ล้านเหรียญสหรัฐฯ
สินค้าออกสำคัญทั้งสิ้น 752.64 100.00 -30.91 สินค้าเกษตรกรรม 31.07 4.13 71.44 สินค้าอุตสาหกรรมการเกษตร 193.38 25.69 0.24 สินค้าอุตสาหกรรม 425.74 56.57 -31.84 สินค้าแร่และเชื้อเพลิง 102.44 13.61 -59.61 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 โครงสร้างสินค้าเข้าของไทยกับกัมพูชา มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
นำเข้าทั้งสิ้น 23.47 100.00 -41.41 สินค้าเชื้อเพลิง 0.0 0.0 สินค้าทุน 0.43 1.84 -11.15 สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป 10.07 42.88 -67.49 สินค้าบริโภค 12.90 54.96 50.00 สินค้ายานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง 0.07 0.32 292.90 สินค้าอื่นๆ 0.0 0.0 -100.00 1. มูลค่าการค้า มูลค่าการนำเข้า ส่งออก และดุลการค้าของไทย - กัมพูชา 2551 2552 %(ม.ค.—มิ.ย.) ล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการค้ารวม 1,129.38 776.12 -31.28 การส่งออก 1,089.32 752.64 -30.91 การนำเข้า 40.06 23.47 -41.41 ดุลการค้า 1,049.25 729.17 -30.51 2. การนำเข้า กัมพูชาเป็นตลาดนำเข้าอันดับที่ 75 ของไทย มูลค่า 23.47 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 41.41 สินค้านำเข้าสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการนำเข้ารวม 23.47 100.00 -41.41 1.ผัก ผลไม้และของปรุงแต่ง 10.34 44.07 230.57 2.พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช 4.50 19.18 -7.93 3.สินแร่โลหะอื่น ๆ เศษโลหะ 1.88 8.00 -83.00 4.เสื้อผ้าสำเร็จรูป 1.23 5.25 -15.28 5.เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ 1.02 4.33 -60.45 อื่น ๆ 0.10 0.43 -67.46 ข้อสังเกต : 1. ผัก ผลไม้และของปรุงแต่ง ในปี 2552 (มค.-มิย.) มีมูลค่าการนำเข้า 10.34 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน มีการนำเข้า 3.13 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงทำให้มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้น 230.57 3. การส่งออก กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 22 ของไทย มูลค่า 752.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลงร้อยละ 30.91 สินค้าส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ มูลค่า : สัดส่วน % % เพิ่ม/ลดล้านเหรียญสหรัฐฯ
มูลค่าการส่งออกรวม 752.64 100.00 -30.91 1.น้ำมันสำเร็จรูป 71.73 9.53 -68.05 2.น้ำตาลทราย 66.27 8.81 22.13 3.ปูนซีเมนต์ 44.89 5.96 -0.73 4.เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ 42.12 5.60 -45.49 5.เครื่องดื่ม 39.93 5.31 -29.02 อื่น ๆ 167.10 22.21 -9.51 4. ข้อสังเกต 4.1 สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปกัมพูชา ปี 2552 (มค.- มิย.) ได้แก่น้ำมันสำเร็จรูป : กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 9 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.)พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 68.05 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2551มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.90 48.65 และ 88.17 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
น้ำตาลทราย : กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 30.95 ในขณะที่ปี 2549 2551 และ 2552 (มค.- มิย.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 37.66 63.88 และ 22.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
ปูนซีเมนต์ : กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 0.73 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2551 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.86 19.79 และ 5.22ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ : กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 14 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.)พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 45.49 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ 2551มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 33.61 0.66 และ 187.90 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
เครื่องดื่ม : กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 2 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่า ปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 29.02 ในขณะที่ปี 2549 2550 และ2551มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 31.70 7.05 และ 25.68 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับ ช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
มูลค่าล้านเหรียญสหรัฐ
2.น้ำตาลทราย 54.27 66.27 22.13 7.ผลิตภัณฑ์ยาง 29.20 29.66 1.57 8.เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว 23.66 25.48 7.69 9.สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ 7.20 21.65 200.76 18.ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป 10.24 12.10 18.11 22.สิ่งปรุงรสอาหาร 6.06 8.16 34.75 24.เครื่องโทรสาร 0.02 7.40 35,500.71 25.หมากฝรั่งและขนมที่ไม่มีโกโก้ผสม 5.79 7.01 21.15สินค้าปศุสัตว์อื่น ๆ : กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 4 ของไทย และเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.) พบว่าปี 2549 2550 เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัว ลดลงร้อยละ 47.79 83.44 ในขณะที่ปี 2551 2552 (มค.-มิย.) มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15,443.19 และ 199.13 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
เครื่องโทรสาร : กัมพูชาเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับที่ 3 ของไทยและเมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกปี 2548 — 2552 (มค.-มิย.)พบว่าปี 2552 (มค.-มิย.) เป็นครั้งแรกที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 35,500 ในขณะที่ปี 2549 — 2551 มี อัตราการขยายตัวลดลงร้อยละ 93.78 1.68 และ 95.51 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของ ปีก่อน
รัฐบาลกัมพูชาประกาศดำเนินนโยบายการค้าตามแบบเสรีโดยอาศัยกลไกตลาด โดยมุ่งเน้นบทบาทที่จะไม่แทรกแซงราคาสินค้าหรือบริการ นอกจากชี้แนะแนวนโยบายด้านการค้าให้นักธุรกิจภายในและชาวต่างชาติให้ประกอบธุรกิจสอดคล้องกับทิศทางนโยบายและกฎหมายของประเทศ สร้างสิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณูปโภคให้เพียงพอและเอื้อต่อการค้า เช่น ปรับปรุงบูรณะถนนที่มีอยู่ สนับสนุนให้มีการผลิตสินค้าในประเทศกัมพูชาให้มีปริมาณและคุณภาพดีมากยิ่งขึ้น เสริมสร้างความสัมพันธ์ ด้านการค้าระหว่างประเทศ เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างตลาดภายในกับตลาดต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน รัฐบาลกัมพูชาเปิดรับการลงทุนในทุกด้าน นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนและถือหุ้นร้อยละ 100 ในกิจการต่างๆ ทั้งสามารถถือครองทรัพย์สินต่างๆ ได้โดยเสรี ยกเว้นที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ซึ่งสงวนไว้สำหรับบุคคลในชาติและมีอาชีพหรือธุรกิจ ที่สงวนสำหรับบุคคลในชาติหรือต้องร่วมลงทุนกับคนในชาติเพียงไม่กี่รายการเช่น มัคคุเทศก์นำเที่ยว โรงสีข้าว และโรงอิฐ เป็นต้น
หน่วยงานวิเคราะห์เศรษฐกิจเช่น World Bank และ IMF ต่างออกมาปรับตัวเลขคาดการณ์อัตราเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2552 ใหม่โดย World Bank คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะมีอัตราเติบโตติดลบ ร้อยละ -1.0 ขณะที่ IMF คาดการณ์ในทำนองเดียวกันคือตัวเลขติดลบ ร้อยละ - 0.5 จากเดิมที่เคยคาดการณ์ที่ร้อยละ 4.9
เพื่อกระตุ้นการส่งออกของไทยไปยังกลุ่มCLMVให้มากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ กรมส่งเสริมการส่งออกร่วมกับภาคเอกชนจะวางแผนในการรุกกิจกรรมส่งเสริมการส่งออกอย่างต่อเนื่อง โดยในส่วนของตลาดกัมพูชา จะมุ่งเน้นกลยุทธ์การค้าเคลื่อนที่โดยรวมกลุ่มพ่อค้า-แม่ค้าของไทยจัดคาราวานสินค้าอุปโภค-บริโภคจำเป็นไปจำหน่ายในจังหวัดต่างๆ ของกัมพูชาในลักษณะตลาดนัดเคลื่อนที่ ซึ่งขณะนี้ได้จัดไปแล้วหลายจังหวัด และจะยังจัดในอีกหลายเมือง รวมถึงการร่วมกับห้างสรรพสินค้าในกัมพูชาจัดงานเทศกาลต่างๆ ในกัมพูชา เช่น ไทยนู้ดเดิ้ล เฟสติวัล เป็นต้น
ระหว่างวันที่ 1-24 กรกฎาคม 2552 บีโอไอร่วมกับสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรม Connection Building Mission ประเทศกัมพูชา เส้นทาง กรุงเทพฯ-เสียมเรียบ-พนมเปญ โดยมีเป้าหมายที่จะสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการไทย ในการไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน และรองรับการลงทุนจากกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านโดยกิจกรรมนี้จะหารือถึงลู่ทางการส่งเสริมการลงทุนของไทยในเสียมเรียบ ศึกษาเส้นทางการขนส่งรอบเมืองและสำรวจศูนย์กลางแหล่งกระจายสินค้าของจังหวัดเสียมเรียบ สำหรับสถิติการลงทุนของผู้ประกอบการไทยในกัมพูชานั้น มีผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในกัมพูชา 65 โครงการ ได้แก่กิจการประเภทสินค้าอาหาร กิจการโรงพยาบาลและธนาคารเป็นต้น คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 287 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้จากการวิเคราะห์โอกาสการเข้าไปลงทุนยังประเทศกัมพูชาพบว่า กัมพูชาเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรธรรมชาติมาก อาทิ อัญมณี สินแร่ รวมถึงสัตว์น้ำ เพราะมีแหล่งจับสัตว์น้ำจืดขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่ถึง 10,000 ตารางกิโลเมตร จึงเป็นโอกาสดีที่ไทยจะเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเกษตรและการแปรรูป ที่เป็นอุตสาหกรรมสำคัญที่ไทยมีศักยภาพรัฐบาลกัมพูชาให้ความสำคัญกับการลงทุนในประเทศอย่างมาก จึงมีนโยบายส่งเสริมและปรับปรุงแก้ไขระเบียบการลงทุนเพื่อเอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ เช่น การอำนวยความสะดวกและการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ จึงเป็นโอกาสอันดีของผู้ประกอบการไทยที่จะเข้าไปลงทุนเพื่อขยายกิจการในประเทศกัมพูชามากยิ่งขึ้น คาดว่าจะมีผู้ประกอบการร่วมเดินทางในกิจกรรมครั้งนี้ประมาณ 20 ราย
ที่มา: http://www.depthai.go.th