สถานการณ์การค้าระหว่างไทย - จีน เดือนมกราคม - กันยายน ปี 2554

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday February 2, 2012 15:36 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนม.ค. - ก.ย. ปี 2554

จากสถิติของกรมศุลกากรไทย การค้าระหว่างประเทศของไทยระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. 2554 มีมูลค่า 3,528.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.6 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา การส่งออกมีมูลค่า 1,779.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 การนำเข้ามีมูลค่า 1,749 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29 ได้เปรียบดุลการค้า 30.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 58.8

ประเทศคู่ค้ารายใหญ่ที่สุดของไทย 3 อันดับแรก คือ ญี่ปุ่น จีนและอเมริกา การส่งออกระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย.2554 มีมูลค่า 189.2 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 210.7 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯและ 167.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.5,36.2 และ 12.9 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 31.8 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย การนำเข้ามีมูลค่า 322.5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 234.4 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 101.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ15,30.6 และ 26.8 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 18.4,13.4 และ 5.8 ของมูลค่าการนำเข้าของไทยทั้งหมด ประเทศที่ไทยได้ดุลการค้ามากที่สุด คือ ฮ่องกง ระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. 2554 ไทยได้เปรียบดุลการค้าฮ่องกง 111.6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.4 และได้เปรียบดุลการค้าอเมริกา 66 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.5 ส่วนประเทศที่ไทยเสียดุลการค้ามากที่สุดคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และเลบานอน ระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. ไทยเสียดุลการค้า 133.3 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 78.7 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ,40.3 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1,96.9 และ 68 ตามลำดับ สินค้าส่งออกหลักของไทย ได้แก่ เครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้า, พลาสติกและยางพารา, อุปกรณ์สำหรับการขนส่ง ระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย.2554 การส่งออกมีมูลค่า 513.6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ,258.8 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 174.1 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ,51,14.5 คิดเป็นร้อยละ 53.2 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย นอกจากนี้การส่งออกอาหารและเครื่องดื่มมีมูลค่า 137.5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3 คิดเป็นร้อยละ 7.7 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ส่วนสินค้านำเข้าหลักของไทย คือ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า, แร่ธาตุ , แร่เหล็ก, ผลิตภัณฑ์จากแร่รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เคมี การนำเข้าระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. มีมูลค่า 496.5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 337.1 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 221.6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯและ147.2 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16,46.4,20 และ 28.3 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ68.8 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของไทย สินค้าผลิตภัณฑ์เหล็กมีมูลค่าการนำเข้าค่อนข้างมาก ระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 143.1 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.9 คิดเป็นร้อยละ8.2 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด

2. การค้าระหว่างประเทศของไทย - จีน เดือน ม.ค. - ก.ย. 2554

จากสถิติกรมศุลกากรไทย การค่าระหว่างประเทศของไทย - จีน ระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. 2554 มีมูลค่าสูงถึง 445.1 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 ใน ไทยส่งออกไปจีนมีมูลค่า210.7 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.2 คิดเป็นร้อยละ 11.8 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย ส่วนการนำเข้าที่ไทยนำเข้าจากจีนมีมูลค่า 234.4 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ30.6 คิดเป็นร้อยละ 13.4 ของการนำเข้าทั้งหมดของไทย ไทยเสียดุลการค้า 23.8 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.4 จีนถือเป็นคู่ค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของไทย รองจากญี่ปุ่น จีนเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งของไทยและเป็นประเทศที่ไทยนำเข้าสินค้ามากที่สุดเป็นอันดับสอง

สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังจีนมากที่สุด 2 อันดับแรก คือ สินค้าประเภทพลาสติก ยางพารา และเครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า การส่งออกของไทยแยกประเภทสินค้าระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. 2554 มีมูลค่า 71.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 65.7 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 82.9 และ 6.5 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 34.1 และ31.2 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดจากไทยไปจีน ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์เคมีไปจีนมากเป็นอันดับ 3 มีมูลค่าการส่งออก 19.6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.6 คิดเป็นร้อยละ9.3 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของไทย สินค้าที่ไทยส่งออกไปจีนอันดับ 4,5,6 คือ ผลิตภัณฑ์เกษตร แร่ธาตุ และเยื่อไม้ผลิตกระดาษ ตามลำดับ การส่งออกระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. 2554 แยกประเภทสินค้ามีมูลค่า 13.3 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ, 8.5 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ,7.8 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์เกษตรและเยื่อไม้ผลิตกระดาษมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 และ 1,141.4 ตามลำดับแต่สินค้าจำพวกแร่ มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 17.3 สินค้าสามประเภทข้างต้นมีมูลค่าการส่งออกคิดเป็นร้อยละ 14 ของการส่งออกทั้งหมดของไทย

เครื่องจักรกลและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไทยนำเข้ามาจากจีน มีสัดส่วนการนำเข้าสูง ระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย.2554 ไทยนำเข้าจากจีนมีมูลค่า 122.2 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.4 คิดเป็นร้อยละ 52.1 ของสินค้าที่นำเข้าจากจีนทั้งหมดของไทย ส่วนแร่โลหะรวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่ ผลิตภัณฑ์เคมี สิ่งทอ มีการนำเข้าเป็นอันดับ 2, 3 และ 4 ตามลำดับ ระหว่างเดือนม.ค. - ก.ย. การนำเข้ามีมูลค่า 28.9 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ ,23.2 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯและ 11.6 ร้อยล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.9, 38.8 และ 23.3 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 27.2 ของมูลค่าที่ไทยนำเข้าจากจีนทั้งหมด จากการนำเข้าสินค้าข้างต้นพบว่าจีนมีคู่แข่งที่สำคัญ คือ ญี่ปุ่น อเมริกา ออสเตรเลียและมาเลเซีย เป็นต้น

จากรายงานดังกล่าวพบว่ามูลค่าการค้าระหว่างไทย-จีนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือว่าเป็นโอกาสทางการค้าสำหรับผู้ประกอบการกลุ่ม SMEs ที่มีศักยภาพในการขยายตลาดสินค้าไทยในมณฑลกวางตุ้ง การค้าระหว่างไทย-จีนในปี 2555 มีสัญญาณเชิงบวกมากมาย ในภาพรวม การส่งออกของไทยสู่ตลาดจีนขยายตัวเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันสินค้าหลายรายการของไทยมีการขยายตัวของการส่งออกและส่วนแบ่งในตลาดในจีนมากขึ้น ดังนั้นการสานต่อโครงการ Internationalization ในตลาดจีนอย่างต่อเนื่องก็คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจในระดับมหภาคและกิจการของไทยอย่างมีเสถียรภาพในระยะยาว

อย่างไรก็ตามการที่จะเพิ่มมูลค่าการนำเข้าส่งออกของทั้งสองประเทศให้มากขึ้นในปีหน้านั้น ต้องใช้ความร่วมมือจากทั้งสองประเทศไม่ว่าจะเป็นการลดการกีดกันการค้าต่อกัน การใช้เขตการค้าเสรี รวมถึงสร้างความโปร่งใสเพื่อลดความหวาดระแวงในการค้า ซึ่งทั้งหมดนี้จะช่วยให้เกิดการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจทั้งของจีนและไทยมีแนวโน้มพัฒนาไปในทางที่ดีในระยะยาว

แหล่งที่มา : http://countryreport.mofcom.gov.cn/record/view110209.asp?news_id=26917

สคต. เมืองกวางโจว

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ