สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 9

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday April 21, 2010 16:47 —มติคณะรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สรุปสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตรปี 2553 ครั้งที่ 9 ณ วันที่ 19 เมษายน 2553 ประกอบด้วย สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร สถานการณ์น้ำ การเพาะปลูกพืช ฤดูแล้งปี 2552/2553 และการให้ความช่วยเหลือ สรุปได้ดังนี้

สถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร

1. ภัยแล้ง ช่วงภัย วันที่ 15 ธ.ค. 52 ถึง 31 มี.ค. 53 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 เม.ย. 53) พื้นที่ประสบภัย 24 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ หนองคาย ยโสธร เลย มุกดาหาร อุบลราชธานี สระบุรี กาญจนบุรี ตราด ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี ชุมพร สตูล และตรัง โดยประสบภัยทั้งด้านพืชและด้านปศุสัตว์ จำนวน 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำปาง สุโขทัย และตรัง ดังนี้

ด้านพืช พื้นที่ประสบภัย 21 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน แพร่ พะเยา ลำปาง สุโขทัย อุตรดิตถ์ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ หนองคาย ยโสธร เลย อุบลราชธานี สระบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สตูล และตรัง พื้นที่การเกษตรประสบภัย 529,016 ไร่ แบ่งเป็น พื้นที่ไม่เสียหาย 87,168 ไร่ อยู่ระหว่างเฝ้าระวัง 418,271 ไร่ และพื้นที่เสียหายแล้ว 23,577 ไร่

การดำเนินการ โดยช่วยเหลือด้วยเงินทดรองราชการในอำนาจอำเภอและในอำนาจปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว จำนวน 19.77 ล้านบาท

ด้านปศุสัตว์ พื้นที่ประสบภัย 6 จังหวัด คือ จังหวัดลำปาง สุโขทัย มุกดาหาร ตราด ชุมพร และตรัง เกษตรกร 765 ราย สัตว์ที่ได้รับผลกระทบ 7,564 ตัว แบ่งเป็น โค 7,111 ตัว กระบือ 124 ตัว แพะ 329 ตัว แปลงหญ้า 228 ไร่

การดำเนินการ ได้สนับสนุนพืชอาหารสัตว์ จำนวน 90 ตัน เพื่อช่วยเหลือแล้ว

2. ศัตรูพืช โรคพืช ระบาด

2.1 เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553 อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 1,240 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรแก้ไขปัญหาโดยการตัดวงจรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โรคเขียวเตี้ย และโรคใบหงิก ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศรับสมัครเกษตรกรเข้าร่วมโครงการเพิ่มเติม จนถึงวันที่ 12 เมษายน 2553 และดำเนินการในจังหวัดที่มีการระบาด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก อ่างทอง อุทัยธานี ปทุมธานี กำแพงเพชร ชัยนาท พิจิตร ลพบุรี สุพรรณบุรี นนทบุรี และจังหวัดนครนายก

การดำเนินการ ณ วันที่ 12 เมษายน 2553 เกษตรกรเข้าร่วมโครงการรวม จำนวน 9,694 ราย พื้นที่ 173,348 ไร่ อยู่ระหว่างประชาคม โดยผ่านการประชมคมแล้ว จำนวน 6,370 ราย พื้นที่ 113,645 ไร่ ผ่านการประชุม ก.ช.ภ.อ. จำนวน 3,862 ราย พื้นที่ 69,560 ไร่ และผ่านการประชุม ก.ช.ภ.จ. จำนวน 3,860 ราย พื้นที่ 69,532 ไร่ ซึ่งได้ดำเนินการไถกลบแล้ว จำนวน 7 ราย พื้นที่ 174 ไร่

พื้นที่การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

จากการติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ตั้งแต่ต้นเดือนธันวาคม 2552 พื้นที่การระบาดประมาณ 1.95 ล้านไร่ และได้ดำเนินการรณรงค์ให้ความรู้แก่เกษตรกร ทำให้พื้นที่การระบาดลดลงอย่างต่อเนื่อง และได้รายงานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานการณ์การระบาด ณ วันที่ 27 มกราคม 2553 มีพื้นที่ระบาด 0.67 ล้านไร่ และ ณ วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 มีพื้นที่ระบาดลดลงเหลือเพียง 0.39 ล้านไร่ แต่เมื่อมีการปลูกข้าวนาปรังเพิ่มมากขึ้น ทำให้พื้นที่การระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกัน ณ วันที่ 7 เมษายน 2553 มีพื้นที่การระบาดทั้งสิ้น 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก อุทัยธานี กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร สุพรรณบุรี อ่างทอง นนทบุรี ปทุมธานี สิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี นครนายก จำนวน 1.04 ล้านไร่

2.2 เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2552 อนุมัติงบประมาณ วงเงิน 65.66 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการการจัดการเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง พื้นที่โครงการ จำนวน 600,000 ไร่ แต่ขณะนี้มีพื้นที่เกิดการระบาดของเพลี้ยแป้งในพื้นที่ 29 จังหวัด จำนวน 1,009,787 ไร่ (พื้นที่ปลูกทั้งหมด 45 จังหวัด จำนวน 4,508,515 ไร่) โดยลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา จำนวน 76,382 ไร่

สำหรับสถานการณ์ในพื้นที่โครงการ 600,000 ไร่ มีพื้นที่ระบาด 112,631 ไร่ ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 71,284 ไร่ และในพื้นที่นอกโครงการ มีพื้นที่ระบาด 897,156 ไร่ ลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา 5,089 ไร่

การดำเนินการ ณ วันที่ 19 เมษายน 2553 ได้ดำเนินการอบรมถ่ายทอดความรู้ให้แก่เจ้าหน้าที่ 5,455 ราย ถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกร 134,836 ราย รณรงค์ให้เกษตรกรใช้สารเคมีในการกำจัด โดยการแช่ท่อนพันธุ์ 313,767 ไร่ และฉีดพ่นสารเคมี 294,045 ไร่ จัดตั้งศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน 584 ศูนย์ ทำแปลงสำรวจติดตามสถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้ง 541 แปลง จัดตั้งหมู่บ้านต้นแบบการจัดการศัตรูพืช 211 หมู่บ้าน และศูนย์บริหารศัตรูพืช ผลิตพ่อแม่พันธุ์แมลงช้างปีกใส 273,450 ตัว และจากการติดตามสถานการณ์และสุ่มสำรวจในบางพื้นที่ที่มีการระบาดมาก พบว่า

มันสำปะหลังที่ปลูกใหม่โดยไม่แช่ท่อนพันธุ์ เพลี้ยแป้งจะเข้าทำลายได้เร็วกว่าแปลงที่มีการแช่ท่อนพันธุ์ และพื้นที่ที่แห้งแล้งจะระบาดมากกว่าพื้นที่ที่มีฝนตก และเมื่อประเมินผลหลังจากการรณรงค์ใช้สารเคมีฉีดพ่น ในพื้นที่ 10 จังหวัด เกษตรกร 20 กลุ่ม จำนวน 4,000 ราย พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ ฉีดพ่นสารเคมี จำนวน 2-5 ครั้ง ไม่สามารถกำจัดเพลี้ยแป้งได้และเพลี้ยแป้งจะระบาดเพิ่มขึ้นเนื่องจากทำลายศัตรูธรรมชาติและสภาพแวดล้อม แต่เห็นด้วยกับการแช่ท่อนพันธุ์ก่อนปลูกและการใช้ชีววิธี เช่น การปล่อยแมลงช้างปีกใส แตนเบียนและเชื้อจุลินทรีย์

สถานการณ์น้ำ ณ วันที่ 19 เมษายน 2553

1. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำ

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศ (19 เมษายน 2553) มีปริมาณน้ำทั้งหมด 39,443 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งหมด (ปริมาณน้ำใช้การได้ 15,598 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 21 ของความจุอ่างฯ)น้อยกว่าปี 2552 (43,924 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 60) จำนวน 4,481 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6 ของความจุอ่างฯ

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่สะสมในช่วงฤดูแล้ง ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 19 เม.ย.53 จำนวน 5,721 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณระบายสะสมในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.52 ถึง 19 เม.ย.53 จำนวน 20,906 ล้านลูกบาศก์เมตร

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และป่าสักชลสิทธิ์

หน่วย : ล้าน ลบ.ม.

อ่างเก็บน้ำ         ปริมาตรน้ำ       ปริมาตรน้ำ     ปริมาตรน้ำใช้การได้     ปริมาตรน้ำไหลลงอ่างฯ        ปริมาณน้ำระบาย
               ในอ่างฯ ปี52     ในอ่างฯ ปี53
            ปริมาตรน้ำ    %  ปริมาตรน้ำ    %     ปริมาตรน้ำ     %    วันนี้   เมื่อวาน    สะสม    วันนี้  เมื่อวาน    สะสม
                                                                             1 พ.ย.                 1 พ.ย.
                                                                                52                      52
ภูมิพล           5,953   44    5,029    37        1,229     9      0        0     546     20      18   4,417
สิริกิติ์           5,115   54    3,713    39          863     9   2.78     2.27     727  11.05   12.09   2,910
ภูมิพล+สิริกิติ์     11,068   48    8,742    38        2,092     9   2.78     2.27   1,273  31.05   30.09   7,327
ป่าสักชลสิทธิ์        396   41      205    21          202    21    1.7     2.56     230   5.25    5.31     829

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำมากกว่าร้อยละ 80 ของความจุอ่างฯ จำนวน 1 อ่าง คือ ศรีนครินทร์(82)

อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 9 อ่าง ได้แก่ แม่กวง(16) แควน้อย(28) ห้วยหลวง(29) น้ำอูน(24) อุบลรัตน์(29) ป่าสักฯ(21) ทับเสลา(17) ขุนด่านฯ(18) และคลองสียัด(25)

สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออก

จังหวัดชลบุรี มีอ่างเก็บน้ำ 7 อ่าง รวมปริมาณน้ำ 76.5 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 1.8 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 1) ปริมาณน้ำใช้การได้ 61 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 34 ของความจุอ่างฯ

จังหวัดระยอง มีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง รวมปริมาณน้ำ 354.8 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 68 ของความจุอ่างฯ (น้อยกว่าปี 2552 จำนวน 31.0 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 6) ปริมาณน้ำใช้การได้ 326 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 62 ของความจุอ่างฯ

2. สภาพน้ำท่า

ภาคเหนือ แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม่น้ำมูล ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคกลาง แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย

ภาคใต้ แม่น้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี แม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย

3. คุณภาพน้ำ (ข้อมูล ณ วันที่ 7 เมษายน.2553)

กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ดังนี้

แม่น้ำ        จุดเฝ้าระวัง                            ค่า DO(mg/l)   ค่า Sal (g/l)    เกณฑ์
เจ้าพระยา    ท่าน้ำจังหวัดนนทบุรี                          2.41          0.42         ปกติ
ท่าจีน        ที่ว่าการอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม          1.21          0.13         ค่า DO ต่ำกว่าเกณฑ์
แม่กลอง      ปากคลองดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี            4.08          0.10         ปกติ

หมายเหตุ ค่า Do หมายถึง ค่าออกซิเจนละลายในน้ำ ไม่ต่ำกว่า 2 มิลลิกรัม/ลิตร

ค่า Sal หมายถึง ค่าความเค็มของน้ำ สำหรับการเกษตรไม่เกิน 2 กรัม/ลิตร

การจัดสรรน้ำและการปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2552/2553

แผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้ง ปี 2552/2553 (วันที่ 1 พ.ย.52-30 เม.ย. 53) จำนวน 20,720 ล้าน ลบ.ม. โดยจัดสรรน้ำในลุ่มเจ้าพระยา 8,000 ล้าน ลบ.ม.

ผลการจัดสรรน้ำ ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 52 ถึง 19 เม.ย.53 จัดสรรน้ำไปแล้ว 21,215 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 102 ของแผนการจัดสรรน้ำ (เกินแผนที่กำหนดไว้ 495 ล้าน ลบ.ม.) ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ วันที่ 19 เม.ย.53 มีการใช้น้ำไปแล้ว 9,799 ล้าน ลบ.ม. (เกินแผนที่กำหนดไว้ 1,799 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 122 ของแผนการจัดสรรน้ำ

คาดการณ์พื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งทั้งประเทศ ปี 2552/2553 จำนวน 12.28 ล้านไร่ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 9.50 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 7.50 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.00 ล้านไร่) พืชไร่ พืชผัก 2.78 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.78 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.00 ล้านไร่) และมีแผนการจัดสรรน้ำให้พืชอื่นๆ เช่น ไม้ยืนต้น อ้อย บ่อปลา บ่อกุ้ง จำนวน 3.64 ล้านไร่ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน)

ผลการปลูกพืชฤดูแล้ง ณ วันที่ 9 เม.ย. 53 พื้นที่ปลูกแล้วทั้งสิ้น จำนวน 18.70 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 152 ของพื้นที่คาดการณ์ แยกเป็น ข้าวนาปรัง 15.78 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 166 ของพื้นที่คาดการณ์ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 9.93 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 5.85 ล้านไร่) พืชไร่ พืชผัก 2.92 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 105 ของพื้นที่คาดการณ์ (ในเขตพื้นที่ชลประทาน 0.62 ล้านไร่ และนอกเขตพื้นที่ชลประทาน 2.30 ล้านไร่)

พืชอื่นๆ จำนวน 3.85 ล้านไร่

การให้ความช่วยเหลือ

1. สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 713 เครื่อง ในพื้นที่ 40 จังหวัด ได้แก่ ภาคเหนือ 15 จังหวัด จำนวน 248 เครื่อง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 10 จังหวัด จำนวน 249 เครื่อง ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก 12 จังหวัด จำนวน 183 เครื่อง และภาคใต้ 3 จังหวัด จำนวน 33 เครื่อง

2. สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ จำนวน 17 คัน ในพื้นที่ภาคตะวันออก 3 จังหวัด

3. การปฏิบัติการฝนหลวง สำนักฝนหลวงและการบินเกษตร ได้เริ่มตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาค เพื่อเตรียมรับสถานการณ์ภัยแล้งปี 2553 ตั้งแต่วันที่ 25 มกราคม 2553 เป็นต้นมา จำนวน 5 ศูนย์ ประจำภาคต่างๆ และได้ส่งเครื่องบินไปตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว จำนวน 10 หน่วย และฐานเติมสารฝนหลวง จำนวน 1 ฐาน ได้แก่ หน่วยเชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น อุบลราชธานี นครราชสีมา ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์(หัวหิน) และสุราษฎร์ธานี และฐานเติมสารฝนหลวงจังหวัดตาก

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงประจำสัปดาห์ ช่วงวันที่ 9-15 เมษายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการ จำนวน 110 เที่ยวบิน มีฝนตกในพื้นที่เป้าหมาย 20 จังหวัด วัดปริมาณน้ำฝนสูงสุดได้ 81.2 มิลลิเมตร

ผลการปฏิบัติการฝนหลวงสะสม ช่วงวันที่ 25 มกราคม - 15 เมษายน 2553 ขึ้นปฏิบัติการรวม 48 วัน จำนวน 939 เที่ยวบิน มีรายงานฝนตกในปฏิบัติการ รวม 36 วัน จำนวน 234 สถานี วัดปริมาณน้ำฝนรายวันสูงสุดได้ 135.4 มิลลิเมตร จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 55 จังหวัด จากจำนวนจังหวัดที่อยู่ในเป้าหมายทั้งหมด 70 จังหวัด

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 20 เมษายน 2553--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ