แนวทางการประกันราคาและประกันภัยข้าวเปลือก

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 4, 2009 13:26 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ซึ่งเห็นชอบหลักการและกลไกการดำเนินงานโครงการประกันราคาข้าวเปลือกและการประกันภัยข้าวเปลือกตามผลการพิจารณาคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการประกันราคาและประกันภัยข้าวเปลือกเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2552 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ โดยให้ยกเว้นค่าเบี้ยประกันตามโครงการประกันราคาข้าวเปลือกและการประกันภัยข้าวเปลือกในปีแรก กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ในการประชุม กขช. ครั้งที่ 3/2552 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2552 ได้มีการพิจารณาแนวทางการประกันราคาและประกันภัยข้าวเปลือกที่คณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการประกันราคาและประกันภัยข้าวเปลือกได้นำเสนอโดยสรุป ดังนี้

1. การประกันราคาข้าวเปลือก

1.1 หลักการ เป็นมาตรการแทรกแซงราคาข้าวเปลือกที่เป็นไปตามกลไกตลาดและช่วยลดภาระงบประมาณของรัฐบาล โดยในระยะ

แรกจะเป็นทางเลือกใหม่ให้กับเกษตรกรนอกจากการรับจำนำข้าวเปลือก และในระยะยาวจะเป็นระบบที่แทนที่การรับจำนำ

1.2 วัตถุประสงค์

1.2.1 เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่สูงขึ้น

1.2.2 เพื่อเป็นการใช้กลไกตลาดในการสร้างเสถียรภาพราคาในระยะยาวและมีความยั่งยืน

1.2.3 เพื่อลดภาระงบประมาณค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการช่วยเหลือให้เกษตรกรสามารถขายข้าวเปลือกได้

ในราคาที่เหมาะสม

1.3 รูปแบบโครงการ

1.3.1 ประกันราคาเฉพาะข้าวเปลือกหอมมะลิ

1.3.2 จำนวน 200,000 ตันต่อรายไม่เกิน 500,000 บาท

1.3.3 รับประกันเฉพาะข้าวหอมมะลิที่ปลูกใน 8 จังหวัด ได้แก่ สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร

ร้อยเอ็ด อุดรธานี และนครราชสีมา

1.3.4 หน่วยงานรับผิดชอบ : ธ.ก.ส.

1.3.5 ราคาประกันในกรณีที่ยังมีการดำเนินโครงการรับจำนำ ราคารับจำนำต้องต่ำกว่าราคารับประกัน

ไม่เกิน 1,000 บาทต่อตัน

1.3.6 ค่าเบี้ยประกัน ในระยะแรกอาจกำหนดไว้เป็นอัตราที่ต่ำ เช่น ร้อยละ 0.01 ของวงเงินเอาประกัน

แต่อาจจะยกเว้นในปีแรก

1.3.7 ระยะเวลาดำเนินการ ประชาสัมพันธ์ เดือนเมษายน 2552 เกษตรกรซื้อประกันกับ ธ.ก.ส. ในช่วงเดือนกรกฎาคม-

สิงหาคม 2552 และเกษตรกรขอใช้สิทธิประกันกับ ธ.ก.ส. ในเดือนธันวาคม 2552

1.4 ค่าใช้จ่ายของ ธ.ก.ส. ไม่เกิน 195.56 ล้านบาท แบ่งเป็น

1.4.1 ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการของ ธ.ก.ส. ร้อยละ 4 ของมูลค่าโครงการ จำนวนไม่เกิน 136 ล้านบาท

1.4.2 ค่าประชาสัมพันธ์ไม่เกิน 9.56 ล้านบาท

1.4.3 ค่าใช้จ่ายในการระบายข้าว ตันละ 250 บาท จำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้จะไม่มีหาก

เกษตรกรเป็นผู้รับภาระในการขาย

1.5 ประมาณการการชดเชยส่วนต่างกรณีราคาตลาดต่ำกว่าราคารับประกัน จะแปรตามราคารับประกันและราคาตลาดในวันใช้สิทธิ

2. การประกันภัยข้าวเปลือก

ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นทำการศึกษา โดยเริ่มโครงการนำร่องที่จังหวัดขอนแก่นเป็นโครงการเสมือนจริง แต่ไม่มีการจ่ายเงินจริง ซึ่งโครงการนี้ ธ.ก.ส.เป็นผู้เอาประกัน โดย ธ.ก.ส.จะผลักภาระค่าเบี้ยประกันให้กับเกษตรกรในรูปของอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ซึ่งในเบื้องต้นคณะอนุกรรมการฯ เห็นว่า โครงการนำร่องนี้ยังมีประเด็นปัญหาที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม จึงได้ตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางประกันภัยข้าว โดยใช้ดัชนีสภาพอากาศและจะรายงานให้ กขช. พิจารณาในโอกาสแรก ทั้งนี้ กขช. มีข้อสังเกต ดังนี้

1. การกำหนดราคาประกันข้าวเปลือกหอมมะลิควรจะนำมาทบทวนใน กขช. อีกครั้งหนึ่งก่อนดำเนินการตามโครงการ

2. ค่าใช้จ่ายในการบริหารโครงการประกันราคาข้าวเปลือกของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่คิดใน

อัตราร้อยละ 4 ของมูลค่าโครงการไม่ควรสูงกว่าค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกที่ กขช. และคณะ

กรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรได้มีมติอนุมัติไว้ไม่เกินร้อยละ 3 ของวงเงินดำเนินการ และให้นำเสนอคณะ

รัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 3 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ