รายงานผลดำเนินการโครงการจัดสัมมนา Thailand - Mexico Business Partnership 2011

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 14, 2011 10:47 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ด้วยสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโกได้รวมดำเนินโครงการจัดสัมมนา Thailand - Mexico Business Partnership กับสถานเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเม็กซิโก ภายใต้โครงการ Team Thailand ซึ่งได้กำหนดจัดในระหว่างวันที่ ๒ - ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ ณ กรุงเม็กซิโกและเมืองมอนเทอเร ประเทศเม็กซิโก

ในการนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก จึงใครขอราย งานผลดำเนินการดังต่อไปนี้

การจัดสัมมนาเรื่อง Thailand - Mexico Business Partnership ได้จัดขึ้นใน ๒ เมืองหลักที่สำคัญ ณ กรุงเม็กซิโกเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๔ และ ณ เมืองมอนเทอเร เมื่อวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๕๔ โดยมีผู้แทนจาก ๓ หน่วยงานเป็นผู้แทนการบรรยายคือ นางสาวอัจฉรินทร พัฒนพันธชัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน มาบรรยายด้านการลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศของประเทศของไทย นางอรสา อาวุธคม ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ททท. สำนักงาน ณ นครลอสแอนเจลิส มาบรรยายเรื่องการท่องเที่ยวและธุรกิจบริการด้านโรงพยาบาลในไทย และนายนพดล ทองมี ผู้อำนวยการ สคร. มาบรรยายเรื่องศักยภาพการค้าระหว่างไทยกับเม็กซิโกในปัจจุบัน กิจกรรมและโอกาสทางการค้าในอนาคต ตลอดจนความก้าวหน้าในตลาด AFTA ของไทย โดยการจัดสัมมนา ณ กรุงเม็กซิโก จัด ณ ห้องรับรอง โรงแรม Intercontinental Hotel กรุงเม็กซิโก โดยมีผูเขารวมฟงบรรยายจำนวน 92 ราย ประกอบดวย ผูแทนจากหอการคาตางประเทศ หนวยงานภาครัฐฯ ผูสื่อขาว ตัวแทนธุรกิจการท่องเที่ยว หน่วยงานอาเซียนในเม็กซิโก และภาคเอกชนเม็กซิโกที่สนทำการค้าและการลงทุนในไทย ซึ่งได้รับความสนใจเกินความคาดหมาย นอกจากนี้ ยังมีการสอบถามรายละเอียดด้านการค้าและการลงทุนค่อนข้างมาก และมีหลายรายที่มีความสนใจที่จะเดินทางไปเจรจาการค้าและศึกษาความเป็นไปในการลงทุนและการท่องเที่ยวในประเทศไทยในอนาคต

การจัดสัมมนา ณ เมืองมอนเทอเร จัด ณ ห้องรับรอง Industrial Club โดยมีผู้เข้าฟังการบรรยายจำนวน ๒๕ ราย ประกอบด้วย ผู้แทนจากหอการค้าและอุตสาหกรรมเมืองมอนเทอเร หน่วยงานภาครัฐจากรัฐโนโว ลิออน และผู้บริหารภาคเอกชนรายใหญ่

นอกจากนี้ ณ เมืองมอนเทอเร คณะฯ ได้เข้าพบกับหน่วยงานภาครัฐฯ และภาคเอกชนรายใหญ่ในเมืองมอนเทอเรดังต่อไปนี้

คณะฯ เข้าพบ Mr. Andres Franco ตำแหน่ง Undersecretary Economic Development รัฐมนตรีช่วยว่าการด้านการพัฒนาเศรษฐกิจรัฐโนโว ลิออนและคณะทำงาน ซึ่งได้มีการได้บรรยายสรุปศักยภาพและความสำคัญของรัฐโนโว ลิออนในด้านเศรษฐกิจ โดยในปัจจุบัน มีบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนจำนวน ๒,๕๘๐ ราย มีกิจการการนิคมอุตสาหกรรมจำนวนกว่า ๑๐๐ แห่ง โดยตามสถิติ รัฐฯ มีส่วนแบ่งในภาคอุตสาหรรมในอัตราส่วนร้อยละ ๑๒ ของอุตสาหกรรมทั้งประเทศ ร้อยละ ๒ ของการลงทุนใหม่ในประเทศ และร้อยละ ๑๑ ของการเพิ่มการว่าจ้างแรงงานในประเทศ โดยจุดเด่นที่อ้างคือ การไม่เคยมีการหยุดงานหรือปัญหาแรงงานในพื้นที่กว่า 13 ปีติดต่อกัน มีฐานของแรงงานที่มีการศึกษาค่อนข้างสูง และถือเป็นรัฐฯ ที่มีประชากรที่สื่อภาษาอังกฤษได้ ซึ่งถือว่า มีความได้เปรียบมากกว่ารัฐอื่นในประเทศเม็กซิโก นอกจากนี้รัฐฯ มีนโยบายด้านการส่งเสริมการลงทุนนอกเหนือจากนโยบายการส่งเสริมการลงทุนจากระดับชาติที่มีอยู่แล้ว เพิ่มในระดับรัฐและในระดับท้องถิ่นในแง่ของโครงสร้างภาษีและเงินอุดหนุนในการเริ่มธุรกิจและการดำเนินธุรกิจจากต่างประเทศ ซึ่งจะมีระบบการคำนวณที่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ ได้แก่ปริมาณเงินการลงทุน พื้นที่การลงทุน การลงทุนในอุตสาหกรรมที่รัฐฯ ให้ความสำคัญ การลงทุนที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม และการว่าจ้างและการพัฒนาฝีมือแรงงานในท้องถิ่น เป็นต้น

คณะฯ ได้เข้าพบกับ Lic. Javier Trevino ตำแหน่ง General Government Secretary รัฐมนตรีประจำรัฐโนโว ลิออน เทียบเท่าตำแหน่งรองผู้ว่าการรัฐฯ Mr. Carlos Almada ตำแหน่ง Governor's Chief of Staff หัวหน้าคณะทำงานประจำผู้ว่าการรัฐฯ และ Ing. Jorge Arrambide Garza ตำแหน่ง Economic Development Secretary รัฐมนตรีด้านการพัฒนาเศรษฐกิจประจำรัฐโนโว ลิออน ซึ่งได้หารือกับคณะฯ ในความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน โอกาสและศักยภาพที่ทั้งสองประเทศสามารถที่จะร่วมกันพัฒนาต่อไปได้ การแลกเปลี่ยนคณะผู้แทนการค้าระหว่างกัน และการกำหนดอุตสาหกรรมที่ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องว่ามีศักยภาพที่จะร่วมมือกันในอนาคต โดย ๒ บุคคลแรกได้เคยเดินทางไปประเทศไทยมาก่อน จึงมีความมักคุ้นกับประเทศไทยโดยสังเขป

คณะฯ ได้พบกับ Mr. Jose Antonio Gonzales ตำแหน่ง Corporate Communi- cations and Public Affairs Vice President รองประธานด้านสื่อประชาสัมพันธ์ของบริษัท CEMEX ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปูนซิเมนต์ ปูนสำเร็จรูป และผลิตภัฒฑ์ที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันถือได้ว่า เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก บริษัทดังกล่าวได้เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๙๐ เป็นต้นมา โดยได้เข้าไปซื้อกิจการในหลายประเทศในเอเชียและในออสเตรเลีย แม้ว่าต่อมาในบางกรณี จำเป็นต้องขายกิจการออกไป เนื่องจากไม่สามารถเข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และกำหนดทิศทางทางธุรกิจของกิจการได้ แต่ในปัจจุบัน บริษัทฯ ยังคงมีกิจการในภาคพื้นเอเชียอยู่ ๒ แห่ง คือกิจการในประเทศพิลิปปินส์ ซึ่งมีกำลังผลิตประมาณ ๕ ล้านตันต่อปี และในประเทศไทย ซึ่งได้เข้าไปซื้อกิจการของปูนซิเมนต์สระบุรี มีกำลังผลิต ๑.๒ ล้านตันต่อปี ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อจำหน่ายภายในประเทศทั้งหมด ไม่มีการส่งออก ในแง่ของกำลังผลิตถือว่าเต็มกำลังการผลิตแล้ว แต่ก็ถือว่าหากเปรียบเทียบกับกำลังผลิตในไทยทั้งหมด ซึ่งมีกำลังผลิตเฉลี่ยปีละประมาณ ๔๗ ล้านตัน ยังถือว่ายังเป็นรายเล็ก อย่างไรก็ตามบริษัทฯ ถือว่าการเข้ามาดำเนินการกิจการในไทย มีความสำเร็จเพราะได้เข้ามาเปิดตลาดและศึกษาศักยภาพของตลาดในไทยไปด้วย แม้ว่าจะจะมีอัตราส่วนในกำลังผลิตต่ำก็ตาม นอกจากนี้ ในอดีตที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้แสดงความสนใจที่จะซื้อกิจการของ TPI ด้วย แต่ด้วยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่มีโอกาสเข้ามาได้

ในปัจจุบัน ความต้องการของปูนซิเมนต์ในต่างประเทศได้ลดลง โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกาจากเดิมที่มีความต้องการมากกว่า ๑๐๐ ล้านตันต่อปี คงเหลือความต้องการเพียงครึ่งเดียว และตลาดในยุโรป เช่นในสเปนความต้องการก็เหลือเพียงครึ่งเดียวเช่นกัน ทำให้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องขยายฐานการผลิตเพิ่มเติม ในขณะเดียวกัน บริษัทฯ ได้มีการซื้อกิจการในต่างประเทศค่อนข้างมาก จึงมีการกู้เงินเพื่อการซื้อกิจการต่างๆ จากต่างประเทศหลายแห่ง ซึ่งทำให้มีอัตราส่วนหนี้สิ้นต่อทุนสูง จึงยังไม่พร้อมที่จะขยายตัวในขณะนี้ แต่บริษัทฯ ยังให้ความสำคัญต่อตลาดในไทยและในอาเซียนและมีความตั้งใจที่เพิ่มบทบาทในเอเชียในภูมิภาคในอนาคตอีกด้วย

คณะฯ เข้าพบกับ Mr. Carlos Rodriguez, ตำแหน่ง General Manager ผู้จัดการทั่วไป ของบริษัท Parker Aerospace โดยมีการบรรยายสรุปว่าบริษัทฯ ได้เข้ามาลงทุนในประเทศเม็กซิโกมากกว่า ๔๐ ปี และมีหน่วยงานใน ๔๖ ประเทศ ผลิตอุปกรณ์และอะไหล่ชิ้นส่วนอากาศยาน มีพนักงานในประเทศเม็กซิโก ๒,๖๐๐ ราย นำเข้าวัตถุดิบมูลค่า ๑๖๐ ล้านเหรียญฯ ต่อปี และส่งออกสินค้ามูลค่า ๑๙๑ ล้านเหรียญฯ ต่อปี การส่งออกร้อยละ ๘๐ เข้าสู่ตลาดในประเทศสหรัฐฯ และเหตุผลที่เข้ามาลงทุนในประเทศเม็กซิโก เนื่องจากค่าแรงงานที่ไม่ต่างกันมากหากเปรียบเทียบกับประเทศจีน และกำลังคนที่มีศักยภาพและการรองรับของวิศวกรที่มีมีมากในรัฐฯ

นอกจากนี้คณะฯ ได้เข้าพบกับผู้บริหารบริษัท Cushman & Wakefield ซึ่งเป็นบริษัทที่ ปรึกษาด้านการลงทุนและการดำเนินธุรกิจการนิคมอุตสาหกรรม โดยชี้ให้เห็นความสำคัญของรัฐโนโว ลิออน โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมซิเมนต์ โทรคมนาคม อิเล็กทรอนิกส์ และอะไหล่ยานยนต์ ตลอดจนความพร้อมในการรองรับการลงทุนจากต่างประเทศ นอกจากนี้ คณะฯ ได้เข้าพบผู้บริษัทกลุ่ม Groupo Alfa ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทผู้ผลิตใยสังเคราะห์รายใหญ่เป็นอับดับสอง รองจากกลุ่มอินโดรามา และมีความสนใจในศักยภาพในตลาดของประเทศไทยและการขยายตัวของตลาดในอาเซียน

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงเม็กซิโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ