ร่างแผนงบประมาณและนโยบายเศรษฐกิจของกรีซในปี ๒๕๕๔

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 15, 2011 16:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

๑. สรุปผลการดำเนินงบประมาณในปี ๒๕๕๓ (มค.-พย.)

การขาดดุล รัฐบาลกรีซขาดดุลงบประมาณ ๑๘,๖๘๒ ล้านยูโร ลดลง ๒๗.๑ % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนซึ่งขาดดุลจำนวน ๒๕,๖๓๕ ล้านยูโร (ลดลงเกือบ ๗ พันล้านยูโร) ซึ่งเป็นผลจากการที่รัฐบาลลดการใช้จ่ายลงอย่างมีนัยสำคัญ

งบประมาณด้านรายจ่ายปกติของรัฐบาล มีจานวน ๕๘,๓๒๒ ล้านยูโร ลดลง ๖.๔% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่เท่ากับ ๖๒,๓๒๓ ล้านยูโร (โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายเบื่องต้นลดลงถึง ๑๐.๑% จากที่ประมาณการไว้ที่ ๙% และค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น ๕.๗%)

ด้านรายได้สุทธิของงบประมาณปกติ มีจานวน ๔๕,๓๔๓ ล้านยูโร เพิ่มขึ้น ๔.๘% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่เท่ากับ ๔๓,๒๗๖ ล้านยูโร และดีขึ้นกว่าช่วง ๑๐ เดือนแรกของปี ๕๓ ที่เพิ่มขึ้น ๓.๗ % ซึ่งเป็นผลจากรายได้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ที่เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ในปี ๒๕๕๓ กล่าวได้ว่ากรีซเป็นประเทศในยูโรโซนที่สามารถปรับลดการขาดดุลงบประมาณภายในระยะเวลา ๑ ปี ได้เป็นอย่างดีเท่าที่เคยมีมา

๒. ร่างกฏหมายงบประมาณปี ๒๕๕๔

๒.๑ ร่างกฏหมายงบประมาณปี ๒๕๕๔ ได้ถูกจัดทาขึ้นและรัฐบาลกรีซได้วางแผนที่จะบริหารจัดการให้เป็นไปตามหลักการบริหารงบประมาณประจำปี โดยทั่วไปสรุปได้ดังนี้

  • การกำหนดเพดานสูงสุดของค่าใช้จ่าย
  • เพิ่มช่องว่างในการกู้ยืม
  • การจัดตั้งทุนสำรองเพื่อความไม่แน่นอน
  • การเสนอหลักเกณฑ์เพื่อใช้งบประมาณเพิ่มเติมในกรณีการใช้จ่ายของรัฐสูงกว่าเงินทุนสำรอง
  • จัดทำกระบวนการเพื่อควบคุมการใช้จ่ายให้เป็นไปตามพันธะกรณี
  • กำหนดหลักเกณฑ์การรายงานการบริหารจัดการงบประมาณเป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายงานประจำทุก ๒ ปี

๒.๒ การปรับลดงบประมาณแผ่นดินในปี ๒๕๕๔ จะปรับลดลงให้ได้ ๒% ของ GDP คือจาก ๙.๔ % ในปี ๒๕๕๓ เป็น ๗.๔% หรือลดลงประมาณ ๕ พันล้านยูโร ซึ่งมีขนาดการปรับลดที่ใหญ่กว่าโปรแกรมนโยบายเศรษฐกิจเดิม และเพื่อสนับสนุนการปรับลดงบประมาณดังกล่าวให้เป็นไปตามเป้าหมาย รัฐบาลจะต้องเพิ่มความพยายามอย่างมากในการออกมาตรการใหม่ๆเพิ่มเติมจากเดิมที่ออกมาใช้เมื่อ พค. ที่ผ่านมา โดยมาตรการเพิ่มเติมจะรวมถึงการมุ่งเน้นในด้านงบประมาณรัฐวิสาหกิจ การควบคุมการใช้จ่ายด้านสุขภาพและอนามัย วิธีการตรวจสอบประโยชน์ที่ครอบครัวจะได้รับ การลดค่าใช้จ่ายด้านกองทัพ และค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการถ่ายโอน รวมทั้งการดำเนินการทั้งในด้านรายจ่ายและด้านรายได้ การต่อสู้การหลบเลี่ยงภาษี และการบริหารทรัพย์สินของรัฐอย่างมีประสิทธิภาพ

๒.๓ มาตรการฉุกเฉินเพื่อสนับสนุนโครงการนโยบายเศรษฐกิจและงบประมาณปี ๒๕๕๔

ในปี ๒๕๕๔ รัฐบาลจะยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจที่เคร่งครัดต่อไป โดยมีเป้าหมายที่จะลดการขาดดุลให้ได้ต่ากว่า ๓% ของ GDP ในปี ๒๕๕๗ และการกระตุ้นเศรษฐกิจให้มีอัตราการเจริญเติบโตเป็นบวกให้ได้ในสิ้นปี ๒๕๕๔ รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และมาตรการป้องกันเพื่อให้ภาคการเงินมีความมั่นคงและเสถียรภาพ และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัฐบาลจึงได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงและปรับโครงสร้างครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงมาตรการเข้มงวดด้านการคลังต่อไป สรุปได้ดังนี้

๒.๓.๑ มาตรการด้านรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลจำเป็นจะต้องดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงผลประกอบการทางการเงินให้มีสถานะที่ดีขึ้น และการบริหารทางการเงินมีความโปร่งใสและสามารถชี้แจงได้ รวมทั้งเพิ่มความเข้มงวดด้านค่าใช้จ่ายแรงงานของพนักงาน ได้แก่

  • ให้กระทรวงการคลังควบคุมการให้คำแนะนาทางการเงินของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ SOE (State owned

enterprise)

  • กำหนดให้รัฐวิสาหกิจต้องยื่นบัญชีการเงินซึ่งตรวจรับรองโดยผู้ได้รับอนุญาตตรวจบัญชีต่อกระทรวงการคลังเป็นราย

ไตรมาส

  • การตัดลดค่าจ้างลง ๑๐%
  • กำหนดเพดานสูงสุดอัตราค่าจ้าง และค่าใช้จ่ายส่วนที่เพิ่มพิเศษ (๑๐% ของค่าใช้จ่ายด้านค่าจ้างในระดับบริษัท)

๒.๓.๒ มาตรการด้านภาษี

  • เพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) จากการขาย จากเดิมเก็บ ๑๑% เป็น ๑๓%
  • ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) ให้แก่โรงแรมและที่พักอาศัยในการรับรองแขกจากเดิม ๑๑% เป็น ๖.๕% เพื่อเพิ่มขีด

ความสามารถในการแข่งขันในภาคการท่องเที่ยวและเภสัชกรรม

  • ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเก็บภาษีสรรพสามิตสาหรับสินค้ายาสูบ

๒.๔ ด้านการปฏิรูปตลาดแรงงาน รัฐสภากรีซได้ให้ความเห็นชอบกฎหมายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นในตลาดแรงงาน ได้แก่

  • ให้ความยืดหยุ่นในการทาข้อตกลงในระดับบริษัทนอกเหนือจากข้อตกลงด้านแรงงาน เพื่อมิให้มีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจมากเกินไป
  • ขยายระยะเวลาการทดลองงานสำหรับการจ้างงานใหม่ออกไปเป็น ๑ ปี
  • ทบทวนระบบการเยียวยาและอนุญาโตตุลาการด้านแรงงาน เพื่อเป็นหลักประกันว่าบุคคลทุกฝ่ายจะได้รับความเป็นธรรมและเท่าเทียม
  • การลดค่าใช้จ่ายด้านโอเวอร์ไทม์สำหรับการจ้างแรงงานพาร์ทไทม์
  • เพิ่มข้อจำกัดการใช้บริการจากหน่วยงานที่มีการทางานแบบชั่วคราวให้มากขึ้น

๒.๕ ด้านทรัพยากรบุคคลในหน่วยงานภาครัฐ รัฐบาลยังคงนโยบายควบคุมปริมาณ และการเคลื่อนย้ายพนักงานในหน่วยงานภาครัฐ โดย

  • กำหนดระเบียบให้มีการจ้างพนักงานใหม่ได้ไม่เกิน ๑ คน ต่อพนักงานที่เกษียณอายุจำนวน ๕ คน ในหน่วยงานภาครัฐทั้งหมด ทั้งรัฐบาลกลางและท้องถิ่น
  • ลดการจ้างงานประเภทที่มีสัญญาจ้างแบบ Fix term contracts ในปี ๒๕๕๔ ลง ๑๕% จากปี ๒๕๕๓

๒.๖ ด้านธนาคารเพื่อการเกษตรแห่งกรีซ (Agricultural Bank of Greece- ATE)

เพื่อปกป้องความมั่นคงและยั่งยืนของธนาคารซึ่งมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ รัฐบาลกรีซได้ออกมาตรการเข้มงวด ได้แก่

  • การตัดลดเงินเดือนค่าจ้างพนักงานในทุกระดับลง ๑๐% และยกเลิกการให้เงินพิเศษต่างๆ
  • ยกเลิกแผนการจ้างงานใหม่

๒.๗ โครงการแปรรูปอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สิน

เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายด้านเศรษฐกิจและการเงินของกรีซ คณะกรรมาธิการร่วมเพื่อการปรับโครงสร้างและแปรรูปทรัพย์สิน (The Interministerial Committee for Asset Restructuring and Privatization-ICARP) ได้ตกลงที่จะดำเนินการ ดังนี้

๒.๗.๑ ด้านอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ

  • ICARP จะมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการดำเนินการแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ศึกษาวิเคราะห์โอกาสทางการค้าและการ

ลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ โดยจะต้องกำหนดประเภท คุณภาพ และการลงทุนในทรัพย์สินของรัฐ เรียงตามความ

สำคัญ และให้ข้อคิดเห็นรวมทั้งข้อมูลการวิเคราะห์ถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการลงทุนดังกล่าว โดยจะต้องจัดทำ

รายการทรัพย์สินให้เสร็จสิ้นภายใน มิย. ๒๕๕๔

  • การพัฒนาทรัพย์สินของรัฐในสนามบิน Elliniko ในกรุงเอเธนส์ โดย ICARP จะจัดตั้งบริษัท Ellinikon S.A.

เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการทรัพย์สินดังกล่าว และแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและด้านเทคนิคเพื่อให้คำแนะนำ

  • คัดเลือกและส่งเสริมให้มีการแปรรูปทรัพย์สินและอสังหาริมทรัพย์สาคัญๆของรัฐ โดยการจัดตั้งทีมงานบริหารโครงการ

ภายใต้คำแนะนาของผู้เชี่ยวชาญพิเศษ เพื่อขจัดปัญหาอุปสรรคด้านการบริหารจัดการ และส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาให้

มากยิ่งขึ้น

  • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและองค์กร เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการในอสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สินของรัฐในเชิง

พาณิชย์ โดย ICARP ได้เสนอให้จัดตั้งฝ่ายเลขานุการของผู้บริหารอสังหาริมทรัพย์ในกระทรวงการคลัง และในอนาคต

จะจัดตั้งบริษัทเพื่อบริหารอสังหาริมทรัพย์ที่มีความแข็งแรงและมั่นคง และนำบริษัทเข้าตลาดหุ้นต่อไป

๒.๗.๒ โครงการแปรรูปองค์กร

(๑) การแต่งตั้งที่ปรึกษาด้านการเงินและกฎหมายเพื่อดำเนินการ ดังนี้

  • ขยายเวลาการให้สัมปทานแก่สนามบินนานาชาติแห่งกรุงเอเธนส์ (Athens International Airport

— AIA) และการประเมินทางเลือกที่ดีที่สุดในการแปรรูปการถือหุ้น

  • การประเมินทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับการถือหุ้นใน DEPA (ผู้จัดจาหน่ายก๊าซธรรมชาติ) และ DESFA (เครือข่ายผู้

ประกอบการก๊าซธรรมชาติ)

  • มาตรการจูงใจให้แก่นักลงทุนสำคัญๆเพื่อลงทุนในด้านระบบการป้องกันประเทศ (Hellenic Defense system-

EAS)

๒.๗.๓ ข้อเสนอในการจัดตั้งที่ปรึกษาด้านการเงินและกฎหมายเพื่อดำเนินการ ดังนี้

(คาดว่าจะสามารถดำเนินการจัดตั้งที่ปรึกษาได้ภายในไตรมาสแรกของปี ๒๕๕๔)

  • การลงทุนในสนามบินท้องถิ่นต่างๆ ของนักลงทุนผ่านข้อตกลงด้านสัมปทาน
  • การทำความตกลงด้านสัมปทานสำหรับการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่ “Kastelli ที่เมือง Crete และสนามบิน

Nikos Kazantzakis ที่เมือง Heraklion

  • การประเมินทางเลือกที่ดีที่สุดในการแปรรูปการถือหุ้นใน Trainose (บริษัทการรถไฟแห่งชาติ) และการพัฒนา

อสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มการรถไฟแห่งชาติ

  • การให้สิ่งจูงใจแก่นักลงทุนในองค์กรไปรษณีย์แห่งเฮเลนิค
  • การขยายเวลาการให้สัมปทานแก่ Attiki Motorway (ทางหลวงรอบกรุงเอเธนส์) และ Egnalia Motorway

(ทางหลวงทางตอนเหนือ) บริษัท OPAP (ผู้จัดจำหน่ายลอตเตอรี่และการพนันต่างๆ)

  • การศึกษากลยุทธ์และการประเมินทางเลือกที่ดีที่สุดในการแปรรูปการถือหุ้นของรัฐในท่าเรือ จานวน ๑๑ แห่ง และท่า

จอดเรือสำหรับนักเล่นเรือจานวน ๘๕๐ แห่ง, การแปรรูปในบริษัท LARCO (ทำเหมืองแร่นิคเกิล) การแปรรูปการถือ

หุ้นใน บริษัท EYDAP และ EYATH (ผู้จัดจำหน่ายน้ำประปา) และการถือหุ้นในคาสิโน “Mont Parnes” เป็นต้น

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ของโครงการแปรรูปและบริหารทรัพย์สินของรัฐบาลดังกล่าว สอดคล้องกับโครงการตามนโยบายเศรษฐกิจและการเงินของกรีซ ซึ่งคาดว่าจะทำให้รัฐบาลมีรายได้เข้าประเทศถึง ๗ พันล้านยูโร ภายในปี ๒๕๕๔-๒๕๕๖ (เฉพาะปี ๒๕๕๔ จะมีรายได้อย่างน้อย ๑ พันล้านยูโร)

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงโรม

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก กรีซ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ