สถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าไทย-อิตาลีประจำ เดือนมกราคม 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 1, 2011 17:37 —กรมส่งเสริมการส่งออก

การคาดการณ์สถานเศรษฐกิจอิตาลีในปี 2554

ธนาคาร Intesa San Paolo ของอิตาลีได้ประมาณการเกี่ยวกับเศรษฐกิจอิตาลีปี 2554 ว่า GDP อิตาลี จะมีตัวเลขคล้ายคลึงกับปี 2553 แต่จะให้มีตัวเลขที่อยู่ในระดับก่อนเกิดวิกฤตเศรษฐกิจนั้นยังคงห่างไกล ส่วนการลงทุนอาจมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 การบริโภคจะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นอย่างช้า ๆ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 สำหรับตลาดแรงงานอิตาลียังคงมีแนวโน้มลดลงแต่ส่วนการจ้างงานอาจมีแนวโน้วที่ดีขึ้น

ธนาคาร Unicredit ของอิตาลีได้ประมาณการเกี่ยวกับเศรษฐกิจอิตาลีปี 2554 ว่า GDP อิตาลีจะมีตัวเลขเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการส่งออกและการลงทุนที่เพิ่มขึ้น การบริโภคยังมีแนวโน้มติดลบเนื่องจากการจ้างงานที่อ่อนแอ สำหรับอัตราการว่างงานจะมีแนวโน้มดีขึ้นในช่วงกลางปีไปแล้ว และหนี้สาธารณะอิตาลีที่ยังคงมีความแข็งแกร่งกว่าประเทศอื่น ๆ ในยุโรป

ธนาคารแห่งชาติอิตาลี ได้คาดการณ์ว่า GDP อิตาลีในปี 2554 และปี 2555 จะอยู่ระหว่าง 1% ซึ่งมีสาเหตุมาจากการหยุดชะลอการบริโภคภายในประเทศ และยังคงต้องเผชิญปัญหาของการว่างงานโดยเฉพาะวัยรุ่น สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปี 2554 และปี 2555 จะอยู่ที่ 2% นอกจากนี้ จากผลสำรวจของสมาพันธ์ผู้ค้าปลีกรายย่อยแห่งชาติเกี่ยวกับความคิดเห็นของชาวอิตาเลียนที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่า ร้อยละ 18 ของชาวอิตาเลียนมองว่าเศรษฐกิจปีนี้อาจมีแนวโน้มดีกว่าปี 2553 ร้อยละ 48 มองว่าจะคล้ายกับปี 2553 และร้อยละ 33.1 มองว่าจะแย่กว่าปี 2553

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน เห็นว่า ในปีที่ผ่านมาอิตาลีสามารถผ่านช่วงที่ยากลำบากและรอดพ้นจากการเกิดวิกฤตเศรษฐกิจตามกรีซและไอร์แลนด์ทั้งที่ถูกมองว่าเป็นประเทศที่มีความเสี่ยง ด้วยการออมของประชาชนที่อยู่ในระดับสูง หนี้จากประชาชนอยู่ในระดับต่ำ ส่วนหนี้สาธารณะส่วนใหญ่เป็นการกู้ภายในประเทศ ระบบธนาคารไม่ประสบปัญหาและเกี่ยวพันกับระบบธนาคารต่างประเทศน้อย สำหรับในปี 54 คาดว่าประชาชนจะยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายอยู่ต่อไป ประกอบกับในปีที่ผ่านมาหลายบริษัทปิดกิจการหรือให้คนงานออก ในปีนี้ปัญหาการว่างงานหรือลดการจ่างงานจึงเป็นปัญหาใหญ่ส่งผลต่อการบริโภคโดยเฉพาะสินค้าฟุ่มเฟือยหรือถาวร ดังนั้น การส่งออกของไทยมายังอิตาลีจึงน่าจะไปได้ดีในกลุ่มสินค้าอาหาร

การนำเข้าของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม- ตุลาคม 2553 อิตาลีมีการนาเข้าจากทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 394,462 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 16.2

แหล่งนำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 62,711 ล้านเหรียญสหรัฐ +11.8%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 32,867 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.3%

อันดับ 3 จีน มูลค่า 30,915 ล้านเหรียญสหรัฐ +35.8%

อันดับ 4 เนเธอร์แลนด์ มูลค่า 21,118 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.6%

อันดับ 5 สเปน มูลค่า 17,396 ล้านเหรียญสหรัฐ +16.9%

อันดับ 48 ไทย มูลค่า 1,431 ล้านเหรียญสหรัฐ +22.9%

สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เชื้อเพลิง น้ำมันแร่ มูลค่า 73,511 ล้านเหรียญสหรัฐ +23.7%

อันดับ 2 ยานบก มูลค่า 34,510 ล้านเหรียญสหรัฐ +1.49

อันดับ 3 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 34,469 ล้านเหรียญสหรัฐ +29.5%

อันดับ 4 เครื่องจักร มูลค่า 33,257 ล้านเหรียญสหรัฐ +10.6%

อันดับ 5 เหล็ก และเหล็กกล้า มูลค่า 16,012 ล้านเหรียญสหรัฐ +49.4%

การส่งออกของอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-ตุลาคม 2553 อิตาลีส่งออกไปทั่วโลกคิดเป็นมูลค่า 366,171 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขื้นร้อยละ 9.9

ตลาดส่งออกที่สำคัญทั่วโลก 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เยอรมัน มูลค่า 47,714 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.4%

อันดับ 2 ฝรั่งเศส มูลค่า 42,411 ล้านเหรียญสหรัฐ +9.7%

อันดับ 3 สหรัฐอเมริกา มูลค่า 22,276 ล้านเหรียญสหรัฐ +13.5%

อันดับ 4 สเปน มูลค่า 21,266 ล้านเหรียญสหรัฐ +12.8%

อันดับ 5 สหราชอาณาจักร มูลค่า 19,667 ล้านเหรียญสหรัฐ +14.9%

อันดับ 59 ไทย มูลค่า 956 ล้านเหรียญสหรัฐ +9.9%

สินค้าส่งออกที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 เครื่องจักร มูลค่า 70,719 ล้านเหรียญสหรัฐ +1.7%

อันดับ 2 ยานบก มูลค่า 26,828 ล้านเหรียญสหรัฐ +15.3%

อันดับ 3 เครื่องจักรไฟฟ้า มูลค่า 23,916 ล้านเหรียญสหรัฐ +11.7%

อันดับ 4 เชื้อเพลิง น้ามันแร่ มูลค่า 18,340 ล้านเหรียญสหรัฐ +46.4%

อันดับ 5 พลาสติก มูลค่า 15,731 ล้านเหรียญสหรัฐ +15.5%

ที่มา : World Trade Atlas

สถานการณ์การค้าของไทย

1. การส่งออกของไทยไปยังอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2553 ไทยส่งสินค้าออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,708.2 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.9 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ยางพารา และปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง เป็นต้น

สินค้าส่วนใหญ่สามารถส่งออกเพิ่มมากขึ้นจากปีก่อนหน้า โดยระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2553 สินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ (+193.2%) รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+128.0%) รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+120.7%) ยางพารา (+115.3%) สิ่งทออื่นๆ (+102.6%) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ (+76.0%) และผ้าผืน (+72.5%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เคมีภัณฑ์ (-58.4%) เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน (-8.4%) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (-17.5%) และข้าว (-11.1%) เป็นต้น

สำหรับเดือนธันวาคม 2553 ไทยส่งออกมายังตลาดอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 158.5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 เทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยปกติจะพบว่าแพทเทริ์นการส่งออกสินค้าของไทยมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดคือ เดือนพฤษภาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนมิถุนายนเป็นต้นไปและจะกลับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยในช่วงเดือนกันยายนและลดลงในช่วงพฤศจิกายน-ธันวาคม

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทยในเดือนธันวาคม เช่น เครื่องปรับอากาศ ยางพารา ปลาหมึกสดแช่เย็น แช่แข็ง ผลิตภัณฑ์ยาง และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากในเดือนธันวาคม ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (+254.1%) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (+115.3%) ยางพารา (+75.0%) สิ่งทออื่น ๆ (+60.1%) และผลิตภัณฑ์ยาง (+31.8%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-67.5%) อัญมณีและเครื่องประดับ (-51.2%) อาหารทะเลกระป๋องแปรรูป (-42.2%) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (-38.1%) และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-34.4%) เป็นต้น

2. การนำเข้าของไทยจากอิตาลี

ระหว่างเดือนมกราคม-ธันวาคม 2553 ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 1,458.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 เปรียบเทียบจากช่วงระยะเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี เช่น เครื่องจักรและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น

โดยในปีนี้ ไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าเล็กน้อย ซึ่งสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก เช่น ด้ายและเส้นใย (+61.5%) เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน (+49.4%) เคมีภัณฑ์ (+38.1%) ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม (+31.2%) และเครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยศาสตร์การแพทย์ (+27.6%) เป็นต้น ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ (-59.1%) เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ (-33.4%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (-10.9%) และเครื่องประดับอัญมณี (-7.9%) เป็นต้น

สำหรับเดือนธันวาคม 2553 ไทยนำเข้าจากอิตาลีคิดเป็นมูลค่า 134.4 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.5 เปรียบเทียบจากเดือนพฤศจิกายน 2553 โดยปกติจะพบว่าไทยนำเข้าสินค้าจากอิตาลีมีลักษณะแนวโน้มคล้าย ๆ กันในแต่ละปี โดยเดือนที่มีมูลค่าการนำเข้าสูงสุดคือ เดือนมีนาคมและจะค่อย ๆ ลดลงในช่วงเดือนเมษายนเป็นต้นไปและกลับมีมูลค่านำเข้าเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงเดือนมิถุนายนหรือกรกฎาคมและพฤศจิกายนของทุกปี

สินค้านำเข้าที่สำคัญจากอิตาลี ได้แก่ เครื่องจักรและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นต้น

โดยสินค้าที่มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างมาก ได้แก่ ยุทธปัจจัย (+226.0%) พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช (+75.6%) กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ (+71.0%) เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยศาสตร์การแพทย์ (+35.1%) สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ (+32.8%) เป็นต้น

ส่วนสินค้าที่มีการขยายตัวลดลง เช่น เครื่องประดับอัญมณี (-30.0%) เหล็ก เหล็กและผลิตภัณฑ์ (-25.6%) ผลิตภัณฑ์โลหะ (-24.2%) ด้ายและเส้นใย (-20.7%) และเลนซ์ แว่นตาและส่วนประกอบ (-20.0%) เป็นต้น

3. การคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2554

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน มีความเห็นว่า การส่งออกไทยสำหรับปี2554 จะสามารถส่งออกได้ตามเป้าที่ประมาณการไว้ การส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม 2553 มีอัตราการขยายตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และมีมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 24.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯเปรียบเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยสินค้าที่มีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นและลดลงในปีนี้ ได้แก่

1. อัญมณีและเครื่องประดับ เป็นสินค้าส่งออกอันดับต้น ๆ ของไทยมาอิตาลีโดยตลอด เนื่องจากอิตาลีมีการส่งออกต่อด้วยและเริ่มมีหลายบริษัทที่ไปมีฐานการผลิตในไทย ในปี 2554 คาดว่า จะมีการนำเข้าเครื่องเงินเพิ่มขึ้นมากเนื่องจากกำลังเป็นที่ต้องการของตลาดอิตาลี

2. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ บริษัทต่าง ๆ ของอิตาลีเริ่มเสาะหา Supplier จากเมืองไทยมากขึ้น กอปรกับมีผู้ผลิตอิตาลีได้เข้าไปตั้งฐานผลิตในเมืองไทยแล้ว ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ยอดการส่งออกรถปิกอัพ รถจักรยานยนต์ ผลิตภัณฑ์ยางและชิ้นส่วนอุปกรณ์ประกอบ ต่างๆ เริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2553

3. ยางพารา ความต้องการในอิตาลีเริ่มกลับมาในปี 2553 และคาดว่าจะยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในปี 2554 โดยยางรถยนต์และถุงมือยางเป็นสินค้าที่มีความต้องการใช้ เนื่องจากเป็นวัตถุดิบสำคัญในหลายอุตสาหกรรมทั้งในภาคอุตสาหกรรมและสาธารณสุขเป็นจำนวนมาก

4. ปลาหมึกสด แช่แข็งแช่เย็น เป็นสินค้าที่ตลาดอิตาลีต้องการมากและไทยมีส่วนครองตลาดอันดับ 1 แต่ในปีที่ผ่านมาผู้ส่งออกไทยไม่สามารถส่งออกได้ตามความต้องการเพราะสินค้ามีจำกัดทำให้เสียโอกาส สำหรับปี 2554 คาดว่าไทยจะมีปริมาณสินค้าส่งได้ตามความต้องการของตลาด

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองมิลาน

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก อิตาลี   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ