การผลิตรถยนต์เป็นอุตสาหกรรมแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของ เยอรมนีอย่างยิ่ง ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) มีการผลิตยานพาหนะ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 237,240 ล้านยูโร และในปี 2551 (ม.ค.-ก.ย.) มีมูลค่าการผลิตรวม 193,547.5 ล้านยูโร มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 ปัจจุบันอุตสาหกรรมแขนงนี้มีจำนวนคนงานทั้งสิ้นประมาณ 732,000 คน เป็นคนงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์และส่วนประกอบโดยตรงประมาณ 400,000 คน และในอุตสาหกรรมข้างเคียงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ โรงงานผลิตอาหลั่ย ชิ้นส่วน อุปกรณ์ ส่วนประกอบ ระบบอิเลคทรอนิคส์ต่างๆ ตลอดจนอู่ซ่อม อีกประมาณ 300,000 คน
กิจการ
ปี 2548 ปี 2549 ปี 2550 ปี 2551 51:50 ปี 2551ม.ค.-ก.ย.
3410 ยานพาหนะและเครื่องยนต์ 151,889.80 157,550.90 171,035.10 130.450.20 2.03 101 3420 ตัวถัง กะบะ และรถพ่วง 7,248.00 8,391.60 10,274.70 8,594.30 14.45 384 3430 อุปกรณ์ ส่วนประกอบต่างๆ 64,419.10 67,556.00 71,134.10 54,048.60 1.68 885 3499 การติดตั้ง ประกอบ เพิ่มมูลค่า 734.80 631.80 854.80 454.40 -27.17 26 รวม 224,291.70 234,130.20 253,298.60 193,547.50 2.33 1305 ที่มา: สำนักงานสถิติแห่งชาติเยอรมันปัจจุบันผู้ผลิตเยอรมันได้ไปตั้งฐานการผลิตยานพาหนะและชิ้นส่วนในต่างประเทศทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ การผลิตยานพาหนะเยอรมันเป็นปริมาณทั้งสิ้นกว่า 12 ล้านคัน เฉพาะรถยนต์นั่ง (รถเก๋ง) มีการผลิตในปี 2551 ทั่วโลกเป็นจำนวนทั้งสิ้น 10.8 ล้านคันลดลงจากปีก่อนร้อยละ 1.3 โดยผลิตในประเทศเป็นจำนวน 5.532 ล้านคัน เทียบกับปี 2550 ปริมาณการผลิตลดลงร้อยละ 3.1
ในปัจจุบันนี้ รถยนต์นั่งที่ใช้สัญจรไปมาตามท้องถนนมีจำนวนประมาณ 41 ล้านคัน รถบรรทุกประมาณ 2.3 ล้านคัน และรถบัสโดยสารประมาณ 60,000 สำหรับการจดทะเบียนรถยนต์นั่งใหม่ นั้น ในปี 2551 ที่ผ่านมาได้มีการจดทะเบียนรถใหม่ลดลงเล็กน้อยร้อยละ 1.85 เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3.090 ล้านคัน โดยจำแนกตามยี่ห้อผู้ผลิตได้ ดังนี้
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) เยอรมนีนำเข้ารถยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 95,702 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 ในช่วง 11 เดือนแรกมีการนำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 107,845 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 (รายละเอียดในตารางที่ 1) แหล่งนำเข้าสำคัญๆ ได้แก่
2.1 ฝรั่งเศส มีการนำเข้าในช่วง 11 เดือนแรกปี 2551 เป็นมูลค่า 11,827 ล้านเหรียญสหรัฐ เทียบกับปีก่อนระยะเดียวกันมูลค่าลดลงร้อยละ 1.4 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 11.0 สินค้าที่นำเข้ามากจากฝรั่งเศสได้แก่ พิกัด 8708 ชิ้นส่วนรถยนต์ เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,431 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.5 รองลงมาเป็นพิกัด 8703 23 รถเก๋งขนาดเครื่องยนต์ เกิน 1500 ซีซี มีการนำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,994 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3
2.2 เบลเยี่ยม มีการนำเข้าในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) เป็นมูลค่า 9,095 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 4.2 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.4 สินค้าที่นำเข้ามากจากเบลเยี่ยม ได้แก่ พิกัด 8703 32 รถเก๋งขนาดเครื่องยนต์ 1500 — 2500 ซีซี มีการนำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 3,128 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 11.8 รองลงมาเป็นพิกัด 8703 23 รถเก๋งขนาดเครื่องยนต์เกิน 1500 ซีซี มีการนำเข้าเป็นมูลค่า 2,576 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.5
2.3 ออสเตรีย นำเข้าเป็นมูลค่า 8,768 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 3.8 คิดเป็นส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 8.1 สินค้าที่นำเข้ามากจากออสเตรีย ได้แก่ พิกัด 8708 ชิ้นส่วนรถยนต์ มีการนำเข้าในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) เป็นมูลค่าทั้งสิ้น 2,244 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.65 รองลงมาเป็นพิกัด 8408 แม่ปั๊มท์ หัวฉีด นำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 1,794 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 5.1
2.4 จำแนกตามพิกัด สินค้าที่เยอรมนีนำเข้ามากที่สุด คือ พิกัด 8708 ส่วนประกอบเครื่องยนต์ ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 23,279 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 28,137 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 26.1 ของการนำเข้าสินค้ารายการนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.9 รองลงมาเป็นรถเก๋งเครื่องดีเซลขนาด 1500 - 2500 ซีซี (พิกัด H.S. 8703 32) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 11,922.1 ในปี 2551 ในช่วง 11 เดือนแรกนำเข้าเป็นมูลค่า 12,392 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 11.5 มูลค่าลดลงร้อยละ 3.6 รองลงมาเป็นรถเก๋งเครื่องเบนซินขนาดเกิน 1500 ซีซี (พิกัด H.S. 8703 23) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 12,281 ในปี 2551 นำเข้าเป็นมูลค่า 12,159 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.6 (รายละเอียดในตารางที่ 2)
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมานี้ (2548 — 2550) เยอรมนีนำเข้ารถยนต์ อุปกรณ์ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนจากประเทศไทยเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 71.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าเป็นมูลค่า 112.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.3 สินค้าที่เยอรมนีนำเข้ามากจากไทย ได้แก่ รถปิ๊กอัพ เครื่องยนต์ดีเซล (พิกัด 8704 21) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 49.9 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าเป็นมูลค่า 62.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.6 รองลงมาเป็น รถยนต์เครื่องเบนซินขนาดเกิน 1500 ซีซี (พิกัด 8703 23) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 6.2 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าเป็นมูลค่า 17.8 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 108.1 ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ (พิกัด 8708) มีการนำเข้าเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) นำเข้าเป็นมูลค่า 11.4 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.2 (รายละเอียดใน ตารางที่ 3)
ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา (2548 — 2550) เยอรมนีส่งออกรถยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 219,515 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 ในช่วง 11 เดือนแรกมีการส่งออกทั้งสิ้นเป็นมูลค่า 248,437 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 ตลาดส่งออกที่สำคัญๆ ของเยอรมนี ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) มีการส่งออกเป็นมูลค่า 28,053.7 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 11.3 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 4.6 รองลงมาส่งออกมากไปยัง สหราชอาณาจักร เป็นมูลค่า 26,058 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 10.5 มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 2.1 และ ฝรั่งเศส มูลค่า 20,946 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 8.4 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2
จำแนกตามพิกัด สินค้าที่เยอรมนีส่งออกมากที่สุดเป็น รถเก๋งเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 1500 - 2500 ซีซี (พิกัด H.S. 8703 32) มีการส่งออกในระยะ 3 ปีที่ผ่านมาเป็นมูลค่า 34,808 ในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) ส่งออกเป็นมูลค่า 44,313 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 17.9 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ มูลค่าเพิ่มร้อยละ 9.5 รองลงมาเป็น ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ (พิกัด 8708) มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 38,315 ล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2551 (ม.ค.-พ.ย.) ส่งออกเป็นมูลค่า 43,657 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 17.6 ของการส่งออกสินค้ารายการนี้ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 รองลงมาเป็น รถยนต์เครื่องเบนซินขนาดเกิน 1500 ซีซี (พิกัด 8703 23) มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 39,834 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2551 (ม.ค.- พ.ย.) ส่งออกเป็นมูลค่า 37,654 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.97 คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 15.2 และ รถเก๋ง ขนาดเครื่องยนต์ 3000 ซีซี (พิกัด 8703 24) มีการส่งออกเป็นมูลค่าโดยเฉลี่ยปีละ 29,992 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2551 ในช่วง 11 เดือนแรก ส่งออกเป็นมูลค่า 27,781 ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าลดลงร้อยละ 7.4 คิดเป็นส่วนแบ่งร้อยละ 11.2
6.1 การเรียกเก็บภาษีนำเข้าสำหรับรถยนต์ อุปกรณ์ ชิ้นส่วน อาหลั่ยและส่วนประกอบของรถยนต์จะใช้พิกัดตามระบบ ฮาร์โมไนซ์ โดยจะมีการปรับปรุงเพิ่ม หรือลดพิกัดสำหรับสินค้าบางตัวให้เหมาะสม ส่วนใหญ่จะเป็นพิกัดที่เกี่ยวกับสินค้า เครื่องไฟฟ้า อิเลคทรอนิกส์ สำหรับพิกัดที่เกี่ยวข้องกับยานพาหนะ ยังไม่มีการปรับปรุงใหม่ใดๆ
6.2 ปัจจุบันสินค้าที่นำเข้าจะมีอัตราภาษี ดังนี้
- รถที่มีเครื่องขนาดเกิน 2500 ซีซี ร้อยละ 22 (พิกัด 8702 10 11)
7.1 จากการที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ในเยอรมนีมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นมาโดยตลอดก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นภาษีรถยนต์ประจำปี เบี้ยประกันภัย น้ำมันเชื้อเพลิง หรือแม้กระทั่งค่าปรับเมื่อทำผิดกฏจราจร เหล่านี้ได้ทำให้ปริมาณรถยนต์ที่ยังคงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันของชาวเยอรมัน มีอัตราลดลง โดยในปี 2551 ที่ผ่านมานี้มีการจดทะเบียนรถใหม่เป็นจำนวน 3.1 ล้านคัน ลดลงจากปี 2550 เล็กน้อยร้อยละ 1.85 จำนวนรถที่สัญจรบนท้องถนนมีปริมาณลดลงจากกว่า 46 ล้านคันในปี 2550 เป็น 41.2 ล้านคันในปี 2551 หรือลดลงร้อยละ 11.6
7.2 ถึงแม้ว่าการผลิตรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ ของเยอรมันจะมีในประเทศต่างๆ ทั่วโลกกว่า 60 ประเทศ แต่การส่งออกของอุตสาหกรรมแขนงนี้ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวเศรษฐกิจของเยอรมนี โดยในปี 2551 ที่ผ่านมาการส่งออกมีสัดส่วนเป็นอันดับ 1 ของการส่งออกทั้งสิ้นของเยอรมนีมีอัตราร้อยละ 17.5 รองลงมาเป็นเครื่องจักรกลร้อยละ 14.8 และ เคมีภัณฑ์ร้อยละ 13.9 คู่ค้าส่วนใหญ่ของเยอรมันเป็นประเทศต่างๆ ในยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น และจากการที่เยอรมนีมีฐานการผลิต ในประเทศยุโรปตะวันออกเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะ ฮังการี และเช็ค ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่ามมานี้ ทำให้ประเทศเหล่านี้เริ่มมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ และหลังจากที่ประเทศเหล่านี้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปแล้ว ทำให้มีการนำเข้ารถยนต์ ชิ้นส่วนและส่วนประกอบของรถยนต์เป็นมูลค่าที่เพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
7.3 ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาทำให้อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ของเยอรมนีได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐและประเทศอื่นๆ ในยุโรปทำได้น้อยลงนับตั้งแต่ไตรมาสสุดท้ายของปี 2551 เป็นต้นมา นอกจากนี้ยังจะเกิดผลกระทบกับผู้ผลิตชิ้นส่วน ส่วนประกอบของยานพาหนะ ตลอดจนอุตสาหกรรมเหล็กและโลหะด้วย เนื่องจากการผลิตรถยนต์ที่ลดน้อยลง เพื่อส่งเสริมการขาย เพื่อให้มีการผลิตเพิ่มขึ้น รัฐบาลเยอรมันได้ออกมาตรการกระตุ้นด้วยการตั้งวงเงินงบประมาณคิดเป็นจำนวนรถยนต์ประมาณ 600,000 คัน เพื่อช่วยเจ้าของรถเก่าอายุใช้งานนานเกิน 9 ปี ที่ต้องการซื้อรถใหม่โดยต้องเป็นรถใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทำให้ในช่วง 2 เดือนแรกปี 2552 นี้มีการสั่งซื้อรถใหม่กันแล้ว 482,000 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนระยะเดียวกันร้อยละ 4 ในจำนวนนี้เป็นรถที่ได้เงินชดเชยประมาณ 120,000 คัน ส่วนใหญ่จะเป็นรถเล็กของ VW, Peugeot, Dacia (Renault), Fiat Skoda, Opel, Toyota และ Hyndai เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีงบประมาณพิเศษเพื่อการคิดค้น ผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานแบบอื่นๆ นอกเหนือจากน้ำมัน เหล่านี้ทำให้สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์เยอรมัน คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีจะมีจำนวนการจำหน่ายรถใหม่ในประเทศประมาณ 3 ล้านคันใกล้เคียงกับปี 2551 ที่ผ่านมา
7.4 ปัจจุบันสินค้าของไทยที่ส่งออกไปยังตลาดเยอรมนีกว่าร้อยละ 80 จะเป็นรถยนต์นั่งซึ่งเป็นผลผลิตของบริษัทข้ามชาติที่เข้าไปตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย การที่จะมีการส่งออกมากน้อยอย่างใดจะเป็นไปตามนโยบายของบริษัทแม่ ซึ่งในปี 2551 ที่ผ่านมามีการส่งออกเพิ่มขึ้น แต่ในปี 2552 นี้ คาดว่าการส่งออกจะลดลงอย่างมาก เนื่องจากสินค้าส่งออกของไทยเกือบทั้งหมดจะเป็นรถปิ๊กอัพ เป็นรถที่มีขนาดใหญ่ ไม่ตรงตามความต้องการของตลาดในปัจจุบันที่นิยมใช้รถขนาดเล็ก ที่ประหยัดน้ำมันมากขึ้น สำหรับชิ้นส่วน และส่วนประกอบที่สำคัญๆ ได้แก่ ส่วนประกอบโคมไฟ หม้อน้ำ และที่ปัดน้ำฝน เป็นต้น สินค้าของไทยมีคุณภาพปานกลาง ต้องแข่งขันสูงกับสินค้าที่ผลิตได้มากขึ้นในสหภาพยุโรป โดยเฉพาะในประเทศยุโรปกลางเดิม (โปแลนด์ เช็ค และฮังการี) ที่ได้เป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรป และได้เปรียบด้านภาษี นอกเหนือจากระยะทางการขนส่งที่อยู่ใกล้กว่าประเทศไทย ทำให้โอกาสการขยายตัวของการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดเยอรมันค่อนข้างจำกัด อย่างไรก็ตามจากความหลากหลายของยี่ห้อรถยนต์กว่า 40 ยี่ห้อในตลาดเยอรมันที่ปัจจุบันมีจำนวนกว่า 200 แบบ (Model) จากบริษัทผู้ผลิตประมาณ 20 ราย (ตารางที่ 6) ยังคงจะเป็นโอกาสที่ดีสำหรับการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดเยอรมนี
สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศฯ ณ กรุงเบอร์ลิน
ที่มา: http://www.depthai.go.th