กัมพูชา...หลุดพ้นจากวิกฤเศรษฐกิจ?

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday July 29, 2009 12:43 —กรมส่งเสริมการส่งออก

อัตราเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชา โดยเฉลี่ยตั้งแต่ปี 04-07 = 11.1% ปี 2008 มีอัตราเติบโต 6.7% ขณะที่ปี 2007 เติบโตถึง 10.2% และปี 2005 เติบโต 13.3%

World Bank เปิดเผยตัวเลขอัตราการเติบโตของกัมพูชาว่าจะมีอัตราเติบโต 4.9% ในปี 2009 ขณะที่ ADB คาดว่าอัตราเติบโตคือ 5.9%

เหตุผลสำคัญที่ทำให้การเติบโตของเศรษฐกิจลดลงเพราะนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนลดลง คำสั่งซื้อสินค้าหมวดเครื่องนุ่งหุ่ม ซึ่งเป็นรายได้หลักของประเภทลดลงอย่างเห็นได้ชัด รวมถึงจำนวนการจองห้องพักในเสียมเรียบและจังหวัด ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ลดลงแม้ว่าจะเป็นช่วง High season ของการท่องเที่ยวก็ตาม

วิกฤติการเงินของโลกส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจกล่าวคือ เมื่อสถาบันการเงินปล่อยกู้อย่างมาก ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยว และการส่งออกลดลงอย่างกระทันหัน จึงส่งผลกระทบต่อธนาคารเช่นกัน

World Bank ได้เสนอนโยบาย 4 ประการเพื่อพื้นฟูเศรษฐกิจของกัมพูชาคือ

1. การเข้มงวดต่อระบบธนาคารเพื่อหลีกเลียงความเสี่ยงเรื่องเงิน

2. การผลักดันนโยบายด้านการเงินเพื่อช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน

3. การสนับสนุนการค้าและการลงทุน เพื่อหลี่กเลี่ยงผลกระทบจากภายนอก

4. การสร้างเครือข่ายด้านการเงินเพื่อช่วยให้คนส่วนใหญ่อยู่รอด ลดการเติบโตลง

ในรายงานระบุว่าประเทศที่มีรายได้ของประชากรต่ำเช่น ลาว กัมพูชา ปาปัวร์ และ ติมอร์ไม่ได้รับผลกระทบอย่างร้ายแรงจากวิกฤติเศรษฐกิจการเงินเพราะระบบธนาคารในประเทศเหล่านี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบตลาดโลก โดยประเทศกลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบเฉพาะจากรายได้การส่งออกสินค้าที่ลดลง รายได้จากการท่องเที่ยวที่ลดลงและการถูกจำกัดเงื่อนไขของธนาคารต่างชาติในประเทศ

สถาบันเศรฐสาตร์ของกัมพูชา (The Economic Institute of Cambodia) คาดการณ์ว่า อัตราเติบโตของเศรษฐกิจกัมพูชาจะเติบโตร้อยละ 2 ในปี 2009 โดยเป็นผลกระทบมาจากวิกฤติเศรษฐกิจของอเมริกา, กลุ่มสหภาพยุโรป และเกาหลี ที่ยังไม่ฟื้น ประกอบกับรายได้ของกัมพูชามาจากการค้าต่างประเทศ, การท่องเที่ยว และการลงทุนจากต่างประเทศ แม้ว่าในหลายปีที่ผ่านมากัมพูชาจะมีอัตราการเติบโตที่สูงเช่น ร้อยละ 5.2 ในปี 2008, ร้อยละ 10.2 ในปี 2007 ก็ตาม

การคาดการณ์ของหลายสถาบันต่างก็เป็นไปในทางเดียวกันเช่น ของ Asian Development Bank คาดการณ์ที่ร้อยละ 2.5 ซึ่งดีกว่าของ The International Monetary Fund และ World Bank ที่คาดการณ์ว่า ที่ร้อยละ 0.5 และร้อยละ 1 ตามลำดับ โดยให้ความสำคัญกับการขยายตัวของ GDP ของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งเติบโตร้อยละ 3.1 ในปี 2008 เป็นร้อยละ 3.3 ในปี 2009 ขณะที่ภาคอุตสาหกรรมจะลดจาก 4.8% หรือ 4.3% และภาคบริการจะลดลงจาก 6.7% เหลือ 3.9%

การก่อสร้างและภาคอสังหาริมทรัพย์คาดว่า จะลดลงเช่นเดียวกับด้าน garment ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมหภาคโดยตรง รวมถึงภาคธนาคารด้วย

การส่งออก Garment - สมาคมผู้ประกอบการเครื่องนุ่งห่มกัมพูชา (The Garment Manufacturers Association of Cambodia — GMAC) ซึ่งมีสมาชิกโรงงานทอผ้า 250 แห่ง คนงาน 80,000 คน เผยตัวเลขยอดสั่งซื้อสินค้าเพื่อส่งออก 4 เดือนแรกของปี 2009 ลดลง 30% โดยคาดว่าการส่งออก garment ของกัมพูชาในปี 2009 จะคงลดลงแม้ว่าเศรษฐกิจของอเมริกาจะดีขึ้นเพราะได้เสียตลาดให้กับคู่แข่งคือ เวียดนาม เนื่องจากปัญหาระบบเอกสารการส่งออก (Export Clearance ) ที่มีราคาสูงและใช้เวลาในการออกเอกสารมาก รวมถึงต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าที่สูง

กัมพูชาส่งออก garment ในปี 2008 มูลค่ารวม 3.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนในระยะ 5 เดือนแรกของปี 2009 มีการส่งออกมูลค่ารวม 909 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 20% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีการส่งออกไปอเมริกามากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 72.6 ของยอดส่งออกรวม สถิติการส่งออกของปี 2009 แยกเป็นแต่ละเดือนดังนี้

เดือน / 2009 มูลค่า + เพิ่ม - ลด

(ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) (เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน)

มกราคม 181.09 -13.64% กุมภาพันธ์ 189.21 -20.89% มีนาคม 164.30 -18.6%

นายกสมาคมโรงงานตัดเย็บเสื้อผ้าได้เรียกร้องให้ผู้ประกอบการเพิ่มกำลังการผลิตโดยมุ่งเน้นขายให้กับ Brand ต่างๆ ของโลกเช่น Gap, Nike, Adidas, Levis, Puma และ H&M ซึ่งมียอดซื้อรวมปีละ 143 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยสั่งซื้อจากกัมพูชาเพียงปีละ 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เท่านั้น ซึ่งหากสามารถเพิ่มยอดส่งออกได้อีก 5-10% ก็จะสามารถช่วยโรงงานในกัมพูชาได้

ค่าจ้างแรงงานในโรงงานคือ อัตราเงินเดือนๆละ 50 USD เมื่อบวกกับ bonus + allowance + OT แล้วจะมีรายได้รวมประมาณ 60 USD/เดือน ซึ่งปัจจุบันนี้คนงานได้ขอเพิ่มค่าจ้างเป็นเดือนละ90 USD

การลงทุน - ในระยะ 6 เดือนแรกของปี 2009 CIB อนุมัติโครงการลงทุน 53 โครงการ มูลค่า 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลง 73% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกับของปีก่อน ซึ่งมีมูลค่า 4.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งในนั้น มีการลงทุนพัฒนาเกาะกงของ Chinese Union Development Group มูลค่า 3.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

วิกฤติเศรษฐกิจทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในกรุงพนมเปญลดลง 50% ขณะที่การลงทุนในพื้นที่ใกล้พรมแดนลดลง 77%

โครงการลงทุนได้แก่ Tourist Sector 354 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ Agriculture 323 " Industry 303 " Other Private Sector 241 "

Development

ที่มา: http://www.depthai.go.th


แท็ก กัมพูชา  

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ