เปรียบเทียบร่างรัฐธรรมนูญเดิมกับรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๔๐ มาตราที่ 266-269

ข่าวการเมือง Thursday July 12, 2007 14:13 —สภาร่างรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (เดิม)
ส่วนที่ ๔ การดำเนินคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มาตรา ๒๖๖ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
หรือข้าราชการการเมืองอื่น ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม
ประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นให้ศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน
รวมทั้งผู้ให้ ผู้ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง เพื่อจูงใจให้กระทำ
การ ไม่กระทำการ หรือประวิงการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ด้วย
- มาตรา ๒๖๗ ผู้เสียหายจากการกระทำตามมาตรา ๒๖๖ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา ๒๔๓ (๒) ได้ตามพระราชบัญญัติ
ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๖๓ วรรคหนึ่ง วรรคสี่
และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
- มาตรา ๒๖๘ ในการพิจารณาคดี ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ยึดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหลักในการพิจารณา และอาจไต่สวน
หาข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควรให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๐๙ มาใช้บังคับกับการปฏิบัติ
หน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยโดยอนุโลม บทบัญญัติว่าด้วยความคุ้มกัน
ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๒๖ มิให้นำมาใช้บังคับกับการพิจารณาคดีของศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- มาตรา ๒๖๙ การพิพากษาคดีให้ถือเสียงข้างมาก โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้อง
ทำความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติ คำสั่งและคำ
พิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เปิดเผยและเป็นที่สุด เว้นแต่กรณีตาม
วรรคสาม ในกรณีที่ผู้ต้องคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
มีพยานหลักฐานใหม่ ซึ่งอาจทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญอาจยื่นอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกา
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
หลักเกณฑ์การยื่นอุทธรณ์และการพิจารณาวินิจฉัยของที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาให้เป็นไปตามระเบียบที่ที่ประชุมใหญ่
ศาลฎีกากำหนด
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐
ส่วนที่ ๔การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- มาตรา ๓๐๘ ในกรณีที่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา
หรือข้าราชการการเมืองอื่น ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติ กระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตาม
ประมวลกฎหมายอาญา หรือกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่หรือทุจริตต่อหน้าที่ตามกฎหมายอื่นให้ศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีอำนาจพิจารณาพิพากษา
บทบัญญัติวรรคหนึ่งให้ใช้บังคับกับกรณีที่บุคคลดังกล่าวหรือบุคคลอื่นเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับ
สนุนด้วย
- มาตรา ๓๐๙ ผู้เสียหายจากการกระทำตามมาตรา ๓๐๘ มีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการ
ป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา ๓๐๑ (๒) ได้ตามกฎหมายประกอบ
รัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๓๐๕ วรรคหนึ่ง วรรคสี่
และวรรคห้า มาใช้บังคับโดยอนุโลม
- มาตรา ๓๑๐ ในการพิจารณาคดี ให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ยึดสำนวนของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นหลักในการพิจารณา และอาจไต่สวนหา
ข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานเพิ่มเติมได้ตามที่เห็นสมควร ให้นำบทบัญญัติมาตรา ๒๖๕ มาใช้บังคับ
กับการปฏิบัติหน้าที่ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองด้วยโดยอนุโลมบทบัญญัติว่าด้วย
ความคุ้มกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามมาตรา ๑๖๖ และมาตรา ๑๖๗ มิให้นำมาใช้บังคับ
กับการพิจารณาคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
- มาตรา ๓๑๑ การพิพากษาคดีให้ถือเสียงข้างมาก โดยผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะทุกคนต้องทำ
ความเห็นในการวินิจฉัยคดีเป็นหนังสือพร้อมทั้งต้องแถลงด้วยวาจาต่อที่ประชุมก่อนการลงมติความเห็นในการ
วินิจฉัยคดีอย่างน้อยต้องประกอบด้วย (๑) ชื่อผู้ถูกกล่าวหา (๒) เรื่องที่ถูกกล่าวหา
(๓) ข้อกล่าวหาและสรุปข้อเท็จจริงที่ได้จากการพิจารณา (๔) เหตุผลในการวินิจฉัย
ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย (๕) บทบัญญัติของกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิง
(๖) คำวินิจฉัยคดี รวมทั้งการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีคำสั่งและคำพิพากษาของศาลฎีกา
แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้เปิดเผยและเป็นที่สุด
เหตุผลที่แก้ไข
แก้ไขมาตราที่ 266
แก้ไขความในวรรคสองเพื่อให้ใช้บังคับถึงบุคคลอื่นที่มีส่วนร่วมกระทำความผิดเพิ่มขึ้นด้วย
เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดให้ได้ผลดียิ่งขึ้น
แก้ไขมาตราที่ 269
เพิ่มหลักการในวรรคสามโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาได้ ในกรณีที่มีพยานหลักฐาน
ใหม่ทำให้ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สิทธิแก่ผู้ต้องคำพิพากษาขอทบทวนคำพิพากษาใหม่ได้ตามเหตุที่กำหนด
ส่วนรายละเอียดของคำวินิจฉัยว่าจะมีข้อความอย่างไร เป็นเรื่องในวิธีปฏิบัติของศาล ซึ่งไม่จำเป็นต้องบัญญัติ
ในรัฐธรรมนูญและบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง
ทางการเมือง
(ยังมีต่อ)

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ