สรุปภาวะการค้าระหว่างประเทศไทย - แอฟริกาใต้ ปี 2552 (ม.ค.-เม.ย.) สรุปจากสถิติ Menucom กรมส่งเสริมการส่งออก

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday June 23, 2009 16:31 —กรมส่งเสริมการส่งออก

ข้อมูลทั่วไป:
เมืองหลวง            :  Pretorial
พื้นที่                 :  1,219,090  ตารางกิโลเมตร
ภาษาราชการ          :  Afrikaans, English, etc.
ประชากร             :  48.7 m (2008)
อัตราแลกเปลี่ยน        :  US$1 :  ZAR 4.2001 (17/06/2009)

(1) เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจ

ปี 2551 ปี 2552

Real GDP growth (%)                        3.1       -1.8
Consumer price inflation (av; %)          11.3        6.0
Budget balance (% of GDP)                 -1.1       -4.0
Current-account balance (% of GDP)        -7.4       -5.5
Lending rate (av; %)                      15.1       12.7
Exchange rate R:US$ (av)                  8.26       10.5

โครงสร้างสินค้าออกของไทยกับแอฟริกาใต้
                                   มูลค่า :         สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น                   407.80           100.00        -22.82
สินค้าเกษตรกรรม                     123.70            30.33         26.45
สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร              47.82            11.73          6.93
สินค้าอุตสาหกรรม                     220.46            54.06        -38.90
สินค้าแร่และเชื้อเพลิง                   15.83             3.88        -36.73
สินค้าอื่นๆ                              0.0              0.0           0.0

โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับแอฟริกาใต้
                                         มูลค่า :         สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

นำเข้าทั้งสิ้น                               106.60           100.00         -45.91
สินค้าเชื้อเพลิง                               0.72             0.67           9.67
สินค้าทุน                                    6.37             5.98          55.85
สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป                    69.57            65.26         -61.96
สินค้าบริโภค                                 2.53             2.37         -46.44
สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง                 26.07            24.45         449.21
สินค้าอื่นๆ                                   1.36             1.27            0.0

1. มูลค่าการค้า
มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - แอฟริกาใต้
                           2551           2552         D/%

(ม.ค.- เม.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการค้ารวม              725.43         514.40      -29.09
การส่งออก                  528.36         407.80      -22.82
การนำเข้า                  197.07         106.60      -45.91
ดุลการค้า                   331.29         301.19       -9.09

2. การนำเข้า
แอฟริกาใต้เป็นตลาดนำเข้า อันดับที่ 35 มูลค่า 106.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 45.91
สินค้า นำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                     มูลค่า :          สัดส่วน %       % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการนำเข้ารวม                      106.60           100.00         -45.91
1. รถยนต์นั่ง                            25.52            23.94
2. เครื่องเพชรพลอย อัญมณีฯ                19.00            17.82         -42.63
3. สินแร่โลหะอื่น ๆ ฯ                     15.22            14.28         -73.35
4. เคมีภัณฑ์                             11.42            10.71         -24.45
5. เหล็ก เหล็กกล้าและฯ                   11.23            10.54         -79.00
             อื่น ๆ                      0.99             0.93         -88.20

3. การส่งออก
แอฟริกาใต้เป็นตลาดส่งออก เป็นอันดับที่ 26 มูลค่า 407.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.82
สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่
                                       มูลค่า :          สัดส่วน %      % เพิ่ม/ลด

ล้านเหรียญสหรัฐฯ

มูลค่าการส่งออกรวม                       407.80           100.00         -22.82
1. ข้าว                                115.39            28.30          36.13
2. รถยนต์  อุปกรณ์ฯ                       55.43            13.59         -45.24
3. อาหารทะเลกระป๋องฯ                    40.92            10.03           6.99
4. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ฯ                   25.56             6.27          29.09
5. ผลิตภัณฑ์ยาง                           17.12             4.20         -25.43
              อื่น ๆ                     46.73            11.46         -42.11

4. ข้อสังเกต
4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปแอฟริกาใต้  ปี 2552 (ม.ค. — เม.ย.) ได้แก่

ข้าว : แอฟริกาใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย รองจากสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 1.80 23.72 102.18 และ 36.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนฯ : แอฟริกาใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 13 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่าปี 2551 และ 2552 (มค.-เม.ย.) มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 10.49 และ 45.24) ในขณะที่ปี 2549 และ 2550 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.04 และ 31.30 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

อาหารทะเลกระป๋องฯ : แอฟริกาใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 5 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 - 2552 พบว่ามีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องร้อยละ 68.68 70.76 86.60 และ 6.99 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลา เดียวกันของปีก่อน

เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนฯ : แอฟริกาใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 8 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่าปี 2549 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ10.45) ในขณะที่ปี 2550 - 2552 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 389.63 79.76 และ 29.09 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

ยางพารา : แอฟริกาใต้เป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 17 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 พบว่า ปี 2552 (มค.-เม.ย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลง (ร้อยละ 25.43) ในขณะที่ปี 2549 - 2552 มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 62.61 31.17 และ 4.30 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

4.2 ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดแอฟริกาใต้ ปี 2552 (ม.ค.- เม.ย.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราเพิ่มสูง รวม 6 รายการ คือ
      อันดับที่ / รายการ                    มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                     ล้านเหรียญสหรัฐ          %
1. ข้าว                                  115.39           36.13
3. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป               40.92            6.99
4. เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนฯ               25.56           29.09
14.ผ้าผืน                                   4.72           11.68
20.ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม                          2.73            9.12
24.กระดาษและผลิตภัณฑ์ฯ                       2.21           24.36

4.3  ในบรรดาสินค้าส่งออกจากไทยไปตลาดแอฟริกาใต้ ปี 2552 (ม.ค.- เม.ย.) 25 รายการแรก
สินค้าที่มีอัตราลดลง รวม 18 รายการ  คือ
      อันดับที่ / รายการ                      มูลค่า         อัตราการขยายตัว
                                      ล้านเหรียญสหรัฐ          %
2.รถยนต์ อุปกรณ์ฯ                           55.43           -45.24
5.ผลิตภัณฑ์ยาง                              17.12           -25.43
7.เครื่องยนต์สันดาปฯ                         10.12           -55.08
8.เครื่องจักรกลและส่วนประกอบฯ                 9.41           -50.86
9.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์                   8.64           -67.39
10.เม็ดพลาสติก                              8.31           -44.01
11.ผลิตภัณฑ์พลาสติก                           6.80           -23.25
12.ของเบ็ดเตล็ดทำด้วยโลหะฯ                   5.79           -45.63
13.เครื่องซักผ้าและเครื่องซักแห้ง                 4.75           -45.65
15.เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ฯ                  4.69           -47.67
16.เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ              4.38           -53.35
17.ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง                        3.77           -52.25
18.เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น              3.53           -77.55
19.เคมีภัณฑ์                                 2.76           -14.43
21.เฟอร์นิเจอร์และชิ้นส่วน                      2.58           -57.67
22.เสื้อผ้าสำเร็จรูป                           2.45           -31.77
23.แก้วและกระจก                            2.35           -40.02
25.โกโก้และของปรุงแต่ง                       2.00            -4.23

5. ข้อมูลเพิ่มเติม

ปัจจุบันทวีปแอฟริกาเป็นตลาดใหม่ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้ส่งออกและนักลงทุนต่างชาติ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากวิกฤติซับไพร์มที่เกิดขึ้นในสหรัฐฯ ส่งผลให้เศรษฐกิจทั่วโลกชะลอตัว โดยเฉพาะตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้ผู้ส่งออกเริ่มหันไปหาตลาดใหม่อย่างทวีปแอฟริกาซึ่งมีศักยภาพในปัจจุบัน เนื่องจากทวีปแอฟริกาเป็นตลาดขนาดใหญ่ด้วยจำนวนประชากรกว่า 900 ล้านคน อีกทั้งยังอุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิดทั้งทั้งน้ำมันก๊าซธรรมชาติ และสินแร่ต่างๆ ทั้งนี้ในบรรดาประเทศแอฟริกาทั้งหลายแอฟริกาใต้นับเป็นประเทศที่มีศักยภาพสูงทั้งในด้านการค้าและการลงทุน เศรษฐกิจโดดเด่นที่สุดในทวีป แอฟริกาใต้เป็นประเทศที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจแข็งแกร่งที่สุดในทวีปแอฟริกา และเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาเศรษฐกิจแอฟริกาใต้ขยายตัวเฉลี่ยราวร้อยละ 5 ต่อปี อีกทั้งเศรษฐกิจแอฟริกามีความหลากหลายทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการปัจจุบันภาคอุตสหกรรมของแอฟริกาใต้โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหมืองแร่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และสามารถนำรายได้จำนวนมาก เข้าประเทศในแต่ละปี โครงสร้างพื้นฐานมีประสิทธิภาพ โครงสร้างพื้นฐานของแอฟริกาใต้ได้รับการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับจนมีความพร้อมและเอื้อต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะระบบคมนาคมขนส่งของแอฟริกาใต้ซึ่งมีประสิทธิภาพ จึงเอื้อต่อการเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในภูมิภาค ซึ่งผู้ส่งออกไทยสามารถใช้เป็นประตูการค้าไปสู่ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคได้ สินค้าไทยเป็นที่ต้องการในตลาดแอฟริกาใต้ ผู้บริโภคแอฟริกาใต้ส่วนใหญ่นิยมสินค้าที่มีคุณภาพและผลิตตามกรรมวิธีที่ถูกสุขอนามัย รวมทั้งได้รับการรับรองคุณภาพจากหน่วยงานของรัฐซึ่งสอดคล้องกับคุณสมบัติของสินค้าไทยส่วนใหญ่ที่ทีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ขณะที่สินค้าจีนซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดแอฟริกาใต้ค่อนข้างมาก กลับประสบปัญหาด้านคุณภาพจึงได้รับความนิยมน้อยลง ซึ่งนับเป็นโอกาสดีสำหรับผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปขยายตลาดในแอฟริกาใต้โอกาสและปัจจัยสนับสนุนการค้าของไทยในทวีปแอฟริกา โดยที่ประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่ยังขาดแคลนเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย หรือมีสภาพภูมิประเทศกันดารไม่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร ทำให้ไม่สามารถผลิตอาหารได้เพียงพอต่อการบริโภค ประเทศต่างๆ ในทวีปนี้จึงต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าอาหารจากต่างประเทศจำนวนมาก ขณะที่ไทยเป็นประเทศผู้ส่งออกอาหารที่สำคัญแห่งหนึ่ง อีกทั้งไทยยังตั้งความหวังที่จะเป็นครัวของโลก ดังนั้นการเข้าไปขยายตลาดสินค้าอาหารในทวีปนี้ จึงเป็นโอกาสที่ไทยควรคว้าไว้ โดยมีปัจจัยสนับสนุน ได้แก่ สินค้าของไทยมีราคาไม่แพง แต่มีคุณภาพดีและเป็นที่ยอมรับในตลาดยุโรปและอเมริกาแล้ว หากมีการพัฒนาด้านรูปแบบผลิตภัณฑ์รวมทั้งบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดได้ก็อาจจะครองใจชาวแอฟริกันได้ไม่ยากไทยอาจใช้แนวทางการผูกความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการเพื่อการพัฒนาทางด้านการเกษตรที่ไทยมีความก้าวหน้ากว่าซึ่งนอกจากจะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยแล้ว ยังทำให้ชาวแอฟริกันรู้จักเทคโนโลยีการเกษตรของไทย และจะเป็นช่องทางการเปิดตลาดสินค้าเครื่องจักรกลทางการเกษตรพันธุ์พืชและสัตว์ ตลอดจนเคมีภัณฑ์การเกษตรของไทยในตลาดแอฟริกาด้วย ประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่ เคยตกเป็นอาณานิคมของชาติในยุโรป ซึ่งภายหลังจากที่ได้รับเอกราชแล้ว ประเทศเจ้าอาณานิคมเดิมยังให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิประโยชน์ทางการค้าและภาษี ซึ่งไทยอาจใช้แอฟริกาเป็นฐานการผลิตและกระจายสินค้าไทยเข้าสู่ตลาดยุโรปได้การกีดกันทางการค้าน้อย โดยเฉพาะการกีดกันด้านมาตรฐานสุขอนามัยพืชและสัตว์ เอกชน ขณะเดียวกันในส่วนองค์กรการค้าภาคเอกชนซึ่งมีทั้งสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมไทย รวมถึงสมาคมการค้าต่าง ๆ ควรจะต้องมีการร่วมมือประสานงานกัน โดยมีการจับคู่ธุรกิจทั้งภายในและภายนอก พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการทำการค้ากับคู่ค้าในต่างประเทศ รวมทั้งชี้ให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคที่พบในการทำธุรกิจ และมีการจัดทำ Black List บริษัทคู่ค้าที่มีพฤติกรรมที่ไม่ปฏิบัติตามสัญญาสำหรับผู้ประกอบการแต่ละราย ควรมีการรวมกลุ่มนักธุรกิจในการเจรจาทางการค้า เพื่อสร้างอำนาจต่อรองและแก้ไขปัญหาต่างๆ อาทิ ประเทศในแอฟริกาส่วนใหญ่ขาดแคลนเงินตราต่างประเทศในการทำการค้า ซึ่งการรวมกลุ่มธุรกิจอาจไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ประกอบการในธุรกิจเดียวกัน อาจเป็นธุรกิจที่แตกต่างกันแต่มีความต้องการทำธุรกิจกับประเทศในแอฟริกาเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์อาหารจับคู่กับธุรกิจเครื่องประดับ แล้วให้ผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไทยขายสินค้าโดยรับชำระค่าสินค้าด้วยสินแร่อัญมณีแทน ขณะที่ผู้ประกอบการเครื่องประดับก็จะได้วัตถุดิบที่ต้องการ พร้อมทั้งตีราคามูลค่าของอัญมณีที่ได้ชำระมาเป็นเงินสดจ่ายให้แก่ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารต่อไป

นายอลงกรณ์ พลบุตร รมช.พาณิชย์ ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยเดินทางไปร่วมพิธีรับตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐแอฟริกาใต้คนใหม่ ระหว่างวันที่ 7-10 พฤษภาคม ซึ่งจะใช้โอกาสนี้พบปะหารือข้อราชการกับหน่วยงานภาครัฐและผู้นำเข้าของแอฟริกา 2 เรื่อง คือ การขยายมูลค่าการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับแอฟริกาใต้ และแนวทางความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน นอกจากนี้จะได้พบกับประธานสำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งชาติ และบริษัทผู้นำเข้าสินค้าไทยและบริษัทท่องเที่ยวของแอฟริกาด้วย โดยฝ่ายไทยจะได้ชี้แจงให้ทราบว่าไทยมีนโยบายมุ่งส่งเสริมการค้าการลงทุนตลาดใหม่ให้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตลาดแอฟริกาใต้มีความสำคัญกับไทยมากที่สุดในทวีปแอฟริกาขณะที่ในส่วนของการลงทุน พบว่า ปัจจุบันปริมาณการลงทุนระหว่างไทยและแอฟริกายังมีมูลค่าน้อย โดยภาคธุรกิจที่มีศักยภาพในการร่วมลงทุน ได้แก่ ธุรกิจการท่องเที่ยว โรงแรม การก่อสร้าง และอาหารแปรรูป โดยขณะนี้มีบริษัทไทยที่เริ่มเข้าไปลงทุนในแอฟริกาใต้แล้ว ได้แก่ กลุ่มบริษัทในธุรกิจก่อสร้าง และธุรกิจเหมือง เป็นต้น

สินค้าเกษตรอินทรีย์ เป็นสิ่งใหม่สำหรับผู้บริโภคทั่วไปในแอฟริกา จากข้อมูลของ FAO (ปี พ.ศ. 2551) ประเทศที่มีการทำเกษตรอินทรีย์สูงสุดในแอฟริกาได้แก่ ตูนีเซีย อูกันดา แอฟริกาใต้ และแทนซาเนีย โดยส่วนใหญ่เป็นการผลิตเพื่อการส่งออกไปยังตลาดยุโรป คงมีเพียงสัดส่วนเล็กน้อยที่จำหน่ายภายในประเทศ นอกจากนี้สินค้าเกษตรอินทรีย์ที่เป็นที่รู้จักและยอมรับในเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้น เช่น อียิปต์ แอฟริกาใต้ อูกันดา เคนยา แทนซาเนีย และจำกัดอยู่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มีระดับรายได้สูงเท่านั้น เนื่องจากมีระดับราคาสูง เฉพาะในแอฟริกาใต้ มีเพียงประมาณ 250 แห่ง ที่ทำการเกษตรแบบอินทรีย์ โดยมีพื้นที่การเพาะปลูกประมาณ 45,000 เฮคตาร์ หรือคิดเป็นสัดส่วนของการเพาะปลูกเพียงร้อยละ 0.05 ของพื้นที่การเพาะปลูกทั้งสิ้นของทั้งแอฟริกาใต้เท่านั้น ทั้งนี้ในปัจจุบันแอฟริกาใต้ยังไม่มีหน่วยงานในการกำหนดมาตรฐานของเกษตรอินทรีย์ อย่างไรก็ตามอิทธิพลและแนวโน้มของการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้มีการขยายตัวของความต้องการสินค้าเกษตรอินทรีย์เป็นอย่างมาก รวมทั้งแอฟริกาใต้ด้วยโดยในช่วงระหว่างสามปีที่ผ่านมามีการขยายตัวกว่าร้อยเปอร์เซ็นต์ในแต่ละปี ถึงแม้ว่าสินค้าเกษตรอินทรีย์ประเภทสินค้าอาหารยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ใหม่ มีขนาดไม่ใหญ่โตนักและข้อมูลภายในประเทศยังมีอยู่อย่างจำกัด แต่จากการที่ผู้บริโภคให้ความใส่ใจในสุขภาพของตนเองส่งผลให้มีการกระตุ้นให้เกิดความต้องการบริโภคสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มขึ้น ดังจะเห็นได้จากสินค้าผักผลไม้สดที่เป็นเกษตรอินทรีย์ที่มีวางจำหน่ายเพิ่มมากขึ้นตามห้างสรรพสินค้า ซูปเปอร์มาร์เก็ต หลายแห่งนำเสนอสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันห้างสำคัญที่มีสินค้าเกษตรอินทรีย์วางจำหน่ายหลากหลาย ได้แก่ Woolworth (www.woolworths.co.za) และ ห้างฯ Pick & Pay (www.picknpay.co.za)โดยสินค้าเกษตรอินทรีย์มีตั้งแต่ผัก ผลไม้ ข้าว แป้งประเภทต่างๆ น้ำมันพืช นม น้ำเต้าหู้ ครีมสลัดต่างๆ ขนมปัง ขนมขบเคี๊ยว ชา กาแฟ ถั่ว น้ำตาล ชอกโกแลต เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เป็นต้น และก็ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริโภคแอฟริกาใต้

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ