกำหนดท่าทีในการเจรจาทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางอากาศกับรัฐบาลต่างประเทศทั้งในและต่างประเทศ
                      2) พิจารณาปัญหาเกี่ยวกับบริการเดินอากาศทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                      3) แต่งตั้งผู้ช่วยเลขานุการและคณะกรรมการได้ตามความจำเป็น

                      5. คณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (คงเดิมทุกตำแหน่ง)
                      รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย รองปลัดกระทรวงคมนาคม อธิบดีกรมการขนส่งทางบก หรือผู้แทน ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยมีผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ กองการต่างประเทศ และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                     หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                     1) ประสาน ติดตาม ประมวลผล จัดทำข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการขนส่งระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                       2) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส ของคณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (National Transport Facilitation Committee Senior Official Meeting: NTFC SOM) การประชุมคณะกรรมการร่วมสำหรับความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Joint Committee) การประชุมที่เกี่ยวข้อง ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                     3) ควบคุมทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                     4) เป็นหน่วยงานแห่งชาติในการประสานงานติดต่อกับคณะกรรมการอำนวยความสะดวกการขนส่งแห่งชาติ (National Transport Facilitation Committee: NTFC) ของประเทศอื่น ๆ และประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อให้มีการดำเนินงานตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และความตกลงอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายใต้ความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
                     5) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การขนส่งผ่านแดนและการขนส่งข้ามแดนดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
                     6) เชิญผู้แทนหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม เพื่อให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
                     7) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

                      6. คณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ
                     องค์ประกอบชุดใหม่
                    ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธานกรรมการ รองปลัดกระทรวงคมนาคม (ที่ได้รับมอบหมาย) เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนกรมการขนส่งทางบก ผู้แทนกรมทางหลวง ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทย ผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้แทนกรมศุลกากร ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ผู้แทนสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และผู้แทนสมาคมรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ โดยมี ผู้อำนวยการกองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า และเจ้าหน้าที่กรมการขนส่งทางบก เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
                       หน้าที่และอำนาจ (คงเดิม)
                       1) ประสาน ติดตาม ประมวลผล จัดทำข้อมูลเสนอต่อรัฐบาลเพื่อปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งดำเนินการเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงด้านการขนส่งทางถนนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบระหว่างประเทศที่ประเทศไทยได้ทำกับรัฐบาลต่างประเทศ ภายใต้กรอบความตกลงอาเซียน
                      2) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนของอาเซียน (ASEAN Transit Transport Coordinating Board: TTCB) และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                     3) พิจารณากำหนดท่าทีฝ่ายไทยสำหรับการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความตกลงด้านการขนส่งทางถนนของอาเซียน
                      4) ควบคุมทะเบียนผู้ประกอบการขนส่งภายใต้กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนโดยยานพาหนะ                ทางถนน
                     5) เป็นหน่วยงานแห่งชาติในการประสานงานติดต่อกับคณะกรรมการประสานการขนส่งผ่านแดนแห่งชาติ (National Transit Transport Coordinating Committee: NTTCC) ของประเทศอื่น ๆ และประสานงานกับหน่วยงานราชการและเอกชน เพื่อให้มีการดำเนินงานตามกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งข้ามแดน กรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งผู้โดยสารข้ามพรมแดนโดยยานพาหนะทางถนน และกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
                     6) ดำเนินการอื่นใดที่จำเป็นเพื่อให้การขนส่งผ่านแดน การขนส่งข้ามแดนและการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
                     7) เชิญผู้แทนหน่วยงานหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม เพื่อให้ข้อมูลและข้อคิดเห็นได้ตามความจำเป็น
                     8) แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติงานได้ตามความจำเป็น

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ