สรุปสถานการณ์ภัยแล้ง และการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2552)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday March 18, 2009 16:29 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มีนาคม 2552) สรุปสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้

1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 — 16 มีนาคม 2552)

1.1 พื้นที่ประสบภัย 39 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร ตาก น่าน พิจิตร พิษณุโลก แพร่ พะเยา ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ เชียงใหม่ นครสวรรค์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา สกลนคร สุรินทร์ เลย ยโสธร หนองคาย บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด ระยอง สระแก้ว นครนายก ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช และสตูล รวม 338 อำเภอ 1,725 ตำบล 12,517 หมู่บ้าน (คิดเป็น 28.34 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 39 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 16.70 % ของหมู่ บ้าน ทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน) แยกเป็น

ที่ พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด คน ครัวเรือน 1 เหนือ 14 107 587 4,470 กำแพงเพชร ตาก น่าน 1,260,962 375,350

พิจิตร พิษณุโลก แพร่ พะเยา

ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์

เชียงใหม่ อุทัยธานี นครสวรรค์

2 ตะวันออก 12 160 819 6,322 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ 2,327,758 592,481 เฉียงเหนือ นครพนม นครราชสีมาสกลนคร

สุรินทร์ เลย ยโสธร หนองคาย

บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ

3 กลาง 3 19 111 483 ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี 123,434 30,421 4 ตะวันออก 6 35 133 838 ตราด สระแก้ว จันทบุรี ระยอง 322,194 93,562

ฉะเชิงเทรา นครนายก

5 ใต้ 4 17 75 404 ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล 109,720 36,805 รวมทั้งประเทศ 39 338 1,725 12,517 4,144,068 1,128,619

ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา

ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน 23 ก.พ. 2552 2 มี.ค. 2552 9 มี.ค. 2552 16 มี.ค. 2552 ทั้งหมด หมู่ + เพิ่ม หมู่ + เพิ่ม หมู่ + เพิ่ม หมู่ + เพิ่ม บ้าน - ลด บ้าน - ลด บ้าน - ลด บ้าน - ลด 1 เหนือ 16,590 3,174 715 3,174 0 3,727 553 4,470 743 2 ตะวันออก 33,099 872 96 2,538 1,666 4,015 1,477 6,322 2,307 เฉียงเหนือ 3 กลาง 11,736 306 0 306 0 483 177 483 0 4 ตะวันออก 4,859 1,067 73 1,067 0 730 -337 838 108 5 ใต้ 8,660 108 0 334 226 277 -57 404 127 รวม 74,944 5,527 884 7,419 1,892 9,232 1,813 12,517 3,285

ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2552 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน

ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน ข้อมูลปี 2552 ข้อมูลปี 2551 เปรียบเทียบข้อมูลภัย ทั้งประเทศ (ณ วันที่ 16 มีนาคม 2552) (ณ วันที่ 16 มีนาคม 2551) แล้ง ปี 2552 กับปี 2551 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ จำนวน คิดเป็นร้อย ที่ประสบ (ของหมู่บ้านทั้ง ที่ประสบ (ของหมู่บ้านทั้ง หมู่บ้าน ละของหมู่ ภัยแล้ง ประเทศ) ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) + เพิ่ม/ บ้านที่ประ
  • ลด สบภัยแล้ง
1 เหนือ 16,590 4,470 26.94 3,204 19.31 1,266 39.51 2 ตะวันออก 33,099 6,322 19.1 9,187 27.76 -2,865 -31.19 เฉียงเหนือ 3 กลาง 11,736 483 4.12 1,014 8.64 -531 -52.37 4 ตะวันออก 4,859 838 17.25 1,199 24.68 -361 -30.11 5 ใต้ 8,660 404 4.67 102 1.18 302 296.08 รวม 74,944 12,517 16.7 14,706 19.62 -2,189 -14.89

เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 45 จังหวัด 356 อำเภอ 2,242 ตำบล 14,706 หมู่บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 14,706 หมู่บ้าน คิดเป็น 28.91 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 45 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 19.62 % ของ หมู่บ้านทั้งหมดของประเทศ) ปี 2552 น้อยกว่าปี 2551 จำนวน 6 จังหวัด 2,189 หมู่บ้าน

1.2 ความเสียหาย

  • ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 4,144,068 คน 1,128,619 ครัวเรือน
  • พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 367,138 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 96,036 ไร่ นาข้าว 179,136 ไร่ พืชสวนและ
อื่นๆ 91,966 ไร่

1.3 การให้ความช่วยเหลือ

1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,089 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 135,495,190 ลิตร

2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 2,515 แห่ง

3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 495 แห่ง

4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 262,951,235 บาท แยกเป็น งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 114,504,523 บาท งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 144,541,581 บาท งบอื่นๆ 3,905,131 บาท

5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 773 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือ โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 212 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 310 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง 207 เครื่อง และภาคใต้ 44 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 295 คัน

6) การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค 228 แห่ง สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่ รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่ นำไปช่วยเหลือประชาชน โดยหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องมีหนังสือแจ้งพร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกน้ำให้แก่สำนักงานการประปา ด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ได้สนับสนุนจ่ายน้ำ ช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 115 ล้านลิตร เป็นจำนวนเงิน 1,841,644บาท

2. พายุฤดูร้อน เมื่อวันที่ 13-14 มีนาคม 2552 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ทำให้ได้รับความ เสียหายใน 9 จังหวัด 14 อำเภอ มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บ 5 ราย บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย จำนวน 263 หลัง แยกเป็น

1) จังหวัดจันทบุรี ที่ อ.เมืองจันทบุรี อ.ท่าใหม่ อ.แก่งหางแมว อ.สอยดาว เบื้องต้นบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย จำนวน 131 หลัง มีผู้เสียชีวิต 1 ราย คือ นางสาน มั่งคั่ง อายุ 83 ปี และได้รับบาดเจ็บ 1 ราย คือ นายวุฒิ มั่งคั่ง (อ.แก่งหางแมว) ความ เสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

2) จังหวัดสระแก้ว ที่ หมู่ที่ 7 ต.ผ่านศึก อ.อรัญประเทศ เบื้องต้นบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายประมาณ 20 หลัง ความ เสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

3) จังหวัดลพบุรี ที่ ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล เบื้องต้นบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายประมาณ 12 หลัง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

4) จังหวัดกาญจนบุรี ที่ ต.บ้านเก่า อ.เมืองกาญจนบุรี เบื้องต้นบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายประมาณ 52 หลัง ความเสีย หายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

5) จังหวัดสุรินทร์ ที่ ต.กังแอน อ.ปราสาท เบื้องต้นบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหาย จำนวน 30 หลัง ความเสียหายอื่นๆ อยู่ ระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม

6) จังหวัดนครพนม ที่ อ.เมืองนครพนม ในเขตเทศบาลเมือง อ.เรณูนคร (ต.หนองย่างชิ่น ต.เรณู ต.เรณูใต้ ต.โพนทอง ต. นางงาม) อ.ธาตุพนม (ต.พระกลางทุ่ง) เบื้องต้นบ้านเรือนราษฎรได้รับความเสียหายประมาณ 13 หลัง ความเสียหายอื่นๆ อยู่ระหว่างการสำรวจ เพิ่มเติม

7) จังหวัดอุบลราชธานี ที่ อ.เขมราฐ (ต.เขมราฐ ต.หนองนกทา ต.หนองผือ ต.แก้งเหนือ) บ้านเรือนราษฎรได้รับความเสีย หายประมาณ 5 หลัง ความเสียหายอื่น ๆ อยู่ระหว่าง การสำรวจเพิ่มเติม

8) จังหวัดยโสธร ที่ อ.ป่าติ้ว อ.ทรายมูล ความเสียหายอยู่ระหว่างการสำรวจ

9) กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนอง และลมกระโชกแรงในเขตสายไหม ถนนเพิ่ม สิน ซอยเพิ่มสิน 41 ทำให้เสาไฟฟ้า จำนวน 5 ต้น ล้มทับรถยนต์ 7 คัน และผู้ได้รับบาดเจ็บ จำนวน 4 คน ได้นำตัวส่งโรงพยาบาลสายไหม

3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 15-21 มีนาคม 2552

3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า ในช่วงวันที่ 15-16 มีนาคม 2552 ความกดอากาศสูงกำลังแรงจากประเทศจีน ยังคงแผ่เข้าปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนภาคใต้ จะมีฝนเพิ่มขึ้นและคลื่นลมในอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 17-21มีนาคม 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมประเทศไทยจะมี กำลังอ่อนลง ทำให้อากาศร้อนขึ้นและมีฝนลดลง

3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน อาจทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลักษณะของฝนฟ้า คะนองลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตก สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือนประชาชน รวมทั้งพืชผลทางการเกษตร และให้ศูนย์ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ไว้ ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 17 มีนาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ