กฏหมายฉลากโภชนาการใหม่ของฮ่อกงจะทำให้สินค้าหายไปกว่า 2,000 ชนิด

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday November 25, 2009 15:03 —กรมส่งเสริมการส่งออก

จากการที่ฮ่องกงประกาศใช้กฎหมายฉลากโภชนาการ(Nutrition Labeling Law) โดยจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฏาคม 2553 ภาคเอกชนต่างให้ความเห็นว่า

  • สินค้าไม่น้อยกว่า 2,000 รายการ จะหายไปจากพื้นที่ในร้านค้าฮ่องกง เมื่อกฏหมายฉลากโภชนาการจะบังคับใช้ในสินค้าอาหารที่จะเริ่มใช้ในเดือนกรกฏาคม ปีหน้า
  • Mr. Diane Chiu Man, Marketing Director ของบริษัท Dairy Farm Group’s Chain ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของห้าง Wellcome, Three Sixty, Oliver’s Delicatessen และ Market Place By Jasons กล่าวว่า สินค้าประมาณ 2,000 ชิ้นจะต้องหายไปจากร้านค้าของเขา คิดเป็นประมาณร้อยละ 10 ของสินค้าที่มีวางจำหน่ายอยู่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าประเภทอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งมีการโฆษณาแสดงโภชนาการ เช่น Low in carbohydrates และ low in fat สินค้าดังกล่าวมากกว่าครึ่งหนึ่งนำเข้าจากประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และส่วนหนึ่งนำเข้าจากออสเตรเลีย และสหภาพยุโรป

ทั้งนี้ สาเหตุหลักน่าจะมาจากต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น ในการติดฉลากเพิ่ม การทดสอบต่างๆ การเปลี่ยนฉลาก เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกสินค้าเพิ่มขึ้นกว่า 100% หรือ 200% ซึ่งจะไม่คุ้มกับสินค้าที่ขายได้เพียง 10-20 ชิ้นต่อเดือน

เมื่อปี 2551 หน่วยงานรัฐบาล Legislative Council ออกพระราชบัญญัติว่าด้วย กฎระเบียบของการบรรจุภัณฑ์อาหารที่ขายอยู่ตามร้านค้าทั่วไป และร้านค้าส่งในฮ่องกง จะต้องติดฉลากสินค้า “1+7” แสดงจำนวนพลังงาน(Energy value) และ 7 รายการที่เป็นสารอาหาร(Nutrients) รวมทั้ง ไขมัน Trans fats ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์อาหารจะต้องผ่านการทดสอบมาตรฐานก่อนการติดฉลาก/โฆษณาว่ามีโภชนาการนั้นๆ เช่น จำนวนน้ำตาล น้อย หรือ ไม่มีไขมัน หรือไม่มี Trans-fat

สินค้าที่ขายต่ำกว่าปีละจำนวน 30,000 และไม่ได้แสดงสรรพคุณทางโภชนาการ จะได้รับการยกเว้นไม่จำเป็นต้องแสดงตัวโภชนาการ

ก่อนหน้านี้ เมื่อกฎหมายยังไม่ผ่านการพิจารณา ภาคอุตสาหกรรมค้าปลีกได้ออกมาแสดงความไม่เห็นด้วยกับกฏหมายฉบับนี้ เพราะจะทำให้ผู้บริโภคมีสินค้าให้เลือกน้อยลง สินค้านำเข้าจะต้องติดฉลากใหม่ แม้ว่าสินค้าดังกล่าวจะได้มาตรฐานในสหรัฐอเมริกาและยุโรปแล้วก็ตาม ซึ่งจะเป็นการเพิ่มต้นทุน และจะทำให้สินค้าบางชนิดต้องหายไปจากตลาดเพราะไม่คุ้มกับตลาดที่ค่อนข้างเล็ก เช่น ฮ่องกง

ทั้งนี้ รัฐบาลและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์กล่าวว่า สินค้าที่ติดฉลากโภชนาการจะทำให้ผู้บริโภคทราบถึงสินค้านั้นๆมีความปลอดภัยและดีกับสุขภาพ อย่างไร แม้ว่าจะทำให้สินค้าเดิมหายไป แต่ได้สินค้าใหม่ที่มีคุณภาพดีมาแทน

  • บริษัท Macro Foods ซึ่งขายสินค้าเพื่อสุขภาพ กล่าวว่ายังไม่คาดการณ์ว่าสินค้าชนิดใดของตนจะขายต่อ แต่ที่แน่นอน สินค้าประเภทของขบเคี้ยวกว่า 20-30 ชนิด ใน100 ชนิดจะไม่มีขายเมื่อกฏหมายมีผลบังคับใช้ในช่วงเดือนกรกฏาคม 2553
  • บางบริษัทที่นำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น เช่น cakes, crisps and biscuits fried or baked items ซึ่งในตัวสินค้าจะมี Trans fat แต่ตัวฉลากไม่แสดงค่าของ Trans fat ส่งผลให้บริษัทจะต้องหยุดการสั่งซื้อ รวมทั้ง สินค้าบางอย่าง ได้แก่ ลูกกวาดผลไม้ นมเต้าหู้ ถ้าจะต้องเสียค่าตรวจสอบ(Test) สินค้า เฉลี่ยประมาณ 1,500 ฮ่องกงดอลลาร์ (ประมาณ 6 พันกว่าบาท ต่อ 1 ชนิดสินค้า) บริษัทอาจจะไม่นำมาขายอีก

Centre Food Safety กล่าวว่าตั้งแต่เดือนกันยายน 2552 เป็นต้นมา มีผู้ยื่นเรื่องขอยกเว้นการติดฉลากตามกฎหมายนี้กว่า 10,700 ราย Centre Food Safety ก็หวังว่ากฏหมายฉบับนี้จะนำความปลอดภัยมาให้แก่ผู้บริโภคฮ่องกง

ในการนี้ สำนักงานส่งเสริมการค้าฯ ณ เมืองฮ่องกง เห็นว่ากฏหมายว่าด้วยการติดฉลากโภชนาการที่จะมีผลเริ่มใช้ในเดือนกรกฏาคม 2553 เป็นต้นไป จะทำให้ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม มายังฮ่องกง(จากตัวเลขฮ่องกงนำเข้าสินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม (Processed food & beverages) ปี 2552(ม.ค. — ต.ค.) มูลค่า 289 ล้านเหรียญสหรัฐ) จะต้องเตรียมตัวที่จะต้องศึกษาและเตรียมพร้อมก่อนที่จะส่งออกสินค้ามายังฮ่องกงต่อไป ทั้งนี้ หากต้องการทราบรายละเอียดข้อมูลเกี่ยวกับกฏหมายการติดฉลากโภชนาการสามารถเข้าไปตรวจสอบได้ที่ (www.fehd.gov.hk/safefood/foodlaw1.html)

สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองฮ่องกง

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ