บอร์ด คปภ. เห็นชอบเดินหน้าแก้ไข พ.ร.บ. รถ

ข่าวทั่วไป Monday March 2, 2015 14:29 —คปภ.

นายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เผยผลการประชุมคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558 สรุปสาระสำคัญ 2 เรื่อง ดังนี้
1. เห็นชอบหลักการในการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 และแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถสรุปได้ ดังนี้

? การรวมกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ และภาคสมัครใจไว้ในฉบับเดียวกัน

? การปรับเพิ่มเบี้ยประกันภัยรถจักรยานยนต์ 100 บาทเพื่อให้สะท้อนความเสี่ยงภัยที่แท้จริง และปรับจำนวนเงินความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยเพิ่มขึ้น ดังนี้

อีกทั้งให้แยกวงเงินความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลออกจากวงเงินความคุ้มครองข้ออื่น และให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยจ่ายค่าเสียหายอื่นได้ นอกจากค่าเสียหายเบื้องต้นตามที่กฎหมายกำหนด ให้กับผู้ประสบภัยจากรถ ที่เกิดเหตุจากรถที่ไม่ทำประกันภัย รถที่ถูกขโมย ชิงทรัพย์และได้มีการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนแล้วและรถคันนั้นไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของรถ และถูกรถชนแล้วหนี ซึ่งเมื่อรวมกับค่าเสียหายเบื้องต้นแล้ว สรุปได้ดังนี้

1) ค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท

2) ค่าสินไหมทดแทนกรณีเสียชีวิต/ทุพพลภาพถาวร 200,000 บาท

3) ค่าชดเชยกรณีสูญเสียอวัยวะ (อยู่ระหว่างการพิจารณา)

  • การเพิ่มวงเงินความคุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอก
  • การปรับให้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยมีสภาพเป็นนิติบุคคล

สำนักงาน คปภ. ได้ศึกษาแนวทางการตั้งสำรองเผื่อการด้อยค่าของอสังหาริมทรัพย์ที่รอการจำหน่าย ในกรณีที่ได้ให้ความเห็นชอบการถือครองอสังหาริมทรัพย์และรอจำหน่ายแล้ว (2 ปี) แต่บริษัทประกันภัยไม่สามารถจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวออกไปได้ ภายหลังสิ้นสุดระยะเวลาที่ให้ความเห็นชอบ โดยมีสาระ สำคัญ ดังนี้

1. หลักเกณฑ์เบื้องต้นในการพิจารณาขยายระยะเวลา บริษัทประกันภัยต้องมีอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุน หรือ CAR ไม่ต่ำว่าร้อยละ 140 และอัตราส่วนสินทรัพย์ต่อภาระผูกพันและสภาพคล่องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 ติดต่อกัน 4 ไตรมาสล่าสุด และมีแผนการเร่งรัดการจำหน่ายอย่างดีที่สุดแล้ว

2. ระยะเวลาที่ขยายได้ไม่เกิน 2 ปี คงเดิม

3. หลักการพิจารณาให้ความเห็นชอบ

3.1 กรณีที่บริษัทยื่นขอขยายระยะเวลา ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด สำนักงาน คปภ.จะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับ อสังหาริมทรัพย์รายการนี้ต้องหักค่าเผื่อการด้อยค่าตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สิน

3.2 กรณีบริษัทยื่นขอขยายระยะเวลา เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด จะพิจารณาให้ขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ปี บริษัทที่มีอสังหาริมทรัพย์รอจำหน่ายเกินร้อยละ 10 ของเงินกองทุน หากได้รับการผ่อนผันแล้ว ต้องหักค่าเผื่อการด้อยค่าตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สิน

3.3 เมื่อพ้นกำหนดที่ได้รับการขยายระยะเวลาแล้ว หากบริษัทไม่สามารถจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์นั้น จะดำเนินคดีเปรียบเทียบปรับ อสังหาริมทรัพย์รายการนี้ต้องหักค่าเผื่อการด้อยค่าตามประกาศ คปภ. ว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สิน ด้วย

ที่มา: http://www.oic.or.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ