ตลาดสินค้าอาหารในญี่ปุ่น

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday June 14, 2012 14:30 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ตลาดสินค้าอาหารในญี่ปุ่น

ญี่ปุนเป็นตลาดขนาดใหญ่ จำนวนประชากรประมาณ 127 ล้านคน มากเป็นอันดับ 9 ของโลก ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศหรือ GDP ในปีงบประมาณ 2553(เมษายน 2553-มีนาคม2554) มีมูลค่า 479.2 ล้านล้านเยน หรือ 4.57 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากสหรัฐฯ และจีน

การผลิตในประเทศ

การผลิตภาคเกษตรของญี่ปุ่น มีสัดส่วนเพียง ร้อยละ 1.4 ของ GDP โดยมีพื้นที่ทำการเกษตร 46,090 ตารางกิโลเมตร หรือเพียงร้อยละ 12.64 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ผลผลิตสินค้าเกษตรกรรมและประมงของญี่ปุ่น มูลค่าหน้าฟาร์มปีละประมาณ 10 ล้านล้านเยน ซึ่งจำแนกเป็นหมวดต่างๆ ดังนี้

มูลค่า : พันล้านเยน

รายการ             2548            2551       2552
รวม              10,112          10,094      9,522
  เกษตรกรรม       8,512           8,466      8,049
  พืชผล            5,940           5,820      5,485
  ข้าว             1,947           1,901      1,795
  ผัก              2,033           2,111      2,033
  ผลไม้และ nut       727             741        675
  ปศุสัตว์           2,506           2,585      2,510
  วัว                473             459        441
  นมวัว              783             748        804
  หมู                499             579        509
  ไก่                689             744        403
  ประมง           1,601           1,627      1,473
ที่มา : Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries, Japan

          สินค้าเกษตรที่ญี่ปุ่นผลิตในประเทศเป็นปริมาณมาก ได้แก่ ข้าว หัวบีทรูต มันฝรั่ง หัวไชเท้า กะหล่ำปลี หอมหัวใหญ่ มันเทศ นมวัว ไข่ไก่ ไก่ และหมู ปริมาณการผลิตรายการสินค้าเกษตรกรรมสำคัญของญี่ปุ่น ปรากฎตามภาคผนวก ตารางที่ 1
          การค้าสินค้าเกษตร รวมทั้งอาหารประเภทผักสด ผลไม้ในญี่ปุ่น แต่ละพื้นที่จะมีสหกรณ์การเกษตรรวบรวมผลผลิตส่ง ผู้ค้าส่ง/ผู้ค้าปลีก การจัดเก็บ บรรจุ และการขนส่ง ดำเนินการอย่างพิถีพิถันเพื่อรักษาความสด และคุณภาพของสินค้า และมีข้อมูลผู้ผลิต แหล่งผลิต กำกับไว้ที่สินค้าทุกชิ้นให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
          ผู้ผลิตสินค้าเกษตรในญี่ปุ่นส่วนใหญ่ส่งผลผลิตของตนแก่สหกรณ์การเกษตรเป็นหลัก โดยตัวเลขในปี 2553 ฟาร์มที่เน้นส่งผลิตผลให้แก่สหกรณ์การเกษตรเป็นหลักมีประมาณ 1 ล้านแห่ง จากจานวน 1.68 ล้านแห่งทั่วประเทศ ช่องทางจำหน่ายแก่สหกรณ์การเกษตรโน้มลดลงร้อยละ 20 จากปี 2005 เกษตรกรได้เน้นการจำหน่ายช่องทางการขายตรงแก่ผู้บริโภค และดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์มากขึ้น

อัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร
          อาหารที่ผลิตภายในประเทศไม่เพียงพอต่อความต้องการบริโภค ญี่ปุ่นต้องนำเข้าสินค้าอาหารหลากหลายประเภท ทำให้มีอัตราการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร (self-sufficiency ratios) ต่ำสุดในบรรดาประเทศอุตสาหกรรม กล่าวคือ เพียงร้อยละ 40 ของปริมาณแคลอรี่ที่บริโภคเฉลี่ยต่อคนต่อวันในปีงบประมาณ 2552  ลดลงจากอัตราร้อยละ 53 ของปีงบประมาณ 2523  สินค้าที่มีอัตราพึ่งตนเองสูง คือ ข้าว ผัก และผลิตภัณฑ์ประมง ส่วนสินค้าอาหารที่มีอัตราพึ่งพาตนเองต่ำ หรือต้องพึ่งพาการนำเข้าสูง ได้แก่ น้ำมันและไขมัน ข้าวสาลี ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ และถั่วเหลือง เป็นต้น อัตราส่วนการพึ่งพาตนเองของญี่ปุ่นในอาหารแต่ละประเภท  เป็นดังนี้

อัตราส่วนการพึ่งพาตนเองของญี่ปุ่นในอาหารแต่ละประเภท
รายการ                         ปีงบประมาณ 2523            ปีงบประมาณ 2552
อัตราการพึ่งพาตนเองเฉลี่ย               53 %                        40 %
ข้าว                               100 %                        96 %
ผัก                                 97 %                        80 %
ผลิตภัณฑ์ประมง                        97 %                        62 %
ผลไม้                               74 %                        37 %
น้ำตาล                              27 %                        33 %
ถั่วเหลือง                            23 %                        26 %
อาหารอื่นๆ                           32 %                        23 %
ผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์                        23 %                        17 %
ข้าวสาลี                             10 %                         9 %
น้ำมันและไขมัน                        22 %                         3 %
ที่มา : Ministry of Agriculture, Forestry and Fisheries, Japan

การนำเข้า
          ญี่ปุ่นเป็นประเทศผู้นำเข้าอาหารสุทธิรายใหญ่ที่สุด โดยส่งออกปีละประมาณ 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้า 50,000-60,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
          ปี 2554 ญี่ปุ่นส่งออกอาหาร 4,206 ล้านเหรียญสหรัฐฯ  นำเข้าอาหารรวมมูลค่า 63,725 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจาก 51,377 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2553 ถึงร้อยละ 23.2 เนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ เมื่อ 11 มีนาคม 2554 รวมทั้งวิกฤตการณ์โรงไฟฟานิวเคลียร์ ส่งผลกระทบต่อการผลิตสินค้าเกษตร และประมงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของญี่ปุ่น สำหรับช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้นำเข้าอาหารมูลค่า 15,027 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2554 ร้อยละ 11.1

สินค้าอาหารนำเข้าสาคัญของญี่ปุ่น ได้แก่
          - ปลาและอาหารทะเล  ญี่ปุ่นนำเข้าปีละกว่าหมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้ญี่ปุ่นสามารถผลิตสินค้าประมงได้ปริมาณมากแต่มีแนวโน้มลดลงประกอบกับคนญี่ปุ่นนิยมรับประทานปลา/อาหารทะเล ทำให้มูลค่านำเข้าปลาและอาหารทะเลเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2552 สินค้าอาหารทะเลนำเข้าสำคัญ คือ ปลา และกุ้ง
          - เนื้อสัตว์ ปี 2554 นำเข้ามูลค่า 10,324 ล้านเหรียญฯ เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ร้อยละ 20.8 เนื้อสัตว์ที่ญี่ปุ่นนำเข้ามากที่สุด คือ เนื้อหมู รองลงมาได้แก่ ไก่ และเนื้อวัว
          - ธัญพืช ญี่ปุ่นนำเข้าธัญพืชปีละ 25 ล้านตัน ในจำนวนนี้นำเข้าข้าวโพดสำหรับเลี้ยงสัตว์ถึง 15-16 ล้านตัน  ข้าวสาลี5-6 ล้านตัน  ข้าวประมาณ 7 แสนตัน  มูลค่าการนำเข้าธัญพืชปี 2554 เท่ากับ 9,650 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึงร้อยละ 39.3 เนื่องจากราคาข้าวโพด และข้าวสาลี สูงขึ้นมาก
          - เนื้อสัตว์/ปลาปรุงแต่ง ญี่ปุ่นนำเข้าอาหารเนื้อสัตว์/ปลาปรุงแต่งเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 สินค้าสำคัญ ได้แก่ ไก่แปรรูป ปลา/กุ้งแปรรูป หมูแปรรูป

แหล่งนำเข้าอาหารรายสำคัญของญี่ปุ่น ได้แก่
ประเทศ          สัดส่วนมูลค่า         สินค้าสำคัญ
               (มค.-มีค.55)
สหรัฐอเมริกา         23.17          ธัญพืช(ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าว) ถั่วเหลือง เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ ผลไม้
จีน                 14.20          เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง ผักสด ปลาและอาหารทะเล  อาหารกึ่งสำเร็จรูป
ไทย                 6.63          ไก่แปรรูป น้ำตาล อาหารทะเล อาหารทะเลแปรรูป ข้าว ผลไม้ไก่แปรรูป น้ำตาล อาหารทะเล
                                  อาหารทะเลแปรรูป ข้าว ผลไม้
ออสเตรเลีย           5.48          เนื้อสัตว์ นมและผลิตภัณฑ์  ข้าวสาลี น้ำตาล
บราซิล               4.70          ไก่สด กาแฟ น้ำผลไม้ ข้าวโพด
แคนาดา              4.70          เมล็ด rape/colza เนื้อหมู ข้าวสาลี ถั่วเหลือง
ชิลี                  4.41          ปลาและอาหารทะเล เนื้อหมู ไวน์
ฟิลิปปินส์              2.10          กล้วย สับปะรด ปลาและอาหารทะเล น้ำมันมะพร้าว
เวียดนาม             1.76          ปลาและอาหารทะเล เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง กาแฟ
ที่มา : ประมวลจากข้อมูล Japan Customs, Ministry of Finance

มูลค่านำเข้าอาหารของญี่ปุ่นจำแนกตามประเทศแหล่งนำเข้า ปรากฏตามภาคผนวก ตารางที่ 2

สถานการณ์สินค้าอาหารจากไทยในตลาดญี่ปุ่น
          สินค้าอาหารจากไทยเป็นที่ยอมรับมากขึ้นในตลาดญี่ปุน การนำเข้าอาหารจากไทย ปี 2554 มีมูลค่า 4,451 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2553 ร้อยละ 31.7 สำหรับช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2555 นี้ ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.4
          รายการสินค้าสำคัญที่มีมูลค่าขยายตัวในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ ไก่แปรรูปซึ่งขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2551 สินค้าอื่น ได้แก่ เนื้อปลาปรุงแต่ง อาหารทะเลแปรรูป และเนื้อปลาแช่เย็น/แช่แข็ง เป็นต้น
          อย่างไรก็ตาม มีอาหารจากไทยบางชนิดที่มูลค่าชลอตัวลง เช่น น้ำตาล โดยในช่วง 3 เดือนแรกของปีนี้มูลค่าลดลงร้อยละ 15.3 หลังจากที่ขยายตัวสูงถึงร้อยละ 165.7 เมื่อปี 2554 สินค้าอื่นที่ชลอตัว เช่น กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง บะหมี่สำเร็จรูปและอาหารแปรรูปอื่นๆ  ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
          มูลค่านำเข้าของญี่ปุนจากไทยและแหล่งนำเข้าสำคัญอื่นสำหรับ สินค้าอาหารทะเล ข้าว เนื้อสัตว์ปรุงแต่ง ผัก-ผลไม้-ถั่วแปรรูป ผักสด  ผลไม้ และน้ำตาล ปรากฏในภาคผนวก ตารางที่ 3-9

กฎระเบียบการนาเข้าสินค้าอาหารของญี่ปุ่น

มาตรการด้านภาษี
          ญี่ปุนเก็บภาษีสินค้าอาหารนำเข้าแตกต่างกันไปตามชนิด อัตราที่เรียกเก็บอยู่ระหว่างร้อยละ 2- 32  และผลจากความตกลง JTEPA ญี่ปุ่นได้เปิดตลาดสินค้าอาหารให้แก่สินค้าไทย คือ
           - ยกเลิกหรือทยอยลดภาษี สำหรับสินค้าที่ยกเลิกภาษีทันทีตั้งแต่ความตกลงมีผลใช้บังคับ เมื่อ 1 พฤศจิกายน 2550 เช่น กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง กุ้งแปรรูป ผลไม้สดแช่เย็นแข่แข็ง (ทุเรียน มะม่วง มังคุด มะพร้าว) ผักบางชนิด เช่น หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำดอก บรอคโคลี เห็ดหูหนู เป็นต้น
           -  สินค้าที่ญี่ปุ่นให้โควตาแก่ไทย คือ
              -- ให้โควตาปลอดภาษีสำหรับ กล้วย ปีแรก 4,000 ตัน ทยอยเพิ่มเป็น 8,000 ตันในปีที่ 5 ภาษีนอกโควตาอัตราร้อยละ 10 กรณีนาเข้าช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกันยายน อัตราร้อยละ 20 กรณีนำเข้าช่วงเดือนตุลาคมถึงมีนาคม
              -- สับปะรด(จำกัดขนาดไม่เกิน 900 กรัมต่อผล) 100 ตันในปีที่ 1 และเพิ่มเป็น 500 ตันในปีที่ 5
              -- สินค้าอื่นให้โควตาภาษีต่ากว่าอัตรานอกโควตา ได้แก่ เนื้อหมูและแฮมแปรรูป และกากน้ำตาล

          มาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ญี่ปุ่นมีกฎหมายควบคุมการนำเข้าสินค้าอาหาร ได้แก่ กฎหมายปองกันโรคพืช (Plant Protection Law)  กฏหมายปองกันโรคสัตว์ (Domestic Animal infection Disease Control Law) กฎหมายสุขอนามัยของอาหาร (Food Sanitation Law) และกฎหมายเกี่ยวกับมาตรฐานและการปิดฉลากของสินค้าเกษตร และป่าไม้(The Law Concerning Standardization and Proper Labeling of Agriculture and Forestry Product) สรุปข้อกำหนดสำคัญในการนำเข้าสินค้าอาหาร ดังนี้

กฎระเบียบการนำเข้าอาหารของญี่ปุ่น

ผักสด  ผลไม้          - อนุญาตให้นำเข้าผลไม้จากไทยได้ 9 ชนิด คือ มะม่วง 5 พันธุ์ (มะม่วงหนังกลางวัน
                      พิมเสนแดง แรด น้ำดอกไม้ และมหาชนก) มังคุด กล้วย สับปะรด มะพร้าวอ่อน
                      ทุเรียน สละ มะขามหวาน และส้มโอ
                    - มังคุด มะม่วง และส้มโอ ต้องผ่านการอบไอน้ำ โดยมี Phytosanitary Certificate
                    - มีมาตรฐานการควบคุมระดับสารเคมีตกค้าง ผักและผลไม้ทุกชนิดต้องมี Health
                      Cer tificate จากกรมวิชาการเกษตรกำกับ
                    - การนำเข้า พืช ผัก ผลไม้สด มีการสุ่มตรวจสินค้าที่ด่านกักกันพืช
                    - การนำเข้าและจำหน่ายผักและผลไม้ที่จะอ้างอิงว่าเป็นสินค้าอินทรีย์ (Organic)
                      จะต้องได้รับการรับรองตามมาตรฐาน Organic JAS Standard และต้องแสดงตรา
                      Organic JAS ที่ผลิตภัณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้
เนื้อสัตว์ และ          - ต้องผ่านด่านกักกันสัตว์ภายใต้ Domestic Animal Infection Disease Control
ผลิตภัณฑ์                Law
                    - ญี่ปุ่นห้ามนำเข้าไก่สดแช่เย็น/แช่แข็งจากไทยตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2547 เนื่องจากการ
                      ระบาดของไข้หวัดนก
อาหารแปรรูป          - การนำเข้าครั้งแรกต้องยื่นเอกสารแสดงรายละเอียดส่วนประกอบ และกระบวนการผลิต
                    - สินค้านำเข้าจาพวกถั่วต้องผ่านการตรวจสอบการปนเปื้อนของสารอะฟลาทอกซิน
                    - สารสังเคราะห์ต่างๆ ที่ใส่ในผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้ อาทิ สารกันบูด สารแต่งสี และสารให้
                      ความหวาน จะต้องเป็นไปตามข้อกาหนดตาม Food Sanitation Law
ข้าว                 - การนำเข้าข้าว ภายใต้ระบบโควตาภาษี ทาการประมูล ซื้อ และขาย โดย Grain
                      Trade Division กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมง (MAFF)
                    - ผู้ทำการประมูล ซื้อ-ขายข้าวต้องขึ้นทะเบียนไว้กับ MAFF
                    - ภาษีนำเข้านอกระบบโควตาภาษี คิดอัตรา 341 เยน/กก.

ตารางที่ 1 ปริมาณการผลิตสินค้าเกษตรของญี่ปุ่น

                                                            หน่วย :  พันตัน
สินค้า                  2000            2005             2008                2009
ธัญญพืช
ข้าว                  9,490           9,074            8,823               8,474
ข้าวสาลี                 688             875              881                 674
ผัก
มันฝรั่ง                2,898           2,752            2,743               2,459
มันเทศ                1,073           1,053            1,011               1,026
แตงกวา                 767             675              627                 620
มะเขือเทศ               806             759              733                 718
กะหลาปลี              1,449           1,364            1,389               1,385
ผักกาดขาว             1,036             924              921                 924
หอมหัวใหญ่             1,247           1,087            1,271               1,161
ผักกาดหอม               537             552              554                 550
หัวไชเท้า              1,876           1,627            1,603               1,593
แครอท                  682             615              657                 650
ผลไม้
ส้มแมนดาริน            1,143           1,132              906               1,003
แอปเปิล                 800             819              911                 846
สาลี่ญี่ปุ่น                 393             362              328                 318
เนื้อสัตว์ นม ไข่
เนื้อหมู                1,271           1,245            1,249               1,310
เนื้อวัว                  530             498              519                 516
ไก่                   1,551           1,702            1,787               1,827
นมวัว                 8,497           8,285            7,982               7,910
ไข่                   2,540           2,481            2,554               2,508
สินค้าประมง            6,384           5,765            5,432(2009)         4,672(2010)
ตารางที่ 2 มูลค่านำเข้าอาหารของญี่ปุ่นจำแนกตามประเทศแหล่งนำเข้า
                           มูลค่า(ล้าน US$)                   ส่วนแบ่งตลาด(%)            % การเปลี่ยนแปลง
                    2010      2011    2012(มค.-มีค.)   2011    2012(มค.-มีค.)    2011    2012(มค.-มีค.)
รวมทุกแหล่ง         51,377    63,275      15,027         100        100          23.2        11.1
สหรัฐอเมริกา        11,883    14,823       3,482       23.43      23.17          24.8         8.1
จีน                 7,193     8,688       2,134       13.73      14.20          20.8        12.9
ไทย                3,379     4,451         996        7.03       6.63          31.7         5.4
ออสเตรเลีย          3,434     4,053         823        6.41       5.48          18.0         2.1
บราซิล              2,118     3,127         707        4.94       4.70          47.6         6.0
แคนาดา             2,434     3,017         706        4.77       4.70          24.0        12.9
ชิลี                 1,497     2,036         663        3.22       4.41          36.0        11.5
ฟิลิปปินส์             1,224     1,435         315        2.27       2.10          17.2        18.3
เวียดนาม              977     1,118         264        1.77       1.76         14.5        23..8
ที่มา : Japan Cu stoms, Ministry of Fi nance

ตารางที่ 3 การนำเข้าอาหารทะเลสด/แช่แข็ง ตลาดญี่ปุ่น
                                                                                                                                                                           HS 03   มูลค่า :  ล้าน US$
ประเทศ           2010       2011      2012         (มค.-มีค.)สินค้าหลัก
รวมทุกประเทศ    11,695     13,591     3,341
                11.4%      16.2%     20.1%
ชิลี              1,098      1,511       531
                 5.2%      37.6%      9.4%         ปลาแซลมอน ปลาเทราต์ เนื้อปลา
รัสเซีย           1,170      1,430       229         ไข่ปลา ปลาแซลมอน ปูแช่แข็ง เนื้อปลา
                14.4%      22.2%     36.8%
สหรัฐฯ           1,214      1,352       198         ปลาแช่เย็น/แช่แข็ง เนื้อปลา ไข่ปลา ปู แช่แข็ง
                 4.5%      11.3%     24.7%
จีน              1,110      1,281       301         หอย ปลาหมึก ปลาแช่เย็น/แช่แข็ง เนื้อ
                13.9%      15.4%     19.3%         ปลา กุ้งแช่แข็ง ไข่ปลา
ไทย               693        790       178         กุ้ง ปู ปลาหมึก เนื้อปลา กุ้ง ปู ปลาหมึก เนื้อปลา
                                                   ปลาแช่เย็น/ปลาแช่เย็น/แช่แข็ง
                22.1%      14.0%      5.5%
ที่มา : Japan Cu stoms, Ministry of Finance

ตารางที่ 4  การนำเข้าข้าวของญี่ปุ่น
                                                           HS 1006    มูลค่า :  ล้าน US$
ประเทศ            2010        2011        2012 (มค.-มีค.)        สินค้าหลัก
รวมทุกประเทศ        506         581             221
               - 17.8%       14.8%            1.1%
สหรัฐฯ              272         336             117              ข้าวสายพันธ์ Japonica เมล็ด
                                                                กลางและเมล็ดสั้น
               - 35.7%       23.4%         - 20.3%
ไทย                178         175              60              ข้าวสารเมล็ดยาว
                 55.1%      - 1.7%            1.3%
จีน                55.8          25              30              ข้าวสายพันธ์ Japonica เมล็ด
                                                                กลางและเมล็ดสั้น
               - 27.5%     - 54.4%          149.5%
ออสเตรเลีย            -          44              13              ข้าวสายพันธ์ Japonica เมล็ด
                                                                กลางและเมล็ดสั้น
                     -      100.0%          100.0%
ที่มา : Japan Cu stoms, Ministry of Finance

ตารางที่ 5 การนำเข้าเนื้อสัตว์ปรุงแต่งของญี่ปุ่น
                                                       HS 16    มูลค่า :  ล้าน US$
ประเทศ               2010         2011      2012 (มค.-มีค.)       สินค้าหลัก
รวมทุกประเทศ         5,263        6,539          1,566
                    13.1%        24.3%          20.4%
จีน                  2,516        3,147            766            ไก่แปรรูป ปลาไหล ปลาแซลมอน
                                                                 ปลาหมึกปรุงแต่ง ไส้กรอก
                    20.1%        25.1%          23.7%
ไทย                 1,522        1,883            437            ไก่แปรรูป กุ้งปรุงแต่ง ทูน่า
                     8.2%        23.7%          14.6%            กระป๋อง เนื้อหมูแปรรูป ไส้กรอก กระป๋อง
                                                                 เนื้อหมูแปรรูป ไส้กรอก
สหรัฐฯ                 404          498            126            เนื้อหมูแปรรูป คาร์เวียร์ ไส้กรอก
                     6.2%        23.1%          23.7%
เวียดนาม               207          270             58            กุ้ง-ปูปรุงแต่ง ทูน่ากระป๋อง
                     6.9%        30.4%          16.0%
ที่มา : Japan Cu stoms, Ministry of Finance

ตารางที่ 6 การนำเข้าผัก ผลไม้ ถั่วแปรรูปของญี่ปุ่น
                                                               HS 20  มูลค่า :  ล้าน US$
ประเทศ            2010       2011      2012 (มค.-มีค.)    สินค้าหลัก
รวมทุกประเทศ      3,006      3,727           904
                 10.6%      24.0%          7.7%
จีน               1,287      1,618           409          ถั่วต่างๆ ปรุงรส น้ำผลไม้ เห็ด
                                                         แปรรูป ผักดอง น้ำมะเขือเทศ
                 19.0%      25.7%         12.4%
สหรัฐฯ              596        642           171          มันฝรั่งแช่แข็ง น้ำผัก-ผลไม้(องุ่น
                  9.4%       7.7%         11.6%          แกรฟฟรุต  แครอท)
บราซิล              131        216            29          น้ำผลไม้(ส้ม องุ่น แอปเปิล) ส้มแช่แข็ง
                 15.0%      64.8%       - 50.4%
ไทย                152        200            43          สับปะรดกระป่อง  ข้าวโพดหวาน
                                                         ผักกระป๋อง  น้ำสับปะรดผักกระป๋อง
                  6.3%      31.6%          2.4%          น้ำสับปะรด

ตารางที่ 7 การนำเข้าผักของญี่ปุ่น

HS 07 มูลค่า : ล้าน US$

ประเทศ           2010       2011      2012 (มค.-มีค.)    สินค้าหลัก
รวมทุกประเทศ     2,153      2,526          675
                26.1%      17.4%         2.0%
จีน              1,236      1,468          356           ผักแช่แข็ง (ผักโขม บรอคโคลี อื่นๆ) เห็ด
                                                        ชนิดต่างๆ หอมหัวใหญ่ หอมแดง กระเทียม
                31.1%      18.8%       - 5.6%
                                                        ถัวลันเตา เผือกแช่แข็ง แครอท
สหรัฐฯ             264        304           74           ผักแช่แข็ง(ข้าวโพด มันฝรั่ง) กะหล่ำปลี
                                                        หอมหัวใหญ่
                27.9%      15.1%      - 11.3%
ไทย               108        122           31           ผักแช่แข็ง(เช่น ถั่วลันเตา ข้าวโพด)
                                                        หน่อไม้ฝรั่งสด ข้าวโพดอ่อน กระเจี๊ยบเขียว
                12.9%      12.3%         2.2%
                                                        หอมหัวใหญ่ หอมหัวใหญ่
นิวซีแลนด์           118        114           55           ฟักทอง พริกหวาน ผักแช่แข็ง(ข้าวโพด
                                                        ถั่วลันเตา) หอมหัวใหญ่  แครอท
                25.2%     - 3.4%         8.3%
ที่มา : Japan Cu stoms, Ministry of Finance

ตารางที่ 8 การนำเข้าผลไม้ของญี่ปุ่น
                                                           HS 08    มูลค่า :  ล้าน US$
ประเทศ            2010          2011      2012 (มค.-มีค.)    สินค้าหลัก
รวมทุกประเทศ      2,713         2,993          655
                  4.9%         10.3%        15.0%
ฟิลิปปินส์             910           993          206           กล้วย สับปะรด มะม่วง
                                                            มะพร้าวอ่อน  มะละกอ
               - 13.3%          9.1%         5.4%
สหรัฐฯ              833           893          272           ส้ม อัลมอนด์ องุ่น เชอรี สตรอ
                                                            เบอรี บลูเบอรี่  ลูกพรุนแห้ง
                 25.3%          7.2%        19.1%
นิวซีแลนด์            243           275            1           กีวี  อะโวคาโด ส้ม
                 13.1%         13.0%        19.8%
ไทย                 22            25            4           มะม่วง มังคุด กล้วย ทุเรียน
                                                            มะพร้าวอ่อน มะพร้าวอ่อน
                  9.8%         15.0%       - 1.9%
ที่มา : Japan Cu stoms, Ministry of Finance

ตารางที่ 9 การนำเข้าน้าตาลของญี่ปุ่น
                                                                  HS 17    มูลค่า :  ล้าน US$
ประเทศ            2010        2011       2012 (มค.-มีค.)   สินค้าหลัก
รวมทุกประเทศ        914       1,317           238
                 25.0%       44.1%        - 5.1%
ไทย                284         756           116          น้ำตาลดิบ  กากน้ำตาล  ลูกกวาด น้ำตาลดิบ
                                                          กากน้ำตาล  ลูกกวาด
               - 10.9%      165.7%        - 15.3%
ออสเตรเลีย          305         150             30         น้ำตาลดิบ
                132.2%     - 50.8%          32.1%
สหรัฐฯ               65          79             23         ลูกกวาด Syrup,
                                                          Fructose บริสุทธิ
                 53.4%       22.7%          65.7%
ฟิลิปินส์               15          59             15         น้ำตาลดิบ  กากน้ำตาล
               - 30.4%      291.2%       1,228.7%
ที่มา : Japan Cu stoms, Ministry of Finance

                                                               สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโตเกียว

แท็ก ญี่ปุ่น   สหรัฐ   GDP  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ