การลงทุนจากต่างประเทศในสหรัฐอเมริกา

ข่าวเศรษฐกิจ Friday November 19, 2010 17:49 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ภาพรวมการลงทุนจากต่างประเทศของสหรัฐฯ

1.1 ในปี 2552 สหรัฐฯ มีการลงทุนจากต่างประเทศจำนวน 2,319 พันล้านเหรียญสหรัฐฯเพิ่มขึ้นร้อยละ7.1 จากปี 2551 หรือ คิดเป็นมูลค่าจำนวน 154 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ

1.2 แหล่งที่มาของการลงทุนจากต่างประเทศ 5 อันดับแรกของสหรัฐฯ ในปี 2552 ได้แก่ อังกฤษ (ร้อยละ 13.4) เนเธอร์แลนด์ (ร้อยละ 13.4) แคนาดา (ร้อยละ 7.4) เบอร์มิวดา (ร้อยละ 7.0) ลักเซมเบอร์ก (ร้อยละ 5.0)

1.3 ในปี 2552 กลุ่มประเทศจากยุโรปลงทุนในสหรัฐฯ มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 63.2 กลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิก เป็นอันดับที่ 2 ร้อยละ 16.4 แคนาดาเป็นอันดับที่ 3 ร้อยละ 10.8 และ กลุ่ม ประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียน ร้อยละ 6.5

1.4 กลุ่มประเทศเอเซียแปซิฟิกลงทุนในสหรัฐฯ เป็นมูลค่า 361.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2552 ได้แก่

1) ญี่ปุ่น มูลค่า 264.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 72.5

2) ออสเตรเลีย มูลค่า 45.6 พันล้านเหรีญญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 12.6

3) สิงคโปร์ มูลค่า 22.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 6.3

4) เกาหลีใต้ มูลค่า 12.0 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 3.3

5) อินเดีย มูลค่า 4.3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 1.2

6) ไต้หวัน มูลค่า 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 1.2

7) ฮ่องกง มูลค่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ร้อยละ 1.0

4. สาขาการลงทุนที่ได้รับความสนใจสูง 5 อันดับแรก ในปี 2552 ได้แก่ สาขาการเงินและประกันภัย ร้อยละ 24.9 สาขาอุตสาหกรรมการผลิต ร้อยละ 15.1 สาขาการขายค้าส่ง ร้อยละ 5.5 สาขาเหมืองแร่ ร้อยละ 4.7 และ สาขาการสื่อสารและสารสนเทศ ร้อยละ 4.2

2. นโยบายการส่งเสริมการลงทุน

2.1 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Government) ไม่มีข้อกีดกันหรือห้ามการลงทุนจาก ต่างประเทศ และให้สิทธิผู้ประกอบการจากต่างประเทศเท่าเทียมกับผู้ประกอบการในสหรัฐฯ

2.2 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ อนุญาตให้ต่างประเทศลงทุนในกิจการบางสาขาที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ เช่น การป้องกันประเทศ พลังานงานนิวเคลียร์ การสื่อสาร การธนาคาร และ การคมนาคมขนส่ง แต่จะควบคุมเข้มงวด

2.3 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ประกาศนโยบาย "Open Economies" เมื่อเดือนมีนาคม 2550 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างโอกาสและพัฒนาเศรษฐกิจการค้า ซึ่งรวมไปถึงการลงทุน “Invest in America” ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เป็นผู้รับผิดชอบในเรื่องการผลักดันการลงทุนจากต่างประเทศ

2.4 รัฐบาลระดับมลรัฐทุกแห่งจำนวน 50 มลรัฐจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุนขึ้น เพื่อให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ รวมไปถึงการให้สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน

3. ปัจจัยกระตุ้นและสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุน (Investment Incentives)

3.1 กระทรวงต่างๆ ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ เช่น กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตร กระทรวงพลังงาน กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงพาณิชย์ ร่วมมือกันจัดหาสิทธิประโยชน์และโปรแกรมเพื่อช่วยเหลือนักลงทุน ปัจจัยกระตุ้นการลงทุนและสิทธิประโยชน์ ของรัฐบาลกลางสหรัฐฯ (Federal Government) ได้แก่

3.1.1 การค้ำประกันเงินกู้ (Loan Guarantee)

3.1.2 การฝึกอบรบผู้บริหารและพนักงาน (Training)

3.1.3 การจัดโปรแกรมการอุดหนุนการสนับสนุน(Grant Program)

3.1.4 การลดอัตราภาษีรายได้ธุรกิจ (Corporate Tax Incentive Deduction)

3.1.6 การลดอัตราภาษีอาคารพาณิชย์ (Commercial Building Tax Deduction)

3.1.7 การลดอัตราภาษีพลังงานของธุรกิจ (Business Energy Tax Credit)

3.1.8 การลดและยกเว้นภาษีเครื่องจักรและวัตถุดิบ (Duty Waived)

3.1.9 วีซ่าและใบอนุญาติทำงาน (Visa & Employment)

3.2 รัฐบาลมลรัฐ(State Government) เสนอสิทธิประโยชน์ให้นักลงทุนต่างประเทศเพิ่มเติมไปจากการเสนอให้ของรัฐบาลกลาง เพื่อดึงดูดนักลงทุนให้ไปลงทุนในรัฐของตนเอง โดยแต่ละมลรัฐจะเสนอสิทธิ์ประโยชน์แตกต่างกันไป และนักลงทุนต่างประเทศสามารถต่อรอง ในเรื่องสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากรัฐบาลมลรัฐได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่รับวงเงินการลงทุน ประโยชน์ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ และการจ้างงาน สิทธิประโยชน์ที่รัฐบาลมลรัฐเสนอให้ ได้แก่

3.2.1 Corporate Income Tax Exemption & Credits

3.2.2 Personal Income Tax Exemption (State Only)

3.2.3 Excise Tax Exemption

3.2.2 Franchise Tax Incentives and Credits

3.2.3 Property Taxes Incentives

3.2.4 Sales Taxes and Use Taxed Incentives

3.2.5 Utility Taxes & Rate Incentives

3.2.6 Special Purpose Zone Incentives Credits

3.2.7 Training Grants & Credits

3.2.8 Cast Grants & Financial Incentives

3.2.9 Low interest Financing

3.2.10 Material Tax Exemptions

3.2.11 Tax Incentive for Creating Job

3.2.12 State Loan Guarantee for Building Construction & Equipments

3.2.13 Tax Credit for using State Products

4. สาขาการลงทุนที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน

4.1 สาขาการผลิต

          1) Agricultural Equipment                         8) Medical Devices
          2) Biofuels                                       9) Metalworking
          3) Computer Hardware                              10) Oil and Gas
          4) Environmental Technologies                     11) Portland Cement
          5) Food Processing and Packaging Equipment        12) Renewable Energy
          6) Generic Pharmaceuticals                        13) Semiconductor Industry
          7) Instrumentation                                14) Telecommunications Equipment

4.2 สาขาบริการ

          1) Accounting                                     9) Health Care Services
          2) Air Transport                                  10) Insurance
          3) Asset Management and Pensions                  11) Legal Services
          4) Banking                                        12) Logistics
          5) Computer Software                              13) Management Consulting
          6) Construction Services                          14) Mortgage Financing
          7) Electronic Commerce                            15) Securities
          8) Equipment Leasing                              16) Venture Capital / Private Equity

5. ปัญหาที่นักลงทุนจากต่างประเทศประสบจากการประกอบกิจการในสหรัฐฯ

5.1 ปัญหาเรื่องการจ้างงาน

5.2 ปัญหาการแบ่งพรรคพวก การกีดกันทางสังคมและชาติพันธุ์

5.3 ปัญหาเรื่องการละเมิดทางเพศ

5.4 ปัญหาการคุ้มครองผู้บริโภค

5.5 ปัญหาเรื่องความรับผิดชอบในผลิตภัณฑ์

5.6 ปัญหาเรื่องระบบภาษีและการจัดเก็บ

5.7 ปัญหาค่าจ้าง และ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง

5.8 ปัญหาการสื่อสารภายในองค์กร

5.9 ปัญหาลูกจ้างพนักงาน

5.10 ปัญหาขอบเขตในการดำเนินธุรกิจ (Jurisdiction)

6. หน่วยงานให้การสนับสนุนและช่วยเหลือด้านการลงทุน

6.1 รัฐบาลกลางสหรัฐฯ(Federal Government)

Invest in America

International Trade Administration

U.S. Department of Commerce

Attn: Mr. Aaron Brickman, Director

Tel. 1-202-482-5199

Fax. 1-202482-3643

Email. info@investamerica.gov, aaron.brickman@trade.gov

Website. www.investamerica.gov

6.2 รัฐบาลระดับมลรัฐในเขตอาณาดูแลของสคร.ชิคาโก 16 มลรัฐ (State Governments)

Arkansas (AR)

Becky Thompson

Arkansas Economic Development Commission

One Capitol Mall Little Rock, AR 72201

Tel. 1-501-682-2052

Fax 1-501-682-7394

Email: bthompson@arkansasedc.com

Website: www.arkansasedc.com

Illinois (IL)

Christopher Sala

Dept. of Commerce and Economic Opportunity

100 W. Randolph, Suite 3-400 Chicago, IL 60601

Tel. 1-312-814-8531 Fax 1-312-814-6581

Email. christopher.sala@illinois.gov

Website. www.illinoisbiz.biz

Indiana (IN)

Stephen J. Akard Indiana

Economic Development Corporation

One North Capitol Ave., 7th Floor Indianapolis, IN 46204

Tel. 1-317-234-2083

Fax 1-317-232-4146

Email sakard@iedc.in.gov

Website. www.iedc.in.gov

Iowa (IA)

Beth Balzer

Iowa Department of Economic Development

200 East Grand Avenue Des Moines, IA 50309

Tel. 1-515-725-3111 Fax 1-515-725-3010

Email. beth.balzer@iowa.gov

Website. www.iowalifechanging.com

Kansas (KS)

John Watson

Kansas Department of Commerce

1000 S.W. Jackson St., Suite 100 Topeka, KS 66612

Tel. 1-785-296-1866 Fax 1-785-296-5263

Email. jwatson@kansascommerce.com

Website. www.kansascommerce.com

Kentucky (KY)

Mark Peachey

Kentucky Cabinet for Economic Development

300 West Broadway Frankfort, KY 40601

Tel. 1-502-564-7140

Fax 1-502-564-3256

Email. mark.peachey@ky.gov

Website. www.thinkkentucky.com

Louisiana (LA)

Larry Collins

Department of Economic Development

P.O. Box 94185 Baton Rouge, LA 70804-9185

Tel. 1-225-342-4323

Fax 1-225-342-5349

Email. collins@la.gov

Website. www.lded.state.la.us

Michigan (MI)

Lisa Brown

MI Economic Development Corporation

300 N. Washington Square Lansing, MI 48913

Tel. 1-517-241-9635

Fax 1-517-241-3683

Website. www.michiganadvantage.org

Minnesota (MN)

Ed Dieter

Minnesota Trade Office

332 Minnesota Street, Suite E200 St. Paul, MN 55101

Tel. 1-651-259-7489

Fax 1-651-296-3555

Email. ed.dieter@state.mn.us

Website. www.exportminnesota.com

Missouri (MO)

Dennis Pruitt

The Missouri Partnership

120 S. Central Avenue, Suite 1150 St. Louis, MO 63105

Tel. 1-314-725-0949

Fax 1-314-725-0743

Email. dpruitt@missouripartnership.com

Website. www.missouripartnership.com

Nebraska (NE)

Richard Baier

Department of Economic Development

301 Centennial Mall South, 4th Floor Lincoln, NE 68509

Tel. 1-402-471-3111

Fax 1-402-471-3778

Email. richard.baier@nebraska.gov

Website. www.neded.org

North Dakota (ND)

Paul Lucy

North Dakota Department of Commerce

1600 East Century Avenue, Suite 2 Bismarck, ND 58502

Tel. 1-701-328-5300

Fax 1-701-328-5320

Email. plucy@nd.gov

Website. www.ndbusiness.com

Ohio (OH)

Deborah Scherer

Ohio Department of Development

Riffe Building, 29th Floor Columbus, OH 43215

Tel. 1-614-466-5017

Fax 1-614-463-1540

Email. deborah.scherer@development.ohio.gov

Website. www.odod.state.oh.us

Oklahoma (OK)

Sandy Pratt

Oklahoma Department of Commerce

900 N. Stiles Avenue Oklahoma City, OK 73104

Tel. 1-405-815-5104

Fax 1-405-815-5290

Email. sandy_pratt@okcommerce.gov

Website. www.okcommerce.gov

South Dakota (SD)

Joop Bollen

SD International Business Institute

1200 South Jay Street Aberdeen, SD 57401

Tel. 1-605-626-3149

Fax 1-605-626-3004

Email. bollenj@northern.edu

Website. www.sd-exports.org

Wisconsin (WI)

Mickey Judkins

Wisconsin Department of Commerce

201 W. Washington Avenue, 6th Floor Madison, WI 53707

Tel. 1-608-266-6675

Fax 1-608-266-5551

Email. mickey.judkins@wisconsin.gov

Website. http://commerce.wi.gov

7. ข้อคิดเห็นและเสนอแนะ

กลยุทธ์การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและการว่างงานของรัฐบาลประธานาธิบดี Barack Obama ที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การดึงการลงทุนจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment มายังสหรัฐฯ เพื่อก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น ปัจจุบัน ทั้งรัฐบาลกลางสหรัฐฯ และรัฐบาลระดับมลรัฐต่างให้ความสำคัญต่อการลงทุน มีการจัดตั้งหน่วยงานส่งเสริมและให้ความช่วยเหลือนักลงทุน

โดยเฉพาะขึ้นมาปัจจุบัน ค่าเงินบาทแข็งค่าและค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐฯ อ่อนตัว จึงเป็นโอกาสดีของนักธุรกิจ/นักลงทุนไทย ที่สนใจจะไปลงทุนในสหรัฐฯ เนื่องจากการลงทุนจะใช้เงินบาทจำนวนน้อยลง นักธุรกิจ/นักลงทุนที่สนใจการลงทุนในสหรัฐฯเป็นโอกาส ควรเริ่ม ดังนี้

1. ติดต่อหน่วยงานการค้า/การลงทุนของสหรัฐฯ ที่สถานเอกอัครราชทูตของสหรัฐฯ ประจำประเทศไทย www.buyusa.gov/thailand/th

2. เข้าค้นหาและตรวจสอบข้อมูลการลงทุนในชั้นปฐมภูมิในรัฐต่างๆ ในสหรัฐฯ จาก Web Site ด้านการค้าและพัฒนาเศรษฐกิจของมลรัฐต่างๆ ตามที่ระบุในข้อ 6

3. เดินทางไปเยือนสหรัฐฯ เพื่อพบกับเจ้าหน้าที่รับผิดชอบด้านการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลมลรัฐที่สนใจเข้าไปลงทุน หรือ ขอความร่วมมือสำนักงานส่งเสริมการค้าในสหรัฐฯ 4 แห่งช่วยประสานงานจัดทำนัดหมายพบเจ้าหน้าฝ่ายการลงทุนของสหรัฐฯ หรือขอข้อมูลเพิ่มเติม

4. กลยุทธ์การไปลงทุนในสหรัฐฯ ที่ควรพิจาณา ได้แก่ 1) การเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนกิจการ (Joint Venture & Partnership) 2) การเข้าซื้อกิจการ (Acquisition) 3) การทุนสร้างโรงงานผลิตสินค้า (Manufacturing) และ 4) การซื้อ/ขายฟรานไชส์(Franchising)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ