ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 121.40 100.00 128.22 สินค้าเกษตรกรรม 71.79 59.13 476.36 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 1.22 1.01 -7.84 สินค้าอุตสาหกรรม 48.39 39.86 23.07 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 0.0 0.0 -100.00 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 0.0 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับไนจีเรีย มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 3.17 100.00 -32.92 สินค้าเชื้อเพลิง 0.0 0.0 สินค้าทุน 0.79 24.86 58,766.00 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 2.37 74.73 -49.72 สินค้าบริโภค 0.01 0.41 8.56 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 0.0 0.0 -100.00 สินค้าอื่นๆ 0.0 -200.00 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - ไนจีเรีย 2551 2552 D/%(ม.ค.-กพ.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 57.92 124.57 115.07 การส่งออก 53.20 121.40 128.22 การนำเข้า 4.73 3.17 -32.92 ดุลการค้า 48.47 118.23 143.93 2. การนำเข้าประเทศไทยนำเข้าจากไนจีเรียเป็นอันดับที่ 76 มูลค่า 3.17 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ -32.92 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 3.17 100.00 -32.92 1.สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะฯ 2.34 73.66 -46.71 2.เครื่องจักรกลส่วนประกอบ 0.79 24.85 4,000.00 3.เครื่องเพชรพลอย อัญมณีฯ 0.03 1.04 -42.67 4.ผลิตภัณฑ์สิ่งทออื่น ๆ 0.01 0.16 -43.96 5.เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด 0.0 0.15 176.63 อื่น ๆ 0.0 0.0 -100.00 3. การส่งออกประเทศไทยส่งออกไปไนจีเรียเป็น อันดับที่ 28 มูลค่า 121.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 128.2 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 121.40 100.00 128.20 1.ข้าว 71.79 59.13 478.14 2.เหล็ก เหล็กกล้าและฯ 9.44 7.78 407.07 3.รถยนต์ อุปกรณ์และฯ 8.06 6.64 71.03 4.เม็ดพลาสติก 5.99 4.93 -57.04 5.เครื่องปรับอากาศและฯ 5.92 4.88 246.14 อื่น ๆ 1.23 1.01 -66.94 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปไนจีเรีย ปี 2552 (มค.-กพ.) ได้แก่ข้าว : ไนจีเรียเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.)มีเพียงปี 2549 ปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-38.09%) ในขณะที่ ปี 2550-2552(มค.-กพ.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.03 470.81 และ 478.14 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เหล็กและเหล็กกล้า : ไนจีเรีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 18 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.) มีเพียงปี 2549 ปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-70.71%) ในขณะที่ปี 2550-2552(มค.-กพ.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 574.82 41.06 และ 407.07 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ : ไนจีเรีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 42 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.) มีเพียงปี 2551 ปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-31.20%) ในขณะที่ ปี 2549 2550 และ 2552(มค.-กพ.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 139.66 99.18 และ 71.03 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เม็ดพลาสติก : เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-กพ.)พบว่า ปี 2550 เป็นเพียงปีเดียวที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น (.19%) ในขณะที่ปี 2549 2551 2552 (มค.-กพ.) มีอัตราขยายตัวลดลงร้อยละ -0.49 -31.91 และ -57.04 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
เครื่องปรับอากาศ ฯ : ไนจีเรีย เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 1 ของไทยพบว่า ปี 2549 และ 2551 ที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (-47.16 -59.99) ในขณะที่ปี 2550 และ 2552 (มค.-กพ.) มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2,491.6 และ 246.14 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน
ตลาดไนจีเรียเป็นตลาดที่มีศักยภาพโดดเด่นในกลุ่มประเทศทวีปแอฟริกา เนื่องจากประชากรมากที่สุดในภูมิภาค และมีมูลค่าการค้ากับไทยเป็นอันดับ 2 ที่ผ่านมาการส่งออกจากไทยในปี 2551 มีมูลค่าสูงถึง 891 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวจากปี 2550 เกือบร้อยละ 150 ขณะเดียวกันการส่งออก ในปี 2552 (มค.-กพ.) เมื่อเทียบกับช่วงระยะเวลาเดียวกันมีมูลค่าสูงถึง 121.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวจากปี 2551 ร้อยละ 128.22 โดยเฉพาะตลาดข้าวมีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นเกือบ 5 เท่า จาก 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2550 เป็น 628 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551 ไนจีเรียเป็นประเทศร่ำรวยวัตถุดิบธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมันดิบ แร่ธรรมชาติ อีกทั้งความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับไนจีเรียดำเนินมาด้วยความราบรื่น ขณะเดียวกันยังเป็นตลาดสินค้าส่งออกของไทยที่มีศักยภาพ ได้แก่ ข้าว ปูนซีเมนต์ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผ้าปักและผ้าลูกไม้ ผ้าผืน รถยนต์ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋อง และเหล็ก “การค้าของไทยไปยังแอฟริกาในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นการค้าผ่านนายหน้า และประเทศที่ 3 ซึ่งในอนาคตจะต้องมีการพัฒนาให้มีการค้าขายโดยตรงให้ได้ ด้วยการพัฒนาระบบโลจิสติกส์”
หลังจากที่ประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับเกินความคาดหมายในการจัดงาน แอฟริกา เดย์ 2009 เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ศูนย์ภูมิภาคแอฟริกา กระทรวงพาณิชย์จึงดำเนินกิจกรรมต่อยอดความสำเร็จ โดยจัดงานไนจีเรีย เดย์ เพื่อปลุกกระแสความเชื่อมั่นให้เกิดความต่อเนื่อง ส่วนการเลือกตลาดไนจีเรียเพราะเป็นตลาดที่มีศักยภาพโดดเด่นในกลุ่มประเทศแอฟริกา เนื่องจากจำนวนประชากรที่มากสุดเป็นอันดับหนึ่งของภูมิภาค และความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะน้ำมัน งานไนจีเรีย เดย์ เป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้ประกอบการไทย ก่อนไปดำเนินธุรกิจ และส่งสินค้าในประเทศไนจีเรีย ซึ่งผู้ประกอบการที่เข้าร่วมงานจะได้รับทราบข้อมูลเชิงลึก ทั้งการค้า ข้อกฎหมาย พร้อมกลยุทธ์การทำตลาด จากผู้มีประสบการณ์ตรงโดยเอกอัครราชทูตไนจีเรียประจำประเทศไทย และวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน ทำให้ผู้ประกอบการมีความมั่นใจ ส่งผลให้การส่งออกของประเทศเพิ่มขึ้นตามนโยบาย นอกจากนั้น ในระหว่างวันที่ 19-27 เมษายนนี้ นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นหัวหน้าคณะนำผู้บริหารของกระทรวงพาณิชย์ และผู้แทนภาครัฐ รวมทั้งภาคเอกชนเดินทางไปเปิดตลาดการค้าของไทยในภูมิภาคแอฟริกา เพื่อเป็นการขยายมูลค่าการค้าการส่งออกของไทยในปีนี้ให้เพิ่มสูงขึ้นจากตลาดใหม่ และจะเป็นโครงการนำร่องและปูทางสำหรับคณะผู้แทนการค้าไทยเยือนแอฟริกาโครงการอื่นๆ อีกกว่า 10 คณะในช่วงต่อไป
ประธานบริษัท ไรซ์แลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ผู้ส่งออกข้าวนึ่งรายใหญ่ของไทย เปิดเผยว่า ตลาดแอฟริกาเป็นตลาดที่มีการนำเข้าข้าวจากทั่วโลกในปริมาณที่สูงโดยเฉพาะตลาดไนจีเรีย ที่ต้องการนำเข้าข้าวถึงกว่าปีละ 2 ล้านตัน นับเป็นอีกตลาดขายข้าวที่ส่งออกได้ราคาสูง นอกจากนี้การที่ประเทศแอฟริกามีค่าครองชีพและรายได้สูงถึงกว่าวันละ 1,000 บาท รวมถึงการที่รัฐบาลมีนโยบายลดการขาดดุลการค้าจากการนำเข้าสินค้าเกษตร โดยการส่งเสริมการลงทุนการเพาะปลูกภายในประเทศแทน เพื่อไม่ให้ต้องเสียดุลการค้าในการสั่งซื้อสินค้าเกษตรในราคาที่สูงขึ้น จึงเป็นตลาดที่มีศักยภาพและโอกาสทองของนักลงทุนไทยสำหรับการเข้าไปลงทุนเพาะปลูกข้าวและสินค้าเกษตร ตอนนี้รัฐบาลไนจีเรียซึ่งเป็นศูนย์กลางนำเข้าข้าว กำลังเปิดให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนเพาะปลูก รวมถึงเปิดโอกาสให้ครอบครองที่ดินและสัดส่วนการลงทุนได้ 100% โดยไม่จำกัดพื้นที่และเงินทุน ซึ่งต่างจากของไทยที่ยังจำกัดเรื่องพื้นที่ แต่ไนจีเรียหรือแอฟริกาเปิดโอกาสให้ใช้พื้นที่เพาะปลูกกว่าพันหรือสูงสุดถึงหมื่นไร่ และมีโอกาสที่จะได้รับผลกำไรในสัดส่วนการเพาะปลูกต่อครั้งถึง 50% ซึ่งตอนนี้มีประเทศซิมบับเวเข้าไปลงทุนแล้ว และหากไปลงทุนแล้วมีโอกาสรับผลกำไร มากกว่าทำนาแค่ในประเทศเท่านั้น สำหรับในการเดินทางเยือนไนจีเรียของกระทรวงพาณิชย์ในเดือน เม.ย.นี้ น่าเป็นโอกาสที่ดีต่อการหารือเปิดตลาดลงทุนในตลาดแอฟริกา ซึ่งรับทราบมาว่าทางไนจีเรียก็ได้มีการทาบทามบริษัทส่งออกข้าวรายใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนแล้ว และไม่ถือว่าเป็นปัญหาต่อการส่งออกข้าวไทยในอนาคต เพราะตลาดการค้าเสรีต้องเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้ หากไทยไม่เข้าไปลงทุนก็จะมีประเทศอื่นๆ เข้าไปลงทุน ตรงกันข้ามก็จะเข้ามาลงทุนในไทยด้วย
ที่มา: http://www.depthai.go.th