ภาวะตลาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในไต้หวัน

ข่าวเศรษฐกิจ Friday May 4, 2012 13:39 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ภาวะตลาดอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในไต้หวัน

1.บทนำ

อุตสาหกรรมภาพยนตร์ถือเป็นส่วนหนึ่งของCultural & Creative Industry ที่เป็น 1 ใน อุตสาหกรรมสำคัญซึ่งรัฐบาลไต้หวันให้ความสำคัญในการผลักดันตามเป้าหมายในการยกระดับศักยภาพในการแข่งขันของประเทศในแผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับล่าสุด และนับตั้งแต่ความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องCape No.7 ของผู้กำกับเว่ยเต๋อเสิ่ง ซึ่งกวาดรายได้จากการออกฉายในไต้หวัน และต่างประเทศ(จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊า สิงคโปร์ มาเลเซีย ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ได้รวมมากกว่า 530 ล้านเหรียญไต้หวัน1ทำให้วงการภาพยนตร์ไต้หวันเกิดความตื่นตัวขึ้นมาว่าภาพยนตร์ไต้หวันก็มีดีไม่แพ้ภาพยนตร์จากฮอลลีวูดหรือฮ่องกงและสามารถทำรายได้สูงๆจากการออกฉายได้เช่นกัน จนทำให้มีผลงานดีๆ ตามออกมาเป็นจำนวนไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น Monga

โดยผู้กำกับหนิ่วเฉิงเจ๋อ ซึ่งเข้าฉายในปี 2010 และกวาดรายได้มากกว่า 260 ล้านเหรียญไต้หวันรวมทั้งส่งให้ชื่อของจ้าวยิ่วถิงและหร่วนจิงเทียนสองดารานำของเรื่องโด่งดังเป็นพลุแตกต่อเนื่องมาจนถึงในปี 2011 ที่มีภาพยนตร์ไต้หวันสามารถทำรายได้จากการออกฉายได้มากกว่า 100 ล้านเหรียญไต้หวันถึง 3 เรื่องคือภาพยนตร์ฟอร์มเล็กม้ามืดอย่างYou are the apple of my eye ของผู้กำกับหน้าใหม่อย่างจิ๋วป่าเตา สามารถทำรายได้อย่างถล่มทลายจากการออกฉายทั้งในไต้หวัน (414 ล้านเหรียญไต้หวัน) และที่ฮ่องกง (61 ล้านเหรียญฮ่องกง) รวมทั้งยังทำสถิติเป็นภาพยนตร์จีนที่ออกฉายในฮ่องกงซึ่งทำรายได้สูงที่สุดในประวัติศาสตร์ด้วย โดยสามารถทำรายได้สูงกว่าภาพยนตร์เรื่องคนเล็กหมัดเทวดาของโจวซิงฉือดาราตลกและผู้กำกับคนดังที่เป็นเจ้าของสถิติเดิม สำหรับภาพยนตร์ไต้หวันอีกสองเรื่องที่ทำรายได้สูงกว่า100 ล้านเหรียญไต้หวันคือ Seediq Bale ซึ่งเป็นภาพยนตร์ทุนไต้หวันฟอร์มยักษ์ของเว่ยเต๋อเซิ่งผู้กำกับ 500 ล้านที่เคยฝากฝีมือไว้ใน Cape No. 7 มาแล้ว โดยนำเอาความขัดแย้งระหว่างชนเผ่าพื้นเมืองกับกองทัพญี่ปุ่นยุคปกครองไต้หวันมาใช้ในการดำเนินเรื่องและเป็นที่สนใจของผู้คนมาตั้งแต่ช่วงเปิดกล้อง ด้วยทุนสร้างมหาศาลที่สูงเป็นประวัติการณ์ถึง 700 กว่าล้านเหรียญไต้หวัน (ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน 300 ล้านเหรียญไต้หวัน) แต่ก็สามารถกวาดรายได้จนคุ้มค่ากับการลงทุนจากการออกฉายทั้งสองภาคคือ The Flag of Sun (ภาค 1) ซึ่งทำรายได้จากการออกฉายในไต้หวันประมาณ 471 ล้านเหรียญไต้หวัน และ The Bridge of Rainbow (ภาค 2) ที่กวาดรายได้ไปอีกประมาณ 318 ล้านเหรียญไต้หวัน

2.ภาวะตลาดโดยรวมและคู่แข่ง

จากสถิติในปี 2553 ของ Government Information Office, R.O.C. มีภาพยนตร์เข้าฉายรวม 404 เรื่อง(ไม่รวมการออกฉายในโรงภาพยนตร์ชั้นสองและในเทศกาลภาพยนตร์ทั่วประเทศ) ในจำนวนนี้เป็นภาพยนตร์ต่างประเทศจำนวน 335 เรื่อง(เป็นภาพยนตร์ใหม่ 326 เรื่องและภาพยนตร์ที่นำกลับมาฉายซ้ำ 9 เรื่อง)และภาพยนตร์จีน 78 เรื่อง(เป็นภาพยนตร์ใหม่ทั้งหมด) ทำรายได้จากการออกฉายทั่วไต้หวันคิดเป็นมูลค่ารวม 2,808.39 ล้านเหรียญไต้หวัน โดยในจำนวนภาพยนตร์ต่างประเทศทั้งหมด 335 เรื่องนี้เป็นภาพยนตร์จากสหรัฐฯมากที่สุด (121 เรื่อง)รองลงมาได้แก่จากญี่ปุ่น (70 เรื่อง)ฝรั่งเศส (50 เรื่อง)อังกฤษ (26 เรื่อง)และเยอรมัน (13 เรื่อง)รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 1 และ 2

ตารางที่ 1 รายได้จากการฉายภาพยนตร์ในไต้หวันระหว่างปี 2008-2010

หน่วย: เรื่อง/เหรียญไต้หวัน

     ปี          จำนวนภาพยนตร์ต่างประเทศ*     รายได้ภาพยนตร์ต่างประเทศ  จำนวนภาพยนตร์จีน*   รายได้ภาพยนตร์จีน
  2010               335 (9)                  2,421,568,428              78           386,820,874
  2009               306 (6)                  2,827,650,129            62 (3)         207,887,726
  2008               316 (10)                 1,955,102,846            60 (4)         526,425,158
ที่มา : 2011 Taiwan Cinema Yearbook *(?) คือจำนวนภาพยนตร์ที่นำกลับมาฉายซ้ำ

ตารางที่ 2 จำนวนภาพยนตร์ต่างประเทศที่ออกฉายในไต้หวันแยกตามรายประเทศ
ปี       สหรัฐฯ    ญี่ปุ่น    ฝรั่งเศส    อังกฤษ    เยอรมัน    เกาหลี    สเปน    ไทย    อิตาลี    ฮอลแลนด์   อินเดีย
2010     121     70       50       26        13       11       10      7       5        4       3
2009     120     61       36       21        18        7        9      8       6        2       2
2008     136     49       38       22         7        6        6     17       6        0       0
2007     135     52       29       27         6        7        4      9       5        0       0
ที่มา : 2011 Taiwan Cinema Yearbook

          เห็นได้ชัดว่าภาพยนตร์จากฮอลลีวูดยังคงได้รับความนิยมจากผู้ชมในไต้หวันมากที่สุดอย่างต่อเนื่องโดยในปี 2010 ภาพยนตร์สหรัฐฯ ทำรายได้รวมจากการออกฉายสูงถึงประมาณ 2,126.90 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 88 ของรายได้จากการออกฉายของภาพยนตร์ต่างประเทศทั้งหมด รองลงมาได้แก่ภาพยนตร์จากญี่ปุ่น ซึ่งทำรายได้รวมประมาณ 107.07 ล้านเหรียญไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 4.4 ในส่วนของภาพยนตร์จากเกาหลีใต้ที่ออกฉายจำนวน 11 เรื่องทำรายได้รวมประมาณ5.19 ล้านเหรียญไต้หวัน (สัดส่วนร้อยละ 0.2) ในขณะที่ไทยซึ่งออกฉายจำนวน 7 เรื่องก็ทำรายได้รวมประมาณ4.80 ล้านเหรียญไต้หวัน(สัดส่วนร้อยละ 0.2)

ตารางที่ 3 จำนวนภาพยนตร์จีนที่ออกฉายในไต้หวันระหว่างปี 2007-2010
  ปี          2010      2009       2008        2007
ไต้หวัน         40        28         29          21
ฮ่องกง         25        21         18          12
จีนแผ่นดินใหญ่    10        12         10           5
อื่นๆ            3         1          3           1
รวม           78        62         60          39
ที่มา : 2011 Taiwan Cinema Yearbook

          สำหรับในส่วนของภาพยนตร์จีนซึ่งออกฉายทั้งสิ้น 78 เรื่องในปี2010 และทำรายได้รวมประมาณ 386.82 ล้านเหรียญไต้หวันนั้น แบ่งเป็นภาพยนตร์ไต้หวันจำนวน 40 เรื่องภาพยนตร์ฮ่องกง 25 เรื่องและภาพยนตร์จากจีนแผ่นดินใหญ่จำนวน10 เรื่องเมื่อพิจารณาจากจำนวนรวมและจำนวนภาพยนตร์ไต้หวันแล้วถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีเลยทีเดียว และหากนำไปเปรียบเทียบกับในปี 2007 แล้วจะเห็นได้ว่าเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 1 เท่าตัว คาดว่าจำนวนภาพยนตร์จีนที่เพิ่มขึ้นสูงนี้ น่าจะได้อานิสงค์จากการที่ Cape No.7 ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปี 2008 รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 3

ตารางที่ 4 ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด 10 อันดับแรกจากการออกฉายในไต้หวันในปี 2010
  อันดับ          ชื่อเรื่อง                    รายได้ (เหรียญไต้หวัน)*
   1          Inception                     167,005,081
   2          Iron Man 2                    130,085,082
   3          Monga                         117,007,196
   4          Toy Story 3                   105,508,499
   5          Harry Potter and               93,375,978
              the Deadly Hallows : Part 1
   6          Resident Evil: Afterlife       90,093,162
   7          Alice in Wonderland            77,645,595
   8          The Twilight Saga: Eclipse     59,209,424
   9          Step Up 3D                     58,816,410
   10         Yip Man 2                      58,229,268
ที่มา : 2011 Taiwan Cinema Yearbook
*นับเฉพาะรายได้จากการออกฉายในกรุงไทเปเท่านั้น

          ในส่วนของอันดับภาพยนตร์ทำเงินประจำปี 2010 ของไต้หวันนั้น มีภาพยนตร์ถึง 4 เรื่องที่ทำรายได้จากการออกฉายมากกว่า 100 ล้านเหรียญไต้หวัน คือภาพยนตร์เรื่องInception ที่นำแสดงโดยพระเอกหนุ่มคนดังอย่าง Leonardo DiCarprio ที่กวาดรายได้สูงสุด ด้วยรายได้ประมาณ 167 ล้านเหรียญไต้หวัน ส่วนอีก 3 เรื่องได้แก่Iron Man 2 ซึ่งทำรายได้ประมาณ: 130 ล้านเหรียญไต้หวัน Monga ซึ่งเป็นภาพยนตร์ไต้หวันที่ทำเงินมากที่สุดประจำปี จากผลงานของหนิ่วเฉิงเจ๋อผู้กำกับคนดัง ทำรายได้ประมาณ117 ล้านเหรียญไต้หวัน และ Toy Story 3 ภาพยนตร์อะนิเมชั่นชื่อดังจากค่ายดิสนีย์ของสหรัฐฯ ด้วยรายได้ประมาณ 105 ล้านเหรียญไต้หวัน

3.กฏระเบียบที่เกี่ยวข้อง
          ไต้หวันมีการจัดเรตภาพยนตร์โดยแบ่งเป็น 4 ระดับคือ
          1.General ซึ่งเหมาะสมกับผู้ชมทุกวัย
          2.Protect ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 6 ปีเข้าชม และเด็กที่อายุระหว่าง 6-12 ปีจะต้องมีผู้ใหญ่เข้าชมด้วย
          3.Counsel ห้ามผู้ที่อายุต่ำกว่า 12 ปีเข้าชม
          4.Restrict ห้ามผู้ที่อายุต่ำกว่า 18 ปีเข้าชม

          ทั้งนี้ ไต้หวันมิได้มีการจำกัดจำนวนภาพยนตร์ต่างประเทศที่จะออกฉาย แต่ยกเว้นเฉพาะภาพยนตร์จากจีนแผ่นดินใหญ่ ที่มีการจำกัดจำนวนให้ออกฉายได้ไม่เกินปีละ 10 เรื่อง

4.สถานการณ์ของภาพยนตร์ไทยในไต้หวัน
          ในส่วนของภาพยนตร์ไทยนั้น ในปี 2010 มีภาพยนตร์ไทยมาออกฉายในไต้หวันทั้งสิ้น 7 เรื่องทำรายได้รวม4,804,560 เหรียญไต้หวัน โดยภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้มากที่สุดในไต้หวันคือเรื่องใคร...ในห้อง(Who R U) ซึ่งทำรายได้จากการออกฉายในไทเป 1.58 ล้านเหรียญไต้หวัน รองลงมาได้แก่เรื่องตายโหง(Still) ด้วยรายได้1.1 ล้านเหรียญไต้หวัน และเรื่องรถไฟฟ้ามาหานะเธอ (Bangkok Traffic Love Story) รายได้ 744,580 เหรียญไต้หวัน รายละเอียดเพิ่มเติมปรากฏตามตารางที่ 5
          ทั้งนี้ ภาพยนตร์ไทยเริ่มมีเข้าฉายมากขึ้นในไต้หวันตั้งปี 2006 เป็นต้นมา ซึ่งในปีนั้นมีภาพยนตร์ไทยเข้าฉายรวม 6 เรื่องทำรายได้รวมประมาณ 8 ล้านเหรียญไต้หวัน (คิดเฉพาะการออกฉายในไทเป) จากที่ก่อนหน้านั้นจะมีเข้าฉายเพียงปีละ 1-2 เรื่องเท่านั้น แต่ปีที่ภาพยนตร์ไทยทำรายได้จากการออกฉายในไต้หวันมากที่สุดเห็นจะได้แก่ในปี 2007 ซึ่งออกฉายรวม 9 เรื่องแต่สามารถทำรายได้รวมสูงถึง 32.85 ล้านเหรียญไต้หวันโดยภาพยนตร์เรื่องแฝด (alone) ที่นำแสดงโดยมาช่า วัฒนพานิช

ตารางที่ 5 ภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในไต้หวันในช่วงปี 2008-2010
  ปี          ชื่ออังกฤษ              บริษัทผู้จัดจำหน่ายในไต้หวัน          รายได้ (NT$)     วันออกฉาย
2008       1. The House           Scholar Films                  1,895,340      11/01/2008
           2. Bangkok Love Story  SKY Films                        973,483      14/02/2008
           3. Perng Mang:         Deep Joy Movie                   370,338      22/02/2008
              The Haunted Drum
           4. Body                Bao Lei Films                  5,309,691      21/03/2008
           5. Train of The Dead   Deep Joy Movie                   272,779      21/03/2008
           6. Video Clip          SKY Films                        444,681      11/04/2008
           7. Sick Nurse          SKY Films                      1,549,977      18/04/2008
           8. Art of The Devils 3 Scholar Films                  4,334,714      23/05/2008
           9. The Spiritual World Ta Lai Films                     633,487      30/05/2008
           10. Memory             Vie Vision Pictures              526,424      15/08/2008
           11. The Coffin         SKY Films                        740,680      21/08/2008
           12. The Love of Siam   SKY Films                      2,470,000      19/09/2008
           13. 4 Bia              Vie Vision Pictures            5,560,002      19/09/2008
           14. Chocolate          Pandasia Entertainment           488,160      26/09/2008
           15. Vow of Dead        Deep Joy Movie                    96,710      03/10/2008
           16. Hormones           Vie Vision Pictures               71,054      12/12/2008
           17. My Girl            SKY Films                         21,000      12/12/2008
2009       1. Coming Soon         Vie Vision Pictures           10,907,993      20/02/2009
           2. Ghost Mother        Deep Joy Movie                   303,038      24/04/2009
           3. Ong Bak 2           SKY Films                        368,337      26/06/2009
           4. Rahtree Reborn      Vie Vision Pictures            2,302,937      24/07/2009
           5. The Love of Siam**  SKY Films                         68,000      06/11/2009
           6. Meat Grinder        Deep Joy Movie                   736,623      06/11/2009
           7. Phobia 2            Long Shong Pictures            3,885,813      20/11/2009
2010       1. My Ex               Star Wok                         422,555      04/06/2010
           2. Still               Deep Joy Movie                 1,127,857      13/08/2010
           3. Bangkok Traffic     Group Power Entertainment        744,580      10/09/2010
              Love Story
           4. Ong Bak 3           SKY Films                        168,419      17/09/2010
           5. Who R U             CMC Movie                      1,588,500      22/09/2010
           6. Uncle Boonmee Who   Hiatus Films                     506,078      26/11/2012
              Can Recall His
              Pat Lives
           7. The Intruder        Deep Joy Movie                   246,571      03/12/2012
ที่มา:ข้อมูลจาก Taiwan Cinema Yearbook สคต.มะนิลา 2 จัดทำ

สามารถทำรายได้มากถึง 18.89 ล้านเหรียญไต้หวัน ถือเป็นภาพยนตร์ไทยที่ทำรายได้จากการออกฉายในไต้หวันมากที่สุด และเป็นรายได้ที่มากกว่าทั้ง HERO ภาพยนตร์ชื่อดังของญี่ปุ่นที่เข้าฉายในปีเดียวกันซึ่งมีดาราหนุ่มชื่อดังอย่างคิมูระทะคุยะนำแสดง (12.5 ล้านเหรียญไต้หวัน) และMy Sassy Girl ภาพยนตร์เกาหลีใต้ที่ทำรายได้สูงสุดจากการออกฉายในไต้หวัน (12 ล้านเหรียญไต้หวัน) จากความสำเร็จในปี 2007 นี้เอง ส่งให้ในปี 2008 มีการนำเข้าภาพยนตร์จากไทยมาเข้าฉายในไต้หวันมากถึง 17 เรื่องอย่างไรก็ดี ในส่วนของรายรับโดยรวมกลับน้อยลงกว่าปี 2007 ด้วยรายได้รวมเพียง 23.8 ล้านเหรียญไต้หวัน จนทำให้ในปี 2009 จำนวนภาพยนตร์ไทยที่มาออกฉายในไต้หวันจึงลดเหลือเพียง 7 เรื่องโดยมีรายได้รวม 18.5 ล้านเหรียญไต้หวัน และภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดคือเรื่องโปรแกรมหน้าวิญญาณอาฆาต (Coming Soon) ด้วยรายได้ 10.9 ล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งในปี 2010 ก็มีภาพยนตร์ไทยมาออกฉายในไต้หวัน 7 เรื่องเช่นเดียวกันทำรายได้รวม 4.8 ล้านเหรียญไต้หวัน โดยมีเรื่องใคร...ในห้อง(Who R U) เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้มากที่สุด (1.5 ล้านเหรียญไต้หวัน)

4. แนวโน้มความต้องการและพฤติกรรมผู้บริโภค

เมื่อพิจารณาจากรายได้จากการออกฉายแล้วเห็นได้ชัดว่าผู้ชมไต้หวันยังคงชื่นชอบการบริโภคเทคนิคพิเศษและองค์ประกอบของภาพยนตร์แบบฮอลลีวูดเป็นหลัก แต่เมื่อดูจากแนวโน้มที่ผ่านมาของภาพยนตร์ไทยที่เข้าสู่ตลาดไต้หวันแล้ว เห็นได้ชัดว่าภาพยนตร์ประเภทสยองขวัญ (หนังผี) จากไทยจะเป็นที่ถูกใจตลาดมาก ซึ่งผู้ชมไต้หวันส่วนใหญ่เห็นว่าหนังผีแบบไทยมีความน่ากลัวกว่าหนังผีแบบญี่ปุ่นหรือแบบตะวันตก โดยส่วนใหญ่เชื่อว่าไสยศาสตร์ในแบบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความน่ากลัวอยู่ในตัวของมันเอง จึงทำให้เพิ่มความลี้ลับแก่หนังผีไทยมากขึ้นไม่น้อย ทำให้ภาพยนตร์ประเภทนี้ของไทยค่อนข้างเป็นที่โปรดปรานของกลุ่มผู้ชมที่ต้องการความตื่นเต้นและหวาดกลัวดังจะเห็นได้ว่าภาพยนตร์เรื่องลองของ(Arts of the Devil)

ทั้ง 3 ภาคต่างก็มาออกฉายในไต้หวัน และสามารถทำรายได้เป็นที่น่าพอใจทีเดียว นอกจากนี้ ในระยะหลังมานี้ตลาดไต้หวันก็เริ่มรับภาพยนตร์แนวอื่นของไทยเข้าสู่ตลาดมากขึ้น แม้รายได้จากการออกฉายจะไม่หวือหวา แต่ก็มีออกฉายเป็นประจำทุกปี เช่นเรื่องหมานคร(2007) เพื่อน...กูรักมึงวะ,รักแห่งสยาม, ช็อคโกแลต (2008) องค์บาก 2 (2009) องค์บาก 3, รถไฟฟ้ามาหานะเธอ, ลุงบุญมีผู้ระลึกชาติได้ (2010) สิ่งเล็กๆที่เรียกว่ารัก, กวนมึนโฮ, Suck Seed ห่วยขั้นเทพ (2011) และ Top Secret วัยรุ่นพันล้าน (2012) เป็นต้น แม้ในส่วนของรายได้จะไม่หวือหวานักแต่เห็นได้ชัดว่าความน่ารักสดใสของหนังรักหรือหนังวัยรุ่นแบบไทยก็เป็นที่ถูกอกถูกใจผู้ชมไต้หวันไม่น้อยเช่นกัน

5. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของสำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ไทเป

นับตั้งแต่ความสำเร็จของ Cape No.7 ที่นอกจากจะสร้างรายได้แบบถล่มทลายจากการออกฉายแล้ว ยังฉุดให้สินค้าพื้นเมือง (สุราชาวเขา) และการท่องเที่ยวแถบเขิ่นติงสถานที่พักตากอากาศชื่อดังทางภาคใต้ของไต้หวันซึ่งถูกใช้เป็นสถานที่ในการดำเนินเรื่องเกิดความคึกคักตามไปด้วยเป็นอย่างมาก ส่งให้หลายจังหวัดในไต้หวันหันมายึดเป็นแบบอย่าง จนมีการทำเป็นโครงการร่วมมือกับผู้สร้างภาพยนตร์เพื่อใช้เป็นช่องทางในการโปรโมททั้งสินค้าและการท่องเที่ยวของท้องที่ต่างๆ เช่นภาพยนตร์เรื่องAu Revoir Taipei และ Monga ซึ่งร่วมมือกับกรุงไทเป เรื่อง Black & White กับนครเกาสง รวมไปจนถึงภาพยนตร์ไต้หวันยอดฮิตประจำปี 2011 ทั้ง You are the apple of my eye (จ.จางฮั่ว) และ Seediq Bale (นครนิวไทเป และจ.หนานโถว) รวมไปจนถึง Jump Ashin ! (จ.อี๋หลัน)ต่างก็สร้างความร่วมมือกับทางการท้องถิ่นที่ใช้เป็นสถานที่ถ่ายทำ โดยเฉพาะฉากที่ทีมงานของ Seediq Bale

สร้างขึ้นเป็นเมืองที่จำลองสภาพบ้านเรือนสมัยญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ซึ่งสร้างไว้ในเขตหลินโข่วของนครนิวไทเปด้วยทุนสร้างถึง 300 ล้านเหรียญไต้หวัน ก็ได้กลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสุดฮิตแห่งใหม่ของเมืองที่ดึงดูดประชาชนจำนวนไม่น้อยให้เดินทางไปเที่ยวชมด้วย ซึ่งทางการท้องถิ่นเหล่านี้จะมีการจัดทำคู่มือท่องเที่ยวตามรอยภาพยนตร์เรื่องต่างๆไว้คอยแจกให้กับประชาชนที่สนใจ แน่นอนว่าโมเดลนี้ถือเป็นการโปรโมทสินค้าและการท่องเที่ยวที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะสามารถต่อยอดจากความนิยมในตัวภาพยนตร์ให้สามารถสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นด้านการท่องเที่ยว ร้านอาหาร สินค้าพื้นเมือง รวมไปจนถึงสินค้าของที่ระลึกต่างๆ หากทั้งภาคเอกชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นของไทยสามารถนำไปปรับใช้ก็จะเป็นประโยชน์ไม่น้อย

นอกจากนี้ ยังมีผลงานของไทยอีกไม่น้อยที่เข้ามาโดยผ่านทางบริษัทฮ่องกง เนื่องจากผู้ผลิตไทยได้ร่วมทุนกับฮ่องกงในการจัดสร้าง เช่นภาพยนตร์เรื่องThe Eye, Three, Recycle เป็นต้น ซึ่งแม้ภาพยนตร์เหล่านี้จะถูกจัดเป็นภาพยนตร์ฮ่องกง แต่ผู้ชมรวมถึงผู้ซื้อลิขสิทธิ์ในการออกฉาย ต่างก็ทราบโดยทั่วไปว่าเป็นการร่วมมือกับไทย การสร้างความร่วมมือกับผู้ผลิต/ผู้สร้างจากฮ่องกงและไต้หวันจึงถือเป็นช่องทางในการเข้าสู่ตลาดที่ดีอีกช่องทางหนึ่ง

อย่างไรก็ดี ผู้นำเข้าแจ้งว่าปัญหาสำคัญอีกประการของการนำเข้าภาพยนตร์ไทยมาฉายในไต้หวันคือเรื่องการแปลบทเพราะยังไม่มีบุคลากรที่สามารถแปลบทจากไทยเป็นจีนได้ดีพอ ปัจจุบันส่วนใหญ่ใช้การแปลมาจากบทภาษาอังกฤษที่ฝ่ายไทยจัดเตรียมให้อีกทีหนึ่ง จึงอาจทำให้เนื้อหาไม่สมบูรณ์โดยเฉพาะในจุดที่เป็นอารมณ์ขันและลูกเล่นเล็กๆน้อยๆ ของตัวละคร ซึ่งแม้จะไม่สำคัญต่อโครงสร้างและบทโดยรวม แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเสมือนชูรสที่ทำให้ภาพยนตร์น่าดูยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรให้ความสำคัญกับการสร้างบุคลากรในส่วนนี้ด้วย

ทั้งนี้ ต้องอย่าลืมว่าความสำเร็จจากการประกอบธุรกิจในไต้หวันจะส่งผลให้สามารถนำผลงานเข้าสู่ตลาดจีนได้ง่ายขึ้น รวมทั้งจะได้รับการยอมรับจากผู้บริโภคจีนง่ายขึ้นด้วย ดังนั้น การใช้ไต้หวันเป็นกระดานหกหรือแสวงหาพันธมิตรไต้หวัน ในการเข้าสู่ตลาดจีนจึงถือเป็นทางเลือกที่ดีมากทางหนึ่ง

E-Mail : thaicom.taipei@msa.hinet.net

Tel : (886 2) 2723-1800

Fax : (886 2) 2723-1821

รายชื่อผู้นำเข้าภาพยนตร์ของไต้หวันรายสำคัญ
_________________________________________________________________________________________________
          No.         Company Name            Tel               Fax                     Email
_________________________________________________________________________________________________
          1  CMC Movie Corp              886-2-25989890   886-2-25973047    desmondyang@cmcnet.com.tw
          2  Applause Entertainment      886-2-89732466   886-2-89732460    jewel@applause.com.tw

3 Flash Forward Entertainment 886-2-2926-2839 886-2-2926-2834 info@ffe.com.tw

4 Group Power Workshop Co 886-2-2388-5729 886-2-2388-5732 midori@grouppower.com.tw

          5  Scholarship Global          886-2-23619171   886-2-23704974    scholarfilm@yahoo.com.tw

Multimedia

          6 ASKAFILM PRODUCTION          886-2-2755-0018  886-2-2755-0016   phillip@askafilm.com.tw

7 Long-Sheng Entertainment 886-2-2311-1729 886-2-2314-5175 lswangtw@yahoo.com.tw

Maltimedia

          8 Good Film International      886-2-23110131   886-2-23758451    oliver@mail.spring.com.tw
          9 CROWN FILMS                  886-2-2388-4289  886-2-2389-6198   dogme@ms28.hinet.net
          10 Cineplex Development        886-2-2361-6676  886-2-2361-4014   cineplex@ms7.hinet.net
          11 Swallow Wings Film          886-2-2375 5408  886-2-2371 0733   goto.rebecca@gmail.com
          12 Hwa Jaan Films              886-2-2314-4096  886-2-2311-4147   Talai.hwajaan@msa.hinet.net
          13 IMOVIE INTERNATIONAL        886-2-2708-6208  886-2-2707-4705   info@bne.com.tw
          14 TA LAI FILMS                886-2-2314-4036  886-2-2311-4147   Talai.hwajaan@msa.hinet.net

15 New Action Entertainment 886-2-2381-8137 886-2-2389-4058 monica.hsu@msahinet.net

          16 Ten-ji International        886-2-2370-6301  886-2-2370-6301   Ten-ji@msa.hinet.net

17 Pandasia Entertaainment 886-2-2785-9010 886-2-2785-2944 service@pandasia.com.tw

          18 Golden harvest Entertainment852-23528222     852-23535989      info@goldenharvest.com
          19 FULL JONG INTERNATIONAL     886-2-2371-6820  886-2-2361-1215               -
          20 Sinomovie.Com               886-2-25117786   886-2-25605222    mike@spot.org.tw

21 CENTRAL MOTION PICTURE 886-2-2371-5191 886-2-2331-9241 service@movie.com.tw

22 Cai Chang International Corp.886-2-2658-8868 886-2-2658-5988 eliotlin@ccii.com.tw _________________________________________________________________________________________________

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ

ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2)

พฤษภาคม 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ