การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทยในช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) ของปี 2552

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday November 17, 2009 15:51 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. การค้าระหว่างประเทศของสิงคโปร์

ในช่วง 9 เดือนแรก (มค.- กย.) ของปี 2552 มีมูลค่ารวม 367,833.90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -31.43 จากช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 192,093.36 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -30.56) และมูลค่าการนำเข้า 175,740.54 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -32.34) โดยประเทศคู่ค้า (นำเข้า) อันดับหนึ่งคือ สหรัฐฯ (ลดลงร้อยละ -30.13) รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย (ร้อยละ -37.17) จีน (ร้อยละ -32.34) ญี่ปุ่น (ร้อยละ -37.50) เกาหลีใต้ (ร้อยละ -34.18) อินโดนีเซีย (ร้อยละ -30.25) ไต้หวัน (ร้อยละ -32.46) ฝรั่งเศส (ร้อยละ 2.36) ซาอุดิอาระเบีย (ร้อยละ -52.13) และไทย-อันดับที่ 10 (ร้อยละ -34.45) สำหรับประเทศคู่ค้า(ส่งออก)อันดับหนึ่ง คือ ฮ่องกง (ลดลงร้อยละ -22.72) รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย (ร้อยละ -35.51) อินโดนีเซีย (ร้อยละ -36.23) จีน (ร้อยละ -28.34) สหรัฐฯ (ร้อยละ -34.99) เกาหลีใต้ (ร้อยละ -10.44) ญี่ปุ่น (ร้อยละ -35.03) ออสเตรเลีย (ร้อยละ -35.90) ไทย-อันดับที่ 9 (ร้อยละ -32.00) และอินเดีย (ร้อยละ -29.95)

2. การค้าระหว่างสิงคโปร์กับไทย

ในช่วง 9 เดือนแรก (มค.- กย.) ของปี 2552 สิงคโปร์ยังคงได้เปรียบดุลการค้ากับไทย มูลค่า 899.19 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่อยู่ในระดับที่ลดลงร้อยละ -25.26 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มูลค่า 1,203.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นการส่งออก และนำเข้า ดังนี้

  • การส่งออก สิงคโปร์ส่งออกมาไทยคิดเป็นมูลค่า 4,898.66 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 37.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า(ไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 9) สินค้าส่งออก 10 อันดับเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า สื่อบันทึกข้อมูล/ภาพ/เสียง เครื่องพิมพ์และเครื่องจักรที่ใช้ประกอบการพิมพ์ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล น้ำมันสำเร็จรูป อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าป้องกันวงจรไฟฟ้า หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบของเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30 และส่วนประกอบของสินค้าประเภทที่ 88.01 หรือ 88.02 เป็นต้น
  • การนำเข้า สิงคโปร์นำเข้าจากไทยมูลค่า 3,999.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 39.91 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา (ส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 3.35) โดยนำเข้าจากไทยเป็นอันดับที่ 10 สำหรับอันดับหนึ่ง คือ สหรัฐฯ รองลงมา ได้แก่ มาเลเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินโดนีเซีย ไต้หวัน ฝรั่งเศส และซาอุดิอาระเบีย สินค้านำเข้า 10 อันดับเรียงลำดับตามมูลค่า ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์/อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ-ทรานซิสเตอร์และไดโอดมอเตอร์/เครื่องกำเนิดไฟฟ้า รถยนต์ และข้าว เป็นต้น (รายละเอียดปรากฏตามตารางแนบ)

3. สิงคโปร์ได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกในปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันถึงแม้ว่า ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ภาครัฐประกาศว่า เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวในลักษณะรูปตัว “วี” (V-shape) แต่สิงคโปร์เป็นประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าเพื่อการบริโภคในประเทศและส่งออกต่อเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากประเทศไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ คือ การสั่งซื้อของประเทศสหรัฐฯและประเทศในสหภาพยุโรป แต่การสั่งซื้อได้ชะลอตัวลงถึงหยุดชะงักในสินค้าบางตัว ส่งผลให้สิงคโปร์นำเข้าสินค้าต่างๆ(เพื่อการผลิต) ลดลงจากทุกประเทศในช่วง 9 เดือนแรก (มค.-กย.) ซึ่งประเทศ คู่ค้าสำคัญ 10 อันดับแรกที่สิงคโปร์นำเข้าลดลง ได้แก่

1) สหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -30.33

2) มาเลเซีย ลดลงร้อยละ -37.17

3) จีน ลดลงร้อยละ -32.34

4) ญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ -37.50

5) เกาหลีใต้ ลดลงร้อยละ -34.18

6) อินโดนีเซีย ลดลงร้อยละ -30.25

7) ไต้หวัน ลดลงร้อยละ -32.46

8) ยกเว้น ฝรั่งเศส เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.36

9) ซาอุดิอาระเบีย ลดลงร้อยละ -52.13

10) ไทย ลดลงร้อยละ -34.45 ทั้งนี้ สินค้านำเข้าจากไทย 10 รายการแรก นำเข้าลดลงถึง 9 รายการ ได้แก่

(1) น้ำมันสำเร็จรูป ลดลงร้อยละ -52.32

(2) แผงวงจรไฟฟ้า ลดลงร้อยละ -13.03

(3) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ของเครื่องจักรกล ลดลงร้อยละ -46.19

(4) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ -7.95

(5) เครื่องโทรสาร/โทรพิมพ์/โทรศัพท์/อุปกรณ์และส่วนประกอบ ลดลงร้อยละ -38.71

(6) เครื่องปรับอากาศ ลดลงร้อยละ -32.15

(7) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด ลดลงร้อยละ -37.63

(8) รถยนต์ ลดลงร้อยละ -39.99

(9) ข้าว ลดลงร้อยละ -31.76

ส่วนรายการที่นำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย(ในกลุ่ม 10 รายการแรก) มี 1 รายการ คือ

(1) 8501 มอเตอร์และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 71.82

สำหรับสินค้ารายการอื่นๆในกลุ่มอันดับที่ 11- 50 รายการที่สิงคโปร์นำเข้าเพิ่มขึ้นจากไทย มีเพียง 8 รายการ ได้แก่

(1) ส่วนประกอบเครื่องจักรประเภทที่ 84.25-84.30 เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.17

(2) ดีบุก เพิ่มขึ้นร้อยละ 272.41

(3) บอยเลอร์กำเนิดไอน้ำหรือทำน้ำร้อนยิ่งยวด เพิ่มขึ้นร้อยละ 269.47

(4) เบียร์ที่ทำจากมอลต์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.42

(5) อุปกรณ์ตรวจสอบปริมาณทางไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.96

(6) ของอื่นๆทำด้วยอลูมิเนียม เพิ่มขึ้นร้อยละ 414.77

(7) น้ำมันปิโตรเลียมดิบและน้ำมันดิบที่ได้จากแร่บิทูมินัส เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,314,200

(8) สิ่งก่อสร้างและส่วนประกอบทำด้วยเหล็กหรือเหล็กกล้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.54

4. สภาวะอื่นๆของประเทศสิงคโปร์ และข้อสังเกต

(1) ภาคการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ช่วงครึ่งปีแรกของปี 2552 มีนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์ 17.3 ล้านคน ลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า เนื่องมาจากผลกระทบของเศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย และโรคไข้หวัด H1N1 อนึ่ง สายการบินของชาติ SIA มีรายได้ลดลงมาก นอกจากผลกระทบจากเศรษฐกิจและโรคระบาดแล้ว ยังได้รับผลกระทบโดยตรงจากคู่แข่งสายการบินราคาประหยัดอีกด้วย ทำให้มีผู้โดยสารเพียง 7.7 ล้านคน(มค.-มิย. 52) ลดลงร้อยละ 19 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ทั้งนี้ อัตราการลดลงของนักท่องเที่ยว และผู้โดยสารเดินทางโดย SIA ลดลงทุกเดือน ซึ่งแสดงให้เห็นในทางอ้อมว่า ประเทศไทย(จุดหมายท่องเที่ยวสำคัญของชาวสิงคโปร์)ขาดรายได้จากนักท่องเที่ยวสิงคโปร์ในระดับสูง

(2) ในขณะที่เศรษฐกิจทั่วโลกส่งสัญญาณเริ่มจะฟื้นตัว ผู้ประกอบธุรกิจในสาขาต่างๆของสิงคโปร์มีความคาดหวังดีขึ้น และคาดว่าในช่วงเวลาที่เหลือของปี 2552 จะมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี ทั้งในภาคบริการและภาคการผลิต ซึ่งจากการสำรวจความคาดหวังธุรกิจของ Singapore Department of Statistics (DOS) โดยทำการสำรวจบริษัทจำนวน 1,400 ราย แสดงผลความคาดหวังในแต่ละกลุ่ม ดังนี้

คาดการณ์ระหว่างเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2552 เทียบกับเดือนมกราคม-มิถุนายน 2552 (%)
ภาค                           คาดว่าดีขึ้น         คาดว่าไม่เปลี่ยนแปลง        คาดว่าลดลง
การบริการ                         21                    55                 24
- โรงแรมและอาหาร                 39                    40                 21
- การบริการการเงิน                 34                    48                 18
- ค้าส่งและค้าปลีก                   22                    52                 26
- การบริการธุรกิจ                   21                    50                 29
- การขนส่งและคลังสินค้า              12                    57                 31
- ข่าวสารโทรคมนาคม                12                    80                  8
- อสังหาริมทรัพย์                     7                    68                 25
การผลิต                           16                    66                 18
- อิเล็คทรอนิกส์                     29                    66                  5
- เคมีภัณฑ์                         17                    51                 32
- Precision Engineering          17                    62                 21
- สินค้าทั่วไป                       14                    76                 10
- Transport Engineering           3                    48                 49
- Biomedical                      2                    98                  -

(3) เมื่อวันชาติสิงคโปร์ วันที่ 9 สิงหาคม 2552 ภาครัฐได้ประกาศถึงข้อท้าทาย 10 ประการที่ต้องดำเนินการเพื่อความเป็นหนึ่งของสิงคโปร์ ได้แก่ 1) การควบคุมให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงขึ้นและทำให้มาตรฐานการครองชีพดีขึ้น 2) การชักนำชาวสิงคโปร์ว่า ชีวิตจะมีสิ่งที่ดีขึ้นในอนาคต 3) การสร้างมาตรการและมาตรฐานการคมนาคมให้เป็นที่พอใจของชาวสิงคโปร์รุ่นใหม่ 4) การควบคุมไม่ให้เกิดโรคระบาดและลดค่าใช้จ่ายด้านสุขอนามัย 5) การจัดการฝึกอบรมและมีระบบเงินช่วยสนับสนุนแก่พนักงานสูงอายุที่มีรายได้น้อย 6) การเร่งให้ชาวสิงคโปร์รุ่นใหม่แต่งงานและมีบุตร-ธิดา 7) การมีวิธีการที่ดีในการสนับสนุนชาวสิงคโปร์สูงอายุ 8) การจัดการเรื่องพื้นที่ของประเทศให้ได้ผลอย่างคุ้มค่า 9) การสร้างให้ชาวสิงคโปร์ในต่างประเทศมีความรักชาติและ 10) การส่งเสริมให้ชาวสิงคโปร์ต่างศาสนาอยู่ด้วยกันอย่างสงบและเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ ภาครัฐได้รับความร่วมมือจากประชาชนเป็นอย่างดียิ่ง

(4) มาตรฐานค่าครองชีพของสิงคโปร์ในปัจจุบันเพิ่มสูงขึ้นมาก เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานของประเทศอื่นๆ โดยใช้เมืองนิวยอร์คเป็นฐานตั้งไว้ที่ 100 สิงคโปร์อยู่ที่ระดับ 82.0 สำหรับเมืองอื่นๆ ได้แก่ โตเกียว (102.0) ฮ่องกง (80.0) ซิดนีย์ (68.5) เซี่ยงไฮ้ (64.1) โซล (62.9) ไทเป (61.7) กรุงเทพฯ (58.7) จาการ์ตา (47.8) กัวลาลัมเปอร์ (43.2) มะนิลา (39.3) และมุมไบ (30.9) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ตค.52 เป็นต้นไป ค่าบริการไฟฟ้าในสิงคโปร์มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 ซึ่งจะมีราคา 21.69 เซนต์ ต่อ kilowatt hour (kwh) เพิ่มจากเดิม 19.28 เซนต์/kwh ซึ่งจะส่งผลให้แต่ละครอบครัวในสิงคโปร์ต้องมีค่าใช้จ่ายจำเป็นเพิ่มขึ้น และคาดว่าจะมีผลทางอ้อมต่อการเจริญเติบโตเศรษฐกิจด้านตลาดการค้าส่ง/ค้าปลีกและธุรกิจบริการของสิงคโปร์

(5) การเจริญเติบโตของประชากรสิงคโปร์ จากการสำรวจของ Department of Statistics สิงคโปร์(มิย.52) เป็นร้อยละ 3.1 ลดลงจากร้อยละ 5.5 ของปี 2551 ทั้งนี้ จำนวนประชากร 4,987.6 คน แบ่งเป็นชาวสิงคโปร์ 3,200.7 คน, ผู้พำนักถาวร 533.2 คน และผู้พำนักต่างประเทศ 1,253.7 คน สัดส่วนหญิง : ชาย เท่ากับ 1,000 : 976 และจำนวนประชากรในระดับอายุแบ่งออกเป็น ดังนี้ (1) อายุ 0-14 ปี ร้อยละ 36.5 (2) อายุ 15-64 ปี ร้อยละ 51.4 และ (3) อายุ 65 ปีขึ้นไป ร้อยละ 12.1

(6) ข้อตกลง FTA (Free Trade Agreement ) และการจัดการประชุม Apec

  • ข้อตกลง FTA ที่สำคัญ คือ FTA กับ Gulf Cooperation Council (GCC) จะส่งผลให้เปิดตลาดซาอุดิอาระเบีย ซึ่ง GCC เป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับ 7 ในปี 2549 และลงนาม FTA ครั้งแรกในเดือนมกราคม 2551 และเมื่อมีการประกาศใช้ บริษัทสิงคโปร์จะได้รับการลดภาษีด้านสินค้ากฎระเบียบศุลกากรที่สะดวก และมีสิทธิพิเศษด้านธุรกิจบริการ ในบางสาขาอุตสาหกรรม บริษัทสิงคโปร์สามารถมีสถานภาพเช่นเดียวกับบริษัทในประเทศสำหรับการทำสัญญาต่างๆ จากสมาชิก GCC 6 ประเทศ ซาอุดิอาระเบียเป็นประเทศที่ใหญ่และมั่งคั่งที่สุด และสมาชิกที่เหลือเป็นประเทศขนาดเล็ก ได้แก่ บาห์เรน คูเวต โอมาน กาตาร์ และสาธารณรัฐอาหรับอิมิเรตส์ ทั้งนี้ ปัจจุบันมีบริษัทสิงคโปร์น้อยกว่า 30 ราย ดำเนินธุรกิจในซาอุดิอาระเบีย สาขาธุรกิจที่น่าสนใจ ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานสำหรับเศรษฐกิจสุขอนามัย โลจิสติกส์ การสื่อสารโทรคมนาคม เทคโนโลยี และ e-government
  • สิงคโปร์กำหนดจัดการประชุม Apec ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 8-15 พฤศจิกายน 2552 ด้วยเงินงบประมาณกว่า 100 ล้านเหรียญสิงคโปร์ ผู้เข้าร่วมประชุมจากกลุ่มสมาชิก 21 กลุ่ม ประมาณ 10,000 คน ที่สำคัญ คือ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ President Barack Obama (เยือนสิงคโปร์ครั้งแรก) ประธานาธิบดีรัสเซีย President Dmitry Medvedev และผู้นำจีน President Hu Jintao รวมถึงนักธุรกิจและผู้สื่อข่าวจากทั่วโลก สำหรับการประชุม Leaders’ retreat จะจัดที่ Istana เพื่อสะดวกในด้านการรักษาความปลอดภัย ทั้งนี้ การจัดประชุมดังกล่าว จะส่งผลให้มีเงินหมุนเวียนเพิ่มมากขึ้นจากการใช้จ่ายของสมาชิกที่เข้าร่วมประชุม

(7) ภาครัฐสิงคโปร์ได้จัดให้ความช่วยเหลือเพื่อส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจ ดังนี้

  • National Research Foundation (NRF) มีนโยบายเพิ่มค่าใช้จ่ายในด้านการค้นคว้าและวิจัย (R&D) ของประเทศให้อยู่ระดับร้อยละ 3 ของ GDP ภายในปี 2010 และได้ประกาศการสร้างสถานที่สำหรับการค้นคว้าวิจัยคือ Campus for Research Excellence and Technological Enterprise (CREATE) มูลค่า 360 ล้านเหรียญสิงคโปร์ จะสร้างแล้วเสร็จในปี 2010 เพื่อให้เป็นศูนย์กลางสำหรับความคิดสร้างสรรและนวัตกรรมใหม่ๆ สามารถมีพื้นที่สำหรับนักวิจัยจำนวน 1,000 คน ที่จะทำงานร่วมกับ Technion-Israel Institute of Technology ในด้าน regenerative medicine ในปัจจุบันใช้สถานที่ The SMART Centre ณ ห้องค้นคว้าวิจัยชั่วคราวในมหาวิทยาลัย National University of Singapore (NUS)
  • Economic Development Board (EDB) ได้ให้เงินสนับสนุนรวมมูลค่า 15 ล้านเหรียญสิงคโปร์สำหรับโครงการ 8 โครงการเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยการผลิตเทคโนโลยีแสงอาทิตย์ ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ EDB สนับสนุนด้าน Clean Technology R&D จากวงเงิน 50 ล้านเหรียญสิงคโปร์
  • International Enterprise Singapore (IE Singapore) จัดโปรแกรม International Partners (iPartners) สำหรับบริษัท SMEs รวมตัวกันเพื่อหาธุรกิจในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศในตะวันออกกลางที่มีอุตสาหกรรมมูลค่าถึง 28 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ (40 พันล้านเหรียญสิงคโปร์) ส่วนใหญ่บริษัทสิงคโปร์จะมีความสามารถด้าน e-Government และ IT Services ได้แก่ บริษัท Elixir Technology (e-solution provider) รวมตัวกับบริษัท Crimson Logic ได้รับสัญญา Gulf’s e-Government เป็นต้น

(8) การส่งเสริมการลงทุนในสิงคโปร์ โดยการเชิญชวนบริษัทต่างชาติเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ ได้แก่

  • บริษัท Software ของสหรัฐฯ Salesforce .com ได้เปิด International data centre
  • บริษัท Rolls-Royce สร้างโรงงานการผลิต wide chord fon blade (WCFB) ณ Seletar
  • บริษัทชั้นนำผู้ผลิตเภสัชภัณฑ์ของญี่ปุ่น ได้เปิดสำนักงานภูมิภาคในสิงคโปร์ชื่อ Takeda Clinical Research Singapore Pte. Ltd. เพื่อการวิจัยและพัฒนาเภสัชภัณฑ์
  • บริษัท Tan Chong International ได้ลงทุนสร้างสถานที่เก็บรถยนต์และศูนย์กลางจัดส่งรถยนต์ใช้เทคโนโลยีชั้นสูง มูลค่า 40 ล้านเหรียญสิงคโปร์ สำหรับรถยนต์ยี่ห้อ Nissan และ Subaru
  • บริษัท JLJ Holdings ผู้ผลิต precision moulds for plastic components
  • บริษัท Van der Horst Energy (VDHE) บริษัทด้าน renewable energy ได้ลงทุนสร้างคลังสินค้า (4 ชั้น) และ สำนักงาน Corporate Headquarter (7 ชั้น) ณ Pioneer Road
  • บริษัท AAC Singapore เปิดสำนักงาน International Headquarters and R&D Centre เพื่อการวิจัยและพัฒนา Micro-Electro-Mechanical Systems (MEMS)
  • Pacific Healthcare บริษัทดำเนินธุรกิจด้าน Healthcare ลงทุนสร้างโรงพยาบาลสำหรับการรักษาโรคมะเร็งโดยเฉพาะ
  • บริษัทจีนใช้สิงคโปร์เป็นฐานเพื่อการขยายธุรกิจสู่ตลาดโลก โดย 5 ปีที่ผ่านมา บริษัทจีนได้เข้ามาลงทุนในสิงคโปร์ 3,000 ราย ในสาขาต่างๆ ได้แก่ สินค้ากีฬา การค้าปลีก และการบริการ
  • Citigroup ได้เปิด Global Hub ดำเนินการเป็น Global operations and technology (O&T) hub ณ Changi Business Park
  • นอกจากนี้ จากการจัดการแข่งขัน F1 ระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2552 ในสิงคโปร์ ส่งผลให้ประเทศเป็นที่รู้จักและมีชื่อเสียงเพิ่มขึ้น ในวงการธุรกิจนานาชาติ เนื่องจากมีการถ่ายทอดสดไปยังผู้ชมมากกว่า 100 ล้านคนทั่วโลก ถึงแม้ว่าภาครัฐต้องลงทุนถึงร้อยละ 60 ของค่าใช้จ่าย 150 ล้านเหรียญสิงคโปร์ก็ตาม แต่การแข่งขัน F1 ได้ทำให้มีนักท่องเที่ยวเยือนสิงคโปร์ในช่วงดังกล่าว ประมาณ 40,000 คน และทำรายได้ประมาณ 168 ล้านเหรียญสิงคโปร์
  • อีกทั้ง The World Intellectual Property Organization (Wipo) จะเปิด Arbitraton and
Mediation Centre ในเดือนมกราคม ปี 2553 นับเป็นศูนย์แห่งแรกนอกเมืองเจนีวา สำหรับ United Nations Agency กำหนดให้มีคณะกรรมการพิเศษด้านกฎหมายดูแลเรื่องปัญหาการค้าทรัพย์สินทางปัญญา ได้แก่ เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ และสิทธิบัตร ศูนย์ดังกล่าวจะตั้งอยู่ที่ Maxwell Chambers ใน Singapore’s International Dispute Resolution Centre ซึ่งภาครัฐสิงคโปร์และ Wipo ได้ให้ความร่วมมือสนับสนุน arbitration and mediation ให้มีค่าใช้จ่ายน้อยและแก้ปัญหาด้วยความรวดเร็ว ทั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนต่างชาติตัดสินใจง่ายขึ้นในการเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์

(9) การส่งเสริมให้ไปลงทุนในต่างประเทศ หน่วยงาน International Enterprise Singapore (IE Singapore) ได้ส่งเสริมให้บริษัทสิงคโปร์เข้าไปลงทุนในประเทศต่างๆ ได้แก่

1) ฮังการี โดย The Government of Singapore Investment Corporation (GIC) ลงทุน 440 ล้านปอนด์ สำหรับร้อยละ 13.6 ของสนามบินแห่งชาติที่บูดาเปสท์ นอกจากสิงคโปร์แล้วยังมีประเทศอื่นๆที่เข้าไปลงทุนในฮังการี ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และจีน ทั้งนี้ มูลค่าการลงทุนจากเอเชียรวม 2.7 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

2) อินเดีย บริษัท Changi Airports International (CAI) สิงคโปร์ ร่วมลงทุนกับ Bengal Aerotropolis Project Limited (BAPL) โดยถือหุ้นร้อยละ 26 เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมและศูนย์ IT ณ Aerotropolis, Airport-city Complex ในอินเดียตะวันออก ซึ่งถือว่าเป็นการลงทุนมากที่สุดของ CAI ในอินเดีย นอกเหนือจากนี้ CAI ร่วมมือกับ Tata Group อยู่ระหว่างการตกลงเพื่อพัฒนาสนามบินใน Amritsar (Punjab) และ Udaipur (Rajasthan) อีกด้วย

3) จีน -Shanghai บริษัทสิงคโปร์ T-Tech international Singapore จัดตั้งบริษัทใน Shanghai เมื่อปี 2551 และปัจจุบัน ได้รับอนุญาตจากรัฐบาลจีนให้จัดส่ง first-generation shrimp fries จากฟาร์มใน Fengzian, Shanghai ไปยังฟาร์มกุ้งทั่วประเทศจีน ซึ่ง Agri-Food and Veterinary Authority (AVA) กล่าวว่า เป็นครั้งแรกที่บริษัทสิงคโปร์สามารถเจาะเข้าตลาดกุ้งในประเทศจีน และในปีนี้บริษัทฯได้จำหน่าย shrimp fries ปริมาณ 1.2 พันล้านตัว ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า จะเพิ่มการจำหน่ายให้มีปริมาณ 5 พันล้านตัวในปี 2553

4) รัสเซีย บริษัทสิงคโปร์เข้าไปลงทุนในประเทศรัสเซียในสาขาอสังหาริมทรัพย์ และสินค้าต่างๆสำหรับผู้บริโภค อนึ่งการค้าระหว่างสิงคโปร์กับรัสเซียในปี 2551 มีมูลค่าเกือบ 3.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ เพิ่มขึ้นสองเท่าจากมูลค่า 1.9 พันล้านเหรียญสิงคโปร์เมื่อปี 2550

(10) ความมีชื่อเสียงของสิงคโปร์ ได้แก่

1) ธนาคารยักษ์ใหญ่ของสวิส UBS and GovernanceMetrics International (GMI) - a Global Corporate research firm จัดให้สิงคโปร์ เป็นประเทศอันดับ 1 ด้าน corporate governance in Asia เนื่องจากมีผู้นำที่เข้มแข็งและมีวิสัยทัศน์การปกครองดี

2) บริษัทสิงคโปร์ 4 ราย ได้รับรางวัล Asia-Pac Logistics Awards เป็นผู้ดำเนินธุรกิจ โลจิสติกส์ดีที่สุดในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค ได้แก่ 1) PSA International -top container terminal operator 2) Northport, Malaysia —best multipurpose terminal operator 3) Singapore Airport Terminal Services (Sats) — best air cargo terminal operator และ 4) Keppel Distripark — logistics park of the year

3) บริษัท Singapore Airlines (SIA) ได้รับการจัดอันดับให้เป็น 1 ใน 6 บริษัทของเอเชียที่อยู่ในกลุ่มชั้นนำ 50 บริษัท World’s Most Admired Companies (WMACs) ซึ่งจัดอันดับโดย Fortune สหรัฐฯ ได้แก่ อันดับ 3) Toyota Motor —Japan อันดับ 32) Honda Motor —Japan อันดับ 33) SIA —Singapore อันดับ 39) Sony —Japan อันดับ 40) Toyota Industries —Japan อันดับ 50) Samsung —South Korea สำหรับ 10 อันดับแรกได้แก่ 1) Apple Computer —US 2) Berkshire Hathaway —US 3) Toyota Motor —Japan 4) Google —US 5) Johnson & Johnson —US 6) Procter & Gamble —US 7) FedEx —US and Southwest Airlines —US 9) General Electric —US 10) Microsoft (US)

4) สิงคโปร์และฮ่องกงได้รับจัดอันดับให้เป็นเมืองที่มีศักยภาพในด้านการเงิน/การคลังใน 10 แห่งแรกของโลก เทียบเท่ากับลอนดอนและนิวยอร์ค โดยอันดับ 1 คือ ลอนดอน รองลงมาได้แก่ นิวยอร์ค ฮ่องกง สิงคโปร์ เฉินเจิน ซูริค โตเกียว ชิคาโก เจนีวา และเซี่ยงไฮ้

5) สนามบิน Changi Airport ของสิงคโปร์ ได้รับรางวัลสนามบินดีเด่นของโลก (ติดต่อกันเป็นปีที่ 22) จากการจัดอันดับของ International Travel Publications และ Websites ทั้งนี้ ตั้งแต่เปิดให้บริการเมื่อปี 2524 สนามบินฯ ได้รับรางวัลดีเด่นในด้านต่างๆกว่า 300 ครั้งแล้ว

6) จากผลการสำรวจของ The American Chamber of Commerce (Amcham) ปรากฎว่า คนต่างด้าวที่พำนักในสิงคโปร์ยกย่องให้สิงคโปร์เป็นประเทศที่น่าดำเนินธุรกิจในภูมิภาคโดยสิ่งที่ดี ได้แก่ โครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจดี การคอรัปชั่นน้อย กฎหมาย/ระเบียบที่มั่นคง การเมืองมีเสถียรภาพมั่นคง ระบบภาษีที่ดี บุคคลากรมีความรู้ความชำนาญ ภาครัฐมีความโปร่งใส และมีนโยบายช่วยเหลือภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลและมีผลทางลบต่อการดำเนินธุรกิจคือ ราคาที่สูงมากของอสังหาริมทรัพย์และค่าเช่าสำนักงาน ทั้งนี้ ประเทศยอดนิยมสำหรับการขยายธุรกิจในอาเซียน คือ เวียดนาม และอินโดนีเซีย

7) World Bank ได้จัดอันดับให้สิงคโปร์เป็นอันดับ 1 ของประเทศที่สะดวกในการทำธุรกิจ (เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน) จากการสำรวจ 183 ประเทศเศรษฐกิจ ประเทศใน 10 อันดับแรก รองจากสิงคโปร์ ได้แก่ นิวซีแลนด์ ฮ่องกง สหรัฐฯ สหราชอาณาจักร เดนมาร์ค ไอร์แลนด์ แคนาดา ออสเตรเลีย และ นอรเวย์ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้สิงคโปร์ได้รับเลือกเป็นอันดับ 1 ได้แก่ การส่งเสริมการใช้ e-government ทำให้กฎ/ระเบียบโปร่งใส/ง่ายและมีประสิทธิภาพต่อบริษัทเอกชน รวมถึงระเบียบการจัดตั้งธุรกิจและการลงทะเบียนภาษีทางเว็ปไซด์ที่ไม่ซับซ้อน ร่นระยะเวลาในการจดทะเบียนบริษัทจาก 4 วันเป็น 3 วัน ระเบียบการขอใบอนุญาตการก่อสร้างที่รวดเร็ว(ลดจาก 38 วัน เป็น 25 วัน)

(11) ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ นับเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมการขยายตัวเศรษฐกิจของสิงคโปร์ ดังนั้น จึงมีนโยบายเชิงรุกเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ ได้แก่

1) เวียดนาม Singapore-Vietnam Connectivity Framework Agreement เป็นแกนสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ โดยมีข้อตกลงครอบคลุม 6 กลุ่ม ได้แก่ 1) การศึกษาและฝึกอบรม 2) การเงินการคลัง 3) ข่าวสารสนเทศเทคโนโลยีและโทรคมนาคม 4) การลงทุน 5) การค้าและการบริการ และ 6) การคมนาคม นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายได้ปรึกษาหารือกันเพื่อสร้างความสัมพันธ์ให้มั่นคงและให้มีความร่วมมือต่อกันโดยเฉพาะการสร้างให้เวียดนามสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

2) แคนาดา ระหว่างปี 2003-2008 บริษัทแคนาดาเข้ามาลงทุนในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นเท่าตัว ประมาณ 400 บริษัท เงินลงทุนรวมเกือบ 3 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสำนักงานสำหรับภูมิภาคและโรงงานผลิตสินค้า นอกจากนี้มีการลงทุนด้านการเงิน/การธนาคาร และการบริการประกันภัย ด้านอากาศยาน และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทั้งนี้ การค้าระหว่างสิงคโปร์กับแคนาดามีมูลค่ารวมเพิ่มขึ้นจาก 2.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ในปี 2549 เป็น 4.4 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ในปี 2551 เพิ่มขึ้นร้อยละ 60 สำหรับบริษัทสำคัญๆ ได้แก่ Research in Motion (BlackBerry smart phone), Manulife (insurance) อนึ่ง ในอนาคต ทั้ง 2 ประเทศจะมีความร่วมมือกันด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีและผู้ชำนาญการเพื่อดำเนินการพัฒนาในสาขาใหม่ๆ ได้แก่ clean energy สู่เอเชีย

4) Guangdong ประเทศจีน ซึ่ง International Enterprise Singapore (IE Singapore) จัดคณะผู้แทนการค้าสิงคโปร์จำนวน 170 ราย (130 บริษัท) เยือน Guangdong ประเทศจีน เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2552 โดยการนำของ Mr. Lui Tuck Yew, Minister for Information, Communications and the Arts เพื่อการจับคู่ทางธุรกิจด้านการศึกษา การสร้างโครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคม

5) Abu Dhabi Sheikh Mohammed Zayed Al-Nayan, Crown Prince of Abu Dhabi เยือนสิงคโปร์เป็นทางการครั้งแรก ระหว่างวันที่ 12-13 สิงหาคม 2552 ตามคำเชิญของ Mr. Lee Hsien Loong นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ และได้มีการปรึกษาหารือเกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ได้แก่ การศึกษา การรักษาความปลอดภัย ความร่วมมือระหว่างกันในประเทศที่สาม รวมถึงการให้ความร่วมมือเรื่องระเบียบการปฏิบัติที่ดีในภาคเอกชน

6) อินเดีย Mr. S Iswaran, Senior Minister of State for Trade & Industry and Education ได้เดินทางเยือนนิวเดลฮีเป็นทางการระหว่างวันที่ 2-4 สิงหาคม 2552 และได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างอินเดียกับสิงคโปร์ ซึ่งจะส่งเสริมความสนใจที่ตรงกัน ได้แก่ biotechnology and renewable energy นอกจากนี้ Mr. S Iswaran เป็นพยานในการลงนามความร่วมมือด้านการท่องเที่ยว Joint Action Plan ระหว่าง Singapore Tourism Board และ Ministry of Tourism India เพื่อส่งเสิรมการท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว อนึ่ง มูลค่าการค้ารวมได้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 20 ต่อปี มีมูลค่าถึง 29 พันล้านเหรียญสิงคโปร์ในปี 2551 อินเดียเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญอันดับที่ 11 ของสิงคโปร์ และสิงคโปร์เข้าไปลงทุนในอินเดียเป็นอันดับที่ 2 รองจาก Mauritius ด้วยเงินลงทุน 3.8 พันล้านเหรียญสิงคโปร์

7) กาตาร์ การปรับปรุงข้อตกลงเกี่ยวกับ Double Taxation ซึ่งมีการลงนามระหว่าง Mr. Eng-Tay Geok Lee, Deputy Commissioner(Business), Inland Revenue Authority of Singapore(IRAS) กับ Mr. Moftah Jassim, Director of Public Revenue and Taxes ณ Ministry of Economy and Finance, Qatar ซึ่งข้อตกลงจะมีผลบังคับใช้เมื่อได้รับการอนุมัติจากรัฐสภาของทั้งสองประเทศต่อไป

8) สหราชอาณาจักร เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2552 รัฐมนตรีอาวุโสสิงคโปร์ Mr. Lee Kuan Yew เดินทางเชื่อมสัมพันธไมตรีกับสหราชอาณาจักร และได้เข้าพบ 1) Mr. David Cameron ผู้นำของพรรค Conservative Party 2) Mr. Jack Straw, Justice Secretary 3) Mr. Stephen Timms, Treasury Financial Secretary และ 4) Mr. Peter Manelson, British Business Secretary

9) มาเลเซีย สิงคโปร์จะเปิด Consulate General ในรัฐยะโฮร์ของมาเลเซีย ในปลายปี 2552 มีจุดประสงค์มุ่งเน้นด้านเอกสารการเข้าเมือง และให้คำแนะนำด้านการค้าและการลงทุนแก่นักธุรกิจสิงคโปร์ที่สนใจไปลงทุน โดยเฉพาะการลงทุนที่ Iskandar Malaysia รวมถึงให้ความช่วยเหลือเมื่อชาวสิงคโปร์เข้าไปเกี่ยวข้องในเรื่องอาชญากรรม

การคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจ ปี 2552

1. เมื่อเดือนกรกฎาคม 2552 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้ประกาศปรับคาดการณ์ GDP ปี 2552 เป็นร้อยละ -6.0 ถึง -4.0 จากเดิมร้อยละ -6.0 ถึง - 9.0 (คาดการณ์เมื่อวันที่ 14 เมษายน 2552) ซึ่งการปรับคาดการณ์ดังกล่าวจากพื้นฐานของคาดการณ์เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ซึ่งมีการเปลี่ยน แปลงไปในทางที่ดี โดยการเจริญเติบโตลดลงน้อยกว่าช่วงไตรมาสแรก จากร้อยละ -9.6 เป็นร้อยละ -3.7

2. เมื่อเดือนกันยายน 2552 กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้ประกาศการเจริญเติบโตเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรก (มค.-มิย.) ของปี 2552 มีอัตราลดลงร้อยละ -6.5 ดังนั้น กระทรวงการค้าฯ จึงคงไว้ซึ่งการคาดการณ์การเจริญเติบโต GDP ปี 2552 ร้อยละ -6.0 ถึง -4.0

3. ต่อมากระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมสิงคโปร์ได้ประกาศการคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจสิงคโปร์ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ซึ่ง GDP ขยายตัวร้อยละ 0.8 (เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า) การเจริญเติบโตมีผลมาจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการผลิต Biomedical และอิเล็คทรอนิกส์ รวมถึงการปรับตัวที่ดีขึ้นด้านการค้าและการท่องเที่ยว ดังนั้น กระทรวงการค้าฯ จึงปรับการคาดการณ์การเจริญเติบโตเศรษฐกิจปี 2552 เป็นร้อยละ -2.5 ถึง -2.0 (เดิมร้อยละ -6.0 ถึง -4.0)

4. การขยายตัวเพิ่มขึ้นของเศรษฐกิจเกิดจากผลผลิตของสินค้า Biomedical และการปรับเปลี่ยนปริมาณสินค้าอิเล็คทรอนิกส์ในสต๊อค รวมถึงกิจกรรมตลาดหุ้นที่เริ่มฟื้นตัวขึ้นซึ่งปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโตเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปี 2552 แต่สิงคโปร์ยังต้องพึงระวังว่า การคาดหวังเหล่านั้นอาจจะไม่แน่นอน ถึงแม้ว่าการเจริญเติบโตเศรษฐกิจทั่วโลกเริ่มฟื้นตัว แต่เป็นไปอย่างเชื่องช้า นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า อย่างน้อยต้องใช้เวลาอีกประมาณ 3-4 ไตรมาส ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการที่เศรษฐกิจจะไม่ตกหล่มถดถอยอีกเป็นระลอกที่ 2 อนึ่ง ปัจจัยสำคัญๆที่จะช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นตัว คือ กิจกรรมการจัดสต๊อคใหม่และมาตรการด้านงบประมาณเพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจในอนาคต อย่างไรก็ตาม ธุรกรรมด้านการค้ายังคงอยู่ในระดับเสี่ยง เนื่องจากความต้องการสินค้าของประเทศพัฒนาแล้วยังอยู่ในระดับต่ำคงที่ต่อไป ส่งผลให้ผู้ส่งออกมีค่าใช้จ่ายในการเก็บสต๊อกสินค้าอยู่ในระดับสูง และทำให้เกิดสภาวะเครดิตไม่คล่องตัวด้วย

5. การฟื้นตัวในธุรกิจภาคเอกชนและการลงทุนในประเทศพัฒนาแล้ว นับว่าเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจทั่วโลกมีการฟื้นตัวและขยายตัวด้วยความมั่นคง ซึ่งคาดว่าจะอยู่ในช่วงครึ่งหลังของปี 2553 อย่างไรก็ตาม อัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นและรายได้ที่ลดลง จะส่งผลให้ความต้องการสินค้าในตลาดลดลง รวมถึงความไม่แน่นอนของธุรกิจด้านการเงิน/การคลังเป็นตัวสำคัญในการเพิ่มความเสี่ยง โดยจะเป็น ผลทำให้การขยายตัวเศรษฐกิจในครึ่งปีหลังของปี 2553 ลดลงอีกและจะส่งผลให้เกิดความลำบากมากขึ้นต่อการฟื้นตัว ทั้งนี้ หากธุรกิจด้านการเงิน/การคลังมีความมั่นคง จะสามารถช่วยให้สภาวะเศรษฐกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

6. การเจริญเติบโตเศรษฐกิจของสิงคโปร์ในปี 2553 จะขึ้นอยู่กับสภาวะและปัจจัยภายนอกประเทศเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ สิงคโปร์จำเป็นต้องสนับสนุนให้ภาคการผลิตมีการเจริญเติบโตเพิ่มขึ้น โดยการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนระบบการจัดการและสร้างเสริม/เชิญชวนให้ต่างประเทศมีความต้องการสินค้าจากสิงคโปร์เพิ่มมากขึ้น รวมถึงเพิ่มการส่งออกไปยังประเทศพัฒนาแล้วทั่วโลกและประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีศักยภาพตลอดปี 2553

7. อย่างไรก็ตาม สิงคโปร์ต้องพึงระวังถึงปัจจัยต่างๆ ได้แก่ 1) ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมและการบริโภคของสหรัฐฯและยุโรปที่ยังอยู่ในระดับต่ำ 2) อัตราการว่างงานในสหรัฐฯและยุโรปที่ยังอยู่ในระดับสูง 3) การใช้จ่ายของครอบครัวในสหรัฐฯ และประเทศในภูมิภาคยังคงลดลงต่อไปและ 4) การลดจำนวนวันทำงานที่ส่งผลให้การบริโภคของประชาชนลดลง ทั้งนี้ หากเศรษฐกิจของประเทศสำคัญๆ ฟื้นตัวอย่างเชื่องช้าจะส่งผลให้ประเทศอื่นๆ รวมถึงสิงคโปร์ได้รับผลกระทบต่อไปและทำให้เศรษฐกิจมีการฟื้นตัวด้วยความยากลำบากและเชื่องช้า แม้ว่าสิงคโปร์จะประกาศว่าเศรษฐกิจของประเทศเริ่มฟี้นตัวแล้ว ก็ตาม

ที่มา : Ministry of Trade and Industry, International Enterprise Singapore,

Singapore Department of Statistic

The Business Times & The Straits Times

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ สิงคโปร์

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ