ภาวะตลาดน้ำผลไม้กระป๋อง ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 29, 2011 15:33 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะตลาด

ขนาดตลาด สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือ ยูเออีมีประชากรทั้งสิ้นประมาณ 7.1 ล้านคน ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิม การดื่มเหล้าจะเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของศาสนาอิสลาม ดังนั้นน้ำผลไม้จึงมีนัยสำคัญสำหรับใช้เป็นเครื่องดื่มในทุกโอกาส ในงานสังสรรค์ งานเลี้ยงรับรอง จากการสำรวจในเรื่องของการบริโภคน้ำผลไม้ในยูเออีพบว่า คนในยูเออีบริโภคน้ำผลไม้เฉลี่ย 50 ลิตรต่อคนต่อปีคิดเป็นอัตราการขยายตัวปีละประมาณ 10% และความต้องการยังมีเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมโรงแรมเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

โครงสร้างอุตสาหกรรมน้ำผลไม้ของยูเออี

มีโรงงานผลิต dairy products และน้ำผลไม้หลายแห่งในยูเออี ประเทศ GCC อื่นๆ บางโรงงานเป็นของบริษัทต่างชาติเข้าร่วมผลิต อาทิ น้ำผลไม้ ยี่ห้อ Capri-Sun และ Lacnor's ของฝรั่งเศส หลายโรงงานมียี่ห้อของตนเอง อาทิ Masafi, Blubird บริษัท Barakat Quality Plus ร่วมกับบริษัทจากยุโรปตั้งโรงงานผลิตน้ำผลไม้คั้นสดสำหรับส่งให้กับโรงแรมในยูเออี และบางส่วนมีวางจำหน่ายในซุปเปอร์มาร์เกต ลักษณะบรรจุน้ำผลไม้ในประเทศ มีหลายขนาด อาทิ 200 มล. 1 ลิตร และ 2 ลิตร ในขวด PET

ในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำผลไม้ผู้ผลิตได้ทำการขยายทั้งกำลังการผลิตและทางเลือกของสินค้าให้มีความหลากหลายมากขึ้น เช่น เพิ่มรสชาติของน้ำผลไม้ เพิ่มวิตามินหรือการรวมกันของน้ำผักและผลไม้ สร้างเครื่องหมายการค้าใหม่ เพิ่มขนาดของบรรจุภัณฑ์ ( 1.5 ลิตร, 2 ลิตร) เหล่านี้ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกดื่มของน้ำผลไม้เพิ่มมากขึ้นและเป็นการขยายตลาดให้กว้างขึ้น

อย่างไรก็ตามน้ำผลไม้ที่ผลิตในประเทศสามารถตอบสนองตลาดได้เพียงร้อยละ 56 จากความต้องการทั้งสิ้น ซึ่งยังไม่รวมการนำเข้าเพื่อการส่งออกต่อ (Re-Export) ดังนั้นยูเออียังคงต้องนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้จากต่างประเทศ

ยูเออีสามารถส่งออกน้ำผักและผลไม้เมื่อปี 2010 มูลค่า 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ไปประเทศโอมาน อิรัค อิยิปต์ อิหร่าน อัฟกานิสถาน ลิเบีย อินเดีย ปากีสถาน อัลจีเรีย และสหรัฐฯ

การนำเข้า

ปี 2010 ยูเออีนำเข้าสินค้ากลุ่มนี้มูลค่าปีละประมาณ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากประเทศสหรัฐฯ ฝรั่งเศส ซาอุดิอาระเบีย อังกฤษ มาเลเซีย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ไทย จีน และเนเธอร์แลนด์

ในส่วนของไทย มูลค่าการส่งออกสินค้าน้ำผลไม้ไปยูเออีมูลค่าเพิ่มขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กล่าวคือ ปี 2549 มูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปี 2550 มูลค่าเพิ่มเป็น 7.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 47

ในช่วง 4 เดือนแรกปี 2551 ไทยส่งออกมูลค่า 2.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าขยายคัวขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าบางส่วนที่นำเข้ายูเออีใช้สำหรับส่งออกต่อ (Re-export) ปี 2010 ส่งออกต่อมูลค่า 13.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีตลาดรองรับที่สำคัญได้แก่ โอมาน อิหร่าน แทนซาเนีย อัลจีเรีย โซมาเลีย อัฟกานิสถาน คองโก เบนิน อินเดีย โคโมโรสและมัลดีฟ เป็นต้น

เงื่อนไขและกฎระเบียบการนำเข้า
  • ภาษีนำเข้าร้อยละ 5
  • มาตรการกีดกันทางการค้า : ไม่มี
  • อัตราภาษีนำเข้า และภาษีอื่นๆ : ไม่มี
  • โควต้าการนำเข้า — ไม่มี :
  • ผู้ซื้อนิยมให้เสนอราคา C&F เป็นเงินเหรียญสหรัฐฯ
  • วิธีการชำระเงิน : L/C
  • สลากอาหาร บนบรรจุภัณฑ์ต้องมีรายละเอียด ชื่อสินค้า ส่วนผสม ขนาดบรรจุ ประเทศต้นทางหรือผู้ผลิต วันผลิต และวันหมดอายุ พร้อมภาษาอาระบิค ข้อความบนฉลากอ่านง่ายชัดเจน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ทั้งนี้ต้องระบุรายละเอียด วัน/เดือน/ปี อายุอาหาร (shelf life) ต้องมีอย่างน้อย 6 เดือน ในช่วงการจำหน่าย ข้อความที่พิมพ์จะต้องไม่หลุดลอก หรือลบออกได้ (printed, imposed หรือ ink jetted)
เอกสารประกอบการนำเข้า
  • Invoice และ Certificate of Origin ประทับตรารับรองจาก หอการค้าไทย และ Legalize จากสถานทูตประเทศสหรัฐ อาหรับเอมิเรตส ในประเทศไทย Bill of Lading และ Packing List
  • สินค้าอาหารต้องมีใบรับรองคุณภาพหรือสุขลักษณะ Health หรือ Sanitary Certificate (ออกโดยหน่วยงานสาธารณสุขของไทย)
ลักษณะสินค้าและบรรจุภัณฑ์

1. บรรจุภัณฑ์น้ำผลไม้ที่วางจำหน่ายได้แก่ ขวดพลาสติก กระป๋อง ซองอลูมิเนียม และน้ำผลไม้ Ultra High Temperature (UHT) บรรจุ ในกล่อง Tetra Pak และชนิดของน้ำผลไม้ มีทั้งผลไม้เมืองหนาว และผลไม้เมืองร้อน Cranberry, grapefruit, grape, fruit cocktail, peach nectar, orange, tomato, apricot nectar, pineapple, mango nectar, strawberry nectar and orange carrot เป็นต้น

การบรรจุ: กระป๋องแบบ Easy open ในลังกระดาษจำนวน 24 กระป๋อง

ขนาดบรรจุ 24 กระป๋อง x 15 ออนซ์ Drian Weight 230 กรัม, Net Weight 425 กรัม

ขนาดบรรจุ 24 กระป๋อง x 20 ออนซ์ Drian Weight 340 กรัม, Net Weight 565 กรัม

2. น้ำผลไม้มีเนื้อผลไม้เป็นชิ้น/ก้อนเล็กๆผสม เช่นน้ำส้ม น้ำองุ่น น้ำพีชและน้ำสัปปะรด สินค้าไทยทีมีในตลาดคือน้ำมะพร้าวมีชิ้นมะพร้าวอ่อนผสมบรรจุในขวดใส

สรุปและแนวโน้มตลาด

1. น้ำผลไม้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีอัตราการเติบโตเพิ่มมากขึ้น ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดส่งออกต่อ ด้วยรสชาติของน้ำผลไม้พร้อมดื่มมีความใกล้เคียงกับธรรมชาติและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคมากขึ้น ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ ช่องทางการกระจายสินค้าที่สะดวกยิ่งขึ้น และระดับราคาทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อบริโภคได้ไม่ยากนัก

2. กระแสความสำคัญในเรื่องของสุขภาพ (Health & wellness trend) ทำให้การดื่มน้ำผลไม้ของคนในยูเออีก็เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ดังนั้นการทำตลาดจะเป็นไปในทิศทางเชิงรุกมากขึ้น เช่น เพิ่มประเภทของสินค้า สร้างสีสันให้กับผู้บริโภคสามารถเลือกสินค้าที่หลากหลายขึ้น เหมาะกับกลุ่มคนรักสุขภาพที่เน้นเรื่องของประโยชน์ทางโภชนาการ จะเป็นปัจจัยผลักดันการส่งออกน้ำผลไม้ไทยได้มากยิ่งขึ้น นอกจากผู้ประกอบการจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของโภชนาการแล้ว ต้องควบคุมรักษาคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน เพราะกลุ่มผู้บริโภคในประเทศอ่าวอาหรับค่อนข้างเข้มงวดเกี่ยวกับคุณภาพของอาหารที่นำเข้า และให้ความสำคัญกับสลากอาหารที่จะต้องระบุข้อมูลตามกฏระเบียบที่กำหนดไว้

3. ผู้บริโภคในยูเออีกอร์ปด้วยคนหลายชาติที่ได้นำวัฒนธรรมการบริโภคเผยแพร่ในยูเออี แต่เดิมนิยมน้ำผลไม้แถบเมดิเตอร์เรเนียน เช่น รสน้ำส้ม น้ำมะเขือเทศ ปัจจุบันมีการวางจำหน่ายน้ำผลไม้จากผลไม้เมืองหนาวและเมืองร้อนหลากหลายชนิดมากขึ้น เช่น น้ำกีวี น้ำราสเบอรี่ น้ำบลูเบอรี่ น้ำฝรั่ง น้ำ Fruit cocktial เป็นต้น ดังนั้นจึงเป็น

4. นอกจากน้ำผลไม้พร้อมดื่ม สินค้าที่มีศัยภาพของไทยอีกชนิดคือน้ำสัปปะรดเข้มข้น และน้ำสับปะรดนั้นเป็นวัตถุดิบสำคัญในการทำน้ำผลไม้รวม ดังนั้นไทยในฐานะผู้ผลิต/ผู้ส่งออกน้ำสับปะรดรายสำคัญของโลก ควรใช้โอกาสนี้ในการเจาะตลาดและขยายการส่งออกไปยูเออี และใช้ยูเออีเป็นแหล่งกระจายสินค้าไปในภูมิภาคตะวันออกกลางและใกล้เคียง

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองดูไบ

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ