ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ 3 เดือนแรก ปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday May 13, 2009 14:26 —กรมส่งเสริมการส่งออก

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก ขอรายงานภาวะการค้าระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ซึ่งเป็นประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) ในช่วง 3 เดือนแรก(มกราคม-มีนาคม) ปี 2552 เนเธอร์แลนด์นำเข้าจากไทยมูลค่า 709.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -38.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 1,345.3 ล้านเหรียญฯ)

1. เมื่อเปรียบเทียบการส่งออกระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์กับไทย-สหภาพยุโรป (27 ประเทศ)

ในช่วง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม) ปี 2552 มีอัตราส่วนแบ่งตาม ตารางที่ 1 ดังนี้

       ลำดับ   ประเทศ            มูลค่า(ล้าน USD)       ส่วนแบ่ง (%)
             สหภาพยุโรป             4.182.1            100.00
        1    เนเธอร์แลนด์              709.1             16.96
        2    อังกฤษ                   662.5             15.84
        3    เยอรมนี                  600.7             14.36
        4    ฝรั่งเศส                  393.0              9.39
        5    อิตาลี                    331.7              7.93

เนเธอร์แลนด์นำเข้าสินค้าไทยมากเป็นอันดับหนึ่ง (ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 27 ประเทศ)  อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2550 ทั้งนี้ คาดว่าเป็นผลมาจากการที่

1) ผู้นำเข้าดัชท์มีความเชื่อมั่นในศักยภาพโดยรวมของสินค้าไทย ซึ่งมีสถานะเหนือคู่แข่ง ด้วยการเน้นผลิตสินค้ามีคุณภาพได้มาตรฐานสอดคล้องกับกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของสหภาพยุโรป

2) สินค้าไทยมีการพัฒนารูปแบบ การออกแบบดีขึ้น มีศักยภาพในการผลิตสินค้าประเภท Tailor Made ผู้ผลิต/ส่งออกมีความซื่อสัตย์ ตรงต่อเวลา ฯลฯ ทำให้เป็นที่ยอมรับ สามารถจำหน่ายและกระจายไปได้ทั่วสหภาพฯ

ดังนั้น สิ่งที่ผู้ผลิต/ส่งออกไทยต้องเน้นและให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนาอย่างต่อเนื่องในด้านคุณภาพ การออกแบบ การวิจัยและพัฒนาสินค้า(R&D) การฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้และเชี่ยวชาญ รวมทั้งระบบ Logistics ที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร เพื่อนำเสนอสินค้ารูปแบบใหม่ ๆ รายการใหม่ ๆ ที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่มีการทำลายป่า (เช่น ป่าชายเลน) ไม่ใช้แรงงานเด็ก มีการดำเนินการด้านการรับผิดชอบต่อสังคม (Corperate Social Responsibility หรือ CSR) มีขบวนการผลิตที่มีผลกระทบต่อภาวะโลกร้อนน้อยที่สุด ซึ่งจะใช้เป็นจุดขายและประชาสัมพันธ์ได้อย่างดี ทั้งยังเป็นปัจจัยสำคัญดึงดูดให้ผู้นำเข้าดัชท์เพิ่มความสนใจสั่งซื้อเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความแตกต่าง (Differentiation) และ Create Demand นอกจากนี้ในปัจจุบัน จีนประสบปัญหาการผลิตสินค้าส่งออกที่ด้อยมาตรฐาน ถูกเรียกคืนจากสหรัฐฯ และสหภาพฯ เป็นประจำ ผู้ผลิต/ส่งออกไทยควรเร่งใช้ประโยชน์จากโอกาส ดังกล่าวโดยด่วนและสินค้าไทยก็ยังมีชื่อเสียงอยู่ในเกณฑ์ดีกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าจีน ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาผู้นำเข้าดัชท์หลายรายที่เคยนำเข้าจากจีนติดต่อ สคต. ณ กรุงเฮก สนใจนำเข้าจากไทยโดยเน้นสินค้าคุณภาพและมีการออกแบบทันสมัย ฯลฯ ดังข้างต้น

สำนักงานฯ ณ กรุงเฮก ขอเรียนว่า ประเทศคู่แข่งอื่น ๆ ต่างปรับตัวตลอดเวลา เพื่อขยายการส่งออกและช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด เช่น ผลิตสินค้าคุณภาพสูง พัฒนาการออกแบบ มุ่งตลาดบน/ผู้มีฐานดี ฯลฯ

2. สรุป เป้าหมายการส่งออกของไทยในปี 2552 ตามตารางที่ 2 (หน่วย: ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
  ประเทศ      การส่งออกจริง   เป้าหมายการส่งออก    อัตราการ         การส่งออกช          อัตราการขยายตัว
                 ปี 2551          ปี 2552        ขยายตัว (%)     ม.ค.-มี.ค.2552     ในช่วง 3 เดือน (%)
เนเธอร์แลนด์     4,175.80        4,134.04          -1               709.1             17.5

ปี 2552  กรมส่งเสริมการส่งออก ตั้งเป้าการส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ให้มีอัตราการลดลง ร้อยละ- 1 อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบ

1) 3 เดือนปี 2552 กับช่วงเดียวกันปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5

2) เป้าหมายปี 2552 ตั้งเป้าการส่งออกขยายตัวลดลงร้อยละ -1

3) เป้าหมายที่กำหนดไว้ตาม 2) มีอัตราขยายตัวร้อยละ 17.5

ทั้งนี้ เพื่อเอื้ออำนวยให้การส่งออกของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องกำหนดยุทธศาสตร์สินค้าอย่างครบวงจร ครอบคลุมการพัฒนาระบบ Logistics อย่างมีประสิทธิภาพ กระบวนการที่เกี่ยวข้องดำเนินไปได้อย่างราบรื่น (เช่น ไม่มีการปิดล้อมสนามบิน เหตุการณ์ความไม่สงบต่าง ๆ การออกข่าวที่เป็นลบ ฯลฯ ซึ่งล้วนบั่นทอนเสถียรภาพ ความมั่นคง ความเชื่อมั่นของผู้นำเข้า และการส่งออก/การแข่งขันของสินค้าไทย ในที่สุดรายได้เงินตราต่างประเทศลดลง เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ โดยที่ประเทศคู่แข่งขันไม่ต้องต่อสู้กับสินค้าไทยแต่อย่างใด) การกำหนดแนวทางและดำเนินนโยบายอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพ การรักษาค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ อยู่ในระดับที่เหมาะสมและเสริมการค้าระหว่างประเทศ

3.ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม ) ปี 2552
ภาวะการค้าไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม) ปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551
3.1 มูลค่าการค้ารวม 889.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -44.87 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 1,613.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

1) การส่งออกของไทย -ในช่วงดังกล่าวมีมูลค่ารวม 709.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -38.09 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 1,345.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

2) การนำเข้าของไทย — ไทยนำเข้าสินค้าจากเนเธอร์แลนด์ มูลค่ารวม 180.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -32.72 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 (มูลค่า 267.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

3) ดุลการค้า - ไทยได้เปรียบดุลการค้ากับเนเธอร์แลนด์ในช่วง 3 เดือนแรก ปี 2552 มูลค่า 529.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -50.90 (ปี 2551 มูลค่า 1,077.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

ตารางที่ 3 : มูลค่าการค้าและดุลการค้าระหว่างไทย-เนเธอร์แลนด์ ในช่วง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม) ปี 2552
(มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                       2551                    2552              %
                    (ม.ค.-มี.ค.)             (ม.ค.-มี.ค.)*      เพิ่ม/ลด
การค้ารวม             1,613.00                  889.2          -44.87
ไทยส่งออก             1,345.30                  709.1          -38.09
ไทยนำเข้า               267.70                  180.1          -32.72
ดุลการค้า              1,077.60                  529.0          -50.90

3.2 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก
1)  ภาพรวมสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์  5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ  แผงวงจรไฟฟ้า  เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ  รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ  ผลไม้กระป๋องและแปรรูป

ตารางที่ 4 : รายการสินค้าที่ไทยส่งออกไปเนเธอร์แลนด์ 10 อันดับแรกในช่วง 3  เดือน (มกราคม-มีนาคม) ปี 2552
  ลำดับ                   รายการสินค้า                         มูลค่า              อัตรา

(ม.ค.-มี.ค.2552)* การขยายตัว

                                                          (ล้าน USD)             (%)
    1    เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                   214.2             -43.64
    2    แผงวงจรไฟฟ้า                                         81.9             -28.91
    3    เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                          55.9             -27.56
    4    รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ                             34.2              74.61
    5    ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                                  31.3              22.97
    6    เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                        24.1               4.84
    7    เลนส์                                                20.0             -11.88
    8    ไก่แปรรูป                                             18.9             -54.92
    9    เคมีภัณฑ์                                              15.6             -35.80
   10    ผลิตภัณฑ์ยาง                                           12.8             -14.51

ข้อสังเกต : สศค. วิเคราะห์ข้อมูล ที่กรมฯ เตรียมเสนอเรื่องการคืนภาษีมุมน้ำเงินให้กับผู้ส่งออกสินค้ากลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและยานยนต์ ในอัตราร้อยละ 3-5 กลุ่มที่เหลือในอัตราร้อยละ 2 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคส่งออกซึ่งจะเป็นการขับดันการส่งออกให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาว่าเป็นการเสริมสภาพคล่องให้กับธุรกิจจะช่วยลดต้นทุนให้กับภาคธุรกิจทำให้สามารถแข่งขันได้กับประเทศคู่แข่งนอกเหนือจากการใช้สิทธิประโยชน์ FTA จะช่วยให้ผู้ส่งออกมีข้อได้เปรียบจากการลดภาษี เป็นส่งนหนึ่งในการเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาในช่วงภาวะการณ์ที่เศรษฐกิจชลอตัวสินค้ารายการสำคัญที่ไทยส่งออก

เพิ่มขึ้น 10 อันดับแรก ได้แก่ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 74.61) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 22.97) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 4.84) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 34.27) เครื่องโทรสารและโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ 7.78) เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน (ร้อยละ 27.21)เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าฯ (ร้อยละ 4.60) สิ่งปรุงรสอาหาร (ร้อยละ 2.11) เครื่องกีฬาและเครื่องเล่นเกม (ร้อยละ 44.66) หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด (ร้อยละ 1.79)

ลดลง 10 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ -43.64) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ —28.91) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ (ร้อยละ —27.56) เลนซ์ (ร้อยละ —11.88) ไก่แปรรูป (ร้อยละ -54.92) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ —35.80) ผลิตภัณฑ์ยาง (ร้อยละ —14.51) ข้าว (ร้อยละ -60.94) หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ 27.49) ผ้าผืน (ร้อยละ —40.05)

2) รายการสินค้าที่ไทยส่งออกใน 3 หมวดสำคัญ

ตารางที่ 5 : การส่งออกสินค้าใน 3 หมวดสำคัญช่วง 3 เดือนแรก ปี 2551

  ลำดับ                     รายการสินค้า                     มูลค่า(ม.ค-มี.ค. 52)*       อัตราการ
                                                               (ล้าน USD)          ขยายตัว(%)
1    หมวดสินค้าแร่ธาตุและสินค้าเกษตร
         ข้าว                                                     12.6              -60.94
         ยางพารา                                                  2.7              -66.91
         กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง                                    1.8               59.80
         ดีบุก                                                      1.8              -75.01
         ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็งและแห้ง                                   1.6              -22.08
2    หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร
         ผลไม้กระป๋องและแปรรูป                                      31.3               22.90
         ไก่แปรรูป                                                 18.9              -54.92
         ผลิตภัณฑ์ยาง                                               12.8              -14.51
         เนื้อสัตว์และของปรุงแต่งที่ทำจากเนื้อสัตว์                          58.3               21.97
         ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                                          5.7              -91.02
3    หมวดสินค้าอุตสาหกรรม
         เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ                       214.2              -43.64
         แผงวงจรไฟฟ้า                                             81.9              -28.91
         เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่นๆ                              55.9              -27.56
         เสื้อผ้าสำเร็จรูป                                            24.1                4.84
         เลนซ์                                                    20.0              -11.88

รายละเอียดสินค้าโดยสรุป 5 รายการแรก
หมวดสินค้าแร่ธาตุและเกษตรที่ส่งออก

เพิ่มขึ้น มี 4 รายการ เช่น กุ้งสดแช่เย็น แช่แข็ง (ร้อยละ 59.80) เมล็ดผักและสปอร์ที่ใช้สำหรับการเพาะปลูก (ร้อยละ 207.24) น้ำตาลทราย (ร้อยละ 202.62) สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ (ร้อยละ 222.45)

ลดลง เช่น ข้าว (ร้อยละ —60.94) ยางพารา (ร้อยละ —66.91) ดีบุก (ร้อยละ -75.01) ผักสดแช่เย็น แช่แข็งและแห้ง (ร้อยละ —22.08) กล้วยไม้ (ร้อยละ —13.78)

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรที่ส่งออก

เพิ่มขึ้น เช่น ผลไม้กระป๋องและแปรรูป (ร้อยละ 22.97) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป(ร้อยละ 34.27) สิ่งปรุงรสอาหาร (ร้อยละ 2.11) ผลิตภัณฑ์ข้าว (ร้อยละ 6.70) น้ำตาลทราย (ร้อยละ 202.62)

ลดลง เช่น ไก่แปรรูป (ร้อยละ —54.92) ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง (ร้อยละ -91.02)ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ (ร้อยละ —32.45) เครื่องเทศและสมุนไพร (ร้อยละ —20.25) ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูปอื่น ๆ (ร้อยละ —1.70)

หมวดสินค้าอุตสาหกรรมที่ส่งออก

เพิ่มขึ้น เช่น รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 74.61) เสื้อผ้าสำเร็จรูป (ร้อยละ 4.84) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ 7.78) เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารในครัวและบ้านเรือน (ร้อยละ 27.21) เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 4.60)

ลดลง เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (ร้อยละ —43.64) แผงวงจรไฟฟ้า (ร้อยละ -28.91) เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ (ร้อยละ —27.56) เลนซ์ (ร้อยละ —11.88) เคมีภัณฑ์ (ร้อยละ —35.80)

3.2 สินค้ารายการสำคัญที่ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ ในช่วง 3 เดือน (มกราคม-มีนาคม) ปี 2552 ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์มูลค่า 180.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -32.72 เมื่อเทียบกับการนำเข้าในช่วงเดียวกันปี 2551 (มูลค่า 267.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์โลหะกระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ

ตารางที่ 6 : รายการสินค้าที่ไทยนำเข้าจากเนเธอร์แลนด์ 10 อันดับแรก

  ลำดับ                     รายการสินค้า                            มูลค่า              อัตรา

(ม.ค.-มี.ค. 2551)* การขยายตัว

                                                              (ล้าน USD)            (%)
    1    เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ                                  35.4             43.04
    2    แผงวงจรไฟฟ้า                                             25.1            -54.11
    3    เคมีภัณฑ์                                                  16.3            -59.20
    4    โลหะ                                                    12.1            265.72
    5    กระดาษและผลิตภัณฑ์กระดาษ                                   10.7            910.20
    6    ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม                                 9.6            -24.96
    7    ผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆ                                           8.8             -2.89
    8    เครื่องมือเครื่องใช้ทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์                       6.6              9.21
    9    ผลิตภัณฑ์ทำจากพลาสติก                                        6.1            -42.44
   10    สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์                                       5.8            -20.75


สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงเฮก

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ