ข้อมูลตลาดสินค้าสิ่งทอในสิงคโปร์

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday November 25, 2010 16:54 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สิงคโปร์เป็นประเทศเล็ก มีประชากรประมาณ 4.9 ล้านคน ที่ประกอบด้วยชนหลายเชื้อชาติ ได้แก่ ชาวจีน 77 % ชาวมุสลิม(มาเลย์) 14 % ชาวอินเดีย 7.6 % และอื่นๆ 1.4 % ซึ่งนับเป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกซื้อสินค้าสิ่งทอ (ผ้าผืนและเครื่องนุ่งห่ม) เพื่อใช้ในประเทศ นอกจากนี้ ผู้นำเข้ามุ่งเน้นนโยบายขยายการค้าไปยังประเทศในตะวันออกกลาง เช่น ซาอุดิอาระเบีย กาตาร์ อียิปต์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เนื่องจากเป็นตลาดขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อสูง และมีโครงการก่อสร้างที่พักอาศัยอย่างต่อเนื่อง จะทำให้ผู้นำเข้าสามารถสั่งซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นเพื่อส่งออกต่อไปยังตลาดดังกล่าว

อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายในประเทศสิงคโปร์ ได้เปลี่ยนรูปแบบจากการผลิตสินค้าไปเป็นศูนย์แฟชั่นภูมิภาคและศูนย์กลางจัดหา/จัดซื้อและการพัฒนาสินค้า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการผลิตและค่าจ้างแรงงานสูงมากในสิงคโปร์ ทำให้โรงงานผลิตย้ายฐานการผลิตไปอยู่นอกสิงคโปร์ เช่น อินโดนีเซีย อัฟริกาใต้ เขมร ลาว พม่า เป็นต้น

1. ข้อมูลภาวะตลาดทั่วไป

1.1 สินค้าผ้าผืน และ Home Textiles Products

-รูปแบบสินค้า ได้แก่ ผ้าผืนประเภทต่างๆ ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าที่ใช้ประดับตกแต่งห้อง/สถานที่ ผ้าปูที่นอน ผ้าที่ใช้ในครัวเรือน และที่นอนพร้อมอุปกรณ์ เป็นต้น

-การนำเข้าสินค้า โดยที่สิงคโปร์ต้องนำเข้าสินค้าประเภทนี้จากประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งมูลค่าการนำเข้ารวมของสินค้าฯ พิกัด HS 2 หลัก ในปี 2552 สรุปได้ ดังนี้

   พิกัด HS                          สินค้า                             มูลค่า US S’000      ส่วนแบ่งตลาด %
     52     Cotton                                                         83,693       0.03
     53     Other Vegetable Textile Fibers Paper Yarn Etc.                  1,624       0.01
     54     Man-Made Filaments                                             55,183       0.02
     55     Man-Made Staple Fibers                                        136,439       0.06
     56     Wadding Felt & Nonwovens Twine Ropes Etc.                      92,207       0.04
     59     Impregnated Coated Textile Fabrics Etc.                       120,175       0.05
     60     Knitted Or Crocheted Fabrics                                  111,032       0.05
ที่มา  : International Enterprise Singapore

-การนำเข้าสินค้าฯ จากประเทศไทยและแหล่งผลิตอื่นๆ ตามพิกัด HS 8 หลัก ปี 2552 สรุปได้ ดังนี้ (รายละเอียดสถิตินำเข้าตามเอกสารแนบ)

1. พิกัด HS 55121900 : Woven Fabrics 85% or more of Polyester Staple Fibers นำเข้ารวมมูลค่า 57.18 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และไทยเป็นอันดับที่ 5 มูลค่านำเข้า 2.86 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 86.10 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.02 ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้าใน 10 อันดับแรกที่รองจากไทย ได้แก่ อินเดีย ไต้หวัน ตุรกี สหรัฐฯ และออสเตรเลีย

2. พิกัด HS 56074900 : Twine Cordage Ropes & Cable of Polyethylene or Polyprop นำเข้ารวมมูลค่า 11.58 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ เกาหลีใต้ รองลงมาคือ ไทย มูลค่าการนำเข้า 1.77 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 18.63 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 15.31 ส่วนประเทศใน 10 อันดับแรกที่รองจากไทย ได้แก่ อินเดีย จีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย สหราชอาณาจักร ฟิลิปปินส์ เยอรมัน และโปรตุเกส ทั้งนี้ การนำเข้าลดลงจากเกาหลีใต้(-10.20%) อินเดีย(-42.41%) จีน(-49.24%) มาเลเซีย(-16.50%) สหราชอาณาจักร(-69.64%) และฟิลิปปินส์(-46.31%)

3. พิกัด HS 56081100 : Made up Fishing Nets Man Made Textile Material นำเข้ารวมมูลค่า 11.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาคือ ไทย มูลค่านำเข้า 2.58 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 15.82 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 23.22 ประเทศคู่ค้าอันดับ 3-5 คือ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม

4. พิกัด HS 57032000 : Carpets and Other Floor Covering Tufted of Nylon or Polyamies นำเข้ารวมมูลค่า 6.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาคือ ไทย มูลค่านำเข้า 1.56 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 2.28 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 24.61 ประเทศคู่ค้าอันดับ 3-5 คือ สหรัฐฯ เบลเยี่ยม และแคนาดา

5. พิกัด HS 57049000 : Carpets and Other Textile Floor Covering NOT Tufted of Flocked นำเข้ารวมมูลค่า 15.12 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ ไทย มูลค่านำเข้า 4.31 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 33.81 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 28.53 ประเทศคู่ค้าอันดับ 2-5 คือ จีน ไต้หวัน สหรัฐฯ และเบลเยี่ยม

6. พิกัด HS 58063190 : Other Narrow Woven Fabrics of Cotton นำเข้ารวมมูลค่า 3.93 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ ไทย มูลค่านำเข้า 2.23 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 28.89 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 56.75 ประเทศคู่ค้าอันดับ 2-5 คือ จีน สหรัฐฯ มาเลเซีย และเกาหลีใต้

7. พิกัด HS 58063910 : Other Narrow Woven Fabrics of Silk นำเข้ารวมมูลค่า 13.59 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาได้แก่ ไทย มูลค่านำเข้า 6.18 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 12.14 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 45.49 ประเทศคู่ค้าอันดับ 3-5 คือ อินเดีย ไต้หวัน และฮ่องกง

8. พิกัด HS 60012100 : Looped Pile Fabrics of Cotton Knitted or Crocheted นำเข้ารวมมูลค่า 18.28 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ มาเลเซีย รองลงมาได้แก่ จีน ไต้หวัน ฮ่องกง และไทย เป็นอันดับที่ 5 มูลค่านำเข้า 1.53 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 56.20 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 0.84

9. พิกัด HS 60069000 : Other Knitted or Crocheted Fabric of Textile นำเข้ารวมมูลค่า 20.48 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ ไต้หวัน รองลงมาได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และไทย เป็นอันดับที่ 4 มูลค่านำเข้า 0.98 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 24.75 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.80

-รสนิยมของผู้บริโภค :

ส่วนใหญ่ชาวสิงคโปร์นิยมสินค้าที่ผลิตจากจีนที่มีสไตล์แบบตะวันตก โดยที่ชาวสิงคโปร์ประกอบ ไปด้วยชาวจีน มุสลิมมาเลย์ อินเดีย และอื่นๆ ดังนั้น เชื้อชาติและศาสนามีอิทธิพลอย่างมากต่อการเลือกซื้อสินค้าประเภทนี้ ได้แก่ ชาวจีนนิยมสีที่สดใสโดยเฉพาะสีแดงและมีลายมากๆ ส่วนชาวมุสลิมมาเลย์นิยมสีสดใสเข้มๆและมีการตกแต่งระบายพริ้ว และชาวอินเดียนิยมสไตล์ลวดลายใหญ่ๆที่มีสีพื้นเข้มทึบ เป็นต้น

สำหรับ-บรรจุภัณฑ์และโครงสร้างราคา ซึ่งสินค้า Home Textiles ส่วนใหญ่บรรจุกล่องกระดาษแข็งมีลายสวยงามสีสดใสและด้านหน้าเป็นแผ่นพลาสติกใสมองเห็นสินค้า ทั้งนี้ ราคาจำหน่ายปลีกขึ้นอยู่กับวัสดุและคุณภาพ ตัวอย่าง เช่น

-ผ้าปูโต๊ะขนาด 4 คน ราคาประมาณ 25 - 150 เหรียญสิงคโปร์

-ผ้าปูที่นอนขนาดเตียงเดี่ยว ราคาประมาณ 25 — 190 เหรียญสิงคโปร์

-ผ้าประดับโต๊ะอาหาร ขนาด 8 ที่นั่ง ราคาประมาณ 45 — 250 เหรียญสิงคโปร์

-แนวโน้มตลาด : เนื่องจากภาคการก่อสร้างในสิงคโปร์มีการเจริญเติบโตและเป็นไปอย่างต่อเนื่องทั้งการสร้างอาคารใหม่และการซ่อมสร้าง/บำรุงรักษาอาคารเดิม ที่อยู่ภายใต้โครงการสร้างที่พักอาศัยของ Housing Development Board (HDB) และภาคเอกชน คาดว่า สินค้า Home Textiles Products จะมีความต้องการเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องไปอีกช่วงระยะ 3-5 ปีข้างหน้า นอกจากนี้ โรงแรมต่างๆ มีนโยบายที่จะปรับปรุงสถานที่และสิ่งตกแต่งภายในให้มีความสวยงาม ทันสมัยเพื่อให้ทัดเทียมและสามารถแข่งขันได้กับโรงแรมใหม่ๆ ณ Integrated Resorts (IRs) ที่เปิดดำเนินการแล้ว ทั้งนี้ ความต้องการสินค้าฯของชาวสิงคโปร์จะยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ด้วยเหตุผลที่ว่า ชาวสิงคโปร์แยกไปตั้งครอบครัวใหม่ซึ่งมีประมาณร้อยละ 5 ต่อปี และการถือปฏิบัติตามวัฒนธรรมประเพณีซึ่งต้องเปลี่ยนเครื่องใช้ในบ้านก่อนถึงเทศกาลปีใหม่ โดยเชื้อชาติจีนเปลี่ยนก่อนเทศกาลตรุษจีน(เดือนมกราคม/กุมภาพันธ์) เชื้อชาติมุสลิมมาเลย์เปลี่ยนก่อนเทศกาล Hari Raya Puasa (เดือนกันยายน) และเชื้อชาติอินเดียเปลี่ยนก่อนเทศกาล Deepavali (เดือนตุลาคม)

1.2 สินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม

-รูปแบบสินค้า ได้แก่ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มประเภทต่างๆ

-การนำเข้าสินค้า สิงคโปร์นำเข้าสินค้าประเภทนี้จากประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งมูลค่าการนำเข้ารวมของสินค้าฯ พิกัด HS 2 หลัก ในปี 2552 สรุปได้ ดังนี้

   พิกัด HS                            สินค้า                                มูลค่า US S’000      ส่วนแบ่งตลาด %
     61     Articles of Apparel & Accessories Knitted Etc.                    896,719       0.37
     62     Articles of Apparel & Accessories NOT Knitted Etc.                695,381       0.28
     63     Other Made Up Textile Articles Worn Clothing Etc                  199,003       0.08

-การนำเข้าสินค้าฯ จากประเทศไทยและแหล่งผลิตอื่นๆ ตามพิกัด HS 8 หลัก ในปี 2552 สรุปได้ ดังนี้ (รายละเอียดสถิตินำเข้าตามเอกสารแนบ)

1. พิกัด HS 61034200 : Trousers Bib and Brace Overalls Breeches & Shorts Knitted or Crocheted of Cotton นำเข้ารวมมูลค่า 14.41 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ อินโดนีเชีย รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย จีน และไทยเป็นอันดับที่ 4 มูลค่านำเข้า 1.69 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 3.33 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.76 ทั้งนี้ การนำเข้าส่วนใหญ่ลดลง ยกเว้นจากอินโดนีเชีย

2. พิกัด HS 61046900 : Trousers Bib and Brace Overalls Breeches & Shorts Knitted OR Crocheted of Other Textiles for Women & Ladies นำเข้ารวมมูลค่า 14.44 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ มาเลเชีย รองลงมาได้แก่ จีน อินโดนีเชีย และไทยเป็นอันดับที่ 4 มูลค่านำเข้า 0.49 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 142.44 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.44

3. พิกัด HS 61051000 : Shirts Knitted or Crocheted of Cotton for Men & Boys นำเข้ารวมมูลค่า 58.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาได้แก่ อินโดนีเชีย มาเลเซีย อินเดีย สเปน ฮ่องกง เยอรมัน ฝรั่งเศส และไทยเป็นอันดับที่ 9 มูลค่านำเข้า 2.03 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 60.98 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.50 ทั้งนี้ การนำเข้าจากมาเลเซีย และอินเดีย ลดลงร้อยละ 59.19 และ 10.23 ตามลำดับ

4. พิกัด HS 61091010 : T-shirts Singlets and Others Vests Knitted or Crocheted of Cotton for Men & Boys นำเข้ารวมมูลค่า 93.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ มาเลเชีย รองลงมาได้แก่ จีน อินโดนีเซีย ฮ่องกง และไทยเป็นอันดับที่ 5 มูลค่านำเข้า 3.58 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 11.42 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.85 ทั้งนี้ การนำเข้าจากจีน และฮ่องกง ลดลงร้อยละ 27.31 และ 52.99 ตามลำดับ

5. พิกัด HS 61091020 : T-shirts Singlets and Others Vests Knitted or Crocheted of Cotton for Women & Girls นำเข้ารวมมูลค่า 89.05 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง มาเลเซีย อินโดนีเชีย และไทยเป็นอันดับที่ 5 มูลค่านำเข้า 3.86 ล้านเหรียญฯ ลดลงจากปีก่อนหน้าร้อยละ 12.94 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.34 ทั้งนี้ การนำเข้าจากประเทศคู่ค้า 5 อันดับแรกลดลง โดยเฉพาะจากมาเลเซีย ลดลงมากถึงร้อยละ 42.79

6. พิกัด HS 62034300 : Trousers Bib & Brace Overalls Shorts Woven of Cotton for Men & Boys นำเข้ารวมมูลค่า 53.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง บังคลาเทศ อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย อิตาลี ฟิลิปปินส์ มอร๊อคโค และไทยเป็นอันดับที่ 10 มูลค่านำเข้า 0.89 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 355.61 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.67 ทั้งนี้ การนำเข้าส่วนใหญ่เพี่มขึ้น โดยเฉพาะจากอิตาลี และฮ่องกง ร้อยละ 3,009.52 และ 2,114.81 ตามลำดับ

7. พิกัด HS 62044200: Dresses Woven of Cotton for Women or Girls นำเข้ารวมมูลค่า 35.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง อินเดีย และไทยเป็นอันดับที่ 4 มูลค่านำเข้า 1.91 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 81.04 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 5.34

8. พิกัด HS 62044900 : Dresses Woven of Other Textile Material for Women or Girls นำเข้ารวมมูลค่า 60.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ สหราชอาณาจักร รองลงมาได้แก่ อิตาลี จีน ฝรั่งเศส ฮ่องกง สหรัฐฯ ตุรกี อินเดีย เกาหลีใต้ และไทยเป็นอันดับที่ 10 มูลค่านำเข้า 0.64 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 20.68 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 1.07 ทั้งนี้ การนำเข้าจากอิตาลี ฝรั่งเศส ฮ่องกง และจีน ลดลงร้อยละ 64.10, 61.73, 28.45 และ 18.40 ตามลำดับ

9. พิกัด HS 62121090 : Brassiers of Other Textile Materials นำเข้ารวมมูลค่า 32.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ประเทศคู่ค้าอันดับ 1 คือ จีน รองลงมาได้แก่ มาเลเชีย ญี่ปุ่น และไทยเป็นอันดับที่ 4 มูลค่านำเข้า 1.66 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าร้อยละ 74.89 มีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2.76 ทั้งนี้ ประเทศคู่ค้าใน 10 อันดับแรกรองจากไทย ได้แก่ อินโดนีเชีย(-43.63%) ฮ่องกง(-37.42%) เวียดนาม(17.05%) ไต้หวัน(-1.72%) ศรีลังกา(-28.42%) และฝรั่งเศส(-21.66%)

-รสนิยมของผู้บริโภค

เนื่องจากอากาศในสิงคโปร์ร้อน-ชื้น รสนิยม/พฤติกรรมของผู้บริโภค สรุปได้ดังนี้

1. นิยมเสื้อผ้าที่ผลิตจากผ้าฝ้ายหรือผ้าชนิดบางที่ง่ายต่อการดูแลรักษา

2. รูปแบบตามสมัยนิยม สมาร์ท ดูเด่น สวยงาม

3. สีอยู่ในระดับอ่อนๆสำหรับผู้ชาย และสีต่างๆ จากระดับอ่อนจนถึงสีฉูดฉาดสำหรับผู้หญิง

-แนวโน้มตลาด

1. ความต้องการสินค้าเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มของตลาดสิงคโปร์มีมูลค่าประมาณปีละ 3,400 ล้าน-เหรียญสิงคโปร์ โดยที่ผู้หญิงจะซื้อเสื้อผ้าบ่อยครั้งกว่าผู้ชาย นอกจากจะหาซื้อเป็นประจำเกือบทุกเดือนแล้ว ยังมีการซื้อสำหรับใส่ไปงานปาร์ตี้ต่างๆด้วย และต้องการสินค้าที่มีรูปแบบสวยงามตามสมัยนิยม มีการตัดเย็บประณีต และราคาพอสมควร สำหรับผู้ชาย จะซื้อเสื้อผ้าปีละประมาณ 2-3 ครั้ง ได้แก่ ในช่วงก่อนปีใหม่ หรือก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะซื้อสินค้าที่สามารถใส่ได้บ่อยครั้งและใส่ได้เป็นระยะ เวลาอย่างน้อย 1 ปี สำหรับกลุ่มสินค้าที่เป็นที่นิยม แบ่งตามประเภท ได้แก่ 1) เสื้อโอเวอร์โค้ท แจ๊กเก็ต 2) สูท เครื่องแต่งตัวเป็นชุด 3) เชิ้ตของบุรุษ 4) เสื้อ และเสื้อเชิ้ตของสตรี 5) เสื้อยืด 6) เจอร์ซี่ พูลโอเวอร์ เสื้อกั๊ก 7) ชุดวอร์ม ชุดว่ายน้ำ เป็นต้น

2. เดิมชาวสิงคโปร์ส่วนใหญ่มีความนิยมสินค้าที่มาจากประเทศผู้ผลิตในตะวันตก ซึ่งมีรูปแบบ ที่ทันสมัย เปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล คุณภาพได้มาตรฐานนานาชาติ แต่มีราคาสูง ดังนั้น ต่อมาหันมานิยมสินค้าที่ผลิตจากจีนและในภูมิภาค ที่ผลิตรูปแบบสไตล์ฝรั่ง คุณภาพดี และคำนึงถึงแต่ราคาของสินค้าเป็นสำคัญ ในนิยามของ “สินค้าราคาถูกคุณภาพดี”

3. นอกจากสิงคโปร์จะนำเข้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปของแบรนด์ต่างๆที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลกแล้ว ยังเป็นผู้ผลิตเสื้อผ้าที่ไทยพึงจับตามอง เนื่องจากภาครัฐให้ความสำคัญและส่งเสริมให้สิงคโปร์เป็น Textile and Apparel Hub โดยมี Textile and Fashion Federation (Singapore) : TaFf เป็นแกนกลางในการส่งเสริมด้านต่างๆ อาทิ การออกแบบ การจัดตั้งแบรนด์ การตลาด การจัดหาวัสดุ การจัดทำเครือข่าย เป็นต้น และในปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ 3 แห่ง คือ Singapore Tourism Board (STB), International Enterprise (IE) Singapore และ SPRING Singapore มีแผนการส่งเสริมอย่างต่อเนื่องให้สิงคโปร์เป็น Fashion Hub ซึ่งผู้ผลิตไทยสามารถใช้สิงคโปร์เป็นเวทีในการนำเสนอสินค้าสู่ตลาดนานาชาติได้

-แบรนด์เสื้อผ้าต่างๆที่จำหน่ายในสิงคโปร์

จากการสำรวจ ณ ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า และร้านเสื้อผ้าต่างๆ ในสิงคโปร์ ปรากฎแบรนด์เสื้อผ้า ดังนี้

1. แบรนด์ของสิงคโปร์ ได้แก่ ALLURE, Celia Loe, Circa1972, Flower Power, Kooshi Koncepts, POM POM, Regional Flemings, Sobha Cashmere, Space, Nina, DaneilYam, The Clothes Publisher, Abyzz, Alfie Leong, Angelynn Tan, Benno LaMode, By Ice, Fresh Imp, Frederick Lee, GG


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ