สหรัฐฯ ออกระเบียบห้ามใช้สารเคมีโพลีคาร์บอเนต

ข่าวเศรษฐกิจ Thursday July 26, 2012 11:17 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก รายงานว่า สำนักงาน Food and Drugs Administration (FDA) สหรัฐฯ มีแนวโน้มห้ามใช้สาร Bisphenol A (BPA) ในการผลิตขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยจิบน้ำดื่ม (Infant Formula Containers & Sippy Cups) ไว้ชั้นหนึ่งแล้ว

สคต.ชิคาโกใคร่ขอเรียนรายงานเพิ่มเติม ว่า ปัจจุบัน สำนักงาน US FDA ได้ประกาศระเบียบบังคับการห้ามใช้สารPolycarbonate Resins หรือ สาร Bisphenol A (BPA) ในการผลิตสินค้า ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยจิบน้ำ (Infant Formula Containers & Sippy Cups) อย่างเป็นทางการแล้ว มีผลนับตั้งแต่วันที่ ๑๗ กรกฎาคม ๒๕๕๕ เป็นต้นไป โดยครอบคลุมสินค้าที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศมาจำหน่ายในสหรัฐฯ

สมาพันธ์ The National Resources Defense Council's ของสหรัฐฯ ต้องการให้ US FDA ออกระเบียบห้ามการใช้สารเคมี BPA กับภาชนะพลาสติกใส่อาหารอาหารทุกชนิด แต่ US FDA ไม่เห็นด้วย แต่รับพิจารณาเฉพาะขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยจิบน้ำดื่มเท่านั้น

อนึ่ง สาร Bisphenol A (BPA) เป็นสารเคมีประเภทโพลีคาร์บอเนต (Polycarbonate Resin) ซึ่งนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตบรรจุภัณฑ์ ซึ่งรวมไปถึงขวดนมเด็กและถ้วยจิบน้ำดื่ม เพื่อให้มีความแข็งแรงและมีความใส

ข้อคิดเห็นเสนอแนะ

1. ปัจจุบัน รัฐบาลท้องถิ่นในสหรัฐฯ จำนวน 12 มลรัฐ ออกกฎหมายห้ามใช้สารเคมี BPA โปรดดูรายชื่อมลรัฐในเอกสารแนบตอนท้ายรายงาน ซึ่งบางมลรัฐมีขอบเขตของกฎหมายเข้มงวดกว่าของ US FDA ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผู้ผลิต/ส่งออกในต่างประเทศที่ส่งสินค้าผลิตภัณฑ์ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มรวมไปถึงขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำเด็ก ภาชนะใส่นมเด็กอ่อน และ อาหารเด็กอ่อน ต้องรับทราบและปฏิบัติตาม

2. สมาคม American Chemistry Council ซึ่งเป็นตัวแทนกลุ่มผู้ผลิตสารเคมีคัดค้าน การห้ามใช้สาร BPA โดยชิ้นเชิง กับภาชนะและบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตจากพลาสติกและกระป๋อง อีกทั้ง US FDA ยังคงยืนกรานว่า ปัจจุบัน ยังไม่มีผลการศึกษาวิจัยและข้อเท็จจริงเพียงพอว่า สารเคมี BPA มีอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น การต่อสู้และคัดค้านจากองค์กรเอกชน ยังต้องดำเนินการต่อไป และต้องใช้เวลาอีกนาน ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตสินค้าในสหรัฐฯ และ ในต่างประเทศที่ส่งสินค้าไปจำหน่ายในสหรัฐฯ

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก

20 กันยายน 2555

รายชื่อรัฐบาลมลรัฐในสหรัฐฯ ออกกฎหมายห้ามใช้สารเคมี BPA
       มลรัฐ                   ประเภทสินค้าห้ามใช้ BPA                       ผลบังคับใช้
1.  California       - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำเด็ก                     1 กรกฎาคม 2556
2.  Connecticut      - ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เป็นประจำ            1 ตุลาคม 2553
                       (Reusable) รวมไปถึงขวดนมเด็กอ่อนและถ้วย
                       ดื่มน้ำเด็ก ภาชนะใส่นมเด็กอ่อน และ อาหาร
                       เด็กอ่อน                                       1 ตุลาคม 2556
                     - ใบเสร็จรับเงินที่พิมพ์ออกจากเครื่องรับ-ทอนเงิน
3.  Delaware         - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ                        1 มกราคม 2555
4.  Maine            - ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่ม                       1 มกราคม 2555
5.  Maryland         - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ                        1 มกราคม 2555
                      - ภาชนะใส่นมผงเด็กอ่อน                           1 กรกฎาคม 2557
6.  Massachusetts    - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ                        1 กรกฎาคม 2554
7.  Minnesota        - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ                        1 มกราคม 2554
8.  New York         - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ และ จุกนม               1 ธันวาคม 2553
9.  Washington       - รวมไปถึงขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำเด็ก ภาชนะ        1 กรกฎาคม 2554
                       ใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เป็นประจำ (Reusable)
                       ของเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี
                       ภาชนะใส่นมเด็กอ่อน และ อาหารเด็กอ่อน              1 กรกฎาคม 2555
10.  Wisconsin       - ขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ                        1 มิถุนายน 2553
11.  Vermont         - ภาชนะใส่อาหารและเครื่องดื่มที่ใช้เป็นประจำ            1 กรกฎาคม 2555
                       (Reusable) รวมไปถึงขวดนมเด็กอ่อนและถ้วยดื่มน้ำ
                       เด็ก ภาชนะใส่นมเด็กอ่อน และ อาหารเด็กอ่อน          1 กรกฎาคม 2557.
12.  City of Chicago   - ถ้วยน้ำดื่มของทารก Baby Bottle)                31 มกราคม 2553
(Illinois)

แท็ก phenol   สหรัฐ   เคมี   UPS  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ