การค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 4 เดือนแรกปี 2552 (มกราคม-เมษายน)

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 10, 2009 11:38 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการค้าระหว่างประเทศของไทยในระยะ 4 เดือนแรกปี 2552 (มกราคม-เมษายน) ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้

1. การส่งออก

1.1 การส่งออกเดือนเมษายน 2552

1.1.1 การส่งออก มีมูลค่า 10,428.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.1 ลดลงต่อเนื่อง เป็นเดือนที่หก และเมื่อคิดในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 367,617.6 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.1

1.1.2 สินค้าส่งออก ส่งออกลดลงในทุกหมวด โดยสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญลดลง ร้อยละ 24.4 สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญลดลงร้อยละ 25.5 และสินค้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 29.4

(1) สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลงตามความต้องการในตลาด โลกที่ลดลง การแข่งขันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ลูกค้าชะลอการสั่งซื้อและมีการต่อรองราคามากขึ้น ยกเว้น กุ้ง และน้ำตาลที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่ปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น

  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งสดแช่แข็งและแปรรูป มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ปริมาณลดลงร้อยละ 4.3 น้ำตาล ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.5 และ 56.7 ตามลำดับ และ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปริมาณเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 ขณะที่มูลค่าลดลงร้อยละ 23.1
  • สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 36.4 และ 32.6 ตาม ลำดับ ยางพารา ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 16.5 และ 54.3 ตามลำดับ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป (ไม่รวมกุ้ง) ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 7.5 และ 15.5 ตามลำดับ และ ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 24.2 และ 21.4 ตามลำดับ

(2) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลง

  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง ซึ่งยังคงส่งออกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องร้อยละ 4.8
  • สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และ ส่วน ประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์ เครื่องเดินทางและเครื่องหนัง เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น รวมทั้งอัญมณีและเครื่องประดับ ที่ลดลงเป็นเดือนแรกร้อยละ 21.0 (เป็นการส่งออกทองคำ มูลค่า 80.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 158.9)

1.1.3 ตลาดส่งออก ตลาดหลักยังลดลงในอัตราสูงต่อเนื่องจากช่วงปลายปี 2551 โดยลดลงถึงร้อยละ 32.0 ขณะที่ตลาดใหม่ส่งออกลดลงร้อยละ 19.5

(1) ตลาดหลัก ส่งออกลดลงต่อเนื่องในทุกตลาด คือ สหภาพยุโรป(15) อาเซียน(5) ญี่ปุ่นและ สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35.1 , 33.4 , 29.8 และ 28.7 ตามลำดับ

(2) ตลาดใหม่ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลง ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ เอซียใต้เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 โดยอินเดียเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 ตลาดที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 76.1) ยุโรปตะวันออก(ร้อยละ 34.8) ทวีปออสเตรเลีย(ร้อยละ 25.0) ไต้หวัน(ร้อยละ 24.6) ตะวันออกกลาง(ร้อยละ 24.5) อินโดจีน(ร้อยละ 23.5) ฮ่องกง(ร้อยละ 19.7) แอฟริกา(ร้อยละ 19.3) แคนาดา(ร้อยละ 17.6) จีน(ร้อยละ 13.2) และเกาหลีใต้(ร้อยละ 11.3)

1.2 การส่งออกในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.-เม.ย)

1.2.1 การส่งออก มีมูลค่า 44,216.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.9 และ เมื่อคิดในรูปเงินบาทการส่งออกมีมูลค่า 1,539,517.9 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 16.2

1.2.2 สินค้าส่งออก ส่งออกลดลงในทุกหมวด โดยสินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญ ลดลงร้อยละ 20.6 สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญลดลงร้อยละ 19.7 และสินค้าอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 31.8

(1) สินค้าเกษตร/อุตสาหกรรมเกษตรสำคัญ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลง ยกเว้น กุ้ง ไก่ และ น้ำตาล ที่การส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น

  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ กุ้งแช่แข็งและแปรรูป ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 6.0 และ 1.5 ตามลำดับ ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ปริมาณลดลงร้อยละ 3.7 และ น้ำตาล ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.1 และ 26.8 ตามลำดับ
  • สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ข้าว ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 33.8 และ 19.3 ตามลำดับ ยางพารา ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 8.0 และ 47.5 ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 26.6 และ 40.4 ตามลำดับ อาหารทะเลแช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป(ไม่รวมกุ้ง) ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 11.1 และ 13.3 ตามลำดับ ผัก ผลไม้สด แช่แข็ง กระป๋องและแปรรูป ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 18.1 และ 14.9 ตามลำดับ

(2) สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลง

  • สินค้าที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ อัญมณี เพิ่มขึ้นร้อยละ 85.3 (เป็นการส่งออกทองคำ ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 342.9) ผลิตภัณฑ์เภสัช/เครื่องมือแพทย์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และ อาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.9
  • สินค้าที่ส่งออกลดลง ได้แก่ เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และ ส่วน ประกอบ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก วัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เลนส์ สิ่งทอ ผลิตภัณฑ์ยาง สิ่งพิมพ์ เครื่องเดินทางและเครื่องหนัง เครื่องสำอาง เป็นต้น

1.2.3 ตลาดส่งออก ลดลงทั้งในตลาดหลักและตลาดใหม่ โดยตลาดหลักลดลงถึงร้อยละ 30.9 ขณะที่ตลาดใหม่ลดลงเพียงร้อยละ 12.3

(1) ตลาดหลัก ส่งออกลดลงต่อเนื่องในทุกตลาด คือ อาเซียน(5) สหภาพยุโรป สหรัฐฯ และ ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 34.2 , 33.3 , 27.4 และ 27.0 ตามลำดับ

(2) ตลาดใหม่ ส่วนใหญ่ส่งออกลดลง ตลาดที่ส่งออกเพิ่มขึ้น ได้แก่ ทวีปออสเตรเลีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 ตลาดที่ส่งออกลดลง ได้แก่ ลาตินอเมริกา(ร้อยละ 48.5) ไต้หวัน(ร้อยละ 38.1) ยุโรปตะวันออก (ร้อยละ 25.9) จีน(ร้อยละ 23.9) อินโดจีน (ร้อยละ 23.6) เกาหลีใต้ (ร้อยละ 21.3) ฮ่องกง (ร้อยละ 15.4) แคนาดา (ร้อยละ 14.6) อินเดีย (ร้อยละ 11.5) ตะวันออกกลาง (ร้อยละ 6.1) และ แอฟริกา (ร้อยละ 5.0)

2. การนำเข้า

2.1 การนำเข้าเดือนเมษายน 2552

2.1.1 การนำเข้า มีมูลค่า 9,833.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา ลดลงร้อยละ 36.3 คิดในรูปเงินบาทมีมูลค่า 350,281.8 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 27.7

2.1.2 สินค้านำเข้า สินค้านำเข้าสำคัญมีการนำเข้าลดลงทุกหมวดสินค้าดังนี้

(1) สินค้าเชื้อเพลิง นำเข้าลดลง ร้อยละ 54.3 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบปริมาณ 25.1 ล้านบาร์เรล ( 837,361 บาร์เรลต่อวัน) ลดลงร้อยละ 5.0 และมูลค่า ลดลงร้อยละ 55.2

(2) สินค้าทุน นำเข้าลดลงร้อยละ 26.8 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วน ประกอบ ลดลงร้อยละ 24.6 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 28.5 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลง ร้อยละ 16.1

(3) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 34.6 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์-ส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงร้อยละ 26.7 เคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 45.3 เหล็ก เหล็กกล้าและ ผลิตภัณฑ์ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 14.5 และ 45.8 ตามลำดับ ทองคำ ปริมาณและมูลค่าลดลงร้อยละ 12.0 และ 11.4 ตามลำดับ

(4) สินค้าอุปโภคบริโภค นำเข้าลดลงร้อยละ 22.9 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน ลดลงร้อยละ 23.0 เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ลดลงร้อยละ 29.2 ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ลดลงร้อยละ 18.0

(5) สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ นำเข้าลดลงร้อยละ 39.0 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ลดลงร้อยละ 40.4 ส่วนประกอบและอุปกรณ์จักรยานยนต์และรถจักรยาน นำเข้า ลดลงร้อยละ 36.1 รถยนต์นั่งลดลงร้อยละ 15.5 รถยนต์โดยสารและรถบรรทุก ลดลงร้อยละ 49.4

2.2 การนำเข้าในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม - เมษายน)

2.2.1 การนำเข้า มีมูลค่า 36,566.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2551 ลดลงร้อยละ 37.3 คิดในรูปเงินบาท นำเข้ามีมูลค่า 1,287,190.8 ล้านบาท เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2551 ลดลงร้อยละ 32.6

2.2.2 สินค้านำเข้าสำคัญ

(1) สินค้าเชื้อเพลิง นำเข้าลดลงร้อยละ 51.3 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบปริมาณลดลงร้อยละ 7.7 มูลค่าลดลงร้อยละ 56.1

(2) สินค้าทุน นำเข้าลดลงร้อยละ 24.8 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและ ส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 14.0 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 31.6 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ 31.0

(3) สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป นำเข้าลดลงร้อยละ 41.9 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์ส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ลดลงร้อยละ 37.6 เคมีภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 47.1 เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ลดลงร้อยละ 50.4 ทองคำ ลดลงร้อยละ 40.1

(4) กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค นำเข้าลดลงร้อยละ 18.7 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ เครื่อง ใช้ไฟฟ้า ในบ้าน ลดลงร้อยละ 21.4 เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด ลดลงร้อยละ 24.1 ผลิตภัณฑ์เวชภัณฑ์และเภสัช ลดลงร้อยละ 7.9

(5) กลุ่มสินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง นำเข้าลดลงร้อยละ 35.5 สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ ลดลงร้อยละ 40.3

3. ดุลการค้า

3.1 ดุลการค้าเดือนเมษายน 2552 ไทยเกินดุลการค้า 595.0 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อคิดในรูปเงินบาท ไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 17,335.8 ล้านบาท

3.2 ดุลการค้าในระยะ 4 เดือนแรกของปี 2552 (มกราคม - เมษายน) ไทยเกินดุลการค้า 7,649.7 ล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อคิดในรูปเงินบาท ไทยเกินดุลการค้า 252,327.1 ล้านบาท

4. สรุป

4.1 หากพิจารณาการส่งออกสินค้าสำคัญในช่วงเดือนมกราคม — มีนาคมที่ผ่านมา จะเห็นว่าการส่งออกสินค้าสำคัญ เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง กุ้ง น้ำตาล อาหาร อิเล็กทรอนิกส์ เม็ดและผลิตภัณฑ์พลาสติก และ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น มีแนวโน้มการส่งออกที่ดีขึ้น

4.2 มูลค่าการส่งออกเดือนเมษายน ที่ลดลงมากอาจมีผลจากปัจจัยด้านความไม่สงบจากปัญหาการเมืองในประเทศที่เกิดขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และพัทยา รวมทั้งการมีวันหยุดในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ยาวนานกว่าทุกปี

4.3 ความต้องการในตลาดโลกที่ยังมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งปัญหาการขาสภาพคล่องของผู้ส่งออกของไทยที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้นประกอบกับสถาบันการเงินในประเทศได้เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อให้ผู้ส่งออกมากขึ้นยิ่งส่งผลซ้ำเติมสภาพคล่องของผู้ส่งออกไทย

4.4 หากพิจารณาการนำเข้าในเดือนเมษายน 2552 เทียบกับ 3 เดือนที่ผ่านมา การนำเข้ามีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป ซึ่งเริ่มมีการสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากขึ้น จึงอาจเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับแนวโน้มการส่งออกในระยะต่อไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 9 มิถุนายน 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ