ตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในฮังการี

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday February 23, 2010 15:45 —กรมส่งเสริมการส่งออก

รายชื่อสินค้า HS Code

7103 เครื่องประดับพลอย

7104 อัญมณีสังเคราะห์

7106 เครื่องประดับเงิน

7107 เครื่องประดับโลหะพื้นฐาน

7114 เครื่องประดับที่ทำจากทองและเงิน

7115 เครื่องประดับโลหะ

7117 เครื่องประดับเทียม

1. ความต้องการภายในประเทศ

1.1 เป้าหมายผู้บริโภค

โดยธรรมชาติของสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับแล้วกลุ่มเป้าหมายแรกคือผู้หญิงซึ่งมากหรือน้อยตามประเภทอายุ ส่วนกลุ่มเป้าหมายศักยภาพคือคนหนุ่มสาวที่จบการศึกษาในระดับต่างๆ และมีแผนแต่งงานหรือหมั้น ซึ่งจะเป็นช่วงโอกาสสำคัญที่สุดในการซื้ออัญมณี ในโอกาสอื่นๆ เช่น ครบรอบแต่งงานซึ่งเป็นข้อเสนอให้ผู้ชายได้ซื้อเครื่องประดับเป็นของขวัญ

1.2 พฤติกรรมผู้บริโภค

ทัศนคติผู้บริโภคทั่วไปที่สำคัญ ได้แก่ ไวต่อราคา รายได้บางส่วนค่อนข้างจำกัดในการซื้ออัญมณี และศักยภาพรสนิยมของผู้บริโภคบางส่วนยังไม่พัฒนาระดับความสามารถในการประเมินคุณภาพของอัญมณี ดังนั้นโดยปกติผู้บริโภคมองหาสินค้าราคาถูก และมีส่วนลด (กึ่งหินมีค่าและอัญมณีเทียม) ในทางกลับกันกลุ่มลูกค้าที่มีฐานะต้องการสินค้าอัญมณีไม่ใช่เป็นเพียงแค่ของขวัญ แต่ต้องการสินค้าที่มีคุณภาพสูงที่สามารถเก็บรักษาไว้เป็นทรัพย์สมบัติได้

2. การผลิตภายในประเทศและสถานการณ์ปัจจุบัน

ผลประกอบการอัญมณีภายในประเทศฮังการีประมาณ 30-40 พันล้านโฟรินท์ (ประมาณ 115-150 ล้านยูโร ขายโดยร้านค้าปลีกมากกว่า 2,000 ราย ในปี 2548-2551 อัญมณีเงินภายในประเทศผลิตได้ทุกปีโดยเฉลี่ย 200,000 ชิ้น

ผลกระทบของวิกฤติต่ออุตสาหกรรมอัญมณี คือ ทองคำโลกลดลง ร้อยละ 9 ในปี 2552 ถึง 720 ตัน เนื่องจากช่างทองซื้อทองคำน้อยลง จึงทำให้ความต้องการทองคำสำหรับการทำอัญมณีลดลงร้อยละ 22 ในครึ่งแรกของปี 2552

3. การนำเข้า

3.1 การนำเข้าอัญมณีและเครื่องประดับจากไทย

                    การนำเข้า สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                                    มกราคม-ตุลาคม
                                                       สัดส่วน              เปลี่ยนแปลง%
ลำดับ    ประเทศ         2550    2551    2552     2550     2551     2552    2552/2551
 1     ออสเตรเลีย      6.43    7.76    9.16    11.36    10.26    17.94       18.02
 2     เยอรมณี         17.01   23.76    8.65    30.06    31.41    16.94      -63.59
 3     อิตาลี            4.46    6.23    5.69     7.93     8.24    11.14       -8.70
 4     จีน              8.84    7.03    4.91    15.62     9.29     9.61      -30.14
 5     ตรุกี             3.84    9.20    4.72     6.79    12.16     9.25      -48.64
 6     สโลวาเกีย        4.20    8.06    4.13     7.42    10.66     8.08      -48.78
 7     เนเธอร์แลนด์      0.39    0.52    3.59     0.68     0.69     7.04      588.73
 8     โปแลนด์          1.75    1.88    3.53     3.09     2.49     6.92       87.75
 9     อิสราเอล         2.24    2.26    0.96     3.96     2.99     1.88      -57.48
10     ไทย             1.16    1.59    0.95     2.06     2.11     1.85      -40.61

ประเทศไทยอยู่ในระดับตำแน่งที่ดีของการนำเข้าอัญมณีในฮังการี และเป็นประเทศลำดับที่ 10 ของประเทศที่ส่งออกหินมีค่า ตามด้วยอิสราเอล ตลาดของไทยมีสัดส่วนอยู่ระหว่าง ร้อยละ 1-1.6 การนำเข้าจากไทยลดลงอย่างมากซึ่งเหมือนกับประเทศคู่แข่งอื่นๆ (ยกเว้น ออสเตรีย และโปแลนด์) เนื่องมาจากผลกระทบของวิกฤติเศรษฐกิจทางการเงิน แต่ในปี 2550-2551 การนำเข้าของอัญมณีทุกประเภทเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย ร้อยละ 37 ซึ่งการเพิ่มขึ้นมากกว่าเล็กน้อยของการนำเข้าทั้งหมดในฮังการี ร้อยละ 33

                              การนำเข้าจากไทย (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                                      มกราคม-ตุลาคม
                                                                    สัดส่วน          เปลี่ยนแปลง%
 HS     รายละเอียด                 2550      2551     2552     2550   2551   2552    2552/2551
         ไทย                     344.15   340.67   253.28     0.44   0.36   0.40     -25.65
 71     สินค้าอัญมณีและเครื่องประดับ      1.16     1.59     0.95     0.34   0.47   0.37     -40.61
 7113   เครื่องประดันแท้               0.99     1.32     .079     84.9  82.99   83.3     -40.39
 7117   เครื่องประดับเทียม             0.14     0.24     0.15     12.4  14.94   15.6     -38.14
 7101   ไข่มุก                       0.01     0.01     0.00     0.48   0.78    0.4     -69.37
 7103   เครื่องประดับพลอย             0.01     0.01     0.00     0.74   0.59   0.35     -64.45
 7116   ไข่มุก                       0.01     0.00     0.00     0.47   0.28   0.20      -58.1
 71SS   Intra-Comm. Trade Broken   0.00     0.00     0.00     0.08   0.13    0.19    -17.74
 7114   เครื่องประดับที่ทำจากทองและเงิน  0.01     0.00     0.00     0.63   0.05       0      -100
 7118   เหรียญกษาปณ์                 0.00     0.00     0.00        0      0       0         0
 7102   เครื่องประดับเพชร             0.00     0.00     0.00        0      0       0         0
 7104   อัญมณีสังเคราะห์               0.00     0.00     0.00     0.36   0.24       0      -100
 7106   เครื่องประดับเงิน              0.00     0.00     0.00        0      0       0         0

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยโดยทั่วไปขึ้นอยู่กับสินค้า 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องประดับแท้ และเครื่องประดับเทียม ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้ครอบคลุมการส่งออกทั้งหมดประมาณร้อยละ 98-99

                       การนำเข้าเครื่องประดับแท้และชิ้นส่วน (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                                   มกราคม-ตุลาคม
                                                               สัดส่วน          เปลี่ยนแปลง%
 ลำดับ     ประเทศ            2550      2551     2552     2550    2551   2552    2552/2551
  1     ตุรกี                 3.75      9.15     4.71    22.86   34.82  40.81     -48.51
  2     สโลวาเกีย            2.12      3.94     1.60    12.90   15.01  13.86     -59.44
  3     อิตาลี                3.84      4.62     1.21    23.36   17.58  10.51     -73.73
  4     เยอรมณี              1.90      2.07     1.03    11.57    7.86   8.90     -50.29
  5     อิสราเอล             2.02      2.11     0.85    12.29    8.05   7.38     -59.72
  6     ไทย                 0.99      1.32     0.79     6.02    5.03   6.83     -40.39

ไทยอยู่ในระดับของการนำเข้าที่ดีขึ้นของเครื่องประดับแท้และชิ้นส่วน ซึ่งจะเห็นได้ว่าไทยมีนำเข้าเป็นลำดับที่ 6 ของประเทศสำคัญที่มีการส่งออกด้วยระดับสัดส่วนของตลาดตั้งแต่ร้อยละ 5-7

                     การนำเข้าเครื่องประดับเทียม (ล้านเหรียญสหรัฐฯ)
                                มกราคม-ตุลาคม
                                                               สัดส่วน          เปลี่ยนแปลง%
 ลำดับ     ประเทศ            2550      2551     2552     2550    2551   2552    2552/2551
  1      จีน                 3.09      4.07     3.06    25.48   28.29   26.40     -24.97
  2      ออสเตรเลีย          3.10      3.81     2.59    25.58   26.43   22.38     -31.93
  3      โปแลนด์             1.63      1.71     1.99    13.44   11.85   17.21      16.81
  4      เยอรมนี             1.80      2.05     1.84    14.81   14.21   15.89     -10.06
  5      ฝรั่งเศส             0.33      0.34     0.34     2.69    2.37    2.93      -0.58
  6      สโลวาเกีย           0.06      0.10     0.24     0.46    0.68    2.06     143.90
  7      สหราชอาณาจักร       0.07      0.16     0.18     0.54    1.14    1.59      12.19
  8      สาธารณรัฐเช็ก        0.14      0.31     0.16     1.15    2.17    1.36     -49.51
  9      ไทย                0.14      0.24     0.15     1.19    1.65    1.27     -38.14

ภาพที่แตกต่างของการนำเข้าเครื่องประดับเทียม คือ ซัพพลายเออร์เก่าแก่รายใหญ่ ยกเว้น ออสเตรีย และเยอรมนี ไม่ขายในปริมาณที่มาก ส่วนไทยเป็นประเทศเดียวนอกสหภาพยุโรป (ยกเว้นจีน) ที่อยู่ในกลุ่มของประเทศส่งออกสำคัญ 10 ประเทศ

3.2 ช่วงเวลาของการนำเข้า

การค้าอัญมณีและเครื่องประดับในฮังการีมี 4 ช่วงหลักของการนำเข้า ดังนี้ ช่วงวันหยุดพักผ่อน ช่วงเทศกาลอีสเทริน และคริสมาสต์ ช่วงระยะการแต่งงาน (เมษายน พฤษภาคม และมิถุนายน) และช่วงโรงเรียนปิดเทอม (เดือนมิถุนายน -กรกฏาคม) กฏระเบียบและขบวนการส่งออก (พิกัดอัตราอากรขาเข้า ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีอื่นๆ) ไม่มีข้อจำกัดสำหรับสินค้ารหัสพิกัด 71 และไม่มีโควต้าสำหรับสินค้าเหล่านี้

กฏระเบียบอื่นๆ

ผู้นำเข้า ผู้ค้า (ทั้งผู้ค่าส่ง และค้าปลีก) และผู้ผลิต อัญมณีและเครื่องประดับจะต้องลงทะเบียนที่สำนักงานการตรวจสอบฮังการี (Hungarian Assay Office ) และซึ่งอัญมณีที่นำเข้าจะต้องแสดงสำหรับการตรวจสอบ และการพิสูจน์ ที่สำนักงานฯ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ก่อนขบวนการศุลกากร อัญมณีที่ขายในฮังการีทั้งหมดจะต้องสลักลายนูนโดยผู้ผลิตหรือผู้ค้าด้วยอักษรย่อ ถ้าไม่มีเครื่องหมายดังกล่าวอัญมณีก็ไม่สามารถนำมาจำหน่ายได้

4. การตลาด

4.1 ช่องทางการจำหน่าย

ช่องทางการจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับในฮังการีโดยทั่วไปคล้ายกับสินค้าอื่นๆ กล่าวคือ ผู้นำเข้า ผู้ค้าส่งและร้านค้าปลีกเป็นผู้ดำเนินช่องทางการจำหน่าย ส่วนแนวโน้มของสินค้าคือบริษัทขนาดกลางที่มีแรงงาน 5-10 คน เป็นผู้ครอบครองตลาดนอกจากผู้นำเข้า-ผู้ค้าปลีกเก่าแก่รายใหญ่บางราย เช่น

OREX หรือบริษัทต่างชาติ เช่น บริษัท

Israeli Caprice Co และช่างทองและเงินที่มีชื่อเสียงมากก็มีร้านค้าเป็นของตนเองด้วยเช่นกัน

4.2 ราคา การออกแบบ คุณภาพ ความพึงพอใจ และรสนิยม

ราคา

ราคาของสินค้าอัญมณีที่สูงขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต ลักษณะของตลาดเป้าหมาย ฝีมือและการออกแบบ ราคาวัตถุดิบที่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เศรษฐกิจในปัจจุบันนั้นเป็นไปได้ว่าจะทำให้ทองคำและเงินมีราคาสูงขึ้น ถ้าพิจารณาถึงตลาดที่อิ่มตัวและผลของวิกฤติทำให้ผู้บริโภคมีเงินไม่มากสำหรับการซื้อสินค้าอัญมณี ราคาขายปลีกไม่สามารถตามราคาวัตถุดิบได้เนื่องจากทำให้ผู้ผลิตได้กำไรลดลง

การออกแบบ คุณภาพ รสนิยม แลัความพึงพอใจ

ปัจจุบันสินค้าที่เป็นที่นิยมมากที่สุดในฮังการี คือ ทองคำเหลือง 14 กะรัต ที่ผสมด้วยทองแดงและเงิน เนื่องจากเป็นวัตถุซึ่งชาวฮังการีชอบซื้ออัญมณีเงิน ซึ่งสินค้าดั้งเดิมบางอย่างส่วนใหญ่มาจากประเทศตุรกีและอิสราเอล เนื่องจากราคาถูกและส่วนหนึ่งผลิตตามการออกแบบส่าสุด

4.3 ประเทศคู่แข่ง

ประเทศคู่แข่งที่สำคัญที่สุด คือ เยอรมนี (ส่วนแบ่งการตลาดตั้งแต่ ร้อยละ 17-31) ออสเตรีย (ร้อยละ 10-18) และอิตาลี (ร้อยละ 8-11) และจีนซึ่งตามทันตุรกี

4.4 ศักยภาพของสินค้าไทย/โอกาสทางการตลาด

ข้อได้เปรียบที่เห็นได้ชัดเจนจากสหภาพยุโรปว่าประเทศคู่แข่ง ได้แก่ อิสราเอล และฮ่องกงสามารถเสนอต่อผู้ค้าฮังการี ดังนี้

  • ระยะเวลาการส่งสินค้าสั้นกว่า
  • เงื่อนไขการชำระเงินสะดวกมากกว่า
  • ออกแบบทันสมัย
  • สนับสนุนค่าใช้จ่ายด้านการตลาด

เนื่องจากว่าชาวฮังการีไปเที่ยวไทยมากขึ้น และคุ้นเคยกับอัญมณีไทย ดังนั้นนักท่องเที่ยวเหล่านี้สามารถเป็นลูกค้าที่มีศักยภาพของไทยได้ซึ่งจะทำให้เครื่องประดับเงินและเครื่องประดับเทียมของไทยจะมีศักยภาพในตลาดฮังการี แต่ตลาดที่มั่นคงก็มีความสำคัญมาก เช่น บริษัท Caprice -ของประเทศอิสราเอล

5. งานแสดงสินค้า

งานแสดงสินค้า International Trade fair for Jewellery ครั้งที่ 18, Gems and Watches ระหว่างวันที่ 5- 7 มีนาคม 2553 จัดโดย Hungexpo ประเทศฮังการี

6. กิจกรรมส่งเสริมการขายในประเทศแข่งขัน

เข้าร่วมงานแสดงสินค้า (ดังกล่าวข้างต้น) เสนอการจัดตั้งตลาดร่วม หรือก่อตั้งการผลิตขึ้นเอง เหมือนกับสำนักงานขายของบริษัทอิสราเอล

7. รายชื่อผู้นำเข้า

   ชื่อบริษัท                         เบอร์โทรศัพท์           แฟกซ์           อีเมล์
Swan design                      36-30-951-5971                     info@swandesign.hu
Goldfish Kft.                    361-329-9834       361-329-9834    goldfish001@freemail.hu
Orex Zrt.                        361-321-8908                       orexrt@orex.hu
Krizo Kft.                       361-303-6967                       krizo@msilbox.hu
Caprice                          36-26-302-512                      marketing@caprice.co.hu
Eurogold Kft.                    361-217-2727       361-217-2727    ehor@t-online.hu
Fux-Trade Kft.                   361-216-6115                       fuxtrade@fuxtrade.hu
Argentimo Kft.                   36-62-213-679      36-62-213-679   argentimo@freemail.hu
Yahalom Kft.                     36-30-538-60-59    361-210-5624    yahalom@t-online.hu
P&P Arany Ekszer
  Nagykereskedes                 36-70-360-6659     361-303-9247    epp@chello.hu
SBS Trade Kft.                   36-70-550-2314                     haasz.monika@freemail.hu
Niello Ekszer Kis es
  Nagykereskedes                 361-210-7388       361-210-7388    zoltan.reisman@niello.hu
Zafir Ekszer                     36-42-786-264                      zafirekszer@freemail.hu
Metal-Art Zrt.                   361-459-1700       361-314-1777    metal@metal-art.hu

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ