การกู้เงิน Short term facility สำหรับรัฐวิสาหกิจ วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาท

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 22, 2009 16:01 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกู้เงิน Short term facility สำหรับรัฐวิสาหกิจ วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาทตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้วมีมติ ดังนี้

1) อนุมัติในข้อตกลงการจัดเตรียมวงเงินสำรองเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ (Terms & conditions) รวมทั้งเงื่อนไขและกรอบการใช้กู้เงิน (Short term facilitators) และให้กระทรวงการคลังทำข้อตกลงกับสถาบันการเงิน จำนวน 6 แห่ง ที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้จัดเตรียมวงเงินสำรองเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ (Short term facility) วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาท

2) อนุมัติให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาจัดสรร Short term facility แก่รัฐวิสาหกิจที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะแล้วได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

3) อนุมัติให้กระทรวงการคลังสามารถปรับเปลี่ยนรายชื่อรัฐวิสาหกิจที่อยู่ในข้อเสนอ Short term facility เพื่อให้สอดคล้องกับการปรับแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีนั้น ๆ รวมทั้งเจรจาในอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขการกู้เงินกับสถาบันการเงินทั้ง 6 แห่ง ด้วย

กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้เชิญชวนให้สถาบันการเงินจำนวน 40 แห่งยื่นข้อเสนอเป็นผู้จัดเตรียมวงเงินสำรองเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ (Short term facility) เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2552 ปรากฎว่ามีผู้ประสงค์จะเป็นผู้จัดเตรียมวงเงินสำรวจเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ (Short term facilitators) จำนวน 8 แห่ง ซึ่งกระทรวงการคลังได้ดำเนินการพิจารณาคัดเลือกเงื่อนไขและข้อเสนอของสถาบันการเงินดังกล่าวโดยคำนึงถึงสัดส่วนของการค้ำ/ไม่ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลังแล้ว ดังนี้

1. สถาบันการเงินที่ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้จัดเตรียมวงเงินสำรองเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ Short term facility วงเงินไม่เกิน 200,000 ล้านบาท มีจำนวน 6 ราย ได้แก่

1.1 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 58,500 ล้านบาท

1.2 ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 50,000 ล้านบาท

1.3 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) วงเงิน 40,000 ล้านบาท

1.4 ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 25,000 ล้านบาท

1.5 ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 20,000 ล้านบาท

1.6 ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) วงเงิน 6,500 ล้านบาท

โดยมีอัตรดอกเบี้ยในส่วนของวงเงินรวมที่ได้รับการจัดสรรเท่ากับอัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือน ประเภทบุคคลธรรมดาของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ (FDR) เฉลี่ย (ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 25 มีนาคม 2552 เท่ากับร้อยละ 0.85 ต่อปี) บวก อัตราดอกเบี้ยส่วนต่าง (Spread) ระหว่าง 130 — 240 bps ทั้งนี้ Spread ดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับระดับความน่าเชื่อถือของรัฐวิสาหกิจ (Credit) และสัดส่วนการค้ำ/ไม่ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลัง

2. เงื่อนไขของข้อตกลงการจัดเตรียมวงเงินสำรองเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ (Short term facility) รวมทั้งเงื่อนไขและกรอบการใช้เงินกู้ดังกล่าว (Terms & conditions) มีดังนี้

ข้อตกลงการจัดเตรียมวงเงินสำรองเพื่อให้รัฐวิสาหกิจกู้ ((Short term facility)

วงเงินรวม                  ไม่เกิน 200,000 ล้านบาท
ระยะเวลาของข้อตกลง         3 ปี นับจากวันที่ได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงเงินกู้กับสถาบันการเงิน
อัตราดอกเบี้ย                ใช้อัตราต่ำสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนประเภทบุคคลธรรมดาของ 4 ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่

(FDR) เฉลี่ย (ธนาคารกรุงเทพฯ ธนาคารกรุงไทยฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ฯ และธนาคารกสิกรไทยฯ) เป็นฐาน

ในการคำนวณดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับทุกอายุเงินกู้ บวก อัตราดอกเบี้ยส่วนต่าง (Spread) โดยปรับอัตรา

ดอกเบี้ย FDR ทุกงวด 6 เดือน หากมีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ Spread ดังกล่าว สามารถปรับได้ทุก ๆ 1 ปี เพื่อ

ให้สอดคล้องกับสภาวะตลาด และต้นทุนของสถาบันการเงินสำหรับวงเงินที่ยังไม่ได้มีการกู้ วงเงินที่สถาบันการเงินเสนอ สถาบันการเงินสามารถเจรจาขอปรับลดวงเงิน (Committed line) ได้หากมีการปล่อยกู้กับรัฐวิสาหกิจนั้นโดย

วิธีการอื่นไปแล้ว เพื่อให้สอดคล้องกับระดับความสามารถในการให้วงเงินกู้ Single limit credit ที่สถาบัน

การเงินนั้นให้แก่รัฐวิสาหกิจแต่ละรายภายใต้วงเงินในข้อตกลงฯ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไม่มีค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายใด ๆ การรายงานผลการใช้วงเงิน เป็นรายไตรมาสต่อคณะรัฐมนตรี

เงื่อนไขและกรอบการใช้เงินกู้ (Terms & conditions)
ผู้กู้                        รัฐวิสาหกิจที่ได้รับการจัดสรรวงเงินภายใต้ Short term facility ของสถาบันการเงิน
วัตถุประสงค์ของการกู้เงิน       1. เพื่อเป็นค่าใช้จ่าย/โครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ/ชำระคืนเงินกู้เดิมเพื่อเป็นการบริหาร

และจัดการเงินกู้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการบรรจุในแผนการบริหารหนี้สาธารณะ

2. เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นแก่กระทรวงการคลัง ในกรณีที่เกิดความเสี่ยงในการผิดชำระดอกเบี้ย

หรือเงินต้นของรัฐวิสาหกิจ (Default risk)

เครื่องมือทางการเงิน          รัฐวิสาหกิจจะกู้เงินในรูปตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) ชนิดเปลี่ยนมือไม่ได้
อายุเงินกู้                   ไม่เกิน 18 เดือน
การชำระดอกเบี้ย             ชำระดอกเบี้ยพร้อมต้นเงินกู้ทั้งจำนวนเมื่อครบกำหนดอายุเงินกู้
รูปแบบการค้ำประกัน           (1) แบบไม่ค้ำประกัน
(เงินต้นและดอกเบี้ย)          (2) แบบค้ำประกัน Partial guarantee 1/3 ของวงเงิน

(3) แบบค้ำประกัน Partial guarantee 1/2 ของวงเงิน

(4) แบบค้ำประกันเต็มวงเงิน การคิดค่าธรรมเนียมการค้ำประกัน ตามสัดส่วนของวงเงินที่กระทรวงกาคลังค้ำประกัน และตามประกาศกระทรวงการคลังที่กำหนดอัตราค่า

ธรรมเนียม การค้ำประกันเงินกู้ของรัฐวิสาหกิจ

การกู้เงิน                   รัฐวิสาหกิจจะขอกู้เงินจากสถาบันการเงินที่เสนอเงื่อนไขอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าก่อน โดยคำนึงถึงสัดส่วน

การค้ำ/ไม่ค้ำประกันจากกระทรวงการคลังด้วย

การเบิกจ่ายเงินกู้             รัฐวิสาหกิจจะเบิกเงินกู้ดังกล่าวโดยจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทำการโดยหากรัฐวิสาหกิจมีความ

ต้องการเงินกู้ภายใต้ Short term facility ดังกล่าวกระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาวงเงินกู้

เงื่อนไขเงินกู้ของสถาบันการเงิน และสัดส่วนการค้ำ/ไม่ค้ำประกันให้แก่รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ตามที่เห็นเหมาะสม

และเป็นไปตามพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) ทั้งนี้ หากมีรัฐ

วิสาหกิจรายใดที่ได้รับการบรรจุไว้ในแผนการบริหารหนี้สาธารณะแล้วและมีความประสงค์จะใช้เงินกู้ Short

term facility แต่ยังไม่ได้อยู่ในรายชื่อและข้อเสนอของสถาบันการเงินดังกล่าว กระทรวงการคลังจะดำเนิน

การจัดให้มีการยื่นข้อเสนอ เงื่อนไข และรายละเอียดของ Short term facility สำหรับรัฐวิสาหกิจ

เป็นรายกรณีไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 21 เมษายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ