ร้านหนังสือ Borders อำลาวงการหนังสือ

ข่าวเศรษฐกิจ Monday July 25, 2011 11:53 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ร้านหนังสือ Borders ซึ่งเป็นร้านหนังสือยักษ์ใหญ่อันดับ 2 ของสหรัฐฯ (นับจาก Barnes & Noble) มียอดจำหน่าย 2,300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ 17.6)มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่เมืองแอนอาร์เบอร์ ในรัฐมิชิแกน ประกาศเลิกกิจการและปิดร้านค้าปลีก จำนวน 642 แห่งทั่วสหรัฐฯ และปลดคนงานกว่า 10,000 คน เมื่อวันที่ 19 กรกฏาคม 2554 ที่ผ่านมา

ร้านหนังสือ Borders Book ประสบปัญหาด้านยอดจำหน่ายลดลงนับตั้งแต่ปี 2549 และ เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2554 ปี ได้ยื่นเรื่องต่อศาลต่อการคุ้มครองจากเจ้าหน้า (Chapter 11 Bankruptcy Protection) เพื่อเป็นการฟื้นฟูกิจการ บริษัทฯ มีหนี้สิน 1,293 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีเจ้าหนี้ประมาณ 50 ราย และรายสำคัญๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสำนักพิมพ์ ได้แก่ บริษัท Penguin Putman (หนี้สิน 41.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) บริษัท Hachette Book Group ( หนี้สิน 36.9 ล้านเหรียญฯ) CBS Inc's Simon & Schuster (หนี้สิน 33.8 ล้านเหรียญฯ) และ Random House (หนี้สิน 33.5 ล้านเหรียญฯ)ร้าน Borders Book ไม่สามารถหานักลงทุนเข้ามาช่วยรับภาระหนี้สิน ถึงแม้ว่า จะเจรจาขายกิจการให้แก่นักลงทุนที่สนใจหลายราย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ร้านหนังสือ Borders Book จึงถึงกัลปวสาน อำลาวงการหนังสือสหรัฐฯ เป็นการอย่างถาวร

นักวิเคราะห์ตลาดให้ความเห็นพ้องกันว่า กุญแจสำคัญที่ส่งผลต่อ ดำเนินธุรกิจ ผิดพลาดของร้าน Borders เป็น 3 ประการ คือ

(1) การเลิกสัญญาการจำหน่ายหนังสือกับเวปไซด์ www.amazon.com ในปี 2550 และ หันไปเปิด E-commerce Website จำหน่ายหนังสือทางออนไลน์ด้วยตนเอง ซึ่งไม่ประสบผลสำเร็จ ได้เท่าร้าน Barnes & Noble ผู้เริ่มหน่ายหนังสือทางออนไลน์นำร่องมาตั้งแต่ปี 2540 นอกจากนั้นแล้ว

(2) ร้านหนังสือ Borders ยังปรับตัวการตลาดตามแนวโน้มตลาดไปได้เชื่องช้า โดยเฉพาะในเรื่องธุรกิจ Electronic Book หรือ E-Book ซึ่งได้รับความนิยมสูง ในขณะที่คู่แข่ง Barnes & Noble เปิดตัว Electronic Device ที่ชื่อ Nook เมื่อปี 2552 และ Amazon.com เปิดตัว Kindle ซึ่งทั้งสองรายเป็นผู้นำร่องตลาด E-Book จึงเป็นผลให้ยอดจำหน่ายหนังสือ วิดีโอ มิวสิค

(3) ประสบปัญหาการแข่งขันจากร้านค้าผู้นำตลาดค้าปลีก ได้แก Wal-Mart, Target และ Costco ซึ่งจำหน่ายหนังสือในราคาถูกกว่า หรือให้ส่วนลด

ข้อคิดเห็น

1. ผู้บริโภคเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการเลิกกิจการของร้าน Borders Book เนื่องจาก ไม่มีแหล่งซื้อหนังสืออ่าน มีค่าใช้จ่ายในการซื้อหนังสือเพิ่มขึ้นจากการขนส่งเพราะหันไปสั่งหนังสือทางออนไลน์

2. การเลิกกิจการของร้านยักษ์ใหญ่ Borders Book จะช่วยผลักดันการขยายตัวของการ จำหน่ายหนังสือทาง E-Commerce และ E-Books รวมไปถึงร้านจำหน่ายหนังสืออิสระ หรือร้านหนังสือขนาดเล็กจะจำหน่ายหนังสือได้มากขึ้น

3. บริษัทวิจัย Nielsen พบว่า ผู้บริโภคสหรัฐฯ ซื้อหนังสือลดลงร้อยละ 5 ในปี 2553 และนิยมซื้อหนังสือผ่านทาง online และ E-Book ซึ่งแนวโน้มดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการหดตัวของอุตสาหกรรมการพิมพ์หนังสือในสหรัฐฯ หรือการไปจ้างพิมพ์ในต่างประเทศและนำเข้ามาจำหน่ายในสหรัฐฯ ซึ่งประเทศไทยเป็นแหล่งรับจ้างพิมพ์หนังสือแห่งหนึ่งของสหรัฐฯ จึงอาจจะได้รับผลกระทบ

4. นอกจากการจำหน่ายหนังสือชนิดต่างๆ แล้ว ร้านหนังสือ Borders Book ยังจำหน่ายสินค้ากลุ่มเครื่องเขียน กรอบรูปบัตรอวยพร สมุดบันทึก ปฏิทิน ของขวัญและของชำร่วย ตุ๊กตายัดนุ่น เป็นต้น โดยซื้อผ่านผู้นำเข้าซึ่งนำเข้าจากต่างประเทศ รวมทั้งจากประเทศไทย ดังนั้น การเลิกกิจการของร้านหนังสือ Borders Book จะส่งผลกระทบทางอ้อมส่วนหนึ่งต่อการส่งออกสินค้าไทย เช่น สมุดบันทึก ปฏิทิน กรอบรูปไม้ ไปยังสหรัฐฯ

5. ศักยภาพการนำเข้าสินค้าของผู้นำเข้าซึ่งจำหน่ายสินค้าให้ร้าน Borders Book ลดลง เนื่องจาก ลูกหนี้ไม่ชำระเงิน เงินทุนหมุนเวียนธุรกิจลดลง และ ถูกจำกัดวงเงินสินเชื่อ เป็นผลให้ไม่สามารถขยายการนำเข้าสินค้ามาจำหน่าย

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นครชิคาโก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก สหรัฐ   ลาว  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ