ประเมินสภาพเศรษฐกิจอิหร่าน ณ เดือนมิถุนายน 2555

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 19, 2012 13:50 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ประเมินสภาพเศรษฐกิจอิหร่าน ณ เดือนมิถุนายน 2555

1.สถานการณ์เศรษฐกิจที่สำคัญ

หากพิจารณาจาก Purchasing power parity (PPP) เศรษฐกิจอิหร่านมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 18 ของโลก และมีตลาดขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 26 ของโลก อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอิหร่านร้อยละ 2.6 อัตราการว่างงานในอิหร่านร้อยละ 12 -22 และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 15 -20 ต่อปี อิหร่านมีรายได้หลักจากการส่งออกน้ามันดิบและก๊าซธรรมชาติ และน้าเข้าสินค้าอาหาร สิ่งทอ สินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้ากึ่งสำเร็จรูป จากต่างประเทศ

2.สถานการณ์การค้าการลงทุนไทยในอิหร่าน

ในปี 2554 ไทยส่งออกสินค้าไปอิหร่านเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 985.33 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 92.19 เมื่อเทียบกับปี 2553 และไทยน้าเข้าสินค้าจากอิหร่านเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 139.79 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 50.39 เมื่อเทียบกับปี 2553 ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับอิหร่าน เป็นมูลค่า 845.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ในปี 2555 ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2555 มูลค่าการส่งออกของไทยไปอิหร่านลดลงร้อยละ 37.68 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 เนื่องจากปัญหาการคว้าบาตรทางการค้าจากสหรัฐ อเมริกาและสหภาพยุโรปที่ทวีความรุนแรงขึ้น

3.เป้าหมายการส่งออก

มูลค่าการส่งออกไม่ต้ากว่าปี 2554 สินค้าเป้าหมายได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับ อะไหล่และอุปกรณ์รถยนต์ สินค้าวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ของใช้ในบ้าน สินค้าเครื่องดื่มชูก้าลัง (Energy Drink) สินค้าไก่แช่แข็ง สินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูป ดอกกล้วยไม้ไทย เป็นต้น บริการเป้าหมายได้แก่ การศึกษา สปาและการนวดแผนไทย บริการ Re-export และ Logistic เป็นต้น

4.ปัญหาอุปสรรคด้านการค้าการลงทุนที่ต้องการให้ผลัดดันในระดับนโยบาย

เนื่องจากอิหร่านถูกคว่ำบาตรจากสหประชาชาติ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ไทยปฏิเสธรับ L/C ที่เปิดมาจากประเทศอิหร่าน หรือแม้แต่ผ่านประเทศที่ประเทศปลายทางเป็นอิหร่าน ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยอย่างรุนแรง หากไทยมีนโยบายเสริมสร้างช่องทางอ้านวยความสะดวกในการช้าระค่าสินค้าระหว่างนักธุรกิจไทยและอิหร่าน ก็จะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศให้เพิ่มมากขึ้นมหาศาล เช่นเจรจากับรัฐบาลอิหร่านเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้า (Barter Trade) กับอิหร่าน หรือการทำข้อตกลงระบบการค้าหักบัญชีกับอิหร่าน (Account Trade) ก็จะช่วยหลีกเลี่ยงผลกระทบจากการคว้าบาตรฯ ได้

5.จุดอ่อน-จุดแข็งของอิหร่าน

จุดอ่อน ในปี 2555 อิหร่านถูกคว่ำบาตรจากนานาชาติเพิ่มมากขึ้น โดยสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ประกาศระงับนำเข้าน้ามันจากอิหร่านตั้งแต่เดือนกรกฏาคม 2555 เป็นต้นไป นอกจากนี้ ระบบ SWIFT ตัดธนาคารอิหร่านออกจากระบบอีกด้วย ทำให้ ผู้นำเข้าอิหร่านประสบปัญหาการช้าระค่าสินค้าและการน้าเข้าสินค้าอย่างรุนแรง นอกจากนี้ สืบเนื่องจากการที่อิหร่านไม่ได้เป็นประเทศสมาชิก WTO ประกอบกับมีนโยบายปกป้องอุตสาหกรรมและตลาดภายในประเทศ ทำให้มีกฎระเบียบการค้าต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคทางการค้ามากมาย

จุดแข็ง อิหร่านเป็นประเทศที่มีประชากรกว่า ๗๖ ล้านคน และมีทรัพยากรน้ามันและก๊าซธรรมชาติมหาศาล โดยรายได้หลักมาจากการส่งออกน้ำมันและสินค้าปิโตรเคมี ทำให้ประชาชนมีกำลังซื้อสูง ตลาดอิหร่านมีคู่แข่งน้อยและเมื่อสามารถเข้าตลาดได้จะสามารถครองตลาดได้เกือบทั้งหมด อุปสรรคต่างๆ ของอิหร่าน ได้กลายเป็นโอกาสทองของผู้ส่งออกไทยที่จะเปิดตลาดสินค้าและบริการในตลาดที่มีคู่แข่งน้อยและเป็นตลาดใหม่ ซึ่งหากผู้ส่งออกไทยสามารถบุกเบิกตลาดอิหร่านได้ก่อน ก็จะสามารถยึดหัวหาด ครองส่วนแบ่งตลาดได้ก่อนประเทศอื่นๆ

6.โอกาสการค้าการลงทุนของไทย

สินค้าที่มีโอกาสขยายตลาดอิหร่านได้แก่ ข้าว ผลไม้ อาหารทะเลแปรรูป เช่น ปลาทูน่ากระป๋อง ผักกระป๋อง เช่น ข้าวโพดอ่อน ไม้ Medium-density fibreboard (MDF) กระดาษ ยางพารา สินค้าชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สินค้าชิ้นส่วนตู้เย็น เครื่องท้าความเย็น เครื่องปรับอากาศ สินค้าหัตถกรรมและเครื่องไม้ เพื่อใช้เป็นของขวัญหรือของตกแต่งบ้าน ส้าหรับการลงทุนที่มีศักยภาพในอิหร่านได้แก่การลงทุนในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เนื่องจากอิหร่านมีวัตถุดิบและอุตสาหกรรมน้ามันสามารถสนับสนุนอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปลายนำเพื่อการส่งออก เช่น อุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติก เป็นต้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมประมงเป็นอีกอุตสาหกรรมที่น่าลงทุนเช่นกัน เนื่องจากทางชายฝั่งตอนใต้ของอิหร่านติดกับอ่าวเปอร์เซียที่อุดมสมบูรณ์ด้วยสัตว์น้านานาชนิด

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเตหะราน

มิถุนายน 2555


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ