สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย — ญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค-ก.ค.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Friday August 29, 2008 16:19 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง : Tokyo
พื้นที่ : 377,899 ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ : Japanese
ประชากร : 127.8 ล้านคน (October 2006)
อัตราแลกเปลี่ยน : 100 เยน = 30.922 บาท (27//08/51)
(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ
ปี 2007 ปี 2008
Real GDP growth (%) 1.9 1.4
Consumer price inflation (av; %) 0.0 0.4
Budget balance (% of GDP) -2.6 -2.4
Current-account balance (% of GDP) 4.9 4.6
Commercial banks' prime rate (year-end; %) 1.8 2.1
Exchange rate ฅ:US$ (av) 117.4 105.0
โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับญี่ปุ่น
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 11,645.02 100.00 14.96
สินค้าเกษตรกรรม 1,633.60 14.03 33.05
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 967.70 8.31 26.79
สินค้าอุตสาหกรรม 8,255.11 70.89 7.81
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 788.49 6.77 120.83
สินค้าอื่นๆ 0.12 0.0 -99.91
โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับญี่ปุ่น
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 19,553.66 100.00 24.82
สินค้าเชื้อเพลิง 65.33 0.33 1.94
สินค้าทุน 7,431.91 38.01 27.09
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 9,344.70 47.79 24.98
สินค้าบริโภค 896.85 4.59 16.90
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 1,812.19 9.27 24.27
สินค้าอื่นๆ 2.68 0.01 -94.81
1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ญี่ปุ่น
2550 2551 D/%
(ม.ค.-กค.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 25,795.93 31,198.67 20.94
การนำเข้า 15,665.97 19,553.66 24.82
การส่งออก 10,129.96 11,645.02 14.96
ดุลการค้า -5,536.01 -7,908.64 42.86
2. การนำเข้า
ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 1 มูลค่า 19,553.66 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.82 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 19,553.66 100.00 24.82
1. เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ 3,769.38 19.28 26.47
2. เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 2,799.60 14.32 35.65
3. เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 1,838.56 9.40 23.16
4. เคมีภัณฑ์ 1,707.04 8.73 36.04
5. แผงวงจรไฟฟ้า 1,603.29 8.20 -1.33
อื่น ๆ 7,835.78 40.07 25.39
3. การส่งออก
ประเทศไทยส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น เป็นอันดับที่ 2 มูลค่า 11,645.02 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.96 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด
ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 11,645.02 100.00 14.96
1. แผงวงจรไฟฟ้า 636.01 5.46 -10.78
2. เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 633.06 5.44 -0.58
3. ยางพารา 569.65 4.89 25.22
4. รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ 444.16 3.81 2.85
5. น้ำมันสำเร็จรูป 430.00 3.69 654.37
อื่น ๆ 8,932.13 76.70 13.98
4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปญี่ปุ่น ปี 2551 (มค.-กค.) ได้แก่
แผงวงจรไฟฟ้า : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทยรองจากฮ่องกง โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ 10.78 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 6 ของไทย โดยมีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ .58 เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน ปัจจุบันไทยได้กลายเป็นฐานการผลิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก จากการเข้ามาของนักลงทุนรายใหญ่ทั้ง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น
ยางพารา : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-13.29%) ในขณะที่ปี 2548 2549 2551 มีอัตราขยายตัว เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.29 31.14 25.22 ตามลำดับ
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 4.88 25.16 13.38 2.85 ตามลำดับ ทิศทางการพัฒนาและปรับตัวภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียนกับคู่เจรจาใหม่ว่า เป้าหมายของไทยยังชัดเจนว่าต้องการเป็นดีทรอยส์ออฟแห่งเอเชีย (Detroit of Asia) เหมือนเดิมถึงแม้จะมีการเปิดการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นก็ตาม แต่ข้อตกลง JTEPA ไทย-ญี่ปุ่น ยังเป็นจุดดึงดูดนักลงทุนส่วนใหญ่จากญี่ปุ่นอยู่
น้ำมันสำเร็จรูป : ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2547 - 2551 พบว่า ปี 2549 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-59%) ในขณะที่ปี 2548 2550 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 126.90 314.17 654.37 ตามลำดับ
4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2551 (มค.-กค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 40 มีรวม 7 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว หมายเหตุ
ล้านเหรียญสหรัฐ % ญี่ปุ่นเลือกประเทศไทยให้เป็นแหล่งผลิตอาหาร
5. น้ำมันสำเร็จรูป 430.00 654.37 เนื่องจากไทยมีค่าแรงงานถูกมีศักยภาพที่จะเป็น
6. ไก่แปรรูป 314.74 75.11 ศูนย์กลางการผลิตอาหาร มีต้นทุนค่าขนส่งถูกกว่า
14. ผลิตภัณฑ์เซรามิค 252.31 44.48 ภูมิภาคอื่น โดยสินค้าที่มีศักยภาพที่ญี่ปุ่นสนใจได้แก่
15. ผลิตภัณฑ์ยาง 239.96 49.29 ไก่แปรรูป ซึ่งมาตรฐานโรงงานไก่แปรรูปของไทย
18. เครื่องตัดต่อและป้องกันวงจรไฟฟ้า 192.99 56.50 ในภาพรวม ได้รับการรับรองจากสหภาพยุโรปซึ่ง
19.เม็ดพลาสติก 189.24 46.05 มีมาตรฐานที่สูงกว่าญี่ปุ่น สำหรับ กุ้ง อาหารทะเล
23.เนื้อปลาสดแช่เย็นแช่แข็ง 172.76 84.51 แช่แข็ง ทูน่ากระป๋องไทยเป็นประเทศที่มีความพร้อม
และมีจุดแข็ง ในการผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัย
เนื่องจาก ภาครัฐและเอกชนได้มีความร่วมมือในการ
พัฒนาศักยภาพมานาน ไม่เพียงแต่ความต้องการนำเข้า
สินค้าอาหารจากไทยเท่านั้นญี่ปุ่นยังแสดงความสนใจ
ลงทุนขนส่งสินค้าจากไร่นาถึงโรงงานด้วย
4.3 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดญี่ปุ่น ปี 2551 (ม.ค.-กค.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราลดลงรวม 7 รายการ คือ
อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว
ล้านเหรียญสหรัฐ %
1. แผงวงจรไฟฟ้า 636.01 -10.78
2.เครื่องคอมพิวเตอร์ฯ 633.06 -0.58
7.เลนซ์ 303.94 -2.04
9.เครื่องจักรกลและส่วนฯ 296.77 -6.11
10.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนฯ 276.02 -12.81
22.เครื่องรับวิยุโทรทัศน์ฯ 176.43 -20.78
25.เตาอบไมโครเวฟฯ 151.2 -8.2
4.4 ข้อมูลเพิ่มเติม
- ในช่วงที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ปรับเปลี่ยนทิศทางจากการพึ่งพาการเจรจาพหุภาคี มาเป็นการเจรจาในระดับภูมิภาคและทวิภาคี เพื่อเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศคู่ค้าสำคัญ เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและเป็นแหล่งที่มาของปัจจัยการผลิตและพลังงาน เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าพหุภาคีภายใต้ WTO มีความล่าช้า รวมถึงเพื่อเป็นตัวเร่งในการปฏิรูปเศรษฐกิจภายในประเทศและการผ่อนคลายกฎระเบียบทางการค้าและการลงทุน ในระยะยาว ญี่ปุ่นต้องการผลักดันให้เกิด FTA ทั่วทั้งทวีปเอเชีย ได้แก่ อาเซียน จีน เกาหลีใต้ อินเดียออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และญี่ปุ่น โดยเวทีสำคัญที่ญี่ปุ่นใช้ผลักดันแนวคิดนี้ คือ ASEAN Plus 3 Summit ปัจจุบัน ญี่ปุ่นได้จัดทำ FTA แล้วกับสิงคโปร์ เม็กซิโก มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไนฯ ไทย อินโดนีเซีย ชิลีและอาเซียน รวมถึงอยู่ระหว่างการจัดทำ FTA กับ อินเดีย ออสเตรเลีย เวียดนาม และสวิตเซอรแลนด ? และศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดทำความตกลงฯ กับเกาหลีใต้
- หลังจากข้อตกลงเจเทป้ามีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายนปีที่ผ่านมา ตัวเลขการส่งออกของไทยไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นประมาณ 12.1 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่การลงทุนในไทยของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นประมาณ 42 เปอร์เซ็นต์โดยเฉลี่ยเจเทป้าทำให้ญี่ปุ่นเกิดความตื่นตัวในการนำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น หากมองในแง่การค้าแล้วสินค้าที่ญี่ปุ่นยกเลิกภาษีนำเข้าให้แก่ไทยภายใต้ข้อตกลงเจเทป้านั้น มีการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากไทยเพิ่มมากขึ้นทุกประเภท โดยสินค้าเหล่านี้ประกอบไปด้วยอาหารบางรายการ ไม้ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม สารเคมีและเคมีภัณฑ์ ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์พลาสติค อัญมณีและเครื่องประดับ ขณะที่เรื่องของความร่วมมือนั้นเห็นได้ชัดเจนจากการที่ญี่ปุ่นเข้าไปลงทุนในไทยเพิ่มมากขึ้น ซึ่งประจวบกับทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีนโยบายหันมาส่งเสริมการแปรรูปผลิตสินค้าทางการเกษตรซึ่งญี่ปุ่นเองต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเหล่านี้จากต่างประเทศทั้งอาหารแปรรูป ผัก ผลไม้ทั้งแบบสดและแบบแช่เย็นเพราะไม่สามารถผลิตเองในประเทศได้เพียงพอ จึงเข้ามาลงทุนตรงนี้ในไทยเพิ่มมากขึ้น นอกจากเรื่องคุณภาพคือผู้บริโภคในญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการหันมาบริโภคอาหารสดมากยิ่งขึ้น จึงอยากจะเน้นว่าหากผู้ผลิตของไทยมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ทำให้สามารถเก็บรักษาอาหารให้เหมือนของสด นอกจากจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์แล้วจะยังเป็นการเพิ่มโอกาสและลู่ทางของสินค้าประเภทอาหารของไทยในญี่ปุ่นอีกด้วย
- ชุมนุมสหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งแห่งประเทศไทยได้ร่วมจัดโรดโชว์นิทรรศการสินค้ากุ้งชีวภาพ ที่ประเทศญี่ปุ่นเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อให้ผู้นำเข้าและผู้บริโภคได้รับทราบและมั่นใจในสินค้ากุ้งชีวภาพของไทยภายใต้แบรนด์ Siam Bio-Shrimp พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้นำเข้าของญี่ปุ่น ได้พบปะเจรจาธุรกิจกับผู้ส่งออกของไทยด้วย นอกจากนั้นชุมนุมสหกรณ์ยังร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจกับบริษัท ฮาร์เนต คอร์ปอเรชั่น เพื่อแต่งตั้งให้เป็นผู้ดำเนินการด้านการตลาดและส่งเสริมการขายในญี่ปุ่น 2 ปี โดยคาดว่าปีแรกจะมีการส่งออกได้ประมาณ 500 ตัน มูลค่ากว่า 150 ล้านบาท ซึ่งแนวโน้มในอนาคตเชื่อว่ากุ้งไทยจะได้รับความนิยมในตลาดญี่ปุ่นอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามทางญี่ปุ่นมีความตื่นตัวและให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยทางด้านอาหารมาก โดยไทยผลิตกุ้งชีวภาพได้น้อยเพียง 3,000 ตันต่อปี ขณะที่กุ้งทั่วไปมีผลผลิตสูงถึง 5 แสนตัน ทั้งนี้เพราะการเลี้ยงกุ้งชีวภาพ มีขั้นตอนที่ยุ่งยาก ไม่มีการใช้ยาปฏิชีวนะและปริมาณการเลี้ยงน้อย ดังนั้นสำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) จะพิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดมาตรฐานต่อไป
- ชาวญี่ปุ่นยอมรับผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทย “อภัยภูเบศร” มากจนถึงขั้นติดต่อขอซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อเปิดเป็นร้านที่ขายผลิตภัณฑ์สินค้าจากไทยโดยเฉพาะ แต่เนื่องจากสมุนไพรไทยเป็นพืชเฉพาะท้องถิ่นที่สรรพคุณต่าง ๆ ไม่ได้รับการยอมรับในระบบสากล ตำรับหรือสูตรในการผลิตสินค้าต่าง ๆ ที่เริ่มต้นด้วยกลุ่มเครื่องสำอาง จำเป็นต้องมีการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับตามกฎระเบียบของผู้ซื้ชาวญี่ปุ่น ดังนั้นจึงต้องพัฒนาร่วมกันซึ่งใช้เวลากว่าปีครึ่ง ถึงได้มีผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุขของญี่ปุ่น และจดลิขสิทธิ์เป็นที่เรียบร้อยในประเทศญี่ปุ่น จนถึงขณะนี้ร้านดังกล่าวได้เปิดขายอย่างเป็นทางการแล้ว โดยใช้ชื่อ “moonbow” ตั้งอยู่ในเมืองฟูกูโอกะ ภายใต้การบริหารของบริษัท tennenbutai จำกัดโดยกลุ่มสินค้าที่ส่งออก คือ กลุ่มเครื่องสำอาง อาทิ แชมพู ครีม โลชั่น คลีนซิ่งทำความสะอาดหน้าและกลุ่มเครื่องดื่ม อาทิ ชาสมุนไพร รวมถึงธุรกิจบริการนวดสไตล์อภัยภูเบศร
- วันที่20 สิงหาคม 2551 .เป็นวันแรกที่บังคับใช้พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ.2551 หลังจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2551 (180 วัน) อันจะเป็นกลไกในการพัฒนาและยกระดับการผลิตสินค้าเกษตรไทย ไม่ว่าจะเป็นภาคกสิกรรม ป่าไม้ในเชิงธุรกิจ ปศุสัตว์ ประมง ซึ่งโยงไปถึงผู้ประกอบการขนส่งสินค้าเกษตร คลังสินค้าเกษตร สะพานปลา ห้องเย็น โรงฆ่าสัตว์ หรือกิจการต่อเนื่องอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและมาตรฐานสูงขึ้น เลขาธิการ สศก.ได้ ส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจและรวบรวมข้อมูล (ตลาดขายส่ง ผู้นำเข้า พ่อค้า และผู้บริโภค) ผัก (หน่อไม้ฝรั่ง กระเจี๊ยบเขียว ข้าวโพดฝักอ่อน) ในตลาดโตเกียว โอซากา ฮิโรชิมา ฟูกูโอกะ ประเทศญี่ปุ่น พบว่าราคาขายปลีกผักในญี่ปุ่นอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างเช่น หน่อไม้ฝรั่งกิโลกรัมละ 815 บาท กระเจี๊ยบเขียวกิโลกรัมละ 630 บาท และข้าวโพดฝักอ่อนเฉลี่ย 650 บาทต่อกิโลกรัม
- ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้ดูระบบ Logistics ในการขนส่งผักจากไทยไปญี่ปุ่นทั้งหมดเป็นการขนส่งทางอากาศ ณ ด่านกักพืชสนามบินนาริตะ พบสถานการณ์ว่า ผักไทยยังคงเป็นที่นิยมของตลาดญี่ปุ่น และจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นหากไทยสามารถควบคุมคุณภาพ รวมทั้งแก้ไขปัญหาสารตกค้าง โรคและแมลงได้ซึ่งจะ สอดคล้องกับพระราชบัญญัติฉบับนี้ที่มีผลบังคับใช้ ในบ้านเรา แม้ว่าบริษัท Tokyo Seika Trading ซึ่งเป็น บริษัทใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่น จะบอกว่า...ไม่มีการนำเข้าผักทุกชนิดจากไทย เพราะปัญหาเรื่องความปลอดภัยของสินค้า แต่ถ้าในอนาคตถ้าไทยเราสามารถรับรองความปลอดภัย ก็อาจเปลี่ยนใจนำเข้าก็ได้ แต่กับบริษัท Fukuoka Daido Seika Trading ที่จังหวัดฟูกูโอกะ บริษัทค้าส่งอันดับ 10 ของญี่ปุ่น บอกว่านำเข้าผักผลไม้จากไทยเป็น อันดับ 2 รองจากจีน โดยในปีที่แล้ว (2550) นำเข้าทั้งสิ้น 140 ตัน ผักที่นำเข้ามากที่สุดได้แก่หอมหัวใหญ่ 70 ตัน หน่อไม้ฝรั่ง 30 ตัน ข้าวโพดฝักอ่อน 20 ตัน และกระเจี๊ยบเขียว 13 ตัน
Upload Date : สิงหาคม 2551
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ