ข้อมูลทั่วไป:เมืองหลวง : Kuala Lumpurพื้นที่ : 330,113 ตารางกิโลเมตร ภาษาราชการ : Malay, Chinese, English ประชากร : 27.2 ล้านคน (2007 mid-year estimate) อัตราแลกเปลี่ยน : MYR 1 : 10.68 Baht (6/08/51) (1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ ปี 2007 ปี 2008 Real GDP growth (%) 6.3 6.0 Consumer price inflation (av; %) 2.0 5.4 Budget balance (% of GDP) -3.2 -3.1 Current-account balance (% of GDP) 15.5 13.9 Commercial banks' prime rate (av; %) 6.3 6.3 Exchange rate M$:US$ (av) 3.44 3.2 โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับมาเลเซีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 5,179.49 100.00 39.72 สินค้าเกษตรกรรม 884.03 17.07 49.88 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 246.21 4.75 2.42 สินค้าอุตสาหกรรม 3,779.43 72.97 40.36 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 269.83 5.21 80.46 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับมาเลเซีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้าทั้งสิ้น 5,098.73 100.00 29.46 สินค้าเชื้อเพลิง 1,060.13 20.79 89.75 สินค้าทุน 1,553.48 30.47 30.79 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 2,006.64 39.36 14.12 สินค้าบริโภค 387.32 7.60 6.11 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 90.53 1.78 51.34 สินค้าอื่นๆ 0.63 0.01 -92.77 1. มูลค่าการค้ามูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - มาเลเซีย 2550 2551 D/% (ม.ค.-มิย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการค้ารวม 7,645.28 10,278.23 34.44 การนำเข้า 3,938.31 5,098.73 29.46 การส่งออก 3,706.97 5,179.49 39.72 ดุลการค้า -231.34 80.76 -2. การนำเข้า ประเทศไทยนำเข้าจากตลาดมาเลเซียเป็นอันดับที่ 5 มูลค่า 5,098.73 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.46 สัดส่วนร้อยละ 5.78 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการนำเข้ารวม 5,098.73 100.00 29.46 น้ำมันดิบ 919.07 18.03 127.58 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 703.34 13.79 20.45 เคมีภัณฑ์ 468.86 9.20 35.30 เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ 454.79 8.92 86.12 แผงวงจรไฟฟ้า 289.39 5.68 36.88 อื่น ๆ 2,263.29 44.39 29.46 3. การส่งออก ประเทศไทยส่งออกไปตลาดมาเลเซีย เป็นอันดับที่ 4 มูลค่า 5,179.49 .ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 39.72 สัดส่วนร้อยละ 5.94 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลด ล้านเหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกรวม 5,179.49 100.00 39.72 เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 628.25 12.13 886.87 ยางพารา 524.35 10.12 25.92 รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 484.43 9.35 61.84 เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ 407.58 7.87 16.14 แผงวงจรไฟฟ้า 243.99 4.71 -28.02 อื่น ๆ 2,890.89 55.81 29.19 4. ข้อสังเกต4.1 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซีย ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรก สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูงโดยสูงกว่าร้อยละ 100 รวม 6 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 1. เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 628.25 886.87 7. น้ำมันสำเร็จรุป 208.00 230.73 20. ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม 60.53 227.45 6. ข้าว 229.38 145.29 21. มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 55.24 117.40 22. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ 45.60 113.534.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดมาเลเซีย ปี 2551 (ม.ค.-มิ.ย.) 25 รายการแรกสินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 9 รายการ คือ อันดับที่ / รายการ มูลค่า อัตราการขยายตัว ล้านเหรียญสหรัฐ % 5. แผงวงจรไฟฟ้า 243.99 -28.02 14. เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ 84.62 -21.17 19. ทองแดงและของทำด้วยทองแดง 63.05 -9.54 4.3 ข้อมูลเพิ่มเติม นโยบายเศรษฐกิจของมาเลเซียมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศพัฒนาแล้วภายในปี 2563 (Vision 2020) ที่เน้นการสนับสนุนอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ มาเลเซียยังได้วางนโยบายเศรษฐกิจสืบต่อจาก Vision 2020 คือนโยบายวิสัยทัศน์แห่งชาติ (National Vision Policy: NVP) ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างมาเลเซียให้เป็น “ประเทศที่มีความยืดหยุ่นคงทนและมีความสามารถในการแข่งขัน (resilient and competitive nation)” โดยจะลดความสำคัญของการลงทุนที่ทำให้เกิดการเจริญเติบโตที่ไม่ยั่งยืนและไม่มีประสิทธิภาพลง มาเลเซียมุ่งเน้นการพัฒนาสู่การเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม (total factor productivity) โดยจะเน้นการลงทุนที่มีการค้นคว้าและวิจัย (R&D) และเทคโนโลยีสูง ทั้งนี้ เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานความรู้ (knowledge-based economy) กระตุ้นและเพิ่มพลวัตรของภาคการเกษตร การผลิต และการบริการโดยการใช้ความรู้และเทคโนโลยีวิทยาการ เพิ่มการมีส่วนร่วมของภูมิบุตร ในภาคเศรษฐกิจชั้นนำ และปรับให้มีการพัฒนาการทรัพยากรมนุษย์เพื่อรองรับสังคมบนฐานความรู้ (knowledge-based society) โดยมาเลเซียมีนโยบายทางเศรษฐกิจ ดังนี้ 1. เปิดรับการค้า การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากตะวันตก เพื่อพัฒนาประเทศไปสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วภายในปี ค.ศ. 2020 (vision 2020) ตามที่ ดร.มหาธีร์ ได้วางเป้าหมายไว้ 2. ใช้นโยบายการเมืองนำเศรษฐกิจเพื่อนำมาซึ่งผลประโยชน์และโอกาสทางการค้าแก่ประเทศ 3. ขยายการติดต่อด้านเศรษฐกิจและการค้ากับประเทศกำลังพัฒนาเพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯ และยุโรป ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมามาเลเซียประสบความสำเร็จในเวทีการระหว่างประเทศเป็นอย่างมาก โดยสามารถ สร้างบทบาทให้เป็นที่ยอมรับในฐานะผู้นำประเทศกำลังพัฒนา และจากการที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นประเทศมุสลิมสายกลาง ซึ่งมีแนวนโยบายสอดคล้องกับประเทศตะวันตกในเรื่องของการต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายต่าง ๆ ทำให้มาเลเซียสามารถแสดงบทบาทนำในเวทีการเมืองระหว่างประเทศ ได้ทั้งในกรอบของโลกมุสลิมและโลกตะวันตก เศรษฐกิจมาเลเซียจะขยายตัวช้าลงมากในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่พุ่งสูง รวมถึงอุปสงค์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ทั้งนี้สำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมาเลเซีย (เอ็มไออีอาร์) คาดการณ์ว่า ผลกระทบจากความวุ่นวายทางการเมืองและภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลง จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจมาเลเซีย ซึ่งปรับลดลงมาเหลือ 4.6% จากการคาดการณ์เดิมที่ 5.4% โดยในปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจโลกจะปรับตัวดีขึ้น และปัญหาเงินเฟ้อจะเริ่มคลี่คลาย และจะมีผลให้อัตราการขยายตัวกลับมาอยู่ที่ 5% อีกครั้ง ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในมาเลเซียมีประมาณ 270 กว่าประเทศ และเมื่อเทียบจำนวนธุรกิจกับจำนวนประชากรกับประเทศไทยแล้ว มาเลเซียมีมากกว่าไทยเกือบสองเท่าตัว แต่ยังคงเป็นธุรกิจแฟรนไชส์ที่ไม่เข้มแข็งมากนัก แม้จะมีการสนับสนุนจากภาครัฐบาลก้ตาม ทั้งนี้ธุรกิจที่ขยายตัวมากๆ จะเป็นด้านอาหาร เช่น ร้าน “ซีเครท เรทซิพี” ซึ่งขณะนี้มีมาเปิดที่ประเทศไทยด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ก็จะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความงามและสปาในทุกรรูปแบบ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะลงทุนออกแบบตกแต่งร้านเพื่อสร้างความโดดเด่น ประกอบกับระบบสาธารณูปโภคที่ดีเยี่ยม ส่งผลให้การดำเนินธุรกิจรูปแบบต่างๆ ในมาเลเซียดีกว่าไทยเล็กน้อย อย่างไรก็ตามประเทศไทยเรามีวัฒนธรรมที่ชัดเจน ในขณะที่มาเลเซียมีความหลากหลายของประชากรในแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อแตกต่างที่ผู้ประกอบการจะต้องเรียนรู้และนำมาประยุกต์ใช้กับการสร้างธุรกิจ มาเลเซียมีแผนจะลดจำนวนแรงงานต่างชาติลงครึ่งหนึ่งในอีก 2 ปี ข้างหน้า โดยนายเอส.ซูบรามาเนียน รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรมนุษย์ของมาเลเซีย กล่าวว่า ในปี 2553 มาเลเซียจะลดจำนวนแรงงานต่างชาติในภาคการเกษตรและการผลิต ให้ลดน้อยลงเกือบครึ่งหนึ่งจากปัจจุบันรัฐบาลมาเลเซีย มีแผนจะลดจำนวนแรงงานชาวต่างชาติลงจาก 2 ล้าน 2 แสนคน ให้เหลือ 1 ล้าน 8 แสนคนในปี 2552 ขณะที่ในปี 2553 ตั้งเป้าลดจำนวนแรงงานต่างชาติลงอีก 400,000 คน เพื่อให้เหลือ 1 ล้าน 4 แสนคน ในช่วงกลางปี และสิ้นปีจะลดลงอีก 200,000 คน ให้เหลือ 1 ล้าน 2 แสนคน ซึ่งแผนดังกล่าวจะใช้กับภาคการเกษตรและการผลิต ซึ่งส่วนมากมาเลเซียพึ่งพาแรงงานต่างชาติจากอินโดนีเซีย บังกลาเทศ อินเดีย และประเทศอื่นๆ ขณะที่รัฐบาลมาเลเซียได้ปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่ จัดสวัสดิการที่อยู่อาศัย การศึกษาและการรักษาพยาบาล เพื่อดึงดูดแรงงานในประเทศให้เข้ามาทำงานแทนแรงงานชาวต่างชาติที่จะปรับลดจำนวนลง ที่มา: http://www.depthai.go.th