คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 8 ณ วันที่ 5 เมษายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การเพาะปลูกพืช ฤดูแล้งปี 2552/2553 และการให้ความช่วยเหลือ สรุปได้ดังนี้
สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร
1. ภัยแล้ง ช่วงภัย วันที่ 15 ธ.ค. 52 ถึง 31 มี.ค. 53 (ข้อมูล ณ วันที่ 2 เม.ย. 53) พื้นที่ประสบภัย 17 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ พะเยา ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ หนองคาย ยโสธร สระบุรี ตราด กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สตูล และตรัง โดยประสบภัยทั้งด้านพืชและด้านปศุสัตว์ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง สุโขทัย และตรัง ดังนี้
ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน แพร่ พะเยา สุโขทัย ลำปาง อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ หนองคาย ยโสธร สระบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สตูล และตรัง พื้นที่การเกษตรประสบภัย 319,388 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ไม่เสียหาย 87,168 ไร่ อยู่ระหว่างเฝ้าระวัง 208,643 ไร่ และพื้นที่เสียหายแล้ว 23,577 ไร่
การดำเนินการ โดยช่วยเหลือด้วยเงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอและในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว จำนวน 19.77 ล้านบาท
ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย 5 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง สุโขทัย ตราด ชุมพร และตรัง เกษตรกร 634 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 6,746 ตัว แบ่งเป็น โค 6,302 ตัว กระบือ 115 ตัว แพะ 329 ตัว แปลงหญ้า 228 ไร่
การดำเนินการ ได้สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 90 ตัน เพื่อช่วยเหลือแล้ว
2. ศัตรูพืช โรคพืช ระบาด
2.1 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 1,240 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาโดยการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก และเพื่อเป็นการดำเนินการเชิงรุกตามสถานการณ์ ให้สามารถควบคุมพื้นที่การระบาดได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ขยายเวลาการรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2553
การดำเนินการ ณ วันที่ 2 เมษายน 2553 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการรวม จำนวน 4,146 ราย พื้นที่ 78,847 ไร่ อยู่ระหว่างประชาคม โดยผ่านการประชาคมแล้ว จำนวน 3,871 ราย พื้นที่ 69,798 ไร่ และผ่านการประชุม ก.ช.ภ.อ. แล้ว จำนวน 3,862 ราย พื้นที่ 69,560 ไร่ ผ่าน ก.ช.ภ.จ.แล้ว จำนวน 3,050 ราย พื้นที่ 53,127 ไร่ ส่วนที่ผ่านประชาคมแล้วอยู่ระหว่างกรมพัฒนาที่ดินไถกลบพื้นที่
2.2 เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 65.66 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง พื้นที่ดำเนินในโครงการ จำนวน 600,000 ไร่
การดำเนินการ ณ วันที่ 1 เมษายน 2553 จากการดำเนินการป้องกันและกำจัด โดยการให้ความรู้เกษตรกร 48,320 ราย อบรมเจ้าหน้าที่ 3,547 ราย แช่ท่อนพันธุ์ 205,122 ไร่ ฉีดพ่นสารเคมี 216,813 ไร่ ตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 584 ศูนย์ ผลิตแมลงช้างปีกใสในพื้นที่ระบาด และการป้องกันกำจัดแบบผสมผสาน มีพื้นที่ระบาดคงเหลือ จำนวน 183,915 ไร่ (ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 11,151 ไร่)และพื้นที่นอกโครงการ พบการระบาด จำนวน 902,245 ไร่ (เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 55,308 ไร่)
สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 5 เมษายน 2553
1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (5 เมษายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 41,391 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 56 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 17,546 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 24 ของความจุอ่างฯ) น้อยกว่าปี 2552 (45,813 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 62) จำนวน 4,422 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6 ของความจุอ่างฯ
ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 5 เม.ย.53 จำนวน 5,496 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 5 เม.ย.53 จำนวน 19,203 ล้านลูกบาศก์เมตร
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์
หน่วย : ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำ ปริมาตรน้ำใช้การได้ ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ ปริมาณน้ำระบาย ในอ่างฯ ปี52 ในอ่างฯ ปี53 ปริมาตร %ความจุ ปริมาตร %ความจุ ปริมาตร %ความจุ วันนี้ เมื่อวาน สะสม วันนี้ เมื่อวาน สะสม น้ำ อ่างฯ น้ำ อ่างฯ น้ำ อ่างฯ 1 พ.ย. 1 พ.ย. 52 52 ภูมิพล 6,395 48 5,346 40 1,546 11 0 0 546 20 23.5 4,168 สิริกิติ์ 5,475 58 3,871 41 1,021 11 3.82 2.24 699 10.81 12.41 2,737 ภูมิพล+สิริกิติ์ 12,870 56 9,217 40 2,567 11 3.82 2.24 1,246 30.81 35.91 6,905 ป่าสักชลสิทธิ์ 429 45 285 30 282 29 0 0 224 5.1 5.56 749
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง คือ ศรีนครินทร์(83)
อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 5 อ่าง ได้แก่ แม่กวง (18) น้ำอูน(25) ทับเสลา(17) ขุนด่านปราการชล(25) และคลองสียัด(27)
สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก
จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 80.1 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ (มากกว่าปี 2552 จำนวน 6.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 4) ปริมาณน้ำใช้การได้ 65 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ
จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 372.4 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 71 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 5.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 1) ปริมาณน้ำใช้การได้ 344 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 66 ของความจุอ่างฯ
2. สภาพน้ำท่า
ภาคเหนือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย
ภาคใต้ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย
3. คุณภาพน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 2 เมษายน.2553)
กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ดังนี้
แม่น้ำ จุดเฝ้าระวัง ค่า DO(mg/l) ค่า Sal (g/l) เกณฑ์ เจ้าพระยา ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี 2.57 0.34 ปกติ ท่าจีน ที่ว่าการอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม 1.45 0.15 ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์ แม่กลอง ปากคลองดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี 3.85 0.06 ปกติ
หมายเหตุ ค่า Do หมายถึง ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร
ค่า Sal หมายถึง ค่าความเค็มของน้ำ สำหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร
การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2552/2553
แผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2552/2553 (วันที่ 1 พ.ย.52-30 เม.ย. 53) จำนวน 20,720 ล้าน ลบ.ม. โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 8,000 ล้าน ลบ.ม.
ผลการจัดสรรน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 52 ถึง 5 เม.ย.53 จัดสรรน้ำไปแล้ว 19,492 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 94 ของแผนการจัดสรรน้ำ ยังเหลือปริมาณน้ำที่ใช้ได้ตามแผน 1,228 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 6 ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 5 เม.ย.53 มีการใช้น้ำไปแล้ว 9,131 ล้าน ลบ.ม. (เกินแผนที่กำหนดไว้ 1,131 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 114 ของแผนการจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา) แนวโน้มการใช้น้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้น แม้จะยังเหลือระยะเวลาของฤดูแล้งอีกเกือบ 1 เดือนก็ตาม และจากการติดตามสถานการณ์การปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 พบว่าเกษตรกรในหลายพื้นที่ได้มีการทำนาปรังครั้งที่ 2 ไปแล้ว แต่ก็ยังมีเกษตรกรบางส่วนที่ได้งดทำนาปรังครั้งที่ 2 เนื่องจากเกรงว่าน้ำจะไม่เพียงพอในการทำนา บางส่วนได้หันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยทดแทน อย่างไรก็ตาม จากสถิติการทำนาปรังครั้งที่ 2 โดยการเปรียบเทียบในช่วงเวลาเดียวกันระหว่างปี 2552 กับปี 2553 จะพบว่า พื้นที่ปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 (ณ 27 มี.ค. 53) ในปี 2553 น้อยกว่าปี 2552 ที่ผ่านมาประมาณ 100,000 ไร่
คาดการณ์พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ ปี 2552/2553 จำนวน 12.28 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 9.50 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.00 ล้านไร่) พืชไร่ พืชผัก 2.78 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.78 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.00 ล้านไร่) และมีแผนการจัดสรรน้ำให้พืชอื่นๆ เช่น ไม้ยืนต้น อ้อย บ่อปลา บ่อกุ้ง จำนวน 3.64 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน)
ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 2 เม.ย. 53 พื้นที่ปลูกแล้วทั้งสิ้น จำนวน 17.96 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 146 ของพื้นที่คาดการณ์ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 15.11 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 159 ของพื้นที่คาดการณ์ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 9.51 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 5.60 ล้านไร่) พืชไร่ พืชผัก 2.85 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 102 ของพื้นที่คาดการณ์ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.61 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.24 ล้านไร่)
พืชอื่นๆ จำนวน 3.84 ล้านไร่
การให้ความช่วยเหลือ
1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 702 เครื่อง ในพื้นที่ 40 จังหวัด ดังนี้
ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 243 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ (37 เครื่อง) ลำพูน (10 เครื่อง) แม่ฮ่องสอน (19 เครื่อง) ลำปาง (28 เครื่อง) น่าน (10 เครื่อง) พะเยา (5 เครื่อง) เชียงราย (7 เครื่อง) พิษณุโลก (14 เครื่อง) พิจิตร (16 เครื่อง) นครสวรรค์ (18 เครื่อง) อุตรดิตถ์ (4 เครื่อง)ตาก (16 เครื่อง) สุโขทัย (16 เครื่อง) แพร่ (33 เครื่อง) และกำแพงเพชร (10 เครื่อง)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด จำนวน 248 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดอุดรธานี (8 เครื่อง) หนองคาย (17 เครื่อง) หนองบัวลำภู (7 เครื่อง) เลย (6 เครื่อง) สกลนคร (14 เครื่อง) ขอนแก่น (15 เครื่อง) มหาสารคาม (26 เครื่อง) ร้อยเอ็ด (87 เครื่อง) กาฬสินธุ์ (58 เครื่อง) และชัยภูมิ (10 เครื่อง)
ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคตะวันตก 12 จังหวัด จำนวน 178 เครื่อง ได้แก่ จังหวัด นครนายก (14 เครื่อง) ปราจีนบุรี (29 เครื่อง) ฉะเชิงเทรา (22 เครื่อง) จันทบุรี (6 เครื่อง) ตราด (1 เครื่อง) เพชรบูรณ์ (7 เครื่อง) ชัยนาท (41 เครื่อง) ลพบุรี (25 เครื่อง) สิงห์บุรี (10 เครื่อง) สระบุรี (3 เครื่อง) พระนครศรีอยุธยา(13 เครื่อง) และอ่างทอง (7 เครื่อง)
ภาคใต้ 3 จังหวัด จำนวน 33 เครื่อง ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช (30 เครื่อง) กระบี่ (1 เครื่อง) พังงา (2 เครื่อง)
2. สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ จำนวน 17 คัน ในพื้นที่ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา (3 คัน) จันทบุรี (11 คัน) และตราด (3 คัน)
3. การปฏิบัติการฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาค เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2553 เป็นต้นมา จำนวน 5 ศูนย์ ประจำภาคต่างๆ และได้ส่งเครื่องบินไปตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว จำนวน 10 หน่วย ดังนี้
1. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคเหนือ (1) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ (2) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก
2. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคกลาง (3) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครสวรรค์
3. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (4) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดขอนแก่น (5) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดอุบลราชธานี (6) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดนครราชสีมา
4. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคตะวันออก (7) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดระยอง (8) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดจันทบุรี
5. ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคใต้ (9) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (10) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 26 มีนาคม- 1 เมษายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 191 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่เป้าหมาย 42 จังหวัด วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 56.6 มิลลิเมตร
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ช่วงวันที่ 25 มกราคม - 1 เมษายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการรวม 36 วัน จำนวน 621 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตกในปฏิบัติการ รวม 24 วัน จำนวน 204 สถานี วัดปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดได้ 56.6 มิลลิเมตร จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 41 จังหวัด จากจำนวนจังหวัดที่อยู่ในเป้าหมายทั้งหมด 70 จังหวัด
ผลการปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือเพื่อลดภาวะหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ
สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร เตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะหมอกควันในพื้นที่ภาคเหนือ ประจำปี 2553 โดยหน่วยปฏิบัติจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดตั้งหน่วยตั้งแต่ วันที่ 9 มีนาคม 2553 และเริ่มปฏิบัติการตั้งวันที่ 11 มีนาคม 2553 โดยใช้เครื่องบิน Casa 2 ลำ และ King Air 1 ลำ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2553 ได้ตั้งหน่วยปฏิบัติการจังหวัดพิษณุโลกอีก 1 หน่วย เพื่อเสริมการช่วยเหลือพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ผลการปฏิบัติการของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ มีการขึ้นบินปฏิบัติการรวม 16 วัน และมีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวง 11 วัน มีฝนตกในพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 45 สถานี วัดปริมาณฝนสูงสุดได้ 53.6 มิลลิเมตร ที่อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง และในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงาน ฝนตกรวม 11 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง ตาก น่าน แพร่ สุโขทัย กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ ซึ่งสามารถช่วยลดปัญหาภาวะหมอกควันได้ระดับหนึ่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 7 เมษายน 2553--จบ--