สถานการณ์เศรษฐกิจการค้าในแคนาดาระหว่าง 8-12 มีนาคม 2553

ข่าวเศรษฐกิจ Monday March 15, 2010 15:32 —กรมส่งเสริมการส่งออก

เศรษฐกิจแคนาดาขยายตัวเพิ่มขึ้น

นักเศรษฐศาสตร์ของแคนาดากล่าวว่า แคนาดามีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปี 2552 ถึงร้อยละ 5 สูงกว่าที่ธนาคารแห่งชาติของแคนาดา(Bank of Canada) เคยคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 3 เป็นสัญญานให้เห็นว่า เศรษฐกิจของแคนาดากำลังฟื้นตัวดีขึ้น หลังจากที่เศรษฐกิจโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยในปี2551และเกิดปัญหาวิกฤตการการเงินตามมา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของแคนาดาดังกล่าว ได้แก่ การขยายตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ได้รับผลจากการที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ การจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นการส่งออกที่สูงขึ้นเป็นสองเท่าของการนำเข้า

มีการคาดการณ์ว่าอาจจะมีการขึ้นอัตราดอกเบี้ยจากปัจจุบันที่อยู่ที่ร้อยละ 0.25 ต่อปี แม้ว่าธนาคารชาติของแคนาดาจะประกาศว่าอัตราเงินเฟ้อของเดือนมกราคม 2553 ที่อยู่ที่ร้อยละ 2 เป็นระดับที่น่าพอใจ ซึ่งนาย Mark Carney ผู้ว่าการธนาคารชาติแคนาดา ได้ออกมายืนยันว่าเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2553 ว่า จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้จนถึงเดือนมิถุนายน 2553 และจะพิจารณาปรับอัตราดอกเบี้ยในเดือนกรกฎาคม 2553 โดยอาจมีการขยับขึ้นน้อยกว่าร้อยละ 0.25 ก็ได้ อย่างไรก็ตาม นาย Derek Holt นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารโนวาสโกเทียและ Doug Porter ให้ความเห็นว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารชาติจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 ของปี2553 และคงไม่ขึ้นมากกว่าร้อยละ 0.25

นักเศรษฐศาสตร์แคนาดาบางคนได้ออกมาให้ความเห็นแย้งว่า เศรษฐกิจแคนาดายังคงเปราะบางและมีปัญหาอยู่ ซึ่งแตกต่างจากสหรัฐอเมริกาที่ขณะนี้เริ่มขยายตัวแล้ว โดยมีการซื้อสินค้าเพื่อเก็บเป็นสต็อคสินค้าคงเหลือมากขึ้นและการค้าขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่แคนาดากลับซื้อสินค้าเพื่อเก็บสต็อคสินค้าคงเหลือในอัตราลดลง อัตราว่างงานยังอยู่ที่ระดับสูงกว่าร้อยละ 8 อุตสาหกรรมยังคงขยายตัวน้อยรวมทั้งการใช้จ่ายเงินของภาครัฐเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจยังคงล่าช้า ซึ่งในประเด็นนี้ ได้มีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้าน shipping ได้ออกมาสนับสนุนว่า ยังคงไม่มั่นใจว่าเศรษฐกิจแคนาดาฟื้นตัว เพราะการขนส่งสินค้ามีน้อยลงและประชาชนยังคงระมัดระวังการจับจ่าย

อย่างไรก็ตาม Alan Huggins ประธานบริษัท Lowe’s Canada ซึ่งเป็นห้าง Chain Store ด้านอุปกรณ์ก่อสร้างบ้าน ได้ประกาศจะขยายสาขาอีก 8-10 สาขาในปีหน้า เพิ่มจากที่มีอยู่แล้ว 16 สาขา เนื่องจากมีความมั่นใจว่า เศรษฐกิจแคนาดากำลังฟื้นตัว และธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังคงไปได้ดี

รัฐบาลแคนาดาลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรและอุปกรณ์

รัฐบาลแคนาดาได้จัดสรรงบประมาณจำนวน 300 ล้านเหรียญแคนาดา(ประมาณ 9,600 ล้านบาท) ภายใต้มาตรการที่เรียกว่า “การเร่งการลดต้นทุน” (Accelerated Capital Cost Allowance ACCA) เพื่อลดภาษีนำเข้า ให้แก่สินค้าต่าง ๆ 214 รายการ ได้แก่ เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยี่ใหม่ เครื่องจักรสำหรับการเพิ่มกำลังการผลิตของอุตสาหกรรม สินค้า textile สำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์และเบาะรถยนต์ (ลดร้อยละ 14) สารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรม (ลดร้อยละ 5-6.5) และสินค้าทุนอื่น ๆ โดยมาตรการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2550 และจะสิ้นสุดในปี 2554 ดูรายละเอียดในเว็ปไซต์ Canadian Manufacturers & Exporters —รายชื่อสินค้า 214 รายการที่มีการลดภาษี http://www.cme-mec.ca/pdf/09-01-27-TARIFFS-BUDGET.pdf

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของแคนาดา (นาย Jim Flaherty) กล่าวว่ามาตรการลดภาษีนำเข้านี้จะเป็นการลดต้นทุนและลดขั้นตอนต่าง ๆ รวมทั้งจะเป็นการสนับสนุนให้ภาคธุรกิจลงทุนในเครื่องจักรใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคธุรกิจของแคนาดารวม ทั้งจะเป็นการปูทางให้แคนาดาเป็นประเทศแรกของ G20 ที่เป็น tariff-free zone for manufacturers

ภาคเอกชนออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับมาตรการนี้ อาทิ นาย Jayson Myers ประธานสมาคมผู้ผลิต และผู้ส่งออกแห่งแคนาดา กล่าวว่า มาตรการนี้เป็นการส่งเสริมให้แก่ภาคเอกชนโดยตรงและจะทำให้การลงทุนขยายตัว โดยธุรกิจที่มียอดขายตั้งแต่ 500 พันล้านเหรียญแคนาดาขึ้นไปจะลดต้นทุนได้ประมาณ 210 ล้านเหรียญแคนาดาต่อปี มาตรการนี้จจะเป็นช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้บริษัทของแคนาดา ด้วยการกระตุ้นให้ภาคธุรกิจของแคนาดาลงทุนในการเพิ่มประสิทธิภาพใน

การผลิตได้อย่างรวดเร็ว นาย Jonathon Fischer CEO ของบริษัท Mold-Masters Ltd แห่งเมือง Georgetown มณฑลออนตาริโอ ซึ่งเป็นบริษัททำ mold สำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เห็นว่า เป็นการช่วยเหลือเล็กน้อยจากรัฐบาล โดยภาคธุรกิจก็ยังคงต้องรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ใหม่ และอัตราเบี้ยประกันภัยลูกจ้างอัตราใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้นในปี 2554

นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร Toronto-Dominion Bank กล่าวว่า มาตรการนี้เป็นการชดเชยให้แก่ธุรกิจในมณฑลออนตาริโอและบริติชโคลัมเบีย ที่ได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างอัตราภาษีที่จะรวมภาษี GST และ PST เป็นภาษีเดียวเรียกว่า Harmonized sales tax(HST) ทีเก็บในอัตราร้อยละ 13 เริ่มในเดือนกรกฎาคม 2553 เป็นต้นไป ซึ่งทำให้ต้นทุนของภาคธุรกิจที่อยู่ใน 2 มณฑลนี้เพิ่มขึ้น

การตื่นตัวเรื่องพลังงานทดแทนและลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ในแคนาดา

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแคนาดา นายจิม ฟลาเฮอที ประกาศจัดสรรเงินงบประมาณจำนวน 500 ล้านเหรียญแคนาดา( 16,000 ล้านบาท) เพื่อดำเนินการตามโครงการลดภาวะเรือนกระจกและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนมอนอกไซต์ โดยจะมีการก่อสร้างโรงงานผลิตเอธทานอลที่ใช้วัตถุดิบจากพืชและขยะธรรมชาติ (the cellulosic ethanol industry) เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ โรงงานนี้จะตั้งอยู่ที่เมือง Prince Albert มณฑล Saskatchewan

คาดว่าหนึ่งในบริษัทที่จะได้รับงบประมาณนี้ คือ บริษัท Logen Corp. ซึ่งเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่ตั้งอยู่ที่กรุงออตตาวา อย่างไรก็ตามจนถึงขณะนี้ยังไม่มีเอกชนรายใดรวมถึงบริษัท logen และบริษัท Royal Dutch Shell PLC ซึ่งเป็นหุ้นส่วนของบริษัท Logen ได้เสนอข้อเสนอโครงการเพื่อของบประมาณ ดังกล่าวเนื่องจากราคาน้ำมันในตลาดโลกลดต่ำลง ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และความเข้มงวดของรัฐบาลในการสรรผู้ขอรับเงินงบประมาณนี้

Logan เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสำหรับการก่อสร้างโรงงานสาธิตการผลิตเอธทานอลที่กรุงออตตาวา และเป็นเพียงบริษัทเดียวที่แสดงความจำนงค์ที่จะผลิตเชิงพาณิชย์ โดยได้รับเงินช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐ Sustainable Development Technology Canada หรือ SDTC ด้วยวงเงิน 500 ล้านเหรียญแคนาดาในปีพ.ศ. 2550 นาย Brian Foody CEO ของ Logen แจ้งว่าบริษัทมีความสนใจในโครงการที่เมือง Prince Albert แต่ยังไม่ตัดสินใจว่าจะเสนอข้อเสนอต่อรัฐบาลหรือไม่ ทั้งนี้ได้กล่าวว่าโรงงานสาธิตที่กรุงออตตาวาสามารถผลิตเอธานอลในปีพ.ศ.2552 มากกว่าผลผลิตในปีพศ2551 ถึงสองเท่าตัว และเขาให้ความเห็นว่า บริษัท Shell น่าจะให้ความสนใจในโครงการที่เมือง Prince Albert ขณะนี้รัฐบาลแคนาดาให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์สู่บรรยากาศและสิ่งแวดล้อม จึงได้สนับสนุนโครงการผลิตเอธาทอลเพื่อมาใช้ในรถยนต์และจะมีการกำหนดมาตรฐานของเอทานอลที่จะผสมกับเชื้อเพลิงที่ใช้กับรถยนต์ รวมถึงพลังงานชีวภาพที่ผลิตจากข้าวโพดและข้าวสาลี ที่ผ่านมารัฐบาลแคนาดายังได้มีการเก็บภาษีรีไซด์เคิลสินค้าอิเล็กทรอนิกส์(Electronics recycling fee) อาทิ คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ โทรทัศน์ พรินเตอร์ ที่ ในมณฑล Ontario, British Columbia, Alberta, Nova Scotia, Saskatchewan ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยคงจะต้องติดตามและพัฒนาสินค้าส่งออกของไทยให้สอดคล้องกับมาตรการด้านรักษาสิ่งแวดล้อมของแคนาดา ที่บังคับใช้ในปัจจุบันและอนาคตสามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

มณฑล Ontario - www.ontarioelectronicstewardship.ca

มณฑล British Columbia - www.encorp.ca/electronics/

มณฑล Alberta - www.albertarecycling.ca/

มณฑล Nova Scotia - www.acestewardship.ca/

มณฑล Saskatchewan - www.sweepit.ca/

สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ นคร โตรอนโต

ที่มา: http://www.depthai.go.th


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ