อัตราการส่งออกไปยังสหรัฐลดลง แต่ยุโรปมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งมาจากผลกระทบของการตั้งคลังสินค้าในเซินเจิ้นของผู้ซื้อสหรัฐและข้อตกลงในการขนส่งสินค้าผ่านทางท่าเรือเซินเจิ้น ในขณะเดียวกันผู้ซื้อของยุโรปยังคงใช้ฮ่องกงเป็นศูนย์กลางในการขนส่ง ทั้งนี้อัตราการส่งออกไปยังสหรัฐ ลดลงแต่ยุโรปมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยส่วนหนึ่งเป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการขนส่งและการจัดเก็บสินค้า มูลค่าวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินที่มีความผันผวนโดยเฉพาะการอ่อนตัวของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวนทำให้คาดว่ายอดรวมของสินค้าที่ส่งให้สหรัฐมีมูลค่าสูงขึ้น การส่งออกของฮ่องกงมีอัตราการเจริญเติบโตที่ช้า ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจขาลงของสหรัฐที่จะยังส่งผลในอีกระยะหนึ่ง แต่การลดลงของอัตราดอกเบี้ยและความผันผวนของงบที่ใช้ในการสนับสนุนระบบการเงิน คาดว่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวดีขึ้นในสิ้นปี 2551 ในงานแสดงสินค้าต่างๆ การซื้อขายสินค้าภายในภูมิภาค โดยเฉพาะกับแผ่นดินใหญ่จะกระตุ้นให้มีการส่งออกของฮ่องกงเพิ่มขึ้น การซื้อขายในตลาดใหม่ๆยังคงมีความแข็งแกร่ง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐจะตกลงอย่างต่อเนื่อง แต่ประเทศที่ยังมีความต้องการสินค้าภายในประเทศอย่างพอเพียง ก็ยังมีการขยายตัวในระดับที่ดี ดังนั้นการคาดการณ์การเจริญเติบโตของการสงออกในฮ่องกงคาดว่าจะอยู่ที่ 7% ถ้ามองในมุมของสินค้า สินค้าประเภทดิจิตอลยังมีความนิยมสูงที่สุด ซึ่งมีส่วนช่วยพยุงมูลค่าการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของฮ่องกง รองลงมาเป็นของเล่นทั่วไปและนาฬิกาที่ยังมีความต้องการคงที่ ในทางตรงกันข้าม การส่งอกเสื้อผ้ามีแนวโน้มที่ลดลง เนื่องจากการสั่งซื้อจากสหรัฐลดลง ในขณะที่การส่งออกเครื่องประดับอัญมณีมีมูลค่าเพิ่มขึ้นแต่ปริมาณลดลง เนื่องจากมูลค่าวัตถุดิบในการผลิตที่สูงขึ้นผลการดำเนินการในปัจจุบันของการส่งออกฮ่องกง ประสิทธิภาพการส่งออกสินค้าของฮ่องกง ในไตรมาสแรกของปี 2551 ดีกว่าที่ได้คาดการณ์ไว้ ซึ่งเพิ่มขึ้นกว่า 10% เมื่อเทียบจากสิ้นปีที่แล้ว และส่งออกต่อไปยังประเทศที่ 3 เพิ่มขึ้น 11% แม้ว่าจะมีความซบเซาด้านการขนส่งในประเทศซึ่งมาจากการบริโภคที่ลดลง การส่งออกทั้งหมดของฮ่องกงเพิ่มขึ้น 16% ในเดือนมกราคมและลดลง 8%ในเดือนกุมภาพันธ์และมีนาคม 2549 2550 มกราคม — มีนาคม 2551 ล้านดอลลาร์ อัตราการ ล้านดอลลาร์ อัตราการ ล้านดอลลาร์ อัตราการ ฮ่องกง เติบโต ฮ่องกง เติบโต ฮ่องกง เติบโตการส่งออกทั้งหมด 2,461,027 9.4 2,687,513 9.2 646,755 10.5 การส่งออกสินค้าจากในประเทศ 134,527 -1.1 109,122 -18.9 22,266 0.3 การส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ 2,326,500 10.0 2,578,392 10.8 624,489 10.9 การนำเข้า 2,599,804 11.6 2,868,011 10.3 698,235 11.6 รวมการนำเข้า-ส่งออกทั้งหมด 5,060,831 10.5 5,555,524 9.8 1,344,990 11.0 งบดุลการซื้อขาย -138,777 -180,497 -51,480 ตารางที่ 1 : แสดงมูลค่าการนำเข้า-ส่งออกสินค้า(ที่มา: HKSAR Census and Statistic Department, HKTDC Trade Watch June 2008) ความแข็งแกร่งในการดำเนินงานของฮ่องกงช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม 2551 อยู่ที่การค้าขายภายในเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งมาจากกการส่งออกของฮ่องกง 48% และอีก 11% มาจากความต้องการเครื่องจักรรวมทั้งผู้ผลิตรายย่อยเพื่อการส่งออก ในขณะที่การเติบโตอย่างเหมาะสมของการส่งออก ของในภูมิภาคกระตุ้นความต้องการสินค้าหลักและวัตถุดิบในการผลิต ในทางตรงกันข้ามยอดขายที่เกิดขึ้นมาจากการซื้อขายใน Traditional Market แม้ว่าการส่งออกไปยัง EU ดีขึ้นเนื่องจากความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจมีมากกว่า และค่าเงินยูโรแข็งค่ามากกว่าดอลลาร์สหรัฐ 7%ในปีนี้ ทำให้การส่งออกไปยังสหรัฐซบเซาลงอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจขาลง และการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นยังคงลดลงเนื่องจากการอ่อนตัวของค่าเงินเยน 7% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์มีส่วนแบ่ง 51% ของจำนวนการส่งออกฮ่องกงและจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 12% นั่นคือ ยังมีความต้องการของสินค้าดิจิตอลในตลาดต่างประเทศ และชิ้นส่วนประกอบอื่นๆ จากแผ่นดินใหญ่ ทั้งนี้แม้ว่าจะมีการเรียกคืนสินค้าจากต่างประเทศ ตามด้วยการปล่อยแผงวงจรเกมอิเล็คทรอนิกส์ และความต้องการที่มีอย่างต่อเนื่องของของเล่นอิเล็คทรอนิกส์ทำให้การส่งออกของเล่นมีปริมาณสูงขึ้น และในส่วนของวัตถุดิบที่มีมูลค่าสูงเช่น เพชร อัญมณี มีมูลค่าการส่งออกในจำนวนที่สูงมาก แต่ปริมาณในการส่งออกมีจำนวนลดลง ในกลุ่มของนาฬิกายังมียอดการส่งออกที่สูงซึ่งขัดกับความต้องการในตลาดโลก และกลุ่มของเสื้อผ้ายอดขายไม่ค่อยดีนักมีความต้องการที่น้อยลงจากสหรัฐแม้ว่าการส่งออกไปยังยุโรปยังมีปริมาณคงที่ในขณะที่มีการปรับลดจำนวนโควต้าของสิ่งทอที่มาจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ การส่งออกของฮ่องกงมีความแข็งแกร่ง อันเนื่องมาจากยอดขายที่เพิ่มขึ้นเมื่อดูจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการค้าขายสินค้าของแผ่นดินใหญ่ การเปลี่ยนแปลงค่าเงินหยวนจีน การขึ้นค่าแรง ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในด้านความปลอดภัยของสินค้า รวมทั้งค่านำมันดิบที่พุ่งสูงขึ้น เหล่านี้ส่งผลให้มูลค่าของสินค้ามีราคาเพิ่มสูงขึ้น จึงส่งผลให้มูลค่าการส่งออกของฮ่องกงระหว่างเดือนมกราคมถึงมีนาคม 2551 เพิ่มสูงขึ้น 2.6% และเพิ่มขึ้น 2.3% เมื่อเทียบกับการส่งออกของปีที่แล้วทั้งปี นั่นแสดงให้เห็นว่าสภาพแวดล้อมในการผลิตส่งผลให้ประสิทธิภาพในการผลิตสูงขึ้นและเป็นการลดจำนวนผู้ผลิตที่มีประสิทธิภาพต่ำ และทำให้การสั่งซื้อมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้นและอำนาจการต่อรองราคาสินค้าสูงขึ้นสำหรับผู้ที่มีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ทั้งนี้ความต้องการของ EU ยังมีปริมาณที่เพียงพอเหมาะสม และด้วยค่าเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นทำให้มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น ในส่วนการส่งออกไปสหรัฐมูลค่าที่เพิ่มขึ้นไม่ค่อยมีความสำคัญท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจขะลอตัว ค่าเงินอ่อนลงเมื่อเทียบกับเงินหยวน โดยค่าส่วนต่างเหล่านี้ จะเตือนให้ผู้ส่งออกทำการซื้อขายกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นหลักเพื่อลดความเสี่ยงในความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยน การส่งออกของฮ่องกงยังได้รับผลจากการลดจำนวนการขนส่งโดยตรงของแผ่นดินใหญ่ ทำให้การขนส่งผ่านฮ่องกงมีปริมาณเพิ่มขึ้น และส่วนหนึ่งได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนสถานที่ตั้งคลังสินค้ามาที่เซินเจิ้นของบริษัทสหรัฐฯ เช่น Wal-Mart และ Toy R Us รวมทั้งข้อตกลงในการทำสัญญาค้ำประกันกับบริษัทขนส่งในการจัดส่งผ่านท่าเรือเซินเจิ้น ทั้งนี้การขนส่งไปยังยุโรปยังให้ความสำคัญในการใช้บริการส่งออกในฮ่องกงอยู่ ทั้งนี้จากข้อมูลดังกล่าวส่งผลให้ปริมาณการเติบโตของธุรกิจคลัง สินค้าเพิ่มขึ้น 8% ในไตรมาศแรกของปี 2551 และเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นสินค้าหลักในการส่งต่อไปยังประเทศอื่นๆ โดยส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนที่มาจากประเทศใกล้เคียงเพื่อส่งต่อไปยังประเทศจีน เนื่องจากชิ้นส่วนเหล่านี้มีขนาดเล็ก มูลค่าสูง ทำให้ผู้ส่งออกให้ความสำคัญกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับการสูญหายและความล่าช้าในการขนส่ง ส่งผลให้การขนส่งทางเครื่องบินได้รับความนิยมมากกว่า ทั้งยังสามารถส่งตรงไปยังเมืองต่างๆ ในประเทศจีนได้อย่างรวดเร็วภาวะของเศรษฐกิจช่วงกลางปี มูลค่าการส่งออกมาจากแหล่งต่างๆ 2549 2550 มกราคม — มีนาคม 2551 ล้านดอลลาร์ อัตราการ ล้านดอลลาร์ อัตราการ ล้านดอลลาร์ อัตราการ ฮ่องกง เติบโต ฮ่องกง เติบโต ฮ่องกง เติบโต จีนแผ่นดินใหญ่ 1,156,210 14.2 1,308,332 13.2 312,485 11.1 สหรัฐอเมริกา 371,130 2.9 368,202 -0.8 77,692 -1.0 สหภาพยุโรป 344,380 5.1 363,739 5.6 87,621 8.4 สหราชอาณาจักร 73,632 6.3 74,862 1.7 16,684 1.2 เยอรมัน 75,663 4.0 81,119 7.2 20,940 17.5 เนเธอร์แลนด์ 41,040 -3.7 44,420 8.2 10,780 8.8 ญี่ปุ่น 120,422 1.6 119,568 -0.7 29,114 -1.9 เอเชีย 143,708 9.1 164,097 14.2 43,212 19.8 ลาตินอเมริกา 37,723 12.4 41,292 9.5 9,713 14.8 กลุ่มตะวันออกกลาง 33,513 13.4 39,381 17.5 10,069 14.7 ยุโรปตะวันออก 20,019 24.7 33,041 27.0 8,863 12.6 แอฟริกา 14,446 17.3 16,200 12.1 4,032 21.4 เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจาก Sub-prime ของสหรัฐมาตั้งแต่ปี 2550 และยังส่งผลถึงปัจจุบัน โดยมีผลกระทบต่อทุกธุรกิจทั่วโลก รวมทั้งค่าน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ราคาสินค้าอุปโภค บริโภคที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้คนประหยัดมากขึ้น การใช้จ่ายลดลง จำกัดการเติบโตทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อการกำหนดนโยบายในการแก้ไขปัญหาทางการเงินของรัฐ ทั้งนี้สหรัฐยังคงเป็นตลาดที่มีความสดใสเนื่องจากตลาดระดับบน (High-end) ไม่ได้รับผลกระทบ ยุโรปยังคงเป็นกลุ่มหลักในการนำเข้าสินค้าอุโภคบริโภคเนื่องจากค่าของเงินยูโรที่แข็งค่าขึ้นและความต้องการยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องทำให้ยุโรปยังเป็นตลาดที่รักษามูลค่าการส่งออกไว้ได้ ญี่ปุ่น มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลง แต่ความคงที่ของค่าเงินไม่ได้ส่งผลต่อการบริโภคสินค้า แต่ส่งผลกับการส่งออก แม้ว่าได้มีการหยุดหรือลดการนำเข้า ชิ้นส่วน ส่วนประกอบอิเล็คทรอนิกส์ก็ตาม เพราะยังได้รับผลกระทบจากสหรัฐบ้าง โดยหน้าที่ของผู้ส่งออกในฮ่องกงคือหาตลาดใหม่จากทั่วโลกเพื่อเปิดช่องทางการขายในการขนส่งสินค้า โดยเฉพาะในเอเชียยังคงเป็นภูมิภาคที่มีเสถียรภาพสูงสุด แม้ว่าการดำเนินการจะมีข้อจำกัดจากเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงชะลอตัว แต่ความต้องการภายในประเทศจีนยังคงมีปริมาณที่สูงและมีอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผลกระทบจากสหรัฐเกิดขึ้นในระยะสั้น โดยเฉพาะนโยบายรัฐบาลใหม่ของไต้หวัน จะส่งผลในการกระตุ้นการส่งออกของฮ่องกงโดยจะเป็นศูนย์กลางการซื้อขายระหว่างประเทศจีนและใต้หวันวิเคราะห์ตามประเภทของสินค้า - เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ ในไตรมาศแรกการส่งออกขยายตัว 12% เนื่องจากความนิยมของสินค้าดิจิตอลในตลาดต่างประเทศมีมากขึ้น โดยในปี 2551 และ 2552 ยอดการส่งออกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อาจได้รับผลกระทบจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ โดยคาดว่าจะมีปริมาณที่เปลี่ยนแปลงไม่มากนัก - เสื้อผ้า การส่งออกเสื้อผ้าลดลง 3%ในช่วงไตรมาศแรก แต่ยอดส่งออกไปยังสหรัฐและEUเพิ่มขึ้น 70% ของปริมาณการส่งออก จากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของสหรัฐ ทำให้ยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ถึงแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เนื่องมาจากปัจัยยอื่นๆ ด้วย เช่นการตั้งกำแพงภาษีของสินค้าประเภทเสื้อผ้า สิ่งทอที่ผลิตในจีนเพื่อส่งออกไปยังยุโรปและสหรัฐ - ของเล่น การส่งออกของเล่นในฮ่องกงขยายตัว 20% ในไตรมาสแรกของปี 2551 โดยเฉพาะประเภทวีดิโอเกม ของเล่นอิเล็คทรอนิกส์ ในขณะเดียวกันตุ๊กตา ตัวต่อ ของเล่นล้อเลื่อนมีความซบเซาต่อเนื่อง ทั้งหมดนี้ในการส่งออกไปยุโรปจะได้รับผลกระทบน้อยที่สุด เนื่องจากความแข็งของค่าเงิน เมื่อเทียบกับตลาดสหรัฐและญี่ปุ่น ทั้งนี้ตลาดใหนประเทศจีนและในภูมิภาคอาเซียนยังคงเป็นตลาดที่ยังคงดำเนินไปได้ดี - นาฬิกา ยอดการส่งออกเพิ่มขึ้น 16% ในไตรมาสแรกของปี 2551 โดยส่งไปยังตลาดหลักไม่ว่าจะเป็น ยุโรป ญี่ปุ่น สหรัฐ แต่มีแนวโน้มว่าการส่งออกจะลดลงเนื่องจากความต้องการของตลาดโลกมีปริมาณลดลง - อัญมณี มูลค่าการส่งออกสินค้าเครื่องประดับและอัญมณีสูงถึง 27% ในไตรมาศแรกอันเนื่องมาจากราคาวัตถุดิบที่พุ่งสูงขึ้นเช่นทองคำ เงิน และ เพชร เมื่อดูที่ปริมาณการสงออกลดลง 6% เนื่องจากความต้องการของตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐลดน้อยลง สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง Upload Date : กรกฎาคม 2551 ที่มา: http://www.depthai.go.th