ตลาดปลาสวยงามในอิตาลี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday May 22, 2012 16:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดปลาสวยงามในอิตาลี

การเลี้ยงปลาสวยงามถือเป็นงานอดิเรกที่ได้รับความนิยมที่สุดไปทั่วโลก ซึ่งสหภาพยุโรปเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับปลาสวยงาม อย่างไรก็ดีสหรัฐอเมริกาจัดว่าเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ที่สุดของโลก

จากการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี (ISTAT) รายงานว่าในช่วงปี ๒๕๕๒ จำนวนสัตว์เลี้ยงในอิตาลีมีจำนวนเพิ่มขึ้น ๑% กล่าวคือมีจำนวนทั้งสิ้น ๖๐.๕ ล้านตัว โดยจำนวนสุนัข แมว นกและสัตว์เลี้ยงคลานมีจำนวนลดลงอย่างช้าๆ แต่จำนวนของปลาสวยงามและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กกลับมีจำนวนเพิ่มขึ้นจาก ๒.๕% และ ๐.๘% ตามลำดับ และในปี ๒๕๕๒ จำนวนของปลาสวยงามมีสัดส่วนกึ่งหนึ่งของสัตว์เลี้ยงทั้งหมด ในขณะที่นกมีสัดส่วนหนึ่งในห้าของสัตว์เลี้ยงทั้งหมด

ตารางที่ ๑ จำนวนประชากรสัตว์เลี้ยงระหว่างปี ๒๕๔๘ - ๒๕๕๒ หน่วย : พันตัว
      ประเภท           ปี ๒๕๔๘    ปี ๒๕๔๙    ปี ๒๕๕๐    ปี ๒๕๕๑    ปี ๒๕๕๒     อัตราขยายตัว(ร้อยละ)
จำนวนสัตว์เลี้ยง           ๕๙,๘๙๒    ๕๙,๘๕๕    ๖๐,๕๒๐    ๖๐,๔๙๗    ๖๐,๔๗๕            ๑.๐
สุนัข                     ๗,๐๑๒     ๖,๙๗๕     ๖,๙๖๕     ๖,๙๖๑     ๖,๙๕๙           -๐.๘
แมว                     ๗,๔๓๐     ๗,๔๐๐     ๗,๓๙๐     ๗,๓๘๘     ๗,๓๘๖           -๐.๖
นก                     ๑๒,๙๘๐    ๑๒,๙๖๐    ๑๒,๙๕๕    ๑๒,๙๕๐    ๑๒,๙๔๕           -๐.๓
ปลา                    ๒๙,๒๕๐    ๒๙,๓๐๐    ๒๙,๙๙๐    ๒๙,๙๘๐    ๒๙,๙๗๐            ๒.๕
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม          ๑,๘๒๐     ๑,๘๓๐     ๑,๘๓๒     ๑,๘๓๓     ๑,๘๓๕            ๐.๘
ขนาดเล็ก สัตว์เลื้อยคลาน     ๑,๔๐๐     ๑,๓๙๐     ๑,๓๘๘     ๑,๓๘๕     ๑,๓๘๐           -๑.๔
แหล่งที่มา สำนักงานสถิติแห่งชาติอิตาลี, UN, Euromonitor

          ปลาสวยงามในอิตาลีส่วนใหญ่ร้อยละ ๘๐ นำเข้ามาจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และญี่ปุ่น โดยประเทศที่เป็นผู้ส่งออกติดอันดับ ๕ ประเทศแรกของโลก ได้แก่ สิงคโปร์ ไทย ฟิลิปินส์ ฮ่องกง และอินโดนีเซีย ส่วนประเทศในแถบละตินอเมริกาจัดว่าเป็นภูมิภาคที่มีความสำคัญเป็นอันดับสองในการส่งออกสินค้าปลาสวยงาม โดยประเทศหลักๆ ได้แก่ โคลัมเบีย บราซิล และเปรู
          ในอิตาลี ปลาสวยงามที่ได้รับความนิยมที่สุดได้แก่ ปลาทอง (Red Fish หรือ Carassius Auratus) ซึ่งส่วนใหญ่จะเพาะเลี้ยงในทางตอนเหนือของอิตาลี (เช่น โบโลญญา ราเวนน่า ฟารารา) ซึ่งมีภูมิอากาศที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาชนิดนี้ ส่วนปลาสวยงามชนิดอื่นส่วนใหญ่จะนำเข้ามาจากเอเชีย
แนวโน้มความต้องการของตลาด
          กลุ่มอุตสาหกรรมผู้นำเข้าปลาสวยงามกล่าวว่า แม้ว่าจะมีตลาดขนาดเล็กแต่ก็เป็นตลาดที่สำคัญของการค้าปลาสวยงามระดับนานาชาติ โดยเฉพาะในอิตาลีซึ่งมีช่องทางการจำหน่ายสินค้าที่ดีผ่านผู้นำเข้า ผู้ค้าส่ง และตัวแทนขาย ตลาดปลาสวยงามยังคงเป็นตลาดจำเพาะ แต่มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ทั้งนี้ผลจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังส่งผลกระทบต่อตลาดดังกล่าวน้อยมาก ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่า การเลี้ยงปลาสวยงามในอิตาลีไม่ใช่ตลาดธรรมดาแต่เป็นการเลี้ยงเพื่องานอดิเรก ซึ่งมาจากความชื่นชอบส่วนตัวอย่างแท้จริง

การนำเข้าและการส่งออก

การนำเข้า
          อิตาลีนำเข้าสินค้าปลาสวยงาม (พิกัด ๐๓๐๑๑๑) จากทั่วโลกเฉลี่ยปีละ ๑๙ ล้านเหรียญสหรัฐฯ  โดยในปี ๒๕๕๔ นำเข้าจากทั่วโลกมูลค่า ๑๓.๖๓ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๓ ซึ่งมีมูลค่า ๑๔.๐๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๓.๑๓% ประเทศที่นำเข้าหลัก ๕ ประเทศ ได้แก่ สิงคโปร์ (สัดส่วน ๒๙%) อินโดนีเซีย (สัดส่วน ๑๑%) สเปน (สัดส่วน ๘%) อิสราเอล (สัดส่วน ๖%) สาธารณรัฐเชค (สัดส่วน ๕%) ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ ๘ (สัดส่วน ๔%)

ตารางที่ ๒ แหล่งนำเข้าสินค้าปลาสวยงามของอิตาลี
                                                                      หน่วย ล้านเหรียญสหรัฐฯ
   ____________________________________________________________________________________________
      อันดับที่    ประเทศ     ปี ๒๕๕๒      ปี ๒๕๕๓     ปี ๒๕๕๔           สัดส่วน          อัตราขยายตัว
                                                            ๒๕๕๒   ๒๕๕๓   ๒๕๕๔      (%)
   ____________________________________________________________________________________________
        ๑      สิงคโปร์       ๔.๑๕        ๔.๐๗       ๓.๙๒    ๑๔.๗๒  ๒๘.๙๓  ๒๘.๗๙      -๓.๖๒
        ๒      อินโดนีเซีย     ๑.๔๕        ๑.๔๑       ๑.๕๔     ๕.๑๔  ๑๐.๑๖  ๑๑.๓๑       ๘.๘๔
        ๓      สเปน         ๐.๒๙        ๐.๑๖       ๑.๑๑     ๑.๐๖   ๑.๒๐   ๘.๑๙     ๕๖๒.๘๐
        ๔      อิสราเอล      ๐.๕๙        ๐.๖๖       ๐.๙๐     ๒.๑ๆ   ๔.๗๑   ๖.๖๓      ๓๖.๓๖
        ๕      สาธารณรัฐเชค  ๐.๘๔       ๑.๐๙๑       ๐.๗๗     ๓.๐๐   ๗.๗๕   ๕.๖๘     -๒๙.๐๒
     ...๘      ไทย          ๐.๕๖        ๐.๖๐       ๐.๕๗     ๒.๐๑   ๔.๒๘   ๔.๑๘      -๕.๓๔
   ____________________________________________________________________________________________
   แหล่งข้อมูล WTA

การนำเข้าจากไทย
          สถิติการนำเข้าสินค้าปลาสวยงามจากไทยในปี ๒๕๕๔ อิตาลีนำเข้ามูลค่า ๐.๕๗ ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๓ ซึ่งมีมูลค่า ๐.๖๐ ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๕.๓๔%

การส่งออก
          อิตาลีส่งออกสินค้าปลาสวยงามไปทั่วโลกเฉลี่ยปีละ ๕๐๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ  โดยในปี ๒๕๕๔ ส่งออกไปทั่วโลกมูลค่า ๒๗๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี ๒๕๕๓ ซึ่งมีมูลค่า ๘๗๐,๐๐๐ เหรียญสหรัฐฯ ลดลง -๖๘.๓๘% ประเทศที่อิตาลีส่งออกหลัก ๕ อันดับแรก ได้แก่ ฝรั่งเศส (สัดส่วน ๔๒%) สเปน (สัดส่วน ๑๕%) เยอรมัน (สัดส่วน ๑๓%) โมรอคโค (สัดส่วน ๖%) และเนเธอร์แลนด์ (สัดส่วน ๕%)

ราคา
          ราคาขายปลีก มีความหลากหลายไปตามชนิดของปลา อยู่ระหว่าง ๑-๑๐๐ ยูโร หรืออาจถึง ๑,๐๐๐ ยูโร สำหรับปลาชนิดหายาก ยกตัวอย่างเช่น
          - ปลาทอง ตัวละ ๑.๒๐ ยูโร
          - ปลาออลลันดา ราคาอยู่ระหว่าง ๑ ยูโร - ๒๐ ยูโร
          - ปลาหางนกยูง (Poecilia) ราคาอยู่ระหว่าง ๕ ยูโร - ๑๕ ยูโร
          - ปลาเทวดา (Pterophyllum/scalare) ราคาอยู่ระหว่าง ๓ ยูโร - ๑๐ ยูโร
          - ปลาปอมปาดัว (Discus) ราคาอยู่ระหว่าง ๑๐ ยูโร - ๓๐ ยูโร
          ราคานำเข้า ผู้นำเข้าแจ้งว่า ราคาสินค้าไทยสูงกว่าสิงคโปร์ประมาณ ๑๕% แต่สินค้าไทยมีความหลากหลายมากกว่า

ช่วงเวลาการนำเข้า
          ผู้นำเข้าอิตาลีแจ้งว่า จะนำเข้าปลาสวยงามเป็นประจำตลอดปี ยกเว้นช่วงเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม โดยจะนำเข้าสินค้าจากไทยทุกเดือน มีมูลค่าประมาณ ๕,๐๐๐ ยูโร ด้วยการขนส่งทางอากาศ (มีปลาประมาณ ๑๐๐ ชนิด)  และนำเข้าจากสิงคโปร์ทุกๆ ๒ อาทิตย์ มีมูลค่าประมาณ ๔,๐๐๐ ยูโร (มีปลา ๑๐๐ ชนิดเช่นเดียวกับไทย)
          ปลาสวยงามจะเดินทางมาถึงอิตาลีด้วยการขนส่งทางอากาศ โดยจะบรรจุอยู่ในกล่องโฟม (ขนาด ๖๐ ซม. * ๔๐ ซม.) เพื่อเก็บรักษาอุณหภูมิ และในกล่องโฟมจะบรรจุถุงพลาสติกประกอบด้วยน้ำและออกซิเจนบริสุทธิ์เพื่อบรรจุปลามีชีวิต

ภาษีนำเข้า ๐%

กฎระเบียบการนำเข้า
          เอกสารที่ใช้ประกอบการขนส่งประกอบด้วย ใบรับรองด้านสุขอนามัย แบบฟอร์ม A และใบอินวอยซ์

คู่แข่งที่สำคัญของไทย
          ประเทศที่ส่งออกปลาสวยงามมาอิตาลีมากที่สุดคือ สิงคโปร์ ตามด้วยอินโดนีเซีย นอกจากนี้ได้แก่ ศรีลังกา มาเลเซีย และจีน

ความสามารถในการแข่งขัน
          โดยหลักแล้วพบว่าราคาเป็นปัจจัยหลักในด้านการแข่งขัน อย่างไรก็ดีสินค้าของไทยมีข้อได้เปรียบในด้านมีความหลากหลายมากกว่า

ช่องทางการจำหน่าย
          ในอิตาลีปลาสวยงามจะนำเข้าผ่านผู้นำเข้าและผู้ค้าส่ง โดยกระจายสินค้าให้แก่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่และร้านค้าปลีกเฉพาะพวกสัตว์เลี้ยง

ผู้นำเข้าในอิตาลี
(รายชื่อดังแนบ)
งานแสดงสินค้าสำหรับปลาสวยงาม
๑. งานแสดงสินค้า Italian Ornamental Fish Fair (จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในอิตาลี)
สถานที่    Fiera di Bergamo  เมืองแบร์กาโม (Bergamo)
วันที่      ๒๒-๒๔ กันยายน ๒๕๕๕
ผู้จัด      A.I.P.A.- ASSOCIAZIONE ITALIANA PESCI E ACQUARI
         Via G.F. Barbieri 7
         40066 Pieve di Cento (Bo)
Tel.:    051 973459 - 335 6056796
         info@aipaonline.it www.aipaonline.it
ร่วมกับ    ENTE FIERA PROMOBERG Via Lunga 24125 Bergamo (Bg)
Tel.:    035 3230911
Fax:     035 3230910
         acquarionatura@promoberg.it

ปัญหาอุปสรรค
          ผู้นำเข้าแจ้งว่า ราคาเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจนำเข้าสินค้า ซึ่งสินค้าไทยสูงกว่าสินค้าสิงคโปร์ประมาณ ๑๕% รวมถึงค่าขนส่งทางอากาศที่สูงกว่าด้วย

โอกาสลู่ทางการค้า
          สคต. โรมเห็นว่า ศักยภาพของสินค้าปลาสวยงามในอิตาลีมีโอกาสสูงเนื่องจาก
          - แนวโน้มความต้องการเลี้ยงปลาสวยงามในอิตาลีขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากแนวโน้มของคนอิตาเลี่ยนที่นิยมเลี้ยงสัตว์เลี้ยงตามแนวโน้มโลกในเรื่องของความเป็นมนุษย์ (Humanisation Trend)
          - ที่พักอาศัยของคนอิตาเลี่ยนจะมีขนาดเล็กลง เช่น การพักอาศัยในอาพาร์ทเมนต์ ทำให้เหมาะสมในการเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก เช่น ปลาสวยงาม
          - นอกจากการนำเข้าปลาสวยงาม กลุ่มอุปกรณ์และอาหารปลาก็มีโอกาสสูง เช่น ตู้ปลากระจก ตัวปั้มน้ำ ต้นไม้น้ำ หินกรวดใช้ประดับต่างๆ และอุปกรณ์ประดับตู้ปลา เป็นต้น

ข้อเสนอแนะ
          โอกาสของการส่งออกปลาสวยงามจากไทยมายังอิตาลียังมีโอกาสอีกมาก ทั้งนี้ผู้ส่งออกจึงควรศึกษาวิธีการตั้งราคาสินค้าให้สามารถแข่งขันได้ พยายามลดต้นทุนด้านการขนส่ง รวมถึงสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำเข้าด้วยการสร้างความมั่นใจในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การส่งมอบสินค้า วิธีการชำระเงิน และนำเสนอสินค้าใหม่ๆ อยู่เสมอเพื่อให้ผู้นำเข้าสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีความหลากหลายมากขึ้น


                                            *********************************

                                                                              สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโรม
                                                                                                     ๑๘ พฤาภาคม ๒๕๕๕

แหล่งข้อมูล
AIPA Italian Association of Fish and Aquarium
Italian importers of Ornamental Fish
World Trade Atlas
Euromonitor

รายชื่อผู้นำเข้าปลาสวยงามในอิตาลี
KUDA TROPICAL FISH SRL
Via Enrico Fermi 17
26020 Madignano CR
Tel: +39.0373.658195 Fax: +39.0373.650014
Email: kudatropicalfish@tin.it
Wholesale trade of aquarium fish

OKILIA 13 TROPICAL ACQUARIUM
Via Firenze 9
03039 Sora FR
Tel/Fax +39 0776 824120
Okilia13@virgilio.it
PRODUCT: TROPICAL FISH

AQUARIUM & GARDEN Srl
Via  RUGGIERO , 5 74122 - TALSANO (TA)
Tel.: 0997771064 Fax: 0997771242
email: info@aquariumgarden.it

COF SAS di Giberti Valeria e C.
Via Rotta 11
40066 - Pieve di Cento
Tel.: 051 975366 - 051 975462
Fax: 051 975459
cofitaly@cofitaly.itCOF

DIAMOND AQUARIUM srl
Via Gregorio XI 199
00166 ROMA RM
Tel: +39.06.6620896 Fax: +39.06.66040539
Importers of tropical fish and plants

FOOD CENTER
Via Torino 46
21052 Busto Arsizio VA
Tel: +39.0331.636775 Fax: +39.0331.302890
Retail and wholesale trade of tropical fish and acessories

SPAZIO ANIMALI, Impresa Individuale
Via Parmenide 122/128
84131 Salerno SA
Tel: +39.089.334497 Fax: +39.089.337700
Importers of tropical fish, dogs and cats.

WORLD ANIMALS SRL
Via Puccini 13
66020 San Giovanni Teatino CH
Telefax: +39.085.4465921
Wholesale traders of domestic animals and aquarium fish

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ