สถานการณ์พลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2553

ข่าวทั่วไป Thursday March 31, 2011 11:38 —กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน

ปี2553 มีการใช้พลังงานทดแทนรวม 27,068.15 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งประกอบด้วย พลังงานชีวมวลของแข็ง พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม ขยะ เชื้อเพลิงชีวภาพของเหลว ก๊าซชีวภาพ พลังงานความร้อนใต้พิภพ ถ่านหินและก๊าซธรรมชาติสำหรับรายละเอียดของสถานการณ์ปี2553 มีดังนี้

1.ศักยภาพพลังงานทดแทนของประเทศ พลังงานชีวมวลของแข็งจากการรวบรวมและประมาณการปริมาณวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งประกอบด้วย อ้อยโรงงาน ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว ถั่วลิสง ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าวฟ่าง ยางพารา สับปะรด แบล็คลิเคอและก๊าซเหลือใช้จากกระบวนการผลิต พบว่าศักยภาพเชิงพลังงานมีทั้งหมดประมาณ 33,055.70 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานแสงอาทิตย์ ศักยภาพด้านพลังงานแสงอาทิตย์ คิดเป็น 525,481.31 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานลม จากรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทย2546 พบศักยภาพเชิงพลังงานลมมีประมาณ12.25 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานน้ำ ศักยภาพด้านพลังงานน้ำคำนวณจากเขื่อนผลิตไฟฟ้าที่ดำเนินการที่มีกำลังการผลิตไม่เกิน12 เมกกะวัตต์ มีศักยภาพเชิงพลังงาน 36.92 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ขยะ ในปี2553 จากการประมาณการศักยภาพเชิงพลังงานขยะโดยผ่านกระบวนการเผาไหม้ คิดเป็น3,657.23 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบเชื้อเพลิงชีวภาพของเหลวจากการรวบรวมและประมาณการปริมาณชีวมวลที่สามารถนำมาผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพของเหลว อันได้แก่ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว มันสำปะหลัง และกากน้ำตาล พบปริมาณศักยภาพเชิงพลังงานของน้ำมันปาล์ม 200.72 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ น้ำมันมะพร้าว46.56 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ มันสำปะหลัง615.64 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และกากน้ำตาล123.18 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ก๊าซชีวภาพ มีการผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์และน้ำเสียจากอุตสาหกรรม จากการประมาณการพบศักยภาพเชิงพลังงานจากมูลสัตว์คิดเป็น 294.17 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ น้ำเสียจากอุตสาหกรรม553.29 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ถ่านหิน/ลิกไนต์ จากการประมาณการ ศักยภาพเชิงพลังงานของถ่านหินในประเทศและถ่านหินนำเข้าคิดเป็น 538,089 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และมีปริมาณถ่านหินสำรองในประเทศจำนวน 2,075 ล้านตัน พลังงานความร้อนใต้พิภพศักยภาพด้านพลังงานความร้อนใต้พิภพคิดเป็น 526.95 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบก๊าซธรรมชาติ จากการประมาณการศักยภาพเชิงพลังงานก๊าซธรรมชาติ ปี 2553 คิดเป็น 298,143.44 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสำรองทั้งจากแหล่งบนบก และแหล่งในทะเล จำนวน 28,454.59 พันล้านลูกบาศ์กฟุต พลังงานไฮโดรเจนประเทศไทยมีการผลิตก๊าซไฮโดรเจนซึ่งเป็นผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมปิโตรเลียมและปิโตรเคมีซึ่งโรงงาน บางแห่งเผาก๊าซไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงเพื่อผลิตไอน้าซึ่งปริมาณที่ใช้ยังมีน้อยมากก๊าซมีเทนจากเหมืองถ่านหิน จากผลการสำรวจของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในปี 2549 พบปริมาณสำรองของก๊าซมีเทนในชั้นถ่านหินมีประมาณ 14,058.70 ลูกบาศก์ฟุต พลังงานนิวเคลียร์ จากข้อมูลรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 พบแหล่งแร่กัมมันตรังสีเพียงเล็กน้อยและยังไม่มีการประมาณปริมาณสำรองและการใช้แร่กัมมันตรังสีเป็นแหล่งพลังงานในประเทศไทย หินน้ำมันและทรายน้ำมัน จากผลการสำรวจกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในปี 2553 พบแหล่งหินน้ำมันคิดเป็นปริมาณหินน้ำมันสำรองในประเทศจำนวน 1,051 ล้านตัน และมีศักยภาพเชิงพลังงานประมาณ 99,659 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง จากข้อมูลรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 พบศักยภาพด้านพลังงานน้ำขึ้นน้ำลงคิดเป็น 0.001 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ปัจจุบันยังไม่มีการนำพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงมาใช้ พลังงานคลื่น จากข้อมูลรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 พบศักยภาพด้านพลังงานคลื่นคิดเป็น 0.50 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ปัจจุบันยังไม่มีการนำพลังงานจากคลื่นมาใช้

2.การนำเข้าในปี2553 มีการนำเข้าพลังงานทดแทนอันได้แก่ ถ่านหินจำนวน 17,011 พันตัน,ก๊าซธรรมชาติ 463,393 ล้านลูกบาศก์ฟุต,ถ่านไม้ 87 พันตัน,ฟืน 208 พันตัน,แกลบ 0.10 พันตัน,เอทานอล 1,667 พันลิตร,น้ำมันปาล์ม 44 พันตัน,น้ำมันมะพร้าว 27,667 ตัน กากน้ำตาล 157 พันตัน และพลังงานไฟฟ้ารวมทั้งสิ้น 7,129 ล้านกิโลวัตต์ชั่วโมง

3.การส่งออกในปี 2553 มีการส่งออกพลังงานทดแทนประเภทถ่านไม้จำนวน 13 พันตัน, ฟืน 554 พันตัน, แกลบ 0.07 พันตัน, เอทานอล 48,180 พันลิตร, น้ำมันปาล์ม 224 พันตัน, น้ำมันมะพร้าว 798 ตัน กากน้ำตาล 237 พันตัน

          4.การใช้พลังงานทดแทนของประเทศจำแนกตามประเภทของพลังงาน พลังงานชีวมวลของแข็ง การใช้ชีวมวลของแข็งเพื่อผลิตพลังงานคิดเป็นปริมาณเท่ากับ  13,813.32 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบโดยใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต 6,948 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบในครัวเรือน6,470 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบและเพื่อการผลิตไฟฟ้า 395.32 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบพลังงานแสงอาทิตย์ มีการใช้พลังงานแสงอาทิตย์คิดเป็นปริมาณเท่ากับ 5.62 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบจัดเป็นพลังงานเพื่อการผลิตไฟฟ้า 4.50 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ผลิตความร้อน 1.12 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานลมมีการใช้พลังงานลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 0.04 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบพลังงานน้ำ การใช้พลังงานน้ำเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 20.02 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบขยะ การใช้ขยะเพื่อผลิตพลังงาน คิดเป็นปริมาณ 1.63 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ จัดเป็นพลังงานเพื่อผลิต ความร้อน 1.26 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และผลิตไฟฟ้า 0.37 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ เชื้อเพลิงชีวภาพของเหลว การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพของเหลวเพื่อการขนส่งปริมาณเท่ากับ 820 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบก๊าซชีวภาพ การใช้ก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตพลังงานคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 398.32 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบจัดเป็นพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้า 19.69 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบและเพื่อผลิตความร้อน 378.63 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ถ่านหิน/ลิกไนต์ การใช้ถ่านหินเพื่อผลิตพลังงานความร้อนคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 8,240 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบพลังงานความร้อนใต้พิภพการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพเพื่อผลิตพลังงานคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 1.6 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบจัดเป็นพลังงานเพื่อการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด ก๊าซธรรมชาติ การใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตพลังงานคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 3,769 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ จัดเป็น    พลังงานเพื่อการผลิตความร้อน 2,171 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ  พลังงานเพื่อการขนส่ง 1,597 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และเพื่อธุรกิจการค้า 1 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ  พลังงานไฮโดรเจนจากรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 การใช้ก๊าซไฮโดรเจนเพื่อผลิตพลังงานคิดเป็นปริมาณเท่ากับ 0.60 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบจัดเป็นพลังงานเพื่อการผลิตความร้อนทั้งหมด ก๊าซมีเทนจากเหมืองถ่านหิน จากรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 ถึงปัจจุบันยังไม่มีการใช้ก๊าซมีเทนจากเหมืองถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานประเทศไทย พลังงานนิวเคลียร์ จากรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 ถึงปัจจุบันยังไม่มีการใช้แร่กัมมันตรังสีเป็นแหล่งพลังงานในประเทศไทย หินน้ำมันและทรายน้ำมัน จากรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 ถึงปัจจุบันยังไม่มีการใช้หินน้ำมันและทรายน้ำมันเป็นแหล่งพลังงานในประเทศไทย     พลังงานน้ำขึ้นน้ำลง จากรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 ถึงปัจจุบันยังไม่มีการใช้พลังงานน้ำขึ้นน้ำลงเป็นแหล่งพลังงานในประเทศไทย พลังงานคลื่น จากรายงานพลังงานทดแทนของประเทศไทยปี 2546 ถึงปัจจุบันยังไม่มีการใช้พลังงานคลื่นเป็นแหล่งพลังงานในประเทศไทย

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ