สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 7

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 26, 2009 14:55 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยธรรมชาติในช่วงฤดูฝน ครั้งที่ 7 ณ วันที่ 24 สิงหาคม 2552 ประกอบด้วย สถานการณ์อุทกภัย ผลกระทบด้านการเกษตร การให้ความช่วยเหลือ และสถานการณ์น้ำ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์อุทกภัย

จังหวัดระนอง เมื่อวันที่ 22-23 สิงหาคม 2552 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่ หมู่ 2,3,4 ตำบลกำพวน และหมู่ที่ 2,4,7 ตำบลนาคา อำเภอสุขสำราญ น้ำท่วมสูง 0.8-1.0 เมตร และท่วมผิวจราจรถนนเพชรเกษมประมาณ 0.3 เมตร หากไม่มีฝนตกหนักมาเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

จังหวัดตรัง เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2552 เกิดฝนตกหนักต่อเนื่อง บริเวณต้นน้ำ คลองปะเหลียนที่บ้านลำแคลง ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน ทำให้ระดับน้ำคลองปะเหลียนเพิ่มสูงขึ้นเอ่อล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำ บ้านย่านตาขาวรอบนอกเขตชุมชนเทศบาล ท่วมสูงประมาณ 0.3 เมตร หากไม่มีฝนตกมาเพิ่ม คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่สภาวะปกติภายใน 1 - 2 วัน

จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2552 เกิดฝนตกหนักในเขตอำเภอคุระบุรี ทำให้ปริมาณน้ำในคลองธรรมชาติเพิ่มขึ้น ล้นตลิ่ง ไม่สามารถระบายน้ำลงสู่ทะเลได้ทัน เป็นเหตุให้น้ำเอ่อล้นเข้าท่วม บริเวณหมู่ที่ 2,4,6,7,10 และหมู่ที่ 12 อำเภอคุระบุรี หากไม่มีฝนตกมาเพิ่มอีก คาดว่าสถานการณ์จะเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 1-2 วัน

ผลกระทบด้านการเกษตร

พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านการเกษตรช่วงภัย 1 พฤษภาคม — 21 สิงหาคม 2552 ณ วันที่ 21 สิงหาคม 2552 รวมทั้งสิ้น 40 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กาฬสินธุ์ นครราชสีมา ยโสธร เลย ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย อุบลราชธานี อุดรธานี มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สิงห์บุรี กรุงเทพฯ ชัยนาท อ่างทอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ตราด กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง พังงา ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี และสตูล แยกเป็น

ด้านพืช จำนวน 38 จังหวัด เกษตรกร 78,925 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 555,897 ไร่ แยกเป็น ข้าว 452,926 ไร่ พืชไร่ 48,458 ไร่ และพืชสวนและอื่นๆ 54,513 ไร่

ด้านปศุสัตว์ จำนวน 6 จังหวัด เกษตรกร 10,094 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 273,376 ตัว แบ่งเป็น โค-กระบือ 15,433 ตัว สุกร-แพะ-แกะ 10,552 ตัว สัตว์ปีก 247,391 ตัว

ด้านประมง จำนวน 16 จังหวัด เกษตรกร 4,887 ราย พื้นที่ประสบภัย 5,021 บ่อ คิดเป็นพื้นที่ 3,837 ไร่ และ 501 กระชัง คิดเป็นพื้นที่ 5,126 ตรม.

การให้ความช่วยเหลือสถานการณ์อุทกภัย

ด้านชลประทาน ปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำช่วยเหลือไปแล้ว 11 จังหวัด จำนวน 81เครื่อง และเครื่องผลักดันน้ำ 3 จังหวัด จำนวน 37 เครื่อง แยกเป็นรายภาคต่าง ๆ ดังนี้

ภาค             จังหวัด    เครื่องสูบน้ำ     เครื่องผลักดันน้ำ                รายชื่อจังหวัด
                          (เครื่อง)        (เครื่อง)          (จำนวนเครื่องสูบน้ำ/จำนวนเครื่องผลักดันน้ำ)
ต.อ.เฉียงเหนือ      3          5              19            มหาสารคาม(3/-) นครราชสีมา(1/19) อุดรธานี(1/-)
กลาง              8         66              18            นนทบุรี(4/-)  พระนครศรีอยุธยา(10/-) สมุทรสาคร(5/-)

สุพรรณบุรี (44/15) กรุงเทพ(-/3) ชัยนาท (3/-)

ใต้                1          3              -             ระนอง(3/-)
รวม               9         74              37

สถานการณ์ศัตรูพืชระบาด

เกิดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย อุทัยธานี ปทุมธานี สิงห์บุรี อ่างทอง กาญจนบุรี และสุพรรณบุรี เนื่องจาก การใช้เมล็ดพันธุ์ต่อไร่มากเกินไป การใช้ปุ๋ยเคมีผิดประเภท การใช้สารเคมีไม่ถูกต้อง รวมทั้งการใช้พันธุ์ข้าวไม่ต้านทานเกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,814 ราย พื้นที่นาข้าวคาดว่าจะเสียหาย 166,678 ไร่

สถานการณ์ฝนทิ้งช่วง

พื้นที่ประสบอุทกภัยด้านการเกษตร 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเพชรบูรณ์ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,057 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 65,286 ไร่ แยกเป็น ข้าว 51,804 ไร่ และพืชไร่ 13,482 ไร่

สถานการณ์น้ำ

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (24 สิงหาคม 2552) มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 44,989 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุอ่างฯ ทั้งหมด น้อยกว่าปี 2551 (45,493 ล้าน ลบ.ม.) จำนวน 504 ล้านลบ.ม. ปริมาตรน้ำใช้การได้ 21,633 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ สามารถรับน้ำได้อีก 24,565 ล้านลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก และอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 6,177 และ 5,322 ล้านลบ.ม.ตามลำดับ หรือคิดเป็นร้อยละ 46 และ 56 ของความจุอ่างฯทั้งหมด ตามลำดับโดยมีปริมาตรน้ำทั้งสองอ่างฯ รวมกัน จำนวน 11,499 ล้านลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 11,486 ล้านลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี มีปริมาตรน้ำในอ่างฯ 311 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 32 ของความจุอ่างฯทั้งหมด สามารถรับน้ำได้อีก 651 ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 6 อ่างฯ ดังนี้

อ่างเก็บน้ำ      ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ      ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำ
              ปริมาตร   %ความจุ       ปริมาตร   %ความจุ     วันนี้       เมื่อวานนี้      วันนี้    เมื่อวาน    รับได้อีก
แม่กวง             25       10           11        4    0.56          0.52     0.75      0.93       237
กิ่วคอหมา           48       29           42       25    0.00          0.00     0.63      0.63       123
แควน้อย           148       19          112       15    3.35          2.45     3.46      4.32       621
อุบลรัตน์           570       26          160        7    3.68          2.01     2.73      2.69     1,694
ลำพระเพลิง         22       22           21       19    0.65          0.20     0.69      0.86        87
ทับเสลา            27       17           19       12    0.51          0.00     0.00      0.00       134

อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 4 อ่างฯ ดังนี้

อ่างเก็บน้ำ      ปริมาตรน้ำในอ่างฯ        ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ      ปริมาณน้ำระบาย    ปริมาณน้ำ
              ปริมาตร   %ความจุ       ปริมาตร   %ความจุ     วันนี้       เมื่อวานนี้      วันนี้    เมื่อวาน    รับได้อีก
ศรีนครินทร์      14,719       83        4,454       25   16.21         17.74    11.61     15.00     3,030
วชิราลงกรณ์      7,139       81        4,127       47   20.55         21.30    30.09     14.88     1,710
แก่งกระจาน        572       81          505       71    5.68          5.68     5.56      5.56       138
รัชชประภา       4,705       83        3,353       59    4.84          6.56     7.67      1.80       921

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ

แม่น้ำปิง สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนภูมิพลลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำวัง สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนกิ่วลม จังหวัดลำปาง ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนกิ่วลมลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำยม สภาพน้ำในลำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย ทำให้ปริมาณน้ำในแม่น้ำยมลดลง

แม่น้ำน่าน สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนสิริกิติ์ลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคกลาง

แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ชัยนาท อยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำป่าสัก สภาพน้ำในลำน้ำ พบว่า ด้านเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ปริมาณน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยและจากท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลงมาปริมาณน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปกติ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แม่น้ำชี สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำปกติ

แม่น้ำมูล สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคตะวันออก

แม่น้ำปราจีนบุรี สภาพน้ำในลำน้ำส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคใต้

แม่น้ำท่าตะเภา สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

แม่น้ำปัตตานี สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

แม่น้ำตะกั่วป่า สภาพน้ำในลำน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 25 สิงหาคม 2552 --จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ