คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และการให้ ความช่วยเหลือ (ข้อมูล ณ วันที่ 3 เมษายน 2552) สรุปสถานการณ์ภัยแล้งดังกล่าว รวมทั้งผลการปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชน ดังนี้
1. สรุปสถานการณ์ภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2551 — 3 เมษายน 2552)
1.1 พื้นที่ประสบภัย 53 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ตาก นครสวรรค์ น่าน พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยนาท ประจวบ คีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ระยอง สระแก้ว ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช สตูล และสุราษฎร์ธานี รวม 490 อำเภอ 2,582 ตำบล 19,461 หมู่บ้าน (คิดเป็น 32.01 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 53 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิด เป็น 25.97 % ของหมู่บ้านทั้งประเทศ 74,944 หมู่บ้าน) แยกเป็น
ที่ พื้นที่ประสบภัย ราษฎรประสบภัย ภาค จังหวัด อำเภอ ตำบล หมู่บ้าน รายชื่อจังหวัด คน ครัวเรือน 1 เหนือ 16 148 863 6,182 กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ 2,151,084 656,248ตาก นครสวรรค์ น่าน พิจิตร
พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ พะเยา
ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์
อุทัยธานี
2 ตะวันออก 19 247 1,246 10,828 กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม 4,118,911 1,067,618 เฉียงเหนือ นครราชสีมา บุรีรัมย์มหาสารคามมุกดาหาร ยโสธรร้อยเอ็ด เลย
สกลนคร สุรินทร์ หนองคาย
หนองบัวลำภู ศรีสะเกษ อุดรธานี
อุบลราชธานี อำนาจเจริญ
3 กลาง 6 38 252 1,163 ชัยนาท ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี 550,277 138,933ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี
4 ตะวันออก 7 37 137 850 จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด 327,772 95,380นครนายก ระยอง สระแก้ว
5 ใต้ 5 20 84 438 ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช 117,200 38,768สตูล สุราษฎร์ธานี
รวมทั้งประเทศ 53 490 2,582 19,461 7,265,244 1,996,947ตารางข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งเปรียบเทียบกับจำนวนพื้นที่ประสบภัยแล้งใน 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน 16 มี.ค. 2552 23 มี.ค. 2552 30 มี.ค. 2552 3 เม.ย.2552 ทั้งหมด หมู่ + เพิ่ม หมู่ + เพิ่ม หมู่ + เพิ่ม หมู่ + เพิ่ม บ้าน - ลด บ้าน - ลด บ้าน - ลด บ้าน - ลด 1 เหนือ 16,590 4,470 743 5,433 963 6,182 749 6,182 0 2 ตะวันออก 33,099 6,322 2,307 9,721 3,399 10,828 1,107 10,828 0 เฉียงเหนือ 3 กลาง 11,736 483 0 1,073 590 1,163 90 1,163 0 4 ตะวันออก 4,859 838 108 861 23 861 0 850 -11 5 ใต้ 8,660 404 127 438 34 438 0 438 0 รวม 74,944 12,517 3,285 17,526 5,009 19,472 1,946 19,461 -11ตารางเปรียบเทียบข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้งปี 2552 กับปี 2551 ในห้วงเวลาเดียวกัน
ที่ ภาค จำนวนหมู่บ้าน ข้อมูลปี 2552 ข้อมูลปี 2551 เปรียบเทียบข้อมูลภัย ทั้งประเทศ (ณ วันที่ 3 เมษายน 2552) (ณ วันที่ 3 เมษายน 2551) แล้ง ปี 2552 กับปี 2551 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ จำนวน คิดเป็นร้อย ที่ประสบ (ของหมู่บ้านทั้ง ที่ประสบ (ของหมู่บ้านทั้ง หมู่บ้าน ละของหมู่ ภัยแล้ง ประเทศ) ภัยแล้ง ทั้งประเทศ) + เพิ่ม/ บ้านที่ประ- ลด สบภัยแล้ง
เปรียบเทียบช่วงเวลาเดียวกันของปี 2551 มีจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง รวม 55 จังหวัด 487 อำเภอ 3,138 ตำบล 24,936 หมู่ บ้าน (หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง 24,936 หมู่บ้าน คิดเป็น 41.58 % ของหมู่บ้านทั้งหมดใน 55 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง และคิดเป็น 33.27 % ของหมู่ บ้านทั้งหมดของประเทศ) ปี 2552 น้อยกว่าปี 2551 จำนวน 2 จังหวัด 5,475 หมู่บ้าน
1.2 ความเสียหาย
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 7,265,244 คน 1,996,947 ครัวเรือน
- พื้นที่การเกษตรคาดว่าจะเสียหาย รวม 832,673 ไร่ แยกเป็น พืชไร่ 423,479 ไร่ นาข้าว 240,601 ไร่ พืชสวน
1.3 การให้ความช่วยเหลือ
1) ใช้รถบรรทุกน้ำ 1,779 คัน แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคแล้ว จำนวน 392,784,914 ลิตร
2) ซ่อมสร้างทำนบ/ฝายชั่วคราวปิดกั้นลำน้ำ 4,414 แห่ง
3) ขุดลอกแหล่งน้ำ 1,682 แห่ง
4) งบประมาณดำเนินการใช้จ่ายไปแล้ว 514,890,401 บาท แยกเป็น
- งบทดรองราชการของจังหวัด (50 ล้านบาท) 322,874,630 บาท
- งบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 145,869,988 บาท
- งบอื่น ๆ 46,145,783 บาท
5) กรมชลประทาน ได้จัดส่งเครื่องสูบน้ำ 790 เครื่อง ไปให้ความช่วยเหลือ โดยแยกเป็นรายภาค ดังนี้ ภาคเหนือ 227 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 312 เครื่อง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคกลาง 240 เครื่อง และภาคใต้ 11 เครื่อง รถบรรทุกน้ำ จำนวน 53 คัน ช่วยเหลือใน 14 จังหวัด แจกจ่ายน้ำแล้ว 8,622,000 ลิตร
6) การประปาส่วนภูมิภาค สำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค 228 แห่ง สนับสนุนน้ำฟรีให้แก่รถบรรทุกน้ำของทางราชการที่นำ ไปช่วยเหลือประชาชน โดยหน่วยงานที่ขอรับการสนับสนุนจะต้องมีหนังสือแจ้งพร้อมระบุหมายเลขทะเบียนรถบรรทุกน้ำให้แก่สำนักงานการประปาด้วย ซึ่งตั้งแต่เดือนมกราคม 2552 ได้สนับสนุนจ่ายน้ำช่วยเหลือภัยแล้งไปแล้ว จำนวน 179 ล้านลิตร เป็นจำนวนเงิน 2,879,535 บาท
2. สถานการณ์วาตภัย (ระหว่างวันที่ 21มีนาคม-2 เมษายน 2552)
ในช่วงระหว่างวันที่ 21 มีนาคม-3 เมษายน 2552 ได้เกิดพายุฤดูร้อน ฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ ทำให้ได้รับ ความเสียหายในพื้นที่ 25 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่ พิจิตร พิษณุโลก แพร่ ลำปาง อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม บุรีรัมย์ ยโสธร หนองคาย อุบลราชธานี อำนาจเจริญ กาญจนบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี จันทบุรี ตราด ระยอง ตรัง และสตูล รวม 66 อำเภอ 117 ตำบล 319 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 10,928 คน 2,875 ครัวเรือน เสียชีวิต 2 คน บาดเจ็บ 1 คน บ้านเรือนเสีย หายบางส่วน 2,219 หลัง เสียหายทั้งหลัง 2 หลัง วัด 3 แห่ง สถานที่ราชการ 2 แห่ง พื้นที่การเกษตรเสียหาย 2,794 ไร่ สัตว์เลี้ยง 1 ตัว ยุ้ง ข้าว 2 หลัง
3. การคาดหมายลักษณะอากาศระหว่างวันที่ 2-8 เมษายน 2552
3.1 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายลักษณะอากาศว่า บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมทะเลจีนใต้และประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลัง อ่อนลง และในขณะที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางมีอากาศร้อน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฝน ฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ ในระยะนี้ หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 3-8 เมษายน 2552 บริเวณความกดอากาศสูงที่ปกคลุมทะเลจีนใต้ และประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังอ่อนลง และ ลมใต้กับลมตะวันออกเฉียงใต้ จะพัดปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลงและอากาศร้อนขึ้น
3.2 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้แจ้งเตือนเกี่ยวกับสภาวะอากาศให้จังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาค กลาง และภาคตะวันออก เตรียมการป้องกันและแก้ไขปัญหาอันเกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน อาจทำให้เกิดพายุฤดูร้อน ซึ่งมีลักษณะของฝนฟ้าคะนอง ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า ลมกระโชกแรง และอาจมีลูกเห็บตก สร้างความเสียหายให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน บ้านเรือนประชาชน รวมทั้งพืชผลทางการเกษตรและ ให้ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ในพื้นที่อย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งเตรียมเครื่องมือ อุปกรณ์ไว้ให้พร้อมเพื่อสามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ทันต่อเหตุการณ์เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 เมษายน 2552 --จบ--