ข้อมูลเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในสิงคโปร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 25, 2010 16:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1.ข้อมูลทั่วไป

หน่วยงานหลักของสิงคโปร์ที่สนับสนุนด้านการลงทุนคือ Economic Development Board (EDB) ซึ่งมีนโยบายและแนวทางในการทำให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีศักยภาพสำหรับนักลงทุน ทั้งนักลงทุนต่างชาติและ นักลงทุนในประเทศ เพื่อผลสำคัญในการสร้างให้เศรษฐกิจสิงคโปร์ให้เติบโตในระดับสูง และส่งให้ประเทศมีเอกลักษณ์ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในเอเชีย

EDB ได้มุ่งเน้นให้เกิดการประสานกันในกลุ่ม Regionalizing และ Internationalizing โดยสนับสนุนให้บริษัทสิงคโปร์ดำเนินกิจการนอกประเทศ และเชิญชวนบริษัทต่างชาติลงทุนในประเทศ ซึ่งนอกจากจะเป็นการช่วยเพิ่มขีดความสามารถให้สิงคโปร์มีศักยภาพการแข่งขันทางการค้าแล้ว ยังทำให้สิงคโปร์มีความมั่นคงในการเป็นผู้นำของโลกที่มีบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนธุรกิจมากขึ้น ทั้งนี้ บริษัทจากทั่วโลกจำนวนมากมองสิงคโปร์เป็นที่ตั้งสำหรับการขยายธุรกิจไปยัง Pan-Asian เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์จากสภาวะทางการค้าที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียทั้งในรูปแบบของ Regionalizing และ Internationalizing

EDB ได้มองเห็นความสนใจของบริษัทจากประเทศเศรษฐกิจต่างๆ และบริษัทจากภูมิภาคเอเชีย ที่มีความประสงค์จะจัดตั้งบริษัท/สำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์ โดยที่ปัจจุบัน EDB มีนโยบายใหม่ คือ Host to Home หมายถึงการให้สิงคโปร์เป็น ‘Home for Business’, ‘Home for Innovation’ และ ‘Home for Talent’ ซึ่งส่งผลให้ชาวต่างชาติสนใจเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์เพิ่มขึ้น

EDB มุ่งเน้นการเชิญชวนชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ โดยเฉพาะในด้าน Capital-Knowledge and Innovation-Intensive (CKI) ในอุตสาหกรรมการผลิต, R&D และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่จะทำให้มีการจ้างงานในระดับสูง บริษัทที่เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ส่วนใหญ่มาจากสหรัฐฯและยุโรป โดยใช้สิงคโปร์เป็นฐานในการขยายธุรกิจสู่ภูมิภาคเอเชียและทั่วโลก นอกจากนี้ ผู้ค้าในเอเชียได้เห็นว่าสิงคโปร์เป็นพื้นฐานที่มีประสิทธิภาพเพื่อการขยายธุรกิจให้มีความเจริญเติบโตไปยังภูมิภาคและนานาชาติด้วย ทั้งนี้ บริษัทต่างๆที่ได้จัดตั้งสำนักงานใน สิงคโปร์ให้เป็น Home Base ได้แก่ Quintiles (US), Medtronic (US), Pall Corp (US), Association to Advance Collegiate Schools of Business (US), Rolls-Royce (UK), Eurocopter (France), Remy Cointreau (France), Zodiac (France), Francotyp-Postalia (Germany), International Baccalaureate (Switzerland), AAC Acoustic (China), Li-Ning (China), Focus Media (China), K S Oils (India), NTT Data Corporation (Japan), Hitachi Data Systems (Japan), Agility (Kuwait) ส่วนโครงการสำคัญๆ ที่ได้เปิดตัวแล้ว ได้แก่ 3M Drug Delivery Systems (US), CDM (US), Baxter (US), Abbott (US), Siemens (Germany), ABB (Switzerland), TATA Communications (India), Tuas Power (China), Sembcorp Marine (Singapore)

อนึ่ง EDB ได้จัดให้มีโปรแกรมให้ความช่วยเหลือแก่บริษัทในสิงคโปร์ในช่วงเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย ซึ่งเมื่อเดือนมกราคม 2552 EDB ได้ประกาศโปรแกรม PREP-UP (PREParing for the UPturn) มูลค่า 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ เพื่อบริษัทจัดให้พนักงานไปรับการฝึกอบรมในช่วงเศรษฐกิจถดถอย (แทนการปลดพนักงาน เนื่องจากบริษัทมีธุรกิจหดตัวลง) และให้บริษัทมีฐานะที่สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้เมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นในปี 2552-2554 ทั้งนี้ ในปี 2552 EDB ได้จัดสรรเงินจำนวน 56 ล้านเหรียญสิงคโปร์แก่บริษัท 90 ราย ในการฝึกอบรมพนักงานจำนวน 2,800 คน

2. ข้อมูลกฎ ระเบียบ มาตรการการลงทุน ทั่วไป

-กฎหมายการลงทุน

สิงคโปร์ไม่จำกัดในการลงทุน ขั้นเริ่มแรกในการลงทุนในสิงคโปร์ นักลงทุนจำเป็นต้องศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนกิจการ (Feasibility Study) อาทิ ประเภทของกิจการหรือธุรกิจที่สนใจ และเดินทางไปสำรวจลู่ทางการลงทุนด้วยตนเอง หรือรับคำแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษา โดยปกติการลงทุนในสิงคโปร์ ผู้ลงทุนสามารถตัดสินใจว่าจะลงทุนเองทั้งหมด หรือลงทุนร่วมกับผู้ประกอบการท้องถิ่น แล้วจึงจัดทำรายงานข้อเสนอโครงการ (Proposal เพื่อยื่นต่อ Accounting & Corporate Regulatory Authority (ACRA) ซึ่ง ACRA จะใช้เวลาในการพิจารณาอนุมัติจัดตั้งบริษัทประมาณ 14-60 วัน เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงสามารถจัดตั้งบริษัทพร้อมจัดหาแรงงาน หากเป็นแรงงานต่างชาติต้องขอใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงาน (Ministry of Manpower) หากมีการนำเข้าหรือส่งออกสินค้า ต้องขอใบอนุญาตจาก International Enterprise Singapore (IE Singapore) ด้วย

-การส่งเสริมการลงทุน

ด้วยวิสัยทัศน์ของรัฐบาลสิงคโปร์ตั้งแต่อดีต ที่ได้วางแผนการเติบโตของประเทศด้วยการทำการค้าและอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง อาทิ การขยายเขตุอุตสาหกรรมไปยังย่านจูร่ง การออกพระราชบัญญัติแรงงานให้สอดคล้องกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การสนับสนุนและดูแลอุตสาหกรรมให้ผ่านวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจต่างๆไปได้ การวางแผนการศึกษาที่เน้นด้านการค้า การเงิน อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี ทำให้ประเทศสิงคโปร์ได้รับความสนใจในการลงทุนจากต่างประเทศเป็นอย่างมาก

สิงคโปร์เป็นประแทศที่ให้ความเท่าเทียมกันระหว่างนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ จึงทำให้กฎหมายการลงทุนของสิงคโปร์เอื้อประโยชน์ต่อผู้ลงทุนเป็นอย่างมาก โดยไม่มีกำหนดขั้นต่ำของเงินลงทุน การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างในสิงคโปร์ รวมถึงอิสระในการโอนเงินตราต่างประเทศ และผลกำไรในการประกอบธุรกิจออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตว่า การลงทุนในลักษณะตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มและต้องใช้การทำวิจัย (Research & Development : R&D) ร่วมด้วย มักจะได้รับการทาบทามขอเป็นหุ้นส่วนจากองค์กรของรัฐบาล (Government Link) แต่มีธุรกิจบางประเภทที่จำกัดสัดส่วนการลงทุน อาทิ การกระจายเสียง และการจัดสรรคลื่นความถี่ (สูงสุดไม่เกินร้อยละ 49) กิจการด้านหนังสือพิมพ์ (ไม่เกินร้อยละ 5) และกิจการที่ห้ามนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุน ได้แก่ ธุรกิจด้านกฎหมาย และการประกอบอาชีพทนายความ รวมถึงบางสาขาที่เกี่ยวข้องกับกิจการวิสาหกิจของรัฐ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างประเทศที่ลงทุนหรือมีกิจการอย่างต่อเนื่องในประเทศสิงคโปร์ สามารถเข้าร่วม Global Investor Programme หรือ GIP ซึ่งสามารถเลือกการลงทุนได้ 3 แบบ ได้แก่

              ตัวเลือกที่ 1               ตัวเลือกที่ 2                             ตัวเลือกที่ 3

          จำนวนการลงทุน        อย่างน้อย 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์              อย่างน้อย 1.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์

อย่างน้อย 2 ล้านเหรียญสิงคโปร์

          ประเภทการลงทุน       จัดตั้งธุรกิจใหม่หรือการขยายกิจการที่มีอยู่แล้ว     จัดตั้งธุรกิจใหม่ หรือการขยายกิจการที่มีอยู่

จัดตั้งธุรกิจใหม่ หรือการขยายกิจการที่มีอยู่ หรือได้รับ GIP-Approved-Fund

หรือได้รับ GIP-Approved-Fund

รายการสินค้า / อุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริม การลงทุน

  • วิทยาศาสตร์ชีวภาพ (การให้บริการสุขภาพ เทคโนโลยีด้านเภสัชภัณฑ์ และเทคโนโลยีชีวภาพ)
  • พลังงานสะอาด
  • บริการด้านการศึกษาและอาชีพ
  • อิเล็คทรอนิกส์ (ส่วนประกอบและระบบอิเล็คทรอนิกส์ และ Semiconductors)
  • พลังงาน บริการด้านเคมี และวิศวกรรม
  • เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
  • การสื่อสาร (คอมพิวเตอร์และธุรกรรมอิเล็คทรอนิกส์ สื่อและสิ่งบันเทิง ดิจิตัล การโทรคมนาคม)
  • องค์กรระหว่างประเทศ องค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐบาล และองค์กรเพื่อมนุษยชน
  • กีฬาและสิ่งพักผ่อนหย่อนใจ
  • โลจิสติกส์
  • นวัตกรรม
  • วิศวกรรมสิ่งพิมพ์ และวิศวกรรมขนส่ง

(ที่มา : Contact Singapore, www.contactsingapore.sg/GIP)

ความน่าลงทุนในประเทศสิงคโปร์

จากรายงาน Global Competitiveness Report 2008-2009 ได้จัดให้ประเทศสิงคโปร์เป็นอันดับ 5 ในกลุ่มประเทศเอเซีย เนื่องจากประเทศสิงคโปร์มีสาธารณูปโภคที่ดีเป็นระดับโลก โดยเฉพาะในด้านของคุณภาพการจัดการท่าเรือ และท่าอากาศยาน อย่างไรก็ตาม ขนาดของตลาดภายในประเทศ อัตราดอกเบี้ย และหนี้ของรัฐบาล ก็เป็นข้อจำกัดของประเทศสิงคโปร์ในการจัดลำดับดังกล่าว ซึ่งสิงคโปร์ได้รับการจัดลำดับให้เป็นอันดับหนึ่งของประเทศที่ทำธุรกิจได้สะดวกที่สุด ตารางข้างล่างนี้แสดง 10 อันดับแรก

               ประเทศ       ปี 2552     ปี 2551
          สิงคโปร์               1          1
          นิวซีแลนด์              2          2
          สหรัฐอเมริกา           3          3
          ฮ่องกง                4          4
          เดนมาร์ค              5          5
          ไอร์แลนด์              7          8
          แคนาดา               8          7
          ออสเตรเลีย            9          9
          นอรเวย์              10         11

ทั้งนี้ ปัจจัยในการจัดลำดับความน่าลงทุน ประกอบด้วย สภาวะเศรษฐกิจ ความได้เปรียบและสภาวะแวดล้อมทางธุรกิจ การจดทะเบียนและความสามารถทางธุรกิจ เสถียรภาพของรัฐบาล แรงงานคุณภาพ และสภาวะความเป็นอยู่ของผู้ลงทุนต่างชาติ ซึ่งประเทศสิงคโปร์ได้รับการจัดลำดับในส่วนปัจจัยต่างๆ อยู่ในระดับต้นๆของการน่าลงทุนและการอยู่อาศัยในสิงคโปร์ (ที่มา : Global Competitiveness Report 2008-2009)

คุณสมบัติที่ทำให้สิงคโปร์เป็นที่น่าสนใจมาลงทุน

  • เป็นสนามเศรษฐกิจที่สำคัญหลังจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจโลก และเริ่มฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะมีการเติบโตที่แข็งแรงที่สุดในเอเชีย
  • เป็นประเทศที่ดีที่สุดในการเป็นฐานการผลิตด้านอุตสาหกรรมเพิ่มมูลค่าที่มีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  • สิงคโปร์ได้รับประโยชน์และโอกาสทางเศรษฐกิจจากการเติบโตของประเทศจีนและอินเดียที่เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของสิงคโปร์
  • เป็นทำเลที่มีความมั่นคง แน่นอน สามารถคาดการณ์ได้ และมีนโยบายการค้าที่ชัดเจน
  • มีสมรรถนะทางอุตสาหกรรม ความน่าเชื่อถือ ความรู้ และมีเครือข่ายการติดต่อธุรกิจที่ดี
  • มีการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา และมีกฎหมายอย่างชัดเจน
  • มีความชำนาญด้านเทคนิค และมีแรงงานที่มีความสามารถ

สิทธิประโยชน์ในการลงทุนในสิงคโปร์ ที่สำคัญ ได้แก่

1. Enterprise Investment Incentive (EII) Scheme เป็นการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่มิได้จดทะเบียนในตลาดหุ้นในปีที่เริ่มกิจการและมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว (Paid-up Capital) ไม่ต่ำกว่า 10,000 เหรียญสิงคโปร์ รวมทั้งมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หรือมีบริการรูปแบบใหม่ โดยบริษัทสามารถนำยอดขาดทุนสะสมมาหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุดถึง 3 ล้านเหรียญสิงคโปร์

2. Tax Exemption for Start-Ups สำหรับนิติบุคคลที่จดทะเบียนในสิงคโปร์และมีผู้ถือหุ้นไม่เกิน 20 ราย โดยทุกรายเป็นบุคคลธรรมดา สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้ โดยเงินรายได้จำนวน 1 แสนเหรียญสิงคโปร์แรก ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้ประจำปีเป็นเวลา 3 ปี โดยสรุปภาษีที่ได้รับการลดหย่อนเพื่อสนับสนุนการลงทุน (www.iras.gov.sg) ได้แก่

-ภาษีนิติบุคคล

-ภาษีบุคคลธรรมดา

-ส่วนต่างภาษีระหว่างบุคคลที่อยู่และไม่อยู่ในสิงคโปร์

-ลดหย่อนภาษีคนโสดสำหรับการดูแลบุตร

-ลดหย่อนภาษีแบบหักจ่ายสำหรับทรัพย์สินทางปัญญา

-การลดภาษีสำหรับค่าใช้จ่ายทางการค้นคว้าวิจัยและพัฒนา

3. Licensed Warehouse Scheme (LWS) หากธุรกิจนั้นมีคลังสินค้าของตนเอง เพื่อเก็บสินค้าที่ต้องเสียภาษี Goods and Services Tax (GST) สามารถขอจดทะเบียนคลังสินค้าที่ Singapore Customs เป็น Licensed Warehouse ได้ ซึ่งจะได้สิทธิประโยชน์จากการยกเว้นภาษี GST สำหรับสินค้าที่ยังเก็บในคลังสินค้านี้ จนกว่าจะมีการจำหน่ายออกไป แต่ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเสียค่าธรรมเนียมคลังสินค้ารายปี โดยหากเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เสียค่าธรรมเนียม 40,000 เหรียญสิงคโปร์/ปี หากเป็นสินค้าอื่นๆ ในปีแรก ค่าธรรมเนียมคำนวณจากภาษีที่คาดว่าจะเก็บได้ (Projected Potential Duty) จากปริมาณสินค้าสูงสุดที่คลังสินค้านั้นสามารถรองรับได้ ส่วนปีต่อไปคำนวณจากภาษีเฉลี่ยที่จัดเก็บได้ในเดือนก่อนหน้า (Average Past Monthly Duty) โดยมีอัตราค่าธรรมเนียมคลังสินค้าจดทะเบียนดังตาราง นี้

       Projected Potential Duty/Average Past Monthly Duty            ค่าธรรมเนียม (เหรียญสิงคโปร์)
1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือน้อยกว่า                                                     2,500
มากกว่า 1 ล้านเหรียญสิงคโปร์ แต่ไม่เกิน 10 ล้านเหรียญสิงคโปร์                              4,000
ตั้งแต่ 10 ล้านเหรียญสิงคโปร์                                                        21,000
ที่มา : Government of Singapore, Licensed Warehouse Scheme (LWS)

อนึ่ง สำหรับสินค้าที่ไม้ต้องเสียภาษี GST สามารถขอจดทะเบียนเป็น Zero GST Warehouse ได้ ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในกระบวนการเสียภาษี GST

ข้อมูลการจัดตั้งธุรกิจในสิงคโปร์

-ระเบียบการจัดตั้ง

การจัดตั้งบริษัทในสิงคโปร์ สามารถมีผู้ถือหุ้นต่างชาติได้ทั้งหมด โดยยื่นขอจดทะเบียนบริษัทต่อกรมทะเบียนการค้าและธุรกิจ (Accounting & Corporate Regulatory Authority : ACRA) เพื่อจดทะเบียนการจัดตั้งบริษัท/ธุรกิจภายใต้ Business Registration Act Cap 32 ซึ่งบุคคลที่จะจัดตั้งบริษัทต้องจดทะเบียนกับ ACRA ในธุรกิจทุกสาขา รวมถึง Trade, Commerce, Craftsmanship, Profession or any activity carried on for the purpose of gain รายละเอียดจากเว็บไซด์ www.acra.gov.sg

-ข้อมูลสรุปสำหรับการจัดตั้งบริษัทในประเทศสิงคโปร์

1. สามารถมีผู้ถือหุ้นต่างชาติได้ทั้งหมด

2. ทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ 1 ดอลล่าร์สิงคโปร์

3. สามารถจดทะเบียนได้ภายใน 1 วัน หากไม่ต้องยื่นขอใบอนุญาตจากหน่วยงานอื่น

4. มีผู้ถือหุ้นอย่างน้อย 1 คน และกรรมการ 1 คน

5. ได้รับการยกเว้นภาษีรายได้ 100,000 เหรียญสิงคโปร์แรกต่อปี เป็นเวลา 3 ปีนับแต่วันจัดตั้งบริษัท

6. ภาษีร้อยละ 9 คิดจากเงินได้ 300,000 เหรียญสิงคโปร์ ต่อปี เริ่มตั้งแต่ ปี 2551

7. ภาษีบริษัทร้อยละ 18 สำหรับเงินได้ที่นอกเหนือจาก 300,000 เหรียญสิงคโปร์แรก

8. โดยทั่วไป ไม่มีภาษี บนกำไรที่ได้รับจากการขายคืนสินทรัพย์ (Capital Gain Tax) และเงินปันผล

9. สิงคโปร์จะออกวีซ่าสำหรับผู้ประกอบการ (Entrepreneur Pass) ให้แก่เจ้าของกิจการที่ประสงค์จะย้ายกิจการมาที่ประเทศสิงคโปร์

10.ไม่มีข้อจำกัดในการแลกเปลี่ยนและการส่งเงินกำไรจากการประกอบการกลับประเทศ

3. ข้อมูลการลงทุนของไทยในสิงคโปร์

ก. ข้อมูลการลงทุนในสาเดิม

1.สาขาการลงทุนของไทยในปัจจุบัน และมูลค่าการลงทุนในแต่ละสาขา

การลงทุนของบริษัทไทยในสิงคโปร์ อยู่ในสาขาธุรกิจบริการ กลุ่มภัตตาคารและสปา ซึ่งมูลค่าการลงทุนในแต่ละสาขาประมาณปีละ 2-3 ล้านเหรียญสิงคโปร์ (ประมาณ 48-72 ล้านบาท)

2.เหตุผลหรือปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของไทยในสาขาดังกล่าว

ปัจจัยที่ส่งเสริมการลงทุน ได้แก่ สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ มีทำเลที่ตั้งเป็น Gate Way สู่ภูมิภาคต่างๆทั่วโลก มีเครือข่ายและระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและทันสมัย ระบบการจัดการที่ได้ระดับมาตรฐานนานาชาติ กฎระเบียบการลงทุนที่โปร่งใส เสถียรภาพทางการเมืองมั่นคง ระบบการเงิน/การคลังที่เอื้อประโยชน์ ทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุน กฎ/ระเบียบปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเคร่งครัด

3.มูลค่าและอัตราการเติบโตของการลงทุนรวมในสาขาการผลิตและธุรกิจบริการ (ปี 2549-2552)

          Indicator                2549         2550         2551         2552
          Manufacturing          10,357.10    17,187.20    18,046.00    11,753.90
          Services Clusters      1,514.50     1,103.60     1,659.70     1,661.80

โดยกลุ่ม Service Clusters ปี 2549/2550 มีอัตราลดลงร้อยละ 27.09, ปี 2550/2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.38 และปี 2551/2552 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.13

4.มูลค่าและอัตราการเติบโตของการลงทุนไทยในสาขาดังกล่าว

ในช่วงปี 2549-2550 การเติบโตลดลงประมาณร้อยละ 10 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย และช่วงปี 2551-2552 เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 5 ทั้งนี้ ไม่ปรากฎการจดบันทึกมูลค่าที่แน่นอน

5.บริษัทต่างชาติที่ปัจจุบันไทยเป็นพันธมิตรร่วมลงทุนในสาขาดังกล่าว ส่วนใหญ่ไทยร่วมลงทุนกับสิงคโปร์

6.ประเทศคู่แข่งของไทยในการลงทุนในสาขาดังกล่าว

-คู่แข่งในกลุ่มภัตตาคาร ได้แก่ อิตาลี ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์

-คู่แข่งในกลุ่มสปา ได้แก่ อินโดนีเชีย มาเลเซีย ฝรั่งเศส สิงคโปร์

7.การพัฒนาและการปรับตัวของนักลงทุนไทยในการเพิ่มขีดความสามารถในการลงทุนในสาขาดังกล่าว

โดยการจัดการโลจิสติกส์ให้มีศักยภาพ รวมถึงการจัดหาวัตถุดิบและพนักงานชาติอื่นๆทดแทนพนักงานไทย เพื่อให้สามารถลดค่าใช้จ่ายการลงทุน

8.อุปสรรคและข้อจำกัดทางกฎหมายในการลงทุนสาขาดังกล่าว

อุปสรรค คือ การขออนุญาตจ้างแรงงานไทย

9.กลยุทธ์และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการส่งเสริมการลงทุนในสาขาดังกล่าว

ภาครัฐขอทำความตกลงเรื่องระเบียบการจ้างแรงงานจากไทยให้เกิดความคล่องตัวโดยไม่มีการจำกัดโควต้าและให้ระดับค่าจ้างสามารถปรับลดจากระดับขั้นต่ำ เพื่อให้นักลงทุนสามารถอยู่รอดได้

ข. ข้อมูลการลงทุนในสาขาใหม่

1.สาขาการลงทุนใหม่ๆที่ไทยควรเข้าไปลงทุน

-Clean Energy/Solar Energy

-Pharmaceuticals and Biotechnology

-Consumer Business (Consumer Care, Goods, Nutrition, Lifestyle and Hospitality Products)

2.เหตุผลหรือปัจจัยที่ส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนของไทยในสาขาดังกล่าว

-ภาครัฐสิงคโปร์ปูแนวทางและจัดให้มีโปรแกรมการสนับสนุนการลงทุน โดยเฉพาะกลุ่มการผลิตที่ทำให้มีมูลค่าเพิ่ม และมุ่งเน้นให้ประเทศเป็น Global Clean Energy Hub

-การมีพื้นฐานในด้าน Good Science และสถานที่เหมาะสมสำหรับการศึกษาค้นคว้าวิจัยและ พัฒนาให้สินค้าสามารถไปสู่เชิงพาณิชย์ ได้แก่ Tuas Biomedical Park (TBP)

-สิงคโปร์เป็นที่ตั้งที่เหมาะสมเป็น Gate Way ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและมีการจัดการด้าน โลจิสติกส์ที่มีศักยภาพ ส่งผลให้บริษัทต่างชาติจัดตั้งสำนักงานใหญ่ในสิงคโปร์

-การปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาที่มีระเบียบเคร่งครัด

3.มูลค่าและอัตราการเติบโตของการลงทุนรวมในสาขา(ตามตารางข้างล่าง) ปี 2552

    Industry                          VA per annum     Total FAI       Total TBS       Skilled Emp.
                                      (S$ billion)    (S$ billion)    (S$ billion)         ราย
Biomedical Manufacturing                   0.7            1.1              0.3             700
HQ & Professional Services                 6.1            0.5              0.8            3,900
Engineering & Environmental Services       0.3            0.3              0.4            1,500
Logistics                                  0.2            0.2              0.5            1,200
Healthcare Services                       0.04           0.01              0.1              100
VA =Value-Added,  FAI= Fixed Asset Investment, TBS= Total Business Spending (TBS)
ที่มา : Economic Development Board, Singapore

4.บริษัทต่างชาติที่ไทยควรติดต่อเข้าร่วมเป็นพันธมิตรการลงทุนในสาขาดังกล่าว

-Clear Energy : Renewable Energy Corporation, Vestas Wind System

-Pharmaceuticals and Biotechnology : AstraZeneca, Bayer, Boehringer-Ingelheim, Bristol- Myers Squibb, Genzyme, GlaxoSmithKline, Merck, Quintiles, Sanofi-Aventis, Schering-Plough, Novartis, Lilly, Takeda, CombinatoRx, S*Bio, MerLion Pharmaceuticals, PhamaLogicals, Abbott, Alcon, CIBA Vision, Genentech, Lonza, Wyeth

-Consumer Business : Procter & Gamble, Unilever, Nestle, Johnson & Johnson, Cadbury Plc., LVMH Fragrances & Cosmetics, Diageo, Starwood Hotels & Resorts Worldwide, Disney and Warner Brothers

5.ประเทศคู่แข่งของไทยในการลงทุนในสาขาดังกล่าว

เดนมาร์ค สหรัฐฯ ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย มาเลเซีย เวียดนาม สิงคโปร์

6.การเตรียมตัวของนักลงทุนไทยในการลงทุนในสาขาดังกล่าว

ทำการศึกษารายละเอียดของอุตสาหกรรมดังกล่าว สร้างพื้นฐานของบริษัทให้มีความสามารถในการแข่งขันในการลงทุนและการค้า และร่วมลงทุนกับบริษัทต่างชาติ/บริษัทสิงคโปร์เพื่อเข้าไปลงทุนในสิงคโปร์

7.อุปสรรคและข้อจำกัดทางกฎหมายในการลงทุนในสาขาดังกล่าว

-การลงทุนในสาขาต่างๆ ส่วนใหญ่ไม่จำกัดสิทธิในการลงทุน บริษัทต่างชาติสามารถลงทุนได้ร้อยละ 100 หากได้รับการอนุญาตให้จดทะเบียนบริษัท ยกเว้น Limit of Foreign equity participation in Service Sector ในกลุ่ม Domestic Airline, Airport และ Broadcasting ซึ่งบริษัทต่างชาติถือหุ้นได้สูงสุดร้อยละ 49 และต้องยื่นขอใบอนุญาตพิเศษจากหน่วยงานควบคุม คือ 1) Ministry of Transport : MOT, Civil Aviation Authority of Singapore : CAAS, Maritime and Port Authority : MPA สำหรับ Domestic Airline และ Airport และ 2) Ministry of Information, Communication and the Arts : MICA, Media Development Authority :MDA สำหรับ Broadcasting

8.กลยุทธ์และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมในการส่งเสริมการลงทุนไทยในสาขาดังกล่าว

-สร้างพื้นฐานการค้นคว้าวิจัยผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องในสาขาดังกล่าวให้มีระดับมาตรฐานนานาชาติ และใช้สิงคโปร์เป็นพื้นฐานในการส่งออกไปยังภูมิภาคที่สิงคโปร์มีเครือข่าย

-สร้างเครือข่ายการค้าให้กว้างขวาง เพื่อสะดวกในการประสานติดต่อการลงทุนและการค้าขาย

-ร่วมมือกับบริษัทต่างชาติเข้าไปลงทุนในสิงคโปร์

ค. ข้อมูลการลงทุนในสิงคโปร์ ปี 2552

ในช่วงที่เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง แต่สิงคโปร์ยังคงมีพื้นฐานที่มั่นคงเป็นที่น่าสนใจแก่ชาวต่างชาติให้เข้ามาลงทุนโครงการคุณภาพสูงต่างๆในสิงคโปร์ เนื่องจากสิงคโปร์มีทำเลที่ตั้งเป็น gate way สู่ภูมิภาคต่างๆทั่วโลก การมีเครือข่ายและระบบโลจิสติกส์ที่สะดวกและทันสมัย รวมถึงระบบการจัดการที่ได้ระดับมาตรฐานนานาชาติ จึงทำให้นักลงทุนมีความเชื่อมั่นในการเข้ามาลงทุน ซึ่งการลงทุนดังกล่าวจะส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมของสิงคโปร์มีความแข็งแกร่งและช่วยให้การเติบโตของเศรษฐกิจสิงคโปร์อยู่ในระดับสูง และ EDB ได้ประกาศผลของการลงทุนในปี 2552 ซึ่งเกินกว่าที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ และได้คาดการณ์การลงทุนในปี 2553 จะอยู่ในระดับที่ดีและมีมูลค่าสูงกว่าในปี 2552

ในปี 2552 ผลของการลงทุน Fixed Asset Investment (FAI) มีมูลค่า 11.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์, Total Business Spending (TBS) มีมูลค่า 6.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ และการจ้างงานตำแหน่งชำนาญการรวม 15,200 อัตรา ตารางแสดงการเปรียบเทียบกับปี 2551 และ 2552 ดังนี้

          Indicator                                                  2551      2552
          Total Value-Added (VA) per annum (S$ billion)              14.7      12.5
          Total Fixed Asset Investments (FAI) (S$ billion)            18       11.8
          Total Business Spending (TBS) per annum (S$ billion)       7.8       6.8
          Total Skilled Jobs                                        16,400    15,200

การลงทุนในปี 2552 แบ่งตามภาคอุตสาหกรรม ดังนี้

          Industry                 VA per annum      Total FAI      Total TBS     Skilled Emp.
                                   (S$ billion)     (S$ billion)   (S$ billion)       ราย
Biomedical Manufacturing                0.7              1.1            0.3           700
Electronics                             1.8              4.9            1.8          2,800
Chemicals                               0.9              3.1            0.3            400
Precision Engineering                   0.9              0.7            0.6          1,100
Transport Engineering                   0.4              0.3            0.2           1,00
General Manufacturing Industries        0.4              0.1            0.1            100
Infocomms & Media                       0.6              0.5            0.4          1,200
HQ & Professional Services              6.1              0.5            0.8          3,900
Engineering & Environmental Services    0.3              0.3            0.4          1,500
Logistics                               0.2              0.2            0.5          1,200
Education                               0.2              0.1           0.36          1,200
Healthcare Services                    0.04             0.01            0.1            100
TOTAL                                  12.5             11.8            6.8         15,200
VA =Value-Added,  FAI= Fixed Asset Investment, TBS= Total Business Spending (TBS)
ที่มา : Economic Development Board, Singapore

ทั้งนี้ การลงทุนเหล่านี้ อัตราการจ้างงานร้อยละ 53 อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และส่วนที่เหลือร้อยละ 47 อยู่ในภาคการให้บริการนานาชาติ ทั้งนี้ ร้อยละ 69 เป็นระดับศาสตราจารย์ รวมถึงระดับผู้จัดการ วิศวกร นักค้นคว้าวิจัย และผู้ชำนาญงาน

การลงทุน Fixed Asset Investments (ล้านเหรียญสิงคโปร์) ในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการและการศึกษา-ค้นคว้าวิจัยในสิงคโปร์ แยกกลุ่มสำคัญ ปี 2549-2552 ดังนี้

          กลุ่ม                             2549         2550         2551         2552p
          TOTAL                         10,357.10    17,187.20    18,046.00    11,753.90
          Local                         2,801.30     2,498.40     1,863.40     3,368.30
          Foreign                       7,555.80     14,688.80    16,182.60    8,385.60
             United States              2,392.60     3,191.20     11,292.00    4,191.00
             Japan                      1,342.10     1,055.70     1,251.60     1,032.30
             Europe                     2,521.70     8,542.20     2,825.90     2,466.80
             Asia Pacific & Others      1,299.40     1,899.70       813.1        695.6

ที่มา: Economic Development Board

การคาดการณ์การลงทุนในปี 2553

ด้วยสภาวะที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวและเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียกลับฟื้นตัวได้เร็วกว่าในภูมิภาคอื่นๆ ทำให้การลงทุนมุ่งเน้นสู่ภูมิภาคเอเชีย ดังนั้น EDB คาดหวังว่า มูลค่าการลงทุนจากต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ปี 2553 จะสูงขึ้นกว่ามูลค่าของปี 2552 อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์พึงต้องระวังปัจจัยเสี่ยงสำคัญของ FAI ที่อาจจะมีความอ่อนตัวลงมากในการขยายปริมาณการผลิตของบริษัทรอบโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบให้มูลค่าการลงทุนของต่างชาติปี 2553 ลดต่ำลงกว่ามูลค่าในปี 2552 ทั้งนี้ EDB ได้คาดการณ์การลงทุนในปี 2553 ดังนี้

          Indicator                                                  2552     2553 คาดการณ์
          Total Value-Added (VA) per annum (S$ billion)              12.5         13-15
          Total Fixed Asset Investments (FAI) (S$ billion)           11.8        12-Oct
          Total Business Spending (TBS) per annum (S$ billion)       6.8          9-Jul
          Total Skilled Jobs                                        15,200    14,000-17,000

ที่มา : Economic Development Board, International Enterprise Singapore

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ