รายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยกับเดนมาร์กและประเทศในเขตอาณารับผิดชอบ ในช่วง 6 เดือนแรกปี 2551

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 1, 2008 15:59 —กรมส่งเสริมการส่งออก

          สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกนขอรายงานภาวะการค้าระหว่างประเทศไทยกับเดนมาร์ก และประเทศในเขตอาณารับผิดชอบ ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 ดังต่อไปนี้
1. เดนมาร์ก
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่า ม.ค. — มิ.ย. ม.ค. — มิ.ย. % เพิ่ม/ลด
ปี 2550 ปี 2551
การค้ารวม 282.4 398.5 41.11%
การส่งออก 184.6 267.2 44.77%
การนำเข้า 97.8 131.3 34.21%
ดุลการค้า 86.8 135.9 56.57%
1.1 ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 การค้าระหว่างประเทศไทยกับเดนมาร์กมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 398.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่มีมูลค่า 282.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.11 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังเดนมาร์กมูลค่า 267.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ส่งออกมูลค่า 184.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.77 และเป็นการนำเข้าจากเดนมาร์กมูลค่า 131.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่นำเข้ามูลค่า 97.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.21 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 135.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 86.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.57
1.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังเดนมาร์กที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน มูลค่า 61.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 57.06 อัญมณีและเครื่องประดับ 59.6 ล้านเหรียญหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 115.79 แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า 21.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 52.09 หนังสือและสิ่งพิมพ์ 10.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 7,401.02 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 9.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.53 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 6.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 45.06 ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.14 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 4.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 39.72 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 55.99 และเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 3.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 29.28
1.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากเดนมาร์กที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ แผงวงจรไฟฟ้า สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่นๆ และผ้าผืน
1.4 สินค้าสำคัญที่เดนมาร์กนำเข้าจากไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ รองเท้าและชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ แผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า หนังสือและสิ่งพิมพ์ เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องวิดีโอ เครื่องเสียง อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ไก่แปรรูป เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์ยาง
2. สวีเดน
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่า ม.ค. — มิ.ย. ม.ค. — มิ.ย. % เพิ่ม/ลด
ปี 2550 ปี 2551
การค้ารวม 480.0 554.4 15.50%
การส่งออก 267.8 253.2 -5.46%
การนำเข้า 212.2 301.2 41.95%
ดุลการค้า 55.6 -48 -
2.1 ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 การค้าระหว่างประเทศไทยกับสวีเดนมีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 554.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่มีมูลค่า 480.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.50 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังสวีเดนมูลค่า 253.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ส่งออกมูลค่า 267.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 5.46 และเป็นการนำเข้าจากสวีเดนมูลค่า 301.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่นำเข้ามูลค่า 212.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 41.95 ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 48.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ไทยได้เปรียบดุลการค้า 55.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
2.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังสวีเดนที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ มูลค่า 21.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.83 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 18.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 43.59 เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ 15.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.85 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 14.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 12.71 ไก่แปรรูป 11.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ126.22 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 9.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.17 เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง และส่วนประกอบ 9.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 35.18 เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง 9.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 34.07 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 8.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.64 และเครื่องคอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำความเย็น 8.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 43.41
2.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากสวีเดนที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ และเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ
2.4 สินค้าสำคัญที่สวีเดนนำเข้าจากไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เลนซ์ อัญมณีและเครื่องประดับ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล ผลิตภัณฑ์ยาง และเครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม
3. ฟินแลนด์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่า ม.ค. — มิ.ย. ม.ค. — มิ.ย. % เพิ่ม/ลด
ปี 2550 ปี 2551
การค้ารวม 386.9 452.6 16.98%
การส่งออก 242.0 268.1 10.79%
การนำเข้า 144.9 184.5 27.34%
ดุลการค้า 97.1 83.6 -13.90%
3.1 ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 การค้าระหว่างประเทศไทยกับฟินแลนด์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 452.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่มีมูลค่า 386.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.98 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังฟินแลนด์มูลค่า 268.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ส่งออกมูลค่า 242.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.79 และเป็นการนำเข้าจากฟินแลนด์มูลค่า 184.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่นำเข้ามูลค่า 144.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.34 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 83.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 97.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 13.90
3.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังฟินแลนด์ที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและ
ส่วนประกอบ มูลค่า 60.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 188.81 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 48.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.25 เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 23.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.32 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 18.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.20 ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ 16.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.68 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 10.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.33 เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์และส่วนประกอบ 9.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 76.90 สายไฟฟ้าสายเคเบิ้ล 7.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 14,084.44 ผลไม้กระป๋องและแปรรูป 6.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.07 และผลิตภัณฑ์พลาสติก 5.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 245.76
3.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากฟินแลนด์ที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สื่อบันทึกข้อมูล ภาพ เสียง ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษเคมีภัณฑ์ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินแร่โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ และเยื่อกระดาษและเศษกระดาษ
3.4 สินค้าสำคัญที่ฟินแลนด์นำเข้าจากไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็ง และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ผลิตภัณฑ์พลาสติก เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบ และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์ยางหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และอัญมณีและเครื่องประดับ
4. นอร์เวย์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่า ม.ค. — มิ.ย. ม.ค. — มิ.ย. % เพิ่ม/ลด
ปี 2550 ปี 2551
การค้ารวม 213.0 244.2 14.65%
การส่งออก 73.2 97.6 33.36%
การนำเข้า 139.8 146.6 4.83%
ดุลการค้า -66.6 -49.0 -26.43%
4.1 ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 การค้าระหว่างประเทศไทยกับนอร์เวย์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 244.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่มีมูลค่า 213.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.65 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังนอร์เวย์มูลค่า 97.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ส่งออกมูลค่า 73.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.36 และเป็นการนำเข้าจากนอร์เวย์มูลค่า 146.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่นำเข้ามูลค่า 139.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.83 ไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 49.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ไทยเสียเปรียบดุลการค้า 66.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.43
4.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังนอร์เวย์ที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วน
ประกอบ มูลค่า 24.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.44 เสื้อผ้าสำเร็จรูป 10.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 158.40 เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง 6.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก ข้าว 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 114.74 อัญมณีและเครื่องประดับ 3.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.87 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 3.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.92 เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 44.25 แก้วและกระจก 2.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอย่างมาก เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.54 และเครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า 2.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.64
4.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากนอร์เวย์ที่สำคัญ ได้แก่ ปุ๋ย และยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด เครื่องมือ เครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์ การทดสอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ และผลิตภัณฑ์โลหะ
4.4 สินค้าสำคัญที่นอร์เวย์นำเข้าจากไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง ข้าว อัญมณีและเครื่องประดับ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปเฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน แก้วและกระจก ผักกระป๋องและแปรรูป เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เซรามิก และผลิตภัณฑ์ยาง
5. ไอซ์แลนด์
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่า ม.ค. — มิ.ย. ม.ค. — มิ.ย. % เพิ่ม/ลด
ปี 2550 ปี 2551
การค้ารวม 8.8 11.6 31.82%
การส่งออก 4.9 6.9 40.89%
การนำเข้า 3.9 4.7 20.83%
ดุลการค้า 1.0 2.2 120.00%
5.1 ในช่วง 6 เดือนแรก (มกราคม — มิถุนายน) ปี 2551 การค้าระหว่างประเทศไทยกับไอซ์แลนด์มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 11.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่มีมูลค่า 8.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 31.82 โดยเป็นการส่งออกจากไทยไปยังไอซ์แลนด์มูลค่า 6.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ส่งออกมูลค่า 4.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.89 และเป็นการนำเข้าจากไอซ์แลนด์มูลค่า 4.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่นำเข้ามูลค่า 3.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.83 ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้ารวมทั้งสิ้นมูลค่า 2.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2550 ที่ไทยได้เปรียบดุลการค้า 1.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 120.00
5.2 สินค้าที่ไทยส่งออกไปยังไอซ์แลนด์ที่สำคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และ
ส่วนประกอบ มูลค่า 4.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.96 อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 77.07 ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ 0.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นมากถึงร้อยละ 14,337.04 ข้าว 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 103.72 สิ่งปรุงรสอาหาร 0.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.07 ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 0.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.55 เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม 0.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 26.06 ตาข่ายจับปลา 0.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.73 ผลิตภัณฑ์พลาสติก 0.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 27.03 และเหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ 0.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 125.24
5.3 สินค้าที่ไทยนำเข้าจากไอซ์แลนด์ที่สำคัญ ได้แก่ สัตว์น้ำสด แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินแท่งและทองคำ สินค้าทุนอื่นๆ สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และสินแร่ โลหะอื่นๆ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์
5.4 สินค้าสำคัญที่ไอซ์แลนด์นำเข้าจากไทยมีมูลค่าเพิ่มขึ้น ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ ข้าว ตาข่ายจับปลา เหล็ก เหล็กกล้า และผลิตภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และหนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด
6. สรุปและข้อเสนอแนะ
หน่วย : ล้านเหรียญสหรัฐ
ประเทศ เป้าหมายการ อัตราการ การส่งออกจริง อัตราการ
ส่งออก ปี 2551 ขยายตัว ม.ค. — มิ.ย. 2551 ขยายตัว
เดนมาร์ก 454.6 8.00% 267.2 44.77%
สวีเดน 579.6 10.00% 253.2 -5.46%
ฟินแลนด์ 535.8 10.00% 268.1 10.79%
นอร์เวย์ 166.8 5.00% 97.6 33.36%
ไอซ์แลนด์ 9.3 2.00% 6.9 40.89%
6.1 การส่งออกของไทยไปยังประเทศในแถบสแกนดิเนเวียในช่วง 6 เดือนแรกปี 2551 มีอัตราการขยายตัวสูงกว่าเป้าหมายการส่งออกที่ตั้งไว้รวม 4 ประเทศ คือ เดนมาร์ก ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ร้อยละ 8.0 การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 44.77 ไอซ์แลนด์ ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ร้อยละ 2.0 การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 40.89 นอร์เวย์ ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ร้อยละ 5.0 การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.36 และฟินแลนด์ ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ร้อยละ 10.0 การส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.79 ยกเว้นสวีเดน ที่ตั้งเป้าหมายการส่งออกไว้ร้อยละ 10.0 แต่การส่งออกของไทยลดลงเล็กน้อยร้อยละ 5.46 เนื่องจากผลกระทบจากเสถียรภาพของค่าเงินบาท และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่มีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็นสำคัญ
6.2 สินค้าของไทยหลายชนิดที่มีศักยภาพในการส่งออกไปยังตลาดแถบนี้และมีลู่ทางที่จะขยายการส่งออกได้อีกมาก ได้แก่ อาหาร เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ข้าว เนื้อปลาสดแช่เย็น แช่แข็ง ไก่แปรรูป ผักกระป๋องและแปรรูป สิ่งปรุงรสอาหาร และผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เป็นต้น อัญมณีและเครื่องประดับ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองเท้าและชิ้นส่วน เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จ รูปแผงสวิทช์และแผงควบคุมกระแสไฟฟ้า ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สายไฟฟ้า สายเคเบิ้ล เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง หนังสือและสิ่งพิมพ์ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ เครื่องอมเพรสเซอร์ของเครื่องทำ มเย็น เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกมเลนซ์ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า เครื่องวิดีโอ เครื่องเสียง อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เซรามิก เครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ แก้วและกระจก ตาข่ายจับปลา และไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์
6.3 ปัจจัยสำคัญที่สุดที่ผู้ผลิตและส่งออกของไทยที่ต้องการจะขยายการส่งออกไปยังตลาดสแกนดิเนเวียจะต้องคำนึงถึง คือ เรื่องของคุณภาพสินค้า เนื่องจากตลาดแถบนี้ค่อนข้างจะพิถีพิถันและเน้นเรื่องคุณภาพของสินค้าอย่างมาก โดยพัฒนาการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด และศึกษากฎระเบียบการนำเข้ารายสินค้า มาตรฐานสินค้า การออกแบบตามสไตลส์ของตลาดสแกนดิเนเวียซึ่งแตกต่างจากตลาดอื่นๆ แนวโน้มความต้องการของตลาด วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต สีสัน ขนาด ความสวยงามและรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ รสนิยมที่แตกต่างกันตามฤดูกาล พฤติกรรมของผู้บริโภค รวมทั้งคู่แข่งขันที่สำคัญ และควรใช้กลยุทธ์การตลาดโดยเน้นที่ความแตกต่างของสินค้า (Differentiation) เป็นจุดขาย และความโดดเด่น (Unique) ของสินค้าที่แตกต่างจากคู่แข่งขันโดยสิ้นเชิงเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภค ด้วยการรักษาคุณภาพของสินค้าและกำหนดตำแหน่งของสินค้า (Positioning) เพื่อขายในตลาดระดับกลางและระดับสูงเป็นสำคัญ เช่น การออกแบบที่ดูเรียบง่าย แต่ดูดี เท่ห์ ทันสมัย สีสันเหมาะสมกับตลาดแถบนี้ การคำนึงถึงเรื่องสุขภาพ (Health) เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น ได้แก่ สินค้าเพื่อสุขภาพ (Healthy products) หรือผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy foods) ตลอดจนผลิตภัณฑ์ออร์แกนนิก (Organic products) ซึ่งขณะนี้แนวโน้มการบริโภคผลิตภัณฑ์ออร์แกนนิกในตลาดสแกนดิเนเวียกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้น ควรคำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม (Corporate Social Responsibility : CSR) และประเด็นของการใช้แรงงานเด็ก (Child labour) ซึ่งประเทศในแถบนี้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ค่อนข้างมากเช่นเดียวกัน สินค้าของไทยบางชนิดไม่สามารถแข่งขันเรื่องราคาในตลาดระดับล่างกับคู่แข่งขันอื่นๆ ได้ อาทิ จีน เวียตนาม บังคลาเทศ ตุรกี ปากีสถาน และอินโดนีเซีย เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ประกอบกับมีการย้ายฐานการผลิตสินค้าหลายชนิดไปยังประเทศเหล่านี้เนื่องจากมีต้นทุนค่าแรงงานที่ถูกกว่า แล้วส่งออกกลับเข้ามาขายในตลาดแถบนี้อีกครั้งหนึ่ง
6.4 ควรใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุกเพื่อหาทางบุกเจาะขยายตลาดให้มากยิ่งขึ้น เช่น การเดินทางไปพบปะเจรจาการค้ากับผู้นำเข้าในต่างประเทศโดยตรงและบ่อยครั้งมากขึ้นเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดี การเดินทางไปแสวงหาลูกค้ารายใหม่ๆ เพื่อสร้างเครือข่ายทางการค้า (Network) และการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ เพราะจะเป็นโอกาสที่ดีในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้นำเข้าในต่างประเทศ รวมทั้งเป็นการสร้างเครือข่ายทางการค้าและการลงทุนร่วมกันต่อไปในอนาคต ตลอดจนเป็นโอกาสให้ผู้ผลิตและส่งออกของไทยได้พบปะกับผู้นำเข้าจากต่างประเทศโดยตรงเพื่อเจรจาการค้า เสนอขายสินค้า และหาทางขยายการส่งออกสินค้าไทยไปยังตลาดแถบนี้ต่อไป
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงโคเปนเฮเกน
Upload Date : กรกฎาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

แท็ก สหรัฐ  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ